1 คนสงสัย
รสชาติน้ำลายบอกโรค?
ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ รสชาติน้ำลายบอกโรคได้
.
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เรื่อง รสชาติน้ำลายบอกโรคได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบ โดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
.
จากกรณีที่มีผู้โพสต์ภาพให้ความรู้ว่า รสชาติน้ำลายสามารถบอกโรคได้ โดยถ้าน้ำลายมีรสเผ็ดเสี่ยงต่อโรคความดัน หากรสชาติเค็มบ่งบอกว่ามีการอักเสบภายในร่างกาย อาจจะเป็นคอหรือไต หากเป็นรสหวานจะบอกโรคเกี่ยวกับน้ำย่อยไม่ปกติ และเบาหวาน หากมีรสฝาดระบบประสาทผิดปกติ พักผ่อนน้อย และเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และสุดท้ายถ้ารสชาติเป็นรสเปรี้ยวจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า รสชาติของน้ำลายไม่ได้บ่งบอกโรคต่าง ๆ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวตามข้อความไม่พบความสัมพันธ์ตามข้อมูลทางการแพทย์แต่อย่างใด
.
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี สามารถติดตามได้ที่ www.rajavithi.go.th หรือ โทร. 02-206-2900
.
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : รสชาติของน้ำลายไม่ได้บ่งบอกโรคต่าง ๆ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวตามข้อความไม่พบความสัมพันธ์ตามข้อมูลทางการแพทย์แต่อย่างใด
.
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
.
📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม
.
LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG)
Website : https://www.antifakenewscenter.com/
Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand
Tiktok : @antifakenewscenter
สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87
.
#ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #รสชาติน้ำลาย #โรคจากน้ำลาย #น้ำลาย
std48130
 •  2 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

ยาสมุนไพร

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอ
    สุริยนต์ พักแดงพันธ์
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ .
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ . ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อโซเชียลเกี่ยวกับประเด็นไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อความบนสื่อโซเซียลโดยระบุไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง เจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูง ทางสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไลน์ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งข้อความขอยืมเงิน,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งข้อความขอรับเงินบริจาคทำบุญสร้างห้องน้ำสาธารณะ,ไลน์รมว.ศึกษาธิการ ส่งข้อความขอยืมเงิน,ไลน์นายกเทศมนตรี จ.ยะลา ส่งข้อความขอยืมเงิน และไลน์ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งข้อความขอยืมเงิน ไลน์ดังกล่าวเป็นของมิจฉาชีพทั้งหมด ที่แอบอ้างใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐ และที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อรูปภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐระดับสูง ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและหลงเชื่อ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.opsmoac.go.th/ หรือโทร 0-2281-5884 ,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://web.parliament.go.th หรือโทร 0-2242-5900 ,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://ops.moe.go.th/ หรือโทร 02-628-6346 ,เทศบาลนครยะลา สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://yalacity.go.th/intro/?v=1 หรือโทร 073-223666 และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.m-society.go.th/ หรือโทร 1300 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไลน์ดังกล่าวเป็นของมิจฉาชีพ ที่แอบอ้างใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐ และที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อรูปภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและหลงเชื่อ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ไลน์ปลอม #แอบอ้าง #มิจฉาชีพ
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สีเลือดของประจำเดือนสามารถบอกโรคได้
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! สีเลือดของประจำเดือนสามารถบอกโรคได้
    std48058
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กำมือ-แบมือ ข่าวปลอม! แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือ
    มีคนบอกว่าสามารถแก้โรคความดันโลหิตสูงได้เพียงแค่ กำมือ-แบมือ ข่าวปลอม! แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือ | Hfocus.org แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบเรื่อง ความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ-แบมือ กับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    std47905
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณของไตขวาเสื่อม
    กรณีที่มีการโพสต์คำแนะนำในสื่อสังคมออนไลน์โดยระบุว่า อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อม ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการขี้หนาวไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นสาเหตุสัญญาณบ่งบอกโรคไต
    std47891
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณของไตขวาเสื่อม
    กรณีที่มีการโพสต์คำแนะนำในสื่อสังคมออนไลน์โดยระบุว่า อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อม ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการขี้หนาวไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นสาเหตุสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อมแต่อย่างใด
    std47916
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ . ตามที่มีการบอกต่อข้อความเกี่ยวกับเรื่องลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เล็บรอยขาวพระจันทร์เสี้ยวพบได้เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ในกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ . ตามที่มีการบอกต่อข้อความเกี่ยวกับเรื่องลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เล็บรอยขาวพระจันทร์เสี้ยวพบได้เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ในกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่ใช่ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวแบบนี้ . เล็บที่เป็นสัญญาณบอกโรคคือ เล็บที่มีความหนาหรือบางผิดปกติ เล็บเปลี่ยนสี ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง ปลายเล็บร่น และเล็บที่มีพื้นผิวขรุขระ ส่วนเล็บสุขภาพดี คือเล็บที่มีสีออกชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรง และเล็บมีความหนาไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป . ทั้งนี้ ควรหมั่นสำรวจตัวเองบ่อย ๆ หากมีความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดเล็บอยู่เสมอ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 590 6000 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ลักษณะรอยขาวพระจันทร์เสี้ยว เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ส่วนกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่ใช่ลักษณะพระจันทร์เสี้ยว . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #เล็บมือ #โรค #นิ้วมือ
    std48123
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ปัสสาวะกลางคืนบ่อยทำให้ไขมันอุดตัน
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ หากกลางคืนปัสสาวะบ่อย สัญญาณบอกไขมันสะสมในช่องท้อง . ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เรื่องหากกลางคืนปัสสาวะบ่อย สัญญาณบอกไขมันสะสมในช่องท้อง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบ โดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีผู้โพสต์ภาพให้ความรู้ว่า หากกลางคืนปัสสาวะบ่อย ท้องอืด นอนหลับยากแสดงว่า ไขมันเริ่มสะสมช่องท้องนั้น ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า บทความดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่อธิบายได้ตามความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืนกับไขมันสะสมในช่องท้องไม่ได้สัมพันธ์กัน ทั้งทางทฤษฎี และจากการศึกษาวิจัยใด ๆ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี สามารถติดตามได้ที่ www.rajavithi.go.th หรือ โทร. 02-206-2900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : บทความดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่สามารถอธิบายได้ตามความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืนกับไขมันสะสมในช่องท้องไม่ได้สัมพันธ์กัน ทั้งทางทฤษฎี และจากการศึกษาวิจัยใด ๆ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #ปัสสาวะตอนกลางคืน #ไขมันสะสม #โรคอ้วน
    papangpc150563
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม! บริษัทชื่อดังปิดข่าว หมู ไก่ เป็นโรคเอดส์
    บริษัทชื่อดังปิดข่าว หมู ไก่ เป็นโรคเอดส์ 9 เมษายน 2022 | 17:00. ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในประเด็นเรื่องบริษัทชื่อดังปิดข่าว หมู ไก่ เป็นโรคเอดส์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
    std47951
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวบิดเบือน กินนมวัวจะกระตุ้นทำให้ประจำเดือนมาเร็ว และร่างกายจะหยุดสูงทันที
    ข่าวบิดเบือน กินนมวัวจะกระตุ้นทำให้ประจำเดือนมาเร็ว และร่างกายจะหยุดสูงทันที . ตามที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องกินนมวัวจะกระตุ้นทำให้ประจำเดือนมาเร็ว และร่างกายจะหยุดสูงทันที ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน . จากที่มีการแชร์ข้อมูลโดยระบุว่ากินนมวัวจะกระตุ้นทำให้ประจำเดือนมาเร็ว และร่างกายจะหยุดสูงทันที ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่ามีข้อมูลพบว่าระดับเอสโตรเจนในนมวัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กที่มักดื่มนมปริมาณมาก แต่พบว่าฮอร์โมนที่ได้รับนั้นมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับฮอร์โมนที่สร้างในร่างกายปกติ ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากนมวัว ไม่มีปริมาณมากเพียงพอที่จะทำให้ประจำเดือนมาเร็ว หลังประจำเดือนมาครั้งแรก เด็กจะสูงต่ออีก 1 - 2 ปี เด็กจะหยุดสูงทันที . ดังนั้นข้อมูลและภาพที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน จึงขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rajavithi.go.th หรือโทร 02 206 2900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากนมวัว ไม่มีปริมาณมากเพียงพอที่จะทำให้ประจำเดือนมาเร็ว หลังประจำเดือนมาครั้งแรกเด็กจะสูงต่ออีก 1 - 2 ปี และเด็กจะหยุดสูงทันที . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวบิดเบือน #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #นมวัว #ประจำเดือน #ส่วนสูง
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false