โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ แพทย์เน้นย้ำประชาชนยึดหลักกินร้อนช้อนกลางล้างมือ และกินสุกร้อนสะอาด
นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึงสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 3 สิงหาคม 2565 ว่า สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ จำนวนทั้งสิ้น 1,049 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ลักษณะการกระจายของโรคพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี โดยมีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในเดือน มิถุนายน จำนวน 223 ราย (ร้อยละ 21.26) กลุ่มอายุที่พบการป่วยสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 25-34 ปี จำนวน 166 ราย (ร้อยละ 15.83) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 35-44 ปี จำนวน 154 ราย (ร้อยละ 14.68) และกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี จำนวน 103 ราย (ร้อยละ 9.82) ตามลำดับ
อาชีพที่พบการป่วยสูงสุด คือ นักเรียน จำนวน 334 ราย (ร้อยละ 31.84) รองลงมาคือ รับจ้าง จำนวน 244 ราย (ร้อยละ 23.26) และไม่ทราบอาชีพ จำนวน 237 ราย (ร้อยละ 22.59) ตามลำดับ จังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ สงขลา จำนวน 616 ราย รองลงมา คือ ตรัง จำนวน 121 ราย, พัทลุง จำนวน 77 ราย, สตูล จำนวน 69 ราย, นราธิวาส จำนวน 65 ราย, ปัตตานี จำนวน 59 ราย และยะลา จำนวน 42 ราย ตามลำดับ (ข้อมูล: ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506)
โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ ลำไส้อักเสบ และอาจมีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย การดูแลเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการดื่มผงละลายเกลือแร่ (ORS) บ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
นายแพทย์เฉลิมพล แนะนำว่า ประชาชนควรยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ “กินสุก ร้อน สะอาด” ปรุงอาหารต้องปรุงให้สุกทั่วถึง หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ใช้การลวก ได้แก่ ปลาหมึกลวก กุ้งลวก ฯลฯ กินอาหารขณะที่อาหารยังร้อน ปรุงสุกใหม่ อาหารที่เก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ต้องนำมาอุ่นก่อนรับประทานทุกครั้ง เลือกบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และน้ำแข็งที่สะอาด เลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาดและมีคุณภาพ ควรใช้ช้อนกลางส่วนตัวเมื่อรับประทานร่วมกัน และก่อนหยิบจับอาหารควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
สำหรับผู้ประกอบอาหารต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและปรุงอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ใช้หน้ากากอนามัยปิดจมูกและปาก สวมหมวกคลุมผม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่อาหาร หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคอาหารเป็นพิษสามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึงสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 3 สิงหาคม 2565 ว่า สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ จำนวนทั้งสิ้น 1,049 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ลักษณะการกระจายของโรคพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี โดยมีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในเดือน มิถุนายน จำนวน 223 ราย (ร้อยละ 21.26) กลุ่มอายุที่พบการป่วยสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 25-34 ปี จำนวน 166 ราย (ร้อยละ 15.83) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 35-44 ปี จำนวน 154 ราย (ร้อยละ 14.68) และกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี จำนวน 103 ราย (ร้อยละ 9.82) ตามลำดับ
อาชีพที่พบการป่วยสูงสุด คือ นักเรียน จำนวน 334 ราย (ร้อยละ 31.84) รองลงมาคือ รับจ้าง จำนวน 244 ราย (ร้อยละ 23.26) และไม่ทราบอาชีพ จำนวน 237 ราย (ร้อยละ 22.59) ตามลำดับ จังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ สงขลา จำนวน 616 ราย รองลงมา คือ ตรัง จำนวน 121 ราย, พัทลุง จำนวน 77 ราย, สตูล จำนวน 69 ราย, นราธิวาส จำนวน 65 ราย, ปัตตานี จำนวน 59 ราย และยะลา จำนวน 42 ราย ตามลำดับ (ข้อมูล: ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506)
โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ ลำไส้อักเสบ และอาจมีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย การดูแลเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการดื่มผงละลายเกลือแร่ (ORS) บ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
นายแพทย์เฉลิมพล แนะนำว่า ประชาชนควรยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ “กินสุก ร้อน สะอาด” ปรุงอาหารต้องปรุงให้สุกทั่วถึง หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ใช้การลวก ได้แก่ ปลาหมึกลวก กุ้งลวก ฯลฯ กินอาหารขณะที่อาหารยังร้อน ปรุงสุกใหม่ อาหารที่เก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ต้องนำมาอุ่นก่อนรับประทานทุกครั้ง เลือกบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และน้ำแข็งที่สะอาด เลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาดและมีคุณภาพ ควรใช้ช้อนกลางส่วนตัวเมื่อรับประทานร่วมกัน และก่อนหยิบจับอาหารควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
สำหรับผู้ประกอบอาหารต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและปรุงอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ใช้หน้ากากอนามัยปิดจมูกและปาก สวมหมวกคลุมผม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่อาหาร หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคอาหารเป็นพิษสามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
Attention Required! | Cloudflare
https://www.thaihealth.or.th/?p=305892Why have I been blocked? This website is using a security service to protect itself from online attacks. The action you just performed triggered the security solution. There are several a