รายการความเห็น


11047 ความเห็น

❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
yaneexu
1. ปัจจุบันยังไม่มีเคสติดเชื้อโควิดจากการกินแม้แต่รายเดียวจากทั่วโลก 2. ต่อให้คนส่งอาหารมีการติดเชื้อโควิด แต่ถ้าเราทำความสะอาดภาชนะ แล้วเอาอาหารไปอุ่นร้อนก่อนกิน มันก็ปลอดภัย 3. คนส่งแกรบ ไลน์แมน ฟู้ดแพนด้า เขาก็กระจายอยู่ทั่วทั้งหมดทั้งกรุงเทพ ไม่ใช่มีแค่ในคลองเตย ไปปล่อยข่าวแบบนี้ คนไม่กล้าสั่งอาหาร คนทำอาชีพส่งอาหารก็ลำบาก ร้านอาหารตอนนี้ห้ามกินในร้าน ให้เทคโฮมอย่างเดียวก็เจ๊งได้เลย คนที่กักตัวอยู่บ้านก็ลำบาก จะให้ทำยังไงถึงจะสั่งอาหารมากินได้
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Ad.tar
คุณทัศนีย์ เขียนบทความ อ้างอิงบทสัมภาษณ์ของ Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ที่ลงใน New York Times ว่า ยุโรปจะอนุญาตให้คนอเมริกันซึ่งฉีดวัคซีนเข้ายุโรปได้ แต่ต้องเป็นคนที่ฉีดวัคซีนสามยี่ห้อนี้ คือโมเดิร์นน่า ไฟเซอร์ และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เท่านั้น ดังนั้นคุณทัศนีย์จึงสรุปเอาเองว่า วัคซีนอื่นๆที่ไม่ใช่สามยี่ห้อนี้ ซึ่งรวมทั้ง วัคซีนแอสตราเซเนกา ที่ไทยใช้เป็นหลัก ไม่ได้รับอนุมัติ ดังนั้นคนไทยที่ฉีดแอสตราเซเนกา ก็จะเดินทางเข้ายุโรปไม่ได้ แต่ความจริงคือ วัคซีนแอสตราเซเนกา ได้รับการอนุมัติจาก European Medicines Agency (EMA) ตั้งแต่ 29 ม.ค. แล้วนะครับ ก่อนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันด้วยซ้ำ หากอ่านบทสัมภาษณ์จริงๆ ก็จะทราบว่าไม่ได้จำกัดแค่สามยี่ห้อนี้ เพราะพูดชัดเจนว่าคนใดก็ตามที่ฉีดวัคซีนที่ EMA อนุมัติแล้ว (ซึ่งก็คือ 3 ยี่ห้อนี้ + แอสตราเซเนกา) ก็เข้าได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ แต่ที่ระบุ 3 ยี่ห้อนี้ เพราะเป็น 3 ยี่ห้อที่คนอเมริกันฉีด แค่นั้นเอง ไม่มีประโยคใดที่บอกว่า คนฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเข้ายุโรปไม่ได้เลย
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
Ad.tar
เนื้อหานี้มีการเสนอความคิดเห็นบางส่วนที่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหานี้อยู่ระว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
ตามที่มีการแชร์คลิปเสียงผ่านโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง คณบดี คณะแพทย์ศิริราช แนะนำใช้น้ำเกลือ น้ำมะนาว หรือน้ำขิงล้างคอ เพื่อฆ่าเชื้อโควิด-19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการส่งต่อคลิปเสียงที่อ้างว่าเป็นคำแนะนำจากคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยให้ใช้น้ำเกลืออุ่น น้ำมะนาวอุ่น หรือน้ำขิงอุ่น บ้วนปากและล้างคอ วิธีนี้จะช่วยฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า เสียงของบุคคลในคลิปดังกล่าวไม่ใช่เสียงของคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และไม่เคยมีการแนะนำวิธีการป้องกัน หรือการฆ่าเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธีดังกล่าว
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวันไม่สามารถป้องกันหวัดได้ และไม่มีผลลดความเสี่ยงในการเป็นหวัด ยกเว้นผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดได้ถึง 50% อย่างไรก็ตามพบว่าการรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวันจะสามารถช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาในการเป็นหวัดได้ ขนาดวิตามินซีที่แนะนำให้รับประทานเพื่อลดความรุนแรงและระยะเวลาในการเป็นหวัดคือ 1-3 กรัมต่อวัน และในผู้ที่ไม่เคยรับประทานวิตามินซีมาก่อน หากเป็นหวัดแล้วจึงเริ่มรับประทานวิตามินซี จะไม่สามารถช่วยลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้เลย หากผู้ที่ได้รับเชื้อแล้ว ควรปฏิบัติตนเองตามคำแนะนำของแพทย์
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Ad.tar
กรณีผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการยังไม่รุนแรงคือ กลุ่มที่พบเชื้อแล้วเริ่มมีอาการเล็กน้อย เช่น เป็นไข้ น้ำมูกไหล ไอ จาม ปวดเมื่อย เหมือนไข้หวัด จมูกไม่ได้กลิ่น พะอืดพะอม ท้องเสีย เหมือนติดเชื้อไวรัสแต่ไม่รุนแรง ยังไม่มีอาการถึงขึ้นเป็นปอดอักเสบ ไม่เป็นปอดบวม สำหรับปริมาณการกินยาฟ้าทะลายโจร เพื่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ได้ทดลองให้ผู้ป่วยกินวันละ 180 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน โดยวันที่ 3 พบว่า อาการดีขึ้นและหายจากโรค แต่พบผลข้างเคียงบ้าง เช่น ถ่ายเหลว ส่วนผู้ป่วยที่ห้ามใช้ยาฟ้าทะลายโจร หรือต้องปรึกษาแพทย์ก่อนคือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรค ตับ ไต โรคอ้วน โรคความดันโลหิต เพราะฟ้าทะลายโจรอาจมีปฏิกิริยากับยาที่รักษาโรคประจำตัวอยู่ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และห้ามใช้ในผู้หญิงตั้งท้อง ให้นมบุตร สำหรับการกินฟ้าทะลายโจร ที่หลายคนกินเพื่อรักษาหวัด ปกติจะกินตามที่ระบุในฉลากยาคือ วันละ 60 มิลลิกรัม หากกินเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จะกินมากกว่า 3 เท่า เมื่อกิน 5 วันแล้วต้องหยุด เพื่อไม่ให้มีผลข้างเคียงต่อตับ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
ภาพของเนื้อหาดังกล่าวไม่พบแหล่งข้อมูลที่แน่ชัด เนื้อหานี้อยู่ในระหว่างการตรวตสอบ ซึ่ง ณ ตอนนี้(วันที่ 3 พ.ค. 2564 ) การปฏิบัติงานในขณะนี้หากจะต้องดำเนินการเก็บศพและเป็นศพที่เสียชีวิตไม่สามารถสอบสวนโรคกับบุคคลใกล้ชิดได้ หรือไม่มีใครให้ข้อมูลของผู้เสียชีวิตได้ไม่ว่าจะเสียชีวิตในบ้านพักหรือข้างถนน เจ้าหน้าที่ของอาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญูและกู้ภัยทุกๆ หน่วยงานก็จะสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อไม่ให้เชื้อฟุ้งกระจายหรือติดต่อกับผู้สัมผัส
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิร่วมกตัญญูเหตุรับแจ้งเหตุพบศพชายนอนเสียชีวิตบริเวณข้างถนน โดยไม่ทราบสาเหตุ อายุประมาณ 50 ปี รูปร่างผอม สวมกางเกงขาสั้น ไม่สวมเสื้อ ที่หน้าโรงแรมชื่อดังย่านถนนสุรวงศ์ เมื่อเวลา 04.20 น. วันนี้ (29 เม.ย.2564) จากการตรวจสอบตามร่างกายผู้ตายไม่พบหลักฐาน และข้อมูลการเสียชีวิตใดๆ จึงได้ส่งทีมปฏิบัติการเฉพาะทางไปสนับสนุนเก็บศพ เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในขณะนี้ จึงใส่ชุด PPE เพื่อป้องกันความปลอดภัย เพราะผู้ตาย เสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ได้รับมอบหมายจากตำรวจนครบาลบางรัก ให้นำศพชายนิรนามส่งสถาบันนิติเวชเพื่อชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตอย่างละเอียดอีกครั้ง พร้อมทั้งประสานหาญาติผู้เสียชีวิตต่อไป
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ข้อมูลที่แชร์กันดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องปลอม วัคซีนโรค COVID-19 ไม่ได้ทำคนเสียชีวิตเฉียบพลัน ไม่ได้อันตรายต่อชีวิต และยังป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตจากไวรัสได้เกือบ 100% อีกด้วย .. แถมเรื่องนี้ ยังมาจากคนที่เป็นพวกต่อต้านวัคซีน และให้ข้อมูลที่ผิดๆ มาหลายครั้งแล้วด้วย
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
กรณีชวนเชื่อข้างต้น ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าเป็นข้อมูลเท็จและแอบอ้าง เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่เคยมีการส่ง SMS หรือเผยแพร่ข้อความใด ๆ ในลักษณะดังกล่าว อีกทั้ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีโครงการที่เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น โปรดอย่าหลงเชื่อ SMS หรือข้อความที่แอบอ้างชื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
Ad.tar
เนื้อหานี้เป็นการอธิบายถึงประสบการร์ของการฉีดวัคซีน ซึ่งมีความคิดเห็นบางส่วนที่เป็นส่วนบุคคล แต่มีบางแหล่งข้อมูลของประเทศไทย อธิบายถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้ว แพทย์ก็ยังเตือนว่า ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา เพราะแม้จะฉีดแล้วก็ยังติดได้ แต่ความรุนแรงจะลดลง​ ดังนั้น ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลาเหมือนเดิม
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Ad.tar
เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ รายงานว่า คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเอ็กซ์-มาร์แซย์ ในฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการวิจัยสภาพแวดล้อมการทนความร้อนของไวรัสโควิด-19 ว่า ไวรัสชนิดนี้ยังหลงเหลือความสามารถแบ่งตัว เพื่อแพร่เชื้อระลอกใหม่ได้ หลังผ่านความร้อนสูง 60 องศาเซลเซียส นานถึง 1 ชั่วโมงแล้วก็ตาม ผลวิจัยดังกล่าว ระบุด้วยว่า นักวิจัยได้ฉีดไวรัสที่ยังมีชีวิตใส่เซลล์ไตของลิงแอฟริกัน จากนั้นจึงนำเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสใส่หลอดทดลอง 2 หลอด ที่จำลองสภาพแวดล้อมจริง 2 แบบ ได้แก่ แบบสะอาด และแบบสกปรก เช่น ในช่องปากของมนุษย์ หลังผ่านการให้ความร้อน อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง เชื้อไวรัสในหลอดทดลองแบบสะอาดถูกกำจัดหมด ส่วนในหลอดทดลองแบบสกปรก พบว่าเชื้อไวรัสยังมีชีวิต และสามารถเริ่มการแพร่เชื้อใหม่ได้ แม้ว่าฤทธิ์ของเชื้อจะลดลงอย่างสิ้นเชิงก็ตาม
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
ข้อมูลที่แชร์กันดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องปลอม วัคซีนโรค COVID-19 ไม่ได้ทำคนเสียชีวิตเฉียบพลัน ไม่ได้อันตรายต่อชีวิต และยังป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตจากไวรัสได้เกือบ 100% อีกด้วย .. แถมเรื่องนี้ ยังมาจากคนที่เป็นพวกต่อต้านวัคซีน และให้ข้อมูลที่ผิดๆ มาหลายครั้งแล้วด้วย
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหานี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
สงขลา ผวาโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย แอฟริกา ระบาดหนักในมาเลเซีย หวั่นลามข้ามมายังประเทศไทย "พ่อเมือง" ประสาน "มทภ.4" สั่งเข้ม 4 แนวทางป้องกันแนวชายแดน ช่องทางธรรมชาติ ขณะที่วันนี้พบผู้ป่วย 27 ราย สะสมแล้ว 718 ราย
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหานี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ททท.คาดชะลอโครงการ #เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 และ #ทัวร์เที่ยวไทย ให้สอดรับกับมาตรการโควิด-19 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม เพจเฟซบุ๊กสำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อความว่า จากกรณีข่าวการเตรียมเปิดโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เฟส 3 และ“ทัวร์เที่ยวไทย” ในเดือนพฤษภาคมนี้ (ตามมติ ครม. 23 มี.ค.64) ซึ่งมีความขัดแย้งกับประกาศของ ศบค.ที่ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดเดินทางข้ามจังหวัด ตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า เมื่อ ศบค. มีคำสั่งล่าสุดขอให้ประชาชนงดการเดินทางเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงอาจจะชะลอโครงการออกไปก่อน
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ผ่านวารสารการแพทย์ด้านโลหิตวิทยา Blood Advances เมื่อ 3 มี.ค. 2564 สร้างความฮือฮาให้กับแวดวงการแพทย์ เนื่องจากเป็นอีกหลักฐานที่บ่งชี้ว่า หมู่เลือด อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 หลังพบว่าไวรัสชนิดนี้มีความสามารถในการจับกับเซลล์ในระบบทางเดินหายใจของผู้มีเลือดกรุ๊ปเอมากกว่ากรุ๊ปอื่นอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาดังกล่าวนักวิจัยพุ่งเป้าไปที่ส่วนที่ไวรัสใช้จับกับเซลล์เป้าหมาย เรียกว่า receptor binding domain หรืออาร์บีดี โดยประเมินประสิทธิภาพในการจับกับเซลล์ระบบทางเดินหายใจมนุษย์ที่มีหมู่โลหิต เอ บี โอ และเอบี เทียบกับเซลล์เม็ดเลือดแดงจากคนเลือดกรุ๊ปเอ บี โอ และเอบี ผลที่ได้พบว่า ไวรัสชนิดนี้มีความสามารถจับกับเซลล์ระบบทางเดินหายใจมนุษย์ที่มีหมู่โลหิต เอ ได้มากกกว่าหมู่โลหิตอื่น ส่วนในเซลล์เม็ดเลือดแดงนั้นไม่มีผลแตกต่าง ส่งผลให้คณะวิจัยสรุปว่า อาจช่วยอธิบายความเชื่อมโยงกลไกการติดเชื้อของผู้มีหมู่โลหิตเอได้ นายแพทย์ฌอน สโตเวลล์ ผู้นำคณะวิจัยจากโรงพยาบาลสตรี นครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การพบว่าไวรัสชนิดนี้ชื่นชอบแอนตีเจนเอ ที่พบในเนื้อเยื่อทางเดินหายใจเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะคาดว่าน่าจะเป็นกลไกการติดเชื้อหลักที่เกิดขึ้น “กรุ๊ปเลือดเป็นอุปสรรคครับ เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนสืบทอดกันมา เราไม่สามารถไปเปลี่ยนอะไรมันได้ แต่หากเรามีความเข้าใจกลไกการติดเชื้อของไวรัสว่าเกี่ยวโยงกับกรุ๊ปเลือดก็น่าจะทำให้หาวิธีป้องกันได้ดีขึ้นครับ” นพ.สโตเวลล์ ระบุ อย่างไรก็ดี คณะนักวิจัย ระบุว่า การวิจัยนี้ไม่สามารถนำมาพยากรณ์การเกิดโรคได้ทั้งหมด เนื่องจากกลไกการติดเชื้อของไวรัสชนิดนี้มีมากกว่าที่กล่าวถึงในการวิจัย
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "โควิด-19 ภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ศบค. รายงานโควิดวันนี้ ตาย 31 ราย พบ 3 รายไม่มีอาการ เสียชีวิตก่อนรู้ผลว่าจะติดเชื้อ 2 ราย และอีกรายทราบผลในวันที่เสียชีวิต วันที่ 3 พ.ค. ศบค. รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 2,041 ราย อาการหนัก 981 ราย จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 278 ราย กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 31 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 18 ราย และ หญิง 13 ราย อายุระหว่าง 31-83 ปี พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ระบุว่า ที่ ศบค. ให้ความสำคัญคือ การใกล้ชิดสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันก่อนหน้าถึง 6 ราย มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด เป็นเพื่อน และเพื่อนร่วมงาน 2 ราย มีการสัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยัน 15 ราย ในจำนวนนี้กลุ่มที่เสียชีวิต ก่อนที่จะทราบผลมี 2 ราย และทราบผลในวันที่เสียชีวิตมี 1 ราย ซึ่งจากไทม์ไลน์ทั้ง 3 คน พบว่า อาการในตอนแรก ไม่พบว่ามีภาวะรุนแรง และไม่ได้ตระหนักว่ามีการติดเชื้อโควิด
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหาดังกล่าวไม่ได้ระบุวันที่ และเวลาอย่้างอย่างชัดเจน เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือน มีนาคม ถึง เมษายน 2564 มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในพื้นที่เขตบางแค จนเพิ่มระดับการควบคุมในพื้นที่เป็นระดับการป้องกันสูงสุด ทั้งนี้ หากเนื้อหาดังกล่าวไม่ระบุวันที่ และเวลาที่ชัดเจน จึงไม่สามารถยืนยันข้อมูลที่เท็จจริงได้ เนื้อหานี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Ad.tar
คุณทัศนีย์ เขียนบทความ อ้างอิงบทสัมภาษณ์ของ Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ที่ลงใน New York Times ว่า ยุโรปจะอนุญาตให้คนอเมริกันซึ่งฉีดวัคซีนเข้ายุโรปได้ แต่ต้องเป็นคนที่ฉีดวัคซีนสามยี่ห้อนี้ คือโมเดิร์นน่า ไฟเซอร์ และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เท่านั้น ดังนั้นคุณทัศนีย์จึงสรุปเอาเองว่า วัคซีนอื่นๆที่ไม่ใช่สามยี่ห้อนี้ ซึ่งรวมทั้ง วัคซีนแอสตราเซเนกา ที่ไทยใช้เป็นหลัก ไม่ได้รับอนุมัติ ดังนั้นคนไทยที่ฉีดแอสตราเซเนกา ก็จะเดินทางเข้ายุโรปไม่ได้ แต่ความจริงคือ วัคซีนแอสตราเซเนกา ได้รับการอนุมัติจาก European Medicines Agency (EMA) ตั้งแต่ 29 ม.ค. แล้วนะครับ ก่อนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันด้วยซ้ำ หากอ่านบทสัมภาษณ์จริงๆ ก็จะทราบว่าไม่ได้จำกัดแค่สามยี่ห้อนี้ เพราะพูดชัดเจนว่าคนใดก็ตามที่ฉีดวัคซีนที่ EMA อนุมัติแล้ว (ซึ่งก็คือ 3 ยี่ห้อนี้ + แอสตราเซเนกา) ก็เข้าได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ แต่ที่ระบุ 3 ยี่ห้อนี้ เพราะเป็น 3 ยี่ห้อที่คนอเมริกันฉีด แค่นั้นเอง ไม่มีประโยคใดที่บอกว่า คนฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเข้ายุโรปไม่ได้เลย ถ้าคิดตาม Common Sense ก็เป็นไปไม่ได้แล้วครับ ในเมื่อวัคซีนแอสตราเซเนก้า ผลิตในอังกฤษ และใช้เป็นหลักในยุโรป! (อย่างน้อยก็ช่วงแรก ก่อนบางประเทศจะชะลอจากผลข้างเคียง) ข้อมูลจาก วรัชญ์ ครุจิต
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
nunchalida.work
อยากให้ตรวจสอบว่าจริงหรือไม่เพราะส่งต่อกันทางLINE เยอะมาก ค้นชื่อก็เป็นนพ.จริง แต่ไม่เห็นข้อความนี้ที่ไหนเลยะ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
love_king_24
The post was flagged as part of Facebook’s efforts to combat false news and misinformation on its News Feed. (Read more about our partnership with Facebook.) This post is wrong in a number of ways. First, the claim that COVID-19 is caused by bacteria is false. It is caused by a virus. COVID-19 is the World Health Organization’s official name for the disease caused by the virus known as severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (or SARS-CoV-2). บทความจาก COVID-19 is caused by a virus and autopsies do not violate WHO policies, as posts claim By Madison Czopek April 9, 2021
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว