14120 ข้อความ
- 1 คนสงสัยความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ – แบมือความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ – แบมือ ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลที่กล่าวถึงเรื่องข้างต้น เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง กล่าวคือ การกำมือและแบมือดังข้อความที่พูดถึงนั้น ไม่มีผลทางการแพทย์ที่สามารถอธิบายหรือยืนยันได้ว่า วิธีการดังกล่าวจะสามารถลดความดันโลหิตได้แอคปลอมsarocha082549• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอย.ย้ำข่าวยาพาราปนเปื้อนไวรัส ไม่เป็นความจริงภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อออนไลน์โดยอ้างถึงสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง เผยแพร่ข่าวห้ามกินยาพาราเซตามอล ที่มีชื่อว่า P/500 เพราะมีไวรัสแมคชูโปปนเปื้อน มีอันตรายถึงตายนั้นAungvara Moungngam• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยถ่ายภาพในสถานีรถไฟหัวลำโพง ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้นตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องถ่ายภาพในสถานีรถไฟหัวลำโพง ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd46672• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7 วันโดยเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ให้ข้อมูลว่า โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้นครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับภายนอกร่างกายของมนุษย์ รวมถึงฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อความสะอาด ความสวยงาม แต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ทำให้ดั้งโด่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณที่โกหก เพราะครีมหรือเซรั่มเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกเท่านั้นอย. เพิกถอนstd46341• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยห้ามผู้ป่วยมะเร็งกินปลาหมึก หอย ปลาที่เลี้ยงในกระชังแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องผู้ป่วยมะเร็งควรงดปลาหมึก หอยทุกชนิด และปลาที่เลี้ยงในกระชังชอบ ชาเขียว• 2 ปีที่แล้ว
- 3 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมจัดหางานร่วมกับภาคเอกชน เปิดรับสมัครงาน ผ่านเพจบริษัทจัดหางานออนไลน์กรณีที่มีการโฆษณาข้อมูลว่า กรมจัดหางานร่วมกับภาคเอกชน เปิดรับสมัครงาน ผ่านเพจบริษัทจัดหางานออนไลน์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ ตามที่มีข่าวสารเผยแพร่เกี่ยวกับกรมการจัดหางานร่วมกับภาคเอกชน เปิดรับสมัครงานตำแหน่งโปรโมทสินค้าและผลิตภัณฑ์ ผ่านเพจบริษัทจัดหางานออนไลน์ ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า ภาพประกาศรับสมัครงานที่มีข้อความเชิญชวนทำงาน และมีการใช้ตราสัญลักษณ์กรมการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง กรมการจัดหางานตรวจสอบพบว่า ข้อความดังกล่าวมิได้มาจากส่วนราชการของกรมการจัดหางาน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หากพบเห็นข้อความดังกล่าวโปรดอย่าหลงเชื่อ เพราะอาจมีการขอข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในทางมิชอบ หรืออาจถูกหลอกลวงจนเกิดความเสียหายstd46678• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยผักกระสังรักษามะเร็งเต้านมการแอบอ้างสรรพคุณของผักกระสังว่าช่วยรักษามะเร็งเต้านม ด้วยการใช้ผักกระสัง นำมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปแปะ หรือทาที่ใต้ราวนม จะช่วย รักษามะเร็งเต้านมได้นั้นจึงเป็น้อมูลเท็จManeewan Rotmala• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกรมพัฒนาธุรกิจฯ ร่วมกรมจัดหางาน รับสมัครจำกัดเพียง 100 ท่านตามที่มีข่าวสารเผยแพร่เกี่ยวกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าร่วมกับกรมการจัดหางาน รับสมัครคนสร้างรายได้บนตลาด ONLINE จำกัด 100 ท่าน รายได้ 500 บาทต่อวัน ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า ภาพประกาศรับสมัครงานที่มีข้อความเชิญชวนทำงาน และมีการใช้ตราสัญลักษณ์กรมการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตstd46634• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติketsuda070449• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยวัคซีนเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอมนุษย์ข่าวลือนี้ถูกพูดถึงกันมากเป็นพิเศษสำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี 2 ชนิดคือ mRNA เช่น วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา (Moderna) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่นำรหัสพันธุกรรมส่วนเล็กๆ ของไวรัสมาใช้กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน กับ Viral Vector เช่น วัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ใช้วิธีฝากสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ไปกับไวรัสชนิดอื่น แต่เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ด้วยข้าว'ว ปุ้น• 2 ปีที่แล้ว
- 4 คนสงสัยเส้นสีขาวในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธิจากกรณีมีผู้โพสต์เตือนภัยเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่า กระเพาะหรือเส้นขาว ๆ ของหอยแมลงภู่เป็นแหล่งรวมของหนอนพยาธิ ควรหลีกเลี่ยงรับประทานแม้ปรุงสุก ทางสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เส้นสีขาว ๆ ยาว ๆ คล้ายตัวพยาธิที่พบ แท้จริงเป็นลำไส้หอย ไม่ใช่พยาธิอย่างที่เข้าใจ ซึ่งหอยแมลงภู่เป็นหอยสองฝา อยู่ในไฟลัมมอลลัสคา สีของเปลือกเปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า เกสร หรือ ซัง โดยในหอยส่วนใหญ่สามารถพบจุลินทรีย์ก่อโรคได้แก่ เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเชื้อชนิดนี้ มีระยะฟักตัว 4 – 96 ชั่วโมง หลังจากได้รับเชื้อจากการกินอาหาร แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการจะเกิดประมาณ 15 ชั่วโมง หลังได้รับเชื้อผู้ที่ได้รับเชื้อจะเกิดอาการท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว มีไข้ จึงควรล้างทำความสะอาดให้ดีและนำมาปรุงสุกด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงก่อนรับประทานผู้บริโภคเฝ้าระวังbmuild• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยบุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน ผงะครีมปลอม กวนเอง ส่งขายต่างจังหวัด นาน 4 ปีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา พ.ต.อ.ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. พร้อม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้นเข้าค้นบ้านเลขที่ 2708 พระราม 2 ซอย 47 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ หลังรับแจ้งว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องสำอางเถื่อน และจำหน่ายเครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่เกิดเหตุเป็นบ้านปูน 2 ชั้น ชั้นล่าง 1 ห้อง ชั้นบน 2 ห้อง ถูกแบ่งเป็นห้องกวนครีม พบสารสเตียรอยด์ ยาแก้อักเสบ ครีมเบส สีไม่ทราบชนิด หัวน้ำหอม และเครื่องกวนครีมพร้อมนำมาผสม ส่วนอีกห้องเป็นห้องสำหรับบรรจุครีม มีกระปุกครีมจำนวนมาก มีพนักงานกำลังกวนครีม 4 คน และเจ้าของบ้าน ทราบชื่อ น.ส.พาณี ปิตโต อายุ 52 ปีstd46675• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยตำรับยาสมุนไพร ดื่มรักษาโรคมะเร็งปอดตามที่ได้มีบทความชวนเชื่อเรื่องตำรับยาสมุนไพร ดื่มรักษาโรคมะเร็งปอด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีคำแนะนำสุขภาพให้ดื่มน้ำต้มทองพันชั่ง ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ตังกุยจี้ รากชะเอม พลูคาว และกะเม็งตัวเมีย เพื่อรักษามะเร็งปอด ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่า สมุนไพรตามที่กล่าวอ้างช่วยรักษาโรคมะเร็งปอดในมนุษย์ได้ โดยจากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการพบว่าอาหารในกลุ่มพืชผักสมุนไพรอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารไตรเทอร์ปีนอยด์ สารฟีนอลิกส์ สารฟลาโวนอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ สารต้านอนุมูลอิสระอาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา ผู้ป่วยควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์wanphon.31• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยขึ้นบัญชี "ไซบูทรามีน" วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทร้ายแรงอย. ขึ้นบัญชี "ไซบูทรามีน" เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 โดยจะปรับเพิ่มโทษ ทั้งผู้ผลิต นำเข้า และจำหน่าย ให้มีโทษสูงสุดที่จำคุก 20 ปี และปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า อาจมีผลบังคับใช้ใน ก.ย.นี้ วันนี้ (29 ส.ค.2561) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ยกร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยกระดับการควบคุมสารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมาไม่อนุญาตให้มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยแล้ว แต่กลับพบว่า มีการลักลอบนำเข้ามาผสมในผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่อ้างว่าช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วน จนเกิดอันตรายกับผู้ใช้ ซึ่งขณะนี้ได้ยกร่างเสร็จและเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาลงนามแล้ว เบื้องต้น คาดว่าจะสามารถลงนามและมีผลบังคับใช้ได้ในเดือน ก.ย.นี้ นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. ระบุว่า ร่างประกาศดังกล่าวได้ยกระดับไซบูทรามีน จากยาอันตรายให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 ที่ระบุว่า ห้ามผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือลอบนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สุขภาพ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกสูงสุด 20 ปี ปรับสูงสุด 2 ล้านบาท ซึ่งโทษรุนแรงขึ้นจากเดิมที่ควบคุมตาม พ.ร.บ. ที่จะปรับเพียง 2 แสนบาท จำคุก 2 ปี เท่านั้น สำหรับร่างประกาศนี้มีผลรวมไปถึงเรื่องของการโฆษณา และรีวีวผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ โดยหากมีการรีวิวผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารไซบูทรามีน เข้าข่ายหลอกลวง โอ้อวดเกินจริง จะมีความผิดตามโทษที่ปรับเพิ่ม และจะผิด พ.ร.บ.ยาด้วย โดยไม่สามารถอ้างว่ามีการตรวจสอบเลข อย.แล้ว จึงขอเตือนให้ผู้รีวิวสินค้ารอบคอบ ตรวจสอบให้ชัดเจน และขอให้ยื่นขออนุญาตจาก อย.ก่อน หากเป็นการรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆลดความอ้วนSirilawan Sukphithak• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่เพิ่มบำนาญผู้สูงอายุ 3,000 บาทผู้สูงอายุได้รับเงินบำนาญ 3,000 บาทหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ทางกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง ปัจจุบันรัฐบาลยังคงยึดระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่า ด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นรายเดือนตามช่วงอายุ – อายุ 60 – 69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาท/คน/เดือน – อายุ 70 – 79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/คน/เดือน – อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/คน/เดือน – อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/คน/เดือนแอคปลอมsarocha082549• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ – แบมือตามที่มีผู้เผยแพร่คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ – แบมือ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบโดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จยาสมุนไพรstd46672• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยผลิตภัณฑ์ D.U.D คืนความอ่อนเยาว์กลับไปได้ 20 ปี ใน 3 เดือนทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ D.U.D จดแจ้งเป็นเครื่องสำอาง สำหรับบำรุงผิว มีเลขที่ใบจดแจ้ง 12-1-6300050347 และจากการตรวจสอบเว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์ D.U.D ได้ระบุสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถฟื้นฟู คืนความอ่อนเยาว์ให้แก่ผิวหน้า ลบริ้วรอยทันตาเห็น ลดอายุลงไปจากเดิม 20 ปี ใน 3 เดือน และกล่าวอ้างว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเรียนจบด้านเภสัชศาสตร์ ซึ่งเป็นการแสดงข้อมูลที่เป็นเท็จ มีการโฆษณาด้วยข้อความที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค และโอ้อวดเกินจริง เนื่องจากเครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย ไม่สามารถทำให้สัดส่วนของรูปหน้าหรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากความเป็นจริงได้ นอกจากนี้ ยังพบมีการแอบอ้างชื่อบุคลากรทางการแพทย์ ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากห้องปฏิบัติการของศูนย์ศึกษาด้านผิวหนัง รับรองผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แต่แท้จริงแล้ว ไม่มีตำแหน่งทางการแพทย์ และศูนย์ฯ ดังกล่าวตามที่กล่าวอ้าง อีกทั้งไม่มีชื่อแพทย์ และเภสัชกรที่กล่าวอ้างในฐานข้อมูลเว็บไซต์ของแพทยสภา และสภาเภสัชกรรมแต่อย่างใดstd46671• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยไลน์บริการของ กฟภ. PEA E-Serviceตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องไลน์บริการของ กฟภ. PEA E-Service ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่พบข่าวสารถูกส่งต่อเกี่ยวกับไลน์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA E-Service นั้น ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เป็นการแอบอ้างโดยมิจฉาชีพ เนื่องจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่มีนโยบายให้บริการไลน์ (Line) ที่ชื่อ PEA E-Service แต่อย่างใดwanphon.31• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยบุกทลายโกดังอาหารเสริม เครื่องสำอางปลอมกลางกรุง ยึดของกลางกว่า 10 ล้านตำรวจ ปคบ. ร่วม อย. บุกทลายโกดังกระจายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และเครื่องสำอางปลอม ย่านปทุมวัน ยึดของกลางมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ชาวจีนแสดงตัวเป็นเจ้าของสถานที่และกิจการ ให้การปฏิเสธ อ้างไม่รู้ว่าเป็นสินค้าปลอมอย. เพิกถอนstd46414• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมจัดหางานร่วมกับภาคเอกชน เปิดรับสมัครงาน ผ่านเพจบริษัทจัดหางานออนไลน์ตามที่มีข่าวสารเผยแพร่เกี่ยวกับกรมการจัดหางานร่วมกับภาคเอกชน เปิดรับสมัครงานตำแหน่งโปรโมทสินค้าและผลิตภัณฑ์ ผ่านเพจบริษัทจัดหางานออนไลน์ ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า ภาพประกาศรับสมัครงานที่มีข้อความเชิญชวนทำงาน และมีการใช้ตราสัญลักษณ์กรมการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงAmonrat Maardlert• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยประเทศไทยขุดน้ำมันดิบได้มากกว่า 40% ของความต้องการใช้ แต่ต้องส่งออกเพราะไม่มีคลังเก็บน้ำมันที่กลั่นเกินตามที่ได้มีข่าวปรากฏในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในประเด็นเรื่องประเทศไทยขุดน้ำมันดิบได้มากกว่า 40% ของความต้องการใช้ แต่ต้องส่งออกเพราะไม่มีคลังเก็บน้ำมันที่กลั่นเกิน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จแอคปลอมnarapat8198• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอมอย่าแชร์! ผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิงทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีดาษลิงแต่อย่างใด โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้นketsuda070449• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยผลิตภัณฑ์น้ำมันว่านสมุนไพร ตราวินไพร์ด รักษากระดูกทับเส้น ปวดข้อ ปวดเข่า นิ้วล็อก เหน็บชา รูมะตอย ไหล่ยึด เส้นตึงเก๊าท์ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์น้ำมันว่านสมุนไพร ตราวินไพร์ด ตามที่ปรากฏดังกล่าวพบว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรส่วนประกอบของสมุนไพร โดยมีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คือ “รักษากระดูกทับเส้น ปวดข้อ ปวดเข่า นิ้วล็อก เหน็บชา รูมะตอย ไหล่ยึด เส้นตึงเก๊าท์” ซึ่งจากการสืบค้นในระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ไม่ได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวนี้bmuild• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยไต้หวันจับ 4 แรงงานไทยนำเข้ายาลดน้ำหนักผสมไซบูทรามีนแรงงานไทยในไต้หวันถูกจับกุม 4 คน หลังทางการตรวจพบนำเข้ายาลดน้ำหนักที่ผสมสารไซบูทรามีนจากไทย กรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวทาง Radio Taiwan International เกี่ยวกับแรงงานไทย 4 คน ถูกจับกุมที่ไต้หวัน หลังจากศูนย์ปราบปรามอาชญากรรม กรมสอบสวนคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติไต้หวัน ได้รับแจ้งจากสำนักงานศุลกากรนครไทจง ตรวจพบคนไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาลดน้ำหนักจากประเทศไทยที่มีส่วนผสมของสารไซบูทรามีน วันนี้ (25 พ.ค.2566) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า แรงงานทั้ง 4 คนเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนย่านหนานโถว ในไต้หวัน ขณะนี้ถูกปล่อยตัว รอพิจารณาคดีและส่งฟ้องศาล โดยทั้ง 4 คนให้ข้อมูลว่า ไม่ทราบว่าไซบูทรามีนเป็นสารต้องห้ามของไต้หวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ก.ย.2565 ไต้หวันกำหนดให้ “สารไซบูทรามีน” เป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 4 มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ระงับความอยากอาหาร แต่มีผลข้างเคียงคือทำให้ใจสั่น มีผลกระทบกับหลอดเลือดและระบบหัวใจ อาจทำหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้ ผู้นำเข้าและจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 12 ปี ปรับไม่เกิน 5,000,000 เหรียญไต้หวัน ซึ่งหลังจากนี้ กระทรวงแรงงานจะออกประกาศประชาสัมพันธ์ให้แรงงานที่ไปทำงานที่ไต้หวัน ทราบถึงข้อมูลห้ามนำเข้าไซบูทรามีน หรือสารที่มีส่วนประกอบ ขณะที่เภสัชกรสมพงษ์ อภิรมย์รักษ์ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า “ไซบูทรามีน” ในประเทศไทยจัดเป็นสารต้องห้าม อยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ห้ามใช้ทางการแพทย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อระบบหัวใจ ปัจจุบันหลายประเทศยกเลิกใช้สารชนิดนี้แล้ว แต่ก็พบว่ามักมีการแอบผสมในยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก เมื่อรับประทานในระยะยาวจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพลดความอ้วนSirilawan Sukphithak• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสเปรย์พ่นปากฟ้าทะลายโจร ตราวี เฟรช สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์วี เฟรช เม้าท์ สเปรย์ V FRESH MOUTH SPRAY ผลิตโดย บ. บิวตี้ คอสเมต จก. จดแจ้งไว้ว่าเป็นเครื่องสำอาง ประเภทสเปรย์ระงับกลิ่นปาก ใบรับจดแจ้งเลขที่ 65-1-6400022581 ผลิตภัณฑ์นี้เป็นเครื่องสำอาง ใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ไม่มีผลในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้ หากผู้บริโภคหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ เพื่อหวังผลในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอด อาจเสียโอกาสในการรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องstd46671• 2 ปีที่แล้ว