1 คนสงสัย
จริงหรือไม่ ? บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน
ในปัจจุบัน จากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย จำนวน 40,164 คน ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 - 27 พฤษภาคม 2567 พบว่า เยาวชนยังมีความเชื่อว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนถึง 50.2% และยังมีความเชื่อว่า นิโคตินเป็นสารที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวส่งผลดีต่อสุขภาพ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ผิดและยังขาดความรู้ ความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ สมอง และ หัวใจ ( แหล่งข้อมูล https://hed.go.th/ )

จากการสัมภาษณ์ เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป เภสัชกร ประจำร้านเภสัชกรอิ่ม จังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า อันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวน มีความอันตรายไม่ต่างกัน ในหลาย ๆ แง่มุม บุหรี่ไฟฟ้าก็มีความอันตรายมากกว่า และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีภาวะโรคใหม่ที่เกิดขึ้นคือ ภาวะโรคปอดอักเสบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และจากการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และ ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าในผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีสาร Vitamin E Acetate อยู่ในปอดจำนวนมาก แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีสารชนิดนี้เลย ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่าสารชนิดนี้มีส่วนที่สร้างความเสียหายแก่ปอด และถูกยืนยันจากบทความของ การวิจัยทางเคมีในพิษวิทยา จาก ACS Publications เว็บไซต์ฐานข้อมูลบทความ และ งานวิจัยต่าง ๆ ทางด้านเคมีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ( แหล่งข้อมูล https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.chemrestox.1c00309 )

เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป ยังกล่าวอีกว่า นิโคตินไม่ใช่สารก่อมะเร็ง แต่ว่าเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตได้ดีมากขึ้น สารนิโคตินจึงเป็นสารที่สร้างความเสียหาย และ เพิ่มความเสี่ยงต่อระบบต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับสมอง เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และ เสี่ยงต่อโรคไขมันต่าง ๆ ที่เป็นโรคเรื้อรัง

ดังนั้น บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้อันตรายน้อยกว่า บุหรี่มวน ผู้เชี่ยวชาญเลยแนะนำไม่ให้สูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวน
64011215088
 •  3 เดือนที่แล้ว
meter: false
1 ความเห็น

สุขภาพภาคอีสาน

Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง

เหตุผล

ศจย.เผยผลวิจัยล่าสุด บ่งชี้อันตรายระยะสั้นของบุหรี่ไฟฟ้าน่ากลัวกว่าบุหรี่มวน ทั้งป่วยและเสียชีวิตเร็วกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดา ยังพบการส่งต่อยี

ที่มา

https://www.hfocus.org/content/2021/04/21331

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    7 ข้อเลี่ยง ลดเสี่ยงมะเร็ง
    7 ข้อเลี่ยง ลดเสี่ยงมะเร็ง 1. เลี่ยงการอยู่กลางแดดจ้า 2. เลี่ยงบุหรี่ แอลกอฮอล์ 3. เลี่ยงอาหารรสจัด หมักดอง 4. เลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษ ฝุ่น ควัน 5. เลี่ยงอาหารสดหรืออาหารแปรรูปที่ใส่ดินประสิวหรือสารกันเสีย 6. เลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ 7. เลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปิ้ง ย่าง ทอดไหม้ กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี https://www.facebook.com/anamaidoh
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ปากกาฟอกฟันขาวอันตรายจริงหรือไม่ ?
    “ปากกาฟอกฟันขาว” อันตรายจริงหรือไม่ ? ปากกาฟอกฟันขาวที่กำลังเป็นที่นิยมบนโลกออนไลน์ อุปกรณ์ช่วยเสริมความมันใจให้กับรอยยิ้ม ที่ราคาจับต้องได้ แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่มีอันตรายที่ซ่อนอยู่ จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า กรมอนามัยได้ให้ข้อมูลว่าอุปกรณ์ฟอกฟันขาว ที่ขายกันตามอินเตอร์เน็ตนั้น อาจจะมีสาร "ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์" สูงกว่า6 % และอาจจะสูงถึง15 % ซึ่งปกติ ถ้าสูงกว่า 6% ต้องได้รับความควบคุม โดย อย. เพราะสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ ซึ่งมีฤทธิ์ในการฟอกสีให้ขาวขึ้นนั้น ถ้ามีความเข้มข้นสูงมาก จะเป็นอันตราย กัดกร่อนเนื้อฟัน ทำให้เนื้อฟันเสียหาย และเสียวฟันมากขึ้นได้ ถาดที่ใช้ครอบฟัน ในการฟอกสีฟัน ก็ควรทำเป็นรายบุคคลโดยทันตแพทย์ จึงจะพอดีกับฟันของแต่ละคน เพราะถ้าไม่พอดี สารฟอกฟันจะไปโดนเหงือก อาจทำให้เหงือกบวม อักเสบได้ การฟอกสีฟัน สิ่งแรกที่ควรทำคือการมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุของสีฟันเพื่อวางแผนการรักษา ตรวจสุขภาพฟันให้แน่ชัดว่าไม่มีฟันผุ อาการเสียวฟัน เนื่องจากภาวะเหงือกร่น หลังจากนั้นจะขูดหินปูน หรือขัดคราบสีออก แล้วจึงพิมพ์ปากคนไข้เพื่อสร้างแบบจำลองฟัน นำมาทำถาดฟอกสีฟันโดยทำการบันทึกสีของฟันก่อน จากนั้นจึงทำการรักษาต่อไป (แหล่งข้อมูล : https://www.thaihealth.or.th และ https://cofact.org) ทพ.พิชัย งามวิริยะพงศ์ ทันตแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ข้อมูลว่า สารที่ใช้ในการฟอกสีฟันมีส่วนประกอบหลัก คือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ แส่วนมากจะใช้ความเข้มข้นอยู่ที่ประมาณ 25-40% แล้วนำน้ำยาทาบนฟันทิ้งไว้ ทำ 3 รอบ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยมีการใส่อุปกรณ์ที่ทำมาเพื่อป้องกันเหงื่อให้คนไข้ โดยจะได้รับการพิมพ์ฟันทั้งฟันบนและฟันล่าง เป็นถาดสำหรับแต้มน้ำยาฟอกสีฟันเฉพาะบุคคลนั้น ๆ เพราะแต่ละบุคคลจะมีลักษณะฟันที่ไม่เหมือนกัน เป็นการป้องกันไม่ให้ตัวน้ำยาไหลไปโดนเหงือกได้ และหลังทำเสร็จควรจะงดอาหารประเภทที่มีการติดสีมาก ๆ เช่น เครื่องดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ และงดการสูบบุหรี่ บางครั้งสามารถเกิดอาการเสียวฟันได้ชั่วคราวประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารเย็นจัดไปก่อน ทั้งนี้ ทพ.พิชัย ให้ข้อแนะนำว่า ทันตแพทย์ไม่แนะนำการซื้อปากกาฟอกฟันขาวที่ให้ไปทำด้วยตนเอง การฟอกฟันขาวหรือการรักษาฟันจากอาการต่าง ๆ ควรปรึกษาก่อนทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ตรวจและเลือกแนวทางการรรักษา หากซื้อผลิตภัณฑ์ทำเองอาจเกิดผลที่เป็นอันตรายได้ และถ้าหากตัดสินใจการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และดูว่าผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือคาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ไม่สูงกว่า 6% ตามที่ อย. กำหนด และควรมีคาร์บอกซี่โพลิเมทิลีน เป็นสารหนืดที่ทำไม่ไห้น้ำยาเหลวจนเกิน เพื่อให้น้ำยาเกาะติดบนผิวฟันได้ เพราะถ้าน้ำยาไหลไปโดยเหงือกอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือไปทำให้เกิดเคมีคอลเบิร์นต่อเหงือกจะเกิดปัญหาตามมาได้ คนที่ไม่สามารถฟอกฟันขาวได้ 1.หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร 2.คนที่อายุต่ำกว่า 16 ปี เพราะชั้นเคลือบยังไม่ได้แข็งแรงมากพอ 3.ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพฟัน ควรได้รับการรักษาให้เรียบร้อยเสียก่อน เช่น ฟันผุแบบไม่รู้ตัว ฟันเป็นรู ฟันสึกจากการแปรงฟันแรงเป็นช่องเว้าเข้าไปแถวเหงือก ฟันร้าว มีรอยร้าวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือเดิมคนไข้เสียวฟันอยู่แล้วแค่กินน้ำเย็นกับไอศกรีมก็เสียวฟัน แล้วยังพยายามจะไปฟอกสีฟันก็จะเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ 4.คนที่มีการอุดฟัน อาจจะต้องมาตรวจกับทันตแพทย์ก่อนว่าวัสดุต่าง ๆ มันอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือเปล่า เพราะบางคนแบบอาจจะอุดตั้งแต่เด็กแล้วมีรูหรือมีช่อง น้ำยาเคมีเกิดมันเล็ดลอดแทรกเข้าไป ทำให้เกิดโพรงประสาทฟันอักเสบได้ 5.ไม่เคยรักษาโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน หินปูนเกาะเต็มฟันหน้าทั้งบนทั้งล่าง ต้องรักษาโรคเหงือกให้เรียบร้อยเสียก่อน ดังนั้น การฟอกสีฟันควรทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น การจะซื้อปากกาฟอกฟันขาวมาใช้เองอาจจะไม่ได้เห็นผลเท่าที่ควร หรือเกิดอันตรายต่อตัวผู้บริโภคได้ และควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนรักษาฟันทุกครั้ง
    ธนกฤต ราชัย
     •  4 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ คนสูบบุหรี่ หากติดโควิด 19 เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 14 เท่า โดยจะเกิดปอดอักเสบอย่างรุนแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
    แพทย์เตือนใครที่สูบบุหรี่ หากติดโควิด-19 มีความเสี่ยงอาการรุนแรงกว่าผู้ไม่สูบถึง 14 เท่า ร้ายแรงที่สุดถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้กระบวนการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่หลุดเข้ามาที่ปอดแย่ลง โดยจะเกิดปอดอักเสบอย่างรุนแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
    naydoitall
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หมอได้ผ่าศพคนอายุ 90-103 ปีที่ตายธรรมชาติ พบว่าแต่ละคนล้วนมีเซลล์มะเร็งอยู่ บางคนมีหลายแห่งด้วย แต่ทำไมพวกเขาจึงไม่มีอาการ เขาเชื่อว่ามันสงบอยู่ในระยะฟักตัว หรือจำศีล ถ้ามีสิ่งที่มีปลุกหรือกระตุ้นให้ตื่นจึงจะเจริญเติบโต วงการแพทย์ปัจจุบันกำลังพยายามหาวิธีทำให้เซลล์มะเร็งสงบอยู่ได้ตลอดไป เชื่อว่าอาหารที่ทำให้เซลล์มะเร็งสงบได้แก่ 1. ขมิ้น (สารที่เชื่อว่าต้านมะเร็งคือ curcumin) 2. พริก (capsaicin) 3. ขิง (curcumin) 4. ชาเขียว (catechin) 5. ถั่วเหลือง (isoflavones) 6. มะเขือเทศ (lycopene) 7. องุ่น (resveratrol)y 8. กระเทียม (sulfides) 9. อาหารเกาหลี (indole) 10. กะหล่ำปลี (sulfide) 10 อันดับอาหารที่กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งฟื้นคือ 1. แฮมเบอร์เกอร์ ของทอด, โค้ก (Hamburger Fries + Cola) 2. ข้าวซี่โครงหมูตุ๋น + ชาไข่มุก (Pork ribs rice + Zhen milk) 3. เกี๊ยวซ่า + นมถั่วเหลือง (Pot Sticker + Soy Milk) 4. สปาร์เก็ตตี้อิตาเลียน + ซุปเมอแรงค์ ((Grilled Italian noodles) + meringue soup) 5. ไก่ทอดเกาหลีกับเบียร์ (Korean fried chicken + beer) 6. ข้าวผัด + ซุปกงเหมา (Fried rice + Gongmao soup) 7. ราเมง + ครีมแข็ง (Ramen + Frost Cream) 8. ข้าวหน้าหมูตุ๋น + ซุปลูกชิ้นปลา (Braised Pork Rice + Fish Ball Soup) 9. ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น + กะหล่ำปลีดอง (Braised beef noodles + sauerkraut) 10. หมูทอด + โอเด้ง (Fried meat round + Oden boiled) ส่วนอาหารที่ต้านพิษ ได้แก่ 1. มันหวาน (Sweet potato) 2. ถั่วเขียว (Mung beans) 3. ข้าวโอ๊ต (Oats) 4. เม็ดบัว (Huanren) 5. เซียวหมี่ (Xiaomi) 6. ข้าวกล้อง (Brown rice) 7. ถั่วแดง (Red Beans) 8. แครอท (Carrots) 9. แยม (Yam) 10. หญ้าเจ้าชู้ (Burdock) 11. หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) 12. หัวหอม (Onions) 13. รากบัว (Lotus root) 14. หัวไชเท้า (White radish) 15. โกฐจุฬาลัมพา (Artemisia halodendron) 16. ใบของมันหวาน (Sweet potato leaves) 17. ใบหัวไชเท้า (Radish leaves) 18. ชวานชี (Chuanqi) 19. โยเกิร์ต (Yogurt) 20. น้ำส้มสายชู (Vinegart) "You are what You eat" คุณจะเป็นอะไรก็ตามที่คุณกินเข้าไป Dunno who wrote but I do ไม่รู้ใครเขียนแต่ผมทำตาม...ฮา ด่วน... เส้นเลือด "ตีบ" ในสมองเกิดขึ้นทุก 4 นาที ทำไมตรวจหาสาเหตุไม่เจอ แล้วจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร ? ทุกวันนี้ ผมเจอคนป่วยเส้นเลือดตีบทุกวัน ตั้งแต่อายุ 13 ปี ยัน 95 ปี มันเกิดอะไรขึ้น ความพิการจะหยุดได้หรือไม่ได้... ถ้าสำหรับผม ผมตอบได้เลยว่า"หยุดได้" เส้นเลือดตีบในสมอง เกิดขึ้นทุก 4 นาที ปีละเป็นแสนคน ดารานักแสดง.. คนจน.. คนรวย.. ก็ไม่เว้น จนเป็นเรื่องน่าวิตกมาก วันนี้การแพทย์สหรัฐ ยังบอกเลยว่า มันยากมากที่สุด การรักษาคนป่วยเหล่านี้ แทบจะเลือนลาง เสียงบประมาณมากมาย กับคนป่วยเหล่านี้... อาการเส้นเลือดตีบ เป็นอย่างไร ? เส้นเลือดตีบ อาการที่ส่งสัญญาณ คือ.- 1.อาการมึนหัว 2.อาการบ้านหมุน 3.อาจมีอาการอาเจียนร่วม 4.อาการร่วมอ่อนแรงที่แขน 5.อาการร่วมอ่อนแรงที่ขา 6.มีกลุ่มก้อนแข็งอุดตาม คอ บ่า ไหล่ อาจส่งสัญญาณปวด จากพฤติกรรมที่ทำ คือ.- 1.พักผ่อนน้อย 2.ดื่มน้ำน้อย 3.นอนดึก 4.ดื่มน้ำเย็นเป็นประจำ 5.ชอบทานอาหารมันๆ 6.ชอบดื่มเหล้า สูบบุหรี่ 7.ขาดการออกกำลังกาย 8.ไม่เคยปรับสมดุล ดูแลระบบหลอดเลือด และการไหลเวียนให้สมดุล 9.นั่งนาน 10.ยืนนาน 11.ทำงานหนัก 12.ชอบดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น ภาวะเส้นเลือดตีบในสมอง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากพฤติกรรม ที่สะสมมานาน ไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี การอุดตันในเส้นเลือดถึงจะเกิดขึ้นได้ การรักษาฟื้นฟู สามารถทำได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลา.. นาน.. ไม่ต่ำกว่า 5 ปี คนที่เป็นมีอาการก่อนเส้นเลือดจะตีบตัน สามารถรักษาได้ ใช้ระยะเวลา ไม่เกิด 3-6 เดือน อาการเส้นเลือดตีบในสมองถึงจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้ายังกลับไปทำพฤติกรรมเดิมๆ ก็อาจกลับมาได้อีก เพราะเส้นเลือดตีบในสมอง เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค... เอาละครับ คิดว่าข้อมูลเล็กๆน้อยๆ คงช่วยให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงได้ ห่างไกลความพิการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (อนุญาตให้แชร์ข้อมูลได้ครับ) เพื่อเป็นวิทยาทาน...
    ไม่ระบุชื่อ
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    WHO เตือนบุหรี่ไฟฟ้าแบบใหม่อันตรายกว่าบุหรี่ธรรมดา จริงหรือคะ
    องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกแถลงการณ์กรณีที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา หรือเอฟดีเอ อนุมัติให้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าชนิดใหม่แบบให้ความร้อนของบริษัทบุหรี่ที่ใช้ชื่อทางการค้า “ไอคอส” เป็นผลิตภัณฑ์ลดสารอันตรายอาจจะสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคทำให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วบุหรี่ชนิดนี้มีสารพิษหลายชนิดที่สูงกว่าบุหรี่ธรรมดา และพบสารพิษบางชนิดที่ไม่เคยพบในบุหรี่ธรรมดามาก่อน จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ WHO ออกมาย้ำว่า กินเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป เสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
    องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ หรือ International Agency for Research on Cancer (IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้ เนื้อสัตว์แปรรูปเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 คือ สามารถก่อมะเร็งในมนุษย์ ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับ บุหรี่ แอลกอฮอล์ แร่ใยหิน สารหนู เป็นต้น ส่วนเนื้อแดง เป็นกลุ่ม 2A คือ อาจจะก่อมะเร็งในมนุษย์ การกินเนื้อแดงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้และไส้ตรง
    naydoitall
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ถ้าเราสามารถมีสาร CBD จากกัญชงได้ ผู้ป่วยโรคหอบหืดนับล้านคนทั่วโลก และในประเทศไทยไม่น้อย จะไม่ต้องทนทุกข์ทรมาณจากยาเคมีอีกต่อไป เพราะสาร CBD มีการศึกษาว่า ช่วยขยายหลอดลม ช่วยลดการอักเสบของหลอดลม ช่วยลดเสมหะในหลอดลม ช่วยลดความไวต่อสิ่งกระตุ้นให้หอบ ซึ่งล้วนเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือแม้กระทั่งคนที่สูบบุหรี่ ในประเทศอิสราเอล กำลังทดสอบและวิจัยเพื่อผลิตยาพ่นแก้โรคหอบหืดจากสาร CBD ทั่วโลกก็มองตลาดนี้เช่นนี้กัน และจากประสบการณ์ส่วนตัวที่มีโอกาสแนะะนำ ให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้สาร CBD พบว่า อาการหอบหืดดีขึ้น ไม่หอบบ่อย คุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก และถึงแม้จะยังใช้ยาเคมีอยู่ แต่ก็ใช้น้อยลงกว่าเดิมมาก ก่อนใช้ผมช่วยเชคการตีกันของยาให้ด้วย เพื่อการใช้ที่ปลอดภัยและเหมาะสม อยากให้คนไทย ใช้สมุนไพร กัญชา กัญชง ดูแลชีวิตตัวเองได้ ไม่ต้องฝากชีวิตไว้กับธุรกิจการแพทย์ที่สูบเลือดสูบเนื้อพวกเราที่มากจนเกินไป More Science Less Marketing ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
    ไม่ระบุชื่อ
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    “บุหรี่ไฟฟ้า” อันตรายน้อยกว่า-ช่วยเลิก “บุหรี่มวน”ได้จริงหรือไม่ ?
    “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมากแต่แรกเริ่มเดิมที บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น จึงเป็นทางเลือกของวัยรุ่นในปัจจุบัน
    std47859
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ดื่มชาหญ้าดอกขาว หรือเคี้ยวมะนาว ช่วยลดความอยากบุหรี่ จริงหรือคะ
    กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำให้ใช้ชาชงหญ้าดอกขาว เป็นสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น หญ้าหมอน้อย หญ้าละออง หรือถั่วแฮะดิน หญ้าดอกขาวมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง อีกทั้งมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เทอร์พีน สเตอรอล และสารกลุ่มไกลโคไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ลิ้นฝาดหรือชา ช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ จริงหรือคะ
    anonymous
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    การสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิกบุหรี่มวลได้หรือไม่
    รู้หรือไม่ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวน หลายคนเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีในการเลิกบุหรี่มวน แต่จากงานวิจัยและข้อมูลทางการแพทย์ พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวนได้จริง และยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกมากมาย ข้อมูลจาก https://www.hfocus.org/content/2023/09/28520 จากการสัมภาษณ์ เภสัชกรหญิง อริสา คำรินทร์ เภสัชกรหญิง ร้านยาในจังหวัดมหาสารคาม ให้ข้อมูลว่า การสูบบุรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยให้เลิกเลิกบุหรี่มวล แต่เป็นการทำให้เสพติดสารนิโคตินที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งนำไปสู่ โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง และโรคในระบบทางเดินหายใจ พร้อมกับให้คำแนะนำว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกในการเลิกบุหรี่มวน 1.ไม่ช่วยเลิกบุหรี่: ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่มวนส่วนใหญ่จะติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน หรือสูบทั้งสองชนิดควบคู่กันไป 2.อันตรายต่อสุขภาพ: บุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปอด หัวใจ และระบบอื่นๆ ในร่างกาย ผลกระทบอื่นๆ: 1.ไม่ปลอดภัย: แม้จะไม่มีควันบุหรี่ แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมา 2.เสพติด: นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดการเสพติดได้เช่นเดียวกับบุหรี่มวน 3.ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องความปลอดภัย: งานวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะยืนยันความปลอดภัยได้ “เลิกบุหรี่มวนดีกว่า แต่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลิกบุหรี่ที่ปลอดภัยและได้ผล” เลิกบุหรี่ โทร 1600 หรือปรึกษาที่ร้านยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และร้านยาที่มีเภสัชกรใกล้บ้าน
    Wisit Kongkam
     •  5 เดือนที่แล้ว
    meter: false