1 คนสงสัย
กินอาหารใส่สารกันเสีย กันบูดอันตราย จริงหรือ
สารกันเสีย (Preservative) เป็นสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ จึงนำมาใช้เป็นสารถนอมอาหาร ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา และยังช่วยรักษารสชาติ ผิวสัมผัส สี ให้ดูน่ากินเหมือนเพิ่งปรุงเสร็จใหม่ๆ สารกันเสียสามารถนำมาใส่ลงไปในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา ตัวอย่างสารกันเสียที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และมีความปลอดภัยสูง ได้แก่ กรดเบนโซอิค เป็นต้น โดยปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้คือ 1,000 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีหลาย ๆ คนเชื่อว่าห้ามกินอาหารที่ใส่สารกันเสียเพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งความจริงแล้วนั้น สารกันเสียในอาหารเป็นสารที่สามารถกินได้ หากกินในปริมาณที่เหมาะสม ร่างกายจะสามารถกำจัดสารกันเสียออกทางปัสสาวะได้ ก็จะไม่เกิดอันตรายใด ๆ แต่ถ้าหากรับประทานในปริมาณมากก็จะทำให้เกิดการสะสมอยู่ในร่างกายซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ จริงหรือ
anonymous
 •  4 ปีที่แล้ว
meter: mostly-false--middle
2 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)
Ad.tar เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

สารกันเสีย (Preservative) เป็นสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ จึงนำมาใช้เป็นสารถนอมอาห

ที่มา

https://sure.oryor.com/index.php/detail/media_specify/784
  • มี 1 ความเห็น เจ้าของลบไปแล้ว.
  • เพิ่มความเห็นใหม่

    กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

    คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ . ตามที่มีการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน . กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลโดยระบุว่าพบกรดเบนโซอิกในก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ โดยแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากที่มีการแชร์ข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเมื่อปี 2550 ซึ่งสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการตรวจวิเคราะห์อาหารของประเทศ ได้มีการตรวจวิเคราะห์เฝ้าระวังการใช้วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค) ในอาหารประเภทเส้นมาอย่างต่อเนื่อง . นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งการผลิตอาหารประเภทเส้น บางชนิดมีการใช้วัตถุกันเสีย เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต หรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกรดเบนโซอิกทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย แต่หากได้รับในปริมาณน้อยร่างกายสามารถขับออกไปได้ ซึ่งข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตรและองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ (The joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives, JECFA) ได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (ADI) พบว่า มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์น้อย . อย่างไรก็ตามวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดมีข้อกำหนดการใช้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) สำหรับกรดเบนโซอิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในอาหารประเภทเส้นที่ผ่านกระบวนการต้ม การนึ่ง การปรุงให้สุกการพรีเจลาทิไนซ์ (Pre-gelatinized) หรือแช่เยือกแข็ง และเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป ส่วนกรดซอร์บิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เฉพาะอาหารประเภทเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป . เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเส้นที่ทำจากแป้งอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาผู้ผลิตให้มีความรู้ความเข้าใจการใช้วัตถุกันเสียอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งผู้ผลิตจะต้องควบคุมกระบวนการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP สำหรับผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด ถูกสุขอนามัย และไม่ควรรับประทานอาหารซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ . ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www3.dmsc.moph.go.th หรือโทร. 02 9510000 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลที่มีการบอกต่อดังกล่าวเป็นข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์เมื่อปี 2550 แต่ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ประเภทเส้นที่ทำจากแป้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . Website : https://www.antifakenewscenter.com/
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    7 ข้อเลี่ยง ลดเสี่ยงมะเร็ง
    7 ข้อเลี่ยง ลดเสี่ยงมะเร็ง 1. เลี่ยงการอยู่กลางแดดจ้า 2. เลี่ยงบุหรี่ แอลกอฮอล์ 3. เลี่ยงอาหารรสจัด หมักดอง 4. เลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษ ฝุ่น ควัน 5. เลี่ยงอาหารสดหรืออาหารแปรรูปที่ใส่ดินประสิวหรือสารกันเสีย 6. เลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ 7. เลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปิ้ง ย่าง ทอดไหม้ กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี https://www.facebook.com/anamaidoh
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สำหรับกลุ่มที่ตรวจพบสารกันบูดเกินมาตรฐาน มีจำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 890.32 มก./กก. 2) น้ำพริกหนุ่ม ล้านนา จาก ตลาดของฝากเด่นชัย จ.แพร่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1026.91 มก./กก. 3) น้ำพริกหนุ่ม นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1634.20 มก./กก. 4) น้ำพริกหนุ่ม เจ๊หงษ์ จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1968.85 มก./กก. 5) น้ำพริกหนุ่ม แม่ชไมพร จาก ตลาดสดอัศวิน ร้านสิริกรของฝาก จ.ลำปาง พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 2231.82 มก./กก. 6) น้ำพริกหนุ่ม ยาใจ (รสเผ็ด) จาก ร้านขายของฝากสามแยกเด่นชัย จ.แพร่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3549.75 มก./กก. 7) น้ำพริกหนุ่ม อุมา จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 5649.43 มก./กก.
    ไม่ระบุชื่อ
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    วอนคนอย่าสนับสนุน จับ "หมาน้ำ" ย้อมสีผิดธรรมชาติ เลี้ยงไม่เกิน 7 วันตาย จริงหรือไม่
    เตือนอย่าทำ จับ "หมาน้ำ" ย้อมสีสดใสผิดธรรมชาติ โดนสารเคมีจนบอบช้ำ นำมาเลี้ยงไม่นานก็ตาย วอนคนอย่าสนับสนุนเป็นการทำร้ายสัตว์
    Natcha.pr.63
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หลายคนมีมุมมองว่า อาหารแช่แข็ง รับประทานมากๆอันตรายเพราะสารกันบูดจริงหรือไม่
    คนทั่วไปมักคิดว่าควรรับประทานอาหารสดใหม่ ไม่ค่อยอยากรับประทานอาหารแช่แข็งเพราะอาจมีสารกันบูด จริงหรือเปล่าคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ กินกล้วยหอมร่วมกับโยเกิร์ต จะทำให้เกิดสารพิษทำให้ตายได้
    มีการแชร์กันในโลกออนไลน์ว่ากินกล้วยหอมกับโยเกริ์ตอาจถึงตายได้เพราะก่อให้เกิดสารพิษในร่างกาย
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะเส้นเล็ก มีสารกันบูดมาก ทานมากๆอันตราย จริงหรือ
    เนื่องจากเส้นก๋วยเตี๋ยวมีโอกาสจุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ง่ายมากทำให้เสียเร็วจึงต้องใส่สารกันบูดชนิด โซเดียมเบนโซเอท มากกว่าปกติ โดยเฉพาะเส้นเล็ก เพราะผลิตจากแป้งและมีความชื้น มีการแชร์กันว่ารับประทานมากๆอันตราย จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่ง ทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง จริงหรือ
    มีการโพสท์อ้างว่าเป็นแม่ค้าปลาทูนึ่ง โดยข้อความเตือนภัยเรื่องสัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่ง ทำให้เป็นมะเร็งที่มือ ข่าวจริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ระวัง ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ อันตราย อาจถึงเสียชีวิตได้
    📌 วันนี้แอดได้ข่าวเรื่องมีผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ช็อกหมดสติ และเกือบเสียชีวิต เนื่องจากการใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ แอดจึงได้รวบรวมข้อมูลมาแจ้งเตือนกันค่ะ . 💬 โดยเรื่องราวเกิดขึ้นจากการที่มีผู้ป่วยวัยเกษียณอายุเข้าโรงพยาบาลจากอาการติดเชื้อในกระแสเลือด แพทย์ลงความเห็นว่า ติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ปอดถูกทำลาย และเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด เพราะใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ 4-5 ครั้ง คราวนี้เรามาดูกันค่ะว่าเรื่องนี้จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน . 😷 ปัญหาเริ่มต้นจากการใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ ซึ่งจากการให้ข้อมูลโดย อ.พญ.ดร.กรวลี มีศิลปวิกกัย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าหากใส่หน้ากากอนามัยซ้ำหลายครั้ง ก็มีโอกาสรับเชื้อแบคทีเรียจากสิ่งแวดล้อมมาสู่ร่างกายของเราได้ นอกจากนั้นยังได้ทดลองเพาะเชื้อจากหน้ากากอนามัยที่ใส่แล้ว พบว่าด้านที่สัมผัสกับร่างกายมีเชื้อมากกว่าด้านที่หันออกด้านนอก แต่เชื้อส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่อยู่บนตัวเราอยู่แล้ว และหากเรามีภูมิคุ้มกันที่ดี เชื้อเหล่านี้จะไม่สามารถทำอันตรายอะไรร่างกายเราได้ . 👃 แต่ทั้งนี้ก็มีงานวิจัยที่ทำให้ช่วงปี 2013-2018 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่คนยังไม่ต้องใส่หน้ากากอนามัย พบว่าเชื้อแบคทีเรียจากจากระบบทางเดินหายใจส่วนต้น (จมูก เป็นต้น) หากหลุดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนปลาย สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และปอดบวมได้ . 😵 สำหรับประเด็นที่ว่าปอดถูกทำลายเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ แม้ส่วนใหญ่แล้วการติดเชื้อในปอดจะเกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก แต่ก็มีรายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ในจุฬาลงกรณ์เวชสาร กล่าวว่าปอดอาจติดเชื้อจากแบคทีเรียแกรมลบได้เช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง . 😵 ซึ่งจากผลการวิจัยนั้นพบว่า ส่วนใหญ่แล้วปอดที่ติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบนั้น มาจากแบคทีเรียแกรมลบที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร เมื่อเกิดการสำลักขึ้นมาในช่องปาก และภูมิคุ้มกันในปากและลำคอไม่แข็งแรงปล่อยให้เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เดินทางไปถึงระบบทางเดินหายใจ ก็จะทำให้ปอดติดเชื้อได้ . 🤕 ในกรณีผู้ป่วยวัยเกษียณท่านนี้ จึงอาจเป็นไปได้ว่าหน้ากากมีเชื้อแบคทีเรียแกรมลบอยู่ หรือเกิดอาการสำลักขณะใส่หน้ากาก และด้วยวัยที่มากทำให้ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ทำให้ปอดได้รับเชื้อเข้าไป และลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด จนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ซึ่งหากรักษาไม่ทันก็อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต . 🤒 อาการที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยติดเชื้อก็คือ มีไข้สูง หนาวสั่น มีอาการไอ หอบเหนื่อย และเจ็บชายโครง เวลาหายใจเข้า-ออก แม้จะคล้ายโรคหวัด แต่ปอดติดเชื้อจะไม่เจ็บคอ ไม่มีน้ำมูกไหล . 🤒 ส่วนอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้น จะมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส ชีพจรเต้นเร็ว หายใจเร็ว บางรายอาจช็อกหมดสติได้ . ⛔️ จากกรณีนี้เราจะได้เห็นได้เลยว่า แค่ใส่หน้ากากซ้ำ ก็อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยซ้ำนะคะ เพราะไม่ใช่แค่ในกรณีนี้ แต่อาจเกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้อีกมากมาย เพราะเราไม่รู้เลยว่าหน้ากากที่ใส่อยู่นั้นมีเชื้อแบคทีเรียอะไรอาศัยอยู่บ้าง . ข้อมูล โรงพยาบาลพญาไท, รายการชัวร์ก่อนแชร์, จุฬาลงกรณ์เวชสาร #ชีวจิตติดกระแส #ปอดติดเชื้อ #หน้ากากอนามัย #ชีวจิต
    Mrs.Doubt
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ต้นหนอนตายหยาก รักษามะเร็งได้ จริงหรือ
    ภูมิปัญญาพื้นบ้านนิยมนำรากของหนอนตายหยากมารับประทานเป็นยาสมุนไพร ซึ่งใช้ได้เป็นบางสายพันธุ์เท่านั้น และต้องผ่านกระบวนการทำลายพิษก่อน โดยสารสำคัญที่พบ คือ สารประกอบกลุ่มอัลคาลอยด์และสารประกอบกลุ่มโรทีนอยด์ มีแชร์กันว่ารักษามะเร็งได้ จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false