1 คนสงสัย
รับประทานยาชุด เสี่ยงอันตรายจริงหรือ ?
รับประทานยาชุด เสี่ยงอันตรายจริงหรือ ?
” ยาชุด “ คือ ยาหลายชนิดที่ถูกจัดรวมกันเป็นชุด ภายใน 1 ชุดอาจมียา 3–5 ชนิด แต่ละชุดจะมีสรรพคุณต่างกัน ซึ่งอาจประกอบไปด้วยยาแผนปัจจุบัน สมุนไพร หรือแม้แต่ยาปลอม ยาชุดหาซื้อได้ง่าย ตามร้านของชำ รถหาบเร่หรือแม้แต่ร้านยาที่ไม่ได้มาตรฐานบางร้าน อีกทั้งการใช้ยาชุดยังส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
( ข้อมูลเว็บไซต์ : https://yaya.co.th )

จากการสัมภาษณ์ เภสัชกรหญิงอริสา คำรินทร์ เภสัชกรปฏิบัติการประจำร้านยา จังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า “ ยาชุดอันตรายจริง เพราะไม่รู้ว่ายาที่อยู่ในนั้นมียาอะไรบ้าง อาจได้รับชนิดเดียวกันใน 3 - 5 เม็ด ทำให้ได้รับยาซ้ำซ้อนทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงของยา เช่น ยาแก้ปวดกินหลายตัวรวมกันจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือกินต่อเนื่องกันบ่อยๆก็ทำให้ไตวาย ตับวายได้เหมือนกัน “

นอกจากนี้เภสัชกรหญิงอริสา คำรินทร์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ อีกหนึ่งอย่างคือเราไม่รู้เลยว่าในยาชุดนั้นเป็นยาจริง ยาปลอม ยาสมุนไพร ยาเสื่อมคุณภาพ ซึ่งเป็นอันตรายมากๆในการใช้ยาเพราะยาชุดไม่ได้ระบุไว้ว่ามียาอะไรบ้าง แต่ถ้าคนที่มีประวัติแพ้ยารับประทานเข้าไป การที่เรากินยาที่เราแพ้เข้าไป อาการของการแพ้ยาอาจทำให้เสียชีวิตได้เลย “

ทั้งนี้ เภสัชกรหญิงอริสา คำรินทร์ ให้ข้อแนะนำว่า “ อย่างแรกหยุดกินยาชุด หรือไม่ซื้อยาชุดตามร้านทั่วไป ถ้าไม่แน่ใจควรไปปรึกษาซื้อยาที่ร้านขายยาที่มีความน่าเชื่อถือ โดยมีเภสัชกรประจำร้านขายยาประจำอยู่ ถ้าอาการหนักควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านที่มีหมอประจำอยู่ ” (ข้อมูลวันที่ 09 สิงหาคม 2567 )

ดังนั้น ควรหยุดใช้ หยุดซื้อยาชุดเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียที่ร้ายแรงต่อร่างกาย

เครือข่าย : สื่อสร้างสรรค์ มมส. Official
หมวดหมู่ : ให้ความรู้
pepsiteeraphat
 •  4 เดือนที่แล้ว
meter: true
1 ความเห็น

สุขภาพผู้บริโภคเฝ้าระวัง

pepsiteeraphat เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

รับประทานยาชุด “ อันตรายจริง ” เนื่องจากในยาชุดมียาหลากหลายชนิดที่ถูกจัดรวมกันไว้ ซึ่งยาชุดส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น

ที่มา

https://yaya.co.th/อันตรายจากยาชุดและวิธี/

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ รับประทานยาปฏิชีวนะช่วยป้องกันการติดโรคโควิด-19
    รับประทานยาปฏิชีวนะช่วยป้องกันการติดโรคโควิด-19
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สหรัฐอเมริกามียาแบบรับประทาน เพื่อรักษาผู้ป่วยไวรัสโคโรนา
    ข่าวดี...สำหรับคนที่ไม่อยากฉีดวัคซีนหรือมีเกิดปัญหาอื่นๆในเร็วๆนี้เพราะในไม่ช้าสหรัฐอเมริกา จะมียารับประทานสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เป็นยาแบบรับประทานเวลา 5 วัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะถูกกำจัดออกจากร่างกายอย่างสมบูรณ์และผู้ป่วยจะฟื้นตัวเต็มที่ได้ ยาชื่อ"Molnupiravir" ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดย บริษัท ยารายใหญ่สองแห่งคือ "Rigibel" ในเยอรมนีและ "Merck" ในสหรัฐอเมริกาและประสบความสำเร็จในการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 1 และ 2 ในมนุษย์ ผลคือ 100% โดยการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในปัจจุบันใกล้สิ้นสุดลงและผลดีมาก หากเป็นไปได้ดีจะวางจำหน่ายในตลาดภายใน 4 ถึง 5 เดือนข้างหน้า ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาได้ด้วยตัวเองที่บ้านและหายใน 5 วันซึ่งสะดวกในการใช้มาก การรักษาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในอนาคต ก็จะเป็นเหมือนกับการรักษาโรคหวัดในตอนนี้ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะไม่น่ากลัวอีกต่อไปแล้ว หรือ ? * นี่เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะในวงการแพทย์ บางทีอาจเป็นไปตาม Valium, แอสไพรินและเพนิซิลลินและ Apin เป็นยาคลาสสิก4 ชนิด * https://www.wtsp.com/article/news/health/coronavirus/antiviral-drug-molnupiravir-showing-promise-in-trials-against-coronavirus/67-87f24932-8244-439a-a664-ba6aa21aac01
    Mrs.Doubt
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    การรับประทานยาพาราเพื่อเป็นการดักไข้ไว้ก่อน ช่วยได้จริงหรือ
    มีความเชื่อต่อๆกันมาว่า การรับประทานยาพาราเซตตามอลหรือยาลดไข้เพื่อกันไว้ก่อนเมื่อโดนฝน สามารถป้องกันไข้ได้ จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    การสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิกบุหรี่มวลได้หรือไม่
    รู้หรือไม่ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวน หลายคนเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีในการเลิกบุหรี่มวน แต่จากงานวิจัยและข้อมูลทางการแพทย์ พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวนได้จริง และยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกมากมาย ข้อมูลจาก https://www.hfocus.org/content/2023/09/28520 จากการสัมภาษณ์ เภสัชกรหญิง อริสา คำรินทร์ เภสัชกรหญิง ร้านยาในจังหวัดมหาสารคาม ให้ข้อมูลว่า การสูบบุรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยให้เลิกเลิกบุหรี่มวล แต่เป็นการทำให้เสพติดสารนิโคตินที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งนำไปสู่ โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง และโรคในระบบทางเดินหายใจ พร้อมกับให้คำแนะนำว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกในการเลิกบุหรี่มวน 1.ไม่ช่วยเลิกบุหรี่: ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่มวนส่วนใหญ่จะติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน หรือสูบทั้งสองชนิดควบคู่กันไป 2.อันตรายต่อสุขภาพ: บุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปอด หัวใจ และระบบอื่นๆ ในร่างกาย ผลกระทบอื่นๆ: 1.ไม่ปลอดภัย: แม้จะไม่มีควันบุหรี่ แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมา 2.เสพติด: นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดการเสพติดได้เช่นเดียวกับบุหรี่มวน 3.ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องความปลอดภัย: งานวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะยืนยันความปลอดภัยได้ “เลิกบุหรี่มวนดีกว่า แต่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลิกบุหรี่ที่ปลอดภัยและได้ผล” เลิกบุหรี่ โทร 1600 หรือปรึกษาที่ร้านยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และร้านยาที่มีเภสัชกรใกล้บ้าน
    Wisit Kongkam
     •  4 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หากลืมรับประทานยา สามารถทานรวมกับมื้อถัดไปได้หรือไม่ ?
    ยาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและคำแนะนำในการรับประทานแตกต่างกัน เช่น ยาบางชนิดต้องการความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับยาในเลือด หากไม่รับประทานตามเวลาที่กำหนด อาจทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มที่และส่งผลเสียต่อร่างกายได้ "ดังนั้นการลืมรับประทานยาจึงไม่ควรรับประทานรวมกับครั้งถัดไป เพราะอาจทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดการดื้อยา และร่างกายอาจได้รับยาเกินขนาด"
    Thitiwut Apiraktanakul
     •  3 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ถ้าเป็นไข้เลือดออก รับประทานยาแก้ไข้ได้แค่ พาราเซตตามอล เท่านั้น จริงหรือคะ
    ถ้ามีไข้ที่มาจากการเป็นไข้เลือดออก รับประทานได้แต่ยา พาราเซตตามอล เพื่อลดไข้ ไม่สามารถใช้ยาตระกูล NSAIDs เช่นไอบูโรเฟน จริงหรือคะ
    anonymous
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ คราบสีขาวๆ นวลๆ ที่อยู่บนผิวขององุ่นนั้น เป็นสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง ให้เอายาสีฟันมาขัดออกให้สะอาด ถึงจะรับประทานได้
    มีการแชร์ภาพผลไม้ องุ่น รวมถึงข้อความว่า "คราบสีขาวๆ นวลๆ ที่อยู่บนผิวขององุ่นนั้น เป็นสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง ให้เอายาสีฟันมาขัดออกให้สะอาด ถึงจะรับประทานได้"
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ยาพาราเซตามอลกินดักไข้เสี่ยงอันตรายจริงหรือไม่?
    เราพบเห็นคลิปจากช่องทาง เลมอน8 ที่เล่าเกี่ยวกับกินยาดักไข้ อันตรายกว่าที่คิด และเพื่อนก็เคยทำ จึงเกิดความสงสัยว่าทำไมคนเราทำกัน นั้นทำให้เราอยากรู้ว่าการกินยาพาราเซตามอลเพื่อดักไข้ ทำได้จริงหรือไม่ เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยหรือแค่ความเชื่อที่อาจเป็นอันตรายกับสุขภาพเรา
    fapathan
     •  2 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือไม่ ความเชื่อที่บอกว่าการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดจะช่วยให้สิวหาย ?
    “จริงหรือไม่ ความเชื่อที่บอกว่าการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดจะช่วยให้สิวหาย ?” สิว เป็นหนึ่งในปัญหาผิวพรรณที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นและผู้หญิงวัยหนุ่มสาว หลายคนจึงมองหาทางออกในการรักษาสิวให้หายขาด หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมและเป็นที่พูดถึงกันมาก คือ การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งเชื่อกันว่านอกจากจะช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยังสามารถช่วยลดปัญหาสิวได้อีกด้วย (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=62) • จากการสัมภาษณ์ เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป เภสัชกรปฏิบัติการประจำร้านขายยาเภสัชกรอิ่ม จ.มหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า “การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถใช้เพื่อรักษาสิวได้หรือไม่ ถ้าตอบโดยทั่วไปคือ จริง เพราะการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อรักษาสิวมีส่วนช่วยในการควบคุมไม่ให้ฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) ที่ส่งผลทำให้เกิดการผลิตความมันบนผิวหนังมากขึ้น ยาเม็ดคุมกำเนิดจะทำให้ปริมาณของฮอร์โมนเพศชายลดลง ในส่วนของการติดเชื้อและการอุดตันของเซลล์ผิวอาจจะต้องมีการใช้ยาอย่างอื่นร่วมด้วย” ทั้งนี้ เภสัชกร ณภัทร ได้ให้ข้อแนะนำในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อรักษาสิวเพิ่มเติมว่า “โดยตามหลักแล้วเราไม่ได้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียวในการรักษาสิว ยาเม็ดคุมกำเนิดจะเหมาะกับคนที่ใช้ยาทามาสักระยะแล้วยังรู้สึกว่ายังไม่ได้ผลเท่าที่ควร แล้วเราค่อยนำยาเม็ดคุมกำเนิดไปเสริมเพื่อช่วยในการรักษาสิวได้” (ข้อมูลเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567) • ดังนั้นการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดรักษาสิวควรที่จะเช็คตนเองก่อนว่ามีโรคประจำตัว หรือมีข้อห้ามในการรับประทานยาอะไรหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นคนที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม หรือ โรคประจำตัวบางอย่างที่อาจจะไม่ได้ถึงกับเป็นข้อห้ามแต่ควรที่จะระมัดระวังมากขึ้น เช่น โรคความดันหรือโรคไขมันสูง ควรจะต้องตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัดและปรึกษากับทางแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เครือข่าย : ชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    Airada Netchinpukdee
     •  4 เดือนที่แล้ว
    meter: false