ปกติการผลิตน้ำประปาจะเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนอยู่ในถังเก็บและระบบท่อจ่ายน้ำ และน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำประปาจะมีสารอินทรีย์ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตปะปนอยู่ตามธรรมชาติ
เมื่อเติมคลอรีนลงไปในระหว่างกระบวนการฆ่าเชื้อโรค คลอรีน จะทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ ทำให้เกิดเป็นไตรฮาโลมีเทน ซึ่งเป็นสารอันตรายที่องค์กรระหว่างประเทศด้านการวิจัยมะเร็ง (IARC) จัดให้อยู่ในกลุ่มสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในคน
แล้วการบริโภคน้ำประปาจะทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่?
ปกติการผลิตน้ำประปา จะมีขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ การตกตะกอน และการกรองทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จะทำให้ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำลดลงไปมาก ส่วนที่จะเหลือมาทำปฏิกิริยากับคลอรีนในขั้นตอนการฆ่าเชื้อจนเกิดเป็น สารไตรฮาโลมีเทน ได้นั้นจึงมีปริมาณไม่มาก นั่นหมายถึงว่า ปริมาณ ไตรฮาโลมีเทน ที่มีในน้ำประปาจะมีอยู่ในระดับต่ำ ไม่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคมะเร็ง
เมื่อเติมคลอรีนลงไปในระหว่างกระบวนการฆ่าเชื้อโรค คลอรีน จะทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ ทำให้เกิดเป็นไตรฮาโลมีเทน ซึ่งเป็นสารอันตรายที่องค์กรระหว่างประเทศด้านการวิจัยมะเร็ง (IARC) จัดให้อยู่ในกลุ่มสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในคน
แล้วการบริโภคน้ำประปาจะทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่?
ปกติการผลิตน้ำประปา จะมีขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ การตกตะกอน และการกรองทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จะทำให้ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำลดลงไปมาก ส่วนที่จะเหลือมาทำปฏิกิริยากับคลอรีนในขั้นตอนการฆ่าเชื้อจนเกิดเป็น สารไตรฮาโลมีเทน ได้นั้นจึงมีปริมาณไม่มาก นั่นหมายถึงว่า ปริมาณ ไตรฮาโลมีเทน ที่มีในน้ำประปาจะมีอยู่ในระดับต่ำ ไม่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคมะเร็ง