4 คนสงสัย
เส้นสีขาวในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธิ
จากกรณีมีผู้โพสต์เตือนภัยเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่า กระเพาะหรือเส้นขาว ๆ ของหอยแมลงภู่เป็นแหล่งรวมของหนอนพยาธิ ควรหลีกเลี่ยงรับประทานแม้ปรุงสุก ทางสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เส้นสีขาว ๆ ยาว ๆ คล้ายตัวพยาธิที่พบ แท้จริงเป็นลำไส้หอย ไม่ใช่พยาธิอย่างที่เข้าใจ

ซึ่งหอยแมลงภู่เป็นหอยสองฝา อยู่ในไฟลัมมอลลัสคา สีของเปลือกเปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า เกสร หรือ ซัง

โดยในหอยส่วนใหญ่สามารถพบจุลินทรีย์ก่อโรคได้แก่ เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเชื้อชนิดนี้ มีระยะฟักตัว 4 – 96 ชั่วโมง หลังจากได้รับเชื้อจากการกินอาหาร แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการจะเกิดประมาณ 15 ชั่วโมง หลังได้รับเชื้อผู้ที่ได้รับเชื้อจะเกิดอาการท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว มีไข้ จึงควรล้างทำความสะอาดให้ดีและนำมาปรุงสุกด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงก่อนรับประทาน
bmuild
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

ผู้บริโภคเฝ้าระวัง

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    มีการแชร์กันว่า หอยแมลงภู่มีพยาธิจริงหรือ
    มีการแชร์กันในโลกออนไลน์ พบเส้นสีขาวเส้นเล็กๆอยู่ในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธิ ไม่ให้รับประทาน จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เส้นสีขาวในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธิ
    บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เส้นสีขาว ๆ ยาว ๆ คล้ายตัวพยาธิที่พบ แท้จริงเป็นลำไส้หอยไม่ใช่พยาธิอย่างที่เข้าใจ โดยในหอยส่วนใหญ่สามารถพบจุลินทรีย์ก่อโรคได้แก่ เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้
    มาร์ค’ ลูก ส.ท
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เส้นสีขาวในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธิ
    ตามที่มีข้อความชวนเชื่อเรื่องเส้นสีขาวในตัวหอยแมลงภู่คือพยาธินั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
    std47728
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false