2210 ข้อความ
- 1 คนสงสัยยาลดความอ้วนปคบ.ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแถลงผลการทลายเครือข่ายจำหน่ายยาลดน้ำหนักผสมไซบูทรามีนข้ามชาติ "มาเรีย คิม" ส่งขายทั้งในไทยและต่างประเทศ กระจายตรวจค้นเป้าหมาย 6 จุด จับผู้ต้องหาได้ 4 คน พร้อมของกลางกว่า 270 รายการ รวมมูลค่ากว่า 6 ล้านบาทstd46420• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเช็คด่วน‼ 8 แบรนด์รถยนต์ ถุงลมนิรภัยไม่ได้มาตราฐาน ❌อันตราย รีบเปลี่ยนด่วน❌เช็คด่วน‼ 8 แบรนด์รถยนต์ ถุงลมนิรภัยไม่ได้มาตราฐาน ❌อันตราย รีบเปลี่ยนด่วน❌ เช็ครุ่นรถยนต์ได้ที่ เว็บไซต์ https://www.checkairbag.com/ (หรือสแกนคิวอาร์โค้ด) อ่านเพิ่มเติม : https://www.js100.com/en/site/post_share/view/124248 #ถุงลมนิรภัย #ถุงลมนิรภัยระเบิด ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน #JS100 ได้ที่ >> goo.gl/hoc9w8ผู้บริโภคเฝ้าระวังMrs.Doubt• 3 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยพระเจ้าอัลเฟรอเป็นกษัตริย์องค์แรกของอังกฤษหรือไม่พระเจ้าอัลเฟรด มหาราชทรงขึ้นปกครองอังกฤษใน ค.ศ.871และขับไล่พวกแดนมาร์กออกไปในปี ค.ศ. 871และรวบรวมแผ่นดินอังกฤษให้เป็นปึกแผ่นจริงหรือไม่?Konpapha Thainukun• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสายการบินเอมิเรตส์ประกาศทำ Rapid Test ตรวจโควิด-19 ผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง 10 นาทีรู้ผล เป็นแอร์ไลน์แรกของโลก เริ่มเที่ยวบินระหว่างดูไบ-ตูนีเซียสายการบินเอมิเรสต์เป็นสายการบินแรกที่ดำเนินการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีตรวจเร็ว หรือ Rapid Test ( การตรวจหาภูมิคุ้มกัน) โดยดำเนินการเป็นครั้งแรกในกลุ่มผู้โดยสารที่เดินทางจากดูไบ ไปยังประเทศตูนีเซีย เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมาโควิด 2019naydoitall• 5 ปีที่แล้วmeter: mostly-true--middle2 ความเห็น
- 2 คนสงสัยการดื่มน้ำมะนาวฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้???การดื่มน้ำมะนาวฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ : หลายคนอาจเคยได้ยินวลี “มะนาวโซดาฆ่ามะเร็ง” ที่หมายถึงยุคหนึ่งเคยมีการส่งต่อข้อมูลบนโลกออนไลน์ว่าการดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำโซดาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ซึ่งต่อมาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง กระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 มะนาวถูกยกมาเป็นยาวิเศษอีกครั้งหนึ่ง โดยช่วงเดือน มี.ค. 2563 มีการแชร์ข้อมูลว่าน้ำมะนาวสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ ซึ่ง นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายผ่านสื่อมวลชน เมื่อ 28 มี.ค. 2563 ว่า มะนาวมีวิตามินซีสูง ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน เชื้อโรคไม่สามารถฝังเข้าไปในเซลล์ของทางเดินหายใจและปอดได้ง่ายเท่านั้น แต่ไม่สามารถฆ่าไวรัสได้ ในช่วงไล่เลี่ยกันยังมีการแชร์ข้อมูลน้ำมะนาวผสมโซดา (อีกแล้ว) แต่คราวนี้ผสมน้ำส้มสายชูไปด้วยโดยอ้างว่าสูตรนี้ฆ่าไวรัสโควิด-19 ได้แน่นอน เพราะจะไปทำลายไวรัสที่พบในลำคอ ซึ่งทาง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ออกมาเตือนประชาชนว่าอย่าหลงเชื่อ เพราะข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ใดๆ มารับรองstd46342• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเลือดเป็นด่างมีโอกาสติดโควิด-19 ได้น้อยลงเป็นเรื่องที่แชร์กันมากตั้งแต่ ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ ๆ เลยทีเดียว โดยมีการอ้างว่า คนที่กินเจ กินแต่ผักผลไม้ จะทำให้เลือดเป็นด่าง และเชื้อโควิด-19 จะไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง โดย พ.ต.ต.นพ.ธนิต จิรนันท์ธวัช อายุรแพทย์ และโฆษกโรงพยาบาลตำรวจ ได้อธิบายผ่านสื่อมวลชน เรื่องค่า pH ของเลือดมนุษย์ที่จะอยู่ที่ 7.35-7.45 และการบริโภคผักและผลไม้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนค่านี้ได้ นอกจากนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ใด ที่ยืนยันว่าการรับประทานผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง มีผลในการช่วยฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ไstd48030• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสื่ออาเซียนเผย “Fake News” เกี่ยวกับ "โควิด-19" หลายครั้ง “รัฐ” เผยแพร่เองนักข่าวฟิลิปปินส์ - อินโดฯ – มาเลย์ ย้ำบทบาท “สื่อ” สำคัญ ยุติข่าวปลอม ห่วงรัฐบาลอาศัยอำนาจพิเศษละเมิดสิทธิ์ประชาชนช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด วันที่ 14 เม.ย. ที่ผ่านมา ภาคประชาสังคม และกลุ่ม CoFact หรือ Collaborative Fact Checking แพลตฟอร์มใหม่ของภาคพลเมืองในการตรวจสอบข่าวลวง ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง How to handle Covid-19 infodemic in Asia? หรือ จะรับมือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโควิด – 19 ในเอเชียได้อย่างไร โดยมีสื่อมวลชนจากหลายประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การรายงานข่าว และการรับมือกับข่าวปลอมในช่วงการระบาดของโรคโควิด – 19 ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เอนดี บายูนี (Endy Bayuni) บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า สถานการณ์ “ข่าวปลอม” ในรอบนี้ในอินโดนีเซีย ถือว่าไม่รุนแรงเท่ากับการเลือกตั้ง หรือเรื่องการเมืองที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องของความแตกแยก การใส่ร้ายป้ายสี และความรุนแรง โดยในรอบนี้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรคแบบแปลกๆ หรือข่าวปลอมเรื่องอาสาสมัครที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ซึ่งไม่เป็นความจริงเท่านั้น ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซีย ระบุว่ามีข่าวปลอมทั้งหมด 1,096 ชิ้น ได้ขอให้เฟซบุค นำข่าวปลอมออกทั้งหมด 759 โพสต์ แต่ในที่สุด เฟซบุค ได้เอาออกทั้งหมด 303 ข่าวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่เฟซบุค แต่อยู่ที่แอปพลิเคชันที่เป็นการส่งข้อความแบบ Instant Messaging ระหว่างบุคคล อย่าง Whatsapp มากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อยู่เหนือการควบคุมของรัฐบาล และมักจะเป็นตัวกลางชั้นดีในการกระจายข่าวปลอม นอกจากนี้ เอนดี ยังได้แสดงความกังวลว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้อาศัย “อำนาจพิเศษ” ในช่วงภัยพิบัติ ซึ่งรัฐบาลมีอำนาจเต็มมากกว่าห้วงเวลาปกติ ในการจับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล โดยเมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมา ตำรวจได้จับตัวชายคนหนึ่ง ในข้อหาปลุกระดม สร้างความวุ่นวาย และในหลายครั้ง รัฐบาลอินโดนีเซียเองก็แชร์ “ข่าวปลอม” เพื่อสร้างความเชื่อมั่น หรือสร้างผลดีให้กับรัฐบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่าประเมินสถานการณ์ต่ำไป รวมถึงรับมือได้ไม่ดีนัก จนทำให้โควิด-19 ระบาดหนักในอินโดนีเซีย จนมีอัตราตาย 8.7% สูงที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะฉะนั้น ช่วงเวลานี้ การทำหน้าที่สื่อมวลชนจึงสำคัญมากในการตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบข่าวลวง - ข่าวปลอม รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ และในอีกแง่หนึ่งก็ต้องตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลตามไปด้วย ขณะที่อดัม คูเปอร์ (Adam Cooper) ผู้จัดการอาวุโสศูนย์ประสานงาน การพูดคุยเพื่อมนุษยธรรม (Centre for Humanitarian Dialogue) กล่าวว่า การไหลเวียนของข่าวลวงจำนวนมาก ทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย จัดการกับข่าวลวงไม่ไหว อย่างไรก็ตาม ได้เห็นความพยายามในการมีส่วนร่วมจัดการข่าวลวงเช่นกัน ยกตัวอย่าง ในสหรัฐอเมริกาเอง หากเปิดกูเกิล หรือเฟซบุค ข่าวเกี่ยวกับโควิด-19 จากสำนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือจากองค์การอนามัยโลกที่เชื่อถือได้ จะขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ หรือในยูเครน องค์การอนามัยโลก ก็มี Chatbot ไว้ตอบคำถามเป็นภาษารัสเซีย ซึ่งสามารถจัดการกับข่าวปลอม และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องได้พอสมควร แต่ที่เป็นปัญหาก็คือ ในประเทศที่รัฐขาดความชอบธรรม และความน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลข่าวสารที่มาจากรัฐเองจะขาดความน่าเชื่อถือตั้งแต่ต้น และข่าวสารใดๆ ที่รัฐแถลงออกมา ประชาชนจะไม่เชื่อ และไม่ทำตาม ซึ่งตรงนี้ ภาคประชาสังคม จะมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบที่มาข่าว และเผยแพร่ข้อเท็จจริงเป็นวงกว้าง โดยภาคประชาสังคม จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในสถานการณ์แบบนี้ อดัม กล่าวอีกว่า ความท้าทายอีกอย่างก็คือ มีความ “อคติ” เรื่องเชื้อชาติ - ศาสนา อยู่มากพอสมควร ในโซเชียลมีเดีย เช่น การบอกว่าพิธีกรรมทางศาสนา เป็นตัวกระจายการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งจุดนี้ ภาคประชาสังคม และกลุ่มตรวจสอบข่าวลวง อาจต้องสื่อสารหนักขึ้นเพื่อลดอคติ และความเข้าใจผิด ไม่ให้เกิดความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ - ศาสนา ในเวลาแบบนี้std48079• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสื่ออาเซียนเผย “Fake News” เกี่ยวกับ "โควิด-19" หลายครั้ง “รัฐ” เผยแพร่เองนักข่าวฟิลิปปินส์ - อินโดฯ – มาเลย์ ย้ำบทบาท “สื่อ” สำคัญ ยุติข่าวปลอม ห่วงรัฐบาลอาศัยอำนาจพิเศษละเมิดสิทธิ์ประชาชนช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดstd48063• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยืนตากแดดฆ่าเชื้อโควิด-19 ในร่างกายได้ข้อความที่แชร์บนโลกออนไลน์ เสนอให้รณรงค์ชักชวนผู้คนมายืนตากแดดออกกำลังกายยามเช้าเพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรค เพราะเชื้อโรคชอบความเย็นstd47725• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยพัสดุไปรษณีย์เป็นแหล่งแพร่เชื้อโควิด-19ข่าวลือเรื่องมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากจดหมายหรือพัสดุไปรษณีย์และให้ระมัดระวังการรับจดหมายหรือพัสดุที่มาส่ง เกิดขึ้นมาก่อนแล้วในช่วงที่มีสถานการณ์ระบาดรอบแรกstd47725• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเลือดเป็นด่างมีโอกาสติดไวรัสโควิด-19 ได้น้อยลงเรื่องที่แชร์กันมากตั้งแต่ช่วงที่ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ๆ และมักถูกนำไปโยงกับความเชื่อทางศาสนา ที่อ้างว่าบุคคลใดกินเจไม่แตะต้องเนื้อสัตว์ ไวรัสโควิด-19 จะไม่สามารถทำอันตรายใดๆ ได้ หรือถึงได้ก็มีอาการไม่รุนแรง เพราะอาหารเจทำให้เลือดเป็นด่าง (วัดจากค่า pH ซึ่งมีระดับตั้งแต่ 1-14 โดย 1 หมายถึงเป็นกรดรุนแรงที่สุด และ 14 หมายถึงเป็นด่างรุนแรงที่สุด) โดยอ้างชื่อแพทย์บางท่านที่หันไปทำงานด้านส่งเสริมการกินเจstd47725• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยการดื่มน้ำมะนาวฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้หลายคนอาจเคยได้ยินวลี “มะนาวโซดาฆ่ามะเร็ง” ที่หมายถึงยุคหนึ่งเคยมีการส่งต่อข้อมูลบนโลกออนไลน์ว่าการดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำโซดาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ เกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 มะนาวถูกยกมาเป็นยาวิเศษอีกครั้งหนึ่ง โดยช่วงเดือน มี.ค. 2563 มีการแชร์ข้อมูลว่าน้ำมะนาวสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้std47725• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเลือดเป็นด่าง โอกาสติดโควิดน้อยลงกรมควบคุมโรคได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลเกินจริงและไม่ถูกต้อง ถูกนำมาส่งต่อซ้ำๆโดยขณะนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ใดๆที่ยืนยันว่าการรับประทานผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นด่างมีผลในการช่วยฆ่าเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้โควิด 2019Worsorkubpom• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเลือดเป็นด่างมีโอกาสติดโควิด-19 ได้น้อยลงเป็นเรื่องที่แชร์กันมากตั้งแต่ ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ ๆ เลยทีเดียว โดยมีการอ้างว่า คนที่กินเจ กินแต่ผักผลไม้ จะทำให้เลือดเป็นด่าง และเชื้อโควิด-19 จะไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง โดย พ.ต.ต.นพ.ธนิต จิรนันท์ธวัช อายุรแพทย์ และโฆษกโรงพยาบาลตำรวจ ได้อธิบายผ่านสื่อมวลชน เรื่องค่า pH ของเลือดมนุษย์ที่จะอยู่ที่ 7.35-7.45 และการบริโภคผักและผลไม้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนค่านี้ได้ นอกจากนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ใด ที่ยืนยันว่าการรับประทานผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง มีผลในการช่วยฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้โควิด 2019std46348• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยไขกลลวงของแก๊งมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินออนไลน์ ก่อนตกเป็นเหยื่อ!เงินช็อต! เลยเอาเงินเก็บฉุกเฉินมาใช้ก่อน แล้วค่อยเก็บใหม่ทีหลังเมื่อตอนที่การเงินคงที่ จะได้ไม่ต้องเป็นหนี้ใครเพราะไปกู้ยืม หากทำตามวิธีที่ว่าถือเป็นเรื่องดี แต่ใช่ว่าจะมีเงินเก็บฉุกเฉินกันได้ทุกคน เพราะบางคนก็หาเช้ากินค่ำเลยไม่มีเงินเก็บ พอต้องใช้เงินเลยไป กู้เงินด่วน 30 นาที แต่โชคร้ายซ้ำสอง เจอมิจฉาชีพหลอกโอนเงินทางไลน์เข้าจนได้ เพื่อไม่ให้คุณเป็นเหยื่อ นี่คือเรื่องราวของแก๊งมิจฉาชีพหลอกโอนเงินที่คุณต้องรู้std46308• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกัญชากัญชา” เป็นหนึ่งในพืชที่มีสารสำคัญอยู่ภายใน มนุษย์รู้จักพืชชนิดนี้นำมาใช้เป็นสรรพคุณทางยากันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหนึ่ง ต่อมาเมื่อกัญชาถูกควบคุมให้เป็นยาเสพติดจึงถูกระงับการใช้ในวงการแพทย์ไป แต่ก็ยังมีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยใช้เป็นยารักษาอาการบางอย่างด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านอยู่ จนเมื่อมีนักวิทยาศาสตร์ ได้มาไขปริศนาจนเกิดเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์สมัยใหม่ จน “กัญชา” กลับมาเป็นพืชที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง รวมถึงในประเทศไทยได้อนุญาตให้ ปลูกและนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ และปลดล๊อคให้บางส่วนของกัญชา ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไปdiazp121phoenix• 3 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยโคแฟคเตือนข่าวลวงโควิดวนซ้ำ วอนหยุดแชร์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่นอกจากนำมาสู่โรคระบาดโควิด19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกแล้ว ยังนำมาสู่ภาวะการระบาดของข้อมูลข่าวสาร (Infodemic) ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือที่เรียกกันติดปากว่าข่าวลวง (fake news) เพิ่มอย่างมากมายทั่วโลกด้วย . โคแฟค เผย 5 ข่าวลวงโควิดวนซ้ำระบาดรอบใหม่ แนะสังคมร่วมสกัดไวรัสข่าวสารด้วยความจริงร่วมโควิด 2019supinya• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยแอคปลอมFake Social Media Account หรือแอคเคาท์ที่พยายามเลียนแบบ หรือสวมรอยเป็นแบรนด์ค่ะ จะมีวิธีจัดการอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้แบรนด์เกิดความเสียหายได้บ้างผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมStd48567• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเลือดเป็นด่างมีโอกาสติดโควิด-19 ได้น้อยลงยังมีการแชร์ข้อมูลน้ำมะนาวผสมโซดา แต่คราวนี้ผสมน้ำส้มสายชูไปด้วยโดยอ้างว่าสูตรนี้ฆ่าไวรัสโควิด-19 ได้แน่นอน เพราะจะไปทำลายไวรัสที่พบในลำคอโควิด 2019std46448• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยเลือดเป็นด่างมีโอกาสติดโควิด-19 ได้น้อยลงเป็นเรื่องที่แชร์กันมากตั้งแต่ ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ ๆ เลยทีเดียว โดยมีการอ้างว่า คนที่กินเจ กินแต่ผักผลไม้ จะทำให้เลือดเป็นด่าง และเชื้อโควิด-19 จะไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ ได้sg242728.no• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยวิกฤตการณ์ซีเซียม-137กรณีวัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” สูญหายจากโรงไฟฟ้าใน จ.ปราจีนบุรี นอกจากจะสะท้อนปัญหาการจัดการวัตถุอันตรายของบริษัทเอกชน ปัญหาของหน่วยงานรัฐในการกำกับดูแลและการรับมือกับสาธารณภัยจากสารกัมมันตรังสีแล้ว ยังเผยให้เห็นอิทธิพลของข่าวเท็จ ข้อมูลคลาดเคลื่อน และการเชื่อมโยงแบบผิดๆ ที่สร้างผลกระทบรุนแรงไม่น้อยไปกว่าเหตุการณ์วัสดุกัมมันตรังสีสูญหายผู้บริโภคเฝ้าระวังstd48011• 2 ปีที่แล้ว
- 7 คนสงสัยยืนตากแดด ฆ่าโควิด-19 ได้หนึ่งในหลายเรื่องเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีการนำมาแชร์ซ้ำก็คือ การยืนตากแดดจะสามารถฆ่าเชื้อได้ ซึ่งทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจากไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการยืนตากแดดนั้นสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ เพราะเชื้อไวรัสตระกูลโควิด-19 นั้นสามารถทนทานต่อความร้อนได้ถึง 90 องศา ซึ่งความร้อนจากแสงแดดนั้นมีความร้อนไม่ถึงระดับนี้แน่นอน ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ไวรัสชนิดนี้จะตายเมื่อโดนความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานต่อเนื่อง 30 นาที ซึ่งแสงแดดก็ไม่สามารถทำให้เกิดความร้อนในระดับนี้ได้เช่นกันโควิด 2019Surayuth Chaiyo• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยJUST IN - CDC จะจัด "การประชุมฉุกเฉิน" เกี่ยวกับรายงานการอักเสบของหัวใจที่หายาก แต่ "สูงเกินคาด" หลังจากการฉีด Pfizer ที่ใช้ mRNA และวัคซีน Moderna # COVID19 (CBS) https://www.cbsnews.com/news/covid-19-vaccine-myocarditis-heart-inflammation-cdc/ คุยแซ่บSHOWไม่ระบุชื่อ• 4 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยhttps://nanoderma.online/fortamin-extract?ldtag_cl=GMuM35D0STqY8z97RKOaIgAA#ยาสมุนไพรอย. เพิกถอนแอคปลอมJoke Air• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเดือดชาดาค้านพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วแบบนี้14ล้านเสียงมีประโยชน์อะไร?นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย (ภท.) อภิปรายว่า แถลงการณ์ของพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 66 ประกาศจุดยืนของพรรค คือไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถ้าพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ พรรคภูมิใจไทยพร้อมจะเป็นฝ่ายค้าน ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างมีคุณภาพ และคัดคานการแก้ไขมาตรา 112 อย่างเต็มที่ พรรคไม่มีเจตนาจัดตั้งหรือสนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างน้อยแข่งกับท่าน เพราะเราเคารพมติประชาชน และยึดมั่นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข “ท่านอ้าง 14 ล้านเสียงที่เห็นด้วยให้แก้ไขมาตรา 112 แต่ผมเชื่อว่าคนที่ลงคะแนนให้ท่าน เขาไม่คิดว่าท่านจะแก้กฎหมายไม่ให้เป็นสถาบันหลักของชาติอีกต่อไป ผมอยากฝากคนที่จะเป็นนายกฯ เป็นรัฐบาล ว่าคนไทยไม่ได้มีแค่ 14 ล้านคน ท่านต้องเป็นนายกฯ ของคน ทุกคน เป็นนายกฯของประเทศ ไม่ได้เป็นนายกฯ ของพรรคใดพรรคหนึ่ง ท่านอย่าหลงระเริงกับ 14 ล้านเสียง เพราะไม่ถึง 20% ด้วยซ้ำ ไม่ใช่ตัวชี้ขาด ดังนั้น ท่านต้องดูแลทุกคน และต้องยึดความมั่นคงของชาติ” นายชาดา กล่าวข่าวการเมืองเลือกตั้งNaphat Damkham• 2 ปีที่แล้ว

ไม่พบข้อความที่คุณค้นหา
หากคุณสงสัยว่าข้อความที่พบเป็นข่าวลวง ข่าวลือ หรือ ข้อความหลอก ที่ยังไม่พบใน Cofact กรุณาคลิกที่
สร้างข้อความ