ผู้บริโภคถูกมัดมือชก !
จุดจบของไลฟ์สไตล์แสนสบายด้วยเงินอุปถัมภ์ [The End of Millennial Lifestyle Subsidy]
ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมานะครับ ถ้าผมอยากนั่งรถไปสยาม ผมก็เอาโทรศัพท์ ออกมาเรียก Grab ราคา 120 บาทไม่เกินนี้ ผมได้ไปสยามละ
แต่วันนี้ถ้าผมลองเรียก Grab ไปสยาม ราคามันไม่ใช่ 120 ละ แต่มันขึ้นไปถึง 220 บาท และ ไม่ใช่แค่ Grab นะครับ มีอีกหลายบริษัทที่
ถ้าคุณตื่นเช้ามาเรียก Lineman มาส่งอาหารเช้า
ตอนสายๆ นั่ง Grab ไปทำงานที่ออฟฟิศ WeWork
ตอนเที่ยงคุณเรียก Foodpanda มาส่งอาหารกลางวันให้คุณ
ตอนบ่ายๆ เบื่อๆเข้าไปซื้อของใน Shopee
แล้วก็ซื้อคริปโตต่อใน Bitkub
เลิกงานเสร็จไปเล่น Jetts Fitness
ตกเย็นนั่ง Gojek กลับบ้าน
มานอนดู Netfilx จนหลับไป
ชีวิตแสนสะดวกสบาย ราคาถูกของคุณ วันนี้ได้มาถึงจุดจบแล้ว เพราะเงินที่อุปถัมภ์ไลฟ์สไตล์ของเราทุกคน มันได้หมดลงแล้ว
คุณแค่สงสัยไหมครับ ว่าทุกครั้งที่คุณสั่งอาหารผ่าน Grabfood ด้วยค่าส่ง 5 บาท ทำไมพี่มอเตอร์ไซค์ใจดีอุตส่าห์ ขับรถตากฝนมาส่งอาหารให้กับคุณ เพื่อเงินแค่ 3 บาทหลังหักค่าน้ำมันแล้ว
ในความเป็นจริง แล้วมันมีผู้อยู่เบื้องหลังที่คอยอุปการะไลฟ์สไตล์แสนสบายของคุณนี้อยู่ ซึ่งตอนนี้มันจบลงแล้ว
ผมขอใช้บริษัท Grab เป็นตัวอย่างในการอธิบายละกันนะครับ มันมีบริษัทอีกมากมายที่มีพฤติกรรมแบบนี้ แต่ผมคุ้นเคยกับ Grab อยู่สิงคโปร์ตามข่าวทุกวัน เป็นบริษัทที่ใหญ่ ทุกคนรู้จัก เป็น Startup เจ้าแรกๆที่โตจนใหญ่มาก และ เป็นบริษัทที่ผมไม่ชอบ และไม่เห็นด้วยกับวิธีการทำธุรกิจของเขาที่สุด
Grab เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้วให้บริการเป็นแอปเรียกแท็กซี่ในมาเลเซียและสิงคโปร์ ไม่มีอะไรพิเศษเลย ตัวแอป โมเดลธุรกิจก็ลอกมาจาก Uber แต่สิ่งที่ Grab มีมากกว่าเจ้าอื่นที่ทำให้เขาโตเร็วมากคือ เงิน... และมันต้องเป็นเงินจำนวนมากมหาศาล ที่จากทั้งเจ้าของ Anthony Tan (หนึ่งในครอบครัวที่รวยที่สุดในมาเลเซีย) และ ผู้ร่วมลงทุนอย่างบริษัท SoftBank ของนาย Masayoshi Son (คนนี้สำคัญครับ เป็นนายทุนหลักและผู้เริ่มแนวคิด Blitzscaling) และอีกมากมายหลายนักลงทุน
ปรัชญาการทำธุรกิจของ Grab และบริษัทเหล่านี้คือ Growth หรือการโตของผู้ใช้ รายได้สำคัญกว่า Profit หรือกำไร เราจะขาดทุนเท่าไรก็ได้ไม่สำคัญขอแค่เราโตเร็วแรง มี Market share เยอะๆ ทุกอย่างจะโอเคเอง ซึ่งปรัชญานี้เรียกว่า Blitzscaling (มาจากคำว่า Blitzekrieg ที่แปลว่า การโจมตีคู่ต่อสู้ที่รวดเร็วของกองทัพนาซี และ คำว่า scaling ที่แปลว่า การโตของธุรกิจ)
คุณคิดดูนะครับถ้าผมอยากเปิดร้านขายข้าวมันไก่ในตลาด แล้วอยากเป็นร้านเบอร์ 1 ของตลาดภายใน 30 วัน ไม่เห็นจะยากเลย ผมก็ขายข้าวมันไก่กล่องละ 10 บาทตัดราคามันทั้งตลาด ซื้อเยอะแถมส่วนลดไปอีก
และที่ Grab ทำแบบนี้ได้ก็เพราะว่า เงินจากนักลงทุนในบริษัทมันหนามากๆๆ ในช่วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกลางสหรัฐ อยู่ 0.5-1% เรียกได้ว่า ต้นทุนการกู้เงินถูกมากๆ นี่เป็นเหตุผลในกองทุนใหญ่ระดับโลก อย่าง Softbank จะเอาเงินไปฝากแบงค์หรือซื้อ Bond ทำไม เอาเงินมาเท่ให้กับ Start Up เหล่านี้ดีว่า เพื่อว่าสัก 1 ใน 100 บริษัทที่ลงทุนไปก็กลายเป็นมหาบริษัทใหญ่ในอนาคต Softbank นี่ละครับตัวดี ชอบลงทุนแบบมหาศาลในธุรกิจที่มีโอกาสสูงที่จะไม่สามารถมีกำไรได้ในอนาคต
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ผมแค่อยากจะบอกว่า ผมไม่ชอบและไม่เห็นด้วยกับการทำธุรกิจแบบนี้มากๆ ครับ มันเป็นการทำธุรกิจที่ไม่ Sustainable ไร้ความยังยืน ทำให้สังคมเสียความสมดุล
บริษัทอย่าง Grab ทำให้ ผู้เล่นในอดีตอย่างแท็กซี่ตายลงไป ที่สิงคโปร์ ปัจจุบันเหลือคนขับ Taxi น้อยมาก เพราะโดน Grab ดึงไปหมด และเมื่อถึงตอนนี้ Grab ไม่เหลือคู่แข่งแล้ว ก็ขึ้นราคาฟันผู้บริโภค ให้ยับไปเลย และรัฐบาลก็ไม่สามารถควบคุมอะไรได้ ทำให้ความสมดุลในระบบมันเสียไป
ในปีที่ผ่านมา บริษัท 9 เท่าของรายได้ คือขายของได้ 10 บาท แต่ ต้นทุน 100 บาท หุ้นบริษัทตกไปแล้ว 80% และไม่ได้มีแค่บริษัทเดี่ยวนะครับที่เจอปัญหาแบบนี้ Shopee Lazada Wework Foodpanda Netfilx เจอกันหมด
Netflix ก็เป็นอีกบริษัทครับที่คิดราคาถูกเกินจริงๆ แชร์ password กันได้ทั้งโรงเรียน ทำให้อุสหกรรมหนัง ภาพยนต์ตายไป โรงหนังตาย แล้ว เดี๋ยวก็จะห้ามแชร์ password ขึ้นราคา
เห็นไหมละครับว่าอะไรที่ถูกเกินไปมันไม่ได้ดี ทำสมดุจเสียให้ไปหมด ชีวิตราคาถูกที่แสนสะดวกสบายของคุณ จริงๆแล้วที่นักลงทุนผู้หิวโหยกำไรในอนาคตคอยอุปถัมภ์อยู่ หวังว่าคุณจะเสพติดความสะดวกสบายใช้บริการของเขาในวันที่ส่วนลด ราคาแสนถูกนั้นหายไป
และในปีนี้นะครับเงินอุปถัมภ์จากนักลงทุกเหล่านั้น หมดลงแล้วดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารกลางสหรัฐ จะขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 3.5-4.0% จะไม่มีนักลงทุนคนไหนมาลงทุนด้วยความบ้าคลั่งเหมือนในอดีต บริษัทอย่าง Grab ก็จะต้องปรับสภาพให้เริ่มมีกำไร ทุกบริษัทที่ลดแลกแจกแถมมาเป็นเวลาหลายปีจนเหมือนเป็นเรื่องปรกติ จะมาทำแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว
และคนที่จะลำบากที่สุดก็คือผู้บริโภคอย่างผมและคุณเนี่ยละครับ
#TheWalkingBackpack
บทความนี้ น่าสนใจ ผู้บริโภคติดกับดัก
https://www.theatlantic.com/newsletters/archive/2022/06/uber-ride-share-prices-high-inflation/661250/?fbclid=IwAR3iHBu3mh5xRQoYn1ChOQDQRmO_SG-uRAWqUpYA7tba8Ll4TCBYkxISp-s
ไม่ระบุชื่อ
• 2 ปีที่แล้ว