358 ข้อความ
- 1 คนสงสัยสธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์สธ.ร่วมกับภาคีเครือข่าย 20 หน่วยงาน เดินหน้ารณรงค์ “วันมะเร็งโลก” ภายใต้แนวคิด ปี 2566 “Uniting our voices and taking action ชวนให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก หากวินิจฉัยเร็ว รักษาไว เพิ่มโอกาสรอดชีวิต มีโอกาสหายขาดได้ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” โดยมีนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คณะผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาธารณสุข อสม. และ ประชาชน เข้าร่วมงาน นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้นหลายประการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจอุจจาระ หากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจคัดกรองต่อด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจหายีนผิดปกติ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม และ การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ยังสนับสนุนสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากวิธี PAP smear เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการตรวจ HPV test ทำให้ความไวและความแม่นยำในการคัดกรองโรคสูงขึ้น และเมื่อคัดกรองพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลัดขั้นตอนการส่งต่อในระบบปกติโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ตามนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่” (Cancer Anywhere) ซึ่งการวินิจฉัยเร็วและรักษาเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยใช้สิทธิ์มะเร็งรักษาได้ทุกที่แล้วกว่า 325,000 คน หรือ กว่า 2,900,000 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วย PET scan ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ สารสกัดกัญชาเพื่อลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา และการสนับสนุนอุปกรณ์ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอคอยการรักษาจำนวนมาก ทั่วประเทศ ทั้งนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uniting our voices and taking action ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ด้านนายแพทย์ธงชัย เพิ่มเติมว่า การที่ประชาชนใช้โซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง ทำให้พบว่า มีการแชร์ข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็งจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยที่หลงเชื่อข้อมูลเท็จดังกล่าวเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด ได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้า ขาดโอกาสที่จะหายขาด และอาจซ้ำเติมให้โรคมะเร็งที่เป็นอยู่รุนแรงมากขึ้น ที่ผ่านมา แม้จะมีการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เพื่อตรวจสอบและให้ข้อมูลข้อเท็จจริง แต่การแชร์ข้อมูลเท็จด้านนี้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมและประชาชนในการสร้างความตระหนักและหยุดยั้งการแชร์ข้อมูลเท็จต่าง ๆ ภายในงานยังมีกิจกรรมเสวนา หัวข้อ “ANTI FAKECANCERNEWS:หยุดแชร์ข่าวปลอม = ลงมือทำ” โดยนายแพทย์สกานต์ เปิดเผยว่า เฟคนิวส์หรือข่าวปลอมนั้นกระทบคนหลายกลุ่ม ผู้ที่ยังไม่ป่วยก็จะกลัวโรคมะเร็ง จึงเสาะหาว่าสิ่งไหนป้องกันโรคมะเร็งได้ แต่การรับข่าวสารต้องระวัง เพราะบางข้อมูลจะมีความจริงบางส่วน เช่น ข่าวปลอมที่ว่า น้ำด่างและน้ำผลไม้ปั่น ป้องกันโรคมะเร็งได้ จริง ๆ แล้ว การดื่มน้ำผักและผลไม้หลากสีจะมีวิตามิน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ต้องพิจารณาว่า ป้องกันได้ในระดับไหน สิ่งที่น่ากลัว คือ กินน้ำเหล่านี้แล้วไม่ปรับพฤติกรรม ยังกินเหล้า สูบบุหรี่ ไม่ระวังมลภาวะ ส่วนกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งจะรู้สึกเคว้ง เชื่อเรื่องการรักษาด้วยวิธีง่าย ๆ เพราะคิดว่า การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายแสง ใช้ยาเคมีบำบัดหรือการทำคีโม การผ่าตัด เป็นสิ่งที่ทรมาน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนไปเยอะ แผลผ่าตัดเล็กลง การใช้ยาและการฉายแสง ไม่ส่งผลต่อร่างกายมากเท่าเดิม ซึ่งคนที่เชื่อข่าวปลอมก็จะทิ้งการรักษามาตรฐาน แทนที่จะเข้าสู่การรักษา แล้วกลับมาตอนที่เป็นในระยะที่ 3-4 ซึ่งยากต่อการรักษา อีกทั้งผลิตภัณฑ์บางอย่างยิ่งซ้ำเติมอาการให้รุนแรงอีกด้วย "สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้เปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง มากว่า 2 ปีแล้ว พบข่าวปลอม 600 กว่าเรื่อง หากมีข้อสงสัยในข้อมูลที่ได้รับมา สามารถเสิร์ชหาในเว็บไซต์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง หรือ Anti Fake Cancer News (AFCN) และยังสามารถอ่านข้อมูลจากข่าวปลอมได้ที่เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand โดยได้ทำข้อมูลความรอบรู้สู้มะเร็ง เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งที่ถูกต้องควบคู่กันไปด้วย สำหรับตัวอย่างข่าวปลอม เช่น ข่าวปลอมว่า ใช้โรลออนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็นมะเร็งเต้านม เพราะน้ำยาระงับเหงื่อมีสารประกอบโลหะ เมื่อใช้นาน ๆ จะสะสมในร่างกาย เรื่องนี้ก็ไม่เป็นความจริง รวมถึงข่าวปลอมที่ว่า การทำ Ice Bathing สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ก็ไม่จริง แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีใช้ความเย็น แต่เครื่องมือดังกล่าวต้องมีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมคือต้องติดลบหลายองศา และใช้ความเย็นจัดเฉพาะที่ตัวก้อนมะเร็งด้วยเครื่องมือพิเศษโดยแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทาง การลงแช่ในน้ำแข็งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ จึงขอย้ำให้ตั้งสติก่อนแชร์ ส่วนฝั่งที่รับข่าวสารต้องหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือก่อนจะเชื่อ" นายแพทย์สกานต์ ย้ำ ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสริมว่า ข่าวปลอมมีทั้งที่เป็นข้อมูลที่ผิด (misinformation) การบิดเบือนข้อมูล (disinformation) หรือมีข้อเท็จจริงบางส่วน กองทุนฯ เคยทำการวิจัยพบว่า ข้อมูลสุขภาพ 1200 ข่าว 900 ชิ้นเป็นข่าวปลอม เรื่องเกี่ยวกับโรคมะเร็งก็มีเยอะมาก ดังนั้น ต้องตั้งหลักแล้วคิด แล้วจะเลือกได้อย่างถูกทาง หากนึกถึงการแพร่ระบาดของโรคระบาด ข้อมูลเฟคนิวส์ก็รุนแรงพอ ๆ กัน จึงเรียกว่า Infodemic (ภาวะข้อมูลระบาด) ผู้รับสารต้องตั้งสติ อย่าใช้ความเคยชิน เมื่อเป็นโรคแล้วต้องสลัดความกลัว ตั้งหลัก ให้กำลังใจตัวเอง รับมือกับข้อมูลข่าวสารได้ ก็จะรับมือกับโรคได้ ขณะที่ น.ส.ศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง อดีตผู้ป่วยมะเร็ง เจ้าของเฟซบุ๊กแฟนเพจ เรื่องจริงกะเบลล์ เล่าถึงประสบการณ์การเป็นมะเร็งว่า ตอนที่เป็นมะเร็งก็สับสนข้อมูลความรู้ จะเจอกับหมอกูเกิลก่อนจะเป็นหมอจริง จึงเริ่มแชร์ประสบการณ์จริงว่า สิ่งไหนกินแล้วดีต่อร่างกาย มีผลอย่างไร หรือมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร นอกจากนี้ ยังได้รวมเครือข่ายจากหลายชมรมที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เช่น ชมรมมะเร็งเต้านม และชมรมมะเร็งลำไส้ มารวมเป็นพลังถ่ายทอดประสบการณ์ตรง เช่น ตอนที่ให้ยาคีโม แล้วลดการรับประทานเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับได้ แต่บางกรณีก็ใช้ได้กับอีกคน ซึ่งต้องพิจารณาในแต่ละเรื่อง เพราะโรคมะเร็งไม่เหมือนโรคอื่น มันจะมีเวลาโกลเดนท์ไทม์ 2-3 เดือน จะสุขภาพดีเพื่อรับยาและการรักษาที่ถูกต้อง ถูกที่ถูกเวลา โอกาสหายขาดจะสูง ทั้งนี้ อย่าให้ความกลัวทำให้ตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต ลองสำรวจตัวเองก่อนว่า สิ่งที่คิดเป็นความจริงหรือความกลัว อยากให้ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน แม้จะตัดสินใจพลาดก็เริ่มใหม่ได้ ส่วน น.ส.สุชาตา ช่วงศรี รองอันดับ 2 มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2022 เสริมถึงประสบการณ์ตรงเรื่องโรคมะเร็งว่า ตอนนั้นปวดตรงหน้าอก รู้สึกว่าด้านข้างโตผิดปกติ ตอนแรกยังตัดสินใจไม่ตรวจ คิดว่า ลองลดความอ้วน คุมไขมัน แต่ยิ่งโตก็พบว่า ก้อนใหญ่ขึ้น ปวดมากโดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน จึงเข้ารับการตรวจวินิจฉัยพบก้อนเนื้อทั้ง 2 ข้าง แพทย์จึงให้คำแนะนำและเข้าสู่กระบวนการรักษา ขอย้ำว่า หากตรวจรักษาเร็วก็จะหายได้เร็ว สำหรับกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” ครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จำนวน 20 แห่ง อาทิ กรมการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลมะเร็งภูมิภาค, มูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ, สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์, โรงพยาบาลในเขต จ.ปทุมธานี และภาคเอกชน อาทิ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์, บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รวมทั้งภาคประชาสังคม คือ มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง จัดกิจกรรม 2 ส่วน ประกอบด้วย การให้บริการประชาชน ได้แก่ ชุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง (HPV Self Sampling) และส่วนนิทรรศการความรู้ อาทิ นิทรรศการ “ANTI FAKE CANCER NEWS : หยุดแชร์ข่าวปลอม = ลงมือทำ, สาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, การเย็บหมวกและเต้านมเทียมเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง, ให้คำปรึกษาการตรวจสุขภาพ, HPV Vaccine, นิทรรศการสาธิตเมนูอาหาร และนิทรรศการ Thai Cancer Society เป็นต้นสุขภาพมะเร็งstd48333• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยมีการแชร์ข่าวบนโลกออนไลน์ว่า ผลข้างเคียงของการ ฉีดวัคซีนโควิด19 มีผลเกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของผู้ชายและผู้หญิง โดยทำให้ผู้ชาย มีอสุจิน้อยลง เป็นหมัน และในผู้หญิง มดลูกมีปัญหา มีบุตรยาก เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไร?ก่อนหน้านี้ก็เคยมีความกังวลในหมู่คุณผู้ชาย ว่าหากรับวัคซีนโควิด19 แบบ mRNA เช่น ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์น่าแล้ว จะส่งผลให้ปริมาณน้ำเชื้อ อสุจิลดน้อยลง ซึ่งข้อมูลจาก ดร.เดวิด โคเฮน ผู้อำนวยการร่วมด้านการแพทย์ของสถาบันเพื่อการสืบพันธุ์ของมนุษย์ในชิคาโก ระบุว่า "ตอนนี้หลักฐานน่าจะรับรองได้ว่า ความเสี่ยงของการฉีดวัคซีนโควิด19 ส่งผลต่อจำนวนอสุจิต่ำมาก" แม้ว่าวัคซีนจะไม่มีผลต่อสเปิร์ม แต่ โควิด19 มีผลต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย โดยเมื่อเทียบคุณภาพสเปิร์มของผู้ป่วยกับผู้ชายสุขภาพดี ผลพบว่า มีอัตราการอักเสบในเซลล์อสุจิของผู้ป่วย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ความเข้มข้นของสเปิร์ม การเคลื่อนไหวและรูปร่าง ได้รับผลกระทบจากไวรัส แต่เพียงเล็กน้อยและชั่วคราวเท่านั้นสุขภาพโควิด 2019มีมeardoil• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยค้องฉีดวัคซีนไปเลือกตั้งจะไปเลือกตั้งต้องฉัดวัคซีนข่าวการเมืองเลือกตั้งสุขภาพวัคซีนโควิดศุภกฤต หนูเงิน• 1 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยหน้ากากอนามัยแบบ non-medical mask ไม่สามารถช่วยป้องกันโควิด-19 ได้นายขาวออกมาบอกว่าใส่แมส แบบ non-medical mask แล้วเป็นโควิด จึงมีประเด็นดราม่า ว่าไม่ปลอดภัยสุขภาพโควิด 201947860• 1 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยยืนตากเเดดสามารถฆ่าเชื้อโควิดได้จริงหรือนายแดงออกมาบอกว่า การที่ยืนตากแดด=เป็นการฆ่าเชื้อโควิด 19ได้สุขภาพโควิด 201947860• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยโควิดหายได้จากการกินน้ำมะนาวนายก.ได้ออกมาบอกว่าการดื่มน้ำมะนาวทำให้หายจากเขื้อโควิด 19สุขภาพโควิด 201947860• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยไม่กินข้าวเช้าน้ำหนักลดจริงหรอ??เนื่องจากมีผู้ใช้รายหนึ่งได้บอกว่าตัวเองไม่กินข้าวเช้าแล้วน้ำหนักลดสุขภาพลดความอ้วนstd47861• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากพัสดุไปรษณีย์ไทยได้แจ้งขอให้ทุกท่านที่ได้รับจดหมาย หรือพัสดุไปรษณีย์ ให้ใส่ถุงไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเปิด หรือฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนนำเข้าบ้าน เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้วนั้น ไปรษณีย์ไทยแจ้งว่า ไม่เป็นความจริง และทางไปรษณีย์ไทยได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรค COVID-19 อย่างเข้มงวด ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ รวมถึง การดูแลความสะอาดไปรษณียภัณฑ์ทุกชิ้น พร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อรถขนส่งไปรษณีย์ทุกคันสุขภาพโควิด 2019Khaohom Kuisai• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวกระเทียมมีสารอัลลิซินฆ่าเชื้อ COVID-19 เป็นข้อมูลบิดเบือนกรณีมีการเผยแพร่ข้อความระบุว่า "กระเทียม" มีสารอัลลิซินที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ COVID-19 ชี้ข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวบิดเบือนสุขภาพโควิด 2019ยาสมุนไพรstd49571• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยแตกแดดช่วยฆ่าเชื้อโรคจริงมั้ยหนึ่งในหลายๆเรื่องเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีการส่งมาให้ cofact.org ตรวจสอบ และพบว่าเป็นข่าวปลอมที่ถูกนำมาแชร์ซ้ำคือประเด็นการยืนตากแดดจะสามารถฆ่าเชื้อได้สุขภาพโควิด 2019std48315• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยคลอรีนผงผสมน้ำเพื่ออาบ ทำให้ผิวขาวตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องคลอรีนผงผสมน้ำเพื่ออาบ ทำให้ผิวขาว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ คลอรีนเป็นสารกัดกร่อน จัดเป็นวัตถุอันตรายใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรค ไม่เหมาะกับร่างกายของมนุษย์ อีกทั้งจัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หากสัมผัสผิวหนังในปริมาณมากจะทำให้ผิวหนังไหม้รุนแรง ระคายเคืองดวงตาและระบบทางเดินหายใจ แนะใช้ตรงตามวัตถุประสงค์และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก เพื่อความปลอดภัยสุขภาพstd47931• 1 ปีที่แล้วmeter: mostly-true--middle4 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวลวงมีการบอกเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงสุขภาพวัคซีนโควิดstd47953• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม!! ดื่มน้ำมะนาวผสมเกลือเป็นวิธีฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19จากกรณีแนะนำวิธีข้อปฏิบัติตัวในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการดื่มน้ำอุ่นผสมเกลือ น้ำสมุนไพร และน้ำมะนาว เพราะเชื้อ COVID-19 กลัวน้ำดังกล่าว กรมควบคุมโรคได้ชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการสร้างข้อมูลเท็จนำมาเผยแพร่ซ้ำเพื่อสร้างความเข้าใจผิด ปัจจุบันยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ใดยืนยันว่าการดื่มน้ำมะนาวผสมเกลือช่วยฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ซึ่งการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสฯ ที่ดีที่สุดขณะนี้ คือ ลดการสัมผัสที่ไม่จำเป็น หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่แออัด สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ และหากมีไข้ หรืออาการเสี่ยงให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย และวิธีการป้องกันตนเอง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์สุขภาพโควิด 2019ยาสมุนไพรstd47049• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกินเหล้าขาวผสมมะนาวรักษาโควิดการดื่มสุราไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้และไม่เคยมีผลว้จัยว่าจะได้สุขภาพโควิด 2019วัคซีนโควิดยาสมุนไพรธันย์พัทธ์ กุลมาตย์• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยโควิดสายพันธุ์ XBB ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลตา 5 เท่า และมีอัตราการตายที่สูงกว่าจากกรณีที่มีการแจ้งเตือนโดยระบุว่า โควิดสายพันธุ์ XBB ตรวจพบได้ยาก เป็นพิษมากกว่าเดลตา 5 เท่า และมีอัตราการตายที่สูงกว่านั้น ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงว่า ปัจจุบันสายพันธุ์โอมิครอน BN.1 และลูกหลานซึ่งมีความได้เปรียบในการแพร่กระจาย และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยแต่มีแนวโน้มลดลง ในขณะเดียวกันสถานการณ์สายพันธุ์ลูกผสม XBB.1.5 XBB.1.16 และ XBB* รวมถึงลูกหลาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและน่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในอนาคต ผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อก่อโรคโควิด 19 ในประเทศไทย ด้วยการตรวจหาสารพันธุกรรมแบบทั้งตัว ในช่วงเดือนมีนาคม 2566 พบว่าสัดส่วนสายพันธุ์ BA.2.75* และลูกหลานมีแนวโน้มลดลงจากเดิมที่พบสัดส่วน 73.02% ในสัปดาห์แรกของเดือน ลดลงเหลือ 40.00% ในสัปดาห์สุดท้าย ขณะที่สายพันธุ์ XBB* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 12.70% ในสัปดาห์แรกของเดือน เป็น 20.00% ในสัปดาห์สุดท้ายสุขภาพโควิด 2019std48027• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยแนะแนวทางสกัด “infodemic” ข่าวปลอม-ข้อมูลเท็จ ซ้ำเติมสถานการณ์ “โควิด-19” ระบาดหนักเชื่อมต่อโลกออนไลน์ ระดมความคิดเห็นและแนวทางรับมือ “โรคระบาดข้อมูลข่าวสาร - infodemic” ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 อย่างไร ไม่ให้ตื่นตระหนก และตกเป็นเหยื่อข่าวลวงข้อมูลเท็จ เมื่อเร็วๆ นี้ ในการเสวนาออนไลน์เรื่อง เราควรรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร (Infodemic) อย่างไรให้สมดุล จัดโดย ภาคประชาสังคม และกลุ่ม CoFact หรือ Collaborative Fact Checking แพลตฟอร์มใหม่ของภาคพลเมืองในการตรวจสอบข่าวลวงสุขภาพโควิด 2019ศุภาพิชญ์ จันทร์ภูญา• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยุงสามารถแพร่เชื้อโควิด19ได้?ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ยุงสามารถแพร่เชื้อโรคโควิด 19 . จากที่มีการแชร์ข้อความเรื่องยุงสามารถแพร่เชื้อโรคโควิด 19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อความดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีการตรวจพบข้อความเรื่องยุงสามารถแพร่เชื้อไวรัสโรคโควิด 19 ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ไม่มีหลักฐานใดที่พบว่าการกัดของยุงจะสามารถถ่ายทอดเชื้อโควิด 19 ได้ อีกเหตุผลหนึ่งคือ ยุงมีตัวรับเชื้อโรคและความสามารถในการแบ่งเชื้อโรคที่ต่างจากคน ดังนั้น เชื้อโควิด 19 ไม่สามารถถ่ายทอดโดยยุงได้ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่งต่อข้อมูลดังกล่าวในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย และวิธีการป้องกันตนเอง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th หรือ โทร. 1422 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยุงไม่สามารถแพร่เชื้อโรคโควิด 19 ได้ เพราะยุงมีตัวรับเชื้อโรคและความสามารถในการแบ่งเชื้อโรคที่ต่างจากคน อีกทั้ง ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ใด ๆ ที่สนับสนุน . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #ยุง #โควิด19 #แพร่เชื้อสุขภาพโควิด 2019std48133• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยการยืนตากแดดนั้นสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ให้แสงแดดชะโลมทั่วตัววันละ 20 นาทีทุกวัน (หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้) แสงแดดจะไปเสริมภูมิคุ้มกันฆ่าเชื้อโควิด-19สุขภาพโควิด 2019std47762• 2 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยแฟนมวยโล่ง! “เสี่ยฮุย”ยันข่าวปลอม “แหลม”ติดโควิด... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/720223/“เสี่ยฮุย” ยืนยัน ข่าว “เจ้าแหลม” ติดโควิด ชวดชิงแชมป์โลก จากสำนักข่าวดัง ESPN เป็นข่าวปลอม “เฟคนิว-Fake news” โร่หารือ WBC แถลงข่าวแก้ด้วย เผย “เจ้าแหลม” ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น ยังคงปักหลักฟิตซ้อมตามปกติในการขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่น 115 ปอนด์ที่ว่างของ สภามวยโลก (WBC) กับ คาร์ลอส คูเอดราส คู่ปรับเก่าชาวจังโก้...สุขภาพโควิด 2019มีมkensuji54• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ Dentiste Andrographis Paniculata สามารถดักจับเชื้อไวรัสก่อนลงปอดตามที่มีการโฆษณาทางสื่อโซเชียลว่า เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ Dentiste Andrographis Paniculata สามารถดักจับเชื้อไวรัสก่อนลงปอด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Dentiste Andrographis Paniculata ซึ่งใช้ข้อความโฆษณาแสดงสรรพคุณว่า สามารถดักจับเชื้อไวรัสก่อนลงปอดนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ผลิตภัณฑ์ เดนทิสเต้ แอนโดรกราฟิส พานิคูลาต้า จดแจ้งไว้เป็นเครื่องสำอางที่ใช้ในช่องปากมีทั้งยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และสเปรย์ระงับกลิ่นปาก รวม 7 รายการ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเครื่องสำอางทำความสะอาดในช่องปาก ระงับกลิ่นปาก จึงไม่มีผลในการดักจับเชื้อไวรัสก่อนลงปอดแต่อย่างใดสุขภาพโควิด 2019ผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47602• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัย6โรคร้ายตามมาหลังพักผ่อนไม่พอhttps://www.antifakenewscenter.com/%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89/6-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%b2-%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99/สุขภาพplumplumplum2551• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยวางมือถือไว้หัวนอน ทำให้เป็นมะเร็งสมองตามที่มีการโพสต์และแชร์ กรณีวางโทรศัพท์มือถือไว้หัวนอน ทำให้เป็นมะเร็งสมอง ทางกรมการแพทย์ ตรวจสอบแล้วพบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงว่าทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งสมองทั้งในผู้ใหญ่และเด็กสุขภาพผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47766• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็งกรณีที่มีผู้โพสต์คลิปวิดีโอให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพว่า อันตรายจากการทานอาหารที่อุ่นไมโครเวฟ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) ที่ใช้ปรุงอาหาร คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับคลื่นวิทยุ มีหลักการทำงานโดยการปล่อยรังสีเป็นคลื่นไปกระทบอาหาร ทำให้โมเลกุลน้ำทั้งภายใน และนอกอาหารสั่น และเสียดสีกันจนเกิดเป็นความร้อนสะสม จากนั้นพลังงานดังกล่าวจะสลายตัวไป จากข้อมูลที่ระบุว่า การใช้ไมโครเวฟจะทำให้สูญเสียสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินบี วิตามินซี โฟเลตนั้น ตามข้อเท็จจริงแล้วการปรุงหรืออุ่นอาหารทุกกรรมวิธีที่ใช้ความร้อนอาจเป็นผลให้เกิดการสูญเสียสารอาหารได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าคลื่นไมโครเวฟไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ และไม่ตกค้างในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรระมัดระวังอันตรายจากการใช้เตาอบไมโครเวฟในด้านอื่น ๆ เช่น การใช้ความร้อนและระยะเวลาให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร ตลอดจนเลือกใช้ภาชนะชนิดที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับเตาไมโครเวฟได้เป็นต้นสุขภาพมะเร็งyusufmassour1• 2 ปีที่แล้วmeter: mostly-false--middle3 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูปตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอสุขภาพสุริยนต์ พักแดงพันธ์• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยกินเม็ดชานมไข่มุกทำให้เป็นมะเร็งกินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง 20 มีนาคม 2022 | 11:30. ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องกินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จสุขภาพstd47611• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ