13434 ข้อความ
- 1 คนสงสัยกทม.เตรียมบังคับฝังไมโครชิป “สุนัข-แมว” ทุกตัว ลดปัญหาสัตว์จรไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยดื่มนํ้ามะพร้าวทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติจริงหรือไม่ ?เคยได้ยินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ว่าการดื่มนํ้ามะพร้าวตอนมีประจำเดือน จะทำให้ประจำเดือนหยุดไหลและมาไม่ปกติ เลยอยากรู้ว่าเป็นความจริงไหมสุขภาพยาสมุนไพรOrapan Sopaporn• 2 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัย" จริงหรือไม่ ? การดื่มสารละลายคลอรีนไดออกไซต์ (CDS) ผสมน้ำทุกวันจะช่วย‘ล้างสารพิษ’จากไวรัส "สารละลายคลอรีนไดออกไซด์ (CDS) เป็น สารฟอกขาว ที่มีอันตราย‘ไม่สามารถดื่มได้‘การดื่มสารละลายคลอรีนไดออกไซด์ (CDS) กำจัดเชื้อไวรัสได้ทุกชนิดในปัจจุบันไม่มีการศึกษาใดๆที่รองรับข้ออ้าง หากรับประทานเข้าไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างรุนแรง ❗️ถ้าหากรับประทานเข้าไปแล้วไม่แนะนำให้ล้วงคอหรือกระตุ้นให้อาเจียน ผู้ป่วยที่สัมผัสสารชนิดนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ ความรุนแรง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป 📣ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อป้องกันอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพหรือชีวิตสุขภาพโควิด 201965011215207• 2 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยชาลดบวมขับโซเดียม ทำได้จริงหรือไม่ ?จากโฆษณาสินค้าตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่อ้างว่า การดื่มชาช่วยลดการบวมจากการกินโซเดียม ส่งผลให้หลายคนเชื่อและหันมาซื้อชามาดื่มกันมากยาสมุนไพรลดความอ้วนSasikarn Permpol• 2 เดือนที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ห้ามใช้น้ำนมแม่หยอดตาเด็ดขาด!"❌ ห้ามใช้น้ำนมแม่หยอดตาเด็ดขาด! ❌ น้ำนมแม่จะมีสารเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น Secretory IgA และ Human Milk Oligosaccharides ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในทารก แต่การนำมาหยอดตาไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัยเลยค่ะ 👁️💧 เพราะน้ำนมแม่มีน้ำตาลแลคโตสสูง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของเชื้อโรค 🦠 และอาจทำให้การติดเชื้อลุกลามจนรุนแรงถึงขั้นสูญเสียดวงตาได้ จักษุแพทย์แนะนำว่า หากมีปัญหาดวงตา ไม่ควรใช้น้ำนมแม่หยอดตา เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมมากกว่าช่วยรักษา! 🩺 หากมีอาการระคายเคืองหรือเจ็บตา ควรทำตามคำแนะนำง่าย ๆ ดังนี้: • ล้างตาด้วยน้ำอุ่น 🧴 • ใช้น้ำตาเทียมเพิ่มความชุ่มชื้น 💧 • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาด 🚫🤲 • หากอาการไม่ดีขึ้น รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่เหมาะสมนะคะ 👩⚕️👨⚕️ อย่าเสี่ยงกับดวงตาของคุณ เพราะความเชื่อผิด ๆ นะคะ 💙 ที่มา: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข #อย่าใช้น้ำนมแม่หยอดตา #สุขภาพตาสำคัญ #ข้อมูลสุขภาพ #กรมการแพทย์ #มมส #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม #นิเทศมมสสุขภาพนอ นอ• 2 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยห้ามรถบรรทุกเข้ากรุงเทพฯ หากค่าฝุ่น PM 2.5 สีแดงยาสมุนไพรไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยอุทยานแห่งชาติเขาสก ประกาศปิดการท่องเที่ยวเส้นทางศึกษาธรรมชาติชมดอกบัวผุด บริเวณ กม. 111 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 67 – 30 พ.ย. 67ภาคใต้ไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยธนาคารกรุงไทย ส่งเอกสารแจ้งตรวจพบความผิดปกติแอปพลิเคชัน Krung NEXTการเงินแอคปลอมไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเปลี่ยนวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV จาก 2 สายพันธุ์ เป็น 9 สายพันธุ์ เริ่มปี 68ไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยอากาศโลกแปรปรวนหนัก ฟูจิหิมะตกช้าสุดในรอบ 130 ปี ถึงตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณหิมะตกสภาพอากาศไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่เพจธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อออนไลน์ผ่านเพจชื่อ mymo savingเพจ "mymo saving" มีการประกาศการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ให้วงเงินสูงสุด 500,000 บาท ผ่อนเริ่มต้นเพียง 1,080 บาท/เดือน จากการสัมภาษณ์ คุณสุรีรัตน์ ไชยศิลา ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาเสริมไทยคอมเพล็กซ์ จังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อดังกล่าวว่า ธนาคารออมสินเคยมีโครงการสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน mymo เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยเน้นสนับสนุนด้านการเงินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ แต่โครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงและวงเงินเต็มเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันธนาคารไม่มีการให้บริการสินเชื่อผ่านช่องทางอื่นๆ นอกจากแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่เป็นทางการของธนาคารเท่านั้น ธนาคารยืนยันว่าไม่มีการปล่อยสินเชื่อผ่านเพจดังกล่าว และโครงการสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน mymo ได้ยุติลงแล้วหลังจากช่วงโควิด-19 อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ยังได้ให้คำแนะนำในการป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์ไว้ดังนี้ 1. ธนาคารออมสินไม่มีการส่งข้อความหรือส่งลิงก์การกู้เงินผ่านแอปพลิเคชันใดๆ 2. หากได้รับข้อความหรือพบเพจที่น่าสงสัย อย่าคลิกลิงก์และไม่แอดไลน์สมัครใช้บริการ ไม่กรอกข้อมูลส่วนบุคคลและไม่แชร์ต่อเด็ดขาด 3. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คอลเซ็นเตอร์ โทร. 1115 หรือ ธนาคารสาขาใกล้บ้าน 4. ติดตามข่าวสารจากช่องทางที่เชื่อถือได้ของธนาคารเพื่อป้องกันการถูกหลอก 5. ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการหลอกลวงออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน แหล่งข้อมูล (https://www.gsb.or.th/services/ธนาคารออมสิน-ขอแจ้งเตือ/)ภาคอีสานการเงินแอคปลอมmintsiri02• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยไปรษณีย์ไทย ประกาศขึ้นราคาค่าส่งทุกประเภท สูงสุด 7 บาท มีผล 1 ม.ค. 68 เป็นต้นไปไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเรียนทุกท่าน หากโทรศัพท์มือถือของคุณดังและคุณเห็นตัวเองปรากฏบนหน้าจอเหมือนกับกล้องถ่ายรูป อย่าสนใจมัน อย่าหันหน้าไปที่หน้าจอ และอย่าพูดจนกว่าโทรศัพท์จะหยุดเอง ฉันเพิ่งรับสายและเห็นว่าหมายเลขผู้โทรเริ่มต้นด้วย 852 และฉันเห็นใบหน้าของฉันบนหน้าจอ ปรากฏว่าทันทีที่คุณกดรับสาย โทรศัพท์จะถ่ายรูปคุณ (ใช้ระบบจดจำใบหน้า Face ID) หากคุณพูดกับโทรศัพท์ โทรศัพท์จะบันทึกเสียงของคุณ จากนั้นบล็อกโทรศัพท์ของคุณและใช้เนื้อหาในโทรศัพท์ โทรหาเพื่อนของคุณผ่านเทคโนโลยี AI และวิดีโอคอลกับพวกเขา เพื่อนของคุณอาจหลงเชื่อหากพวกเขาเห็นว่าคุณหน้าตาเป็นอย่างไร *นี่คือกลลวงใหม่ ทุกคนควรให้ความสนใจ!*AIผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยอาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดจริงหรือไม่?อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวันจริง จากการสัมภาษณ์ เภสัชกรชาย ณภัทร นวลสกุลกฤป เภสัชกรประจำร้านขายยาในจังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า อาหารเช้ายังคงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากร่างกายของเราไม่ได้รับพลังงานในช่วงเวลานอนหลับ ตั้งแต่มื้อเย็นจนถึงเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นการรับประทานอาหารเช้าจึงช่วยเติมพลังงานให้กับร่างกาย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารเช้ายังช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่ส่งผลดีต่อสมาธิ ความจำ ทางตรงกันข้าม การขาดอาหารเช้าส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาว โดยเภสัชกรณภัทรได้กล่าวว่า การอดอาหารเช้าอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ร่างกายอ่อนเพลีย สมาธิและความจำลดลง รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและภาวะอ้วน เนื่องจากร่างกายเกิดการปรับตัวที่ผิด ส่งผลให้การเผาผลาญพลังงานผิดปกติ ดังนั้นการไม่ละเลยมื้อเช้าจะช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีในระยะยาวได้ ทั้งนี้ เภสัชกรณภัทรยังได้แนะนำว่า “การรับประทานอาหารเช้าควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง อาจทำให้เราไม่ได้รับประโยชน์จากมื้อเช้าอย่างเต็มที่ ควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567)สุขภาพภาคอีสานTlamon• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ ? บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนในปัจจุบัน จากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย จำนวน 40,164 คน ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 - 27 พฤษภาคม 2567 พบว่า เยาวชนยังมีความเชื่อว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนถึง 50.2% และยังมีความเชื่อว่า นิโคตินเป็นสารที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวส่งผลดีต่อสุขภาพ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ผิดและยังขาดความรู้ ความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ สมอง และ หัวใจ ( แหล่งข้อมูล https://hed.go.th/ ) จากการสัมภาษณ์ เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป เภสัชกร ประจำร้านเภสัชกรอิ่ม จังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า อันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวน มีความอันตรายไม่ต่างกัน ในหลาย ๆ แง่มุม บุหรี่ไฟฟ้าก็มีความอันตรายมากกว่า และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีภาวะโรคใหม่ที่เกิดขึ้นคือ ภาวะโรคปอดอักเสบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และจากการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และ ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าในผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีสาร Vitamin E Acetate อยู่ในปอดจำนวนมาก แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีสารชนิดนี้เลย ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่าสารชนิดนี้มีส่วนที่สร้างความเสียหายแก่ปอด และถูกยืนยันจากบทความของ การวิจัยทางเคมีในพิษวิทยา จาก ACS Publications เว็บไซต์ฐานข้อมูลบทความ และ งานวิจัยต่าง ๆ ทางด้านเคมีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ( แหล่งข้อมูล https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.chemrestox.1c00309 ) เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป ยังกล่าวอีกว่า นิโคตินไม่ใช่สารก่อมะเร็ง แต่ว่าเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตได้ดีมากขึ้น สารนิโคตินจึงเป็นสารที่สร้างความเสียหาย และ เพิ่มความเสี่ยงต่อระบบต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับสมอง เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และ เสี่ยงต่อโรคไขมันต่าง ๆ ที่เป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้น บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้อันตรายน้อยกว่า บุหรี่มวน ผู้เชี่ยวชาญเลยแนะนำไม่ให้สูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวนสุขภาพภาคอีสาน64011215088• 2 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยกินยาคุมทำให้อ้วนขึ้นจริงไหมเห็นสาวๆหลายคนว่ากันว่ากินยาคุมแล้วทำให้น้ำหนักขึ้นจริงหรือไม่ลดความอ้วน65011215179• 2 เดือนที่แล้วmeter: middle1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยการใส่หูฟังนานๆทำให้หูหนวกได้จริงไหม!จริงไหมครับที่ใส่หูฟังนานๆบ่อยๆจะทำให้หูเราหนวกสุขภาพ65011215028• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ ช่วยรักษาสิวจริงไหมคะเคยเห็นโพสในติ้กต้อกจากต่างประเทศ เขาฮิตกินน้ำคลอโรฟิลล์ เพราชื่อว่าจะสามารถช่วยรักษาสิวได้เลยสงสัยว่าจริงหรือไม่จริงสุขภาพความสวยความงามApinya• 2 เดือนที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยปักตะไคร้หยุดฝนได้จริงหรือ?❗️🌧️ ปักตะไคร้หยุดฝนได้จริงหรือ? 👩🔬 ตามหลักวิทยาศาสตร์ ฝนเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรน้ำ เกิดจากน้ำระเหยและควบแน่นเป็นละอองน้ำในอากาศ เมื่อสะสมมากพอจะกลายเป็นเมฆฝน เมื่อน้ำในเมฆหนักจนเกินกว่าที่อากาศจะพยุงได้ น้ำก็จะตกลงมาเป็นฝน บางครั้งละอองฝนบางส่วนอาจระเหยหายไปก่อนถึงพื้นโลก เรียกว่า virga ☁️ เมฆมีสองรูปแบบหลัก คือ เมฆแนวตั้ง (เช่น เมฆคิวมูโลนิมบัส) และเมฆแนวนอน (เช่น เมฆเซอรัส) โดยเมฆแนวตั้งมักเกิดจากลมมรสุมและนำมาซึ่งฝนตกหนัก นักอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ฝนโดยดูจากความหนาแน่นและความชื้นของเมฆ รวมถึงการใช้เรดาร์และข้อมูลดาวเทียม ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากการสะท้อนของเมฆบนเรดาร์ และติดตามการเคลื่อนตัวของเมฆผ่านดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา 🔍 ฝนอาจหยุดตกเมื่อมวลอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อลมที่มีความชื้นสูงถูกแทนที่ด้วยมวลอากาศแห้ง หรือระบบความกดอากาศต่ำที่ก่อฝนเคลื่อนออกจากพื้นที่ ❗️🌧️ สรุปได้ว่าในทางวิทยาศาสตร์ การปักตะไคร้ไม่สามารถหยุดฝนได้สภาพอากาศ03• 2 เดือนที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกินวุ้นเส้นแทนข้าวลดน้ำหนักได้จริงไหมคะคือเพื่อนเราที่กำลังลดน้ำหนักอยู่ เขาบอกว่าถ้ากินวุ้นเส้นจะทำให้น้ำหนักลงเร็วกว่ากินข้าวน่ะค่ะ แต่เราเคยอ่านเจอว่ากินวุ้นเส้นไม่ได้ช่วยอะไรขนาดนั้น สรุปแล้วการกินวุ้นเส้นช่วยลดน้ำได้จริงไหมคะสุขภาพลดความอ้วนjeer.jx22• 2 เดือนที่แล้ว4 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: mostly-true--middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยมิจโทรมา เราสงสัยว่าใช่ ให้กดวาง แล้วกด *1185# ระบบจะตรวจสอบเบอร์โทรเข้าล่าสุดให้อัตโนมัติ ถ้าใช่มิจจริงจะบล็คแล้วสอบสวนกลางจะตามจับ และจะรายงานผลให้เรารู้ด้วยการเงินไม่ระบุชื่อ• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยใส่หัวหอมในถุงเท้าก่อนนอนแล้ว ช่วยแก้หวัดได้จริงๆหรือ??มีกระแสในโซเชียลว่า ถ้าหั่นหัวหอมใส่ถุงเท้าก่อนนอนแล้วจะสามารถช่วยแก้หวัดได้และฆ่าเชื้อแบคทีเรียและล้างพิษในร่างกายได้ด้วยPobthum Khampila• 2 เดือนที่แล้วmeter: middle1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเป็นซึมเศร้าแล้วไปเข้าวัด ไปทำบุญหายจริงมั้ยมีคนตั้งคําถามและเป็นข้อถกเถียงกันว่าการเข้าวัดปฏิบัติธรรม สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้จริงแต่บางฝ่ายก็บอกว่าไม่สามารถรักษาได้ จึงเกิดข้อสงสัยว่าอันไหนจริงCC cya• 2 เดือนที่แล้วmeter: middle1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเข้าวัด ฟังธรรม นั่งสมาธิ รักษาโรคซึมเศร้าได้จริงหรือไม่เนื่องจากมีกระแสเข้าวัดปฏิบัติธรรม และมีคนตั้งกระทู้ว่าการเข้าวัด ฟังธรรม นั่งสมาธิ รักษาโรคซึมเศร้าได้65011215023• 2 เดือนที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้แทนใบขับขี่จริงได้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การนำใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้แทนใบขับขี่ตัวจริงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง หลายฝ่ายต่างมีข้อสงสัยและตั้งคำถามว่า ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้แทนใบขับขี่จริงได้หรือไม่ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 นางสาวนัฐฒินา คำสา หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถจากกรมการขนส่งทางบก จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน DLT QR Licence เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องพกใบขับขี่ตัวจริง แต่ต้องเป็นใบขับขี่แบบสมาร์ทการ์ดที่มีคิวอาร์โค้ดเท่านั้น ใบขับขี่ที่ไม่มีคิวอาร์โค้ดจะไม่สามารถใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันนี้ได้ ซึ่งระบบนี้ถือว่ามีความปลอดภัย เนื่องจากเจ้าหน้าที่สามารถสแกนด้วยคิวอาร์โค้ดตรวจสอบได้ ด้าน ร.ต.อ. อภิรัฐ เอกวารีย์ รองสารวัตรจราจร สภ.เมืองมหาสารคาม ยืนยันว่า การใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้แทนใบขับขี่ฉบับจริง โดยใช้แอปพลิเคชัน DLT QR Licence หรือการแสดงภาพถ่ายใบขับขี่ผ่านสมาร์ทโฟน ผู้ที่ต้องการใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำการเปลี่ยนใบขับขี่เป็นสมาร์ทการ์ดที่มีคิวอาร์โค้ด หากยังใช้ใบขับขี่รุ่นเก่าที่ไม่มีคิวอาร์โค้ด จะไม่สามารถใช้ฟีเจอร์การแสดงใบขับขี่ผ่านแอปพลิเคชันได้ (ข้อมูลสัมภาษณ์เมื่อ 16/07/67) ถึงแม้ว่าการใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์จะสะดวก แต่ผู้ขับขี่ควรระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลบนแอปพลิเคชันถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการตั้งค่าความปลอดภัยของโทรศัพท์ เช่น การล็อคหน้าจอ หรือใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัย รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการส่งต่อภาพถ่ายใบขับขี่ให้ผู้อื่นเพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม (ข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://www.dlt.go.th/th) #จริงหรือไม่ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้แทนใบขับขี่จริงได้ #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม #จริงหรือไม่ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้แทนใบขับขี่จริงได้ #อีสานโคแฟค #โคแฟคประเทศไทย #ชมรมสื่อสร้างสรรค์มมส #สื่อสร้างสรรค์มมสofficial64011215100• 2 เดือนที่แล้วmeter: true1 ความเห็น