Infodemic: การแพร่ระบาดของข้อมูลเท็จในวิกฤติโควิด-19 กับมาตรการจัดการข่าวลวงของแต่ละประเทศ
ในขณะที่เชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือโรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดใน 180 ประเทศทั่วโลก รัฐบาลต้องประสบกับการแพร่กระจายของข่าวลวง (Fake news) และข่าวลือ (Rumor) ที่สร้างความตระหนก และความสับสน รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ปรากฏการณ์นี้เรียกกันว่า “การแพร่ระบาดของข้อมูล” หรือ “Infodemic” ซึ่งพบทั้งข้อมูลเท็จที่ปล่อยมาอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ (Misinformation) ได้แก่ ข่าวลือและข่าวเล่นตลกซึ่งผู้ปล่อยไม่มีเจตนาสร้างความเสียหาย และข่าวบิดเบือนที่ปล่อยอย่างตั้งใจ (Disinformation) เช่น ข้อมูลให้ร้าย โฆษณาชวนเชื่อ หรือข่าวลวงที่ตั้งใจก่อให้เกิดความเสียหาย
ไม่ว่าจะเป็นใน Facebook, Instagram, Youtube, Whatsapp ไปจนถึง Line ต่างพบว่าข้อมูลเท็จในหลายโพสต์มียอดเอ็นเกจเมนท์สูงกว่าข้อมูลถูกต้อง ที่มาจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และภาครัฐเสียอีก
Infodemic สร้างความกังวลให้กับรัฐบาลและองค์กรนานาชาติต่างๆ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ซึ่งต้องรีบออกแก้ไขข้อมูลเท็จในหน้าเว็บ Myth Busters และยังส่งตัวแทนเข้าหารือกับบริษัทโซเชียลมีเดียและสื่อดิจิตัลต่างๆ รวมทั้ง Facebook, Pinterest และ Amazon เพื่อขอความร่วมมือในการลบข้อมูลเท็จหรือสินค้าปลอมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโควิด-19
แม้ว่าบริษัทเหล่านั้นจะรีบออกนโยบายจัดการกับข้อมูลเท็จในทันที แต่ก็ไม่สามารถเก็บล้างได้หมด ร้อนถึงรัฐบาลในแต่ละประเทศ ที่ต่างต้องออกมาตรการออกมาจัดการกับข้อมูลเท็จเพื่อมิให้สร้างความสับสนต่อสาธารณะ รวมทั้งกระทบต่อความเชื่อมั่นการทำงานของรัฐบาลในการระงับการระบาดของโรคโควิด-19
ในขณะที่เชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือโรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดใน 180 ประเทศทั่วโลก รัฐบาลต้องประสบกับการแพร่กระจายของข่าวลวง (Fake news) และข่าวลือ (Rumor) ที่สร้างความตระหนก และความสับสน รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ปรากฏการณ์นี้เรียกกันว่า “การแพร่ระบาดของข้อมูล” หรือ “Infodemic” ซึ่งพบทั้งข้อมูลเท็จที่ปล่อยมาอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ (Misinformation) ได้แก่ ข่าวลือและข่าวเล่นตลกซึ่งผู้ปล่อยไม่มีเจตนาสร้างความเสียหาย และข่าวบิดเบือนที่ปล่อยอย่างตั้งใจ (Disinformation) เช่น ข้อมูลให้ร้าย โฆษณาชวนเชื่อ หรือข่าวลวงที่ตั้งใจก่อให้เกิดความเสียหาย
ไม่ว่าจะเป็นใน Facebook, Instagram, Youtube, Whatsapp ไปจนถึง Line ต่างพบว่าข้อมูลเท็จในหลายโพสต์มียอดเอ็นเกจเมนท์สูงกว่าข้อมูลถูกต้อง ที่มาจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และภาครัฐเสียอีก
Infodemic สร้างความกังวลให้กับรัฐบาลและองค์กรนานาชาติต่างๆ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ซึ่งต้องรีบออกแก้ไขข้อมูลเท็จในหน้าเว็บ Myth Busters และยังส่งตัวแทนเข้าหารือกับบริษัทโซเชียลมีเดียและสื่อดิจิตัลต่างๆ รวมทั้ง Facebook, Pinterest และ Amazon เพื่อขอความร่วมมือในการลบข้อมูลเท็จหรือสินค้าปลอมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโควิด-19
แม้ว่าบริษัทเหล่านั้นจะรีบออกนโยบายจัดการกับข้อมูลเท็จในทันที แต่ก็ไม่สามารถเก็บล้างได้หมด ร้อนถึงรัฐบาลในแต่ละประเทศ ที่ต่างต้องออกมาตรการออกมาจัดการกับข้อมูลเท็จเพื่อมิให้สร้างความสับสนต่อสาธารณะ รวมทั้งกระทบต่อความเชื่อมั่นการทำงานของรัฐบาลในการระงับการระบาดของโรคโควิด-19
Infodemic: การแพร่ระบาดของข้อมูลเท็จในวิกฤติ 'โควิด-19' | Hfocus.org
https://www.hfocus.org/content/2020/04/19075Infodemic: การแพร่ระบาดของข้อมูลเท็จในวิกฤติโควิด-19 กับมาตรการจัดการข่าวลวงของแต่ละประเทศ ในขณะที่เชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือโรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดใน 180 ประเทศทั่วโลก รัฐบาลต้องประสบกับการแพร่กระ