1 คนสงสัย
สธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์
หน้าแรก
Main navigation
หน้าแรก
ข่าว
เฟคนิวส์
สุขภาพปฐมภูมิ
โรคอุบัติใหม่
รายงาน
Infographic
ชุมชนสุขภาพ
Search

Sunday, 5 February 2023
สธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์
สธ.ร่วมกับภาคีเครือข่าย 20 หน่วยงาน เดินหน้ารณรงค์ “วันมะเร็งโลก” ภายใต้แนวคิด ปี 2566 “Uniting our voices and taking action ชวนให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก หากวินิจฉัยเร็ว รักษาไว เพิ่มโอกาสรอดชีวิต มีโอกาสหายขาดได้

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” โดยมีนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คณะผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาธารณสุข อสม. และ ประชาชน เข้าร่วมงาน

นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้นหลายประการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจอุจจาระ หากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจคัดกรองต่อด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจหายีนผิดปกติ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม และ การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ยังสนับสนุนสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากวิธี PAP smear เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการตรวจ HPV test ทำให้ความไวและความแม่นยำในการคัดกรองโรคสูงขึ้น และเมื่อคัดกรองพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลัดขั้นตอนการส่งต่อในระบบปกติโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ตามนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่” (Cancer Anywhere) ซึ่งการวินิจฉัยเร็วและรักษาเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยใช้สิทธิ์มะเร็งรักษาได้ทุกที่แล้วกว่า 325,000 คน หรือ กว่า 2,900,000 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วย PET scan ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ สารสกัดกัญชาเพื่อลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา และการสนับสนุนอุปกรณ์ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอคอยการรักษาจำนวนมาก ทั่วประเทศ ทั้งนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uniting our voices and taking action ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
std46556
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

มะเร็ง

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    วิธีการตรวจมะเร็งง่าย ๆ โดยการเอาน้ำมันพืชมาทาแขน แล้วเอาเล็บขูดๆ เกาๆ
    การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกหรือการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เป็นการตรวจร่างกายในผู้ที่ยังไม่มีอาการของโรคเพื่อค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ โดยทั่วไปหลักการที่สำคัญในการตรวจค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก ได้แก่ การสอบถามประวัติสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิต การตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น การตรวจเต้านม การตรวจทวารหนัก การตรวจปากมดลูก และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเม็ดเลือด การเอกซเรย์ปอด ซึ่งหัตถการเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องได้รับการพิจารณาหรือวินิจฉัยโดยแพทย์ ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าวิธีการตรวจมะเร็งง่าย ๆ โดยการเอาน้ำมันพืชมาทาแขน แล้วเอาเล็บขูดๆ เกาๆ นั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าวิธีดังกล่าวไม่สามารถตรวจหามะเร็งได้ เนื่องจากการตรวจคัดกรองมะเร็งแต่ละชนิดนั้น มีวิธีการและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันโรคมะเร็งที่สามารถคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
    Fang Orawan
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์
    เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” โดยมีนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คณะผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาธารณสุข อสม. และ ประชาชน เข้าร่วมงาน นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้นหลายประการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจอุจจาระ หากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจคัดกรองต่อด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจหายีนผิดปกติ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม และ การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ยังสนับสนุนสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากวิธี PAP smear เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการตรวจ HPV test ทำให้ความไวและความแม่นยำในการคัดกรองโรคสูงขึ้น และเมื่อคัดกรองพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลัดขั้นตอนการส่งต่อในระบบปกติโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ตามนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่” (Cancer Anywhere) ซึ่งการวินิจฉัยเร็วและรักษาเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยใช้สิทธิ์มะเร็งรักษาได้ทุกที่แล้วกว่า 325,000 คน หรือ กว่า 2,900,000 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วย PET scan ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ สารสกัดกัญชาเพื่อลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา และการสนับสนุนอุปกรณ์ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอคอยการรักษาจำนวนมาก ทั่วประเทศ ทั้งนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uniting our voices and taking action ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
    std47626
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    การใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายใต้วงแขน เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่
    ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายใต้วงแขน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาหรือฉีดใต้วงแขน เพื่อช่วยลดความเปียกชื้นหรือป้องกันกลิ่นตัวที่เกิดจากการทำงานของต่อมเหงื่อใต้วงแขน ซึ่งเป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ผลิตภัณฑ์นี้จะช่วยเข้าไปยับยั้งเหงื่อที่หลั่งจาก Eccrine sweat glands (ต่อมเหงื่อที่ทำหน้าที่หลั่งเหงื่อ เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย) เมื่อระงับเหงื่อได้กลิ่นกายก็จะลดลง (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://shorturl.asia/93IHs ) มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่เกิดเนื่องจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ก่อนที่จะกระจายไปอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/breast-cancer/ ) จากการสัมภาษณ์ เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป เภสัชกรปฏิบัติการประจำร้านขายยาเภสัชกรอิ่ม ได้ให้ข้อมูลว่า “การใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายใต้วงแขนเป็นประจำ อาจเสี่ยงที่จะได้รับสารที่มีชื่อว่า อลูมิเนียมคลอไฮเดรต ซึ่งมีการศึกษาที่ระบุว่าสารชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเป็น เอสโตรเจน คือฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมได้ แต่สารนี้มีการใช้กันมาอย่างยาวนานในทางการแพทย์ จุดประสงค์หลักที่ใช้คือเพื่อทำให้ต่อมเหงื่อมีขนาดเล็กลง จะช่วยลดปริมาณเหงื่อ ช่วยลดการอับชื้น และลดโอกาสเกิดกลิ่นกายได้ ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อโดนกับเหงื่อจะกลายเป็นของแข็ง และมีโอกาสน้อยมากที่ร่างกายจะดูดซึมเข้าไป ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่าสารตัวนี้มีความสัมพันธุ์กับมะเร็งเต้านมอย่างไร ดังนั้นจึงสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายใต้วงแขนได้ตามปกติ แต่ควรเลือกแบรนด์ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายใต้วงแขนที่เป็นที่นิยมในตลาดและมีความน่าเชื่อถือ” ทั้งนี้ เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วยว่า “สิ่งที่สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม สาเหตุหลักเกิดจากคุณพ่อ คุณแม่ หรือคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งคือการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นเอง และอีกสาเหตุที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งเต้านมคือกิจวัตรประจำวันบางอย่าง เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง การมีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือแม้กระทั่งการกินยาคุมต่อเนื่องนานเกิน 5ปี และไม่มีการเว้นพัก ซึ่งถ้าเกิดว่ามีความกังวลในเรื่องของมะเร็งเต้านม ก็ควรที่จะตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ” (ข้อมูลเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567) ดังนั้น การใช้ผลิตระงับกลิ่นกายใต้วงแขนไม่ได้ทำให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายใต้วงแขนที่เป็นที่รู้จัก และมีความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัย ทั้งนี้หากมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงเรื่องมะเร็งเต้านม ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี
    Amy Onanong
     •  2 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ให้ความเห็นนี้ จริงหรือไม่
    ถามความเห็นของหมอสันต์ ผมแนะนำในฐานะแพทย์ประจำครอบครัวว่า 1.. เกิดเป็นผู้ชายหากอายุมาก (เกิน 75 ปี) และอยู่สุขสบายดี ไม่ต้องไปตรวจ PSA 2.. หากเผลอตรวจ PSA ไปแล้วพบว่าได้ค่าสูงแต่อยู่สุขสบายดียังฉี่ออกและอั้นฉี่ได้ ก็ไม่ต้องไปตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก 3.. หากเผลอไปตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปและยืนยันว่าเป็นมะเร็งแล้ว โดยที่ยังอยู่สบายดีฉี่ออกอยู่ก็ไม่ควรไปตรวจการแพร่กระจาย (bone scan, MRI) 4. หากเผลอไปตรวจการแพร่กระจายแล้วไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรก็ไม่ต้องเดินหน้ารักษามะเร็งด้วยผ่าตัดฉายแสงหรือฮอร์โมนบำบัดหรือเคมีบำบัด คำแนะนำข้อ 1 และ 2 นั้นเป็นไปตามคำแนะนำล่าสุดของคณะกรรมการป้องกันโรคของรัฐบาลสหรัฐฯ (USPSTF) ว่าเกิดเป็นชายที่อยู่มาได้ถึงอายุ 75 ปีแล้ว อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยนโดยการเที่ยวตรวจ PSA เพราะผลที่ได้ออกมาจะนำไปสู่การตรวจและการรักษาที่ไม่จำเป็นต่างๆนาๆ โดยที่เมื่อเทียบกับคนที่อยู่นิ่งๆอยู่เปล่าๆโดยไม่แกว่งเท้าหาเสี้ยนแล้ว อัตราตายจากมะเร็งต่อมลูกหมากโหลงโจ้งแล้วก็ไม่แตกต่างกัน ส่วนคำแนะนำข้อที่ 3 และ 4 นั้นเป็นผลจากการใช้ดุลพินิจเทียบประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในคนแก่อายุ 84 ปี กล่าวคือในการจะรักษาด้วยวิธีการรุนแรงรุกล้ำทั้งหลาย วงการแพทย์มุ่งประโยชน์ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งในสองอย่างคือ (1) ความยืนยาวของชีวิต (2) คุณภาพชีวิต หากทำไปแล้วไม่ได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ การรักษานั้นเรียกว่าเป็นการรักษาไร้ประโยชน์ (futile treatment) ซึ่งตามหลักจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ แพทย์ไม่พึงให้การรักษาที่ไร้ประโยชน์แก่คนไข้ ข้อมูลการแพทย์ปัจจุบันพิสูจน์ไม่ได้ว่าการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากที่แพทย์ทำไปสาระพัดนั้นจะยืดอายุคนป่วยให้ยืนยาวออกไปได้จริงหรือเปล่า แปลไทยให้เป็นจีนก็คือรักษาไม่รักษาก็แปะเอี้ย คือตายในเวลาเท่าๆกัน เพราะทุกวันนี้วงการแพทย์ยังไม่ทราบเลยว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนี้ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติ (natural course) มันจะเป็นอย่างไร ถ้ายังไม่รู้เลยว่าปล่อยโรคไว้จะเป็นอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าการเข้าไปรักษาผ่าตัดคีโมฉายแสงจะดีกว่าโรคปล่อยไว้ จริงแมะ ดังนั้นมะเร็งต่อมลูกหมากนี้จะใช้หลักคิดแบบมะเร็งที่อื่นที่ว่าตรวจวินิจฉัยได้เร็ว รักษาได้เร็ว อัตราการหายสูงนั้น ใช้ไม่ได้ งานวิจัยเรื่องนี้ที่ดีที่สุดชื่อ PIVOT study ซึ่งเอาคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกมา 695 คน จับฉลากแบ่งเป็นสองพวก พวกแรกผ่าตัดรักษาไปตามสูตร พวกที่สองทิ้งไว้ไม่ทำอะไรเลย แล้วตามดูไป 10 ปี พบว่าพวกที่ทำผ่าตัดเกิดมะเร็งขยายตัวและแพร่กระจายน้อยกว่าพวกไม่ทำอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการรอดชีวิต (length of life) ของทั้งสองพวก ซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการรักษา กลับพบว่าไม่ต่างกันเลย ส่วนเรื่องประโยชน์ในด้านคุณภาพชีวิตนั้น คุณพ่อของคุณตอนนี้ฉี่ได้อั้นได้นี่เรียกว่ามีคุณภาพชีวิตที่สุดยอดแล้ว การรักษามีแต่จะทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีๆอยู่นี้แย่ลง ต้องเข้าๆออกๆโรงพยาบาล ยังไม่นับว่าจะโดนพิษของรังสีและของยาอีก เมื่อความยืนยาวของชีวิตก็ไม่ได้ คุณภาพชีวิตก็มีแต่จะขาดทุน แล้วจะรักษาไปทำพรือละครับ คำแนะนำของผมอาจไม่เหมือนกับของหมอคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา คำแนะนำของผมเกิดจากการชั่งน้ำหนักหลักฐานวิทยาศาสตร์จากมุมมองแบบองค์รวมของแพทย์ประจำครอบครัว ย่อมแตกต่างจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่มองมาจากมุมของการมุ่งรักษาโรคนั้นให้สุดๆกันไปเลยรู้ดีรู้ชั่วกันไปข้างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง การแพทย์แผนปัจจุบันนี้มันมีสองด้าน ด้านสว่างก็คือการมุ่งเอาวิทยาศาสตร์มาช่วยรักษาคนเจ็บไข้ให้หาย อีกด้านหนึ่งซึ่งผมขอเรียกว่าเป็นด้านมืดของการแพทย์แผนปัจจุบันก็คือการที่ธุรกรรมทั้งหมดมีธรรมชาติเป็นการเสนอขายสินค้า ผมหมายถึงว่าทั้งการวินิจฉัยก็ดี การตรวจก็ดี และการรักษาก็ดี คือสินค้า โดยที่บริษัทยา บริษัทเครื่องมือ โรงพยาบาล ซึ่งเราเรียกรวมๆว่า medical industry เป็นผู้ขาย คุณจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากด้านสว่าง แต่หลีกเลี่ยงการพลัดหลงเข้าไปสู่ด้านมืด นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
    Mrs.Doubt
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เรื่องนี้น่าสนใจมาก...หากประสบผลสำเร็จ คนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดคงจะสบายสักที...... --------‐--‐-----//------------------ มนุษย์จะมีอายุขัยเพิ่มขึ้น! ทำความรู้จัก “อนุภาคนาโน” ที่ถูกค้นพบเมื่อปีที่แล้ว และอาจทำให้ “โรคหัวใจ” กลายเป็นแค่ประวัติศาสตร์ ทุกวันนี้ เวลาได้ยินข่าวคนดังเสียชีวิต มักมีสาเหตุมาจาก “มะเร็ง” และพานคิดว่ามะเร็งน่าจะเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของมนุษย์ แต่นั่นคือความเข้าใจผิด เพราะสาเหตุการตายอันดับ 1 ของมนุษย์ปัจจุบันคือ “โรคหัวใจ” หรือชื่อเต็มๆ ก็คือ “โรคหัวใจและหลอดเลือด” มนุษย์ที่เสียชีวิตเพราะโรคกลุ่มนี้ในแต่ละปีมากถึง 30% และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 แซงหน้ามะเร็ง 1.เราอาจสังเกตว่า “คนสมัยก่อน” มักจะไม่ได้ตายเพราะ “โรคมะเร็ง” หรือ “โรคหัวใจ” . เหตุที่ช่วงหลังมานี้ “โรคมะเร็ง” และ “โรคหัวใจ” ขึ้นอันดับ 1 และ 2 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ามนุษย์ปัจจุบันอายุยืนขึ้น เราไม่ค่อยตายจากสงครามและโรคติดเชื้อต่างๆ แบบในอดีต พออยู่มาจนแก่ . เราจึงเผชิญหน้ากับโรคที่โดยทั่วไปใช้เวลาพัฒนาหลายสิบปีกว่าจะพัฒนาจนคร่าชีวิตผู้คนได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคตับ โรคปอด โรคไต ฯลฯ 2.ก่อนหน้านี้ โรคที่ฆ่ามนุษย์เป็นอันดับ 1 คือ “มะเร็ง” เหตุที่เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะคำว่า “มะเร็ง” นั้นกินความกว้างมากๆ เพราะเกิดจากการที่เซลล์ของอวัยวะร่างกายกลายพันธุ์เป็นเนื้อร้าย เรียกได้ว่าเกิดเนื้อร้ายส่วนไหนก็นับเป็นมะเร็งหมด พอแก่ตัวไป แนวโน้มที่เซลล์จะกลายพันธุ์ก็ยิ่งเยอะมากขึ้น . ผลในทางสถิติคนก็เลยเป็นมะเร็งกันเยอะ และในอดีตเป็นโรคที่ “ไม่มีทางรักษา” . แต่ยุคหลังๆ เริ่มมีแนวทางการรักษาใหม่ๆ เริ่มมีเทคนิคการคัดกรองที่ดีขึ้น คนก็เลย “จัดการ” กับมะเร็งได้ดีกว่าก่อนมาก ส่งผลให้ “โรคหัวใจ” เป็นโรคที่กลายเป็นภัยต่อชีวิตอันดับ 1 ของมนุษย์ 3.คำว่า “โรคหัวใจ” ในความหมายของโรคหัวใจและหลอดเลือดก็เป็นคำที่กินความกว้างมากคือ กินความตั้งแต่ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ตีบทำให้อวัยวะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไปจนถึงภาวะผิดปกติทางกายภาพของหัวใจที่ส่งผลต่อการสูบฉีดเลือด . อย่างไรก็ดี สิ่งที่ใกล้ชิดกับโรคหัวใจที่สุดก็คือภาวะอย่าง ‘หลอดเลือดแข็งตัว’ (atherosclerosis) หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ไขมันเกาะผนังหลอดเลือด” ในระดับที่เรียกได้ว่า เป็นภาวะยอดฮิตที่คนจะป่วย และพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจในที่สุด . แม้ว่าคนจะนิยมเรียกกันแบบนี้ แต่สิ่งที่ไปพอกผนังหลอดเลือดนั้นไม่ใช่ “ไขมัน” แต่คือซากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตายขณะที่มันพยายามจะทำลายคอเลสเตอรอลที่หลุดเข้ามาในผนังหลอดเลือด . (ซึ่งคอเลสเตรอลไม่ใช่ไขมัน ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นพลังงานไม่ได้ ดังนั้นอย่าเข้าใจผิดๆ ว่าเวลาเรา “เบิร์น” ตอนออกกำลังกาย แล้วจะเอาคอเลสเตอรอลมาใช้ ร่างกายเราไม่ได้ทำงานอย่างนั้น) . พอซากเซลล์เม็ดเลือดขาวตายสะสมกันในผนังหลอดเลือดมากๆ หลอดเลือดก็จะหนาขึ้นและยืดหยุ่นน้อยลง เราเลยเรียกภาวะนี้ว่า “หลอดเลือดแข็งตัว” 4.ถ้าที่ว่ามาฟังเข้าใจยากไป ก็คิดซะว่าหลอดเลือดเราเป็น “ท่อ” ก็ได้ . ภาวะที่ว่ามาคือภาวะ “ท่อตัน” และพอ “ท่อตัน” เลือดก็จะไปต่อไม่ได้ ซึ่งถ้านั่นเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจหรือสมอง เราก็จะเสียชีวิต (ทั้งนี้เวลาเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้จะเรียก Heart Attack ส่วนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ จะเรียก Stroke สองภาวะนี้มีสาเหตุพื้นฐานคือ “ท่อตัน” นั่นเอง) . ดังนั้นปัญหาที่คร่าชีวิตมนุษย์แบบนับไม่ถ้วน ก็คือเรื่องง่ายๆ อย่าง “ท่อตัน” นี่เอง เพียงแต่ท่อที่ว่าคือเส้นเลือดแดงในร่างกายที่คอยส่งออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงอวัยวะ 5.คำถามต่อมาคือ แล้วภาวะ “ท่อตัน” นี่จัดการแค่ใส่ “น้ำยาล้างท่อ” ลงไปไม่ได้หรือ? . คำตอบคือ “ไม่ได้” เพราะฉะนั้นวิธีการรักษาจึงต้อง “ผ่าตัด” “ทำบอลลูน” และ “ทำบายพาส” กันให้วุ่นวาย . วิธีการรักษาปัจจุบันคือ ถ้า “ท่อตัน” ทำได้แต่ผ่าตัด (ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่) ซึ่งก่อนผ่าตัด เราก็ต้องระบุให้ได้ว่า “ท่อ” ตรงส่วนไหนตัน โดยการ “ฉีดสี” และทำ MRI . ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ บอกเลยว่า “แพงมาก” แม้ว่าประกันสังคมจะครอบคลุมค่ารักษา แต่ไม่ว่าจะเป็นในประเทศยุโรปหรือไทย คุณต้องผ่านกระบวนการคัดกรองอย่างละเอียด ถึงจะได้ทำการวินิจฉัยว่าคุณกำลังจะ “ท่อตัน” ตรงส่วนไหนของร่างกาย เรียกว่าผู้ป่วยจะได้ทำเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น . ปัญหาคือทุกวันนี้ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าร่างกายของเรา “กำลังจะท่อตัน” ตรงไหน เพราะมันไม่มีทางจะมองเห็นเส้นเลือดในร่างกายของเราด้วยการวินิจฉัยทั่วๆ ไป การไป “ตรวจสุขภาพประจำปี” ซึ่งตรวจด้วยวิธีทั่วไป ก็ไม่มีทางรู้ได้ 6.ปกติเราจะรู้ได้ว่า ตัวเรามีความเสี่ยงต่อโรคกลุ่มนี้ก็ต่อเมื่อไปตรวจสุขภาพแล้วพบว่า ค่าความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง และวิธีการ “พยุงอาการ” ของกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดหลักๆ คือเขาจะให้กิน “ยาลดความดัน” กับ “ยาลดคอเลสเตอรอล” ซึ่งต้องกินไปตลอดชีวิต . และผลหลักๆ คือการชะลอภาวะ “หลอดเลือดแข็งตัว” หรือลดความเสี่ยงของการที่คุณจะ “ท่อตัน” จนเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่พอ จนพิการหรือถึงแก่ความตายในที่สุด . นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งก็เน้นว่าคือการ “ชะลอ” เท่านั้น ยังไม่ใช่การ “รักษา” และที่เป็นแบบนี้ เพราะระบบสาธารณสุขไม่ว่าที่ใดในโลก ยังไม่มีต้นทุนพอที่จะจับคนทุกคนมาฉีดสีและทำ MRI เพื่อหาว่าคนๆ นั้นกำลังจะ “ท่อตัน” ตรงไหนของร่างกาย . ผลก็คือ วิธีชะลอดังกล่าวก็เลยให้กินยาไปเรื่อยๆ แทน เพราะนั่นสมเหตุสมผลในเชิงงบประมาณมากกว่า ถ้าต้องจัดการกับ “กลุ่มเสี่ยง” จำนวนมากหลักล้านคน 7.ประเด็นคือ ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเป็นภาวะที่แทบทุกคนที่อยู่ในสังคมสมัยใหม่แก่ตัวไปยังไงก็เป็น ไม่ว่าจะด้วยอาหาร ด้วยวิถีชีวิต และด้วยอายุที่ยืนขึ้น . เรียกได้ว่าถ้า “ท่อยังไม่ตัน” เมื่อแก่ตัวไป ทุกคนกำลังก้าวเดินไปสู่ภาวะ “ท่อกำลังจะตัน” . ดังนั้น ถ้าจะว่ากันในแง่หนึ่งแล้ว นี่คือ “โรคของทุกคน” ที่ในทางเทคนิค ในปัจจุบันยังไม่มี “ยารักษา” ใดๆ ที่จะแจกจ่ายให้ทุกๆ คนกินทีเดียวแล้วหายได้ 8.แต่ก็อย่างที่บอกไว้ในชื่อเรื่อง ต่อไปนี้โรคหัวใจอาจเป็นแค่อดีต . เพราะเมื่อต้นปี 2020 ในขณะที่ชาวโลกกำลังตื่นตระหนกกับโรคระบาดใหม่อย่างโควิด-19 นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้ตีพิมพ์งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งเนื้อหาหลักๆ คือพวกเขาค้นพบอนุภาคนาโนที่จะ “คืนชีพ” ให้พวกเซลล์ภูมิคุ้มกันที่กินคอเลสเตอรอลแล้วตายในผนังหลอดเลือด ให้ฟื้นขึ้นมากินพวกคอเลสเตอรอลและซากเซลล์ที่ตายไปแล้วในผนังหลอดเลือด . ผลก็คือ สิ่งที่ไปพอกผนังหลอดเลือดจน “แข็งตัว” ก็จะค่อยๆ ลดลงไป และผนังหลอดเลือดก็จะเป็นปกติในที่สุด . หรือพูดให้มันง่ายกว่านั้น “อนุภาคนาโน” ก็คือ “น้ำยาล้างท่อ” ของ “ภาวะท่อตัน” ในหลอดเลือดนั่นเอง . เรียกได้ว่ามีอนุภาคนี้คือจบเลย เราไม่ต้องรู้ด้วยซ้ำว่า “ท่อตัน” ตรงไหน ฉีดเข้าไปในเลือด อนุภาคนี้จะค่อยๆ จัดการท่อที่ตันเอง ไม่ต่างจากที่คุณเทน้ำยาล้างท่อตอนต่อตัน คุณไม่ต้องรู้หรอกว่ามันตันตรงส่วนไหน น้ำยาจัดการให้หมด . และนี่ก็ไม่ใช่แค่คอนเซปต์ลอยๆ เพราะขณะนี้ อนุภาคนี้ทดลองในหนูสำเร็จแล้ว และก็ไม่แปลกเลยที่อีกไม่นานก็น่าจะได้ทดลองในมนุษย์แน่ๆ . ถ้าสำเร็จ ถึงตอนนั้น คนที่ต้องกินยาทุกวันไปตลอดชีวิตก็อาจไม่ต้องกินกันอีกแล้ว . และถ้ามากไปกว่านั้น นี่อาจเป็นการบอกลาโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับคนแทบทั้งหมดในโลกก็เป็นได้ อ้างอิง: ScienceDaily. Nanoparticle chomps away plaques that cause heart attacks. https://bit.ly/3dzPx9V NHI. Plaque-eating nanoparticles may help prevent heart attacks. https://bit.ly/3iTUNX2 #Nanoparticle Cr.BrandThink
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์
    เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” โดยมีนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คณะผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาธารณสุข อสม. และ ประชาชน เข้าร่วมงาน
    std46541
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    From นายแพทย์สุธี ทุวิรัตน์ 25 ก.ค. 2564 สรุปประสบการณ์ในการดูแลรักษาครอบครัวที่ติดโควิดทั้งบ้าน 10 คน แบบ home isolation ครอบครัวนี้สมาชิก 10 คน ประกอบด้วย อากงและอาม่า อายุ ประมาณ 70 ปี อากงและอาม่า มีลูกชาย 1 คน ลูกสาว 2 คน ลูกชายเป็นพี่ชายคนโต แต่งงานมีลูกมีเมียแล้ว มีลูกอ่อน 2 คน เป็นฝาแฝด อายุ 2 ขวบ ลูกสาวคนโตก็แต่งงานแล้ว มีลูก 2 คน เริ่มเป็นวัยรุ่นแล้ว ทั้งหมด 10 ชีวิต อาศัยอยู่รวมกันอย่างค่อนข้างจะแออัดในห้องแถวย่านตลาดน้อย ครอบครัวนี้เกิดโชคร้าย ติดเชื้อโควิดโดยไม่รู้ตัวว่าติดได้อย่างไร ติดจากใคร โดยมีไทม์ไลน์ดังนี้ วันที่ 12/7/64 อากงเริ่มมีอาการไอ วันที่ 15/7/64 ลูกสาวคนโตเริ่มมีอาการไอ วันที่ 17/7/64 ลูกสะใภ้ กับอาม่า เริ่มมีไข้ ไอ วันที่ 18/7/64 หลาน 2 คนที่เป็นวัยรุ่น เริ่มมีไข้ต่ำๆ, ลูกสาว อาการมากขึ้น เริ่มมีอาการเจ็บคอ ทั้งบ้านก็ยังไม่เฉลียวใจว่าติดเชื้อโควิดกันทั้งบ้านแล้ว วันที่ 19/7/64 ลูกสะใภ้ มีไข้สูง ไปตรวจที่ รพ.กรุงเทพคริสเตียน พยาบาลแนะนำให้แยกกักตัวเอง เพราะสงสัยจะเป็นโควิด ลูกชายและลูกสะใภ้แยกตัวไปนอนที่คอนโด วันที่ 21/7/64 ลูกสะใภ้รู้ผล และรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม, ลูกชายไปหาซื้อชุดตรวจมาได้ 4 ชุด ตรวจเสียไป 2 ชุด ผลตรวจ อาม่าเป็นบวก ลูกสาวเป็นลบ วันที่ 21/7/64 ผลการตรวจ rapid test ของอาม่าเป็นบวก ลูกชายพาอาม่าไปตรวจที่โรงพยาบาล แจ้งกับทางโรงพยาบาลว่าผลตรวจ rapid test เป็นบวก แต่โรงพยาบาลไม่ตรวจให้, ครอบครัวนี้เริ่มสติแตก พยายามดิ้นรนโทรติดต่อหาที่ตรวจแต่หาไม่ได้เลย มีที่พอจะรับตรวจ ก็อยู่ไกล และจำกัดจำนวนตรวจ ต้องไปวัดดวงรอว่าจะได้รับการตรวจ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ครอบครัวนี้จะไปตรวจได้ เพราะทุกคนเริ่มป่วยและมีอาการแล้ว รวมทั้งเป็นคนแก่และเด็ก สุดท้ายมีเพื่อนของลูกชายช่วยนัดจองคิวตรวจอากงและอาม่าได้ 2 คน ได้คิวตรวจที่แลบเอกชนในวันที่ 23/7/64 วันที่ 21/7/64 ลูกชายไปต้องไปนอนค้างคืนที่โรงพยาบาลจุฬา เพื่อแย่งจองคิวตรวจที่จำกัดวันละ 50 คน วันที่ 22/7/64 ลูกชายได้รับการตรวจที่ รพ.จุฬา ผลเป็นบวก ได้รับการรักษาที่ รพ.จุฬา วันที่ 22/7/64 หลานอายุ 2 ขวบ 2 คนเริ่มมีไข้ ประมาณ37.5ให้ทานยาลดไข้ และเช็ดตัว ไข้ลง วันที่ 23/7/64 เด็ก 2 คนเริ่มมีไข้สูง 38.8 และ 38.6 เช็ดตัวไข้ไม่ลง นอนซึม วันที่ 24/7/64 เด็ก 2 คนอาการดีขึ้น ไข้ประมาณ 37.5 เริ่มทานขนมได้ วันที่ 25/7/64 ลูกสาว 2 คน และหลาน 2 คนที่เป็นวัยรุ่น จองคิวตรวจได้ที่ หน่วยตรวจเชิงรุกของกทม.ที่เขตดุสิต และไปรับการตรวจแล้ว ได้รับการแจ้งว่าต้องรอผล 2 วัน จะแจ้งทาง sms ตั้งแต่วันที่ 21/7/64 ที่รู้ว่ามีคนในครอบครัวนี้ติดโควิด ครอบครัวนี้พยายามหาทางที่จะติดต่อแจ้งไปหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 1330 1668 1669 สาธารณสุข แต่ก็ถูกปฏิเสธไม่ยอมรับแจ้ง โดยอ้างว่าเป็นกฎที่จะรับแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ติดเชื้อโควิดได้ ต้องมีผลการตรวจแบบ RT PCR เท่านั้น แม้ว่าครอบครัวนี้จะพยายามชี้แจงว่าเป็นผู้ติดเชื้อ เพราะมีคนในครอบครัวติดเชื้อและรักษาตัวในรพ.สนามแล้ว และคนที่เหลือในครอบครัวหาที่ตรวจโควิดไม่ได้ ขนาดเอาผลการตรวจของภรรยาลูกชายคนโตและบอกว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน ก็ไม่ยอมรับแจ้ง และไล่ให้ต้องไปตรวจด้วย RT PCR มาก่อนเท่านั้น เมื่อรู้ว่าติดโควิดทั้งครอบครัว ก็ดิ้นรนหาซื้อชุดตรวจ และหาซื้อยาฟ้าทะลายโจร กระชาย ทั้งยาไทยและยาจีน ทุกตัวที่โฆษณาว่ารักษาโควิดได้ มากินกันทั้งครอบครัว น้องผมที่เป็นลูกเขยของบ้านนี้ ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผมในคืนวันที่ 21/7 ผมได้โทรไปสอบถามอาการของคนในครอบครัวนี้พบว่า อาม่า และน้องสะใภ้ผม เริ่มมีอาการไอมากและหอบเหนื่อย พูดได้ไม่เยอะ พูดไปไอไป เชื้อน่าจะเริ่มลงปอดแล้ว ผมประเมินดูแล้วมั่นใจว่าหาเตียงในโรงพยาบาลไม่ได้แน่ๆ ครอบครัวนี้น่าจะเป็นผู้ติดเชื้อโควิดสีเหลือง และมี 2 คนที่น่าจะกำลังเป็นสีแดง โอกาสที่จะรอดของครอบครัวนี้คือ รักษาตัวที่บ้าน ผมตัดสินใจที่จะไม่เสียเวลาไปในการติดต่อหาเตียงตามโรงพยาบาลต่างๆ การหายาฟาวิพิราเวียมาให้เร็วที่สุด คือทางรอดเดียวของครอบครัวนี้ เพื่อป้องกันไวรัสลงปอด และลดการแพร่เชื้อไวรัส แม้ว่าจะติดเชื้อกันทั้งบ้านแล้ว แต่การอยู่กันอย่างแออัด 10 คนในห้องแถวเล็กๆ จะมีไวรัสออกมากับลมหายใจตลอดเวลา และทุกคนก็หายใจเอาไวรัสของคนในครอบครัวอีก 9 คนตลอดเวลา น่าจะทำให้อาการของโรคกำเริบมากขึ้นทุกคน วันที่ 22/7 ผมและน้องชายพยายามติดต่อหาซื้อยาฟาวิพิราเวีย จากเพื่อนที่อยู่โรงพยาบาลเอกชน แต่ไม่สามารถหาซื้อได้เลย ทุกโรงพยาบาลยืนยันว่าการจะจ่ายยา ต้องสั่งโดยหมอ infectious และต้องมีใบตรวจด้วย RT PCR ของแต่ละคนเท่านั้น ผมและน้องชายพยายามติดต่อหาที่ตรวจ RT PCR และ RAT แต่ก็ไม่มีโรงพยาบาลไหนรับตรวจ ขนาดน้องชายผมเป็น FT โรงพยาบาลเอกชน บอกว่าเป็นญาติและนามสกุลเดียวกัน ก็ยังไม่รับตรวจ และไม่จ่ายยาฟาวิพิราเวียให้ ผมเลยต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆศิริราช ต้องขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจ และช่วยหายาฟาวิพิราเวีย ได้ 3 ชุด เมื่อได้ยามาแล้ว ผมให้อากง และอาม่า กับลูกสาวที่เริ่มมีอาการหายใจเหนื่อยหอบได้ทานยาก่อน เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงและเริ่มมีอาการหนักแล้ว วันที่ 23/7 หลังจากได้ยาฟาวิพิราเวียไป 2 โดส อาม่าและลูกสาวที่อาการหนักที่สุด อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คุยได้มากขึ้นไอน้อยลง และต้องขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยหายาฟาวิพิราเวียร์ มาให้อีก 3 ชุด และส่ง pulse oximeter มาให้ วัดออกซิเจน อาม่าและลูกสาว ได้ประมาณ 94 ส่วนคนอื่นได้ 96 ยกเว้นเด็ก 2 ขวบ 2 คน วัดได้ 93 แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะนิ้วเด็กหรือเปล่าเลยวัดได้ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่อาการเด็กก็เริ่มมีไข้สูงและเริ่มซึมแล้ว แนะนำให้ทานยาลดไข้พาราเซต และเช็ดตัวบ่อยๆ และวางแผนว่าถ้าวันที่ 24/7 อาการแย่ลง จะแบ่งยาฟาวิพิราเวียของลูกสาวคนที่ไม่มีอาการ มาให้เด็กทั้ง 2 คน แต่โชคดีที่ เมื่อวานนี้ไข้เริ่มลด และเด็กอาการดีขึ้น วันที่ 25/7 ทุกคนในครอบครัวอาการดีขึ้นแล้ว แต่จมูกยังไม่ได้กลิ่น วัดออกซิเจน ได้ 98 ทุกคน สรุป 1. ยาฟาวิพิราเวีย จำเป็นมากสำหรับการรักษาตัวเองที่บ้าน และต้องรีบให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการหนัก 2. สำคัญที่สุดในการดูแลรักษาทางไกลคือ การให้กำลังใจ เพราะคนไข้จะวิตกกังวลมาก กลัวตาย กลัวไปทุกเรื่อง ผมโทรไปถามอาการและชวนพูดคุยบ่อยมาก ทุก 2-3 ชั่วโมง 3. ควรจะต้องมียาลดไข้ ยาแก้ไอ และฟ้าทะลายโจร ติดบ้านไว้ 4. ตอนนี้โควิดมันแพร่กระจายไปทั่วแล้ว แม้แต่อยู่แต่ในบ้านยังติดโควิดได้ ครอบครัวนี้อากงอาม่าและลูกสาว 2 คนอยู่แต่ในบ้าน มีแต่ลูกชายและลูกสะใภ้ที่ทำงานนอกบ้าน แต่อากงติดเชื้อเป็นคนแรกเลย ยังไม่รู้ว่าติดได้อย่างไร ยิ่งทำให้สงสัยว่าน่าจะติดจาก airborne 5. ให้ทานน้ำเยอะๆ ผมสั่งให้กินน้ำอย่างน้อยวันละ 3 ลิตร และทุกครั้งที่โทรไปจะกระตุ้นให้กินน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยเรื่อง hydration 6. ผมให้คนไข้ทุกคน วัดไข้ จับชีพจร และนับการหายใจทุก 1 ชั่วโมง บันทึกไว้ วัตถุประสงค์เพื่อให้คนไข้ได้รู้จักสังเกตุอาการตนเอง ต่อมาเมื่อมี pulse oximeter ผมก็เปลี่ยนมาให้ทุกคนบันทึก ออกซิเจนและชีพจร ของตนเอง ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้ให้คนไข้ได้รู้การเปลี่ยนแปลงของตนเอง และช่วยให้ผมที่เป็นหมอสามารถที่จะมาประเมินทบทวนอาการของคนไข้ย้อนหลังได้ 7. ในกรณีเลวร้ายสุดๆ คือยาฟาวิพิราเวียไม่ได้ผล และคนไข้เริ่มมีอาการปอดอักเสบชัดเจน ผมจะไม่พยายามไปหาออกซิเจนมาให้ เพราะรู้ว่าไม่ได้ผล มีแต่จะทำให้คนไข้ทรมานมากขึ้น เพราะคนไข้ที่ปอดอักเสบรุนแรง ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็น high flow oxygen แต่ผมจะทดลองให้การรักษา ด้วยวิธีการที่ยังไม่เคยมีใครทดลองมาก่อน แต่อาจจะได้ผลสามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้ ซึ่งถ้าเพื่อนๆมีญาติหรือคนในครอบครัวที่เริ่มมีปอดอักเสบและไม่สามารถหาเตียงในไอซียูได้ หลังไมค์มาคุยกันนะครับ ยินดีแชร์ให้ฟังครับ แล้วเพื่อนๆให้คนไข้ตัดสินใจเองว่าจะทดลองรักษาตัวตามสูตรของผมหรือไม่ 8. ตอนนี้การติดเชื้อแพร่ระบาดเข้าไปในครัวเรือนแล้ว เมื่อพบผู้ติดเชื้อ 1 คน สมาชิกในครอบครัวจะติดเชื้อไปแล้วทุกคน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข ต้องยกเลิกกฎที่บังคับให้ต้องมีผลตรวจ RT PCR ทุกคนถึงจะรับลงทะเบียนเข้าระบบ ควรจะใช้แค่ผลการตรวจ rapid test และกระทรวงสาธารณสุข ต้องมีหน้าทีจัดหาชุดตรวจ ATK ส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ป่วยทุกคน เพื่อที่จะรีบตรวจและคัดกรองผู้ติดเชื้อ ไม่ใช่ผลักภาระให้ผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าเด็กหรือคนแก่ต้องไปดิ้นรน หาที่จองคิวตรวจด้วยตัวเอง และก็เอาเชื้อไปแพร่ให้คนรอบข้าง แบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ 9. ครอบครัวนี้น่าจะเริ่มติดเชื้อวันที่ 12/7/64 จนกระทั่งวันนี้ (25/7/64) ก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าถึงการตรวจด้วย RT PCR และไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 10. ช่วยกันเรียกร้องกดดันให้กระทรวงสาธารณสุข ยกเลิกระเบียบคำสั่งที่การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ติดเชื้อต้องมีผลการตรวจยืนยันด้วย RT PCR เท่านั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การระบาดอย่างหนัก ควรจะยืนยันด้วยผลการตรวจ ATK ก็น่าจะเพียงพอแล้ว และต้องเป็นหน้าที่ของสธ. สปสช. ที่ต้องจัดหาและจัดส่งชุดตรวจ ATK ไปให้ครอบครัวของผู้ติดเชื้อ เพื่อที่จะคัดกรองหาผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ 11. ถ้าคิดว่าโพสนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ต่อไปได้ครับ นายแพทย์สุธี ทุวิรัตน์ 25 ก.ค. 2564
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false