2210 ข้อความ
- 1 คนสงสัยเส้นสีขาวในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธิข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ เส้นสีขาวในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธิ . ตามที่มีข้อความชวนเชื่อเรื่องเส้นสีขาวในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธินั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีมีผู้โพสต์เตือนภัยเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่า กระเพาะหรือเส้นขาว ๆ ของหอยแมลงภู่เป็นแหล่งรวมของหนอนพยาธิ ควรหลีกเลี่ยงรับประทานแม้ปรุงสุก ทางสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เส้นสีขาว ๆ ยาว ๆ คล้ายตัวพยาธิที่พบ แท้จริงเป็นลำไส้หอย ไม่ใช่พยาธิอย่างที่เข้าใจ . ซึ่งหอยแมลงภู่เป็นหอยสองฝา อยู่ในไฟลัมมอลลัสคา สีของเปลือกเปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า เกสร หรือ ซัง . โดยในหอยส่วนใหญ่สามารถพบจุลินทรีย์ก่อโรคได้แก่ เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเชื้อชนิดนี้ มีระยะฟักตัว 4 - 96 ชั่วโมง หลังจากได้รับเชื้อจากการกินอาหาร แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการจะเกิดประมาณ 15 ชั่วโมง หลังได้รับเชื้อผู้ที่ได้รับเชื้อจะเกิดอาการท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว มีไข้ จึงควรล้างทำความสะอาดให้ดีและนำมาปรุงสุกด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงก่อนรับประทาน . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ www.foodsan.anamai.moph.go.th หรือโทร. 0-2590-4188 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เส้นสีขาว ๆ ยาว ๆ คล้ายตัวพยาธิที่พบ แท้จริงเป็นลำไส้หอยไม่ใช่พยาธิอย่างที่เข้าใจ โดยในหอยส่วนใหญ่สามารถพบจุลินทรีย์ก่อโรคได้แก่ เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #หอยแมลงภู่ #พยาธิ #เส้นสีขาวในหอยแมลงภู่Std48029• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยุงสามารถแพร่เชื้อโควิด19ได้?ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ยุงสามารถแพร่เชื้อโรคโควิด 19 . จากที่มีการแชร์ข้อความเรื่องยุงสามารถแพร่เชื้อโรคโควิด 19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อความดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีการตรวจพบข้อความเรื่องยุงสามารถแพร่เชื้อไวรัสโรคโควิด 19 ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ไม่มีหลักฐานใดที่พบว่าการกัดของยุงจะสามารถถ่ายทอดเชื้อโควิด 19 ได้ อีกเหตุผลหนึ่งคือ ยุงมีตัวรับเชื้อโรคและความสามารถในการแบ่งเชื้อโรคที่ต่างจากคน ดังนั้น เชื้อโควิด 19 ไม่สามารถถ่ายทอดโดยยุงได้ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่งต่อข้อมูลดังกล่าวในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย และวิธีการป้องกันตนเอง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th หรือ โทร. 1422 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยุงไม่สามารถแพร่เชื้อโรคโควิด 19 ได้ เพราะยุงมีตัวรับเชื้อโรคและความสามารถในการแบ่งเชื้อโรคที่ต่างจากคน อีกทั้ง ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ใด ๆ ที่สนับสนุน . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #ยุง #โควิด19 #แพร่เชื้อสุขภาพโควิด 2019std48133• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยรัฐแจกเงินทั่วประเทศข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ รัฐฯ แจกเงินทั่วประเทศ เริ่ม 10 ก.ค. 66 นี้ . ตามที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อโซเชียลเรื่องรัฐฯ แจกเงินทั่วประเทศ เริ่ม 10 ก.ค. 66 นี้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีคลิปวิดีโอส่งต่อข้อมูลว่า รัฐฯ เตรียมแจกเงินสดคนละ 1,000 บาท โอนให้พร้อมกันทั่วประเทศ 10 ก.ค. 66 นี้ ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เป็นข่าวสารที่เชื่อถือไม่ได้ และไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายแจกเงินตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mof.go.th หรือ โทร. 1689 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นข่าวสารที่เชื่อถือไม่ได้ และไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายแจกเงินตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวนโยบายรัฐ #รัฐบาลแจกเงิน #เงินช่วยเหลือ #เงินเยียวยาข่าวการเมืองแอคปลอมstd48133• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยต่างชาติเข้าถือหุ้นธนาคารกรุงไทยข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ต่างชาติเข้าถือหุ้นธนาคารกรุงไทย . ตามที่มีการแชร์ข่าวสารเรื่องต่างชาติเข้าถือหุ้นธนาคารกรุงไทย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางธนาคารกรุงไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลว่า ธนาคารกรุงไทยถูกต่างชาติเข้าถือหุ้นหมดแล้วนั้น ทางธนาคารกรุงไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง ธนาคารกรุงไทยถือหุ้นใหญ่ โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นธนาคารกรุงไทยในสัดส่วน 55% ไม่ใช่ต่างชาติตามที่ถูกกล่าวอ้าง . ดังนั้นประชาชนควรระมัดระวังในการกรอกข้อมูลและไม่ควรกดลิงก์แปลก หรือน่าสงสัยที่ส่งโดยไม่ทราบที่มาชัดเจน และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร. Krungthai Contact Center 02-111-1111 หรือแจ้งผ่าน Facebook : Krungthai Care . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง ธนาคารกรุงไทยถือหุ้นใหญ่ โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถือหุ้นทั้งหมด 55% ไม่ใช่ต่างชาติตามที่ถูกกล่าวอ้าง . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารกรุงไทย . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวนโยบายรัฐ #ธนาคารกรุงไทย #ต่างชาติ #ถือหุ้นแอคปลอมstd48133• 2 ปีที่แล้วmeter: middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยธอส.เปิดเพจชวนลงทุนดอกเบี้ยต่ำข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ธอส. เปิดเพจ GH BANK ชวนลงทุนดอกเบี้ยต่ำ . ตามที่มีการแชร์ข่าวสารเรื่อง ธอส. เปิดเพจ GH BANK ชวนลงทุนดอกเบี้ยต่ำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีการพบข้อมูลเกี่ยวกับ เพจ GH BANK เป็นเพจของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ชวนลงทุนดอกเบี้ยต่ำ ทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ขณะนี้มีมิจฉาชีพแอบอ้างนำตราสัญลักษณ์ของธนาคารไปใช้ใน เฟซบุ๊กเพจพร้อมตั้งชื่อ “GH BANK” รวมถึงแอบอ้างใช้คำว่า ธอส. เป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ . ทั้งยังมีการยื่นกู้สินเชื่อส่วนบุคคลผ่านออนไลน์ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ขอยืนยันว่า ธนาคารไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊กเพจดังกล่าว โดยธนาคารมีเฟซบุ๊กเพจอย่างเป็นทางการในนาม “ธนาคารอาคารสงเคราะห์” เท่านั้น . ซึ่ง ธอส. อยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้างแล้ว . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลของเฟซบุ๊กเพจดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ สามารถติดตามได้ที่ www.ghbank.co.th หรือ G H Bank Call Center โทร. 02-645-9000 และ Facebook Fanpage : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นการแอบอ้างนำตราสัญลักษณ์ของ ธอส. ไปใช้ โดยตั้งชื่อว่า “GH BANK” รวมถึงแอบอ้างใช้คำว่า ธอส. เป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ ธนาคารไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊กเพจดังกล่าว ธอส. มีเพจเดียวคือ “ธนาคารอาคารสงเคราะห์” เท่านั้น . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวการเงิน #เพจGHBANK #ธอส #ลงทุนดอกเบี้ยต่ำผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมstd48133• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยCPALL แจงเหตุข่าวนมเปรี้ยวยี่ห้อดังทำเด็กเสียชีวิตเพจ CPALL เตรียมเอาผิด เพจเฟซบุ๊ก โพสต์ข่าวปลอม อ้างนมยี่ห้อหนึ่งในร้านสะดวกซื้อชื่อดัง เป็นเหตุทำให้เด็กตาย ยันไม่ใช่เรื่องจริงเตรียมเอาผิด วันนี้ (4 ก.ย.2561) เพจ CPALL ซึ่งเป็นเพจของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร้านสะดวกอิ่มสะดวกเซเว่น อีเลฟเว่น ได้โพสต์ชี้แจง หลังมีเพจหนึ่งในเฟซบุ๊ก ได้ทำการลงข่าว เหตุนมเปรี้ยวชื่อดังในร้านสะดวกซื้อ ทำเด็กเสียชีวิต เป็นเหตุให้ทาง ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ทุกสาขาต้องเรียกคืนนมเปรี้ยวยี่ห้อนี้ หวั่นคนทั้งประเทศเสี่ยงอันตราย โดยทางเพจของ CPALL ได้ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่าไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งเตรียมเอาผิดเพจดังกล่าวที่ลงข่าวปลอม ทั้งนี้ยังพบว่าเพจนี้ลงข่าวที่ไม่เป็นคามจริงอีกเป็นจำนวนมากผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมstd46296• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยปตท.เปิดจองหุ้นน้ำมันด้วยเงิน1375บาทข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ปตท. เปิดจองหุ้นน้ำมัน PTT ด้วยเงิน 3,175 บาท . ตามที่มีโฆษณาเชิญชวนในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่อง ปตท. เปิดจองหุ้นน้ำมัน PTT ด้วยเงิน 3,175 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีผู้โพสต์ว่า ปตท. เปิดโอกาสให้ลงทุน จองหุ้นน้ำมัน PTT ด้วยเงิน 3,175 บาท ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กลุ่ม ปตท. ไม่มีการดำเนินการดังกล่าวตามที่ถูกแอบอ้าง และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพจดังกล่าวแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของมิจฉาชีพ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pttplc.com หรือ โทร. 1365 Contact Center . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : กลุ่ม ปตท. ไม่มีการดำเนินการดังกล่าวตามที่ถูกแอบอ้าง และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพจดังกล่าวแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของมิจฉาชีพ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวการเงิน #PTT #หุ้นน้ำมัน #เปิดจองหุ้นแอคปลอมstd48130• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยตลท.เปิดไห้ลงทุนกองทุนผู้สูงอายุข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ตลท. เปิดให้ลงทุนกองทุนผู้สูงอายุ เริ่มต้น 20,000 บาท . ตามที่มีการแชร์ข้อความว่า ตลท. เปิดให้ลงทุนกองทุนผู้สูงอายุ เริ่มต้น 20,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าข้อความดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีการตรวจพบข้อมูลเรื่อง บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดให้ลงทุนกองทุนผู้สูงอายุ เริ่มต้น 20,000 บาท รอรับปันผลทุกสัปดาห์ ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ทางตลาดหลักทรัพย์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดให้ลงทุนกองทุนผู้สูงอายุแต่อย่างใด เพจปลอมมีการแอบอ้างชื่อ และโลโก้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.set.or.th หรือ โทร. SET Contact Center 02-009-9999 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพจปลอมที่ได้มีการแอบอ้างชื่อ และโลโก้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในการนำไปใช้หลอกลวงประชาชน . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวการเงิน #ตลาดหลักทรัพย์ #กองทุนผู้สูงอายุ #หลอกลงทุนแอคปลอมstd48130• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยรสชาติน้ำลายบอกโรค?ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ รสชาติน้ำลายบอกโรคได้ . ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เรื่อง รสชาติน้ำลายบอกโรคได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบ โดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีผู้โพสต์ภาพให้ความรู้ว่า รสชาติน้ำลายสามารถบอกโรคได้ โดยถ้าน้ำลายมีรสเผ็ดเสี่ยงต่อโรคความดัน หากรสชาติเค็มบ่งบอกว่ามีการอักเสบภายในร่างกาย อาจจะเป็นคอหรือไต หากเป็นรสหวานจะบอกโรคเกี่ยวกับน้ำย่อยไม่ปกติ และเบาหวาน หากมีรสฝาดระบบประสาทผิดปกติ พักผ่อนน้อย และเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และสุดท้ายถ้ารสชาติเป็นรสเปรี้ยวจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า รสชาติของน้ำลายไม่ได้บ่งบอกโรคต่าง ๆ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวตามข้อความไม่พบความสัมพันธ์ตามข้อมูลทางการแพทย์แต่อย่างใด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี สามารถติดตามได้ที่ www.rajavithi.go.th หรือ โทร. 02-206-2900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : รสชาติของน้ำลายไม่ได้บ่งบอกโรคต่าง ๆ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวตามข้อความไม่พบความสัมพันธ์ตามข้อมูลทางการแพทย์แต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #รสชาติน้ำลาย #โรคจากน้ำลาย #น้ำลายยาสมุนไพรstd48130• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยบริษัทยาผิวขาวเจ้าดัง พร้อมช่วย นศ.กินแล้วฉี่ม่วง เชื่อของปลอมเลียนแบบตัวแทนบริษัทอาหารเสริมผิวขาวเจ้าดังใน TikTok ติดต่อมาหาแม่นักศึกษาเภสัชแล้ว ระบุพร้อมให้การช่วยเหลือ เบื้องต้นเกรงว่าจะกินของปลอมเข้าไป บริษัทไม่มีทางเอาสารเมทแอมเฟตามีนมาใส่อย่างแน่นอน เพราะมีราคากิโลละเป็นล้านบาท ขณะแม่สงสัยถ้า กก.ละเป็นล้าน ทำไมคนปลอมสินค้ากล้าซื้อมาใส่ ยังกังวลอนาคตลูก เข้าแจ้งความยืนยันความบริสุทธิ์Waraluk Chucheep• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยBoom D-naxช่วยลดเซลมะเร็งข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ BOOM D - NAX ช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง . กรณีที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง BOOM D - NAX ช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีผู้ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์สุขภาพว่า BOOM D - NAX ฟื้นคืนสุขภาพ ผู้ป่วยมะเร็ง เส้นเลือดตีบ พาร์คินสัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบภายใน ลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ BOOM D - NAX บูม ดี - แนกซ์ 20 Effervescent Tablets แสดงข้อความ “BOOM D - NAX บูม ดี - แนกซ์ ฟื้นคืนสุขภาพ ผู้ป่วยมะเร็ง เส้นเลือดตีบ พาร์คินสัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบภายใน ลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง” เป็นการโฆษณา คุณประโยชน์ คุณภาพ ของอาหารอันเป็นเท็จโดยไม่สมควร ซึ่ง อย. จะดำเนินการทางกฎหมาย กับผู้กระทำการฝ่าฝืน พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ต่อไป . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : หากผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เพื่อหวังผลในการรักษาโรคมะเร็ง ลดการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง และลดการอักเสบภายใน จะเสียเงินเปล่า เสียโอกาส ในการรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #บูมดีแนกซ์ #เซลล์มะเร็ง #ลดการแพร่เซลล์มะเร็งยาสมุนไพรstd48130• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกรมสรรพากรไห้เจ้าหน้าที่ทักไลน์มาแนะนำขั้นตอนการขอรับคืนเงินข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ กรมสรรพากรให้เจ้าหน้าที่ทักไลน์มาแนะนำขั้นตอนการขอรับเงินคืน หากจ่ายภาษีเกินยอดที่ต้องชำระ . ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เรื่องกรมสรรพากรให้เจ้าหน้าที่ทักไลน์มาแนะนำขั้นตอนการขอรับเงินคืน หากจ่ายภาษีเกินยอดที่ต้องชำระ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีข่าวถูกเผยแพร่เกี่ยวกับกรมสรรพากรให้เจ้าหน้าที่ทักไลน์มาแนะนำขั้นตอนการขอรับเงินคืน หากจ่ายภาษีเกินยอดที่ต้องชำระ ทางกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นมิจฉาชีพแอบอ้างสนทนา ผ่านช่องทาง line โดยใช้ชื่อ RD Intelligence 1161 และปัจจุบัน RD Intelligence Center 1161 ยังไม่มีบริการสนทนาผ่านช่องทาง line หรือ Chat ส่วนตัวแต่อย่างใด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมจากกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th หรือ โทร. 02-272-9529 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นมิจฉาชีพแอบอ้างสนทนา ผ่านช่องทาง line โดยใช้ชื่อ RD Intelligence 1161 และปัจจุบัน RD Intelligence Center 1161 ยังไม่มีบริการสนทนาผ่านช่องทาง line หรือ Chat ส่วนตัวแต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวนโยบายรัฐ #กรมสรรพากร #เจ้าหน้าที่สรรพกร #จ่ายภาษีเกินข่าวการเมืองstd48138• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยตลท.เปิดไห้ลงทุนหุ้นเพียง1พันบาทข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ตลท. เปิดให้ลงทุนหุ้นทองเพียง 1,000 บาท . ตามที่มีการแชร์ข้อมูลบนสื่อออนไลน์เรื่อง ตลท. เปิดให้ลงทุนหุ้นทองเพียง 1,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ . จากการตรวจพบข่าวสารถูกส่งต่อเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดให้ลงทุนหุ้นทอง เพียง 1,000 บาท ลุ้นทองคำหนัก 5 บาท สร้างผลกำไร 30 - 70% ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลข้างต้น เนื่องจากเพจดังกล่าวเป็นเพจปลอมที่มีการแอบอ้างชื่อ และโลโก้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.set.or.th หรือ โทร. SET Contact Center 02-009-9999 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีการเปิดให้ลงทุนหุ้นทองแต่อย่างใด เพจดังกล่าวเป็นเพจปลอมที่มีการแอบอ้างชื่อ และโลโก้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวการเงิน #ตลาดหลักทรัพย์ #หุ้นทอง #หลอกลงทุนผู้บริโภคเฝ้าระวังP Ing Nuttaput• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยป้องกันโรคมะเร็งข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ผลิตภัณฑ์ Chlorella Wheatgrass & Alfafa Plus ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น . กรณีที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับประเด็นเรื่องผลิตภัณฑ์ Chlorella Wheatgrass & Alfafa Plus ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีผู้ให้คำแนะนำว่า ผลิตภัณฑ์ Chlorella Wheatgrass & Alfafa Plus ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น ลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กรณีที่พบการแสดงภาพผลิตภัณฑ์ และข้อความ “Chlorella Wheatgrass & Alfafa Plus ดีท๊อกซ์ระบบเลือด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด ลดอาการอักเสบของข้อ ช่วยสมานแผล ให้หายเร็วขึ้น” เป็นการโฆษณา คุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือหลอกลวง ให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ซึ่ง อย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำการ ฝ่าฝืน พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ต่อไป . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การโฆษณาผลิตภัณฑ์ คลอเรลล่า วีทกราส แอนด์ อัลฟัลฟา พลัส ที่แสดงคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร หากผู้บริโภคหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าวอาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาโรคได้ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #Chlorella #ป้องกันโรคมะเร็ง #ช่วยสมานแผลP Ing Nuttaput• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกรมขนส่ง เปิดไห้สอบใบขับขี่ที่เว็บไซต์ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ กรมขนส่งฯ เปิดให้ทำข้อสอบใบขับขี่ที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com . ตามข้อมูลที่พบบนช่องทางออนไลน์เรื่องกรมขนส่งฯ เปิดให้ทำข้อสอบใบขับขี่ที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ . จากการพบข้อมูลที่ปรากฏบนช่องทางออนไลน์เรื่องกรมการขนส่งทางบก เปิดให้ทำข้อสอบใบขับขี่ที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com นั้น ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงว่า เว็บไซต์จัดทำข้อสอบใบขับขี่ https://thaidriveexam.com ไม่ใช่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก โดยกรมการขนส่งทางบกได้จัดทำและเผยแพร่ข้อสอบบางส่วน รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการขับรถด้านต่าง ๆ ไว้ที่เว็บไซต์ www.ขับขี่ปลอดภัhttp://xn--z3c.com/ เท่านั้น . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือประชาชนให้งดแชร์หรือส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จไปในช่องทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารกรมการขนส่งทางบก สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dlt.go.th หรือ โทร. 02-271-8888 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก ในการเผยแพร่ข้อสอบบางส่วน และให้ความรู้ด้านการขับรถ คือเว็บไซต์ www.ขับขี่ปลอดภัhttp://xn--z3c.com/ เท่านั้น เว็บไซต์อื่นไม่ใช่ของกรมการขนส่งทางบก . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวนโยบายรัฐ #กรมการขนส่ง #ข้อสอบใบขับขี่ #เว็บไซต์สอบใบขับขี่P Ing Nuttaput• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยายาไม่น่าาเชื่อยาสมุนไพรstd48389• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอาหารเสริมผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Blue M Gold ผ่านทางเว็บไซต์และสื่อโซเชียลมีเดีย มีข้อความโฆษณาชวนเชื่อสามารถเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชาย ปลุกอารมณ์ทางเพศลดความอ้วนstd48015• 2 ปีที่แล้ว2 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 2 คนสงสัยแอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพแอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ . ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง แอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารกรุงไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีการโพสต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขอสินเชื่อกับธนาคารกรุงไทย ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังนั้น ทางธนาคารกรุงไทยได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีบริการให้สินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ซึ่งแอปพลิเคชันเป๋าตัง เป็นแพลตฟอร์มด้านการเงินระบบเปิด สามารถใช้บริการแม้ไม่มีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทย ให้บริการครอบคลุมทั้งบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) รองรับการทำธุรกรรมโอนเงิน เติมเงิน และชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ (G-wallet) รองรับการทำนโยบายของภาครัฐ บริการกระเป๋าสุขภาพ (Health Wallet) ตรวจเช็กสิทธิด้านสุขภาพผ่านเป๋าตัง บริการด้านการลงทุนพันธบัตรของรัฐผ่านวอลเล็ต สบม.รวมถึงบริการเกี่ยวกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ช่วยให้การจัดการบัญชีกยศ. สะดวก และรวดเร็ว . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้หากพบ SMS อีเมล หรือ LINE ที่มีลิงก์แอบอ้างเป็นธนาคาร หรือพบเหตุผิดปกติ สามารถแจ้งผ่าน Facebook Fanpage Krungthai Care และ Krungthai Contact Center โทร 02-111-1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยยังไม่มีบริการให้สินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารกรุงไทย . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #กู้เงิน #อstd48354• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกินน้ำใบมะละกอช่วยต้านมะเร็งกินน้ำใบมะละกอ ช่วยให้หายจากมะเร็งsanukulmallika• 2 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยอย.พบอาหารเสริม อวดสรรพคุณทางเพศเกินจริง อย่าหลงซื้ออย.พบอาหารเสริม อวดสรรพคุณทางเพศเกินจริง อย่าหลงซื้อ พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Blue M Gold โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณทางเพศเกินจริง อย.ตรวจสอบ พบสถานที่ผลิตอยู่ในสถานะพักใช้ใบอนุญาต เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค เพราะอาจได้รับอันตราย วันนื้ (16 พ.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Blue M Gold ผ่านทางเว็บไซต์และสื่อโซเชียลมีเดีย มีข้อความโฆษณาชวนเชื่อสามารถเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชาย ปลุกอารมณ์ทางเพศ อย.ได้ดำเนินการตรวจสอบพบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับอนุญาตโดยใช้ชื่อ สารสกัดจากกระชายดำ, ซอยโปรตีน ไอโซเลต, สารสกัดใบแป๊ะก๊วย,สารสกัดจากถั่งเช่า, สารสกัดจากโสม, สารสกัดจากเห็ดหลินจือ, สารสกัดจากหอยนางรม, ซิงก์อมิโนแอซิดคีเลต, วิตามินอี (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) เลขสารบบอาหาร 12-2-00129-1-0253 และสถานที่ผลิตอยู่ในสถานะพักใช้ใบอนุญาตstd47884• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยช่วงประจำเดือนมีอาการปวดศีรษะ ตึงผิว ตัวร้อน เนื่องจากสารเคมีสะสมที่ตับ ตกค้างที่เอ็นช่วงประจำเดือนมีอาการปวดศีรษะ ตึงผิว ตัวร้อน เนื่องจากสารเคมีสะสมที่ตับ ตกค้างที่เอ็น . ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเรื่องช่วงประจำเดือนมีอาการปวดศีรษะ ตึงผิว ตัวร้อน เนื่องจากสารเคมีสะสมที่ตับ ตกค้างที่เอ็น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบ โดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีผู้โพสต์ส่งต่อข่าวสารในสื่อโซเชียลว่า ช่วงมีประจำเดือนมีอาการปวดศีรษะ ตึงผิว และตัวร้อน เนื่องจากมีสารเคมีสะสมที่ตับ ตกค้างที่เอ็น ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการที่ข้อความกล่าวเป็นข้อมูลสั้น ๆ และไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง กล่าวคืออาการดังข้อความกล่าวไม่มีความจำเพาะต่อโรค หรือมีความสัมพันธ์ไปตับ หรือเอ็นใด ๆ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี สามารถติดตามได้ที่ www.rajavithi.go.th หรือโทร 02 206 2900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อาการที่ข้อความกล่าวเป็นข้อมูลสั้น ๆ ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง และอาการดังข้อความกล่าวไม่มีความจำเพาะต่อโรค หรือมีความสัมพันธ์ไปตับ หรือเอ็นใด ๆ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #ช่วงประจำเดือน #ตึงผิวตัวร้อน #สารเคมีสะสมที่ตับกิตติพัฒน์ ศรีพีรกานต์• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยปตท. เปิดลงทุนผ่านเพจ Gulf Energy Development กำไร 30%ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ปตท. เปิดลงทุนผ่านเพจ Gulf Energy Development กำไร 30% . ตามที่มีโฆษณาเชิญชวนในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่อง ปตท. เปิดลงทุนผ่านเพจ Gulf Energy Development กำไร 30% ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีผู้โพสต์ว่า ปตท. เปิดลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท ขั้นต่ำ 20 หุ้น กำไร 30% ผ่านเพจ Gulf Energy Development ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กลุ่ม ปตท. ไม่มีการดำเนินการดังกล่าวตามที่แอบอ้าง และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพจดังกล่าวแต่อย่างใด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pttplc.com หรือโทร. 1365 Contact Center . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : กลุ่ม ปตท. ไม่มีการดำเนินการดังกล่าวตามที่แอบอ้าง และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพจดังกล่าวแต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวการเงิน #หุ้นปตท #ลงทุนผ่านเพจ #กองทุนปลอมเสียดสีกิตติพัฒน์ ศรีพีรกานต์• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเซรั่มจมูกโด่ง7 วันสร้างดั้งโด่ง บอกลาจมูกแบน มีดั้งได้โดยไม่ต้องศัลยกรรมความสวยความงามzxsr• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัย20 ปี คดีลวงโลก “หมวยโซ” กุเรื่องข่มขืนบนตุ๊กๆ หลักฐานสำคัญปิดคดีย้อนไป 20 ปี คดีลวงโลกที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตำรวจไทย หนีไม่พ้นกรณี “หมวยโซ” จอมลวงโลก ที่อ้างว่าถูกชาย 4 คน ข่มขืนบนรถตุ๊กๆ แต่ตำรวจสืบสวนจนได้หลักฐานสำคัญ เป็นภาพจากกล้องวงจรปิด จนสามารถปิดคดี และล้างข้อครหาให้กับคนขับรถตุ๊กๆ ชาวไทย ที่เกือบกลายเป็นแพะรับบาป 20 ปี คดีลวงโลก “หมวยโซ” กุเรื่องข่มขืนบนตุ๊กๆ หลักฐานสำคัญปิดคดีstd47990• 2 ปีที่แล้ว
- 5 คนสงสัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Blue M Gold โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณทางเพศเกินจริง อย.ตรวจสอบ พบสถานที่ผลิตอยู่ในสถานะพักใช้ใบอนุญาต เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค เพราะอาจได้รับอันตรายnukandap• 2 ปีที่แล้ว

ไม่พบข้อความที่คุณค้นหา
หากคุณสงสัยว่าข้อความที่พบเป็นข่าวลวง ข่าวลือ หรือ ข้อความหลอก ที่ยังไม่พบใน Cofact กรุณาคลิกที่
สร้างข้อความ