1 คนสงสัย
เสียงกระซิบจากผู้หวังดี: สื่อไทยกับความเสี่ยงต่อการปล่อยข่าวลวง
รายงานเชิงวิเคราะห์โดย กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ ที่ปรึกษาโคแฟค ประเทศไทย

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา องค์กรไม่แสวงผลกำไรสากลที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับข่าวลวง Global Disinformation Index (GDI) ได้เผยแพร่รายงานประเมินความเสี่ยงของสำนักข่าวออนไลน์ในไทยต่อการเผยแพร่ข่าวลวงเป็นครั้งแรก โดยวิเคราะห์จากทั้งเนื้อหาและระบบการปฏิบัติงานของเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ 33 แห่งที่มียอดผู้เข้าชมทางเว็บไซต์และการเข้าถึงทางโซเชียลมีเดีย เป็นลำดับต้นๆ พบว่า ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงอยู่ที่ 57 จาก 100 คะแนนซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงระดับปานกลางและใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ฟิลิปปินส์ ( 55.32) อินโดนีเซีย (63)และ มาเลเซีย (59 ) ซึ่งได้มีการประเมินไปก่อนหน้านี้ ( ดูรายงานเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของGDI )

รายงานการวิจัยซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง GDI กับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า เว็บไซต์ข่าว 15 แห่งมีความเสี่ยงปานกลาง 14 แห่งมีความเสี่ยงสูง 2 แห่งมีความเสี่ยงสูงสุด และอีก 2 แห่งมีความเสี่ยงต่ำ แต่ไม่มีสื่อใดมีความเสี่ยงต่ำสุด โดยในจำนวนนี้ มีสื่อโทรทัศน์ทั้งของภาครัฐและเอกชนและสื่อสิ่งพิมพ์เอกชนที่เผยแพร่เนื้อหาผ่านช่องทางออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่หันมาทำธุรกิจสื่อออนไลน์อย่างเดียว และสำนักข่าวออนไลน์เกิดใหม่รวมทั้งสื่อทางเลือก ซึ่งมีคนเข้าชมเป็นลำดับต้นๆจากการจัดลำดับของ www.alexar.com และมียอดการเข้าถึงของผู้ใช้งานในเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์สูง (ดูรายชื่อสำนักข่าวออนไลน์ที่ถูกประเมินตามตารางแนบท้ายข่าว)

รายงานดังกล่าวถือเป็นกลไกใหม่ในการเสริมสร้างความน่าเชื่อให้กับสื่อมวลชนทั่วโลกที่ถูกโอบล้อมอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรของข้อมูลลวงหรืออาจเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ โดยไม่มีการระบุชื่อสื่อที่ถูกประเมินในรายงานว่าได้คะแนนเท่าไหร่ แต่ทาง GDI จะมีการแจ้งให้สื่อเหล่านั้นทราบโดยตรงก่อนลงมือทำงานวิจัย และแจ้งอีกครั้งหลังทำงานเสร็จลุล่วงว่าสื่อนั้นมีความเสี่ยงต่อข้อมูลลวงมากน้อยเพียงใด ด้วยปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง พร้อมทั้งให้คำแนะนำว่าควรจัดการกับความเสี่ยงอย่างไร

ในการประเมินผล ทีมวิจัยประเทศไทยใช้กระบวนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานของGDI โดยมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในด้านเนื้อหาและระบบการปฏิบัติงานจากเกณฑ์ชี้วัดหลักในแต่ละด้าน 10 ข้อ และ 6 ข้อตามลำดับ เมื่อนำความเสี่ยงทั้งสองด้านมาถัวเฉลี่ยกันก็จะเป็นค่าความเสี่ยงที่แต่ละสื่อได้รับจากคะแนนเต็ม100 โดยแบ่งระดับความเสี่ยงเป็น 5 ระดับ คือ ระดับต่ำสุด (80.28-100) ต่ำ (68.84-80.27 ) ปานกลาง (57.41-68.83) สูง (45.97-57.40) และสูงสุด (0-45.97 ) ทั้งนี้เนื้อหาที่นำมาวิเคราะห์มาจากการข่าวหรือบทความ 20 ตัวอย่างที่ถูกคัดเลือกจากแต่ละสื่อที่ถูกประเมิน โดยแบ่งเป็นเนื้อหาที่มีผู้แชร์บ่อย 10 ตัวอย่าง และเนื้อหาที่มีความเสี่ยงต่อข้อมูลลวงหรือที่สร้างความขัดแย้ง (adversarial narratives) ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสุขภาพ เป็นต้นฯ 10 ตัวอย่าง (ดูรายละเอียดกระบวนการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้ในรายงานฉบับเต็ม)

ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงต่ำด้านเนื้อหา (79/100) ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงสูงด้านระบบการปฏิบัติงานขององค์กรสื่อและกองบรรณาธิการ (35/100)

ผลการประเมินพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้สื่อมีความเสี่ยงสูงต่อการเผยแพร่ข่าวลวงมาจากความไม่โปร่งใสหรือชัดเจนในนโยบายขององค์กรสื่อและแนวปฏิบัติของกองบรรณาธิการ (Operation Risk) เช่น ไม่ระบุความเป็นเจ้าของสื่อและแหล่งทุนหรือที่มาของรายได้ และไม่มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการกลั่นกรองข้อมูลหรือตรวจสอบข้อเท็จชัดเจนของกองบรรณาธิการทั้งก่อนและหลังเผยแพร่เนื้อหา มากกว่าความเสี่ยงด้านเนื้อหา (Content Risk) ของสื่อส่วนใหญ่ที่ถูกประเมิน ซึ่งถือว่าปราศจากความลำเอียง ไม่ใช้ภาษาหรือภาพที่หวือหวาหรือพาดหัวคลาดเคลื่อน และ ไม่ได้มุ่งสร้างความขัดแย้งแม้ว่าสังคมไทยยังตกอยู่ในภาวะแบ่งขั้วทางการเมือง
นอกจากนี้ แนวโน้มที่พบคือ สื่อที่ถูกประเมินกว่าครึ่ง มีเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงด้านระบบการปฏิบัติงานในเรื่องนโยบายการเปิดเผยความเป็นจ้าของสื่ออยู่ในระดับที่ต่ำ กล่าวคือไม่มีนโยบายหรือไม่เปิดเผยความเป็นเจ้าของบนหน้าเว็บอย่างชัดเจน และจำนวน 28 แห่งไม่มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่หรือการแก้ข่าวภายหลังอย่างชัดเจน ทำให้เกณฑ์ชี้วัดในเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดได้รับคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด (3/100) นอกจากนี้สื่อส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการระบุชื่อผู้สื่อข่าวหรือทีมงานที่ผลิตข่าวชิ้นนั้น (byline) ตลอดจนไม่ระบุหรือชี้แจงแนวปฏิบัติในการอ้างที่มาของแหล่งข่าวและแหล่งข้อมูลในข่าวอย่างชัดเจน (sources and attribution) ซึ่งเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ถือเป็นแนวปฏิบัติตามหลักวารศาสตร์ที่สำคัญ ( major journalistic practice)ในการแสดงความโปร่งใสขององค์กรสื่อ ความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ และความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเผยจะเผยแพร่ข้อมูลลวงใหต่อสาธารณะ และสร้างความไว้วางใจต่อผู้รับสาร
std47964
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    อันตราย ! ไม่ควรทิ้งขยะ ‘หน้ากากอนามัย’ ใส่ขวด PET !
    ตือนภัย ! อันตรายขั้นกว่า ! ไม่ควรทิ้ง “หน้ากากอนามัย” ใช้แล้ว ในขวด PET ชี้ กำจัดยาก สร้างมลภาวะมากกว่าเดิม เสี่ยงติดเชื้อต่อผู้เก็บ และกลับมาเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แนะ แยก “ขยะติดเชื้อ” ใส่ถุงแยก มัดปากถุง เขียนหน้าถุง เพื่อนำไปกำจัดแบบประเภท “ขยะติดเชื้อ” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “พลังงานจากขยะ” ได้เผยแพร่ข้อความและรูปภาพ เตือนอันตรายจากการทิ้ง “หน้ากากอนามัย” ใช้แล้ว ในขวด PET โดยมีเนื้อหา ดังนี้ “จากการที่พนักงานเก็บขยะขอความร่วมมือ ปชช. ให้ทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ให้เป็นสัดส่วน แยกจากขยะทั่วไปนั้น ได้มีผู้ที่มีความหวังดี กรุณาเสนอไอเดีย ให้ทิ้งหน้ากากอนามัยใส่ขวด PET แบบนี้ ไปตามสื่อโซเชียลต่าง ๆ ซึ่งต้องขอชื่นชมในน้ำใสใจจริง แต่ต้องขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ว่าไม่ควรทิ้งแบบนี้ เพราะ 1. การบรรจุขยะประเภทติดเชื้อแบบนี้ ในขวดพลาสติก จะไม่สามารถกำจัดได้โดยง่าย นอกจากการเผาตรง ซึ่งเป็นวิธีที่สร้างมลภาวะมากกว่าเดิม เพราะต้องเผาขวดไปด้วย 2. ถ้าไม่เผาตรง พนักงานเก็บขยะก็ต้องเปิดขวดออก แล้วดึงหน้ากากออกมาอยู่ดี โอกาสติดเชื้อก็เพิ่มมากขึ้น เป็นภาระกับพนักงานเก็บและทำลายขยะเข้าไปอีก 3. ขวด PET ใช้แล้ว ยังมีมูลค่าในตัวเอง และราคาค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับขยะพลาสติกอื่น ๆ ถ้าคนเก็บของเก่ามาเจอก่อน มีความเป็นไปได้ว่า เขาจะเปิดขวด เอาหน้ากากออก แล้วเอาขวดไปขาย แบบนี้ยิ่งเสี่ยงมากกว่าเดิม เพราะเชื้อจะแพร่ไปในหลายที่ แบบไม่มีใครทันระวังตัว 4. ขวด PET แบบนี้สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นเม็ด rPET ได้ใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาผ่านกระบวนการตามมาตรฐาน แล้วนำกลับมาทำเป็นขวดใหม่ใส่เครื่องดื่มอีกรอบ คิดดูสิว่า จะมีความเสี่ยงต่ออันตรายแค่ไหน 5. โรงงาน recycle พลาสติกดังกล่าวตามข้อ 4 จะไม่ยอมรับขวดพลาสติกที่มีของแข็งหรือของเหลวใด ๆ เพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ขวดที่มีลักษณะแบบนี้จะถูกคัดทิ้ง กลับไปสู่จุดรวมขยะหรือกองขยะอีกที ในที่สุดก็จะวนกลับไปที่ข้อ 1 ใหม่ (กรุณาอ่านข้อ 1 - 2 อีกรอบ) วิธีการจัดการที่ถูกต้องคือ จัดการแบบขยะติดเชื้อ กล่าวคือ ให้คัดแยกจากขยะอื่น แล้วนำใส่ถุงแยก มัดปากถุง แล้วเขียนหน้าถุงว่า “ขยะติดเชื้อ” ซึ่งขยะประเภทนี้จะถูกนำไปกำจัดแบบประเภท “ขยะติดเชื้อ” ขอบคุณทุกท่านที่มีจิตสาธารณะ ช่วยกันคิดช่วยกันทำ เราจะต้องผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันอย่างมีสติ และด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ยั่งยืน” CR : “พลังงานจากขยะ (Energy from Wastes)” https://www.facebook.com/พลังงานจากขยะ-Energy-from-Wastes-265237194982/
    naydoitall
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เมื่อวาน นักข่าวของคลื่นวิทยุ FM101 ก็โทรมาสัมภาษณ์เรื่อง "การทำ ice bathing นอนแช่น้ำแข็ง" นี้เหมือนกันครับ ... ซึ่งผมก็เตือนไปว่า วิธีแช่น้ำแข็งนี้ มันเป็นวิธีการรักษาของนักกีฬาที่เกิดอาการปวดบวมอักเสบกล้ามเนื้อ แต่ไม่ได้จะไปฆ่าเชื้อโรคในร่างกายอย่างที่เชื่อกันตามแนวรักษาทางเลือกแบบนั้น แถมจะมีอันตรายเอาด้วย กับคนที่มีปัญหาทางโรคหัวใจ หรือเกิดภาวะ hypothermal ร่างกายผิดปรกติจากอุณหภูมิต่ำเกินไปด้วยครับ --------------- (รายงานข่าว) กรณี นักร้องชื่อดังอย่าง แพท วง KLEAR โพสต์คลิปตัวเองนอนแช่น้ำแข็งในถีง ลงในอินสตาแกรมส่วนตัว พร้อมระบุว่า เป็นการทำ Ice Bathing ตามข้อมูลมีการบรรยายสรรพคุณ ว่า เป็นการกระตุ้นเซลล์คนเป็นมะเร็ง และเป็นโควิด ทำแล้วอาการดีขึ้น ล่าสุด ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้ทางการแพทย์ไม่มีงานวิชาการรองรับว่าการทำ Ice Bathing จะช่วยรักษาหรือยับยั้งเซลล์โรคมะเร็งได้ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คลิปวิดีโอ ที่ น.ส.รัณนภันต์ ยั่งยืนพูนชัย หรือ แพท วง KLEAR โพสต์คลิปลงในอินสตาแกรมส่วนตัว เป็นคลิปที่เธอลงไปนอนแช่ในถังน้ำที่มีน้ำแข็งอยู่เต็มถัง พร้อมข้อความระบุว่า “มาแชร์ประสบการณ์ Ice Bathing ครั้งที่สองในชีวิต” เนื้อหาของโพสต์นี้ แพท บอกว่า Ice Bathing คือ การน็อคเชื้อโรคในตัว ฆ่าเซลล์ที่ไม่ค่อยดี เซลล์ที่มีสิทธิ์กลายพันธุ์ หรือ ส่วนอักเสบในร่างกาย แพท เชื่อว่า การทำแบบนี้เป็นการกระตุ้นให้เซลล์ที่แข็งแรงดีมากขึ้น แพทย์ ยัน Ice Bathing รักษาเซลล์มะเร็งไม่ได้ หลังนักร้องดังอ้างทำแล้วอาการดีขึ้น นอกจากนี้ ยังบอกด้วยว่า “คนที่ป่วยหนักมาก ๆ แม้แต่โควิดหรือเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ถ้าได้ลงน้ำแข็ง อาการก็จะดีขึ้นทุกคน” โดยภายหลังคลิปนี้ถูกโพสต์มีคนเข้าไปแสดงความสนใจ บางคนถามแพทว่าทำเองที่บ้านได้ไหม ซึ่งแพทบอกว่าทำได้ พร้อมแนะนำวิธีการ ทีมข่าว PPTV ตรวจสอบข้อมูลเรื่องนี้กับนายแพทย์สกานต์ บุญนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ถึงการทำ ice bathing แล้วจะช่วยรักษารักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่ แพทย์ ยัน Ice Bathing รักษาเซลล์มะเร็งไม่ได้ หลังนักร้องดังอ้างทำแล้วอาการดีขึ้น โดย คุณหมอสกานต์ กล่าวว่า ไม่เคยมีข้อมูลว่าวิธีการดังกล่าวรักษาหรือยับยั้งเซลล์โรคมะเร็งได้ แม้ว่าในทางการแพทย์ จะมีวิธีการใช้ความเย็นรักษาผู้ป่วยมะเร็งจริง แต่วิธีการที่ใช้จะต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือ มีอุณหภูมิเย็นติดลบหลายองศา และมีแพทย์เป็นผู้รักษาใกล้ชิด รวมถึง ไม่ใช่การลงไปแช่ทั้งตัวตามที่ปรากฎ เพราะการลงไปแช่น้ำแข็งทั้งตัว มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัวอื่น เช่น โรคหัวใจ เนื่องจากการทำ ice bathing จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อาจกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจได้ง่าย
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ปล้นครั้งประวัติศาสตร์! ทะลวงทุกระบบ “ขโมยเพชร” มหาศาล ตามของคืนไม่ได้จนวันนี้
    ผู้เขียน กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2003 มีข่าวครึกโครมดังไปทั่วโลกกับเหตุการณ์ “ขโมยเพชร” ที่นับได้ว่าเป็นการโจรกรรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และน่าจะบอกได้ว่าเป็นการโจรกรรมที่เกิดในพื้นที่ซึ่งมีระบบป้องกันดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก จนเคยเชื่อกันว่า “ไม่สามารถถูกเจาะได้” แอนต์เวิร์ป ไดมอนด์ เซ็นเตอร์ (Antwerp Diamond Center) เป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์รวมเพชรของโลก ตั้งอยู่ในประเทศเบลเยียม ภายในมีตู้เซฟจำนวนเกือบ 200 ตู้ในห้องนิรภัย ซึ่งอยู่ลึกลงไปในใต้ดิน 2 ชั้น เก็บเพชรและเครื่องประดับอัญมณีของผู้เช่าตู้เซฟ มูลค่ารวมแล้วหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ มีระบบรักษาความปลอดภัยหลายชั้น รายงานข่าวบางแห่งบ่งชี้ตัวเลขระดับชั้นของการรักษาความปลอดภัยว่ามีมากถึง 10 ชั้น และต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนกว่าจะไปถึงขั้นเปิดตู้เซฟได้ ทุกตู้ยังต้องเปิดด้วยรหัสและกุญแจเช่นเดียวกับประตูห้องนิรภัย ซึ่งทำให้เป็นที่มั่นใจในความปลอดภัยสำหรับผู้มาเช่าตู้เซฟ สถานที่แห่งนี้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยแน่นหนาและทันสมัย แถมเพียบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีกล้องวงจรปิดทุกซอกทุกมุม มีสัญญาณเตือนภัยแทบทุกระบบที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาติดตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์จับความเคลื่อนไหวและการสั่นสะเทือน เซนเซอร์จับความร้อนจากร่างกายมนุษย์ เซนเซอร์จับแสง มีแม้กระทั่งอุปกรณ์ตรวจจับแบบแม่เหล็ก ซึ่งทันทีที่ประตูนิรภัยหนา 1 ฟุตเปิดในเวลาที่ไม่ควรเปิด สัญญาณเตือนภัยจะแจ้งเหตุทันที รวมทั้งมีเครื่องกีดขวางยานพาหนะยุคไฮเทค มีกลไกบังคับให้หุบหายลงใต้ดิน และโผล่กลับขึ้นมาทำหน้าที่ของมันได้ทุกเวลา ที่สำคัญยังตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานีตำรวจนัก และเจ้าหน้าที่ก็พร้อมปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อได้รับแจ้งการก่อเหตุ ผู้ก่อการ “ขโมยเพชร” ก่อนหน้าเกิดคดีโจรกรรมเพชร 2 ปี คือในปี 2001 เชื่อว่าแผนปฏิบัติการการโจรกรรมได้เริ่มขึ้นอย่างแนบเนียนโดยชายวัยกลางคนชาวตูริน ประเทศอิตาลี ชื่อ ลีโอนาร์โด โนทาร์บาร์โทโล ซึ่งเดินทางเข้ามาในเมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม ที่ตั้งของไดมอนด์ เซ็นเตอร์ ฉากหน้าเขาคือนักออกแบบเครื่องประดับ นักธุรกิจค้าเพชร เข้ามาเช่าออฟฟิศและตู้เซฟที่ไดมอนด์ เซ็นเตอร์ เพื่อเปิดเป็นสำนักงานประกอบธุรกิจค้าเพชร ที่นี่นอกจากจะมีตู้เซฟให้เช่าแล้ว ยังมีห้องเพื่อใช้เป็นสำนักงานธุรกิจค้าอัญมณีของเหล่านักธุรกิจใช้เช่าอีกด้วย โนทาร์บาร์โทโลแฝงตัวเข้ามาเพื่อสำรวจเก็บรายละเอียดของสำนักงานนี้ เขาใช้เวลาเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งระบบความปลอดภัย กิจวัตรในแต่ละวันของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ส่วนต่างๆ ของอาคาร และเส้นทาง โดยรายละเอียดทั้งหมดที่ได้มา เขาใช้การจดจำ จากนั้นจะนำมาเขียนบันทึกในห้องทำงาน โนทาร์บาร์โทโลใช้เวลาร่วม 2 ปีแฝงตัวและเก็บข้อมูลในสถานที่แห่งนี้ แน่นอนว่าโนทาร์บาร์โทโลคงไม่ปฏิบัติการเพียงลำพัง เขามีผู้ร่วมขบวนการอีกคือ เอลิโอ ดอโนริโอ ผู้เชี่ยวชาญสัญญาณเตือนภัย คนช่างคิดที่สามารถเอาชนะมาตรการรักษาความปลอดภัยหลายระบบ เฟอร์ดนานโด ฟิน็อตโต อาชญากรมืออาชีพมากประสบการณ์ และ ปิเอโตร ทาวาโน เพื่อนเก่าแก่ที่โนทาร์บาร์โทโลไว้ใจ โนทาร์บาร์โทโลเล่ารายละเอียดทุกอย่างที่เขาเก็บข้อมูลมาให้ผู้ร่วมก่อการฟังอย่างละเอียด รวมทั้งร่วมวางแผนกันภายในร้านกาแฟนในตูรินเพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต พวกเขาใช้เวลาเตรียมการรวม 27 เดือน นานกว่าระยะเวลาในหนังโจรกรรมแบบฮอลลีวูด ที่มักเล่าว่าสมาชิกแก๊งใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ ปฏิบัติการ “ขโมยเพชร” ครั้งประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นในวันหยุดสุดสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ ปี 2003 ไล่เลี่ยกับช่วงวันวาเลนไทน์ ช่วงวันหยุด ไดมอนด์ เซนเตอร์ แห่งนี้หยุดทำการ ไม่มีการเปิดห้องนิรภัยและตู้เซฟทุกกรณี หากเปิดนอกเวลาทำการเช่นนี้สัญญาณเตือนภัยจะทำงานทันที แต่โนทาร์บาร์โทโลกลับเลือกใช้เวลานี้ปฏิบัติการ เนื่องจากปลอดคนและมีเวลาให้ปฏิบัติการได้มาก การเจาะระบบป้องกัน (โดยคร่าว) ด้วยระบบป้องกันภัยที่ทันสมัยและแน่นหนามาก การเจาะเข้าไปในตู้เซฟจึงต้องผ่านระบบป้องกันหลายด่าน ทั้งการใส่รหัสผ่าน ล็อกกุญแจ เซนเซอร์สนามแม่เหล็ก เซนเซอร์ตรวจจับความร้อน เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และเซนเซอร์แสง รายละเอียดมีข้อปลีกย่อยมากมาย ข้อมูลในที่นี้บอกเล่าอย่างคร่าวๆ โดยส่วนหนึ่งมาจากหลักฐานและการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมผู้เชี่ยวชาญ โนทาร์บาร์โทโลและพวกจำเป็นต้องกำจัดอุปสรรคทีละด่าน ซึ่งผ่านการจำลองสถานการณ์ซักซ้อมมาอย่างดี พวกเขาเริ่มแผนการในช่วงค่ำวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ ทาวาโนทำหน้าที่เฝ้าติดตามฟังวิทยุสื่อสารของตำรวจ ทราบความเคลื่อนไหวของตำรวจจากวิทยุสื่อสาร เขาทำหน้าที่อยู่ที่ห้องพักของโนทาร์บาร์โทโล ส่วนโนทาร์บาร์โทโลกับพวกอีก 2 คน สวมถุงมือยาง ขับรถผ่านป้อมตำรวจ ประตูชั้นจอดรถเปิดขึ้น เขาหยุดรถชิดขอบทาง แต่ละคนพาดถุงบนไหล่ มุดผ่านใต้ขอบประตูม้วน พวกเขาใช้กุญแจดอกพิเศษที่ทำขึ้นเพื่อไขกุญแจประตูทางเข้า เดินลงบันไดถึงหน้าห้องนิรภัย ดอโนริโอใช้แผ่นเหล็กรูปตัวทีประกบแท่งแม่เหล็กทั้งสองที่ติดอยู่บานประตูและขอบประตูด้วยเทปกาวสองหน้า แล้วดึงมันหลุดออกมาโดยแท่งแม่เหล็กไม่แยกจากกัน สัญญาณแจ้งเตือนจึงไม่ดังขึ้น ช่วยให้เปิดห้องนิรภัยกว้างระดับหนึ่ง และสามารถแทรกตัวเข้าไปได้โดยปลอดสัญญาณแจ้งเตือน ตำรวจเชื่อว่าดอโนริโอติดตั้งกล้องวิดีโอเพื่อใช้บันทึกการหมุนรหัสประตูห้องนิรภัย แต่ทฤษฎีของตำรวจมีผู้แย้งว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะมีอุปกรณ์บังรอบตัวหมุนรหัส ป้องกันไม่ให้คนอื่นเห็นเลข ข้อสันนิษฐานอื่นก็คือ โนทาร์บาร์โทโลอาจได้รหัสมาโดยวิธีอื่น หรืออีกทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจคือ ประตูห้องนิรภัยนี้ไม่เคลียร์รหัสให้เอง หากเปิดแล้วต้องหมุนเคลียร์รหัสเอง ทั้งนี้ผู้ดูแลอาจลืมหรือขี้เกียจเคลียร์รหัส (เก่า) ทำให้รหัสคาอยู่ที่เดิม เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้กุญแจเพียงดอกเดียวเปิดประตูนิรภัยได้ ภายหลังตำรวจสรุปว่าคนร้ายใช้ชะแลงยาว 2 ฟุต งัดประตูห้องเก็บของ เพราะกุญแจที่ทำมาใช้การไม่ได้ (เสียงน่าจะดังมาก แต่ไม่มีสัญญาณเตือนภัย เนื่องจากในพื้นที่ไม่ได้ใช้การตรวจจับเสียง เพราะมองว่า หากมีคนทำของตก สัญญาณย่อมดังขึ้นทุกครั้ง) แต่ในห้องเก็บของมีกุญแจประตูนิรภัย จึงสามารถเปิดห้องนิรภัยได้ ข้างในห้องมืดสนิท และมีเครื่องตรวจจับแสงทำงานอยู่ พวกเขาใช้เทปกาว 2-3 ชิ้นปิดเซนเซอร์แสง แล้วทำการเปิดไฟ ด่านต่อมาคือเซนเซอร์ตรวจจับความร้อน พวกเขาเอาชนะมันด้วยการใช้สเปรย์ตกแต่งทรงผมฉีดใส่เครื่องจนทำให้เครื่องรวนไม่สามารถใช้งานได้ ส่วนเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวพวกเขาใช้แผ่นโฟมวางทับตัวเซ็นเซอร์ไม่ให้มันทำงาน ด่านสุดท้ายคือเปิดประตูตู้เซฟ พวกเขาประกอบอุปกรณ์ดึงฝาตู้เซฟที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ซึ่งแยกชิ้นส่วนใส่กระเป๋ามา และนำมาประกอบกันตรงกลางห้องนิรภัย เมื่อประกอบเสร็จพวกเขาก็ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเปิดตู้เซฟได้ หลังจากจัดการกับอุปสรรคแต่ละด่านเรียบร้อยแล้ว โนทาร์บาร์โทโลและพวกได้แบ่งหน้าที่กัน คนหนึ่งเปิดตู้เซฟให้เร็วที่สุด อีกสองคนทำหน้าที่แยกของมีค่า ทั้งเพชร นาฬิกา เครื่องประดับ และเงินสด แยกใส่ถุงอย่างละถุง โนทาร์บาร์โทโลเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเอาอะไรกลับไป และจะปล่อยสิ่งของอะไรไว้บ้างโดยประเมินจากมูลค่าของแต่ละชิ้น โดยรวมแล้วพวกเขาเปิดตู้เซฟได้ 109 ตู้ จาก 189 ตู้ เชื่อกันว่าทรัพย์สินที่กลุ่มนักโจรกรรมกวาดไปได้มีมูลค่ารวมกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเลขมูลค่าของทรัพย์สินที่หายไปยังเป็นที่ถกเถียง จากปากของกลุ่มผู้ก่อการอ้างว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่พวกเขาฉกไปอยู่แค่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอ้างว่าการโจรกรรมเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ใหญ่กว่าเพื่อเคลมเงินประกัน) ขณะที่การออกจากสถานที่เกิดเหตุก็ไม่ใช่เรื่องง่าย พวกเขาต้องขนสมบัติที่หนักกลับไปพร้อมกับเครื่องมืออุปกรณ์ เดิมทีแล้ว “แก๊งตูริน” นี้จะเก็บทุกอย่างกลับไปเพื่อไม่ให้ตำรวจเก็บหลักฐาน แต่ครั้งนี้พวกเขาจำเป็นต้องทิ้งอุปกรณ์ โดยเช็ดถูให้สะอาดลบร่องรอยอื่นก่อน การหิ้วถุงเพชรขึ้นบันไดขณะออกจากสถานที่เกิดเหตุหลังจากคนดูต้นทางรายงานว่าปลอดโปร่งแล้วก็ต้องหิ้วถุงโดยก้าวอย่างระมัดระวังมากที่สุด ถุงเพชรอย่างเดียวก็หนักเข้าไปถึง 44 ปอนด์ (ราว 20 กิโลกรัม) ขณะที่แบกขึ้นไป คนร้ายอีกรายใช้กุญแจปลอมเข้าไปเปิดประตูห้องควบคุมระบบรักษาความปลอดภัย เอาเทปบันทึกภาพการก่อเหตุออกจากเครื่อง และใส่เทปเปล่าไปแทน เขายังมองหาเทปเก่าโดยเลือกช่วงเดือนที่ผ่านมาอีก 4 ม้วน เป็นเทปบันทึกภาพช่วงที่สมาชิกเข้ามาทำลายระบบเตือนภัยแม่เหล็กไปด้วย เมื่อคนดูต้นทางแจ้งว่าปลอดภัย พวกเขาก็ออกมาใส่ของที่ท้ายรถที่มาจอดเทียบชิดขอบทาง พวกเขานั่งเบียดกันในรถและขับหายไปตามถนน โฉมหน้าลีโอนาร์โด โนทาร์บาร์โทโล วัย 51 ปีหลังถูกจับกุมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ฉากหลังเป็น Diamond Center ใน Antwerp ประเทศเบลเยียม เมื่อ 18 ก.พ. 2013 หลังเกิดเหตุโจรกรรมเพชร (ภาพจาก STRINGER / BELGA / WIM HENDRIX /AFP) เรื่องเล็กในการ “ขโมยเพชร” ที่พลาดมหันต์ แม้พวกเขาจะทำการสำเร็จ แต่ปัญหาของพวกเขาคือการกำจัดขยะที่เป็นร่องรอยจากปฏิบัติการทั้งหมด ท้ายที่สุดแล้วนักโจรกรรมอัจฉริยะระดับโลกต้องถึงจุดจบ โดยมีหลักฐานคือ “ถุงขยะ” หลังจาก “ขโมยเพชร” แล้ว พวกคนร้ายขับรถซึ่งมีถุงขยะอันบรรจุอุปกรณ์และสิ่งของที่เหลือใช้จากปฏิบัติการเต็มรถไปตามไฮเวย์ด้วยความกระวนกระวาย จนเลือกทิ้งถุงขยะโดยเร็วที่สุดเมื่อออกจากเมือง เลี่ยงความเสี่ยงโดนตำรวจเรียกจอดหากละเมิดกฎจราจร การทิ้งขยะตามสถานที่ส่วนบุคคลหรือเอกชนก็เป็นเรื่องเสี่ยง เพราะเจ้าของกิจการในเบลเยียมจริงจังกับการใช้ถังขยะโดยไม่ได้รับอนุญาต หลายแห่งล็อกฝาถัง หรือติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณถังขยะ ปั๊มน้ำมันบนไฮเวย์แทบทุกแห่งมีป้ายห้ามทิ้งสิ่งของส่วนตัว ขณะที่การเผาถุงก็ย่อมมีควันไฟที่เรียกความสนใจจากเจ้าหน้าที่ไฮเวย์ ในถุงพวกนี้มีถุงขยะที่ยัดถุงจากร้านค้าซึ่งดันมีใบเสร็จ ซองเอกสาร และเอกสารอื่นจากไดมอนด์ เซ็นเตอร์ และเลือกทิ้งข้างทางหลวงตรงถนนทางเข้าป่าฟลอร์ดัมบอส แต่แล้วดันมีผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินละแวกนั้นที่รักษ์สิ่งแวดล้อมมาพบถุงขยะ และคู่สามีภรรยาคือกลุ่มที่โทรศัพท์แจ้งตำรวจ (แม้แต่คำถามว่า ใครกันแน่ที่รู้ว่าถุงขยะเกี่ยวกับการโจรกรรมที่เป็นข่าวดังเวลานั้น และออกไอเดียให้โทรศัพท์หาตำรวจ ก็ยังเป็นที่ถกเถียงว่า สรุปแล้วเป็นสามีคือออกุสต์ ฟาน ดัมป์ หรือภรรยาของเขากันแน่) ถุงที่ฟาน ดัมป์ พบคือหลักฐานสำคัญที่ทางการแกะรอยได้อย่างรวดเร็วกว่าที่คิด ทำให้ผู้ก่อการทั้ง 4 คนถูกจับในที่สุด โดยเฉพาะใบเสร็จที่เมื่อตำรวจนำไปสอบถามกับแคชเชียร์ พนักงานจำได้ทันที และให้รูปพรรณกับตำรวจซึ่งเชื่อว่าเป็นดอโนริโอ และฟิน็อตโต ขณะที่ตำรวจเบลเยียมส่งข้อมูลผู้ต้องสงสัยให้ตำรวจสากล โนทาร์บาร์โทโลและพวกยังฉลองความสำเร็จ และกำลังเดินทางหลบหนี แต่เหลือสิ่งที่เขาต้องทำคือทำลายร่องรอยที่เหลือในแอนต์เวิร์ป อีกทั้งคืนรถเช่า และทำความสะอาดห้องพักซึ่งจากมาอย่างรีบร้อน และยังต้องรูดบัตรผ่านเข้า-ออกไดมอนด์ เซ็นเตอร์ เป็นครั้งสุดท้ายเพื่อเป็นหลักฐาน เพราะตำรวจจะต้องตรวจสอบว่าผู้เช่ารายใดที่หายไปเลยหลังเกิดเหตุ เมื่อตำรวจตรวจสอบหลักฐานการเข้า-ออกของโนทาร์บาร์โทโล ก็พบว่าเขาอยู่ในกลุ่มสุดท้ายที่ออกจากอาคารก่อนวันเกิดเหตุ จึงนำภาพวิดีโอหลายชั่วโมงมาดู แล้วพบว่า หนุ่มใหญ่ชาวอิตาเลียนเข้า-ออกห้องนิรภัยทุกวันตลอดสัปดาห์ก่อนหน้าเกิดเหตุ ตำรวจเชื่อว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจรกรรม โนทาร์บาร์โทโลมั่นใจว่าไม่มีอะไรที่พาดพิงมาถึงเขา แม้ว่าในข่าวจะมีเรื่องพบถุงขยะแล้ว แต่เขาไม่รู้ว่า เพื่อนร่วมงานฉีกใบจ้างงานติดตั้งกล้องที่ออฟฟิศของเขาแล้วโยนลงถังขยะในครัว ไม่รู้ว่าตำรวจค้นออฟฟิศและตู้เซฟของเขา การกลับที่เกิดเหตุย่อมเหมือนกับการฆ่าตัวตาย แต่โนทาร์บาร์โทโลมั่นใจ และความมั่นใจนั่นเองทำให้เขาโดนรวบตัว ทันทีที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในบูธด้านหน้าเห็นเขาก็คว้าโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่โดยพลัน ช่วงแรกเขายังคิดว่าตำรวจไม่มีหลักฐานพอ และยังเป็นเพียงพยาน แถมยังตีบทงง ไม่เข้าใจว่าควบคุมตัวผู้บริสุทธิ์อย่างเขาทำไม โนทาร์บาร์โทโลมีคำตอบให้ทุกคำถาม แต่ท้ายที่สุดก็จนกับหลักฐานหลายอย่าง ทั้งดีเอ็นเอบนแซนด์วิชไส้กรอกที่โนทาร์บาร์โทโลทำกินเอง แต่กินครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งโยนทิ้งถังขยะในครัวขณะเตรียมขนของหนีไปอิตาลี และมันไปโผล่ในถังขยะใกล้ป่าฟลอร์ดัมบอส และยังพบดีเอ็นเอของผู้ร่วมก่อการอีกหลายจุดที่เชื่อมเข้ากับหลักฐานการโจรกรรม แม้ว่าคนร้ายจะถูกจับกุมได้ แต่เพชรที่ถูกปล้นก็ไม่ได้กลับคืนสู่เจ้าของ เพราะไม่มีคนร้ายคนไหนบอกถึงที่อยู่ของเพชรที่ปล้นมา ช่วงที่โนทาร์บาร์โทโลอยู่ในคุกยังให้สัมภาษณ์แก่นิตยสารไวร์ด (Wired) ว่า การปล้นทั้งหมดเกิดจากแผนที่ผู้เช่าตู้เซฟซึ่งเป็นพ่อค้าเพชรชาวยิวหวังใช้เรียกค่าประกันจากไดมอนด์ เซ็นเตอร์ โดยที่พวกเขาซึ่งมีผู้เช่าตู้เซฟร่วมแผนการด้วยประมาณ 50-60 ราย จะไม่เอาเพชรหรือของมีค่าใส่ไว้ในตู้เซฟ และวางแผนการปล้นโดยจำลองห้องนิรภัยขึ้นมา แล้วเข้าปล้น เขายังกล่าวต่ออีกว่าแผนการครั้งนี้โดนพ่อค้าเพชรชาวยิวหักหลัง แต่มีหลายคนวิเคราะห์ว่าข้อมูลนี้เป็นเรื่องโกหกของโนทาร์บาร์โทโล เพราะสิ่งที่เขาเล่าย้อนแย้งอย่างมาก อีกทั้งเรื่องที่มีผู้เช่าตู้เซฟวางแผนร่วมกันนั้น ผู้เช่าตู้เซฟเห็นว่าเป็นเรื่องตลกที่ไม่มีทางเกิดขึ้น การที่โนทาร์บาร์โทโลให้สัมภาษณ์เช่นนี้ก็เพื่อโยนความผิดให้กับผู้อื่นหรือปกปิดข้อมูลและร่องรอย โนทาร์บาร์โทโลยังต้องการให้นำเรื่องราวของเขาไปทำภาพยนตร์ เพราะเขาหวังส่วนแบ่งรายได้จากสิทธิ์ของข้อมูลเพื่อนำไปใช้อย่างสบายหลังออกจากคุก อีกทั้งเป็นเงินที่ได้มาโดยถูกกฎหมาย และใช้ชีวิตอย่างหรูหราได้โดยอ้างแหล่งที่มาของเงินจากส่วนแบ่งการนำเรื่องราวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ (ทั้งที่เจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์ว่าไม่มีวันเผยเรื่องจริง) ท้ายที่สุดแม้ว่าเขาจะถูกศาลตัดสินจำคุก 10 ปี และรับโทษติดคุก เขาก็ยังไม่ได้บอกที่ซ่อนอัญมณีและแผนการปล้น เขากับพวกอีก 3 คน ถูกปล่อยตัวก่อนกำหนด และหลังจากนั้นก็ใช้ชีวิตแบบเงียบๆ ทั้งนี้ศาลได้ตัดสินคดีจนถึงที่สุดแล้ว คดีนี้จึงจบลง เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับคดีให้ความเห็นเมื่อปี 2009 ว่า แม้แต่โนทาร์บาร์โทโลนำเพชรหรือทรัพย์สินที่ปล้นมาขายก็อาจไม่สามารถแจ้งจับได้อีก เพราะไม่สามารถฟ้องซ้ำคดีที่ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาด นอกเหนือจากมีหลักฐานใหม่ แต่สิ่งที่ทำได้เบื้องต้นคือแค่ยึดเป็นของกลางไว้ และอาจดำเนินคดีในอิตาลีเกี่ยวกับการฟอกเงิน ในขณะที่กลุ่มเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกปล้นไปก็ไม่หวังกันแล้วว่าจะได้ของกลับคืน คนในแวดวงเพชรยังรู้สึกโกรธกับบทสรุป เมื่อพวกคนร้ายติดคุกไม่นาน ทรัพย์สินก็ไม่สามารถติดตามกลับมาได้ ที่สำคัญบทสรุปของเรื่องนี้ยังออกมาว่าการทำงานหนักของเจ้าหน้าที่เพื่อติดตามคนร้ายและดำเนินคดี แลกมากับการจองจำผู้ก่อเหตุเพียงไม่กี่ปี และยังพิสูจน์อีกว่า ความเสี่ยง ความยากลำบาก การถูกจับและจองจำ อาจคุ้มค่ากับชีวิตหลังผ่านคดี เมื่อพวกที่ก่อการอาจใช้ชีวิตที่เหลือได้อย่างราบรื่นและสุขสบายจากสิ่งที่ได้จากการโจรกรรม
    putilp148
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false