13215 ข้อความ
- 1 คนสงสัยกินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นมะเร็งจากที่มีการแชร์ข้อความบนสื่อออนไลน์ว่า เม็ดไข่มุกบางยี่ห้อจากไต้หวันนั้นมีสารสไตรีน และสารกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง จากที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไต้หวันได้มีการตรวจสอบแล้ว ไม่พบว่ามีสารสไตรีน (Styrene) แต่พบสารอะซิโตฟีโนน (Acetophenone) และสารประกอบกลุ่มโพลีโบรมีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polybrominated Biphenyl ; PBBs) ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก แต่ไม่ใช่สารประกอบกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ] โดยเม็ดชานมไข่มุกทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง การกินเม็ดชานมไข่มุกก็เหมือนการกินแป้ง จึงยังสามารถกินชานมไข่มุกได้เหมือนเดิม แต่สิ่งที่น่ากลัว คือการกินชานมไข่มุกในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจได้ เพราะนอกจากในเม็ดไข่มุกจะประกอบไปด้วยแป้งมันสำปะหลังแล้วนั้น ในน้ำชานมยังประกอบไปด้วยน้ำตาล น้ำเชื่อม ครีมเทียม นมข้นหวาน ซึ่งจัดได้ว่าชานมไข่มุกเป็นเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูง และมีคุณค่าทางสารอาหารน้อย จึงควรกินชานมไข่มุกนาน ๆ ครั้งเท่านั้น หรือหากต้องการกินอาจลดปริมาณน้ำตาล หลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียมในชานมไข่มุก บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เม็ดชานมไข่มุกทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง หากกินเม็ดชานมไข่มุกก็เหมือนการกินแป้ง อีกทั้งไม่พบว่ามีสารสไตรีน และสารประกอบกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล จึงไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งตามที่มีการแชร์ข้อมูลแต่อย่างใดหนูรัตนไม่ใช่กะเทย• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยรัฐฯ เเจกเงินเข้าบัตรสวัสดิการฯ รายละ 1,130 บาทจากที่มีคลิปวิดีโอส่งต่อข้อมูลว่า เดือน ก.ค. 66 นี้ รัฐฯ แจกเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รายละ 1,130 บาทนั้น ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เป็นข่าวสารที่เชื่อถือไม่ได้ และไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นข่าวสารที่เชื่อถือไม่ได้ และไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใดหนูรัตนไม่ใช่กะเทย• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยหายใจให้ถูกวิธีช่วยให้ลดอาการข้อเท้าบวมจากกรณีที่มีผู้โพสต์คลิปให้ความรู้ว่า การหายใจโดยนั่งตัวตรงหรือยืนตรง และเริ่มหายใจออกก่อนโดยโน้มตัวไปข้างหน้า แล้วหายใจเข้าโน้มตัวกลับขึ้นมา ทำแบบนี้ไป 20 - 30 ครั้ง จะช่วยลดอาการข้อเท้าบวม ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการที่คลิปกล่าวถึงเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงทางการแพทย์ หรือก็คือ วิธีการหายใจตามคลิปนั้น ไม่มีความสัมพันธ์ทั้งทางทฤษฎี หรือทางรายงานการวิจัยกับการลดการบวมของข้อเท้า ทั้งจากการบวมน้ำ การอุดกั้นของหลอดเลือดดำที่ขา หรือจากการอักเสบของข้อเท้าแต่อย่างใด บทสรุปของเรื่องนี้คือ : วิธีการหายใจตามคลิปนั้นไม่มีความสัมพันธ์ทั้งทางทฤษฎีหรือทางรายงานการวิจัยกับการลดการบวมของข้อเท้า ทั้งจากการบวมน้ำ การอุดกั้นของหลอดเลือดดำที่ขา หรือจากการอักเสบของข้อเท้าแต่อย่างใดหนูรัตนไม่ใช่กะเทย• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยาสมุนไพรจีนเเผ่นเเปะลดน้ำหนัก ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย เผาผลาญไขมันจากที่มีผู้ให้คำแนะนำว่า ยาสมุนไพรจีนแผ่นแปะลดน้ำหนัก ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย เผาผลาญไขมัน ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า แผ่นแปะลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน ตามที่ปรากฏดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรส่วนประกอบของสมุนไพร โดยมีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คือ ใช้สำหรับลดน้ำหนัก ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย ช่วยเผาผลาญไขมัน ซึ่งจากการสืบค้นในระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ไม่พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวนี้ บทสรุปของเรื่องนี้คือ : แผ่นแปะลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมันดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คือ ใช้สำหรับลดน้ำหนัก ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย ช่วยเผาผลาญไขมัน ซึ่งไม่พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแต่อย่างใดยาสมุนไพรลดความอ้วนผู้บริโภคเฝ้าระวังหนูรัตนไม่ใช่กะเทย• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอาการกรดไหลย้อน เกิดจากตับอ่อนเเอจากกรณีที่มีผู้โพสต์คลิปคำแนะนำสุขภาพว่า อาการกรดไหลย้อน เกิดจากตับอ่อนแอนั้น ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการที่คลิปกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงทางการแพทย์ กล่าวคืออาการตับอ่อนแอที่คลิปกล่าวถึงไม่มีความสัมพันธ์ทางทฤษฎีหรือผลการศึกษาใดที่อธิบายความสัมพันธ์กันกับโรคกรดไหลย้อนหรืออาการกรดไหลย้อน บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อาการตับอ่อนแอที่คลิปกล่าวถึงไม่มีความสัมพันธ์ทางทฤษฎี หรือผลการศึกษาใดที่อธิบายความสัมพันธ์กันกับโรคกรดไหลย้อน หรืออาการกรดไหลย้อนหนูรัตนไม่ใช่กะเทย• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสะพานน้ำยาวที่สุดในประเทศไทย ยกน้ำข้ามถนน จ. สมุทรปราการ ช่วยป้องกันน้ำท่วมไม่ระบุชื่อ• 1 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยไม่ระบุชื่อ• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยอย่าเชื่อ! รักษา "มะเร็งระยะสุดท้าย" ด้วยการดื่มน้ำปั่นผักจิงจูฉ่ายกรณีที่มีผู้โพสต์แนะนำผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายให้รักษาด้วยการดื่มน้ำปั่นผักจิงจูฉ่าย ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผักจิงจูฉ่ายช่วยรักษามะเร็งระยะสุดท้ายในมนุษย์ได้ โดยผักจิงจูฉ่าย (Artemisia lactiflora) เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศจีนนิยมนำมาใช้ปรุงอาหารอุดมไปด้วยวิตามิน ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารเบต้าแคโรทีน ไรโบฟลาวิน และแอสคอบิกแอซิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ในระดับห้องทดลอง และปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา ซึ่งทั้งนี้การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800มะเร็งยาสมุนไพรstd46556• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยสธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์หน้าแรก Main navigation หน้าแรก ข่าว เฟคนิวส์ สุขภาพปฐมภูมิ โรคอุบัติใหม่ รายงาน Infographic ชุมชนสุขภาพ Search Sunday, 5 February 2023 สธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์ สธ.ร่วมกับภาคีเครือข่าย 20 หน่วยงาน เดินหน้ารณรงค์ “วันมะเร็งโลก” ภายใต้แนวคิด ปี 2566 “Uniting our voices and taking action ชวนให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก หากวินิจฉัยเร็ว รักษาไว เพิ่มโอกาสรอดชีวิต มีโอกาสหายขาดได้ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” โดยมีนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คณะผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาธารณสุข อสม. และ ประชาชน เข้าร่วมงาน นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้นหลายประการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจอุจจาระ หากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจคัดกรองต่อด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจหายีนผิดปกติ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม และ การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ยังสนับสนุนสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากวิธี PAP smear เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการตรวจ HPV test ทำให้ความไวและความแม่นยำในการคัดกรองโรคสูงขึ้น และเมื่อคัดกรองพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลัดขั้นตอนการส่งต่อในระบบปกติโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ตามนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่” (Cancer Anywhere) ซึ่งการวินิจฉัยเร็วและรักษาเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยใช้สิทธิ์มะเร็งรักษาได้ทุกที่แล้วกว่า 325,000 คน หรือ กว่า 2,900,000 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วย PET scan ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ สารสกัดกัญชาเพื่อลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา และการสนับสนุนอุปกรณ์ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอคอยการรักษาจำนวนมาก ทั่วประเทศ ทั้งนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uniting our voices and taking action ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งมะเร็งstd46556• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยาสมุนไพรจีนแผ่นแปะลดน้ำหนัก ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย เผาผลาญไขมันกรณีที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับประเด็นเรื่องยาสมุนไพรจีนแผ่นแปะลดน้ำหนัก ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย เผาผลาญไขมัน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีผู้ให้คำแนะนำว่า ยาสมุนไพรจีนแผ่นแปะลดน้ำหนัก ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย เผาผลาญไขมัน ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า แผ่นแปะลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน ตามที่ปรากฏดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรส่วนประกอบของสมุนไพร โดยมีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คือ ใช้สำหรับลดน้ำหนัก ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย ช่วยเผาผลาญไขมัน ซึ่งจากการสืบค้นในระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ไม่พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวนี้ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆลดความอ้วนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd46206• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยพบเรือลักลอบขนน้ำมันกลางทะเลระยองภาคตะวันออกPotter• 1 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัย“บุหรี่ไฟฟ้า” อันตรายน้อยกว่า-ช่วยเลิก “บุหรี่มวน”ได้จริงหรือไม่ ?“บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมากแต่แรกเริ่มเดิมที บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น จึงเป็นทางเลือกของวัยรุ่นในปัจจุบันมะเร็งstd47859• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยสเปรย์พ่นปากฟ้าทะลายโจร ตราวี เฟรช สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้ผลิตภัณฑ์วี เฟรช เม้าท์ สเปรย์ โฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ว่า สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์วี เฟรช เม้าท์ สเปรย์ V FRESH MOUTH SPRAY ผลิตโดย บ. บิวตี้ คอสเมต จก. จดแจ้งไว้ว่าเป็นเครื่องสำอาง ประเภทสเปรย์ระงับกลิ่นปาก ใบรับจดแจ้งเลขที่ 65-1-6400022581 ผลิตภัณฑ์นี้เป็นเครื่องสำอาง ใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ไม่มีผลในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้ หากผู้บริโภคหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ เพื่อหวังผลในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอด อาจเสียโอกาสในการรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องโควิด 2019ยาสมุนไพรอย. เพิกถอนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47859• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 2 คนสงสัยกินน้ำมะเขือเทศช่วยให้ผิวขาวสงสัยว่าการกินมะเขือเทศทำให้ผิวขาวขึ้นจริงหรือไม่ความสวยความงามstd47859• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยแว่นกรองแสงสีฟ้า ช่วยได้จริงไหม? จำเป็นต้องใส่จริงหรือเปล่ามีการใช้งานอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์มากขึ้นในทุกช่วงวัย ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอแสงสีฟ้าที่มาจากอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ทำให้ แว่นกรองแสงสีฟ้า มีความต้องการในท้องตลาดมากขึ้นstd47912• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยดื่มน้ำเย็นตอนอากาศร้อน 40 องศา หลอดเลือดเล็กอาจปริหรือระเบิดข้อมูลจากโลกออนไลน์ระบุว่า ในวันที่อากาศร้อน อุณหภูมิสูงถึง 40 องศา ห้ามดื่มน้ำเย็น เนื่องจากการดื่มน้ำเย็นส่งผลให้หลอดเลือดเล็กอาจปริหรือระเบิดได้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า เป็นข้อมูลเท็จผู้บริโภคเฝ้าระวังกรชื่อนี้เสียไม่ได้• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอย. เตือน ผลิตภัณฑ์ Efferin โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงกับข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ Efferin (เอฟเฟอร์ริน) ทางสื่อออนไลน์ โดยระบุสรรพคุณ “กระตุ้นการเผาผลาญได้อย่างดีเยี่ยม...ส่งเสริมการกำจัดไขมันขั้นสุด...กระตุ้นเนื้อเยื่อไขมันสีน้ำตาล... ช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ช่วยสลายและใช้งานไขมัน กำจัดไขมันส่วนเกินจากกระแสเลือด ทำให้เนื้อเยื่อไขมันลดลง... มีประสิทธิภาพในการต้านภาวะซึมเศร้า… ช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น” เป็นต้น ทั้งยังมีการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับแพทย์หญิงชื่อดังชาวไทยถูกไล่ออกจากประเทศชั้นนำ เนื่องจากปฏิเสธที่จะขายผลิตภัณฑ์เผาผลาญไขมันสูตรพิเศษให้แก่บริษัทยาในประเทศนั้น จึงได้กลับประเทศไทยและร่วมกับผู้ทรงอิทธิพลผลิตผลิตภัณฑ์เอฟเฟอร์รินขายเฉพาะในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เป็นข้อมูลลวง โดยผลิตภัณฑ์ Efferin ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอฟเฟอร์ริน / Efferin Dietary Supplement Product เลขสารบบอาหาร 10-1-03958-5-0272 โฆษณาดังกล่าวแสดงข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ และแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด อีกทั้งผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค นอกจากนี้ยังพบมีการแอบอ้างชื่อบุคลากรทางการแพทย์ในตำแหน่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อมไร้ท่อเป็นผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานและนักโภชนาการเป็นผู้รับรองผลิตภัณฑ์แต่แท้จริงแล้วนั้น ไม่มีตำแหน่งดังกล่าวตามที่กล่าวอ้าง และภาพหญิง-ชายที่อ้างว่าเป็นผู้คิดค้นและรับรองผลิตภัณฑ์นั้น เป็นภาพหญิง-ชายที่เผยแพร่ทั่วไปอยู่บนอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว ฉะนั้นผู้บริโภคโปรดระมัดระวังอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือสร้างเรื่องราวดึงดูดความสนใจที่เป็นไปไม่ได้ หากมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวควรปรับพฤติกรรมการบริโภค ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่ควรหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริงทางสื่อออนไลน์ เพราะอาจมีสารที่เป็นอันตราย มีผลข้างเคียงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากผู้บริโภคพบเห็นเบาะแสการโฆษณา การผลิต / จำหน่ายผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศลดความอ้วนอย. เพิกถอนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47993• 1 ปีที่แล้ว2 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยอย.เตือนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อ้างลดอ้วน ‘De2xy และ Me2shape’ เสี่ยงอันตรายอย.เตือนสาวอยากผอมระวัง อย่าซื้อผลิตภัณฑ์อวดอ้างลดอ้วน De2xy และ Me2shape พบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ขออนุญาตกับ อย. แถมโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิต นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ “De2xy และ Me2Shape” ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้น อย.ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบการโฆษณาสรรพคุณอ้างลดน้ำหนักทางเฟซบุ๊กชื่อ Sunisa Lv’tl แสดงข้อความในทำนองช่วยควบคุมน้ำหนัก เปลี่ยนหุ่นเสีย เป็นหุ่นสวย เพราะมีตัวช่วยหุ่นดีที่ไม่ต้องอด ก็ลดได้ เพียงแค่วันละ 1 - 2 แคปซูล ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตและโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้โฆษณาแล้ว นอกจากนี้ จากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาต้นตอแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ต่อไป รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า ขอเตือนภัยสาวอยากผอมพึงระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อคารมการโฆษณาเกินจริงจากผู้ขายโดยเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกรณีเป็นยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหาร เป็นยาที่กระตุ้นประสาทส่วนกลางการใช้จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ขณะรับประทานยา แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดยา หรือที่เรียกว่า yo-yo effect และผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่า ดังนั้น การใช้ยาเพื่อลดความอ้วน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น อย่าซื้อยามารับประทานเอง ส่วนกรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มักตรวจพบว่ามีการผสมยาหรือสารอันตราย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ขายอย่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอวดอ้างลดความอ้วนผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีทันที ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศลดความอ้วนอย. เพิกถอนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47993• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน "จัสมี" อย. ชี้ โฆษณาเกินจริง พร้อมถอดเลข อย. ออกแล้วพบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จัสมี ทางผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “เจ้สวย” โฆษณาโดยระบุสรรพคุณ “... สูตรเด็ด ๒ ตัวยา “บล็อค” เน้นๆ ดักจับแป้ง,น้ำตาล... “เบิร์น” รัว ๆ กระชับสัดส่วน...บวมออกแขนขาท้าเลย... “พุงยุบ” เร่งเผาผลาญ ไม่ต้องอดก็ลดได้... บอกลา หุ่นพังๆ” และระบุเลข อย. 10-1-20960-5-0120 ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากการโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. เมื่อตรวจสอบสถานะการอนุญาต พบว่าผลิตภัณฑ์เลขสารบบอาหาร 10-1-20960-5-0120 ได้ถูกยกเลิกแล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาทางออนไลน์ทั้งหมด และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว จึงขอเตือนภัยผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วน วิธีการลดน้ำหนักที่ดีที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและควบคุมอาหาร ไม่กินอาหารพร่ำเพรื่อ ควรกินอาหารที่หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม ลดการกินอาหาร หวาน มัน เค็ม รวมทั้งควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ อย. ไม่เคยอนุญาตให้ผลิตภัณฑ์อาหารโฆษณาไปในทางลดน้ำหนัก หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือตรวจสอบเลขผลิตภัณฑ์ผ่านทาง Oryor Smart Application หรือเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.thลดความอ้วนอย. เพิกถอนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47993• 1 ปีที่แล้ว2 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยอัศจรรย์ ครีมบำรุงผิว ทาปุ๊บหน้าเปลี่ยน ชาวเน็ตสงสัยขายครีมหรือแอปฯตัดต่อชาวเน็ตงงหนักพบ ครีมบำรุงผิว ขายบนแอปฯออนไลน์ ก่อนทา-หลังทา ต่างกันอย่างกับคนละคนจนต้องถาม ขายครีมหรือขายแอปฯตัดต่อ ในยุคที่ไม่ว่าใครๆ ก็ต้องหันมาดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน วัยไหน การซื้อครีมบำรุง หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ล้วนเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวกันเลยทีเดียว แต่การจะซื้อทั้งทีนั้นก็ต้องดูดีดี เพราะบางครั้งเราอาจจะโดนตบตาจากการตัดต่อภาพของผู้ขาย เพราะบางครั้งภาพที่ใช้อ้างอิงก็ไม่ใช่ภาพจริง เช่นเดียวกับกรณีนี้ที่เฟซบุ๊กเพจชื่อ หมึกเหลือง ได้แชร์รูปภาพของผลิตภัณฑ์ ครีมบำรุงผิว ที่ปรากฎอยู่บนหน้าแอปฯออนไลน์ แอปฯหนึ่ง มีการเปรียบเทียบภาพก่อนใช้ และหลังใช้ ทไเอาชาวเน็ตถึงกับต้องตะลึงตาค้าง เพราะผลที่ออกมามันช่างแตกต่างกัน จนอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่า “ตกลงจะขายครีม หรือขายโปรแกรมตัดต่อ”ความสวยความงามผู้บริโภคเฝ้าระวังมีมstd47984• 1 ปีที่แล้ว5 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยยาลดน้ำหนักนพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานและ ปลอดภัย โดยมุ่งเน้น 3 ด้านหลัก ได้แก่ การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพและสถานประกอบการให้ได้มาตรฐาน การคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งตลอดปี พ.ศ. 2554 อย.ได้พิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์-สุขภาพ 494,841 รายการ และพิจารณาอนุญาตสถานประกอบการ 23,835 รายลดความอ้วนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47984• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยสเปรย์พ่นคอ’ อ้างป้องกันเชื้อโควิด19จากการที่สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เตือน อย่าหลงเชื่อโฆษณา ‘สเปรย์ฟ้าทะลายโจรสำหรับพ่นปากและลำคอ’ อ้างสรรพคุณป้องกันโควิด-19 จึงแจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอให้ตรวจสอบการโฆษณาสเปรย์สำหรับพ่นลำคอข้างต้นว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ ขณะนี้ อย. ตอบกลับมาในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมาว่าได้ตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 รายการ ได้แก่ 1. วีเฟรช เม้าท์สเปรย์ (V-FRESH) เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้จดทะเบียนไว้กับ อย. เลขที่ใบจดแจ้ง 65-1-6400022581 2. เฉิดฉาย เม้าท์ สเปรย์ (CHERDCHINE MOUTH SPRAY) เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้จดทะเบียนไว้กับ อย. เลขที่ใบจดแจ้ง 13-1-6400026579 3. เดนทิสเต้ แอนโดรกาฟิส พานิคูลาต้า เม้าท์สเปรย์ (Dentiste Mouth Spray) ไม่ปรากฏเลขที่จดแจ้งในแพลตฟอร์มออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานผลิตภัณฑ์โควิด 2019อย. เพิกถอนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47984• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยเซรัมดั้งโด่งจากกรณีมีผู้แชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ครีมทาผิวหน้า หรือเซรัมดั้งโด่งที่ระบุสรรพคุณว่าสามารถทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกดั้งโด่งภายใน 7 วันนั้น โดยมีเพจดังออกมายืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากสันจมูกเป็นกระดูกไม่สามารถงอกเพิ่มจากการทาครีมได้ ด้านชาวเน็ตได้ตั้งคำถามตกลงจมูกคนหรือหางจิ้งจกคะ? ตามที่นำเสนอข่าวไปแล้วนั้นความสวยความงามอย. เพิกถอนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47984• 1 ปีที่แล้ว5 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยกรมปศุสัตว์" เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ย้ำเนื้อหมูกินได้ปลอดภัย8 ก.ย. 2563 05:38 น. ข่าว ทั่วไทย กทม. ไทยรัฐออนไลน์ "กรมปศุสัตว์" เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ย้ำเนื้อหมูกินได้ปลอดภัย ... "กรมปศุสัตว์" ย้ำเนื้อสุกรกินได้ปลอดภัย เตือนอย่าหลงเชื่อขบวนการปล่อยข่าวลวง กดราคาซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยง ช่วงโควิด-19 ขอ ปชช.อย่าตระหนก-ตกเป็นเครื่องมือขบวนการดังกล่าว "กรมปศุสัตว์" เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม ย้ำเนื้อหมูกินได้ปลอดภัย เมื่อวันที่ 7 ก.ย.63 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กระบวนการผลิตเนื้อสุกรของไทย มีมาตรฐานกรมปศุสัตว์รองรับ ทำให้ได้เนื้อสุกรที่มีคุณภาพปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ ผู้บริโภคสามารถนำไปปรุงสุกและรับประทานได้อย่างมั่นใจ แต่ขณะนี้กลับพบข้อความข่าวลวงที่ส่งต่อกันในทำนองชวนคนงดบริโภค โดยใช้มุขเดิมเรื่องโรคในสุกร และภาพสุกรที่นำมาประกอบน่าจะเป็นของประเทศอื่น เนื่องจากตามหลักปฏิบัติของกรมปศุสัตว์แล้ว จะยึดหลักการพื้นฐานด้านการควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ ตามมาตรฐานสากลอย่างเข้มงวดข่าวการเมืองผู้บริโภคเฝ้าระวังstd48026• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ2 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: false1 ความเห็น
- 2 คนสงสัยเปิดไอเดียสุดเจ๋งของเยาวรุ่น ร่วมแก้ปัญหาข่าวลวง สร้างนวัตกรรมพร้อมข้อเสนอผลักสู่ระดับนโยบาย11 ก.พ. 2565 12:30 น. ข่าว ทั่วไทย ข่าวประชาสัมพันธ์ เปิดไอเดียสุดเจ๋งของเยาวรุ่น ร่วมแก้ปัญหาข่าวลวง สร้างนวัตกรรมพร้อมข้อเสนอผลักสู่ระดับนโยบาย สิ้นสุดแล้วโครงการ “FACTkathon” นักศึกษาร่วมระดมสมองส่งผลงานนวัตกรรมเข้าประกวด เพื่อแก้ปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอม พร้อมผลักดัน 7 ข้อเสนอให้เกิดเป็นนโยบายแก้ปัญหาเฟกนิวส์เกลื่อนโลกออนไลน์ เปิดไอเดียสุดเจ๋งของเยาวรุ่น ร่วมแก้ปัญหาข่าวลวง สร้างนวัตกรรมพร้อมข้อเสนอผลักสู่ระดับนโยบาย ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรมการแข่งขันระดมสมอง “หักล้างมูลเท็จ แสวงหาความจริงร่วม” “FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic” ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และเป็นความร่วมมือกับสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ มูลนิธิสภาการหนังสือพิมพ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย (Fnf Thailand) สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ChangeFusion Centre for Humanitarian Dialogue (HD) และ ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) งานนี้นอกจากจะเป็นการประชันไอเดียของคนรุ่นใหม่ระดับมหาวิทยาลัย ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาข่าวลวงที่มากมายในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีการระดมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางการหา “ความจริงร่วม” ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ที่มีความเห็นต่างได้อย่างปกติสุข จากการแข่งขันครั้งนี้ทีมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ได้แก่ ทีมบอท เป็นการผสมผสานทีมจากนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีไอเดียสุดเจ๋ง “Check-on” หรือ “เช็กก่อน” โดยพัฒนาเครื่องมือ Extension เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอ่านข่าวในเว็บหรือเห็นภาพต่างๆ แล้วสงสัยว่าจริงหรือไม่ ให้คลุมดำที่ข้อความ คลิกขวา จะมีปุ่ม Check หน้าต่างของ Check-On ขึ้นมาแล้วประมวลผลความน่าเชื่อถือจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ อาทิ Cofact ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ต่อต้านข่าวลวง เป็นต้น ทีม TU Validator ซึ่งได้รับรางวัลที่ 2 รวมทีมจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแพลตฟอร์มเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาร่วมค้นหาความจริงด้วยกัน พร้อมรับคะแนนและของรางวัล เพื่อสร้างชุมชนในสังคมออนไลน์ ให้ผู้ใช้งานได้มีการถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อข้อมูลต่างๆ จัดกิจกรรม Debate ถกประเด็นกัน เชื่อว่าความจริงต้องเกิดขึ้นได้ สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลที่ 3 คือ ทีม New Gen Next FACTkathon เป็นการรวมตัวของนักศึกษาคณะต่างๆ จากมหาวิทยาลัยพายัพ ออกแบบการนำข้อมูลข่าวสาร มาถ่ายทอดในรูปแบบของการ์ตูน ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันด้วยการสร้างการ์ตูนลงแพลตฟอร์มหนังสือการ์ตูนออนไลน์ (Webtoon) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบข่าวลวงไปด้วย พร้อมมีลูกเล่นด้วยการให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมไขปริศนา โหวตว่าจริงหรือไม่จริง โดยให้สิ่งตอบแทนเป็นเหรียญ สำหรับใช้เปิดอ่านตอนต่อไป นอกจากกิจกรรมการประกวดเสนอแนวคิดนวัตกรรมแล้ว ยังได้จัดการประชุมเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะที่จะแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน ซึ่งเห็นตรงกันว่าต้องผลักดันให้เกิดนโยบายที่แก้ปัญหาข่าวลวงที่เกลื่อนโลกออนไลน์ร่วมกันด้วย ดังนี้ 1) ทวงถามความรับผิดชอบกับผู้ผลิตและส่งต่อข่าวลวง : มีข้อเสนอแนะให้มีวิธีการป้องกันและแก้ไขข้อความผู้ผลิตและผู้ส่งต่อข่าวลวง ที่จะช่วยลดการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นลงได้ 2) ให้ความสำคัญกับทักษะ “รู้เท่าทันสื่อ” : การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ไม่ใช่วิชาที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคดิจิทัล แต่ถูกพูดถึงเรื่องนี้นับตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของสื่อมวลชนยุคอนาล็อก (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์) เช่น กลยุทธ์หรือเทคนิคที่ใช้ผลิตเนื้อหาผ่านสื่อแต่ละประเภทใช้ส่งสารถึงปัจเจกชนหรือกลุ่มคนซึ่งเป็นผู้รับสาร บทบาทของสื่อต่อการสร้างกระแสค่านิยม หรือวัฒนธรรมต่างๆ ในสังคม เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การผลิตและส่งต่อข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นทั้งกว้างขวางและรวดเร็ว การรู้เท่าทันสื่อจึงยิ่งมีความสำคัญเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือน ความเข้าใจในแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ Facebook, Twitter, Instagram, Line ฯลฯ ถูกออกแบบมาให้ทำงานอย่างไร และผู้ผลิตเนื้อหา (Content) ใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร ซึ่งจะซับซ้อนกว่าสื่อดั้งเดิม เช่น แพลตฟอร์มบางชนิดสามารถใช้วิธีการบางอย่างเพื่อให้สาร (ข้อความ ภาพ คลิปวิดีโอ คลิปเสียง) ถูกมองเห็นอย่างกว้างขวางและในความถี่ต่อเนื่อง หรือมีสถิติการส่งต่อจำนวนมาก ผู้ที่ไม่รู้เท่าทันวิธีการเหล่านี้อาจเชื่อไปก่อนแล้วว่าเป็นเรื่องจริงโดยไม่ได้ตรวจสอบ 3) ลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล : แม้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่จะถูกมองว่าเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Native) จึงใช้งานได้คล่องกว่าคนวัยอื่นๆ ที่อาจจะเพิ่งรู้จักเทคโนโลยีดิจิทัลในวัยกลางคนหรือวัยเกษียณ แต่ในความเป็นจริงก็ยังพบช่องว่าง กล่าวคือ เด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่ไม่มีทุนทรัพย์จัดหาเครื่องมือเชื่อมต่อ (Device) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านดิจิทัล อาทิ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่สัญญาณมีความเสถียร ย่อมมีข้อจำกัดในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเมื่อเทียบกับเด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่มีความพร้อม 4) สนับสนุนบทบาทขององค์กรที่ทำงานต่อต้านข่าวลวงที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถนำข้อมูลไปถึงผู้คนได้ง่าย : ปัจจุบันมีความพยายามจากหลายฝ่ายในการต่อสู้กับปัญหาข่าวลวง ทั้งภาครัฐที่มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ภาคสื่อมวลชนที่มีศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ของ อสมท. และภาควิชาการ-ประชาชน ที่รวมตัวกันในนามโคแฟค ซึ่งนอกจากจะสนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้ทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วแล้ว ควรพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลที่เมื่อผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไปพบข้อมูลบางอย่างแล้วสงสัย สามารถส่งไปประมวลผลกับระบบขององค์กรข้างต้นได้ทันทีว่าเคยมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วหรือไม่ เนื่องจากพบว่าข่าวลวงหลายข่าวมักมีลักษณะ “แชร์วนซ้ำ” บางเรื่องพิสูจน์กันไปแล้วหลายปีว่าไม่จริงแต่ก็ยังมีการส่งต่อวนกลับมาอีก 5) ขยายแนวร่วมตรวจสอบข่าวลวงสู่ระดับท้องถิ่น : ในความเป็นจริงที่การสื่อสารรวดเร็ว ข้อมูลถูกผลิตและส่งต่ออย่างมหาศาล ข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือนจึงมีความหลากหลายซึ่งบางเรื่องอาจจะไม่ได้เป็นกระแสมากพอที่องค์กรจากส่วนกลางจะมองเห็นและเข้าไปตรวจสอบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างแนวร่วมในระดับชุมชน ซึ่งอาจเป็นสื่อมวลชนท้องถิ่น หรือแกนนำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ฯลฯ) โดยให้ผู้ที่สนใจประเด็นข่าวลวงมาฝึกฝนทักษะการตรวจสอบ รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะว่าจะส่งเสริมเรื่องนี้ในระดับท้องถิ่นของตนเองอย่างไร เพราะแต่ละพื้นที่นั้นมีบริบททางสังคมไม่เหมือนกันผู้บริโภคเฝ้าระวังstd48026• 1 ปีที่แล้ว