1 คนสงสัย
ข่าวปลอมอย่าแชร์!สมุนไพรขันทองพยาบาทรักษามะเร็ง
กรณีที่มีการแชร์สรรพคุณของสมุนไพรขันทองพยาบาท ว่าสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการพบว่าขันทองพยาบาทไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง และไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

สำหรับสมุนไพรขันทองพยาบาท (Suregada multiflora) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำหรับยาสมุนไพรพื้นบ้านมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น และจากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่าสารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าขันทองพยาบาทช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จากการตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าขันทองพยาบาทไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้
peekapatpeekapat
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

มะเร็งยาสมุนไพร

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    สธ.เตือน! หยุดส่งต่อข้อมูลเท็จ "โรคมะเร็ง" ต้องตรวจสอบก่อนแชร์
    เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันมะเร็งโลก” โดยมีนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ คณะผู้บริหาร ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน บุคลากรสาธารณสุข อสม. และ ประชาชน เข้าร่วมงาน นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาโรคมะเร็งมาโดยตลอด โดยได้ผลักดันการดูแลรักษาโรคมะเร็งเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและนำสู่การปฏิบัติ เพิ่มขึ้นหลายประการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการตรวจอุจจาระ หากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจคัดกรองต่อด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจหายีนผิดปกติ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม และ การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก นอกจากนี้ยังสนับสนุนสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากวิธี PAP smear เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการตรวจ HPV test ทำให้ความไวและความแม่นยำในการคัดกรองโรคสูงขึ้น และเมื่อคัดกรองพบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็สามารถเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถลัดขั้นตอนการส่งต่อในระบบปกติโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ตามนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่” (Cancer Anywhere) ซึ่งการวินิจฉัยเร็วและรักษาเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยใช้สิทธิ์มะเร็งรักษาได้ทุกที่แล้วกว่า 325,000 คน หรือ กว่า 2,900,000 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวินิจฉัยด้วย PET scan ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ สารสกัดกัญชาเพื่อลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา และการสนับสนุนอุปกรณ์ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอคอยการรักษาจำนวนมาก ทั่วประเทศ ทั้งนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล (UICC) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uniting our voices and taking action ร่วมส่งพลังเสียงและลงมือทำ” มุ่งเน้นการร่วมกันหยุดการส่งต่อข้อมูลเท็จด้านโรคมะเร็ง (Fake Cancer News) และให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้โดยเร็ว นอกจากการดำเนินงานของภาครัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
    std47626
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอ
    สุริยนต์ พักแดงพันธ์
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ข่าวปลอมอย่าแชร์! ผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง
    กรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีดาษลิงแต่อย่างใด โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
    std46748
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! แป้งหมี่ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้
    กรณีที่มีผู้บอกต่อข้อมูลโดยระบุว่า แป้งหมี่มีสรรพคุณช่วยทำให้ไม่เป็นแผลพุพองหรือเป็นรอยแดงจากแผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้นั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า แป้งหมี่ไม่สามารถรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ อีกทั้งยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการที่แผลจะติดเชื้อ โดยเมื่อเกิดบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หลังจากทำความสะอาดบาดแผลเสร็จแล้ว การใช้ความเย็นมาประคบบริเวณที่เกิดแผลจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้
    Akkarawin Ratchananon
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ให้ความเห็นวิจารณ์การเมือง
    ตามที่มีคลิปวิดีโอได้เผยแพร่เนื้อหา เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ให้ความเห็นวิจารณ์การเมือง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ ที่มีเนื้อหาพาดพิงถึงผู้ว่าการแบงก์ชาติ ซึ่งระบุว่าผู้ว่าการแบงก์ชาติได้ให้ความเห็นวิจารณ์การเมืองนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า เป็นการนำ ปาฐกถาพิเศษ งานสัมมนาออนไลน์ในโอกาสครบรอบ 40 ปี วารสารการเงินธนาคาร Thailand’s Next Move : Looking Beyond Covid-19 หัวข้อ Looking Beyond Covid-19 : โจทย์ที่ท้าทายของเศรษฐกิจไทยหลังยุคโควิด 19″ ของ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไปรายงานปนกับข่าวท่านนายกฯ ไปพูดที่ UN ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่า ท่านผู้ว่าการวิพากษ์การเมือง ซึ่งในเนื้อหาเป็นการพูดเรื่องภาวะเศรษฐกิจ Speech ผว. ธปท. https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Speeches/Gov/SpeechGov_18Nov2021.pdf
    syd46659
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ .
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ . ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อโซเชียลเกี่ยวกับประเด็นไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อความบนสื่อโซเซียลโดยระบุไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง เจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูง ทางสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไลน์ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งข้อความขอยืมเงิน,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งข้อความขอรับเงินบริจาคทำบุญสร้างห้องน้ำสาธารณะ,ไลน์รมว.ศึกษาธิการ ส่งข้อความขอยืมเงิน,ไลน์นายกเทศมนตรี จ.ยะลา ส่งข้อความขอยืมเงิน และไลน์ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งข้อความขอยืมเงิน ไลน์ดังกล่าวเป็นของมิจฉาชีพทั้งหมด ที่แอบอ้างใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐ และที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อรูปภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐระดับสูง ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและหลงเชื่อ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.opsmoac.go.th/ หรือโทร 0-2281-5884 ,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://web.parliament.go.th หรือโทร 0-2242-5900 ,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://ops.moe.go.th/ หรือโทร 02-628-6346 ,เทศบาลนครยะลา สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://yalacity.go.th/intro/?v=1 หรือโทร 073-223666 และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.m-society.go.th/ หรือโทร 1300 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไลน์ดังกล่าวเป็นของมิจฉาชีพ ที่แอบอ้างใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐ และที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อรูปภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและหลงเชื่อ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ไลน์ปลอม #แอบอ้าง #มิจฉาชีพ
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สมุนไพรสมอไทยใช้รักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ จริงหรือ
    สมอไทย เป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้หลายส่วนทั้ง ดอก ผล แก่น และเปลือกต้น สารประกอบหลักที่พบในผลสมอไทย เช่น แทนนิน สารกลุ่มพอลีฟีโนลิก (กรดแกลลิค กรดแอลลาจิก และคอริลาจิน) วิตามินเอ และซี สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในต้านอนุมูลอิสระ สามารถนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งได้
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผู้อื่นสามารถสอบใบขับขี่แทนได้
    จากกรณีที่มีการพบข้อมูลเชิญชวนเรื่องใบขับขี่สามารถให้ผู้อื่นสอบแทนได้ ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์ไม่เป็นความจริง เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกไม่มีนโยบายให้ผู้อื่นมาสอบใบขับขี่แทนได้ หากประชาชนต้องการได้รับใบขับขี่ ต้องเดินทางไปสอบด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบกได้มีการเผยแพร่ข้อสอบบางส่วน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถศึกษาหาความรู้และทดลองทำข้อสอบได้ที่ www.ขับขี่ปลอดภัย.com รวมทั้งมีสื่อการเรียนรู้ด้านการขับรถในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องในการให้ความรู้ประชาชนเรื่องกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีวินัยในการขับขี่ และส่งเสริมให้เกิดการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัย
    yossakornkodphat
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ยาลม 300 จำพวก หรือยาอายุวัฒนะ ตราปานเทพ เป็นยาตำรับช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียน สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงสำหรับผู้ที่มีภูมิต่ำ
    ตามที่มีการโพสต์โฆษณาชวนเชื่อในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องผลิตภัณฑ์ยาลม 300 จำพวก หรือยาอายุวัฒนะ ตราปานเทพ เป็นยาตำรับช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียน สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงสำหรับผู้ที่มีภูมิต่ำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
    std47741
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนปกติถึง 46%
    กรณีที่มีการโพสต์เตือนโดยระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนปกติถึง 46% ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เนื้อหาในข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบันบอกว่า ไมเกรนมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแตกตามที่กล่าวอ้าง
    std46541
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false