PM2.5 คือสาเหตุการเกิดมะเร็งปอด‼️
🏵 วันหยุดวันนี้ ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือก็ยังผจญกับ PM2.5 ในระดับเลวร้าย ประจวบเหมาะวันนี้ Nature เผยแพร่วารสารฉบับล่าสุด (6 เมษายน) ทำปกและ headline เกี่ยวกับ PM2.5 และกลไกการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งเป็นงานที่เคยนำเสนอใน ESMO ล่าสุด ลงตีพิมพ์ในฉบับนี้พอดี
🏵 Paper นี้เป็นผลงานของทีม TRACERx นำโดยนักวิจัยจาก UK ร่วมกับอีกหลายประเทศ เริ่มศึกษาจากมะเร็งปอดชนิด non-small cell lung cancer (NSCLC) ที่มี EGFR mutation กว่า 3 หมื่นคน มะเร็งปอดที่พบการกลายพันธุ์ของยีนนี้จะพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะชาวเอเชีย พบว่าอุบัติการณ์ของโรคสัมพันธ์กับระดับ PM2.5 ในพื้นที่ของผู้ป่วยอย่างชัดเจน จากกราฟเทียบระดับ PM2.5 ที่ 10 กับ 40μg/m3 จะเห็นว่าอัตราเกิดมะเร็งปอดต่างกันราว 7 เท่า
🏵 การศึกษาในหนูที่สร้างขึ้นมาให้มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ในเนื้อปอด หายใจอากาศที่มี PM2.5 ต่างกันคือ 0, 5 และ 50μg/m3 เป็นเวลา 10 สัปดาห์ แล้วเอาเนื้อปอดมาตรวจดูจะเห็นชัดว่ามี PM2.5 สะสมในปอดหนูต่างกันมาก และจำนวนจุดที่พบการขยายตัวของกลุ่มเซลล์เนื้องอกที่มียีน EGFR mutation ในเนื้อปอด (จุดสีต่าง ๆ หลากสีในภาพแถวที่ 2 ด้านขวา) ระหว่างกลุ่มควบคุม (0) กับ 50μg/m3 ก็ต่างชัดเจน พรึ่บไปหมด
🏵 การศึกษาเนื้อปอดของคนปกติ พบว่าเซลล์ปอดของเรามียีน EGFR กลายพันธุ์ได้อยู่แล้วนิดหน่อย เฉลี่ย 1 ใน 550,000 เซลล์ และเมื่อสุ่มตรวจพบว่าคนปกติ 18% มียีนนี้กลายพันธุ์อยู่แล้ว และสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามอายุ
🏵 เมื่อหายใจเอา PM2.5 เข้าไปสะสมในเนื้อปอด ส่งผลกระตุ้นการอักเสบ เกิดการลุกฮือของเซลล์ macrophage เข้ามารุมและปล่อย interleukin-1 (IL-1) ออกมา ซึ่ง IL-1 นี่เองที่กระตุ้นให้เซลล์ปอดที่มี EGFR mutation อยู่เดิมเปลี่ยนพฤติกรรมไปเป็น cancer stem cells เป็นจุดเริ่มของการขยาย clone ของเซลล์มะเร็ง (การทดสอบพบว่าการยับยั้ง IL-1 ด้วยยา canakinumab สามารถหยุดกระบวนการนี้ได้)
🏵 โดยสรุป PM2.5 เป็นเหตุของการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ซึ่งพบบ่อยที่สุดในคนเอเชียรวมถึงคนไทยด้วย แม้ว่าการกลายพันธุ์ของยีนนี้เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติและเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่การกระตุ้นให้เซลล์ที่มียีนกลายพันธุ์เติบโตเพิ่มจำนวนจนกลายเป็นมะเร็งต้องอาศัย PM2.5 การป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดที่ดีสุดคือการเลี่ยง PM2.5 ครับ
🏵 ไม่ควรจะเห็นใครที่ยังตะแบงบอกไม่มีข้อมูลว่า PM2.5 มีผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะมะเร็งปอดอีก และเลิกทำอะไรหน่อมแน้มแบบที่ผ่านมา ควรเอาจริงเอาจังกับปัญหาได้แล้วครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41586-023-05874-3
🏵 วันหยุดวันนี้ ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือก็ยังผจญกับ PM2.5 ในระดับเลวร้าย ประจวบเหมาะวันนี้ Nature เผยแพร่วารสารฉบับล่าสุด (6 เมษายน) ทำปกและ headline เกี่ยวกับ PM2.5 และกลไกการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งเป็นงานที่เคยนำเสนอใน ESMO ล่าสุด ลงตีพิมพ์ในฉบับนี้พอดี
🏵 Paper นี้เป็นผลงานของทีม TRACERx นำโดยนักวิจัยจาก UK ร่วมกับอีกหลายประเทศ เริ่มศึกษาจากมะเร็งปอดชนิด non-small cell lung cancer (NSCLC) ที่มี EGFR mutation กว่า 3 หมื่นคน มะเร็งปอดที่พบการกลายพันธุ์ของยีนนี้จะพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะชาวเอเชีย พบว่าอุบัติการณ์ของโรคสัมพันธ์กับระดับ PM2.5 ในพื้นที่ของผู้ป่วยอย่างชัดเจน จากกราฟเทียบระดับ PM2.5 ที่ 10 กับ 40μg/m3 จะเห็นว่าอัตราเกิดมะเร็งปอดต่างกันราว 7 เท่า
🏵 การศึกษาในหนูที่สร้างขึ้นมาให้มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ในเนื้อปอด หายใจอากาศที่มี PM2.5 ต่างกันคือ 0, 5 และ 50μg/m3 เป็นเวลา 10 สัปดาห์ แล้วเอาเนื้อปอดมาตรวจดูจะเห็นชัดว่ามี PM2.5 สะสมในปอดหนูต่างกันมาก และจำนวนจุดที่พบการขยายตัวของกลุ่มเซลล์เนื้องอกที่มียีน EGFR mutation ในเนื้อปอด (จุดสีต่าง ๆ หลากสีในภาพแถวที่ 2 ด้านขวา) ระหว่างกลุ่มควบคุม (0) กับ 50μg/m3 ก็ต่างชัดเจน พรึ่บไปหมด
🏵 การศึกษาเนื้อปอดของคนปกติ พบว่าเซลล์ปอดของเรามียีน EGFR กลายพันธุ์ได้อยู่แล้วนิดหน่อย เฉลี่ย 1 ใน 550,000 เซลล์ และเมื่อสุ่มตรวจพบว่าคนปกติ 18% มียีนนี้กลายพันธุ์อยู่แล้ว และสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามอายุ
🏵 เมื่อหายใจเอา PM2.5 เข้าไปสะสมในเนื้อปอด ส่งผลกระตุ้นการอักเสบ เกิดการลุกฮือของเซลล์ macrophage เข้ามารุมและปล่อย interleukin-1 (IL-1) ออกมา ซึ่ง IL-1 นี่เองที่กระตุ้นให้เซลล์ปอดที่มี EGFR mutation อยู่เดิมเปลี่ยนพฤติกรรมไปเป็น cancer stem cells เป็นจุดเริ่มของการขยาย clone ของเซลล์มะเร็ง (การทดสอบพบว่าการยับยั้ง IL-1 ด้วยยา canakinumab สามารถหยุดกระบวนการนี้ได้)
🏵 โดยสรุป PM2.5 เป็นเหตุของการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ซึ่งพบบ่อยที่สุดในคนเอเชียรวมถึงคนไทยด้วย แม้ว่าการกลายพันธุ์ของยีนนี้เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติและเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่การกระตุ้นให้เซลล์ที่มียีนกลายพันธุ์เติบโตเพิ่มจำนวนจนกลายเป็นมะเร็งต้องอาศัย PM2.5 การป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดที่ดีสุดคือการเลี่ยง PM2.5 ครับ
🏵 ไม่ควรจะเห็นใครที่ยังตะแบงบอกไม่มีข้อมูลว่า PM2.5 มีผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะมะเร็งปอดอีก และเลิกทำอะไรหน่อมแน้มแบบที่ผ่านมา ควรเอาจริงเอาจังกับปัญหาได้แล้วครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41586-023-05874-3
Lung adenocarcinoma promotion by air pollutants
https://www.nature.com/articles/s41586-023-05874-3Data availabilityDuplex-seq data for the PEACE and BDRE cohorts are available at the European Genome–Phenome Archive (EGA) with the identifier EGAS00001006951. Duplex-seq data generated from PEACE stu