รายการความเห็น


12549 ความเห็น

❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Poonato head
17 เม.ย.64 ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ได้มีคำสั่งให้งดใช้พื้นที่ชายทะเล ชายหาด อ่างเก็บน้ำ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นสถานที่ในการรวมกลุ่ม สังสรรค์ หรือรับประทานอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิด แต่ในช่วงเวลาประมาณ 20.00 น.ของวันเดียวกัน ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็น "สามารถเปิดขายได้ตามปกติ แต่ห้ามมั่วสุม รวมกลุ่ม ดื่มแอลกอฮอล์"
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Poonato head
วิตามินดีอาจจะส่งผลดีต่อสุขภาพหลายอย่างในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก ในการทำให้คนได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม แต่ NICE ได้ตรวจสอบงานวิจัย และระบุว่า ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่า การเสริมวิตามินดีจะช่วยป้องกันหรือช่วยรักษาการป่วยเป็นโควิด-19 ได้โดยเฉพาะ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Poonato head
ผลการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจร และสารแอนโดรกราโฟไลด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร มีความสามารถในการยับยั้งกระบวนการติดเชื้อไวรัสของเซลล์ปอด โดยผ่านกลไกที่สำคัญ คือ การยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิดในทุกระยะ จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาการใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเดี่ยว หรือใช้ควบรวมกับสูตรยามาตรฐานในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อโควิด แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจนสนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรป้องกันโควิด-19 ได้ แต่มีการศึกษาพบว่าการใช้ฟ้าทะลายโจรขนาดต่ำ ๆ (แอนโดรกราโฟไลด์ 11.2 มิลลิกรัม/วัน) กิน 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยป้องกันหวัดได้ การใช้ฟ้าทะลายโจรมีข้อมูลสนับสนุนว่ามีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันทั้งภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดและภูมิคุ้มกันจำเพาะแต่ยังไม่มีการศึกษากับเชื้อโควิดโดยตรง ดังนั้นประชาชนควรฉีดวัคซีน ซีงจะเห็นได้จากประเทศอังกฤษที่มีการฉีดวัคซีนกันอย่างกว้างขวางทำให้อัตตราการติดเชื้อลดลง
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Poonato head
เป็นการสรุปร่างข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จากชัวร์ก่อนแชร์ที่ระบุว่าไม่มีการเคอร์ฟิวส์และล็อกดาวน์ แต่ห้ามกิจกรรมเสี่ยง ปิดสถานที่เสี่ยง กำหนดพื้นที่เสี่ยง และมาตรการตามพื้นที่
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
กระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย โดยหน่วยงานบริหารสินค้าด้านอายุรเวท (Therapeutic Goods Administration-TGA) ระบุว่า ข่าวลือนี้อ้างถึงโปรตีนซินซิติน-1 (Syncytin-1) ที่ช่วยมีการพัฒนารก ซึ่งมีอยู่ในหนามแหลมของเชื้อโควิด-19 เช่นกัน แต่ยืนยันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือแม้แต่วัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือการพัฒนาของรกแต่อย่างใด ทางศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท ได้ตรวจสอบจากแหล่งข้อมูล #SureVac โดย Newtral.es ว่าข่าวที่ "แนะท่านชายนำเชื้ออสุจิไปแช่แข็งก่อนรับวัคซีนโควิด” นั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
ข่าวลือนี้ถูกพูดถึงกันมากเป็นพิเศษสำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี 2 ชนิดคือ mRNA เช่น วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา (Moderna) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่นำรหัสพันธุกรรมส่วนเล็กๆ ของไวรัสมาใช้กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน กับ Viral Vector เช่น วัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ใช้วิธีฝากสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ไปกับไวรัสชนิดอื่น แต่เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ด้วย การกล่าวถึงพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ในกระบวนการผลิตและการทำงานของวัคซีน นำไปสู่ความกังวลว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีผลข้างเคียงคือรหัสพันธุกรรมของตนจะเปลี่ยนไปด้วย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ชี้แจงเรื่องนี้ว่า วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิด แม้จะส่งสารพันธุกรรมเข้าไปในร่างกายมนุษย์ แต่สารนั้นจะไม่เข้าไปถึงนิวเคลียสอันเป็นที่เก็บดีเอ็นเอ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อดีเอ็นเอแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์สและบีบีซีรายงานว่าข่าวนี้ไม่เป็นความจริง
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
ข่าวลือเกิดขึ้นในเดือน มี.ค. เมื่อนายเกตส์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า สุดท้ายแล้ว "เราจะมีการรับรองทางดิจิทัลบางอย่าง" ซึ่งจะแสดงว่าใครหายป่วยแล้ว ใครได้รับการตรวจแล้ว และสุดท้ายคือใครได้รับวัคซีนแล้ว โดยเขาไม่ได้เอ่ยถึงไมโครชิปเลย เรื่องนี้ได้นำไปสู่การส่งต่อบทความที่มีชื่อเรื่องว่า "บิล เกตส์ จะใช้การฝังไมโครชิปเพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนา" บทความนี้ได้อ้างถึงการศึกษา ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิเกตส์ ในเทคโนโลยีที่อาจจะเก็บข้อมูลการรับวัคซีนของคนไว้ได้ในหมึกพิเศษที่ถูกฉีดเข้าไปในร่างกายคนพร้อมกับวัคซีน อย่างไรก็ตาม อานา จาเกลเนก นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า เทคโนโลยีนี้ไม่ใช่ไมโครชิป และน่าจะเหมือนกับรอยสักที่มองไม่เห็นมากกว่า ยังไม่มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้ และจะไม่มีการอนุญาตให้แกะรอยคน และข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่ถูกนำเข้าสู่ฐานข้อมูล มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ได้ตกเป็นเป้าของข่าวลือต่าง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงในช่วงของการระบาดใหญ่ไปทั่วโลกของโควิด-19
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
เป็นเรื่องที่ถูกลือกันมากที่สุดในสังคมตะวันตก ตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ๆ โดยเชื่อว่าเป็นแผนการของทุนยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่ต้องการปูทางไปสู่การฝังไมโครชิปประชากรทั่วโลก อาทิ ผลการสำรวจของ ยูกอฟ (YouGov) บริษัทรับทำโพลชื่อดังของอังกฤษ ที่สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันจำนวน 1,640 คน แล้วสรุปผลได้ว่า ชาวอเมริกันร้อยละ 28 เชื่อเรื่องแผนการฉีดวัคซีนเพื่อฝังไมโครชิป เป็นต้น ข่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) เจ้าพ่อไอทีผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ ออกมาพูดเปรยๆ ไว้เมื่อเดือน มี.ค. 2563 ว่าในอนาคตจะมีการออกใบรับรองดิจิทัลสำหรับผู้ที่เคยป่วยจากไวรัสโควิดและได้รับการรักษาจนหายแล้วไปจนถึงผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน ก่อนจะถูกขยายผลลือกันเป็นตุเป็นตะ ทั้งๆ ที่ เกตส์ ไม่เคยพูดถึงไมโครชิปแต่อย่างใด ขณะที่ มูลนิธิ บิลล์แอนด์เมลินดา เกตส์ (Bill and Melinda Gates Foundation) องค์กรการกุศลของเจ้าตัว ชี้แจงว่าใบรับรองดิจิทัลหมายถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบโอเพนซอร์ส เพื่อขยายการตรวจคัดกรองที่ปลอดภัยถึงบ้าน ข่าวลือเรื่องวัคซีนโควิดฝังไมโครชิปกลับมาพูดถึงอีกครั้งในช่วงปลายปี 2563 เมื่อสหรัฐฯ เตรียมการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยใช้วัคซีนที่พัฒนาโดยไฟเซอร์ (Pfizer) ทำให้ทางไฟเซอร์ต้องชี้แจงส่วนผสมของวัคซีนซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 ชนิด ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ใช้ในวัคซีนหลายๆ ชนิด แต่ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับไมโครชิปแต่อย่างใด อนึ่ง วันที่ 8 เม.ย. 2564 กระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย ย้ำอีกครั้งว่า ไม่พบการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือไมโครชิปในวัคซีนโควิด-19 ชนิดใดๆ ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Tananya Raemonkon
แต่อเมริกาใต้เป็นชื่อทวีปนะคะไม่ใช่ประเทศ 🥺
ใช้ใน 0 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Poonato head
โทษ "กฎหมาย" พาณิชย์ ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าช่วง "โควิด" ฟันโทษคุก 7 ปี ปรับหนัก 1.4 แสน
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Poonato head
แพทย์ ชี้ คาเฟอีนทำให้แม่และทารกขาดธาตุเหล็ก หัวใจของทารกเต้นเร็วกว่าปรกติ หายใจเร็ว มีภาวะแขนขากระตุกเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Poonato head
สรุปร่าง ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 20 ทั้ง 9 ข้อ คาดมีผลบังคับใช้ เที่ยงคืน คืนวันเสาร์นี้ #ชัวร์ก่อนแชร์
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Ad.tar
มติศบค.ชุดใหญ่ ยืนยัน ไม่มีเคอร์ฟิว-ไม่มีล็อกดาวน์
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
เฝ้าระวังเบอร์แปลก โทรขายประกันหลอกถามข้อมูลส่วนบุคคล คปภ. ยอมรับ ต้องตรวจสอบให้ดี รับที่ผ่านมาทุกบริษัทประกันจะไม่มีนโยบายถามข้อมูลส่วนบุคคลประชาชน และจะแจ้งข้อมูลตัวแทนขายให้ทราบเสมอ เตือนหากใครเจอถามข้อมูล ให้รีบแจ้งด่วน หวั่นนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ ปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลอกลวงในรูปแบบใหม่ ๆ อย่างหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของภัยการหลอกลวงทางโทรศัพท์ ทั้ง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน หรือการหลอกล่อให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญส่วนบุคคลเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ทางมิชอบ อย่างในกรณีของการการโทรมาสอบถามเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลไปทำประกันประเภทต่าง ๆ ที่ผ่านมามีการตรวจพบว่า มีการแจ้งให้ระวังเบอร์โทรศัพท์แปลก ๆ ทั้ง เบอร์ 0266603xx, 06611515xx, 06611515xx หรือเบอร์อื่น ๆ ส่วนใหญ่เบอร์เหล่านี้มักโทรสอบถามขอข้อมูลส่วนบุคคลโดยอ้างว่าเอาไปทำประกันอุบัติเหตุ กองบรรณาธิการเฉพาะกิจ TJA&Cofact ได้ทำการตรวจสอบและสอบถามกรณีนี้ไปยัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่เข้าข่ายลักษณะนี้ว่า ทาง คปภ. ได้รับเรื่องร้องเรียน หรือได้มีการเฝ้าระวังอย่างไรบ้าง โดย คปภ. ยอมรับว่า ยังไม่เคยมีการร้องเรียนเรื่องเกี่ยวกับเบอร์โทรข้างต้นเข้ามา แต่อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทาง คปภ. ได้มีการแจ้งไปยังบริษัทประกัน และกำชับเรื่องของการสอบถามข้อมูลกับประชาชนไปแล้วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามปกติบริษัทประกันทุกแห่งจะไม่มีนโยบายการสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน และขอให้ประชาชนอย่าให้ข้อมูลด้วย
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
เนื้อความในข่าวเป็นความจริง
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหาอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ชีสมีสารที่ชื่อว่า ไทรามีน กระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
คาแฟอินสารชนิดนี้สามารถส่งผลกระทบต่อลูกได้โดยเฉพาะช่วงให้นมลูก สารชนิดนี้จะแสดงอาการต่างๆ เช่น ลูกตื่นตัวตลอดในช่วงเวลานอน หรือ เมื่อถึงเวลานอนไม่ยอมนอน
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน ไม่ต้องเสียค่ารักษา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
กรมการค้าภายในส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจเข้มต่อเนื่อง ย้ำห้ามผู้ประกอบการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าช่วงโควิดระบาด ชี้โทษหนักคุก 7 ปี ไม่ติดป้ายราคาปรับไม่เกิน 1 หมื่น
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
16 เมษายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจสำนักจุฬาราชมนตรี เผยแพร่ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/2564 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูป ตราแม่ไพจิตร์ ไมได้รับการรับรองฮาลาล จาก สกอท.
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
แบบนี้ปลอม !!! เตือนภัย! SCAM หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหาอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ผลวิจัยชี้ชายติดโควิด-19 เสี่ยง ‘จู๋ไม่แข็ง’ เพิ่มเกือบ 6 เท่า แนะมีอาการให้กักตัว-ตรวจโควิด
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหาอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว