13184 ข้อความ
- 1 คนสงสัยกาแฟลดความอ้วน ลดหุ่นได้จริงหรือมั่ว!?กาแฟลดความอ้วน ลดหุ่นได้จริงหรือมั่ว!?ลดความอ้วนผู้บริโภคเฝ้าระวังMrs.Doubt• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยทุเรียนหมอนทองเป็นยารักษาโรคได้ทุเรียนหมอนทองเป็นยารักษาโรคได้ยาสมุนไพรMrs.Doubt• 1 ปีที่แล้วmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยภาคตะวันออกไม่ระบุชื่อ• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยภาคอีสานผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมไม่ระบุชื่อ• 1 ปีที่แล้ว2 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยรัสเซีย : ศูนย์ต้านข่าวปลอมของฮ่องกงระบุ ปูตินไม่ได้อัญเชิญ "พระบรมฉายาลักษณ์" ร.9โครงการตรวจสอบข้อเท็จจริงแห่งศูนย์สื่อมวลชนศึกษาและวารสารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกง (HKU Journalism) ชี้ว่าภาพประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียอัญเชิญ "พระบรมฉายาลักษณ์" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่แชร์กันทางโลกโซเชียลของไทยเมื่อปลายเดือน ก.พ.ข่าวการเมืองeardoil• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยแผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรีย HAARP : ศูนย์วิจัยฮาร์ปของสหรัฐฯ ทำหน้าที่อะไร ทำไมถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุหายนะนับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ถล่มตุรกีและซีเรียเมื่อ 6 ก.พ. ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 44,000 คน มีการส่งต่อข้อมูล ภาพถ่าย และคลิปวิดีโอของภัยพิบัตินี้ทางทวิตเตอร์แล้วหลายล้านโพสต์ แต่บีบีซีพบว่า มีโพสต์บางส่วนที่มีการกล่าวหา HAARP หรือ ฮาร์ป ตัวแปลงสัญญาณอันทรงพลังที่ตั้งอยู่ในรัฐอะแลสกาของสหรัฐฯ ว่า เป็นตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น ฮาร์ป มีชื่อเต็มว่า โครงการวิจัยพลังงานลำแสงออโรราจากความถี่สูง (High-frequency Active Auroral Research Program—HAARP) ก่อตั้งขึ้นโดยกองทัพสหรัฐฯ ในปี 1990 และมหาวิทยาลัยอะแลสกา (University of Alaska) ในเมืองแฟร์แบงก์ส เป็นผู้ดูแลตั้งแต่ปี 2014 มีการใช้ตัวแปลงสัญญาณนี้ในการศึกษาชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่ชั้นบรรยากาศของโลกเชื่อมต่อกับอวกาศสภาพอากาศeardoil• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยโควิด-19 แพร่กระจายผ่านอากาศ (Airborne)จากกรณีสื่อต่างประเทศรายงานข่าวว่า มีนักวิทยาศาสตร์ 239 คน จาก 32 ประเทศ เปิดเผยหลักฐานการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19 ) ผ่านละอองฝอยขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน สามารถแพร่ผ่านทางอากาศ (AirBorne) จึงเรียกร้องให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ยอมรับว่าโควิด-19 มีการติดต่อในรูปแบบแอร์บอร์น และปรับคำแนะนำนั้นสุขภาพโควิด 2019eardoil• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยหูอื้อ ปวดตึงคอและบ่าเป็นสัญญานเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ หูอื้อ ปวดตึงคอและบ่า เป็นสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ . ตามที่มีคำแนะนำเผยแพร่บนสื่อออนไลน์เรื่องหูอื้อ ปวดตึงคอและบ่า เป็นสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อความที่ปรากฏนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีผู้โพสต์คลิปวิดีโอให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับคนที่มีอาการปวดตึงคอ บ่า หูอื้อ และมีเสียงในหูคือสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ มึนงงได้ แต่อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เวียนศีรษะได้เช่นกัน เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศร้อน ความเครียด การทำงานหนัก เป็นต้น . ส่วนการปวดตึงคอ บ่า หูอื้อ มีเสียงในหู ง่วงทั้งวันแต่นอนไม่ค่อยหลับ วิตกกังวล ประสาทตาเสื่อม ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือ โทร. 02-306-9899 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ มึนงงได้ ส่วนอาการปวดตึงคอและบ่า หูอื้อ ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขstd48339• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยรัฐบาลเตรียมรับคนไทย7000คนจาอิตาลีรัฐบาลเตรียมมาตรการรองรับคนไทยจํานวน7000คนกลับจากจากอิตาลีสุขภาพโควิด 2019ศุภกฤต หนูเงิน• 1 ปีที่แล้วmeter: false3 ความเห็น
- 2 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! "สมุนไพรขันทองพยาบาท" ใช้รักษาโรคมะเร็งจากกรณีที่มีการแชร์สรรพคุณของสมุนไพรขันทองพยาบาท ว่าสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการพบว่าขันทองพยาบาทไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง และไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ สำหรับสมุนไพรขันทองพยาบาท (Suregada multiflora) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำหรับยาสมุนไพรพื้นบ้านมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น และจากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่าสารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าขันทองพยาบาทช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติสุขภาพมะเร็งยาสมุนไพรstd48333• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ธอส. เปิดเพจ GH BANK ชวนลงทุนดอกเบี้ยต่ำตามที่มีการแชร์ข่าวสารเรื่อง ธอส. เปิดเพจ GH BANK ชวนลงทุนดอกเบี้ยต่ำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมstd48336• 1 ปีที่แล้วmeter: middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยสธ.เตือนอย่าหลงเชื่อ!! กลุ่มมิจฉาชีพ "แชร์ลิงก์เว็บไซต์ปลอม" อ้างให้เงินช่วยโควิด ลวงเหยื่อกรอกข้อมูลโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เตือนอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพ ทำเว็บไซต์ปลอมส่งลิงก์ต่อกันทางไลน์ อ้างกระทรวงสาธารณสุขมีกิจกรรมให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 ลวงเหยื่อให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ย้ำกระทรวงมีภารกิจดูแลรักษาป้องกันควบคุมโรค ไม่มีภารกิจเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือเยียวยา วันนี้ (10 กันยายน 2565) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพทำเว็บไซต์ปลอมมีโลโก้กระทรวงสาธารณสุข และส่งลิงก์เว็บไซต์ให้ประชาชนทางไลน์และโซเชียลมีเดีย โดยหลอกว่ากระทรวงสาธารณสุขมีกิจกรรมให้เงินช่วยเหลือช่วงโควิด 19 เพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลสำคัญส่วนตัว ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้มักใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้ระบบต่างๆ หรือทำธุรกรรมออนไลน์ เมื่อมิจฉาชีพได้ไปอาจถูกนำไปใช้ในเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทำให้เราตกเป็นเหยื่อหรือผู้ประสบภัยทางออนไลน์ได้ จึงขอเตือนภัยว่าอย่าหลงเชื่อให้ข้อมูลส่วนตัวอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ ภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขคือการดูแลป้องกันรักษาควบคุมโรค ไม่ได้มีภารกิจเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือประชาชน และไม่ได้มีโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 หรือโรคระบาดแต่อย่างใด นพ.รุ่งเรืองกล่าวต่อว่า กลุ่มมิจฉาชีพมีการปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อหลอกลวงข้อมูลจากเหยื่อ และมักแอบอ้างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ จึงขอให้พิจารณาตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง หากไม่แน่ใจแนะนำให้สอบถามกับหน่วยงานโดยตรง โดยเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข คือ www.moph.go.th สามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลภายในเว็บไซต์ทางการได้ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการคดีกลุ่มมิจฉาชีพตามกฏหมายอย่างถึงที่สุดผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมstd48333• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเปิดสินเชื่อรากฐานไม่ต้องค้ำประกันข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ เว็บฯ https://travelkub.com/ เปิดสินเชื่อรากฐาน ไม่ต้องค้ำประกัน โดย ธ. ออมสิน . ตามที่มีการตรวจพบข้อมูลเกี่ยวกับเว็บฯ https://travelkub.com/ เปิดสินเชื่อรากฐาน ไม่ต้องค้ำประกัน โดย ธ. ออมสิน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีการส่งต่อข่าวสารเรื่อง ธ. ออมสิน เปิดสินเชื่อรากฐานรอบใหม่ ให้ยืมสูงสุด 10,000-30,000 บาท ทุกอาชีพ ไม่ต้องค้ำประกัน ผ่านเว็บฯ https://travelkub.com/ ทางธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า สินเชื่อดังกล่าว เป็นสินเชื่อห่วงใย (เพื่อสู้ภัย COVID-19) ผ่าน MyMo ซึ่งได้ครบระยะเวลาดำเนินโครงการแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 จึงขอแจ้งว่า ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลเท็จ ทั้งยังมีการแอบอ้างนำชื่อ และโลโก้ของธนาคารออมสินโฆษณาชวนเชื่อ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อเพจดังกล่าว ที่มีการแอบอ้างชื่อของธนาคารในการชักชวนในลักษณะนี้ โดยสามารถติดตามข่าวสารจากสื่อช่องทางหลักของธนาคารออมสิน ได้ที่เว็บไซต์ www.gsb.or.th , แอปพลิเคชัน MyMo , Social Media ช่องทาง GSB Society และ GSB Now หรือ GSB Contact Center โทร. 1115 เท่านั้น . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลดังกล่าวเป็นสินเชื่อห่วงใย (เพื่อสู้ภัย COVID-19) ซึ่งครบระยะเวลาโครงการเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 65 ทั้งยังมีการแอบอ้างนำชื่อ และโลโก้ของธนาคารออมสินโฆษณาชวนเชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาต . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารออมสิน กระทรวงการคลังผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมstd48339• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยกฟภ. ส่ง sms แจ้งมาตราการคืนเงินค่าไฟฟ้าข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมาตรการคืนเงินค่าไฟฟ้าเกิน จากการประมวลผลผิดพลาด . ตามที่มีการเผยแพร่เรื่อง กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมาตรการคืนเงินค่าไฟฟ้าเกิน จากการประมวลผลผิดพลาด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับ กฟภ. แจ้งมาตรการ การคืนเงินเกินค่าไฟฟ้า เนื่องจากระบบประมวลผลผิดพลาด สำหรับผู้ได้รับ SMS แจ้งข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กฟภ. ไม่มีนโยบายแจ้งการคืนเงินเกินค่าไฟฟ้า ธุรกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าหรือประชาชนผ่าน SMS หรือการให้แอดไลน์โดยเด็ดขาด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pea.co.th หรือ โทร. 02-589-0100 หรือ ติดต่อ 1129 PEA Contact Center รวมถึงการไฟฟ้าในพื้นที่ . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : กฟภ. ไม่มีนโยบายแจ้งการคืนเงินค่าไฟฟ้าเกิน ธุรกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าหรือประชาชนผ่าน SMS หรือการให้แอดไลน์โดยเด็ดขาด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทยผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมstd48339• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยสธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์สธ.ร่วมกับภาคีเครือข่าย 20 หน่วยงาน เดินหน้ารณรงค์ “วันมะเร็งโลก” ภายใต้แนวคิด ปี 2566 “Uniting our voices and taking action ชวนให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก หากวินิจฉัยเร็ว รักษาไว เพิ่มโอกาสรอดชีวิต มีโอกาสหายขาดได้ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” โดยมีนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คณะผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาธารณสุข อสม. และ ประชาชน เข้าร่วมงาน นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้นหลายประการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจอุจจาระ หากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจคัดกรองต่อด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจหายีนผิดปกติ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม และ การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ยังสนับสนุนสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากวิธี PAP smear เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการตรวจ HPV test ทำให้ความไวและความแม่นยำในการคัดกรองโรคสูงขึ้น และเมื่อคัดกรองพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลัดขั้นตอนการส่งต่อในระบบปกติโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ตามนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่” (Cancer Anywhere) ซึ่งการวินิจฉัยเร็วและรักษาเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยใช้สิทธิ์มะเร็งรักษาได้ทุกที่แล้วกว่า 325,000 คน หรือ กว่า 2,900,000 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วย PET scan ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ สารสกัดกัญชาเพื่อลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา และการสนับสนุนอุปกรณ์ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอคอยการรักษาจำนวนมาก ทั่วประเทศ ทั้งนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uniting our voices and taking action ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ด้านนายแพทย์ธงชัย เพิ่มเติมว่า การที่ประชาชนใช้โซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง ทำให้พบว่า มีการแชร์ข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็งจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยที่หลงเชื่อข้อมูลเท็จดังกล่าวเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด ได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้า ขาดโอกาสที่จะหายขาด และอาจซ้ำเติมให้โรคมะเร็งที่เป็นอยู่รุนแรงมากขึ้น ที่ผ่านมา แม้จะมีการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เพื่อตรวจสอบและให้ข้อมูลข้อเท็จจริง แต่การแชร์ข้อมูลเท็จด้านนี้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมและประชาชนในการสร้างความตระหนักและหยุดยั้งการแชร์ข้อมูลเท็จต่าง ๆ ภายในงานยังมีกิจกรรมเสวนา หัวข้อ “ANTI FAKECANCERNEWS:หยุดแชร์ข่าวปลอม = ลงมือทำ” โดยนายแพทย์สกานต์ เปิดเผยว่า เฟคนิวส์หรือข่าวปลอมนั้นกระทบคนหลายกลุ่ม ผู้ที่ยังไม่ป่วยก็จะกลัวโรคมะเร็ง จึงเสาะหาว่าสิ่งไหนป้องกันโรคมะเร็งได้ แต่การรับข่าวสารต้องระวัง เพราะบางข้อมูลจะมีความจริงบางส่วน เช่น ข่าวปลอมที่ว่า น้ำด่างและน้ำผลไม้ปั่น ป้องกันโรคมะเร็งได้ จริง ๆ แล้ว การดื่มน้ำผักและผลไม้หลากสีจะมีวิตามิน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ต้องพิจารณาว่า ป้องกันได้ในระดับไหน สิ่งที่น่ากลัว คือ กินน้ำเหล่านี้แล้วไม่ปรับพฤติกรรม ยังกินเหล้า สูบบุหรี่ ไม่ระวังมลภาวะ ส่วนกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งจะรู้สึกเคว้ง เชื่อเรื่องการรักษาด้วยวิธีง่าย ๆ เพราะคิดว่า การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายแสง ใช้ยาเคมีบำบัดหรือการทำคีโม การผ่าตัด เป็นสิ่งที่ทรมาน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนไปเยอะ แผลผ่าตัดเล็กลง การใช้ยาและการฉายแสง ไม่ส่งผลต่อร่างกายมากเท่าเดิม ซึ่งคนที่เชื่อข่าวปลอมก็จะทิ้งการรักษามาตรฐาน แทนที่จะเข้าสู่การรักษา แล้วกลับมาตอนที่เป็นในระยะที่ 3-4 ซึ่งยากต่อการรักษา อีกทั้งผลิตภัณฑ์บางอย่างยิ่งซ้ำเติมอาการให้รุนแรงอีกด้วย "สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้เปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง มากว่า 2 ปีแล้ว พบข่าวปลอม 600 กว่าเรื่อง หากมีข้อสงสัยในข้อมูลที่ได้รับมา สามารถเสิร์ชหาในเว็บไซต์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง หรือ Anti Fake Cancer News (AFCN) และยังสามารถอ่านข้อมูลจากข่าวปลอมได้ที่เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand โดยได้ทำข้อมูลความรอบรู้สู้มะเร็ง เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งที่ถูกต้องควบคู่กันไปด้วย สำหรับตัวอย่างข่าวปลอม เช่น ข่าวปลอมว่า ใช้โรลออนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็นมะเร็งเต้านม เพราะน้ำยาระงับเหงื่อมีสารประกอบโลหะ เมื่อใช้นาน ๆ จะสะสมในร่างกาย เรื่องนี้ก็ไม่เป็นความจริง รวมถึงข่าวปลอมที่ว่า การทำ Ice Bathing สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ก็ไม่จริง แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีใช้ความเย็น แต่เครื่องมือดังกล่าวต้องมีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมคือต้องติดลบหลายองศา และใช้ความเย็นจัดเฉพาะที่ตัวก้อนมะเร็งด้วยเครื่องมือพิเศษโดยแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทาง การลงแช่ในน้ำแข็งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ จึงขอย้ำให้ตั้งสติก่อนแชร์ ส่วนฝั่งที่รับข่าวสารต้องหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือก่อนจะเชื่อ" นายแพทย์สกานต์ ย้ำ ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสริมว่า ข่าวปลอมมีทั้งที่เป็นข้อมูลที่ผิด (misinformation) การบิดเบือนข้อมูล (disinformation) หรือมีข้อเท็จจริงบางส่วน กองทุนฯ เคยทำการวิจัยพบว่า ข้อมูลสุขภาพ 1200 ข่าว 900 ชิ้นเป็นข่าวปลอม เรื่องเกี่ยวกับโรคมะเร็งก็มีเยอะมาก ดังนั้น ต้องตั้งหลักแล้วคิด แล้วจะเลือกได้อย่างถูกทาง หากนึกถึงการแพร่ระบาดของโรคระบาด ข้อมูลเฟคนิวส์ก็รุนแรงพอ ๆ กัน จึงเรียกว่า Infodemic (ภาวะข้อมูลระบาด) ผู้รับสารต้องตั้งสติ อย่าใช้ความเคยชิน เมื่อเป็นโรคแล้วต้องสลัดความกลัว ตั้งหลัก ให้กำลังใจตัวเอง รับมือกับข้อมูลข่าวสารได้ ก็จะรับมือกับโรคได้ ขณะที่ น.ส.ศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง อดีตผู้ป่วยมะเร็ง เจ้าของเฟซบุ๊กแฟนเพจ เรื่องจริงกะเบลล์ เล่าถึงประสบการณ์การเป็นมะเร็งว่า ตอนที่เป็นมะเร็งก็สับสนข้อมูลความรู้ จะเจอกับหมอกูเกิลก่อนจะเป็นหมอจริง จึงเริ่มแชร์ประสบการณ์จริงว่า สิ่งไหนกินแล้วดีต่อร่างกาย มีผลอย่างไร หรือมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร นอกจากนี้ ยังได้รวมเครือข่ายจากหลายชมรมที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เช่น ชมรมมะเร็งเต้านม และชมรมมะเร็งลำไส้ มารวมเป็นพลังถ่ายทอดประสบการณ์ตรง เช่น ตอนที่ให้ยาคีโม แล้วลดการรับประทานเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับได้ แต่บางกรณีก็ใช้ได้กับอีกคน ซึ่งต้องพิจารณาในแต่ละเรื่อง เพราะโรคมะเร็งไม่เหมือนโรคอื่น มันจะมีเวลาโกลเดนท์ไทม์ 2-3 เดือน จะสุขภาพดีเพื่อรับยาและการรักษาที่ถูกต้อง ถูกที่ถูกเวลา โอกาสหายขาดจะสูง ทั้งนี้ อย่าให้ความกลัวทำให้ตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต ลองสำรวจตัวเองก่อนว่า สิ่งที่คิดเป็นความจริงหรือความกลัว อยากให้ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน แม้จะตัดสินใจพลาดก็เริ่มใหม่ได้ ส่วน น.ส.สุชาตา ช่วงศรี รองอันดับ 2 มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2022 เสริมถึงประสบการณ์ตรงเรื่องโรคมะเร็งว่า ตอนนั้นปวดตรงหน้าอก รู้สึกว่าด้านข้างโตผิดปกติ ตอนแรกยังตัดสินใจไม่ตรวจ คิดว่า ลองลดความอ้วน คุมไขมัน แต่ยิ่งโตก็พบว่า ก้อนใหญ่ขึ้น ปวดมากโดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน จึงเข้ารับการตรวจวินิจฉัยพบก้อนเนื้อทั้ง 2 ข้าง แพทย์จึงให้คำแนะนำและเข้าสู่กระบวนการรักษา ขอย้ำว่า หากตรวจรักษาเร็วก็จะหายได้เร็ว สำหรับกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” ครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จำนวน 20 แห่ง อาทิ กรมการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลมะเร็งภูมิภาค, มูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ, สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์, โรงพยาบาลในเขต จ.ปทุมธานี และภาคเอกชน อาทิ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์, บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รวมทั้งภาคประชาสังคม คือ มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง จัดกิจกรรม 2 ส่วน ประกอบด้วย การให้บริการประชาชน ได้แก่ ชุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง (HPV Self Sampling) และส่วนนิทรรศการความรู้ อาทิ นิทรรศการ “ANTI FAKE CANCER NEWS : หยุดแชร์ข่าวปลอม = ลงมือทำ, สาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, การเย็บหมวกและเต้านมเทียมเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง, ให้คำปรึกษาการตรวจสุขภาพ, HPV Vaccine, นิทรรศการสาธิตเมนูอาหาร และนิทรรศการ Thai Cancer Society เป็นต้นสุขภาพมะเร็งstd48333• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยมีการแชร์ข่าวบนโลกออนไลน์ว่า ผลข้างเคียงของการ ฉีดวัคซีนโควิด19 มีผลเกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของผู้ชายและผู้หญิง โดยทำให้ผู้ชาย มีอสุจิน้อยลง เป็นหมัน และในผู้หญิง มดลูกมีปัญหา มีบุตรยาก เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไร?ก่อนหน้านี้ก็เคยมีความกังวลในหมู่คุณผู้ชาย ว่าหากรับวัคซีนโควิด19 แบบ mRNA เช่น ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์น่าแล้ว จะส่งผลให้ปริมาณน้ำเชื้อ อสุจิลดน้อยลง ซึ่งข้อมูลจาก ดร.เดวิด โคเฮน ผู้อำนวยการร่วมด้านการแพทย์ของสถาบันเพื่อการสืบพันธุ์ของมนุษย์ในชิคาโก ระบุว่า "ตอนนี้หลักฐานน่าจะรับรองได้ว่า ความเสี่ยงของการฉีดวัคซีนโควิด19 ส่งผลต่อจำนวนอสุจิต่ำมาก" แม้ว่าวัคซีนจะไม่มีผลต่อสเปิร์ม แต่ โควิด19 มีผลต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย โดยเมื่อเทียบคุณภาพสเปิร์มของผู้ป่วยกับผู้ชายสุขภาพดี ผลพบว่า มีอัตราการอักเสบในเซลล์อสุจิของผู้ป่วย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ความเข้มข้นของสเปิร์ม การเคลื่อนไหวและรูปร่าง ได้รับผลกระทบจากไวรัส แต่เพียงเล็กน้อยและชั่วคราวเท่านั้นสุขภาพโควิด 2019มีมeardoil• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยผลิตภันฑ์ลดความอ่อนเยาว์ผลิตภันฑ์ Everlift คืนความอ่อนเยาว์ให้20-30ปีความสวยความงามอย. เพิกถอนผู้บริโภคเฝ้าระวังศุภกฤต หนูเงิน• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมขนส่งฯ เปิดให้ทำข้อสอบใบขับขี่ที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.comตามข้อมูลที่พบบนช่องทางออนไลน์เรื่องกรมขนส่งฯ เปิดให้ทำข้อสอบใบขับขี่ที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จstd48336• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยอาการหนาวเป็นสัญญาณของไตขวาเสื่อมข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณของไตขวาเสื่อม . ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลในสื่อโซเชียลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอาการขี้หนาวเป็นสัญญาณของไตขวาเสื่อม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีการโพสต์คำแนะนำในสื่อสังคมออนไลน์โดยระบุว่า อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อม ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการขี้หนาวไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือเป็นสาเหตุสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อมแต่อย่างใด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rajavithi.go.th หรือ โทร. 02-206-2900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : อาการขี้หนาวไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นสาเหตุสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อมแต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขstd48339• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ก.ล.ต ร่วมเอกชนเปิดกองทุนหลักทรัพย์ เริ่มต้น 2,262 บาทตามที่มีข่าวสารในประเด็นเรื่อง ก.ล.ต ร่วมเอกชนเปิดกองทุนหลักทรัพย์ เริ่มต้น 2,262 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมstd48336• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเชรั่มทำให้จมูกโด่งผลิตภันฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้จมูกดั่งโด่งภายใน7วันความสวยความงามผู้บริโภคเฝ้าระวังศุภกฤต หนูเงิน• 1 ปีที่แล้วmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยดื่มฉี่รักษาโรค?มีการแชร์ว่าการดื่มปัสสาวะช่วยให้รักษาโรคได้ยาสมุนไพรstd48335• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยดื่มน้ำตอนเล่นมือถือข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต . ตามที่มีข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับเรื่องห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลว่า ห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า คลิปที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันดังกล่าว เป็นเพียงการแสดงเท่านั้น เพราะหากถูกไฟดูดจริง จะต้องมีการสะบัดมือที่จับโทรศัพท์ หรือร่างกายต้องกระตุกจากการโดนไฟช็อต รวมทั้งกระแสไฟจะต้องครบวงจรก่อน ซึ่งไม่ต้องรอถึงขั้นดื่มน้ำก็สามารถที่จะโดนไฟดูดได้แล้ว . ทั้งนี้ การเสียชีวิตโดยที่มีกระแสไฟวิ่งเข้าหัวใจหลังจากดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับวัสดุที่มีแรงดันไฟฟ้ามาอยู่ใกล้กับอวัยวะในร่างกายที่ค่อนข้างบอบบาง เช่น หู แก้ม เป็นต้น . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.nectec.or.th/ หรือ โทร. 02-564-6900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเสียชีวิตโดยที่มีกระแสไฟวิ่งเข้าหัวใจหลังจากดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับวัสดุที่มีแรงดันไฟฟ้ามาอยู่ใกล้กับอวัยวะในร่างกายที่ค่อนข้างบอบบาง เช่น หู แก้ม เป็นต้น . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมผู้บริโภคเฝ้าระวังมีมstd48339• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยดื่มฉี่รักษาโรค?มีการแชร์ว่าการดื่มปัสสาวะข่วยให้รักษาโรคได้std48335• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยวิตามินบีลดภาวะไหลตายวิตามินบีช่วยลดภาวะการเกิดไหลตายหรือหัวใจล้มเหลวศุภกฤต หนูเงิน• 1 ปีที่แล้ว