1 คนสงสัย
เตือนภัยมิจฉาชีพในแอปฯหาคู่
ปัจจุบันแอปพลิเคชั่นหรือโซเชียลมีเดียเพื่อการหาคู่ได้รับความนิยมมากของคนทุกวัย เนื่เองจากสามารถเชื่อมต่อหาคู่ได้ทั้งคนไทยและต่างชาติ แต่ความนิยมดังกล่าวก็เป็นช่องโหว่ให้มิจฉาชีพ อาชญากรไซเบอร์เข้ามาใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงเหยื่อด้วยรูปแบบต่าง ๆ
จากการสืบค้นข้อมูลในปัจจุบันได้ปรากฏกรณีการใช้แอปพลิเคชั่นหาคู่เป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมโดยต่อเนื่อง เช่นล่าสุดได้ปรากฏว่ามีผู้ต้องหาตามหมายจับคดีทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย ได้ใช้แอปพลิเคชั่นหาคู่หลอกลวงเหยื่ออีกราย โดยมีการกักขัง ทำร้ายร่างกาย แต่เจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือออกมาได้และจับกุมผู้กระทำผิดได้
สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีการออกข่าวสารเตือนประชาชนอย่างต่อเนื่องให้ผู้ใช้บริการใช้ความระมัดระวัง อย่าหลงเชื่อผู้ที่พบกันในโซเชียลมีเดียโดยง่าย ขอให้ตรวจสอบประวัติบุคคลที่จะคบหาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะที่เข้ามายืมเงินและให้โอนเงิน ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดอย่าโอนเด็ดขาด ให้สันนิษฐานก่อนว่าเป็นคนร้ายที่เข้ามาหลอกลวง
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ WWW.PRACHACHAT.NET/)
ดังนั้นก่อนที่จะใช้แอปฯหาคู่ก็ควรที่จะมีวิธีป้องกันตัวเองด้วยเช่นกัน ดังนี้
1. ควรระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่บอกข้อมูลทั้งหมดกับคนที่เพิ่งรู้จัก เมื่อใช้บริการแอปพลิเคชันหาคู่ออนไลน์ต่าง ๆ
2. ไม่ควรหลงเชื่อ หรือไว้ใจบุคคลใดง่าย ๆ หากมีความจำเป็นต้องนัดเจอ ควรมีเพื่อนหรือผู้ปกครองไปด้วยเพื่อความปลอดภัย
3. พึงระลึกไว้เสมอว่า อะไรที่ดีเกินไป เร็วเกินไป มักจะลงเอยไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยง่าย
หากตกเป็นเหยื่อให้เก็บหลักฐานการโอนเงิน ภาพและข้อความการพูดคุยกับคนร้ายทุกช่องทาง แล้วรวบรวมหลักฐานเอกสารนำไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย )
การใช้แอปหาคู่สิ่งที่ควรตระหนักไว้เสมอคืออย่าไว้ใจใครง่ายๆระมัดระวังความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินไว้ให้ดีอย่าประมาทจงมีสติ แค่นี้ก็ปลอดภัยจากภัยรักออนไลน์ได้แล้ว

#ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
#อีสานโคแฟค
#โคแฟคประเทศไทย
#ชมรมสื่อสร้างสรรค์มมส
#สื่อสร้างสรรค์มมสofficial
wuttikon459
 •  1 เดือนที่แล้ว
meter: mostly-true--middle
3 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)
Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

ปัจจุบันแอปพลิเคชันหาคู่เป็นสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่วัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการหาเพื่อน หาคนรู้ใจ นัดพบปะพูดคุยกัน ถ้าเจอเ

ที่มา

https://www.antifakenewscenter.com/คลังความรู้/เตือน-ภัยร้ายจากแอปพลิ-3/
  • มี 2 ความเห็น เจ้าของลบไปแล้ว.
  • เพิ่มความเห็นใหม่

    กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

    คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ⚠️ประกาศ เตือนภัย มิจฉาชีพแฝงตัวในสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆ โปรดระวัง เฟซบุ๊ก บัญชีไลน์ หรือ อีเมล ปลอม ส่งคิวอาร์โค้ด พร้อมเพย์ PromptPay เพื่อให้ท่านโอนเงินค่าวัคซีน
    ⚠️ประกาศ เตือนภัย มิจฉาชีพแฝงตัวในสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆ โปรดระวัง เฟซบุ๊ก บัญชีไลน์ หรือ อีเมล ปลอม ส่งคิวอาร์โค้ด พร้อมเพย์ PromptPay เพื่อให้ท่านโอนเงินค่าวัคซีน 🌐เพจเฟซบุ๊กปลอม นำตราสัญลักษณ์และภาพไปใช้ โดยชื่อเพจไม่ใช่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีเฟซบุ๊ค 2 เพจเท่านั้นที่ใช้สื่อสารเรื่องการจัดสรรวัคซีน ได้แก่ 1️⃣ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์) ผู้ติดตาม 662k และ 2️⃣ ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์) ผู้ติดตาม 155k ❎บัญชีไลน์ปลอม ส่งคิวอาร์โค้ด พร้อมเพย์ PromptPay ให้โอนเงิน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีช่องทาง LINE Official account: @Chulabhornhospital Add Friend > http://nav.cx/8DqLuQm มีผู้ติดตามเป็น Friends 2.6M สำหรับใช้สื่อสารบริการและประกาศประชาสัมพันธ์ต่างๆเท่านั้น ไม่มีบริการตอบคำถามประชาชนในไลน์บัญชีนี้ ทั้งนี้ ไม่มีบริการส่ง Link โอนเงินค่าวัคซีนซิโนฟาร์ม หรือวัคซีนโควิด19 ทุกชนิดผ่านไลน์ !!! และไม่มีการจัดตั้งบัญชี LINE ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อบริการตอบคำถามประชาชน 📧อีเมลปลอม ส่งคิวอาร์โค้ด พร้อมเพย์ PromptPay ให้โอนเงิน องค์กร/นิติบุคคล ที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนสามารถตรวจสอบวิธีการโอนเงิน และพิมพ์ใบนำฝากเงิน ผ่านการล็อคอินเข้าสู่ระบบ “ลงทะเบียนองค์กรผู้ได้รับการจัดสรรวัคซีน” ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เท่านั้น เพื่อโอนเงินผ่านช่องทางต่างๆที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนด ❌ไม่มีการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน 2564
    Mrs.Doubt
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เตือนภัยให้ระวัง ททท บอกว่า www.เที่ยวปันสุข.com ไม่ใช้ของ ททท ระวังโดนมิจฉาชีพหลอก จริงหรือ
    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แจ้งเตือนว่า ททท. ยังไม่ได้กำหนดเว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชั่น สำหรับการกระตุ้นการท่องเที่ยว หลังตรวจสอบพบว่า มีผู้จดทะเบียนโดเมนเว็บไซต์ที่ตรงกับชื่อของโครงการ คือ www.เที่ยวปันสุข.com ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าชื่อโดเมนเว็บไซต์ดังกล่าว ไม่ใช่ของ ททท. และขอให้ประชาชนรอฟังประกาศอย่างเป็นทางการเท่านั้น และเพิ่มความระมัดระวังเว็บไซต์ปลอมแปลงที่อาจมีผู้ไม่หวังดีสร้างล้วงข้อมูลส่วนตัว
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    WI-FI สาธารณะอันตรายจริงหรือไม่?
    WI-FI สาธารณะถือว่าสามารถพบเห็นได้ทั่วไปและสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเพียงแค่ไม่กี่คลิกแต่ภัยร้ายที่แฝงมากับ WI-FI สาธารณะนั้นก็มีมากพอๆกับความสะดวกสบายที่ได้รับ จากการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.วุฒิชัย วิเชียรไชย อาจารย์สังกัดภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ข้อมูลว่าการใช้ WI-FI สาธารณะมีความเสี่ยงต่อการโดนขโมยข้อมูลสูงมากและยังสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาแทรกกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่อข่าย (man in the middle) ที่จะเป็นการดักจับข้อมูลของเหยื่อโดยอาศัย WI-FI สาธารณะเป็นตัวกลาง หรือจะเป็นการปล่อย WI-FI ปลอมโดยการแอบอ้างเป็น WI-FI สาธารณะเพื่อให้เหยื่อหลงเข้ามาใช้และด้วยวิธีการเหล่านี้ทำให้มิจฉาชีพสามารถล่วงเอาข้อมูลต่างๆของเราเช่น รหัส ATM หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆของเราได้ ซึ่ง ผศ.ดร.วุฒิชัย วิเชียรไชย ได้ให้ข้อแนะนำในการใช้ WI-FI สาธารณะว่า 1 ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างเชื่อมต่อ WI-FI สาธารณะ 2 เข้าเว็บไซต์ที่ได้มาตรฐานเช่นเว็บไซต์ที่ขึ้นต้นด้วย https เนื่องจากมีระบบป้องกันการแฮกทำให้แฮกเกอร์ล่วงข้อมูลได้ยากขึ้น 3 อัพเดทแอพพลิเคชั่นให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแอพธนาคารหรือแอพต่างๆเมื่อมีการอัพเดทโปรแกรมเมอร์มักจะใส่หรือพัฒนาระบบป้องการการแฮกเข้ามาด้วยทุกครั้ง ทั้งนี้แม้ว่า WI-FI สาธารจะมีความเสี่ยงต่อการโดนแฮกข้อมูลแต่ด้วยเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยในปัจจุบันทำให้การโดนแฮกข้อมูลเป็นไปได้ยากมาขึ้นแต่ถึงอย่างนั้นการระมัดระวังตัวเรื่องการใช้ WI-FI สาธารณะก็เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงตลอดเวลา (ข้อมูลจาก 9arm) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการใช้ WI-FI สาธารณะมีความอันตรายจริงแต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้ความอันตรายจาก WI-FI สาธารณะลดลงเป็นอย่างมากแต่ถึงอย่างนั้นตัวผู้ใช้ก็ควรระมัดระวังเรื่องการใช้เครื่อข่าย WI-FI สาธารณะอยู่เสมอ
    flukerattanin
     •  1 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เตือนภัย!!! มิจฉาชีพแอบอ้างนำรูปภาพบริษัทไปโพสต์รับสมัครงาน
    • มิจฉาชีพได้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ..ที่มีการนำภาพบริษัทแห่งหนึ่ง ไปโพสต์ในกลุ่มรับสมัครงานต่าง ๆ และมีบุคคลที่สนใจเข้าไปคอมเม้นท์เพื่อที่จะสมัครงานจำนวนมาก จากนั้นมิจฉาชีพได้ตอบกลับคอมเม้นท์และส่งลิงก์เพื่อให้พูดคุยในช่องแชทส่วนตัว ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจเป็นมิจฉาชีพออนไลน์ที่แฝงตัวมา • กองบังคับการสืบสวอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 ให้คำแนะนำว่า “ควรหาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะสมัครงาน เพราะบางโรงงานไม่มีนโยบาย ที่จะเปิดรับสมัครงานผ่าน Facebook และให้ส่งเอกสารต่าง ๆ ทางช่องแชท ทางที่ดีควรติดต่อสอบถามกับทางโรงงานโดยตรง และเข้าไปยื่นเอกสารที่โรงงานเท่านั้น” ถ้าหากติดต่อผ่าน Facebook ควรตรวจสอบให้ดีว่าโพสต์นั้นเป็นของโรงงานจริง ๆ ระบุข้อมูลที่อยู่ชัดเจนหรือไม่ • ถ้าหากตกเป็นเหยื่อ เก็บรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ข้อความสนทนาทางแชท เพื่อดำเนินการแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุแจ้งรายละเอียดเรื่องราวทั้งหมด และขอใบแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน หรือ สามารถแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หากมีข้อสงสัย สามารถโทรปรึกษาสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    Kittisak Lamomprom
     •  25 วันที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เพื่อหลอกโอนเงิน และส่งเอกสารยอดค้างชำระค่ารักษาพยาบาลไปที่บ้าน ขอให้ประชาชนทุกท่านโปรดอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด
    จากกรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้น ถึงเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยได้รับเอกสารเกี่ยวกับการแจ้งยอดค้างชำระค่ารักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่าทางโรงพยาบาลไม่ได้มีการส่งเอกสารไปถึงบ้านผู้ป่วยแต่อย่างใด   โดยจากการสัมภาษณ์ คุณกนกวรรณ ภูตลาดขาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า “ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินแจ้งว่าทางโรงพยาบาลสุทธาเวช ไม่มีนโยบายติดต่อผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับการแจ้งเอกสารการชำระค่ารักษาพยาบาลย้อนหลังไปที่บ้านของผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย หรือขอข้อมูลส่วนตัวผ่านทางโทรศัพท์แน่นอน และทางโรงพยาบาลได้มีการออกมาเตือนประชาชนผ่านเพจ  Facebook  ของทางโรงพยาบาลหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และขอให้ประชาชนทุกท่านโปรดระวังมิจฉาชีพอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด (ข้อมูลเมื่อ 23 ส.ค.67)   แนวทางรับมือเบื้องต้น - ไม่เชื่อ ไม่หลงเชื่อกลลวงของมิจฉาชีพโดยง่าย - ไม่บอก ข้อมูลทางการเงินเป็นความลับ ต้องไม่ให้ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัว - ไม่โดนหลอก โรงพยาบาลสุทธาเวช ไม่มีนโยบายในการติดต่อผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเพื่อขอให้ชำระค่ารักษาพยาบาล หรือขอข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทางโทรศัพท์  (ข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://www.facebook.com/share/p/Z2NoqXrmvqDXkRMf/ )   ข้อปฏิบัติ : เมื่อเสียรู้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกให้โอนเงินมาตรวจสอบ 1 .แจ้ง ตำรวจในพื้นที่เพื่อแจ้งความดำเนินคดี 2. แจ้ง สายด่วน 191 หรือ สายด่วน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1599 ตลอด 24 ชม. (ข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://www.royalthaipolice.go.th/)
    pimpimpim.pd
     •  1 เดือนที่แล้ว
    meter: false