13397 ข้อความ
- 1 คนสงสัยเรื่องสธ. เตือนไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้มีความร้ายแรงมาก ให้งดการเดินทาง และกิจกรรมทุกประเภทจากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความบนสื่อโซเซียลโดยระบุว่าสธ. เตือนไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้มีความร้ายแรงมาก ให้งดการเดินทาง และกิจกรรมทุกประเภท ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ซึ่งขณะนี้ไม่มีการประกาศขอความร่วมมือ หรือสั่งห้ามเดินทาง และกิจกรรมทุกประเภท ตามกรณีดังกล่าวจากหน่วยงานรัฐใดทั้งสิ้น หากมีความคืบหน้าใด ทางกรมควบคุมโรคจะออกประกาศอย่างเป็นทางการให้ประชาชนรับทราบอย่างแน่นอนvarunrampa• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยพบบัตรเลือกตั้งสีม่วงและสีเขียวทิ้งอยู่ในกองขยะ”วันที่ 22 พ.ค.2566 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า ตามที่มีผู้ใช้สังคมออนไลน์ 2 บัญชี นำเสนอข่าวที่เป็นความเท็จว่า “พบบัตรเลือกตั้งสีม่วงและสีเขียวทิ้งอยู่ในกองขยะ” โดยนำเสนอภาพนิ่งและคลิปวิดีโอเผยแพร่ให้แก่สื่อสารมวลชนในรูปแบบต่างๆ จนทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าได้พบบัตรเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ในกองขยะ นั้น กกต. ขอเรียนชี้แจงว่า ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ ที่ได้นำมาเสนอต่อสาธารณชนเป็นความเท็จทั้งสิ้น กล่าวคือ เหตุการณ์ตามที่นำเสนอ เกิดขึ้นในวันที่ 20 พ.ค. 2566 โดยวันดังกล่าวมีกลุ่มบุคคลที่สร้างความวุ่นวายจำนวนหนึ่ง บุกเข้ามาในสถานที่เก็บรักษาบัตรเลือกตั้งและอุปกรณ์ ณ ศาลาประชาคม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยในขณะที่เจ้าหน้าที่ประจำเขตเลือกตั้งที่ 10 ได้นำบัตรเลือกตั้งที่เหลือจากการออกเสียงลงคะแนนของหน่วยเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ 10 จำนวน 151 หน่วย นำมากองรวมกันไว้บนพื้นห้องโถงของอาคารศาลาประชาคม อำเภอสัตหีบ เพื่อทำการคัดแยกจัดหมวดหมู่ของบัตรเลือกตั้งและเอกสารที่ได้รับจากเขตเลือกตั้งที่ 10 ทั้งหมด เพื่อที่จะนำไปเก็บรักษาไว้ ณ สนง.กกต.จังหวัดชลบุรี ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขต 10 ได้มีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่ง รวมทั้งหญิงผู้ก่อเหตุจำนวน 2 คน ตามที่ปรากฏเป็นข่าว ได้เข้าไปหยิบฉวยถุงบรรจุบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อที่บรรจุไว้ในถุงพลาสติก อย่างละ 1 ถุง ออกไปจากความครอบครองของเจ้าหน้าที่ประจำเขตเลือกตั้งที่ 10 และนำบัตรเลือกตั้งดังกล่าว ออกไปจากสถานที่เก็บรักษา นำไปแสดงให้แก่ประชาชนที่รออยู่นอกอาคาร กล่าวหาโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ได้พบบัตรเลือกตั้งจำนวน 2 ถุง ทิ้งอยู่ในกองขยะ กกต. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่ามีกองขยะอยู่ภายในอาคารดังกล่าวแต่อย่างใด ภาพที่ปรากฏในสื่อสารมวลชน คือ กองวัสดุอุปกรณ์, ถุงต้นขั้วบัตรเลือกตั้งและบัตรเลือกตั้งที่เหลือจากการเลือกตั้งเป็นบัตรที่ถูกทำลายด้วยวิธีการเจาะรูและร้อยเชือกแล้วทั้งสิ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ของ กกต. และกรรมการการเลือกตั้ง ประจำเขตเลือกตั้งที่ 10 เป็นผู้ควบคุมดูแลและตรวจสอบ เพื่อคัดแยกบัตรดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การนำเสนอภาพข่าวและคลิปวิดีโอ จึงเป็นความเท็จ คำเตือน ผู้ใดแชร์ข่าวดังกล่าวด้วยวิธีการกดไลก์ กดแชร์ รีทวิต รีโพสต์ ทางยูทูบ ทางติ๊กต๊อก ส่งต่อทางไลน์ไปยังกลุ่มต่างๆ หรือช่องทางสื่อสารอื่นๆ จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2560 มาตรา 14 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับข่าวการเมืองเลือกตั้งstd46432• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยระบบน้ำเหลืองสิวหน้าอก ปัสสาวะสีเข้ม ข้อเท้าบวม เพราะระบบน้ำเหลืองมีปัญหา ตามที่มีการกล่าวถึงในประเด็นเรื่องเกิดสิวหน้าอก ปัสสาวะสีเข้ม ข้อเท้าบวม คือสัญญาณว่าการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองมีปัญหา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ ระบบน้ำเหลืองมีปัญหา จริงหรือไม่ กรณีส่งต่อคำแนะนำว่า อาการเกิดสิวหน้าอก ปัสสาวะสีเข้ม ข้อเท้าบวม คือสัญญาณว่าการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองมีปัญหานั้น ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า จากข้อมูลตามข้อความดังกล่าวไม่มีเหตุผลที่เป็นไปได้ตามทฤษฎีทางการแพทย์ คือ ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองไม่ได้มารวมกับน้ำเลือดบริเวณหน้าอกและไม่ได้สัมพันธ์กับการเกิดสิวหน้าอกตามที่ข้อความกล่าวถึง ปัสสาวะสีเหลืองเข้มมีปัจจัยได้หลายสาเหตุเช่นภาวการณ์ดื่มน้ำน้อย ดังนั้นเลือดหนืดข้นไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว ข้อเท้าบวมมักเกิดจากการรั่วของน้ำออกไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ จากการที่มีน้ำเกินหรือขาดสารอัลบูมินไม่ใช่ของเสียที่ตกค้างมารวมกันstd47887• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยดีอีเอส เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม อย่าแชร์ เปิดรับจองฉีดวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับเด็กที่อายุ 12 -18 ปี ผ่านแอปพลิเคชันไลน์หมอพร้อมนางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลในประเด็นเรื่อง เปิดรับจองฉีดวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับเด็กที่อายุ 12 -18 ปี ผ่านแอปพลิเคชันไลน์หมอพร้อม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขพบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จชื่อนีโอ ไม่ใช่มีโอ ลีโอ โอรีโอ้• 1 ปีที่แล้ว
- 6 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! "สมุนไพรขันทองพยาบาท" ใช้รักษาโรคมะเร็งจากกรณีที่มีการแชร์สรรพคุณของสมุนไพรขันทองพยาบาท ว่าสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการพบว่าขันทองพยาบาทไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง และไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ สำหรับสมุนไพรขันทองพยาบาท (Suregada multiflora) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำหรับยาสมุนไพรพื้นบ้านมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น และจากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่าสารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าขันทองพยาบาทช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์std47897• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัย‘FALSE BASE STATION’ จากเครื่องมือสืบสวนอาชญากรรม สู่อุปกรณ์ก่อเหตุ‘SMSดูดเงิน’ของมิจฉาชีพเมื่อเร็วๆ นี้ บทความเตือนภัยมิจฉาชีพส่ง SMS ตีเนียนเป็นธนาคารหลอกให้คลิก Link ของผู้เขียนเพิ่งได้รับการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ cofact.org ซึ่งรวบรวมคำเตือนของผู้รู้ทั้ง อ.ปริญญา หอมเอนก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) รวมถึง พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ว่าด้วยอุปกรณ์ “False Base Station (FBS)” ที่สามารถส่ง SMS ปลอมเป็นใครก็ได้เข้าเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้ที่เข้ามาอยู่ในรัศมีทำการ โดยไม่ต้องอาศัยผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ (เช่น AIS , DTAC , True) อีกทั้งเครื่องนี้สามารถติดตั้งในห้องพักหรือแม้แต่ในรถยนต์ มีขนาดไม่ใหญ่และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย จึงยากต่อการเฝ้าระวัง บทความที่แล้วผู้เขียนยังอ้างถึงรายงานข่าวในต่างประเทศ ซึ่งย้อนไปในปี 2557 ที่ประเทศจีนมีการกวาดล้างอุปกรณ์ FBS ครั้งใหญ่ เนื่องจากมีรายงานมิจฉาชีพนำเครื่องติดตั้งไว้ในรถแล้วขับตระเวนไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน แล้วยิง SMS ปลอมเป็นธนาคารหรือหน่วยงานของรัฐ กระทั่งในที่สุด เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ก็มีหลักฐานยืนยันได้ว่า อุปกรณ์ FBS ได้ถูกมิจฉาชีพนำมาใช้ในประเทศไทยแล้ว หลังมีการรายงานข่าวเรื่องนี้ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) จับกุมผู้ต้องหา 6 ราย พร้อมของกลางเป็นอุปกรณ์ FBS ที่ติดตั้งในรถยนต์ ขับตระเวนก่อเหตุในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล เว็บไซต์ firstpoint-mg.com ของ FirstPoint บริษัทซอฟท์แวร์รักษาความปลอดภัยสำหรับโทรศัพท์มือถือในอิสราเอล อธิบายการทำงานของ False Base Station ซึ่งยังมีอีกหลายชื่อเรียก เช่น Fake Base Station , IMSI catchers , Rogue Base Station , Stingray , Fake Cellular Tower ว่าเป็นการแทรกแซงการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (โทรศัพท์มือถือ) กับเสาส่งสัญญาณ (เสาจริง) การโจมตีสามารถทำได้ภายใต้รัศมีทำงานของอุปกรณ์ และแฮ็กเกอร์สามารถรับข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของอุปกรณ์ ติดตามตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือ หรือโจมตีระบบ DoS ที่บล็อกหรือครอบงำการเชื่อมต่อสัญญาณทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยไม่มีการทิ้งร่องรอยใด ๆ ฮาซีบ อาวาน (Haseeb Awan) ซีอีโอของ Efani บริษัทซอฟท์แวร์รักษาความปลอดภัยระบบโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เขียนบทความ “How to Protect Your Device from IMSI Catchers?” เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2565 ระบุว่า ในอดีต อุปกรณ์ IMSI Catchers ใช้กันเฉพาะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เพื่อค้นหาข้อมูลระบุตัวตนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างประเทศ (IMSI) ที่เชื่อมโยงกับซิมการ์ดของผู้ต้องสงสัยในการสืบสวนคดีอาชญากรรม แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถหาซื้อได้อย่างแพร่หลาย กลายเป็นภัยที่ทุกคนต้องระวัง IMSI Catcher ใช้การโจมตีแบบ “ตัวกลาง (MITM)” พร้อมกัน ฝั่งหนึ่งทำงานด้วยการปลอมเป็นตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือเพื่อแสดงกับเสาสัญญาณโทรศัพท์จริง ส่วนอีกฝั่งก็ปลอมเป็นเสาสัญญาณโทรศัพท์เพื่อแสดงกับตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือจริงที่มีผู้ใช้งานกันทั่วไป อุปกรณ์สามารถระบุการรับส่งข้อมูล (traffic)บนเครือข่ายมือถือ และกำหนดเป้าหมายสำหรับการสกัดกั้นและการวิเคราะห์ โดยสามารถใช้งานได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิต IMSI Catchers จะให้ฟังก์ชั่นอะไรมาให้ใช้งานบ้าง ดังนี้ 1.ติดตามตำแหน่งที่อยู่ (Location Tracking) IMSI Catchers สามารถบังคับเครื่องโทรศัพท์มือถือเป้าหมายให้ตอบสนองด้วยตำแหน่งเฉพาะโดยใช้ GPS หรือความเข้มของสัญญาณของเสาสัญญาณโทรศัพท์ที่อยู่ติดกัน ทำให้สามารถจำลองสัญญาณตามตำแหน่งที่รู้จักของเสาสัญญาณเหล่านี้ได้ ซึ่งผู้ใช้งานก็จะสามารถเฝ้าจับตาเพิ่มเติมในรายละเอียด เช่น จุดที่อยู่แน่นอนหากเป้าหมายอยู่ในอาคาร หรือสถานที่ที่เป้าหมายมักเดินทางไปบ่อยๆ เป็นการตีวงจำกัดพื้นที่ให้แคบลงในการติดตามพฤติกรรมของเป้าหมาย 2.แทรกแซงการเชื่อมต่อ (Data Interception) IMSI Catchers บางชนิดสามารถเปลี่ยนเส้นทางการโทรศัพท์และส่งข้อความ เปลี่ยนแปลงการสื่อสาร รวมถึงปลอมแปลงตัวตนในการโทรศัพท์และส่งข้อความ 3.ส่งสปายแวร์ (Spyware Delivery) IMSI Catchers บางชนิดตั้งราคาขายไว้ค่อนข้างแพงเพราะอ้างว่าสามารถส่งสปายแวร์ (Spyware-โปรแกรมจารกรรมข้อมูล) ไปยังโทรศัพท์มือถือเป้าหมายได้ โดยสปายแวร์สามารถเชื่อมตำแหน่งของเป้าหมายโดยไม่ต้องใช้ตัวจับ IMSI และรวบรวมภาพและเสียงผ่านกล้องและไมโครโฟนของเครื่องโทรศัพท์มือถือของเป้าหมาย 4.ดักรับข้อมูล (Data extraction) IMSI Catchers ยังอาจรวบรวมข้อมูลอภิพันธุ์ (metadata) เช่น หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ ระยะเวลาการโทร และเนื้อหาของการสนทนาทางโทรศัพท์และข้อความที่ไม่ได้เข้ารหัส ตลอดจนรูปแบบการใช้ข้อมูลบางรูปแบบ (เช่น เว็บไซต์ที่เยี่ยมชม) “IMSI catchers ที่มีความสามารถขั้นสูงสามารถแทรกแซงข้อความและฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ได้ นอกจากนี้ยังอาจดักรับ-ส่งข้อมูล เช่น หมายเลขโทรศัพท์ที่โทรออก หน้าเว็บที่เรียกดู และข้อมูลอื่นๆ IMSI catchers มักจะติดตั้งเทคโนโลยีการรบกวน (เพื่อทำให้โทรศัพท์ 3G และ 4G เชื่อมต่อด้วยความเร็ว 2G) และคุณสมบัติการปฏิเสธการให้บริการอื่นๆ IMSI catchers บางตัวอาจสามารถดึงข้อมูลต่างๆ เช่น รูปภาพและ SMS จากโทรศัพท์เป้าหมายได้” ฮาซีบ อาวานกล่าว ด้านเว็บไซต์ simoniot.com ของบริษัท Simon IoT ผู้ให้บริการเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) ที่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองนิวยอร์กของสหรัฐฯ อธิบายความหมายของ IMSI ไว้ในบทความ “What Is an IMSI? /iˈmˈsē/” เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2564 ว่า IMSI (International Mobile Subscriber Identity) คือรหัสเลข 15 หลัก สำหรับซิมการ์ดของระบบโทรศัพท์มือถือ GSM แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1.รหัสประเทศ (Mobile Country Code : MCC) คือเลขชุด 2 ตัว หรือ 3 ตัวแรก ระบุประเทศของผู้ใช้งาน (เช่น รหัส MCC ของไทยคือ 520) 2.รหัสผู้ให้บริการ Mobile Network Code : MNC) คือเลขชุด 1-3 ตัวถัดไปจาก MCC ระบุเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมโยงกับซิมการ์ด (เช่น ในประเทศไทยคือ AIS , DTAC , True) 3.หมายเลขประจำตัวของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ (Mobile Subscription Identification Number) คือเลขชุด 9 หรือ 10 ตัวสุดท้ายของ IMSI โดยเป็นชุดตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันเพื่อระบุผู้ใช้ซิมการ์ด หมายเหตุ : ผู้สนใจสามารถดูเลข MCC ของแต่ละประเทศ และเลข MNC ของผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือได้ที่เว็บไซต์ mcc-mnc.com หรือเว็บไซต์ mcc-mnc-list.com/list ทั้งนี้ต้องบอกว่า การป้องกันภัยจาก IMSI Catchers หรือ False Base Station ไม่ใช่เรื่องง่าย บุคคลทั่วไปไม่มีทางรู้เว้นแต่จะติดตั้งซอฟท์แวร์ตรวจจับในเครื่องโทรศัพท์มือถือ (ซึ่งในต่างประเทศมีจำหน่ายหลายยี่ห้อ แต่ความคุ้มค่าในการลงทุนน่าจะเหมาะกับบุคคลระดับ VIP หรือองค์กรที่ต้องรักษาข้อมูลสำคัญจำนวนมากและเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าสูงเสียมากกว่า) “สำหรับบุคคลทั่วไป ในเบื้องต้นหากเป็น SMS แนบ Link อ้างว่ามาจากธนาคาร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าปลอมแน่ๆ ลบทิ้งได้เลยไม่ต้องกดเข้าไป เพราะธนาคารเกือบทุกเจ้าที่ให้บริการในไทยได้ยกเลิกการส่ง SMS ลักษณะนี้แล้ว ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อป้องกันมิจฉาชีพสวมรอย” ส่วนหากเป็นหน่วยงานอื่นๆ ส่งมาแล้วไม่มั่นใจ ขอให้ท่านหาหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกต้องของหน่วยงานนั้นๆ แล้วโทรไปสอบถามก่อนจะดีที่สุด!!! -/-/-/-/-/-/-/-/-/-/- ขอบคุณและรับชมคลิปประกอบเรื่องจาก รายการข่าวสามมิติผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอมstd47921• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยวิธีเปลี่ยนผิวเหลือง เป็นผิวขาวอมชมพูจากกรณีที่มีข้อความชวนเชื่อเรื่อง 8 วิธีเปลี่ยนผิวเหลือง ผิวขาวซีด เป็นผิวขาวอมชมพูได้ ทางสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากการที่จะเปลี่ยนให้คนที่มีผิวขาวเหลืองเป็นขาวอมชมพูได้นั้น เป็นไปได้ยาก เพราะสิ่งที่ทำให้ผิวมีความแตกต่างกันคือ เม็ดสีหรือเมลานิน (Melnin) โดยเมลานินจะอยู่บริเวณชั้นผิวหนังกำพร้า ถูกผลิตขึ้นโดยเมลาโนไซต์ (Melanocyte) จากชั้นล่างสุดของชั้นหนังกำพร้า ก่อนจะถูกส่งขึ้นมาสู่ชั้นบนเป็นทอด ๆ ซึ่งเมลานินซึ่งถูกผลิตขึ้นมานี้มี 2 ชนิด ได้แก่ ยูเมลานิน (Umelnin) ซึ่งมีสีดำ น้ำตาลเข้ม และฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งมีสีแดง เหลือง ทั้งนี้เมลานินทั้งสองชนิดนี้มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล สัดส่วนที่แตกต่างกันไปของเมลานินที่ผลิตออกมาทำให้สีผิวของเราแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ชาวแอฟริกันหรืออเมริกาใต้หรือผู้ที่มีผิวคล้ำ จะมีสัดส่วนของยูเมลานินมากกว่า ในขณะที่คนผิวขาว เอเซีย จีนหรือยุโรป จะมีสัดส่วนของฟีโอเมลานินมากกว่า ดังนั้นการที่คนเราจะมีผิวขาวเหลือง หรือขาวอมชมหูจึงขึ้นกับสัดส่วนของเมลานินในชั้นผิวหนังvarunrampa• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอาหารแก้เส้นเลือดในสมองตีบตามที่มีคำแนะนำเผยแพร่บนสื่อออนไลน์เรื่องอาหารแก้เส้นเลือดในสมองตีบ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อความที่ปรากฏนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลด้านสุขภาพโดยระบุว่า ไข่ขาว พริกไทย หอมแดง อาหารแก้เส้นเลือดในสมองตีบ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ในสื่อกล่าวถึงอาหารที่ประกอบด้วยไข่ขาว พริกไทย หอมแดง นำไปทอดหรือนึ่ง เมื่อรับประทานแล้วจะทะลวงเส้นเลือดที่ตีบตัน ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่บอกว่าข้อความดังกล่าวเป็นความจริงjulyyy• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยผู้ป่วยมะเร็งห้ามกินปลาหมึกห้ามผู้ป่วยมะเร็งกินปลาหมึก หอยทุกชนิด และปลาที่เลี้ยงในกระชัง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ยังไม่มีข้อมูลหรือข้อแนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งงดอาหารดังกล่าว ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงกรณีการแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องผู้ป่วยมะเร็งควรงดปลาหมึก หอยทุกชนิด และปลาที่เลี้ยงในกระชัง ว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลดังกล่าว ไม่มีคำแนะนำห้ามผู้ป่วยมะเร็งงดอาหารเหล่านี้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างครบถ้วน เพียงพอโดยคำนึงถึงความต้องการของพลังงานตามอายุ กิจกรรม และระดับความรุนแรงของโรค เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร น้ำหนักลด การสูญเสียกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรค ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทานอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น จำกัดการบริโภคอาหารทะเลบางชนิดที่อาจมีคอเลสเตอรอลสูง เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ควรรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ แม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ควรเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น ปลา ไก่ ไข่ และนม ซึ่งอาหารในกลุ่มปลาหมึก หอย และปลา เป็นอาหารที่ให้สารอาหารในกลุ่มโปรตีน ถือเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกายมีส่วนในการช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพออาจส่งผลให้กล้ามเนื้อถูกสลายไปใช้เป็นพลังงานส่งผลเสียต่อร่างกายได้std47887• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเวนดิ้งแมชชีนเซ็นเตอร์ ร่วมกับกรมจัดหางาน รับสมัครคนตอบแชทออนไลน์กรมการจัดหางานร่วมกับบริษัท เวนดิ้งแมชชีนเซ็นเตอร์ จำกัด รับสมัครคนตอบแชทออนไลน์ รายได้ 800 บาทต่อวันstd46412• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยนมตราหมีรักษาโควิดมีคำกล่าวอ้างทางโซเชียลมีเดียและกลุ่มสนทนาทางวอตส์แอปป์ (WhatsApp) ว่าการดื่มนมสดยี่ห้อนี้อาจช่วยสร้างแอนติบอดี หรือสารภูมิต้านทานโควิดได้std47901• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสปสช. เตือน! ปชช.อย่าหลงเชื่อ SMS "หลอกให้อัปเดทข้อมูลบัตรทอง"วันที่ 31 มีนาคม 2566 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในระยะนี้พบว่ากลุ่มมิจฉาชีพได้แอบอ้างชื่อ สปสช. ส่ง SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชน โดยอ้างว่า สปสช.มีนโยบายให้อัปเดทข้อมูลบัตรบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิทันที พร้อมแนบลิงก์สำหรับให้คลิกเข้าไปอัปเดทข้อมูล ทพ.อรรถพร กล่าวว่า สปสช. ไม่มีนโยบายโทรหรือส่ง SMS สอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแต่อย่างใด SMS เหล่านี้ไม่ได้ส่งจาก สปสช. แต่เป็นการแอบอ้างชื่อเพื่อหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่กลุ่มมิจฉาชีพ ดังนั้น โปรดอย่าได้หลงเชื่อคลิกลิงก์ที่แนบมาด้วย เพราะมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกแฮกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงิน หรืออาจถูกหลอกล่อด้วยวิธีการต่างๆ จนผู้เสียหายหลงโอนเงินไปให้ดังที่มักปรากฎเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งในระยะนี้ ทพ.อรรถพร กล่าวว่า สิทธิบัตรทองนั้น เป็นสิทธิที่ติดตัวตั้งแต่เกิดจนตายสำหรับคนไทยทุกคน ไม่มีการตัดสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น มีแต่การเปลี่ยนไปใช้สิทธิอื่น เช่น หากเข้ารับราชการก็จะเปลี่ยนมาใช้สิทธิสวัสดิการของราชการ หรือหากเข้าทำงานในบริษัทเอกชน ก็จะเปลี่ยนสิทธิมาใช้ระบบประกันสังคม และหากมีการเปลี่ยนสถานะ เช่น ลาออกจากราชการหรือลาออกจากบริษัท ก็จะเปลี่ยนกลับมาเป็นสิทธิบัตรทองโดยอัตโนมัติ แต่ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม คนไทยทุกคนจะต้องมีสิทธิการรักษาพยาบาลอย่างน้อย 1 สิทธิเสมอ ไม่มีการตัดสิทธิ/ยกเลิกสิทธิ จนกลายเป็นคนที่ไม่มีสิทธิในการรักษาพยาบาลใดๆ เลยแน่นอนstd47897• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวลวง “เนื้อดิบ” ป้องกันโควิด-19สถานการณ์แพร่ระยาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีมูลความจริงทำให้เกิดความเข้าใจผิดในประเด็นเดิมมๆ ก็ยังคงวนกลับมาให้เห็นซ้ำอีก ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีผู้แจ้งข้อมูลเพื่อตรวจสอบข่าวลวงมายัง www.cofact.org กรณีมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดียว่าเนื้อดิบมีสรรพคุณเป็นยาป้องกันและรักษาโควิด-19 ได้ โดยผลการตรวจสอบได้ข้อสรุปว่าเป็นข่าวลวง เพราะไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานเนื้อดิบจะสามารถช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้ อีกทั้งการรับประทานเนื้อดิบอาจมีผลทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ข่าวลวงเรื่องเนื้อดิบป้องกันรักษาโควิด-19 นั้นเคยถูกเผยแพร่ออกมาครั้งแรกช่วงที่ประเทศไทยพบการระบาดเมื่อปลายเดือน ก.พ. 2563 (ปีที่แล้ว) โดยทางเพจสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลกมีคำเตือน ให้งดกินของดิบ ปลาดิบชั่วคราว เพราะนอกจากจะไม่ช่วยรักษาหรือป้องกันไวรัสโควิด-19 แล้วยังสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ติดไวรัสโควิด-19 อีกด้วย ทั้งนี้เชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ทนความร้อนสามารถถูกทำลายได้ด้วยการประกอบอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นนิยมรับประทานปลาดิบเป็นจำนวนมาก ทางเพจสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จึงทำการโพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำผู้นิยมกินของดิบ เช่น ปลาดิบ ซาเซมิ ให้หลีกเลี่ยงชั่วคราว เนื่องจากสุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีข้อความเตือน ดังนี้ เชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ทนความร้อน และถูกทำลายได้ด้วยวิธีการประกอบอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้ 1)หลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก และ(2) จัดการกับเนื้อสัตว์ดิบ นมดิบ หรืออวัยวะของสัตว์ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเข้าสู่ผลิตภัณฑ์อาหารที่รับประทานสด ญี่ปุ่นมีการรับประทานปลาดิบ เนื้อสดกันเยอะ ช่วงนี้เลี่ยงการรับประทานปลาดิบ เนื้อสด ของดิบไปก่อน ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความไขข้อสงสัยเรื่องการรับประทานอาหารทะเลในช่วงที่โควิดระบาด โดยระบุว่า อาหารทะเลโดยมากจะต้องทำความเย็นหรือแช่แข็งเพื่อให้คงคุณภาพได้ดี ถ้าชาวประมง ผู้ขาย มีการติดเชื้อโควิด-19 โอกาสที่จะเชื้อปนเปื้อนอยู่ในอาหารทะเลและไวรัสคงชีวิตอยู่ได้นาน จึงมีความเป็นไปได้ ที่จะตรวจพบไวรัสในอาหารทะเลแช่เย็น เช่นการตรวจพบในปลาแซลมอน กุ้งนำเข้าในประเทศจีน การติดต่อของโรคโควิด-19 ผ่านทางอาหารทะเล มีการตั้งข้อสงสัยในประเทศจีน อย่างไรก็ตามอาหารทะเลสามารถบริโภคได้ถ้าปรุงสุก ความร้อนสามารถทำลายไวรัสได้อย่างแน่นอน โควิด-19 สามารถทำลายด้วยความร้อน 56 องศานานครึ่งชั่วโมง และถ้าความร้อนสูงขึ้นระยะเวลาก็จะสั้นลง โดยทั่วไปแล้วถ้าความร้อนสูงกว่า 85 องศา ก็จะมั่นใจในการทำลายไวรัสได้ และถ้าต้มให้เดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาไวรัสจะถูกทำลายทันที ในช่วงที่มีการระบาดของโรคจึงไม่ควรรับประทานอาหารทะเลดิบหรือไม่สุก สิ่งที่จะต้องคำนึงคือการจับต้องกับอาหารทะเล ที่แช่เย็นมา จะต้องล้างมือให้สะอาด และชำระล้างอาหารทะเล โดยใช้น้ำสะอาดให้มีปริมาณมากพอ และจะต้องทำความสะอาดมือด้วยสบู่ ถ้าเป็นไปได้ควรใส่ถุงมือและล้างถุงมือ หรือใช้แบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง ทุกครั้งต้องล้างมือก่อนจับต้องใบหน้า ในระบบนำส่งอาหารทะเล ก็จะต้องมีมาตรการควบคุมดูแลเรื่องความสะอาด ตลอดเส้นทาง อุตสาหกรรมอาหารทะเล โรงงาน จะต้องหมั่นตรวจดูคนงาน และอาจจำเป็นต้องสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งอาจไม่มีอาการของโรค อาหารทะเลยังคงรับประทานได้ตามปกติและมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากโดยเฉพาะ ปลาทะเล แต่ขั้นตอนตั้งแต่ผลิตหรือจับมาจากชาวประมง จำหน่าย การเตรียมมาทำอาหาร ทุกขั้นตอนให้คำนึงเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย ในการจับต้องกับอาหารทะเลแช่เย็นหรือแช่แข็ง เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อดิบ ปลาดิบ อาหารทะเลดิบ นอกจากจะไม่สามารถช่วยป้องกันรักษาไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นพยาธใบไม้ในตับอีกด้วยpgolfpaotung• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยปวดไมเกรน มีฝ้าขึ้น แสดงว่าไขมันกำลังอุดตัน สมองส่วนหน้าขาดอาหารตามที่มีคำแนะนำเผยแพร่บนสื่อออนไลน์เรื่องปวดไมเกรน มีฝ้าขึ้น แสดงว่าไขมันกำลังอุดตัน สมองส่วนหน้าขาดอาหาร ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อความที่ปรากฏนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลด้านสุขภาพโดยระบุว่า หากปวดไมเกรน มีฝ้าขึ้น แสดงว่าไขมันกำลังอุดตัน สมองส่วนหน้าขาดอาหาร ผิวหน้าขาดการซ่อมแซม ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า สาเหตุของอาการปวดศีรษะไมเกรนไม่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองส่วนหน้าขาดอาหาร และไม่ได้เกิดจากไขมันอุดตันในหลอดเลือดสมอง โดยหากสมองส่วนหน้ามีการทำงานบกพร่อง ผู้ป่วยอาจจะมีอาการความคิดความจำถดถอย แขนขาอ่อนแรง หรือการใช้ภาษาสื่อสารผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตาม บางการศึกษารายงานว่าภาวะในเลือดสูงเป็นความเสี่ยงหนึ่งของการเกิดไมเกรนjulyyy• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยนักเลงอ่างทอง ดวลปืนกลางร้านเหล้า เอก วัดจันทร์ฯ โดน 8 นัดไปตายรพ.อ่างทอง เกิดเหตุดวลปืนกลางร้านเหล้าดัง เอก วัดจันทร์ฯ ถูกกระสุน 8 นัด ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ส่วนมือปืนคู่กรณีมีรอยเลือดทิ้งจยย.ไว้เกิดเหตุแล้วขึ้นรถเก๋งหลบหนี พยานเผยได้ยินเสียงถามว่า “ใครมองหน้า” ก่อนมีเสียงปืนดังลั่นstd47885• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกรมจัดหางานแจ้งลิงก์ผู้ใช้แรงงาน รับเงินทวนสิทธิ์ย้อนหลังผ่าน SMSตามที่มีข่าวสารเผยแพร่เกี่ยวกับกรมการจัดหางาน ติดต่อรับเงินทดแทน ผู้ใช้แรงงาน ทวนสิทธิ์ย้อนหลัง ผ่านลิงก์ doe.yz-line.cc ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง ข้อความนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกรมการจัดหางาน รวมทั้ง กรมฯ ไม่มีนโยบายส่งข้อความทาง SMS ให้กับประชาชนchonlasit2551• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยผลิตภัณฑ์ ovisure goldเเก้อาการปวดผลิตภัณฑ์ ovisure goldเเก้อาการปวดข้อ อาการเหน็บชา ต่างๆstd48301 น้องกฤตธิป สวัสดิ์อำไพรักษ์ (น้องหนึ่ง) ม.2/1 เลขที่2• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยดีอีเอส เตือนข่าวปลอมอย่าแชร์! อเมริกาจะปล่อยเชื้อโควิดในประเทศไทย ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงภายใน 2 ชม. และอยู่ได้ไม่เกิน 2 - 3 วันนางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เรื่อง อเมริกาจะปล่อยเชื้อโควิดในประเทศไทย ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงภายใน 2 ชม. และอยู่ได้ไม่เกิน 2 - 3 วัน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการส่งต่อข้อความระบุว่า สหรัฐอเมริกาจะปล่อยเชื้อโควิด-19 ให้กับประเทศไทย ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงภายใน 2 ชม. และอยู่ได้ไม่เกิน 2 - 3 วัน ทางกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า จากการตรวจสอบไม่มีมูลว่าข่าวดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงแต่อย่างใดชื่อนีโอ ไม่ใช่มีโอ ลีโอ โอรีโอ้• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกำมือ-แบมือ ข่าวปลอม! แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือมีคนบอกว่าสามารถแก้โรคความดันโลหิตสูงได้เพียงแค่ กำมือ-แบมือ ข่าวปลอม! แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือ | Hfocus.org แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบเรื่อง ความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ-แบมือ กับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47905• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยคนชรากินปลาท่องโก๋ไม่ได้คนชรากินปาท่องโก๋ที่ใส่แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ทำให้ไตทำงานหนัก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอนามัย หน่วยงานสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ เพราะแอมโมเนียมไบคาร์บอเนตไม่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เมื่อผู้สูงอายุรับประทานเข้าไปจึงไม่ได้ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับส่วนประกอบของปาท่องโก๋ จะมีสารที่นิยมใช้ในการทำให้ขึ้นฟู 3 ชนิด ช่วยให้ปาท่องโก๋กรอบพองฟู โดยสารแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการทำให้เกิดการขึ้นฟูในขั้นตอนที่ต่างกัน ได้แก่ ผงฟู ยีสต์ แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต (NH₄HCO₃) นอกจากนี้ หากทอดปาท่องโก๋แบบผ่านความร้อนนาน ๆ หรือผ่านการทอดในน้ำมันซ้ำ ยังอาจเสี่ยงจะเกิดสารก่อมะเร็งได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อทั้งผู้ทอดและผู้บริโภค แม้ว่าการรับประทานปาท่องโก๋จะไม่มีโซเดียม ไม่ให้ไตทำงานหนัก แต่ปาท่องโก๋ก็เป็นอาหารที่มีแคลอรีสูง ไม่ควรรับประทานปาท่องโก๋เป็นประจำ โดยพลังงานของปาท่องโก๋จะสูงราว 120 – 180 กิโลแคลอรี อีกทั้งพลังงานส่วนใหญ่ยังมาจากไขมัน เพราะในปาท่องโก๋มีไขมันอิ่มตัวสูง ส่งผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด หากรับประทานบ่อย ๆ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ ส่วนการที่รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ส่งผลเสียต่อไต และความดันโลหิตสูง ผลที่ตามมาคือเกิดความดันในหน่วยไตสูงขึ้น และเกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารบางอย่าง ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น แต่ในปาท่องโก๋ไม่ได้ใส่เกลือหรือผงฟูมากขนาดนั้น หากไม่กินมากจนเกินไปก็ไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายstd47887• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7 วันศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการโฆษณาทางสื่อโซเชียลเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7 วัน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จKtxnic Ez• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยครีมช่วยให้ “จมูกโด่ง” ไม่มีอยู่จริง ชี้ ผู้ผลิตโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงจากกรณีมีผู้แชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกดั้งโด่งขึ้น ภายใน 7 วัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้น ครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอนstd47884• 1 ปีที่แล้ว
- 3 คนสงสัย“ดื่มน้ำมะนาวร้อน” ฆ่าโควิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ข่าวปลอมเรื่องสมุนไพรสามารถรักษาการแพร่ระบาดมีมากมาย การดื่มน้ำมะนาวก็เช่นกัน เนื่องจากมีการเผยแพร่และส่งต่อในสื่อโซเชียลมีเดียว่าการดื่มน้ำมะนาวร้อนช่วยต้านเชื้อ โควิด-19 ได้ ซึ่งมีผู้ส่งข้อความมาให้ cofact.org (โคแฟค) ตรวจสอบ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2563 ประเด็นเรื่อง ดื่มน้ำมะนาวร้อน ช่วยต้าน โควิด-19 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ โดยระบุว่า จากที่มีการโพสต์ข้อความว่า ดื่มน้ำมะนาวร้อนทุกวัน จะช่วยต้าน โควิด-19 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ให้ข้อมูลว่า น้ำมะนาว มีวิตามินซีช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่สามารถยืนยันได้ว่าน้ำมะนาวร้อนสามารถฆ่าเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ ตามสรรพคุณยาโบราณ น้ำมะนาวนั้น มีรสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ ฟอกโลหิตประจำเดือนของสตรี โดยวิธีใช้ผสมกับเกลือ และน้ำตาลทรายแดง จิบเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ กินเป็นยาฟอกเลือด กัดเถาดานในท้อง ล้างเสมหะในคอ ล่าสุดมีการแชร์ตามสื่อโซเชียลมีเดียซ้ำอีกครั้งว่า ดื่มน้ำมะนาวผสมเกลือเป็นวิธีฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งระบุเพิ่มเติมด้วยว่าการดื่มน้ำอุ่นผสมเกลือ น้ำสมุนไพร และน้ำมะนาว เพราะเชื้อโควิด -19 กลัวน้ำดังกล่าว ซึ่งคราวนี้กรมควบคุมโรคได้ออกมาชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการสร้างข้อมูลเท็จนำมาเผยแพร่ซ้ำเพื่อสร้างความเข้าใจผิด กรมควบคุมโรค เปิดเผยอีกว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ใดยืนยันว่าการดื่มน้ำมะนาวผสมเกลือช่วยฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ซึ่งการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสฯ ที่ดีที่สุดขณะนี้ คือ ลดการสัมผัสที่ไม่จำเป็น หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่แออัด สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ และหากมีไข้ หรืออาการเสี่ยงให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น การดื่มน้ำมะนาวร้อน หรือดื่มน้ำมะนาวผสมเกลือ ไม่ได้ช่วยต้านหรือฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ตามที่มีการแชร์กันในโลกออนไลน์pgolfpaotung• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยน้ำมันว่าน 801 บวรเวช บรรเทาอาการปวด ไหล่ติด ปวดหลัง คอบ่าไหล่ ออฟฟิศซินโดรม นิ้วล็อก ปวดเข่า รองช้ำน้ำมันว่าน 801 บวรเวช บรรเทาอาการปวด ไหล่ติด ปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรม นิ้วล็อก รองช้ำ ปวดเข่า ทางstd46412• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเล็บบอกโรคได้ใครมีลักษณะพระจันทร์เสี้ยวที่เล็บอาจจะมีโรคstd48301 น้องกฤตธิป สวัสดิ์อำไพรักษ์ (น้องหนึ่ง) ม.2/1 เลขที่2• 1 ปีที่แล้ว