1 คนสงสัย
เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เพื่อหลอกโอนเงิน และส่งเอกสารยอดค้างชำระค่ารักษาพยาบาลไปที่บ้าน ขอให้ประชาชนทุกท่านโปรดอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด
จากกรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้น ถึงเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยได้รับเอกสารเกี่ยวกับการแจ้งยอดค้างชำระค่ารักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่าทางโรงพยาบาลไม่ได้มีการส่งเอกสารไปถึงบ้านผู้ป่วยแต่อย่างใด
 
โดยจากการสัมภาษณ์ คุณกนกวรรณ ภูตลาดขาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า “ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินแจ้งว่าทางโรงพยาบาลสุทธาเวช ไม่มีนโยบายติดต่อผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับการแจ้งเอกสารการชำระค่ารักษาพยาบาลย้อนหลังไปที่บ้านของผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย หรือขอข้อมูลส่วนตัวผ่านทางโทรศัพท์แน่นอน และทางโรงพยาบาลได้มีการออกมาเตือนประชาชนผ่านเพจ  Facebook  ของทางโรงพยาบาลหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และขอให้ประชาชนทุกท่านโปรดระวังมิจฉาชีพอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด
(ข้อมูลเมื่อ 23 ส.ค.67)
 
แนวทางรับมือเบื้องต้น
- ไม่เชื่อ ไม่หลงเชื่อกลลวงของมิจฉาชีพโดยง่าย
- ไม่บอก ข้อมูลทางการเงินเป็นความลับ ต้องไม่ให้ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัว
- ไม่โดนหลอก โรงพยาบาลสุทธาเวช ไม่มีนโยบายในการติดต่อผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเพื่อขอให้ชำระค่ารักษาพยาบาล หรือขอข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทางโทรศัพท์ 
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://www.facebook.com/share/p/Z2NoqXrmvqDXkRMf/ )
 
ข้อปฏิบัติ : เมื่อเสียรู้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกให้โอนเงินมาตรวจสอบ
1 .แจ้ง ตำรวจในพื้นที่เพื่อแจ้งความดำเนินคดี
2. แจ้ง สายด่วน 191 หรือ สายด่วน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1599 ตลอด 24 ชม.
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://www.royalthaipolice.go.th/)
pimpimpim.pd
 •  2 เดือนที่แล้ว
meter: true
1 ความเห็น

ภาคอีสานผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอม

Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

โฆษกโรงพยาบาลตำรวจ แจ้งเตือน ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการบำนาญ ลูกจ้างชั่วคราว และประชาชนที่มาใช้บริการ โรงพยาบาลตำรวจ อย่าหลงเชื่อ “แก๊งมิจฉาชี

ที่มา

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    กีฬาแบดมินตัน เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจริงหรือไม่?
    กีฬาแบดมินตันเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริงหรือไม่? จากการสัมภาษณ์คุณพีระ นนทะคำจันทร์ นักวิชาการศึกษา โรงพยาบาลสุทธาเวช และนักกีฬาแบดมินตันของทีมบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ได้ให้ข้อมูลว่า กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาที่มีความเข้มข้นสูงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริง เนื่องจากลักษณะของกีฬาแบดมินตันต้องเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เข้มข้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบ HIIT (High-Intensity Interval Training) ซึ่งสามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจพุ่งสูงถึง 170-180 ครั้งต่อนาที หากผู้เล่นมีโรคประจำตัวซ่อนอยู่ อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงมากอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการเล่นกีฬาแบดมินตันหรือกีฬาชนิดอื่นๆที่มีจะต้องมีการขยับร่างกายอย่างรวดเร็วและมีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงในระยะเวลาอันสั้นหรือกีฬาที่จะต้องรับแรกกระแทกในการเล่น ก็สามารถก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริง สนามกีฬาทุกแห่งจึงควรมีเครื่อง AED หรือเครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่สามารถใช้ช่วยผู้ป่วยที่หมดสติและหัวใจวายฉับพลันขณะเล่นกีฬา ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED -เปิดเครื่อง AED ติดแผ่นแพดแผ่นแรกที่หน้าอกตอนบน และแผ่นที่สองที่หน้าอกตอนล่าง (ทำตามคำแนะนำบนเครื่อง) ให้เครื่องวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ห้ามสัมผัสผู้ป่วยระหว่างนี้ -หากเครื่องแนะนำให้กดปุ่ม “Shock” ให้กดปุ่มนี้โดยห้ามสัมผัสผู้ป่วย และทำ CPR ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 นาที -หากเครื่องแนะนำว่า “สามารถสัมผัสผู้ป่วยได้” ให้ทำ CPR ทันที ควรทำ CPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเครื่องจะเริ่มวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจอีกครั้ง ทุกนาทีที่ผ่านไปมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรอดชีวิต
    wararat.bs
     •  2 เดือนที่แล้ว
    meter: false