ในอินเทอร์เน็ตมีการส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อวัวฉีดไขมัน จะปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่ มาติดตามกันใน อย. เช็ก ชัวร์ แชร์
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับนิยามของเนื้อฉีดไขมัน ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กันก่อนนะ เนื้อฉีดไขมัน เป็นการฉีดของเหลวที่มีส่วนประกอบหลักของไขมัน น้ำ และอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)โดยใช้เครื่องจักร หรือเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นเข็ม แทงเข้าไปในเนื้อวัว ทำให้เนื้อวัวมีไขมันแทรก
โดยวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย (Primary GMP) และการใช้วัตถุเจือปนอาหารในการผลิตเนื้อฉีดไขมัน จะต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)
ซึ่งจะต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ เช่น ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร และข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เป็นต้น และต้องมีข้อความแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บนฉลากอาหารว่าเป็นเนื้อโคฉีดไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้ว่าเนื้อวัวเหล่านั้นเป็นเนื้อโคที่มีไขมันแทรกธรรมชาติ
นอกจากนี้การฉีดไขมันในเนื้อโค จะต้องได้รับการเห็นชอบจาก อย. ก่อน โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือ
ผู้จำหน่าย จะต้องแสดงรายละเอียดของกรรมวิธีการผลิตในการฉีดไขมัน เงื่อนไขการใช้วัตถุเจือปนอาหารพร้อมเหตุผลการใช้และมาตรฐานอ้างอิง ซึ่งหากไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงสาธารณสุขจะต้องยื่นขอประเมินความปลอดภัยของวัตถุเจือปนอาหารก่อน รวมทั้งแสดงฉลากอาหาร แนวทางการควบคุมการผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย เช่น จำหน่ายเฉพาะร้านสะดวกซื้อ หรือมาตรการป้องกันความเข้าใจผิดของผู้บริโภคว่าเป็นเนื้อโคที่มีไขมันแทรกธรรมชาติประกอบการพิจารณา
แต่ในขณะนี้ อ.ย.ยังไม่เคยอนุญาตผลิตภัณฑ์เนื้อโคฉีดไขมันแต่อย่างใด หากผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนำเข้า จะต้องขอความเห็นชอบจาก อย. ก่อน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ดังนั้นก่อนจะ แชร์ หรือเชื่ออะไรควรเช็กให้มั่นใจก่อนว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
โดยสามารถมา เช็กให้ชัวร์กับ อย. กันก่อนนะ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับนิยามของเนื้อฉีดไขมัน ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กันก่อนนะ เนื้อฉีดไขมัน เป็นการฉีดของเหลวที่มีส่วนประกอบหลักของไขมัน น้ำ และอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)โดยใช้เครื่องจักร หรือเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นเข็ม แทงเข้าไปในเนื้อวัว ทำให้เนื้อวัวมีไขมันแทรก
โดยวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย (Primary GMP) และการใช้วัตถุเจือปนอาหารในการผลิตเนื้อฉีดไขมัน จะต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)
ซึ่งจะต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ เช่น ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร และข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เป็นต้น และต้องมีข้อความแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บนฉลากอาหารว่าเป็นเนื้อโคฉีดไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้ว่าเนื้อวัวเหล่านั้นเป็นเนื้อโคที่มีไขมันแทรกธรรมชาติ
นอกจากนี้การฉีดไขมันในเนื้อโค จะต้องได้รับการเห็นชอบจาก อย. ก่อน โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือ
ผู้จำหน่าย จะต้องแสดงรายละเอียดของกรรมวิธีการผลิตในการฉีดไขมัน เงื่อนไขการใช้วัตถุเจือปนอาหารพร้อมเหตุผลการใช้และมาตรฐานอ้างอิง ซึ่งหากไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงสาธารณสุขจะต้องยื่นขอประเมินความปลอดภัยของวัตถุเจือปนอาหารก่อน รวมทั้งแสดงฉลากอาหาร แนวทางการควบคุมการผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย เช่น จำหน่ายเฉพาะร้านสะดวกซื้อ หรือมาตรการป้องกันความเข้าใจผิดของผู้บริโภคว่าเป็นเนื้อโคที่มีไขมันแทรกธรรมชาติประกอบการพิจารณา
แต่ในขณะนี้ อ.ย.ยังไม่เคยอนุญาตผลิตภัณฑ์เนื้อโคฉีดไขมันแต่อย่างใด หากผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนำเข้า จะต้องขอความเห็นชอบจาก อย. ก่อน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ดังนั้นก่อนจะ แชร์ หรือเชื่ออะไรควรเช็กให้มั่นใจก่อนว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
โดยสามารถมา เช็กให้ชัวร์กับ อย. กันก่อนนะ
อย. ยังไม่เคยอนุญาตผลิตภัณฑ์เนื้อวัวฉีดไขมัน
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_printing/1639ในอินเทอร์เน็ตมีการส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อวัวฉีดไขมัน จะปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่ มาติดตามกันใน อย. เช็ก ชัวร์ แชร์ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับนิยามของเนื้อฉีดไขมัน ตามประกาศของสำนักงานคณ