เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” โดยมีนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คณะผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาธารณสุข อสม. และ ประชาชน เข้าร่วมงาน
นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้นหลายประการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจอุจจาระ หากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจคัดกรองต่อด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจหายีนผิดปกติ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม และ การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ยังสนับสนุนสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากวิธี PAP smear เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการตรวจ HPV test ทำให้ความไวและความแม่นยำในการคัดกรองโรคสูงขึ้น และเมื่อคัดกรองพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลัดขั้นตอนการส่งต่อในระบบปกติโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ตามนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่” (Cancer Anywhere) ซึ่งการวินิจฉัยเร็วและรักษาเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยใช้สิทธิ์มะเร็งรักษาได้ทุกที่แล้วกว่า 325,000 คน หรือ กว่า 2,900,000 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วย PET scan ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ สารสกัดกัญชาเพื่อลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา และการสนับสนุนอุปกรณ์ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอคอยการรักษาจำนวนมาก ทั่วประเทศ ทั้งนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uniting our voices and taking action ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้นหลายประการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจอุจจาระ หากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจคัดกรองต่อด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจหายีนผิดปกติ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม และ การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ยังสนับสนุนสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากวิธี PAP smear เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการตรวจ HPV test ทำให้ความไวและความแม่นยำในการคัดกรองโรคสูงขึ้น และเมื่อคัดกรองพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลัดขั้นตอนการส่งต่อในระบบปกติโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ตามนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่” (Cancer Anywhere) ซึ่งการวินิจฉัยเร็วและรักษาเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยใช้สิทธิ์มะเร็งรักษาได้ทุกที่แล้วกว่า 325,000 คน หรือ กว่า 2,900,000 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วย PET scan ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ สารสกัดกัญชาเพื่อลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา และการสนับสนุนอุปกรณ์ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอคอยการรักษาจำนวนมาก ทั่วประเทศ ทั้งนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uniting our voices and taking action ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
สธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์ | Hfocus.org
https://www.hfocus.org/content/2023/02/26968สธ.ร่วมกับภาคีเครือข่าย 20 หน่วยงาน เดินหน้ารณรงค์ “วันมะเร็งโลก” ภายใต้แนวคิด ปี 2566 “Uniting our voices and taking action ชวนให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเ