13218 ข้อความ
- 1 คนสงสัยสธ.จับมือ ดีอี ตำรวจ เอาผิดผู้โพสต์-แชร์ข่าวลวง ‘ไวรัสโคโรนา’กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) กล่าวโทษดำเนินคดีผู้โพสต์ แชร์ข่าวลวง ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนา ให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข https://pr.moph.go.th วันนี้ (29 มกราคม 2563) ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กทม. นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ ได้เป็นตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุข ประชุมร่วมกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) กระทรวงดิจิทัลฯ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) โดยมี พ.ต.อ.พันธนะ นุชนารถ เป็นประธาน เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีข่าวปลอม ข่าวลวงโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาที่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และกระทรวงสาธารณสุขได้เฝ้าระวังและติดตามข่าวจากสื่อโซเชียล เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย กล่าวโทษดำเนินคดีกับผู้โพสต์ ผู้แชร์ข่าวอันเป็นเท็จ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดการส่งต่อข้อมูลซึ่งจะทำให้ประชาชนตื่นตระหนก นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการโพสต์ การแชร์ข่าวปลอม ข่าวลวงเพราะนอกจากจะเป็นภัย ทั้งด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เฝ้าระวังและตรวจจับ ขณะเดียวกันได้เร่งส่งเสริมการให้ข่าวที่ถูกต้องและตอบโต้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ลดความตื่นตระหนก และหันมาร่วมมือกันป้องกันตนเอง โดยขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะรายงานสถานการณ์และข้อปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนเป็นประจำทุกวันทางเว็บไซต์std48079• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยครีมช่วยทำให้ดั่งโด่งครีมช่วยให้ “จมูกโด่ง” ไม่มีอยู่จริง ชี้ ผู้ผลิตโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับภายนอกร่างกายของมนุษย์ รวมถึงฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อความสะอาด ความสวยงาม แต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ทำให้ดั้งโด่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน ไม่มีอยู่จริงstd48083• 1 ปีที่แล้ว
- 12 คนสงสัยลักษณะข่าวลวงเรื่องกัญชารักษามะเร็งในอเมริกาShi S และคณะได้ตีพิมพ์งานวิจัยเพื่อประเมินแนวโน้มการแพร่กระจายข่าวลวงเรื่องกัญชารักษามะเร็ง ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ Cureus เดือนมกราคม 2019 เค้าวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลโดยใช้ Google trends ตั้งแต่ปี 2011-2018 ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างทีเดียว 1. มีการค้นหาเรื่องกัญชารักษามะเร็งมากกว่าการค้นหาวิธีรักษามะเร็งแบบมาตรฐานถึง 10 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐที่เปิดเสรีกัญชาหรือปลดล็อคกฎหมาย 2. ในบรรดาข่าวที่เผยแพร่เกี่ยวกับวิธีการรักษามะเร็งแบบทางเลือกนั้น มีกัญชาถึงราวหนึ่งในสี่ 3. ข่าวลวงตัวท็อปเรื่องกัญชารักษามะเร็งนั้นทำให้คนหลงเชื่อมาอ่าน คลิกหรือแชร์ รวมกว่า 4 ล้านครั้ง ในขณะที่ความพยายามแก้ข่าวลวงด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องนั้น คนกลับตอบสนองเพียง 36,000 ครั้งเท่านั้น 4. องค์กรวิชาการหรือหน่วยงานด้านมะเร็งมีอัตราการเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ประชาชนและผู้ป่วยน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ฯลฯ 5. หากเทียบตัวต่อตัว ระหว่างข้อมูลที่เผยแพร่จากหน่วยงานวิชาการที่เชื่อถือได้ กับข่าวลวงเรื่องกัญชารักษามะเร็ง พบว่าอัตราการ retweet ต่างกันราวฟ้ากับเหว กล่าวคือ ข่าวลวงมีอัตราการ retweet เยอะกว่าข่าวจริงถึง 100 เท่า (527 vs 5.6 retweets) ในขณะที่อัตราการดู คลิก แชร์ ในเฟซบุ๊คนั้น ข่าวลวงเรื่องกัญชารักษามะเร็งก็เอาชนะข่าวจริงไปถึง 4,500 เท่า (452,050 vs 98 engagements) งานวิจัยนี้น่าสนใจ และน่าจะสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมข่าวลวงทั้งหลาย จึงสามารถทำให้หลายต่อหลายคนเชื่องมงายเรื่องกัญชารักษามะเร็งได้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ทำไงดี? ดูแลลูกหลานและคนในครอบครัวให้ดี พยายามใช้สติและปัญญาในการเสพข่าว เลี่ยงแหล่งข่าวที่เล่นกับกิเลสและความกลัว พยายามช่วยกันทำให้คนใกล้ชิดรู้เท่าทันเท่าที่สามารถจะทำได้โควิด 2019std48079• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสื่ออาเซียนเผย “Fake News” เกี่ยวกับ "โควิด-19" หลายครั้ง “รัฐ” เผยแพร่เองนักข่าวฟิลิปปินส์ - อินโดฯ – มาเลย์ ย้ำบทบาท “สื่อ” สำคัญ ยุติข่าวปลอม ห่วงรัฐบาลอาศัยอำนาจพิเศษละเมิดสิทธิ์ประชาชนช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดstd48063• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเผย Fake News กระทบสุขภาพคนไทยหนัก ทำคนเข้าใจผิด ตกเป็นเหยื่อข้อมูลเท็จสสส.ร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อ-วิชาการ-ภาคประชาสังคม จัดเวทีสัญจรรับมือข่าวลวง เพื่อหนุนเสริมการสร้างระบบนิเวศสื่อเพื่อสุขภาวะของไทย Fake News กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคม กว่า 1 ใน 3 ของข่าวปลอมส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและใจ สสส.ร่วมกับ คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ Change Fusion และเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จัดเวทีเสวนาสัญจร เรื่อง “สื่อท้องถิ่นกับการรับมือข่าวลวงและด้านมืดยุคดิจิทัล” นำร่องภูเก็ตเป็นจังหวัดแรก ด้านสื่อท้องถิ่นขานรับตื่นตัวรับมือ 'ข่าวลวง' เป็นเรื่องสำคัญ เพราะก่อให้เกิดความเสียหายตั้งแต่ความเข้าใจผิด เสียทรัพย์สิน ไปจนถึงการส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตstd48079• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยโฆษณายาสีฟันยี่ห้อฟันทนอ้างว่ารักษาเหงือกอักเสบ ฟันโยก ฟันผุได้std48094• 1 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยแพทย์เตือนน้ำยาหยอดตานาโนแก้ปัญหาสายตาสั้นยาวไม่ได้นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อบนโซเชียลได้เผยแพร่ หรือแชร์ข้อมูลที่มีทีมนักวิจัยชาวอิสราเอล พัฒนาน้ำยาหยอดตานาโน ที่สามารถแก้ปัญหาสายตาสั้นและยาว โดยไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าน้ำยานาโนมีการศึกษาทดลองอยู่ในต่างประเทศจริง เป็นการทดลองโดยนำน้ำยาชนิดหนึ่งมาใช้กับดวงตาของหมูในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นดวงตาที่ไม่ได้อยู่ในหมูที่มีชีวิตนำมาทดลองวิจัยstd48063• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยพรีมายากาแฟลดน้ำหนักโฆษณาเกินจริง เชิญชวนให้เป้นตัวแทน บอกว่าจะได้ค่าตอบแทนโดยลงทุน6000 3เดือนได้กำไร15ล้านstd48083• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยิ่งยงโฆษณาถั่งเช่าเกินจริงบอกสรรพคุณเเละคุณประโยชน์เกินจริงstd48094• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกกต. ยัน ข่าวเท็จ รับรอง ส.ส.แบ่งเขต-พิจารณาปาร์ตี้ลิสต์อีกวันนี้กกต.ยัน ข่าวเท็จ รับรอง ส.ส.แบบแบ่งเขตแล้ว 100 ราย ยังไม่มีการพิจารณา ขณะ 14 มิ.ย. ก็ยังไม่มีการเห็นชอบ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ยัน จะเร่งพิจารณา ประกาศผลเลือกตั้ง ส.ส. ทั้ง 2 รูปแบบ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เตือน อย่าแชร์ข่าวดังกล่าวstd48092• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเมื่อวงการวิทยาศาสตร์ผลิตข้อมูลผิดๆ จนทำให้เสียรังวัดเวลาที่มีการเสนอข่าวเกี่ยวกับโควิด-19 ตามแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ มักจะมีผู้ที่มาแสดงความเห็นว่าโควิด-19 ไม่มีอยู่จริง หรือบอกว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลหรือสื่อกุขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนกลัว ความเชื่อผิดๆ แบบนี้ไม่ได้มีเฉพาะคนทั่วไป แต่ยังลามไปถึงระดับปัญญาชนstd48063• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! หายใจให้ถูกวิธีจะช่วยลดอาการข้อเท้าบวมตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เรื่องหายใจให้ถูกวิธีจะช่วยลดอาการข้อเท้าบวม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบ โดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd48076• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเตือนรีวิวแจกคอร์สเสริมจมูก-หน้าอก ผ่านโซเชียล ผิดกฎหมายสบส.เตือนแอดมินจัดกิจกรรมแจกคอร์สเสริมจมูก เสริมหน้าอกฟรีผ่านโซเชียล ระวังเข้าข่ายความผิดโฆษณาสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา โดยหนึ่งในกิจกรรมที่แอดมินเพจเรื่องความสวยความงามมักนำมาใช้ดึงดูด เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิก ผู้ติดตาม หรือยอดไลค์ให้กับเว็บไซต์หรือเพจที่ตนดูแล คือ การแจกคอร์สเสริมความงาม หรือแจกบริการศัลยกรรมเสริมความงามเฉพาะจุด เช่น เสริมจมูก หรือหน้าอกฟรี กับโรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกstd48088• 1 ปีที่แล้ว
- 3 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! รัฐฯ แจกเงินเข้าบัตรสวัสดิการฯ รายละ 1,130 บาทตามที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อโซเชียลเรื่องรัฐฯ แจกเงินเข้าบัตรสวัสดิการฯ รายละ 1,130 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีคลิปวิดีโอส่งต่อข้อมูลว่า เดือน ก.ค. 66 นี้ รัฐฯ แจกเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รายละ 1,130 บาทนั้น ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เป็นข่าวสารที่เชื่อถือไม่ได้ และไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายจ่ายเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใดstd46327• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยรัสเซีย ยูเครน : พิสูจน์ทฤษฎีสมคบคิดที่อ้างว่าสงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องจริงบัญชีโซเชียลมีเดียของฝ่ายนิยมขวาในสหรัฐฯ ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากได้โพสต์ข้อความไร้หลักฐานอ้างอิงต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาว่าสงครามในยูเครนอาจเป็นเรื่องหลอกลวงที่สื่อมวลชนและรัฐบาลชาติตะวันตกอยู่เบื้องหลัง ผู้โพสต์ข้อความลักษณะนี้และได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง รวมถึงบรรดาเจ้าของบัญชีที่เคยถูกทวิตเตอร์ระงับการใช้งาน แต่ได้รับอนุญาตให้กลับมาใช้งานอีกครั้งหลังจากอีลอน มัสต์ เข้าซื้อกิจการแสดงความเห็นทางการเมืองฝ่ายขวารายหนึ่งระบุในโพสต์ที่กำลังแพร่หลายทางโซเชียลมีเดียว่า "การไม่มีวิดีโอการสู้รบที่เพียงพอ" คือ "เครื่องบ่งชี้ว่านี่เป็นเรื่องหลอกลวง" ส่วนอินฟลูเอนเซอร์ทางทวิตเตอร์อีกรายที่มีผู้ติดตาม 1.4 ล้านคนอ้างว่า "ไม่มีคลิปวิดีโอ" และ "ไม่มีข่าวที่ลงรายละเอียด" เกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ ในเวลาต่อมา โพสต์ดังกล่าวได้ถูกแชร์โดยนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ สมัยรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ระบุว่า "ผมขอท้าใครก็ตามที่บอกว่าเขาพูดผิด" พิสูจน์ถ้อยแถลงประจำปีของปูติน เป็นจริงแค่ไหน กลุ่มเฟซบุ๊กลึกลับที่คอยเชียร์ ปธน.ปูติน ชาวรัสเซีย "มืดมนบนโลกออนไลน์" ถูกปิดหูปิดตาเรื่องยูเครน เทียบภาพต่อภาพ หักล้างข้อกล่าวหาการจัดฉากเหตุสังหารหมู่ในยูเครน อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงมีการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับสงครามในยูเครนเอาไว้มากมายstd48075• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม ..ผักกระสังรักษามะเร็งเต้านมตรวจสอบ ว่าผักกระสังดีจริงหรือไม่ โดยโคแฟคชี้แจงข้อมูลว่าผักกระสังเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้เป็นยามายาวนาน หมอยาพื้นบ้านมักจะใช้ผักกระสังตำพอกฝี หรือคั้นเอาน้ำทาแผลฝีที่มีหนอง สาวๆ สมัยโบราณใช้น้ำต้มผักกระสังล้างหน้า ทำให้ผิวหน้าสดใส และยังนำมาสระผมทำให้ผมนุ่ม ป้องกันผมร่วงstd48097• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยบ้านปู ร่วมกับ ก.ล.ต. เปิดโอกาสฝากหุ้นระยะยาว ปันผลกำไรมากกว่า 3%ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลบนช่องทางออนไลน์เรื่องบ้านปู ร่วมกับ ก.ล.ต. เปิดโอกาสฝากหุ้นระยะยาว ปันผลกำไรมากกว่า 3% ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการตรวจพบข่าวสารเกี่ยวกับบริษัท บ้านปู จำกัด ร่วมกับ ก.ล.ต. เปิดโอกาสฝากหุ้นระยะยาว เริ่มต้นลงทุน 1,000 หน่วย ปันผลกำไรมากกว่า 3% ต่อสัปดาห์ ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นการให้ข้อมูลลงทุนโดยแอบอ้างใช้ชื่อบริษัทจดทะเบียนและโลโก้ ก.ล.ต. โดยไม่ได้รับอนุญาต ก.ล.ต. มีคำแนะนำเกี่ยวกับจุดสังเกตที่ต้องระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 6 ข้อดังนี้ 1. เสนอผลตอบแทนสูงเกินจริง เร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุน 2. คำโฆษณา ชักชวนว่า ไม่มีความรู้ก็ลงทุนได้ 3. อ้างสัญลักษณ์ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือสมาคมที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ 4. แอบอ้างรูปดารา คนดัง หรือผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ 5. ชื่อผู้รับโอนใช้ชื่อบัญชีส่วนตัว 6. ปลอมแปลงใบอนุญาต/อ้างชื่อ/ตั้งชื่อให้ใกล้เคียงบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐstd46327• 1 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาทตามที่มีข่าวสารเชิญชวนในประเด็นเรื่องเพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท. กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีผู้โพสต์แชร์ข้อมูลว่า เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท. กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า บริษัทฯ ไม่ได้มีการเชิญชวนให้มีการลงทุนในกรณีดังกล่าว และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโฆษณา หรือเพจ SAO Trading แต่อย่างใดจีจ้า เบญญาภา ฯ.• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! กรม พัฒนาธุรกิจฯ รับสมัคร พนักงานน่าเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วันกรณีที่มีการโฆษณาข้อมูลว่า กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับ สมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน ทางศูนย์ ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าประเด็น ดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd48071• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาทตามที่มีข่าวสารเชิญชวนในประเด็นเรื่องเพจ SAO บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง โดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท. กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็น ข้อมูลเท็จstd48071• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัย"ปู ไปรยา" เปิดใจ ในวันที่แฟนๆ ผิดหวัง สาวรักสุขภาพ กลับมาขายอาหารเสริมลดหุ่นสำหรับนักแสดงสาว "ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก" หนังถูกเพจดังในโลกโซเชียลออกมาโพสต์ภาพและข้อความ วิพากษ์วิจารณ์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภายใต้การดูแลของเจ้าตัวว่า มีการใช้ข้อความโฆษณาเกินจริง โดยเฉพาะเรื่องการรักษาโรค ซึ่งเรื่องนี้อาจสร้างความเชื่อผิดๆ ให้กับผู้บริโภคได้ โดยล่าสุดขณะที่นางเอกสาวคนดัง ปู ไปรยา เดินทางมาร่วมงาน "ผลิตภัณฑ์ซักผ้าคอมฟอร์ท" ในฐานะพรีเซ็นเตอร์ เจ้าตัวออกมาชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งเปิดใจถึงกระแสในโลกโซเชียล ที่แฟนๆ หลายคนต่างรู้สึกผิดหวังในตัวของเธอ เนื่องจากก่อนหน้านี้สาวปูมีภาพลักษณ์เป็นสาวรักสุขภาพ แต่กลับนำชื่อเสียงมาทำธุรกิจขายอาหารเสริมลดน้ำหนักstd48088• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! รัฐฯ แจก เงินเข้าบัตรสวัสดิการฯ รายละ 1,130 บาท “ไม่ เลือกงาน ไม่ยากจน" ให้คนไทย มีรายได้เสริมตามที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อโซเชียลเรื่องรัฐฯ แจกเงินเข้า บัตรสวัสดิการฯ รายละ 1,130 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าว ปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมบัญชี กลาง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็น ข้อมูลเท็จstd48071• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการ จัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่ เลือกงาน ไม่ยากจน" ให้คนไทย มีรายได้เสริมกรณีที่มีการโฆษณาว่า กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม ทาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดัง กล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd48071• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยาสีฟันยี่ห้อลิควิด ทูธเพสท์อวดอ้างว่ารักษาฟันผุ ฟันโยก เเก้ปวดใน2นาทีstd48094• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเร่งเอาผิดอีก 9 อาหารเสริม สวมเลข อย.โฆษณาเกินจริงคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่รับประทานผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก No Fat แล้วมีอาการใจสั่น ปากแห้ง หิวน้ำบ่อย จึงสงสัยว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจมีสารอันตรายและขอให้ตรวจสอบ ซึ่ง อย. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบเฟซบุ๊ก ชื่อ “ตุ้ยนุ้ยบ้านโป่ง รุ่งนภา แสงทอง” มีการโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร No Fat โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น สูตรเข้มข้นเห็นผลเร็วที่สุด 1 อาทิตย์ ลงไม่ต่ำกว่า 1-2 โล เร่งการเผาผลาญไขมันเก่าถึง 2 เท่า แขนขาเรียวเล็ก หน้าท้องยุบ แบนราบ ใจไม่สั่น เป็นต้น และยังไม่พบข้อมูลการขออนุญาตในชื่อผลิตภัณฑ์ “No Fat” แต่เลขสารบบอาหาร 13-1-04358-1-0032 ที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์อื่นที่เคยได้รับอนุญาต แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว อย. ได้มีหนังสือสั่งระงับการโฆษณาและส่งเรื่องให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ราชบุรี ตรวจสอบสถานที่จำหน่ายพร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ส่งตรวจวิเคราะห์และดำเนินการตามกฎหมายจีจ้า เบญญาภา ฯ.• 1 ปีที่แล้ว