1 คนสงสัย
ขึ้นบัญชี "ไซบูทรามีน" วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทร้ายแรง
อย. ขึ้นบัญชี "ไซบูทรามีน" เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 โดยจะปรับเพิ่มโทษ ทั้งผู้ผลิต นำเข้า และจำหน่าย ให้มีโทษสูงสุดที่จำคุก 20 ปี และปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า อาจมีผลบังคับใช้ใน ก.ย.นี้
วันนี้ (29 ส.ค.2561) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ยกร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยกระดับการควบคุมสารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมาไม่อนุญาตให้มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยแล้ว แต่กลับพบว่า มีการลักลอบนำเข้ามาผสมในผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่อ้างว่าช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วน จนเกิดอันตรายกับผู้ใช้ ซึ่งขณะนี้ได้ยกร่างเสร็จและเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาลงนามแล้ว เบื้องต้น คาดว่าจะสามารถลงนามและมีผลบังคับใช้ได้ในเดือน ก.ย.นี้ นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. ระบุว่า ร่างประกาศดังกล่าวได้ยกระดับไซบูทรามีน จากยาอันตรายให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 ที่ระบุว่า ห้ามผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือลอบนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สุขภาพ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกสูงสุด 20 ปี ปรับสูงสุด 2 ล้านบาท ซึ่งโทษรุนแรงขึ้นจากเดิมที่ควบคุมตาม พ.ร.บ. ที่จะปรับเพียง 2 แสนบาท จำคุก 2 ปี เท่านั้น สำหรับร่างประกาศนี้มีผลรวมไปถึงเรื่องของการโฆษณา และรีวีวผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ โดยหากมีการรีวิวผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารไซบูทรามีน เข้าข่ายหลอกลวง โอ้อวดเกินจริง จะมีความผิดตามโทษที่ปรับเพิ่ม และจะผิด พ.ร.บ.ยาด้วย โดยไม่สามารถอ้างว่ามีการตรวจสอบเลข อย.แล้ว จึงขอเตือนให้ผู้รีวิวสินค้ารอบคอบ ตรวจสอบให้ชัดเจน และขอให้ยื่นขออนุญาตจาก อย.ก่อน หากเป็นการรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ
Sirilawan Sukphithak
 •  2 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

ลดความอ้วน

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    พบสาวถูกพักงานหลังกินยาลดน้ำหนักจนป่วยจิตเวช
    กรณีหญิงสาวชาวจังหวัดแพร่ เสียชีวิตจากอาการไตวาย หลังกินยาลดความอ้วนยี่ห้อหนึ่งซึ่งสั่งซื้อมาจากเพจเฟซบุ๊ก นี่เป็นผลข้างเคียงจากยาลดความอ้วนที่เกิดกับอวัยวะภายในร่างกาย แต่จากการตรวจสอบของแพทย์ยังพบว่า ยาลดความอ้วนมีส่วนผสมของสารกดประสาทที่เป็นอันตรายด้วย ซึ่งกรณีนี้ได้เกิดขึ้นกับหญิงสาววัยทำงานคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกินยาลดความอ้วนจนมีอาการทางจิตเวชจนถูกบริษัทสั่งพักงาน พี่สาวของพนักงานออฟฟิศหญิง วัย 24 ปี คนหนึ่ง เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา น้องสาวของเธอซึ่งเป็นกังวลเรื่องน้ำหนัก 68 กิโลกรัมของตัวเธอเอง จึงตัดสินใจสั่งซื้อยาลดน้ำหนักสูตร 1 จากเพจเฟซบุ๊กบริษัทยาลดน้ำหนักแห่งหนึ่ง มาทดลองกิน จำนวน 4 แผง ราคา 1,400 บาท ตอนนั้นยังไม่มีอาการข้างเคียง น้ำหนักลงช้า 2 เดือนน้ำหนักลดไปเพียง 1 กิโลกรัม จึงสั่งยามากินอีกชุดเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เปลี่ยนสูตรเป็นสูตรที่ 2 โดยตัวแทนจำหน่ายอ้างว่า จะทำให้น้ำหนักลดเร็วกว่ายาชุดแรกที่กินไป พี่สาวของหญิงสาวที่กินยาลดน้ำหนักคนนี้ เล่าต่อว่า หลังเริ่มกินยาชุดที่สองไปได้ไม่นาน น้องสาวก็เริ่มมีอาการหวาดระแวงผู้คน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ส่งผลถึงภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่จนบริษัทต้องสั่งพักงาน เมื่อรู้ว่าน้องสาวเป็นอย่างนี้จึงรีบพาพบแพทย์เพื่อรักษา ซึ่งแพทย์วินิจฉัยในเบื้องต้นว่า สาเหตุที่น้องสาวของเธอมีอาการทางจิตเวชน่าจะมาจากการกินยาลดน้ำหนัก ส่วนชนิดของยาพี่สาวของผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ยามีทั้งหมด 4 ชนิด รับประทาน 2 ครั้งต่อวัน จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกร พบว่า มียา 2 ชนิดที่กินก่อนอาหารเช้า เป็น ยากดประสาท (แคปซูนสีน้ำเงินขาว) และยาระบาย (เม็ดเล็กสีเหลือง) ส่วนยาที่กินก่อนนอนเป็นยานอนหลับ (เม็ดสีเหลือง) และวิตามิน (เม็ดสีแดง) ขณะที่ นพ.สุขุม กาญจพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ยาลดน้ำหนักส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งเป็นฤทธิ์จากสารประเภทไซบูทรามีนหรือเฟตามีน ทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ซึ่งจุดนี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการทางจิตได้ที่ผ่านมา ครอบครัวของหญิงสาวผู้เสียหายคนนี้ได้ทวงถามความรับผิดชอบจากตัวแทนจำหน่ายยา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ขณะที่เพจเฟซบุ๊กที่จำหน่ายยาลดน้ำหนักแห่งนี้ก็ยังอัปเดตเนื้อหาในเพจเพื่อขายสินค้าตลอดเวลาจึงปรึกษากับทนายความและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เพื่อเตรียมดำเนินการฟ้องร้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
    std47882
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false