13434 ข้อความ
- 1 คนสงสัยไปรษณีย์ไทยเตรียมใช้เลขรหัสแทนชื่อ ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยกัมพูชายึดปราสาทตาเมือนธม จ.สุรินทร์ไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยน้ำจาก จ.พะเยา จะไหลลงมาหนุนฝายแม่ยม จ.แพร่ ทำให้น้ำล้นฝายไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยอีกไม่เกิน 8 ปี กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโอกาสจมทะเลได้ น้ำทะเลหนุนสูงขึ้น พื้นดินทรุดตัวลงไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเสียดสีไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยฟ้าทะลายโจรรักษาไข้หัดแมวได้จริงไหมปัจจุบัน “แมว” เป็นที่นิยมในหมู่คนรักสัตว์ ทำให้จำนวนแมวที่เลี้ยงเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคไข้หัดแมวซึ่งเป็นสาเหตุการตายสูงในแมวทุกปี หลายคนจึงหันไปใช้ “ฟ้าทะลายโจร” เป็นสมุนไพรในการรักษาโรคนี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของมันในการรักษาโรคไข้หัดแมว (แหล่งข้อมูล https://www.vetdiags.com/post/vetdiags-feline-parvovirus) จากการสัมภาษณ์ อาจารย์นายสัตวแพทย์ วัชระ วิปัสสา อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ให้ข้อมูลว่า “ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่าการใช้ฟ้าทะลายโจร มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หัดแมวมากเพียงใด และยังไม่ทราบว่ามีพิษหรือข้อจำกัดอะไรบ้างที่จะไปใช้ในสัตว์ ด้วยข้อมูลที่เคยศึกษา การใช้ฟ้าทะลายโจรยังไม่เป็นที่ยอมรับและยังมีคำถามอยู่มากว่า ฟ้าทะลายโจรมีพิษอย่างไรต่อแมวที่เป็นไข้หัดมากเพียงใด จึงไม่แนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาหลักในการรักษาไข้หัด” ทั้งนี้ อาจารย์นายสัตวแพทย์ วัชระ วิปัสสา ได้ให้ข้อแนะนำเมื่อแมวติดไข้หัดแมวว่า “แผนการรักษาในปัจจุบันที่ดีที่สุดคือการรักษาแบบ supportive หรือการรักษาตามอาการ อาการของแมวจะดีขึ้นภายใน 2ถึง 3 วันและจากนั้นภูมิคุ้มกันในร่างกายแมวจะขจัดเชื้อออกไปเอง” (ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567) (แหล่งข้อมูล https://www.youtube.com/watch?v=c6qPM3n10do, https://www.thairath.co.th/news/society/1000267) ดังนั้น ฟ้าทะลายโจรจึงไม่สามารถรักษาโรคไข้หัดแมวได้ และการรักษาตามอาการเป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันสุขภาพยาสมุนไพรธิติวัฒน์ ทารมย์• 4 เดือนที่แล้วmeter: false3 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ กินหมูกระทะเสี่ยงเป็นมะเร็งเตือนประชาชนกินอาหารปิ้ง ย่าง หรืออาหารประเภท รมควันไหม้เกรียม รวมทั้ง “หมูกระทะ”เป็นประจำ หากสะสมนาน เสี่ยงได้รับสารอันตราย ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งตับ และท่อน้ำดี (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/181163/ ) โดยพบสารก่อมะเร็งในหมูกระทะ ที่ปนเปื้อนมากถึง 3 ชนิด ได้แก่ สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) และสารในกลุ่มของพีเอเอช (PAHs) โดยการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งจะพบได้ในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร พบในควันที่เกิดจากการปิ้งย่างของอาหารและควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของเตาถ่าน (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ ) จากการสัมภาษณ์ อ.ดร.นิจฉรา ทูลธรรม อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า “การกินหมูกระทะ” บ่อยครั้ง ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับสารอันตรายจากการรับประทานหมูกระทะมากถึง 3 ชนิด ได้แก่ สารไนโตรซามีน (nitrosamines) ที่พบใน ปลาทะเลย่าง ทำให้เสี่ยงสารก่อมะเร็ง ทั้งมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร สารพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) พบมากใน ส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้งย่าง สารกลุ่มนี้บางชนิดมีฤทธิ์ร้ายแรงทางพันธุกรรม สารพีเอเอช(PAHs) สารนี้จะพบในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารที่ปรุงด้วยการปิ้ง ย่าง หรือรมควันของเนื้อสัตว์ที่มีไขมัน หากกินเข้าไปเป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อ การเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับและท่อน้ำดี อ.ดร.นิจฉรา ทูลธรรม ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ข้อปฏิบัติในการเลือกกินหมูกระทะให้ปลอดภัย” หากกินหมูกระทะตามร้านอาหาร เช่น ร้านหมูกระทะบุฟเฟต์ ควรเลือกร้านที่ใช้ภาชนะการปิ้ง ย่าง เช่น เตาไฟฟ้า หรือเตาไร้ควัน ซึ่งสามารถควบคุมระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน หรือ เลือกร้านที่ได้รับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ดังนั้น การรับประทานหมูกระทะ ควรรับประทานไม่เกิน 1-2 ครั้งต่อเดือน และควรออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดี (ข้อมูลเมื่อ 16 กรกฎาคม 2567)สุขภาพมะเร็งญาณาธิป ชะศรี• 4 เดือนที่แล้วmeter: true2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยทานไข่ลวกดีต่อสุขภาพจริงหรือ“ไข่” ถือเป็นอาหารที่แสนพิเศษ มีสารอาหารหลายชนิด ส่วนของไข่ขาวมีโปรตีนสูง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ส่วนไข่แดงก็มีสารอาหารหลายชนิด ทั้งโปรตีน ไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว คนส่วนใหญ่จึงนำไข่มาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน ในปัจจุบันสายรักการดูแลสุขภาพ ก็เลือกการรับประทานไข่คู่กับผักผลไม้เป็นเมนูเพื่อสุขภาพ และอีกเมนูที่นิยมรับประทาน ก็คงไม่พ้นเมนู “ไข่ลวก” เมนูง่ายๆในมื้อเช้าและมักเป็นเมนูที่หลายคนชอบทานคู่กับเมนูโปรด แต่การรับประทานไข่ลวกนั้นดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่? (ข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://www.techace.co.th/blog-1/2023/1/4 : https://www.samrong-hosp.com88 จากการสัมภาษณ์ อ.ดร.นิจฉรา ทูลธรรม อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีทางสุขภาพและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า “ไข่ลวกหากซื้อมาแล้วพบว่ามีส่วนของไข่ที่ไม่สุกเลย มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อโรค โดยเฉพาะส่วนของไข่ดาวที่ไม่สุกจะเกิดการขัดขวางการดูดซึมวิตามินที่เรียกว่า ไบโอติน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และเสี่ยงได้รับเชื้อที่เรียกว่า ซัลโมเนลลา ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้ท้องเสีย หากได้รับเชื้อในปริมาณที่มากก็เสี่ยงทำให้ถึงแก่ชีวิตได้” ทั้งนี้ อ.ดร.นิจฉรา ทูลธรรม ได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานไข่เพิ่มเติมว่า “ในหนึ่งวันควรมีเมนูที่ประกอบไปด้วยไข่ แต่ไม่ควรรับประทานไข่เพียงอย่างเดียว ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีความหลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่าง โรคไขมัน คอเลสเตอรอลสูง ควรรับประทานไข่ในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักโภชนาการ” (ข้อมูลเมื่อ 16 ก.ค. 67) สรุปได้ว่า การรับประทานไข่ลวก เสี่ยงได้รับเชื้อ “ซัลโมเนลลา” ในไข่ดิบที่ทำให้ท้องเสีย อาเจียน และการรับประทานไข่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักโภชนาการ เครือข่าย : ชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หมวดหมู่ : ให้ความรู้สุขภาพPare Petchara• 4 เดือนที่แล้วmeter: mostly-false--middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยการสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิกบุหรี่มวลได้หรือไม่รู้หรือไม่ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวน หลายคนเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีในการเลิกบุหรี่มวน แต่จากงานวิจัยและข้อมูลทางการแพทย์ พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวนได้จริง และยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกมากมาย ข้อมูลจาก https://www.hfocus.org/content/2023/09/28520 จากการสัมภาษณ์ เภสัชกรหญิง อริสา คำรินทร์ เภสัชกรหญิง ร้านยาในจังหวัดมหาสารคาม ให้ข้อมูลว่า การสูบบุรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยให้เลิกเลิกบุหรี่มวล แต่เป็นการทำให้เสพติดสารนิโคตินที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งนำไปสู่ โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง และโรคในระบบทางเดินหายใจ พร้อมกับให้คำแนะนำว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกในการเลิกบุหรี่มวน 1.ไม่ช่วยเลิกบุหรี่: ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่มวนส่วนใหญ่จะติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน หรือสูบทั้งสองชนิดควบคู่กันไป 2.อันตรายต่อสุขภาพ: บุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปอด หัวใจ และระบบอื่นๆ ในร่างกาย ผลกระทบอื่นๆ: 1.ไม่ปลอดภัย: แม้จะไม่มีควันบุหรี่ แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมา 2.เสพติด: นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดการเสพติดได้เช่นเดียวกับบุหรี่มวน 3.ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องความปลอดภัย: งานวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะยืนยันความปลอดภัยได้ “เลิกบุหรี่มวนดีกว่า แต่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลิกบุหรี่ที่ปลอดภัยและได้ผล” เลิกบุหรี่ โทร 1600 หรือปรึกษาที่ร้านยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และร้านยาที่มีเภสัชกรใกล้บ้านสุขภาพWisit Kongkam• 4 เดือนที่แล้วmeter: middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยถ้าการไฟฟ้าโทรมา ให้เราเปลี่ยนมิเตอร์เราควรเปลี่ยนไหมคะ?พอดีว่าเมื่อ 2-3 วันก่อนหน้านี้ มีเบอร์โทรเข้ามาและบอกว่าเป็นการไฟฟ้า PEA E-Service บอกเราว่าหม้อเรามีปัญหาต้องเปลี่ยนเป็นหม้อดิจิทัลด่วน ๆ และต้อบเสียเงินประมาณ 3,500 บาท เราควรเชื่อและแจ้งเปลี่ยนเลยไหมคะ เพราะว่าเค้าให้แอดไลน์ด้วยการเงินแอคปลอมชนาภรณ์ ผมเงิน• 4 เดือนที่แล้ว2 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยไม่ระบุชื่อ• 4 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยภาคเหนือไม่ระบุชื่อ• 5 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ เทคฮอร์โมนในปริมาณที่มากทำให้ใบหน้าสวยขึ้นในปัจจุบันมีผู้คนหลากหลายที่มีความสนใจในการเปลี่ยนแปลงตนเองให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ การเทค ฮอร์โมนจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่นิยมมาก แต่มีผู้คนไม่น้อยที่ไม่ทราบการเทคฮอร์โมนอย่างถูกต้อง และอาจไปซื้อยา มาเทคฮอร์โมนเองจนเกิดอันตรายต่อร่างกาย ( ข้อมูลจากเว็บไซต์ : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ) จากการสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าการเทคฮอร์โมนสำหรับหญิง ข้ามเพศเป็นการเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงเข้าสู่ร่างกาย พร้อมกับให้ยากดฮอร์โมนเพศชายที่มีตามเพศสภาพให้ ลดลง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการเทคฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะทำให้สรีระร่างกายใกล้เคียงเพศหญิงมากขึ้น เช่น มี หน้าอก เสียงเล็กแหลมขึ้นหนวดเคราน้อยลง กล้ามเนื้อเล็กลง เป็นต้น (ข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ) ข้อแนะนำในการเทคฮอร์โมนสำหรับหญิงข้ามเพศ • ร่างกายของคนข้ามเพศแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนจึงต่างกัน ควรที่จะเข้ารับการปรึกษา จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนเริ่มให้ฮอร์โมน • หาความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาฮอร์โมนที่ถูกต้อง รวมทั้งอันตรายของการใช้ยาเกินขนาด • วัดระดับฮอร์โมน testosterone และ estradiol ทุก 3-6 เดือน เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่จะ ตามมา ( ข้อมูลจากเว็บไซต์ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ) ดังนั้นการเทคฮอร์โมนสำหรับหญิงข้ามเพศ เป็นการเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงเข้าสู่ร่างกาย และกดฮอร์โมนเพศชาย ให้ลดลง ซึ่งนั่นจะทำให้สรีระร่างกายใกล้เคียงเพศหญิงมากขึ้น แต่ไม่สามารถเปลี่นรูปลักษณ์ของใบหน้าได้ ปรับเปลี่ยนได้แค่สรีระร่างกายสุขภาพความสวยความงามChittakon Pawakho• 5 เดือนที่แล้วmeter: true2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยรับสมัครพนักงานธนาคารกรุงไทยธ.กรุงไทยเปิดรับสมัครงานผ่าน TikTok ตำแหน่งเจ้าหน้าที่แนะนำผลิตภัณฑ์ทางโทรศัพท์การเงินแอคปลอมpanwisa16• 5 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอมแอปทางรัฐแอปทางรัฐไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัว50ล้านคนการเงินออมสิน• 5 เดือนที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยชายหาดบางเสร่ พบคราบน้ำมันจำนวนมาก นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำไม่ได้ภาคตะวันออก ผู้บริโภคเฝ้าระวังKANTA• 5 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยปริมาณน้ำในปี 2567 มากกว่าปี 2565สภาพอากาศไม่ระบุชื่อ• 5 เดือนที่แล้วmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเปิดพัดลมจ่อเด็ก เสี่ยงเป็นปอดอักเสบไม่ระบุชื่อ• 5 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยสภาพอากาศไม่ระบุชื่อ• 5 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยไม่ระบุชื่อ• 5 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยผู้อาวุโสที่รักเคารพนับถือ . สิ่งที่ต้องทำตั้งแต่วันพรุ่งนี้ หมั่นตรวจวัด : 1. ค่าความดันโลหิต 2. ค่าน้ำตาล 3. ค่า 𝒕𝒓𝒊𝒈𝒍𝒚𝒄𝒆𝒓𝒊𝒅𝒆𝒔 4. ค่า 𝒄𝒉𝒐𝒍𝒆𝒔𝒕𝒆𝒓𝒐𝒍 . ทานให้น้อยที่สุด : 1. เกลือ 2. น้ำตาล 3. แป้งขัดขาว 4. ผลิตภัณฑ์จากนม 5. ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป . ควรทาน : *𝑭𝑶𝑶𝑫 𝑵𝑬𝑬𝑫𝑬𝑫:* 1. ผัก 2. ธัญญพืช 3. ถั่วทุกชนิด 4. ไข่ 5. น้ำมันสกัดเย็น (มะพร้าว, มะกอก) 6. ผลไม้ . และควรลืม 3 สิ่งนี้ : 1. อายุ 2. อดีต 3. คำตำหนิ-ติเตียน-นินทา . และสิ่งสำคัญที่ต้องรักษาเอาไว้ : 1. ครอบครัว 2. เพื่อนที่ดี 3. การคิดบวก 4. บ้านที่สะอาดและอบอุ่น . และ 3 สิ่งพื้นฐานที่ต้องยอมรับ : 1. ยิ้มและหัวเราะเสมอ 2. ออกกำลังเป็นประจำ 3. ควบคุมน้ำหนัก . และะ 6 สิ่งที่ต้องอยู่ในวิถีชีวิต : 1. อย่ารอจนกระหายน้ำแล้วจึงดื่มน้ำ 2. อย่ารอจนเหนื่อยแล้วจึงพัก 3. อย่ารอจนป่วยแล้วจึงหาหมอ 4. อย่ารอจนให้มีปาฏิหาริย์แล้วจึงเชื่อในศาสนา 5. อย่าได้เสียความมั่นใจในตนเอง 6. คิดบวกและเชื่อมั่นว่าพรุ่งนี้ต้องดีกว่าเสมอ . ช่วยกันส่งให้ผู้ที่เรารู้จักในวัย 50-90 ปีสุขภาพไม่ระบุชื่อ• 5 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยรับประทานยาชุด เสี่ยงอันตรายจริงหรือ ?รับประทานยาชุด เสี่ยงอันตรายจริงหรือ ? ” ยาชุด “ คือ ยาหลายชนิดที่ถูกจัดรวมกันเป็นชุด ภายใน 1 ชุดอาจมียา 3–5 ชนิด แต่ละชุดจะมีสรรพคุณต่างกัน ซึ่งอาจประกอบไปด้วยยาแผนปัจจุบัน สมุนไพร หรือแม้แต่ยาปลอม ยาชุดหาซื้อได้ง่าย ตามร้านของชำ รถหาบเร่หรือแม้แต่ร้านยาที่ไม่ได้มาตรฐานบางร้าน อีกทั้งการใช้ยาชุดยังส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ( ข้อมูลเว็บไซต์ : https://yaya.co.th ) • จากการสัมภาษณ์ เภสัชกรหญิงอริสา คำรินทร์ เภสัชกรปฏิบัติการประจำร้านยา จังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า “ ยาชุดอันตรายจริง เพราะไม่รู้ว่ายาที่อยู่ในนั้นมียาอะไรบ้าง อาจได้รับชนิดเดียวกันใน 3 - 5 เม็ด ทำให้ได้รับยาซ้ำซ้อนทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงของยา เช่น ยาแก้ปวดกินหลายตัวรวมกันจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือกินต่อเนื่องกันบ่อยๆก็ทำให้ไตวาย ตับวายได้เหมือนกัน “ • นอกจากนี้เภสัชกรหญิงอริสา คำรินทร์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ อีกหนึ่งอย่างคือเราไม่รู้เลยว่าในยาชุดนั้นเป็นยาจริง ยาปลอม ยาสมุนไพร ยาเสื่อมคุณภาพ ซึ่งเป็นอันตรายมากๆในการใช้ยาเพราะยาชุดไม่ได้ระบุไว้ว่ามียาอะไรบ้าง แต่ถ้าคนที่มีประวัติแพ้ยารับประทานเข้าไป การที่เรากินยาที่เราแพ้เข้าไป อาการของการแพ้ยาอาจทำให้เสียชีวิตได้เลย “ • ทั้งนี้ เภสัชกรหญิงอริสา คำรินทร์ ให้ข้อแนะนำว่า “ อย่างแรกหยุดกินยาชุด หรือไม่ซื้อยาชุดตามร้านทั่วไป ถ้าไม่แน่ใจควรไปปรึกษาซื้อยาที่ร้านขายยาที่มีความน่าเชื่อถือ โดยมีเภสัชกรประจำร้านขายยาประจำอยู่ ถ้าอาการหนักควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านที่มีหมอประจำอยู่ ” (ข้อมูลวันที่ 09 สิงหาคม 2567 ) • ดังนั้น ควรหยุดใช้ หยุดซื้อยาชุดเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียที่ร้ายแรงต่อร่างกาย • เครือข่าย : สื่อสร้างสรรค์ มมส. Official หมวดหมู่ : ให้ความรู้สุขภาพผู้บริโภคเฝ้าระวังpepsiteeraphat• 5 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น