13218 ข้อความ
- 1 คนสงสัยยาลดน้ำหนัก "ฟูโก เพียว" FUCO Pureอย.จับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "FUCO" ลักลอบขายเกลื่อนเวบ โฆษณาโอ้อวดลดอ้วนเกินจริง ลั่นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ FUCO ทุกรุ่นไม่เคยขออนุญาต เตือนผู้บริโภคอย่าสั่งซื้อมาใช้เด็ดขาด พร้อมบุกจับแหล่งผลิตอาหารปลอม "น้ำกระเทียมดอง-น้ำมะนาวดอง" แอบสวมเลขอย. อันตรายอาจใส่กรดอะซิติก ทำระบบทางเดินอาหารระคายเคืองถึงขั้นกระเพาะทะลุ "อาหารปลอมจะดูเพียงบรรจุภัณฑ์อย่างเดียวไม่ได้ ควรดูที่เลขสารบบเป็นหลักFang Orawan• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยน้ำมะนาวแก้โควิดกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ให้ข้อมูลว่า น้ำมะนาว มีวิตามินซีช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่สามารถยืนยันได้ว่าน้ำมะนาวร้อนสามารถฆ่าเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้fluke.sattra• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเผย 6 แนวโน้มข่าวลวงสุขภาพ ปี 2022! ระวังหยด "น้ำมันกัญชา" เอง เสี่ยงอันตรายข่าวลวงยังเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย โดยเฉพาะข่าวลวงด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อร่างกาย รุนแรงได้ถึงชีวิต หากไม่รู้เท่าทัน! เมื่อวันที่ 23 ส.ค. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีโคแฟค (COFACT) ประเทศไทย จัดเวทีสัมมนาไฮบริด นักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 23 จากมะนาวโซดา ถึงกัญชารักษา (ไม่) ทุกโรค บทเรียนการรับมืออินโฟเดอมิกของสังคมไทย ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 สสส. โดยเปิดเผย 6 แนวโน้มข่าวลวงสุขภาพ ปี 2022 Cofact Health Infodemics Trends 2022 โดย ChangeFusion เปิดเผยข่าวลวงที่พบได้ ดังนี้ 1.ข่าวลวงด้านสุขภาพยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นกระแสสังคม เช่น กัญชา วัคซีน 2.พื้นที่ข่าวลวงใน Social Media แบบเปิดสาธารณะมีแนวโน้มดีขึ้นบ้าง แต่มีแนวโน้มขยายและเพิ่มความลึกขึ้นในพื้นที่เทคโนโลยีแบบปิด เช่น กลุ่มเฉพาะที่ไม่เปิดสาธารณะและกลุ่มไลน์ ซึ่งยากต่อการเฝ้าระวังด้วยเครื่องมือ Social Listening 3.ผู้ริเริ่มเผยแพร่ข่าวลวงอาจแบ่งได้เป็นอย่างน้อย 5 กลุ่ม (BBC) แต่ละกลุ่มมีบทบาทแตกต่างไปในข่าวลวงแต่ละลักษณะ แบ่งเป็น Joker, Scammer, Politicians, Conspiracy theorist, Insider 4.ข่าวลวงที่ตอกย้ำอคติหรือความเชื่อ/การเมืองในสังคม มีผลมากทั้งในเชิงความเสี่ยงสุขภาพและความแตกแยกในสังคม เช่น เรื่องฝีดาษลิงกับรักร่วมเพศ วัคซีนกับประเด็นทางศาสนา 5.เนื้อหาของข่าวลวงมีความเป็นสากลมากขึ้น เชื่อมโยงข้ามประเทศมากขึ้น จากหลายเหตุปัจจัย และ 6.การแสวงหาความจริงร่วมมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิทางสังคมร่วมกัน โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความซับซ้อน เช่น เรื่องข้าวหุงสุกแช่ตู้เย็นกับค่าน้ำตาลในเลือด นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า หากย้อนกลับไปปี 2563 เป็นช่วงที่โคแฟคและเครือข่ายภาคีก่อร่างสร้างตัว สอดรับกับสถานการณ์อินโฟเดอมิก การทะลักไหลบ่าของข้อมูลที่เป็นข่าวลวง จนผู้บริโภคไม่ทราบว่าข่าวไหนข่าวจริง เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทย จากการสำรวจทั้งจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการสำรวจออนไลน์ของโคแฟค พบว่า สังคมไทยได้รับข่าวลวงมาตลอด ความสำคัญของการรับมือข่าวลือ จึงต้องเร่งพัฒนาคนในสังคมไทยให้เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันสื่อ รู้จักที่จะรับมือและมีภูมิคุ้มกัน ตรวจสอบข้อมูลข่าวลือ คัดง้าง และสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งไม่สื่อสารข้อมูลที่ยังไม่แน่ใจว่า เป็นข้อมูลที่ถูกหรือผิด ซึ่งจะมีเครื่องมือของโคแฟคที่จะมาช่วยตรวจสอบข้อมูล ควบคู่กับภารกิจของโคแฟคที่จะพัฒนา ทำความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อ เพื่อยกระดับให้สื่อของประเทศไทยเป็นสื่อที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สมกับเป็นประตูที่ตั้งรับข้อมูลในสังคม ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา โคแฟคทำความร่วมมือกับชุมชนต่าง ๆ สร้างชุมชนในการตรวจสอบข่าวลวง 7 พื้นที่ทุกภูมิภาค และทำความร่วมมือกับ 40 องค์กร มาร่วมปฏิญญาตรวจสอบ ป้องกันข่าวลวงในสังคมไทย และไปสู่ความร่วมมือในระดับนานาชาติ ขณะที่ นายสันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมา แนวโน้มของข่าวปลอมนั้นมีคนเชื่อลดน้อยลง สิ่งสำคัญคือ การทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องข่าวปลอม สิ่งที่จะทำให้ข่าวปลอมหายไปหรือลดลงก็ต่อเมื่อได้รับความรู้ที่ถูกต้อง การแพร่กระจายจะสั้นลง แต่ปัจจุบันไม่ใช่แค่ข่าวปลอมที่ต้องกังวล ยังมีเรื่องของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การซื้อขายออนไลน์ ที่ต้องระวังเช่นกัน ภกญ.ผกากรอง ขวัญข้าว ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันข่าวปลอมที่พบมักจะครึ่งหนึ่งเป็นข่าวปลอม อีกครึ่งหนึ่งเป็นข้อเท็จจริง ในเรื่องสมุนไพรมีความซับซ้อนมากกว่ายาแผนปัจจุบัน ตัวสมุนไพรใช้น้อยเป็นอาหาร ใช้มากขึ้นก็เป็นยา บางครั้งการนำงานวิจัยไปจับทั้งหมดแล้วมาบอกว่าได้ไม่ได้ ก็ต้องมีการสื่อสารข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียด หากบอกว่าไม่ได้ เหมือนการผลักผู้ป่วยออกไปอยู่กับโฆษณาชวนเชื่อทันที เพราะผู้ป่วยอาจไปกินสิ่งที่โฆษณาแทน ซึ่งในบริบทของคนไทยนั้นไม่ค่อยเชื่อข้อมูล แต่เลือกเชื่อจากคนที่ให้ข้อมูลซึ่งตนเองเชื่อถือ ด้านนายเชลศ ธำรงฐิติกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 ตำบลหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี เสริมว่า ผู้สูงวัยคือกลุ่มเป้าหมายที่ถูกหลอกลวงออนไลน์ โดยหลอกว่า ลูกหลานทำความผิดต้องเสียค่าปิดคดี หรือการส่งข้อมูลหลอกลวงผ่านไลน์ เช่น มะนาวโซดารักษามะเร็ง ซึ่งคนที่ส่งข้อมูลมักจะมีตำแหน่ง มาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือการส่งข้อมูลมาทางเฟซบุ๊กและไลน์ ผู้สูงวัยบางคนก็จะนำมาเล่าต่อ ส่วนใหญ่มักจะถูกหลอกเรื่องเงิน เรื่องกฎหมาย ถ้าเด็กจะถูกหลอกเรื่องการลงทุน "ผู้สูงวัยที่มีปัญหานอนไม่หลับ ก็จะเชื่อข่าวลวงเรื่องของกัญชาว่า ให้ใช้น้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น แล้วจะนอนหลับดี ก็ไปหาจากลูกหลาน นำมาหยดเอง หยดไป 3 หยด จนต้องส่งโรงพยาบาล เพราะใช้เกินขนาด ขาดความรู้ สูตรที่บอกมาก็ไม่แน่นอน ร่างกายของแต่ละคนไม่เท่ากัน หรือความเชื่อเรื่องน้ำใส่เกลือแช่เท้ารักษาเบาหวาน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อกันมา ข่าวต่าง ๆ สังคมชนบทจะนำมาพูดคุยกัน ก็จะเป็นการเริ่มต้นค้นหาความจริง ต้องสร้างเครื่องมือตรวจสอบข่าวลวงด้วยกัน ถ้าไม่รู้ก็ให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน ลูกหลานช่วยกันค้นหาความจริง" นายเชลศ กล่าว นายสุชัย เจริญมุขยนันท Ubonconnect และเครือข่ายอีสานโคแฟค ยกตัวอย่างคุณแม่ทีมงานที่นำน้ำมันกัญชามาหยด จนต้องเข้าโรงพยาบาล กล่าวเสริมว่า คุณแม่ทีมงานนั้นไม่ได้เล่นไลน์ แต่เพื่อนแบ่งปันน้ำมันกัญชามาหยด จนต้องไปโรงพยาบาลเช่นกัน สิ่งสำคัญคือ ความเหลื่อมล้ำทางข้อมูลข่าวสาร อย่างคุณแม่คนนี้เชื่อว่า ข้อมูลที่ผ่านไลน์มา รัฐต้องกลั่นกรองแล้ว ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือ ความจริงไม่ได้มีหนึ่งเดียว มีความเห็นหลายด้าน หรือเรื่องข้าวหุงสุกแช่ตู้เย็นกับค่าน้ำตาลในเลือด จึงต้องพิจารณาว่า ทำอย่างไรให้สังคมไทยเป็นสังคมละเอียดช้า รับข้อมูลอย่างละเอียด ไม่ฟันธงเชื่อหรือไม่เชื่อเท่านั้น สังคมควรเป็นปัญญารวมหมู่ไม่ผูกขาดทางปัญญา กระจายอำนาจทางปัญญาไปสู่คนอื่น ๆยาสมุนไพรstd48013• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกรมการแพทย์ เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม อ้างใช้น้ำปัสสาวะหยอดจมูก รักษาโรคไซนัสได้จากที่มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการรักษาโรคไซนัส ด้วยการใช้น้ำปัสสาวะหยอดจมูกทุกวัน ทำให้อาการจะดีขึ้นเรื่อย ๆ จนหายขาดในที่สุดนั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์และทางคลินิกที่น่าเชื่อถือรองรับ โดยน้ำปัสสาวะเป็นของเสีย หรือสารที่เป็นส่วนเกินของร่างกายที่ไตขับออกมา แม้ว่าจะมีสารต่าง ๆ อยู่มาก ทั้งยูเรีย เกลือแร่ แคลเซียม และโซเดียมคลอไรด์ รวมถึงสารอื่น ๆ แต่สารเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกินความต้องการของร่างกาย หากสะสมไว้มากเกินไปกลับจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เกิดภาวะความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ร่างกายจึงขับทิ้งตามระบบ ดังนั้นหากนำกลับเข้าไปซ้ำอีก จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันอาจส่งผลเสียต่อร่างกายผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47996• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสบู่อสุจิแซลมอนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีที่มีการโฆษณาขายสบู่อ้างว่ามีการผสมอสุจิแซลมอนเพื่อช่วยให้ผิวขาว ว่า ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องสำอาง ฉบับที่ 2 ห้ามโฆษณาเครื่องสำอางไปในลักษณะอวดอ้างสรรพคุณว่าทำให้ผิวขาว หรือมีการเปลี่ยนสีผิว ดังนั้น ไม่ว่าจะได้มาจากส่วนใดของพืชหรือสัตว์ซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ การโฆษณาลักษณะนี้จะถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษทั้งจำทั้งปรับฐานโฆษณาฝ่าฝืน พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ภก.ประพนธ์กล่าวอีกว่า จะมีการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการจดแจ้งจริงหรือไม่ และต้องตรวจสอบด้วยว่าเคยมีการจดแจ้งขอใช้อสุจิแซลมอนเพื่อเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหรือไม่ และมีการผสมในผลิตภัณฑ์นั้นจริงหรือไม่ หากไม่มีการผสมลงไปจริงก็เข้าข่ายโฆษณาเท็จ ส่วนเรื่องความปลอดภัยของตัวอสุจิแซลมอนนั้น เนื่องจากยังไม่เคยมีการจดแจ้งเรื่องการใช้อสุจิแซลมอนเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางมาก่อน จึงต้องมีการตรวจสอบอีกครั้ง ด้าน นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน แต่แนะนำว่าหากผลิตภัณฑ์ใดที่ยังไม่ทราบที่ไปที่มาอย่างไรก็ไม่ควรใช้ เพราะผิวของแต่ละคนจะมีความไวแตกต่างกัน หากจะใช้ต้องพิจารณาว่าได้รับการรับรองจาก อย.หรือไม่std48009• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยโทรศัพท์ปลอมมือถือก็อปมักจะมีราคาถูกผิดวิสัย จุดแรกที่สังเกตได้ง่ายๆ คือราคา มือถือก็อปจะมีราคาที่ถูกกว่าปกติมาก อาจถูกกว่ากันถึง 80% ยกตัวอย่างเช่น iPhone 12 Pro Max ที่ขายบน Shopee ในราคา 4,950 บาท ทั้งที่ราคากลางอยู่ที่ 36,900 บาท ใครที่เห็นแก่ของถูก หรือไม่รู้ราคาจริง ก็จะหลงกลได้ง่ายๆ จริงๆ แล้วจุดนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่เรามีสติและพิจารณาดูสักนิด เราจะเห็นได้ทันทีว่าไม่มีใครกล้าเอา iPhone 12 Pro Max ราคา 36,900 บาทมาขายในราคาไม่ถึง 5,000 บาทอยู่แล้ว ต่อให้เป็นเครื่องมือสองสภาพผ่านสงครามก็ยังไม่ได้ราคานี้ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น iPhone 12 Pro Max ที่ว่านี้ ต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากลแน่นอน อย่างไรก็ตาม มือถือที่ราคาถูกกว่าราคากลาง อาจไม่ใช่มือถือปลอมเสมอไป บางร้านอาจขายมือถือเครื่องแท้ได้ในราคาที่ถูกกว่าร้านอื่นราวๆ 500 - 2,000 บาท ด้วยเหตุผลบางอย่าง เช่น ไม่มีของแถมให้, เครื่องมีตำหนิตั้งแต่แกะกล่อง, ล้างสต็อก, เร่งยอดขายประจำเดือน หรือเป็นโปรโมชันตามช่วงเทศกาล เป็นต้น หรือถ้าเป็นช่วง Flash Sale อาจมีการลดราคามากถึง 50% ขึ้นไป ดังนั้นเราจึงมีโอกาสซื้อมือถือเครื่องแท้ในราคาที่ถูกกว่าปกติได้ในบางโอกาส แต่ไม่ว่าอย่างไรก็จะไม่มีทางถูกแบบหั่นราคาลงมา 80-90% แน่นอนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47982• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่! คนแก่กินปาท่องโก๋ใส่แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ไตทำงานหนักเรื่อง คนชรากินปาท่องโก๋ที่ใส่แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ทำให้ไตทำงานหนัก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอนามัย หน่วยงานสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ เพราะแอมโมเนียมไบคาร์บอเนตไม่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เมื่อผู้สูงอายุรับประทานเข้าไปจึงไม่ได้ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับส่วนประกอบของปาท่องโก๋ จะมีสารที่นิยมใช้ในการทำให้ขึ้นฟู 3 ชนิด ช่วยให้ปาท่องโก๋กรอบพองฟู โดยสารแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการทำให้เกิดการขึ้นฟูในขั้นตอนที่ต่างกัน ได้แก่std48450• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยคุมเข้มโฆษณาไม่ตรงปก ดูเลยคำไหนห้ามใช้ ฝ่าฝืนมีโทษหนักทั้ง ปรับ-จำคุกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพื่อให้การโฆษณาสินค้าเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ไม่ใช้คำอวดอ้างสรรพคุณที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ รวมถึงสาระกฎหมายมีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์สื่อที่มีหลายช่องทาง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เรื่อง แนวทางการใช้ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์ และแนวทางการพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณา พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 ม.ค. 66 ซึ่งมีสาระสำคัญ อาทิ การใช้ข้อความโฆษณาไม่ว่าจะกระทำทางสื่อโฆษณาใดก็ตาม จะต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็น ฟัง หรืออ่านได้ชัดเจนตามประเภทของสื่อโฆษณา ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ถ้าข้อความโฆษณาทำเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับข้อความที่เป็นสาระสำคัญด้วยทุกครั้งstd47989• 1 ปีที่แล้ว
- 4 คนสงสัยอย่าแชร์! หายใจให้ถูกวิธีจะช่วยลดอาการข้อเท้าบวมจากกรณีที่มีผู้โพสต์คลิปให้ความรู้ว่า การหายใจโดยนั่งตัวตรงหรือยืนตรง และเริ่มหายใจออกก่อนโดยโน้มตัวไปข้างหน้า แล้วหายใจเข้าโน้มตัวกลับขึ้นมา ทำแบบนี้ไป 20 – 30 ครั้ง จะช่วยลดอาการข้อเท้าบวม ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการที่คลิปกล่าวถึงเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงทางการแพทย์ หรือก็คือ วิธีการหายใจตามคลิปนั้น ไม่มีความสัมพันธ์ทั้งทางทฤษฎี หรือทางรายงานการวิจัยกับการลดการบวมของข้อเท้า ทั้งจากการบวมน้ำ การอุดกั้นของหลอดเลือดดำที่ขา หรือจากการอักเสบของข้อเท้าแต่อย่างใดยาสมุนไพรลดความอ้วนstd48011• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยคนชรากินปาท่องโก๋ที่ใส่แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ทำให้ไตทำงานหนักเรื่อง คนชรากินปาท่องโก๋ที่ใส่แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ทำให้ไตทำงานหนัก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอนามัย หน่วยงานสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ เพราะแอมโมเนียมไบคาร์บอเนตไม่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เมื่อผู้สูงอายุรับประทานเข้าไปจึงไม่ได้ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับส่วนประกอบของปาท่องโก๋ จะมีสารที่นิยมใช้ในการทำให้ขึ้นฟู 3 ชนิด ช่วยให้ปาท่องโก๋กรอบพองฟู โดยสารแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการทำให้เกิดการขึ้นฟูในขั้นตอนที่ต่างกันstd48450• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสเปรย์พ่คอป้องกันโควิดสภาองค์กรของผู้บริโภค เตือนอย่าหลงเชื่อโฆษณา ‘สเปรย์พ่นคอ’ อ้างป้องกันเชื้อโควิด19 ด้าน อย. ระบุแล้วเป็นโฆษณาเกินจริง มีข้อความไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคstd48009• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสบู่เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 19 ก.ค. 2562 ที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) พ.ต.อ.ไพฑูรย์ พลูสวัสดิ์ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.ปคบ. พร้อมด้วย พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ ผกก.กก.4 บก.ปคบ. เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. และเจ้าหน้าที่อย. ร่วมกันแถลงผลตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง 2 ชนิด ได้แก่ แผ่นแปะสะดือเผาผลาญไขมัน อ้างว่าสามารถช่วยปรับสมดุลการเผาผลาญไขมัน และสบู่นมเด้ง (สบู่นมตึงจนผัวทัก) เพิ่มเนื้อนมให้ดูอวบอิ่ม ผิวขาวกระจ่างใส ยึดของกลางร่วมหลักหมื่นชิ้น มูลค่ากว่า 1.2 ล้านบาทstd48002• 1 ปีที่แล้ว
- 3 คนสงสัยดื่มน้ำมะนาวร้อน” ฆ่าโควิดย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2563 ประเด็นเรื่อง ดื่มน้ำมะนาวร้อน ช่วยต้าน โควิด-19 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ โดยระบุว่า จากที่มีการโพสต์ข้อความว่า ดื่มน้ำมะนาวร้อนทุกวัน จะช่วยต้าน โควิด-19 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ให้ข้อมูลว่า น้ำมะนาว มีวิตามินซีช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่สามารถยืนยันได้ว่าน้ำมะนาวร้อนสามารถฆ่าเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้std47996• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสบู่เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีที่มีการโฆษณาขายสบู่อ้างว่ามีการผสมอสุจิแซลมอนเพื่อช่วยให้ผิวขาว ว่า ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องสำอาง ฉบับที่ 2 ห้ามโฆษณาเครื่องสำอางไปในลักษณะอวดอ้างสรรพคุณว่าทำให้ผิวขาว หรือมีการเปลี่ยนสีผิว ดังนั้น ไม่ว่าจะได้มาจากส่วนใดของพืชหรือสัตว์ซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ การโฆษณาลักษณะนี้จะถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษทั้งจำทั้งปรับฐานโฆษณาฝ่าฝืน พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558ภก.ประพนธ์กล่าวอีกว่า จะมีการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการจดแจ้งจริงหรือไม่ และต้องตรวจสอบด้วยว่าเคยมีการจดแจ้งขอใช้อสุจิแซลมอนเพื่อเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหรือไม่ และมีการผสมในผลิตภัณฑ์นั้นจริงหรือไม่ หากไม่มีการผสมลงไปจริงก็เข้าข่ายโฆษณาเท็จ ส่วนเรื่องความปลอดภัยของตัวอสุจิแซลมอนนั้น เนื่องจากยังไม่เคยมีการจดแจ้งเรื่องการใช้อสุจิแซลมอนเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางมาก่อน จึงต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งด้าน นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน แต่แนะนำว่าหากผลิตภัณฑ์ใดที่ยังไม่ทราบที่ไปที่มาอย่างไรก็ไม่ควรใช้ เพราะผิวของแต่ละคนจะมีความไวแตกต่างกัน หากจะใช้ต้องพิจารณาว่าได้รับการรับรองจาก อย.หรือไม่std48002• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็งเม็ดไข่มุกบางยี่ห้อจากไต้หวันนั้นมีสารสไตรีน และสารกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง จากที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไต้หวันได้มีการตรวจสอบแล้ว ไม่พบว่ามีสารสไตรีน (Styrene) แต่พบสารอะซิโตฟีโนน (Acetophenone) และสารประกอบกลุ่มโพลีโบรมีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polybrominated Biphenyl ; PBBs) ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก แต่ไม่ใช่สารประกอบกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) จึงไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งอย่างที่ได้มีการแชร์std48466• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเตรียมรับมือพายุอินเดียเข้าไทย ทุกภูมิภาคระวังน้ำท่วมใหญ่ ในช่วงวันที่ 3 – 8 ก.ค. 66ผู้ส่งต่อข่าวสารว่า พายุอินเดียเตรียมเข้าไทย ครอบคลุมทุกภูมิภาค ฝนตกหนักมาก 80% ของพื้นที่ ชุ่มฉ่ำทั่วไทย 77 จังหวัด ระวังน้ำท่วมใหญ่ ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เป็นข้อมูลที่มิได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา หากมีพายุเกิดขึ้นจริงและมีผลกระทบกับประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศให้ทราบอย่างน้อย 3 วันstd48460• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเรื่องโม้ๆ เกี่ยวกับการแพทย์และวิทยาศาสตร์ว่าด้วยกัญชากัญชาเป็นหนึ่งในพืชที่เป็นประเด็นโต้เถียงกันมายาวนาน จึงไม่น่าแปลกใจที่มันจะเป็นต้นเหตุของเรื่องหลอกลวง ตำนานเล่าขานที่ปั่นกันขึ้นมา และข่าวปลอมมากมาย ทั้งหมดล้วนแต่ส่งผลกระทบในด้านใดด้านหนึ่งต่อการรับรู้ของสาธารณชนต่อการใช้กัญชาและสถานะของมัน ต่อไปนี้คือ "เรื่องโม้ๆ" ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และการแพทย์ของกัญชา ที่แพร่หลายในต่างประเทศ (และอาจกระทบต่อทัศนะของคนไทยเราด้วย) 1. เรื่องโกหกเกี่ยวกับบริษัทมอนซานโตตัดแต่งพันธุกรรมกัญชา มีเรื่องหลอกลวงแพร่ทางอินเทอร์เน็ตในปี 2015 โดยอ้างว่าบริษัท Monsanto กำลังสร้างกัญชาดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อจัดหากัญชามากพอป้อนให้กับอุตสาหกรรมกัญชา (1) เรื่องหลอกลวงนี้สร้างขึ้นโดยเว็บไซต์ข่าวปลอมเสียดสี World News Daily Report เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2015 ซึ่ง Monsanto ตอบโต้ด้วยการ "การปฏิเสธแบบหัวชนฝา" ผ่านเว็บ "Myths About Monsanto" ที่คอยแก้ข่าวปลอมและเรื่องโกหกเกี่ยวกับบริษัท ซึ่งมักจะถูกโจมตีว่าทำการตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อสนองตอบอุตสาหกรรมเกษตร แม้ว่ามันจะเป็นข่าวปลอม แต่สร้างความตื่นตูมให้กับวงการกัญชาอย่างมาก เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับกัญชา High Times รายงานว่า "นักวิทยาศาสตร์กำลังทำงานเพื่อสร้างแผนที่โครงสร้าง DNA ที่สมบูรณ์ของต้นกัญชา เพื่อป้องกันบริษัทเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรรายใหญ่ เช่น Monsanto จากการได้รับสิทธิบัตรเฉพาะสำหรับสายพันธุ์เฉพาะ" (2) สะท้อนว่า แม้จะเป็นข่าวปลอม แต่ "ชื่อเสียง" ของบริษัท Monsanto ทำให้เกิดความกังวลว่ากัญชาอาจถูกรวบหัวรวบหางโดยอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อผูกขาดสายพันธุ์และผูกขาดการผลิต เพราะมันกำลังเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างเงินมหาศาล 2. เรื่องหลอกลวงเกี่ยวกับการทดลองกัญชาของนาซา การทดลองกัญชาของนาซาเป็นเรื่องหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตในปี 2559-2561 โดยอ้างถึงบันทึกการจ่ายเงิน 18,000 ดอลลาร์ของนาซาแก่อาสาสมัครเพื่อทำการทดลองนอนบนเตียงและให้กัญชาสูบระหว่างการทดลองเป็นเวลา 3 เดือน (หรือ 70 วัน) โดยได้เงิน 18,000 ดอลลาร์ (3) แต่นาซายืนยันว่าได้ทำการทดลองการนอนบนเตียงจริง แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกัญชา แต่เรื่องหลอกลวงนี้อาจมีที่มามาจากข่าวจริงในปี 2557 โดยคอลัมนิสต์ของสำนักข่าว VICE ชื่อ แอนดรูว์ อิวานิชกิ (Andrew Iwanicki) ซึ่งเขาได้บันทึกประสบการณ์ของเขาในฐานะผู้เข้าร่วมการทดลองการนอนของนาซา เรื่องปลอมนี้ดูเหมือนจะไม่มีพิษภัยอะไร และสื่อที่แก้ข่าสค่อนข้างจะให้น้ำหนักกับมันในฐานเรื่องตลกขบขันหรือข่าวสัพเพเหระเสียมากกว่า 3. ดาวเคราะห์แห่งกัญชา Planet X637Z-43 อีกครั้งที่นาซาเข้ามาเกี่ยวข้องกับข่าวปลอมเรื่องกัญชา คราวนี้ยิ่งหลุดโลกกันไปใหญ่ Planet X637Z-43 เป็นการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตในปี 2558 โดยอ้างว่าเป็นเอกสารการค้นพบโดยนาซาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ปกคลุมไปด้วยกัญชา สันนิษฐานว่าเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ 715 ดวงที่ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ในปี 2557 เรื่องราวเกิดขึ้นจากเว็บไซต์ข่าวปลอม NewsWatch28 เนื้อหาของข่าวปลอมอ้างว่ามีการค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่พบอุกกาบาตที่มีร่องรอยของ THC หรือ Tetrahydrocannabinol (สารสำคัญในกัญชา) ถูกพบในทะเลทรายเนวาดาในปี 2553 เว็บไซต์ notallowedto.com รายงานเป็นตุป็นตะว่า “การค้นพบ THC บนเศษอุกกาบาตจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์ หากสารเคมีที่เปลี่ยนการทำงานของสมองและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ อารมณ์ หรือจิตสำนึกของมนุษย์ มีที่มาจากอวกาศแล้วจะมีบทบาทอย่างไร มีผลกระทบทางดาราศาสตร์ต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์หรือไม่ หรือกับชีวิตบนโลกโดยรวม การค้นพบนี้ทำให้เรามีคำถามมากกว่าคำตอบ" (4) แน่นอนว่า คำตอบที่ชัดเจนที่สุดคือมันไม่ต้องตอบ เพราะมันคือเรื่องโม้ขึ้นมา 4. กรณี Marlboro M เรื่องนี้เกิดจากบทความที่อ้างว่า Philip Morris USA เจ้าของบริษัทยาสูบ Marlboro กำลังเปิดตัวบุหรี่กัญชาแนวใหม่ที่เรียกว่า Marlboro M ในรัฐโคโลราโดและรัฐวอชิงตัน แม้ว่าบทความนี้จะเป็นเรื่องปลอม แต่บทความนี้มีพื้นฐานข้อเท็จจริงบางประการ เนื่องจากบริษัทยาสูบนี้ได้แสดงความสนใจในกัญชามาตั้งแต่ปี 1970 (5) ในขณะที่บทความได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบทความปลอม แต่คำกล่าวอ้างของบทความได้รับความเชื่ออย่างกว้างขวางเนื่องจาก มันเป็นความจริงที่บริษัทยาสูบต่างๆ ซึ่งรวมถึง Philip Morris สนใจกัญชาในฐานะผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดและอาจลงทุนในอุตสาหกรรมกัญชา ความสนใจนี้มีมานานก่อนที่กฎหมายระบุให้กัญชาเป็นสิ่งเสพติดในหสรัฐอเมริกา (และที่อื่นๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายสิ่งเสพติดของอเมริกัน) จะมีผลบังคับใช้อย่างรวดเร็ว หลังการทำให้กัญชาไม่เป็นอาชญากรรม/ถูกฎหมายแล้ว มีรายงานว่า บริษัทยาสูบบางแห่งได้เริ่มลงทุนในการวิจัยกัญชาทางการแพทย์ รวมถึงการเข้าร่วมกับบริษัทการลงทุนเมล็ดพันธุ์กัญชา แม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะไม่ได้ไปไกลถึงขั้นแนะนำบุหรี่กัญชาเข้าสู่ตลาดก็ตาม (6)ยาสมุนไพรstd48466• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยตลท.ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือนจากกรณีที่มีผู้โพสต์เชิญชวนโดยระบุว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้เชิญชวนลงทุนหุ้นโดยให้รับเงินปันผล 30,000 บาทต่อเดือนแต่อย่างใด และเพจดังกล่าวที่ลงโฆษณานั้นมีการแอบอ้างชื่อ โลโก้ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยstd48452• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอันตรายที่คาดไม่ถึงของข่าวปลอมเรื่องมะเร็งวิทยา มะเร็งคือโรคที่ทำให้ชาวโลกเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคหัวใจ ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งถึง 18 ล้านคน (จากตัวเลขปี 2562) (1) และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 15.7% มะเร็งเป็นที่ทำให้ผู้คนหวาดกลัวมากที่สุดโรคหนึ่งและทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกว่าเมื่อเป็นมะเร็งแล้วเหมือนกับถูกพิพากษาประหารชีวิตให้ตายทั้งstd48061• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกราโนล่า” คุณค่าสูงแต่ไม่ช่วยให้ลดน้ำหนักการลดน้ำหนักเป็นกระแสสนใจของผู้นักสุขภาพจำนวนมาก อาหารประเภทที่อิ่มท้องแต่ไม่เพิ่มหนักจึงได้รับความสนใจอย่างมาก และหนึ่งในข้อมูลที่มีการเผยแพร่กันในแวดวงผู้รักสุขภาพอย่างหนึ่งก็คือ ‘กราโนล่า’ คืออาหารที่เหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งเป็นความเชข้าใจที่ผิดstd48061• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสื่ออาเซียนเผย “Fake News” เกี่ยวกับ "โควิด-19" หลายครั้ง “รัฐ” เผยแพร่เองนักข่าวฟิลิปปินส์ - อินโดฯ – มาเลย์ ย้ำบทบาท “สื่อ” สำคัญ ยุติข่าวปลอม ห่วงรัฐบาลอาศัยอำนาจพิเศษละเมิดสิทธิ์ประชาชนช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด วันที่ 14 เม.ย. ที่ผ่านมา ภาคประชาสังคม และกลุ่ม CoFact หรือ Collaborative Fact Checking แพลตฟอร์มใหม่ของภาคพลเมืองในการตรวจสอบข่าวลวง ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง How to handle Covid-19 infodemic in Asia? หรือ จะรับมือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโควิด – 19 ในเอเชียได้อย่างไร โดยมีสื่อมวลชนจากหลายประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การรายงานข่าว และการรับมือกับข่าวปลอมในช่วงการระบาดของโรคโควิด – 19 ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เอนดี บายูนี (Endy Bayuni) บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า สถานการณ์ “ข่าวปลอม” ในรอบนี้ในอินโดนีเซีย ถือว่าไม่รุนแรงเท่ากับการเลือกตั้ง หรือเรื่องการเมืองที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องของความแตกแยก การใส่ร้ายป้ายสี และความรุนแรง โดยในรอบนี้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรคแบบแปลกๆ หรือข่าวปลอมเรื่องอาสาสมัครที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ซึ่งไม่เป็นความจริงเท่านั้น ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซีย ระบุว่ามีข่าวปลอมทั้งหมด 1,096 ชิ้น ได้ขอให้เฟซบุค นำข่าวปลอมออกทั้งหมด 759 โพสต์ แต่ในที่สุด เฟซบุค ได้เอาออกทั้งหมด 303 ข่าวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่เฟซบุค แต่อยู่ที่แอปพลิเคชันที่เป็นการส่งข้อความแบบ Instant Messaging ระหว่างบุคคล อย่าง Whatsapp มากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อยู่เหนือการควบคุมของรัฐบาล และมักจะเป็นตัวกลางชั้นดีในการกระจายข่าวปลอม นอกจากนี้ เอนดี ยังได้แสดงความกังวลว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้อาศัย “อำนาจพิเศษ” ในช่วงภัยพิบัติ ซึ่งรัฐบาลมีอำนาจเต็มมากกว่าห้วงเวลาปกติ ในการจับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล โดยเมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมา ตำรวจได้จับตัวชายคนหนึ่ง ในข้อหาปลุกระดม สร้างความวุ่นวาย และในหลายครั้ง รัฐบาลอินโดนีเซียเองก็แชร์ “ข่าวปลอม” เพื่อสร้างความเชื่อมั่น หรือสร้างผลดีให้กับรัฐบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่าประเมินสถานการณ์ต่ำไป รวมถึงรับมือได้ไม่ดีนัก จนทำให้โควิด-19 ระบาดหนักในอินโดนีเซีย จนมีอัตราตาย 8.7% สูงที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะฉะนั้น ช่วงเวลานี้ การทำหน้าที่สื่อมวลชนจึงสำคัญมากในการตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบข่าวลวง - ข่าวปลอม รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ และในอีกแง่หนึ่งก็ต้องตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลตามไปด้วย ขณะที่อดัม คูเปอร์ (Adam Cooper) ผู้จัดการอาวุโสศูนย์ประสานงาน การพูดคุยเพื่อมนุษยธรรม (Centre for Humanitarian Dialogue) กล่าวว่า การไหลเวียนของข่าวลวงจำนวนมาก ทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย จัดการกับข่าวลวงไม่ไหว อย่างไรก็ตาม ได้เห็นความพยายามในการมีส่วนร่วมจัดการข่าวลวงเช่นกัน ยกตัวอย่าง ในสหรัฐอเมริกาเอง หากเปิดกูเกิล หรือเฟซบุค ข่าวเกี่ยวกับโควิด-19 จากสำนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือจากองค์การอนามัยโลกที่เชื่อถือได้ จะขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ หรือในยูเครน องค์การอนามัยโลก ก็มี Chatbot ไว้ตอบคำถามเป็นภาษารัสเซีย ซึ่งสามารถจัดการกับข่าวปลอม และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องได้พอสมควร แต่ที่เป็นปัญหาก็คือ ในประเทศที่รัฐขาดความชอบธรรม และความน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลข่าวสารที่มาจากรัฐเองจะขาดความน่าเชื่อถือตั้งแต่ต้น และข่าวสารใดๆ ที่รัฐแถลงออกมา ประชาชนจะไม่เชื่อ และไม่ทำตาม ซึ่งตรงนี้ ภาคประชาสังคม จะมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบที่มาข่าว และเผยแพร่ข้อเท็จจริงเป็นวงกว้าง โดยภาคประชาสังคม จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในสถานการณ์แบบนี้ อดัม กล่าวอีกว่า ความท้าทายอีกอย่างก็คือ มีความ “อคติ” เรื่องเชื้อชาติ - ศาสนา อยู่มากพอสมควร ในโซเชียลมีเดีย เช่น การบอกว่าพิธีกรรมทางศาสนา เป็นตัวกระจายการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งจุดนี้ ภาคประชาสังคม และกลุ่มตรวจสอบข่าวลวง อาจต้องสื่อสารหนักขึ้นเพื่อลดอคติ และความเข้าใจผิด ไม่ให้เกิดความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ - ศาสนา ในเวลาแบบนี้std48079• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเช็คกระแสข่าวปลอม 2564 ‘เศรษฐกิจ-การเมือง’ ดันเข้าสู่ Cyber Crimeตลอดทั้งปีที่ผ่านมานอกจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่ทำให้คนทั่วโลกได้รู้จักกับโรคอุบัติใหม่ซี่งสามารถติดต่อจากคนสู่คนไปอย่างรวดเร็ว สถานการณ์แพร่ระบาด และมาตรการควบคุมโรค ส่งผลให้เกิดข้อสงสัย ความไม่ชัดเจน ซึ่งทำให้การส่งต่อ หรือเผยแพร่ข้อมูลเรื่องโควิด-19std48061• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยนํ้าท่าว จ ตรังฝนตกหนักทำน้ำท่วมตรังในพื้นที่ หมู่ 3 ต.นาโต๊ะหมิง อ.เมือง กระทบกว่า 60 หลังคาเรือน ผู้ใหญ่บ้าน เผยหนักสุดในรอบ 18 ปีนับจากน้ำท่วมเมื่อปี 2548 เร่งย้ายคนป่วยติดเตียงขึ้นที่สูงไว้ก่อน คาดหากฝนไม่ตกเพิ่มอีกคงคลี่คลายstd48078• 1 ปีที่แล้ว
- 11 คนสงสัยเปิดตัว“โคแฟค” ตัดวงจรข่าวลวงที่ระบาดมากับโควิด-19สสส.จับมือ ภาคีป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง เปิดตัวเว็บไซต์-Chatbot “โคแฟค” ชวนสังคมค้นหาข่าวจริง ตัดวงจรข่าวลวงที่ระบาดมากับโควิด-19 ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้มาพร้อมกับการระบาดของข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดข่าวลวงข่าวปลอมแพร่กระจายในสื่อไปทั่วโลก รวมทั้งในไทย สร้างความเข้าใจผิด ๆ ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคระบาด และความปลอดภัยของประชาชน สสส. ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ChangeFusion Wisesight Open Dream Center for Humanitarian Dialogue (HD) มูลนิธิ Friedrich Naumann Foundation for Freedom (FNF) สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และองค์กรวิชาชีพสื่อ นำร่องกลไกภายใต้โครงการโคแฟค (Collaborative Fact Checking : Cofact) เปิดพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านเว็บไซต์ cofact.org และโปรแกรมการพูดคุยอัตโนมัติ (Chatbot) ไลน์ @cofact เพื่อร่วมตรวจสอบข่าวลวงด้านสุขภาพ โดยเฉพาะประเด็นโควิด-19 เป้าหมายสำคัญ คือ การทำให้ทุกคนเปิดรับสื่ออย่างรู้เท่าทัน ร่วมตรวจสอบข่าว นำมาสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะเท่าทันสื่อของพลเมืองดิจิทัล ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อร่วมสร้างระบบนิเวศสื่อและสังคมสุขภาวะstd48079• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอย. ห้ามผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาอ้างรักษามะเร็งนพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งในปัจจุบัน โดยระบุว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีstd48063• 1 ปีที่แล้ว