2434 ข้อความ
- 1 คนสงสัย/// อย่าทำตัวเป็นพลเมืองดี พาคนเจ็บส่ง รพ 1. เซ็นต์ชื่อพาคนเจ็บมา 2. เซ็นต์ชื่อรักษาพยาบาลหรือผ่าตัด 3. เซ็นต์ชื่อรักษาพยาบาล หลังหายป่วยแล้ว คุณ..คือผู้คำัประกันต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด...อย่าหาทำ...ไม่ระบุชื่อ• 10 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัย🔊แจ้งทุกคนนะคะ รบกวนสามาชิกทุกคน ย้ายไปคุยกันในกลุ่มที่ 2 เอานะคะ เข้าพรี แอดจะลบห้องนี้แล้วค่ะ #เนื่องจากมีมิจฉาชีพเข้ามาก่อกวน ///กดลิงค์เข้ากลุ่มได้เลยค่ะ line.me/ti/g2/Vn-4m7flSU1g4a7-KnzfCTo6gwkPdGdpui5SrQแอคปลอมไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 3 คนสงสัยบอกบุญ!! วัดพระบาทน้ำพุบอกบุญ!! วัดพระบาทน้ำพุ ขอข้าวสาร-ขนมปัง เลี้ยงคน 2 พันชีวิต ช่วยแชร์หน่อย ถ้าเราแชร์ไป ให้ใครคนหนึ่ง คนใดก็ตาม ทางวัดพระบาทน้ำพุจะได้รับ เงิน 15 บาท OK!Mrs.Doubt• 3 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยต่างประเทศ ออกข่าวของ vaccine Pfizer, Moderna ที่มีส่วนผสมของแม่เหล็ก อาจมีผลกระทบต่อร่างกายในอีก 1-2 ปี ภายหน้า ตั้งใจฟังให้ดีค่ะ วัตถุดิบที่วัคซีนโควิดไม่ระบุชื่อ• 4 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยรถโดยสารและรถบรรทุก ที่มีค่าควันดำเกินกำหนด ถูกปรับสองหมื่นบาท จริงหรือมีการเผยแพร่ข้อความว่าหากกรมการขนส่ง ตรวจพบว่ารถคันใดมีควันดำเกินที่กำหนด ต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 2 หมื่นบาท จริงหรือanonymous• 4 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยกด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตร ATM เพื่อป้องกันการขโมยรหัสจริงหรือบนโซเชียลแชร์ข้อแนะนำที่บอกว่าเป็นประโยชน์มาก ทุกครั้งที่ใช้ตู้เอทีเอ็มขอให้กดปุ่ม Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตร เผื่อใครแอบตั้งค่าขโมยรหัสไว้จะได้ยกเลิกการตั้งค่านั้นก่อน เรื่องจริงหรือเปล่าanonymous• 5 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือ ขยายเวลาเสียภาษีที่ดินออกไปอีก 1-2 เดือนอปท.หลายแห่งขยายเวลาจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปอีก 1-2 เดือน จากเดิมสิ้นสุดในวันที่ 31 ส.ค.นี้ หลังไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ทันตามกำหนดnaydoitall• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยมติ ครม. เห็นชอบวันหยุดชดเชยสงกรานต์ ทำให้มีวันหยุดยาว 4-7 กันยายน จริงหรือมติ ครม. เห็นชอบวันหยุดชดเชยสงกรานต์ ที่เหลืออีก 2 วัน คือวันศุกร์ที่ 4 กันยายน และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน รวมหยุดยาวต่อเนื่อง 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-7 กันยายน 2563 จริงหรือanonymous• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยประเทศ นิวซีแลนด์ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ อีกครั้ง หลังจากไม่มีผู้ติดเชื้อมาถึง 24 วัน จริงหรือนิวซีแลนด์ยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 2 คน ซึ่งเป็นการกลับมาพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นครั้งแรก หลังปลอดจากการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มานานติดต่อกัน 24 วันnaydoitall• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยระวัง 5 ข่าวลือป่วนวัคซีนโควิด-19 โคแฟคแนะเช็กก่อนแชร์แผนการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 กลับไม่ราบรื่นนัก เพราะเกิด “ข่าวลือข่าวลวง (Misinformation)” ในสังคมที่สร้างความตื่นตระหนก การเข้าใจแบบผิดๆ นำไปสู่ความไม่ไว้วางใจที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค ประเทศไทย (cofact.org) ได้เปิดเผย 5 ข่าวลือข่าวลวงที่เกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ของวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังถูกพูดถึงในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ 1.วัคซีนฝังไมโครชิป: เป็นประเด็นที่ถูกลือกันมากที่สุดในสังคมตะวันตก ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดในช่วงแรกๆ โดยเชื่อว่าเป็นแผนการของพวกนายทุนด้านเทคโนโลยีที่ต้องการปูทางไปสู่การฝังไมโครชิปประชากรทั่วโลก เช่น ข่าวจาก BBC รายงานว่าผลการสำรวจของ ยูกอฟ (YouGov) บริษัทรับทำโพลชื่อดังของอังกฤษ ที่สอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันจำนวน 1,640 คน สรุปผลได้ว่า 28% เชื่อเรื่องแผนการฉีดวัคซีนเพื่อฝังไมโครชิป เป็นต้น ข่าวลือนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือน มี.ค. 2563 เจ้าพ่อไอที บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ ออกมาพูดเปรยๆ ว่าในอนาคตจะมีการออกใบรับรองดิจิทัลสำหรับผู้ที่เคยป่วยจากไวรัสโควิดและได้รับการรักษาจนหายแล้วไปจนถึงผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน ข่าวลือเรื่องวัคซีนโควิดฝังไมโครชิปกลับมาพูดถึงอีกครั้งในช่วงปลายปี 2563 เมื่อสหรัฐฯ เตรียมการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยใช้วัคซีนที่พัฒนาโดยไฟเซอร์ (Pfizer) ทำให้ทางไฟเซอร์ต้องชี้แจงส่วนผสมของวัคซีนซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 ชนิด ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ใช้ในวัคซีนหลายๆ ชนิดอยู่แล้ว และไม่มีส่วนผสมที่เกี่ยวข้องกับไมโครชิป เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2564 กระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย ก็ได้ออกมายืนยันว่า ไม่พบการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือไมโครชิปในวัคซีนโควิด-19 ในชนิดใดๆ ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ จากการตรวจสอบทางบีบีซี สรปได้ว่า ข่าวลือนี้ไม่เป็นความจริง 2.วัคซีนเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอมนุษย์: ข่าวลือนี้ที่ถูกพูดถึงพร้อมสร้างความเป็นกังวลกันเป็นอย่างมากในสังคมไทยและต่างประเทศ โดยกล่าวถึงพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ในกระบวนการผลิตและการทำงานของวัคซีน จะส่งผลข้างเคียงทำให้ดีเอ็นเอของผู้ที่ได้รับวัคซีนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) จึงออกมาชี้แจงเรื่องนี้ว่า วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิด คือ mRNA เช่น วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา (Moderna) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่นำรหัสพันธุกรรมส่วนเล็กๆ ของไวรัสมาใช้กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน กับ Viral Vector เช่น วัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ใช้วิธีฝากสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ไปกับไวรัสชนิดอื่น แต่เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ด้วย และถึงแม้จะส่งสารพันธุกรรมเข้าไปในร่างกายมนุษย์ แต่สารนั้นจะไม่เข้าไปถึงนิวเคลียสอันเป็นที่เก็บดีเอ็นเอ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อดีเอ็นเอแต่อย่างใด ทางสำนักข่าวบีบีซีและรอยเตอร์ตรวจสอบแล้วพบว่าข่าววัคซีนเปลี่ยนดีเอ็นเอนี้ไม่เป็นความจริง 3.วัคซีนทำให้คนเป็นหมัน: การมีลูกเพื่อสืบทอดถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากในหลายๆ ครอบครัว ข่าวลือนี้ได้สร้างความเครียด กังวลใจและมีแนวโน้มว่าในกลุ่ม สามี-ภรรยาหลายคู่จะปฏิเสธการรับวัคซีน เพราะเชื่อว่าวัคซีนวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย โดยหน่วยงานบริหารสินค้าด้านอายุรเวท (Therapeutic Goods Administration-TGA) ได้ระบุว่า ข่าวลือนี้อ้างถึงโปรตีนซินซิติน-1 (Syncytin-1) ที่ช่วยการพัฒนารก ซึ่งมีอยู่ในหนามแหลมของเชื้อโควิด-19 เหมือนกัน แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือแม้แต่วัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือการพัฒนาของรกแต่อย่างใด ข่าว "แนะท่านชายนำเชื้ออสุจิไปแช่แข็งก่อนรับวัคซีนโควิด” ได้ตรวจสอบแล้วว่าไม่เป็นความจริงด้วยเช่นกัน โดยศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท ตรวจสอบจากแหล่งข้อมูล #SureVac โดย Newtral.es 4.วัคซีนช่วยเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชาย: สาเหตุที่ประเด็นนี้ถูกพูดถึงเนื่องจากมีการอ้างถึงงานวิจัยชิ้นนึงว่า วัคซีนโควิด-19 จะช่วยเพิ่มขนาดของอวัยวะเพศชายให้ยาวขึ้น ทำให้ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง เมื่อต้นเดือน ม.ค. 64 ถึงกรณีมีการส่งต่อภาพที่อ้างว่าเป็นข่าวจากสำนักข่าว CNN สหรัฐอเมริกา ที่พาดหัวข่าวว่า แพทย์สนับสนุนให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่อวัยวะเพศชาย เพราะจะทำให้วัคซีนกระจายไปทั่วร่างกายเร็วขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นมีการแชร์ไปถึงขนาดว่า ยังจะช่วยเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายให้ยาวขึ้นได้ถึง 3 นิ้ว โดยทั้ง 2 ข่าวได้กล่าวถึงอ้างงานวิจัย แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นข่าวปลอมทั้งหมด ตั้งแต่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ทำการศึกษาจากลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,500 คน นั่นไม่มีอยู่จริง หรืออ้างถึงวารสารวิชาการ The New England Journal of Merdecine นั้นก็ไม่มีอยู่จริง โดยวารสารที่มีจริงคือ The New England Journal of Medicine ซึ่งก็ไม่เคยตีพิมพ์บทความทำนองนี้แต่อย่างใด แม้กระทั่งสำนักข่าว CNN ก็ไม่เคยเสนอข่าวตามภาพที่นำมาอ้างกันด้วย เช่นเดียวกับตรวจสอบจากสำนักข่าว AFP และ อีกหลายสำนักสรุปตรงกันข่าวที่อ้าง CNN นี้เป็นข่าวลวง 5. วัคซีนมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาสนา: ในบางศาสนานั้นมีข้อห้ามการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของสัตว์บางชนิด เช่น ศาสนาฮินดูห้ามบริโภคเนื้อวัว ศาสนาอิสลามห้ามบริโภคเนื้อหมู ทำให้เมื่อมีการเผยแพร่ข่าวลือผิดๆ ว่าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ทำจากส่วนประกอบของสัตว์ดังกล่าว ดังนั้นจึงนำไปสู่การปฏิเสธการรับวัคซีนจากบรรดาศาสนิกชน ที่ประเทศอังกฤษ ช่วงต้นปี 2564 ดร. ฮาร์พรีท สูท (Harpreet Sood) หัวหน้าหน่วยต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ยอมรับว่าทีมงานทำงานกันอย่างหนักและยากลำบากด้วยข้อจำกัดด้านภาษาและวัฒนธรรม จากกรณีพบผู้มีเชื้อสายเอเชียใต้ (ภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์) ที่อาศัยอยู่ในอังกฤษมีแนวโน้มปฏิเสธการรับวัคซีนโควิด-19 โดยต้องทำงานร่วมกับผู้นำศาสนา อธิบายให้ศาสนิกชนเหล่านี้มั่นใจว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสม และทาง Newsweek เองก็มีการตรวจสอบแล้วว่าเป็นข่าวลวง โดยเฉพาะในวัคซีนของไฟเซอร์ และในส่วนของประเทศอินโดนีเซียที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ได้เริ่มมีการฉีดวัคซีนกันไปแล้ว ความสับสนและข่าวปลอมเรื่องวัคซีนที่เกิดขึ้นและแพร่กระจายออกไปในวงกว้างดังกล่าวนี้ สุภิญญา ยอมรับว่าข้อมูลข่าวสารเรื่องวัคซีนไม่นิ่งและอลหม่านมากจึงทำให้คนกลัว ไม่ใช่แค่ในประเทศแต่ทั่วโลก มีทั้งมิติวิทยาศาสตร์และการเมืองปนกัน เรื่องวัคซีนยังเป็นนโยบายสาธารณะด้วย ดังนั้นภาครัฐต้องเร่งตอบคำถามจากสังคมให้ชัดเจน เช่น ทำไมเราได้รับฉีดวัคซีนช้า มีตัวเลือกอื่นหรือไม่ การบริหารจัดการโปร่งใสหรือเปล่า และ การเข้าถึงวัคซีนเป็นสิทธิ์ทั่วถึงเป็นธรรม รวมถึงการให้ข้อมูลที่สร้างความมั่นใจในความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่น ส่วนประชาชนควรแยกแยะว่าอะไรคือข้อเท็จจริง อะไรคือความคิดเห็นหรือความเชื่อ จะได้ไม่สับสนและมีความมั่นใจมากขึ้น ถ้าไม่แน่ใจอะไร ส่งมาให้สื่อมวลชน เช่น สำนักข่าว AFP ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สมาคมนักข่าวฯ และ โคแฟคเพื่อช่วยตรวจสอบได้เช่นกันstd46896• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเสียงกระซิบจากผู้หวังดี: สื่อไทยกับความเสี่ยงต่อการปล่อยข่าวลวงรายงานเชิงวิเคราะห์โดย กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ ที่ปรึกษาโคแฟค ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา องค์กรไม่แสวงผลกำไรสากลที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับข่าวลวง Global Disinformation Index (GDI) ได้เผยแพร่รายงานประเมินความเสี่ยงของสำนักข่าวออนไลน์ในไทยต่อการเผยแพร่ข่าวลวงเป็นครั้งแรก โดยวิเคราะห์จากทั้งเนื้อหาและระบบการปฏิบัติงานของเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ 33 แห่งที่มียอดผู้เข้าชมทางเว็บไซต์และการเข้าถึงทางโซเชียลมีเดีย เป็นลำดับต้นๆ พบว่า ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงอยู่ที่ 57 จาก 100 คะแนนซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงระดับปานกลางและใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ฟิลิปปินส์ ( 55.32) อินโดนีเซีย (63)และ มาเลเซีย (59 ) ซึ่งได้มีการประเมินไปก่อนหน้านี้ ( ดูรายงานเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของGDI ) รายงานการวิจัยซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง GDI กับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า เว็บไซต์ข่าว 15 แห่งมีความเสี่ยงปานกลาง 14 แห่งมีความเสี่ยงสูง 2 แห่งมีความเสี่ยงสูงสุด และอีก 2 แห่งมีความเสี่ยงต่ำ แต่ไม่มีสื่อใดมีความเสี่ยงต่ำสุด โดยในจำนวนนี้ มีสื่อโทรทัศน์ทั้งของภาครัฐและเอกชนและสื่อสิ่งพิมพ์เอกชนที่เผยแพร่เนื้อหาผ่านช่องทางออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่หันมาทำธุรกิจสื่อออนไลน์อย่างเดียว และสำนักข่าวออนไลน์เกิดใหม่รวมทั้งสื่อทางเลือก ซึ่งมีคนเข้าชมเป็นลำดับต้นๆจากการจัดลำดับของ www.alexar.com และมียอดการเข้าถึงของผู้ใช้งานในเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์สูง (ดูรายชื่อสำนักข่าวออนไลน์ที่ถูกประเมินตามตารางแนบท้ายข่าว) รายงานดังกล่าวถือเป็นกลไกใหม่ในการเสริมสร้างความน่าเชื่อให้กับสื่อมวลชนทั่วโลกที่ถูกโอบล้อมอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรของข้อมูลลวงหรืออาจเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ โดยไม่มีการระบุชื่อสื่อที่ถูกประเมินในรายงานว่าได้คะแนนเท่าไหร่ แต่ทาง GDI จะมีการแจ้งให้สื่อเหล่านั้นทราบโดยตรงก่อนลงมือทำงานวิจัย และแจ้งอีกครั้งหลังทำงานเสร็จลุล่วงว่าสื่อนั้นมีความเสี่ยงต่อข้อมูลลวงมากน้อยเพียงใด ด้วยปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง พร้อมทั้งให้คำแนะนำว่าควรจัดการกับความเสี่ยงอย่างไร ในการประเมินผล ทีมวิจัยประเทศไทยใช้กระบวนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานของGDI โดยมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในด้านเนื้อหาและระบบการปฏิบัติงานจากเกณฑ์ชี้วัดหลักในแต่ละด้าน 10 ข้อ และ 6 ข้อตามลำดับ เมื่อนำความเสี่ยงทั้งสองด้านมาถัวเฉลี่ยกันก็จะเป็นค่าความเสี่ยงที่แต่ละสื่อได้รับจากคะแนนเต็ม100 โดยแบ่งระดับความเสี่ยงเป็น 5 ระดับ คือ ระดับต่ำสุด (80.28-100) ต่ำ (68.84-80.27 ) ปานกลาง (57.41-68.83) สูง (45.97-57.40) และสูงสุด (0-45.97 ) ทั้งนี้เนื้อหาที่นำมาวิเคราะห์มาจากการข่าวหรือบทความ 20 ตัวอย่างที่ถูกคัดเลือกจากแต่ละสื่อที่ถูกประเมิน โดยแบ่งเป็นเนื้อหาที่มีผู้แชร์บ่อย 10 ตัวอย่าง และเนื้อหาที่มีความเสี่ยงต่อข้อมูลลวงหรือที่สร้างความขัดแย้ง (adversarial narratives) ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสุขภาพ เป็นต้นฯ 10 ตัวอย่าง (ดูรายละเอียดกระบวนการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้ในรายงานฉบับเต็ม) ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงต่ำด้านเนื้อหา (79/100) ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงสูงด้านระบบการปฏิบัติงานขององค์กรสื่อและกองบรรณาธิการ (35/100) ผลการประเมินพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้สื่อมีความเสี่ยงสูงต่อการเผยแพร่ข่าวลวงมาจากความไม่โปร่งใสหรือชัดเจนในนโยบายขององค์กรสื่อและแนวปฏิบัติของกองบรรณาธิการ (Operation Risk) เช่น ไม่ระบุความเป็นเจ้าของสื่อและแหล่งทุนหรือที่มาของรายได้ และไม่มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการกลั่นกรองข้อมูลหรือตรวจสอบข้อเท็จชัดเจนของกองบรรณาธิการทั้งก่อนและหลังเผยแพร่เนื้อหา มากกว่าความเสี่ยงด้านเนื้อหา (Content Risk) ของสื่อส่วนใหญ่ที่ถูกประเมิน ซึ่งถือว่าปราศจากความลำเอียง ไม่ใช้ภาษาหรือภาพที่หวือหวาหรือพาดหัวคลาดเคลื่อน และ ไม่ได้มุ่งสร้างความขัดแย้งแม้ว่าสังคมไทยยังตกอยู่ในภาวะแบ่งขั้วทางการเมือง นอกจากนี้ แนวโน้มที่พบคือ สื่อที่ถูกประเมินกว่าครึ่ง มีเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงด้านระบบการปฏิบัติงานในเรื่องนโยบายการเปิดเผยความเป็นจ้าของสื่ออยู่ในระดับที่ต่ำ กล่าวคือไม่มีนโยบายหรือไม่เปิดเผยความเป็นเจ้าของบนหน้าเว็บอย่างชัดเจน และจำนวน 28 แห่งไม่มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่หรือการแก้ข่าวภายหลังอย่างชัดเจน ทำให้เกณฑ์ชี้วัดในเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดได้รับคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด (3/100) นอกจากนี้สื่อส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการระบุชื่อผู้สื่อข่าวหรือทีมงานที่ผลิตข่าวชิ้นนั้น (byline) ตลอดจนไม่ระบุหรือชี้แจงแนวปฏิบัติในการอ้างที่มาของแหล่งข่าวและแหล่งข้อมูลในข่าวอย่างชัดเจน (sources and attribution) ซึ่งเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ถือเป็นแนวปฏิบัติตามหลักวารศาสตร์ที่สำคัญ ( major journalistic practice)ในการแสดงความโปร่งใสขององค์กรสื่อ ความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ และความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเผยจะเผยแพร่ข้อมูลลวงใหต่อสาธารณะ และสร้างความไว้วางใจต่อผู้รับสารstd47964• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยราชกิจจานุเบกษา ประกาศต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน อีก 2 เดือนไม่ระบุชื่อ• 3 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ที่ ‘อีลอน มัสก์’ ยอมลาออกปธ.เทสล่า-จ่ายค่าปรับ เซ่นทวีตป่วนตลาดหุ้นอีลอน มัสก์ ยอมลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทเทสล่า ตามข้อตกลงประนีประนอม หลังเขาถูกสอบสวนฐานปั่นหุ้น เนื่องจากไปทวีตว่าจะทำให้เทสล่ากลับเป็นบริษัทเอกชนเมื่อราว 2 เดือนก่อน...MJU_Room6• 4 ปีที่แล้วmeter: true2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยวันที่ 5 และ 10 ธันวาคม 63 ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สาย จริงหรือเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนออกเที่ยวในช่วงวันหยุด การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ยกเว้นค่า ผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ 3 สาย ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ถึง 24.00 น. 1. ทางพิเศษเฉลิมมหานคร 2. ทางพิเศษศรีรัช 3. ทางพิเศษอุดรรัถยาanonymous• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือ วัณโรค แค่นั่งใกล้กันก็ติดได้วัณโรคปอด ติดกันได้ง่าย หากเจอผู้ป่วยนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน เกิดไอจามขึ้นมา คนรอบข้างก็สามารถติดได้หมดเลย เพราะระยะแพร่กระจายมันฟุ้งกว่า Doplet มาก ชี้คนแข็งแรงกว่าจะแสดงอาการใช้เวลา 2 ปีnaydoitall• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยรพ.บํารุงราษฎร์ ชี้แจงว่า มีชาวต่างชาติ 2 รายมาตรวจและพบเชื้อโควิด ไม่เป็นความจริงโรงพยาบาลฯ ขอยืนยันว่าชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยจำนวน 2 รายและมีรายงานผลการตรวจว่ามีการติดเชื้อโควิค-19 ตามที่ศบค. แถลงนั้น ไม่ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อย่างใด จริงหรือคะโควิด 2019anonymous• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจำไว้นะคะ…….. แม้ฉีดวัคซีนเข็ม2 แล้ว ต้องรออีก (14วัน)จึงปลอดภัย ร่างกายจึงจะสร้างภูมิ เพิ่มขึ้น 100-200 เท่า (ช่วง45 วัน ร่างกายเราจะอ่อนแอกว่าเดิม อย่าลืมใส่แมสนะคะ และออกนอกบ้านเท่าที่จำเป็น เท่านั้นค่ะ) จาก Evelyn โพสต์จาก ศูนย์ การแพทย์มาคาติ เราสูญเสีย Dr Joey Avila หัวหน้าแผนกพยาธิวิทยาใน MMC เนื่องจาก COVID เขาได้รับ Sinovac เข็ม2 จากนั้นติดเชื้อ COVID ภายในเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจาก ให้ยาครั้งที่ 2 สาเหตุที่ทำให้คนติดเชื้อแม้จะได้รับวัคซีน โคโรนาสองโดสแล้ว: ▪️เข็มที่ 2 ให้ฉีด 21/28 วันหลังจากฉีดวัคซีนโคโรนาเข็มแรก ▪️วัคซีนจะเริ่มสร้างแอนติบอดีทันทีหลังจากเข้าสู่ร่างกาย (fire)▪️เมื่อแอนติบอดี ก่อตัวในร่างกายของเรา ภูมิคุ้มกันของเราจะลดลงอย่างมาก ▪️เมื่อเรารับวัคซีนเข็มที่ 2 หลังจากวันที่ 21/28 ภูมิต้านทานของเราจะลดน้อยลงไปอีก ▪️ 14 วันหลังจาก ฉีดครั้งที่ 2 เมื่อภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราสมบูรณ์แล้ว ภูมิคุ้มกันของเราจะเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว ▪️ ในช่วง 1 เดือนครึ่งนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ โอกาสที่ไวรัสโคโรน่าจะเข้าสู่ร่างกายเราจึงสูงมาก เนื่องมาจากการสัมผัสกับไวรัสในช่วงเวลาเสี่ยงที่ทำให้คนติดเชื้อ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะออกจากบ้านในช่วงเดือนครึ่งนี้ (fire)▪️แม้หลังจากฉีดวัคซีน 2 โดส คุณก็สามารถตกเป็นเหยื่อของโคโรนาได้ ▪️หลังจากผ่านไป 1 เดือนครึ่ง ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะเพิ่มขึ้น 100 ถึง 200 เท่า หลังจากนั้นคุณจะปลอดภัย ▪️ต้องระวังและปลอดภัยเป็นเวลาหนึ่งเดือนครึ่งตั้งแต่ครั้งแรก นั่นเป็นเหตุผลที่ ▪️อย่าลืมใส่แมส ▪️ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น #อัพเดทโควิด. ………………………. From Evelyn Post from Makati Medical Center. We lost our chief of pathology, Dr Joey Avila, in MMC to COVID. He had received his 2nd Sinovac, then got COVID within about a week of his 2nd dose. Reasons for people getting infected even after taking two doses of the corona vaccine: ▪️ The second dose is to be taken 21/28 days after the first dose of the corona vaccine. ▪️ The vaccine starts to form antibodies immediately after entering the body. ▪️ When antibodies are forming in our body, our immunity decreases a lot. ▪️ When we take the second dose of the vaccine after the 21/28 days, our immunity decreases even more. ▪️ 14 days after the second dose, when the antibodies are completely formed in our body, our immunity starts to grow rapidly. ▪️ During this one and a half month, due to low immunity, the chances of the corona virus entering our body are very high. It is due to an exposure to the virus at this vulnerable time that a person gets infected.Hence, it is very risky to get out of the house during this month and a half. ▪️ Even after taking two doses of the vaccine, you can become a victim of Corona. ▪️ After one and a half months, the immunity in the body rises by 100 to 200 times, after which you are safe. ▪️ Need to be careful and safe for one and a half months from the first dose. That's why ▪️ Make sure to wear a mask ▪️ Get out of the house only if necessary. #Covid updateไม่ระบุชื่อ• 4 ปีที่แล้ว2 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยทีมหมอจากมหาลัยไต้หวัน เตือนมาว่า ภายในปีนี้อย่าเข้าใกล้ พบปะ หรือ ทานอาหารร่วมกับคนที่เป็นโควิดมาก่อน ///// (๑) จากผลการผ่าร่างกาย 1. covid-19 มันคือการรวมกันของ ซาร์กับเอดส์, หมอหลายคนบอกว่า คนถึงแม้จะรักษาหายจากโควิดแล้ว แต่มันจะมีผลเป็นบวกอยู่อีก นี่ไม่ใช่การกลับมาเป็นใหม่ แต่เป็นเพราะมันไม่สามารถรักษาหายขาดได้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโควิด 2. ภูมิต้านทานโดนทำลาย ทั้งนี้ซาร์จะทำร้ายแค่ปอด จะไม่กระทบกับภูมิต้านทาน.. ส่วนเอดส์จะทำลายภูมิต้านทาน.. ส่วนโควิด 19 นั้นทำลายอวัยวะของเราเหมือนกับ ซาร์+เอดส์ 3. การล้มเหลวของปอดอย่างเฉียบพลันเป็นผลทำให้ตายของซาร์ แต่ โควิด 19 ทำให้ตายเพราะการล้มเหลวของอวัยวะหลายๆอย่าง (๒) ศาตราจารย์ Peng Zhi Yong จากมหาลัยอู่ฮัน บอกผลจากการผ่าร่างกายว่า 1. คนที่หายจากโควิด ผลตรวจเลือดพบว่าระดับของดัชนี lymphocyte (ลิมโฟไชด์) จะไม่กลับมาเหมือนเดิม ระบบต้านทานของร่างกายจะไม่ค่อยเหมือนเดิม 2. แม้ผลตรวจของคนที่ให้กลับบ้านได้จะเป็นลบ แต่ภูมิต้านทานนั้นเสียหายไปแล้ว มันสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ง่ายมาก 3. ลักษณะคล้ายๆกับไวรัสตับอักเสบบี ที่จะมีเชื้อโรคไวรัสอยู่ในร่างกายได้อย่างยาวนาน 4. ทีนี้ก็ต้องมาดูกันว่าคนที่หายจากโควิดแล้วนั้นจะสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีกไหม? (๓) หมอที่ทำและการรักษาเสนอว่า 1. ตอนนี้เราเน้นรักษาคนไข้ ที่ติดเชื้อ แต่คนที่รักษาหายแล้วนั้นอาจยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย ต้องดูต่อไปและศึกษา วิจัยว่าจะแพร่เชื้อได้อีกไหม? 2. หากเป็นอย่างนี้สงครามกับโควิดก็ยังไม่จบลงง่ายๆ เลยแนะนำว่าภายในปีนี้ถึงปีหน้าออกไปข้างนอกก็ต้องใส่หน้ากากอนามัยและอย่าไปที่คนรวมกลุ่มกันเยอะๆ รักษาระยะห่าง 2 เมตร ***** ผมเห็นด้วยกับบทความนี้นะ อย่าไปเสี่ยงมันไม่คุ้มเลย สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการสถาบันทิศทางไทยโควิด 2019ไม่ระบุชื่อ• 5 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัย🔴ฝากบอกข่าวดี ข้าราชการบำนาญ. ✅✅✅✅✅✅✅ 💥ผู้สูงอายุ/สว. /(ผู้มี อายุ 60 ปีขึ้นไป) ท่าน มีสิทธิ์ลงทะเบียนรับ เงินแจกฟรีจากทางรัฐ คนละ10,000.-บาท ทุกคน 🔴ยกเว้น. บุคคล ดังต่อไปนี้.- (1) ข้าราชการบำนาญ ที่มีเงินเดือนบำนาญและ รายได้อื่นมากกว่าปีละ 800,000บาท.จะไม่ผ่าน (2) ข้าราชการบำนาญ ที่มีเงินฝากธนาคารอยู่ มากกว่า 500,000.-บาท 👆จะไม่ผ่านและข้ออื่นๆ ศึกษาดูนะคับ. ❌ มีส่วนน้อที่จะไม่ผ่าน. 2 ข้อข้างบนนี้. ✅ข้าราชการบำนาญ ส่วนมากจะผ่าน. 🔴 ท่านมีสิทธิ์ลงทะเบียน รับเงินหมื่นนะครับ. 👉:ห่วงใยท่านที่เข้าใจ ผิดว่า. ข้าราชการบำนาญ ไม่มีสิทธิ์ลงทะเบียน. ... ท่านมีสิทธิ์ทุกคน ... รอลงทะเบียนรอบต่อไป ... รอบเก็บตก สว. 💥ด้วยรักและห่วงใยเพื่อน พี่น้องข้าราชการบำนาญ ทุกท่านครับ. 👇👇 🔴ตกหล่นจากงวดนี้ ให้ลง 3 งวด คือ 👉 25 ก.พ.68 👉 25 มี.ค.68 และ 👉 23 เม.ย.68 ✅ 3งวด ศึกษา ตามข่าว. ทำไม่เป็น ให้ลูกหลาน ลงให้เด้อ!!!ข่าวการเมืองการเงินไม่ระบุชื่อ• 5 เดือนที่แล้วmeter: mostly-false--middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยอย่ากดรีเซ็ตรหัสผ่าน ตำรวจสอบสวนกลางเตือนผู้ใช้ iPhone เสี่ยงโดนมิจฉาชีพเข้าระบบ วันนี้ (6 ส.ค. 2567) เพจเฟซบุ๊ก ตำรวจสอบสวนกลางได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพว่า ผู้ใช้ Iphone โปรดระวัง หากมีแจ้งเตือนในลักษณะนี้ ห้ามกดอนุญาตเด็ดขาด . หาก Iphone มีข้อความแจ้งเตือนว่า “รีเซ็ตรหัสผ่าน ใช้ Iphone เครื่องนี้เพื่อรีเซ็ทรหัสผ่าน Apple ID” โดยที่เราไม่ได้ดำเนินการใดๆ กับโทรศัพท์ . หรือ มีข้อความว่า “Apple ID Sign in Requested” มีการแจ้งว่ามีการเข้าระบบของ Apple โดยที่เราไม่ได้เข้าระบบ และมีการแสดงตำแหน่งแปลกๆ ที่เราไม่เคยไป หรืออยู่ต่างประเทศ . ขอเตือนว่า อย่ากดอนุญาตโดยเด็ดขาด เพราะมีความเป็นไปได้ว่า มิจฉาชีพกำลังพยายามเข้าระบบของเรา . ทั้งนี้เมื่อกดไม่อนุญาตแล้ว ขอแนะนำให้ท่านรีบเปลี่ยนรหัสผ่าน บังคับให้ทุกเครื่องออกจากระบบ และเปิดการเข้าระบบแบบ 2 ชั้น (2FA) ในทันที . หากพบเจอมิจฉาชีพออนไลน์ ต้องการแจ้งความ หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับมิจฉาชีพ สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วนศูนย์ AOC 1441 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ . ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) มืออาชีพ เป็นกลาง เคียงข้างประชาชน ข้อมูลและภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) #Iphone #แฮก #AOC1441 #CIB #ตำรวจสอบสวนกลาง #CybersecurityAwareness #เตือนภัย #มิจฉาชีพ #TNNTechreports #Techreports #TNNONLINE #TNNThailand #TNNช่อง16 #ซิงเกิลอิมเมจ ————ผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมไม่ระบุชื่อ• 1 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัย(ประกาศ) ประกาศเตือนสมาชิกทุกคนในห้อง เตือนญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก ให้งดไปในที่สาธารณะหรือที่มีคนเยอะระหว่างวันนี้จนถึง 7 วันข้างหน้า ถ้าไ่ม่จำเป็นห้ามออกไปตลาดสด ตามห้างสรรพสินค้า เซเว่น เพราะจะมีการปล่อยเชื่อโรคไวรัสโควิด 19 รอบสุดท้าย แต่ตัวนี้จะมีความรุนแรงมากกว่ารอบ 1 และรอบที่ 2 ใครที่ได้รับเชื้อตัวนี้จะมี อาการรุนแรงภายใน 2ช.ม และจะอยู่ได้ไม่เกิน2-3วัน สหรัฐอเมริกาเลือกที่จะให้ ประเทศไทยเราเป็นประเทศที่ 3 ในการทดลองยา ประเทศแรกคือประเทศจีนและประเทศที่ 2 คือประเทศอินเดียประเทศไทยเราคือ ประเทศที่ 3 ขอให้พี่น้องรักษาสุขภาพและงดไปในที่สูงเสี่ยง ขอย่ำว่าเชื้อโรคตัวนี้มีประสิทธิภาพในการทำลายระบบทางเดินหายใจสูงโควิด 2019ไม่ระบุชื่อ• 4 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยประกาศ เช้านี้ ชาวไทยตื่นขึ้นมา มี 83 จังหวัด แล้วจ้า! จังหวัดใหม่ มาอีก 7 จังหวัด ทราบหรือยังครับ เรามีจังหวัด รวมทั้งหมด 83 จังหวัด ในประเทศไทยแล้ว เพราะมีการจัดตั้งจังหวัดใหม่อีก 7 จังหวัด เพิ่มผู้บริหารอีก 7 คน และตำแหน่งต่าง ๆ ตามหน่วยงาน ✔️1. จังหวัดบัวใหญ่ แยกมาจาก นครราชสีมา มี 8 อำเภอ อ.บัวใหญ่ อ.คง อ.ประทาย อ.โนนแดง อ.บ้านเหลื่อม อ.แก้งสนามนาง อ.สีดา อ.บัวลาย ✔️2. จังหวัดเดชอุดม แยกมาจากอุบลราชธานี มี 5 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ อ.เดชอุดม อ.บุณฑริก อ.นาจะหลวย อ.น้ำยืน อ.ทุ่งศรีอุดม กิ่ง อ.น้ำขุ่น กิ่ง อ.นาเยีย ✔️ 3. จังหวัดกันทรลักษณ์ แยกออกมาจากศรีสะเกษ มี 6 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ อ.กันทรลักษ์ อ.ขุนหาญ อ.เบญจลักษ์ อ.ศรีรัตนะ อ.ไพรบึง อ.โนนคูณ กิ่ง อ.เขาพระวิหาร กิ่ง อ.ศรีเมืองทอง กิ่ง อ.ทับทิมสยาม ✔️4. จังหวัดชุมแพ แยกมาจาก ขอนแก่น มี 6 อำเภอ อ.ชุมแพ อ.ภูเวียง อ.สีชมพู อ.หนองนาคำ อ.ภูผาม่าน และ อ.ภูเขียว ของ จ.ชัยภูมิ มาจัดตั้งเป็น จ.ชุมแพ ✔️5. จังหวัดนางรอง แยกมาจาก บุรีรัมย์ มี 10 อำเภอ อ.นางรอง อ.ชำนิ อ.หนองหงส์ อ.บ้านกรวด อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.โนนสุวรรณ อ.ปะคำ อ.หนองกี่ อ.ละหานทราย อ.โนนดินแดง ✔️6. จังหวัด นาทวี แยกมาจาก สงขลา มี 8 อำเภอ อ.นาทวี อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย อ.คลองหอยโข่ง อ.สะเดา อ.นาหม่อม อ.หาดใหญ่ ✔️7. จังหวัดท่าศาลา แยกจากนครศรีธรรมราช มี 6 อำเภอ อ. ท่าศาลา อ. พรหมคีรี อ. นพพิตำ อ. สิชล อ. ขนอม อ. ดอนสัก (สุราษฎร์ธานี) จำกันไว้ดี ๆ คงเริ่มเปลี่ยนแผนที่ เปลี่ยนชื่อป้ายกันเร็ว ๆ นี้มีมไม่ระบุชื่อ• 5 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวลวงช่วงปีใหม่บอกกกล่าว คอลเซ็นเตอร์มีโปรปีใหม่ 1. ข่าวอาการป่วยองค์ภา 2. ปลดฐานันดรฟ้าหญิงอุบลรัตน์ทุกตำแหน่ง 3. อวยพรคริสต์มาสและปีใหม่ด้วยเวอร์ชั่นสวยงามตระการตา ทั้งสามลิงค์กดเมื่อไหร่เงินหมดบัญชี 🥸🥸🥸การเงินผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมadmin• 6 เดือนที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยวันนี้เป็นวันแรก ของการบังคับใช้กฎหมาย เมาแล้วขับ ปรับ 1 หมื่น ถึง 2 หมื่นบาท คุก 1 เดือน ไม่รอลงอาญา ไม่บำเพ็ญประโยชน์ แปลว่า... เป่าเจอ ไปติดคุกเลย ฝากทุกท่าน ในกลุ่มประชาสัมพันธ์ด้วยนะครับผู้บริโภคเฝ้าระวังมีม เสียดสีไม่ระบุชื่อ• 8 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยมีเบอร์ดูดเงินด้วยค่ะ ตอนนี้มีข้อมูล 2 เบอร์ รับสายปุ๊บ ดูดเงินเลย เมมไว้ว่า "อย่ารับสายเด็ดขาด" ถ้าบล๊อคสายได้ ให้ตั้งค่าที่โทรศัพท์ไว้เลยค่ะ 094-619-3241 082-810-3575 ทุกวันนี้อยู่ยากจริงๆผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมQ&A• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: middle2 ความเห็น

ไม่พบข้อความที่คุณค้นหา
หากคุณสงสัยว่าข้อความที่พบเป็นข่าวลวง ข่าวลือ หรือ ข้อความหลอก ที่ยังไม่พบใน Cofact กรุณาคลิกที่
สร้างข้อความ