1017 ข้อความ
- 1 คนสงสัยสัณหพจน์” พปชร. แนะ ใช้สภาฯ หาทางออก เหตุ “ประชามติแยกดินแดนปาตานี”สัณหพจน์” รองเลขาฯ พรรคพลังประชารัฐ แนะ ใช้สภาฯ หาทางออก เหตุ “ประชามติแยกดินแดนปาตานี” ชี้ ทางออก ควรตั้ง กมธ.วิสามัญ พิจารณาศึกษาเขตการปกครองรูปแบบพิเศษ พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ X ในฐานะที่ตนเคยเป็นผู้ยื่นเสนอญัตติ “ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเขตการปกครองรูปแบบพิเศษพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้” จึงมองว่า เรื่องดังกล่าวควรที่จะมีการศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยสิ่งสำคัญ คือ การออกกฎหมายเพื่อให้มีการบริหารจัดการพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและความรู้สึกของประชาชนทั้งประเทศสำหรับการเสนอให้มี กมธ. เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว เป็นการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ด้วยสันติวิธีที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจมีลักษณะการบริหารจัดการในรูปแบบของ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ที่จัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารพื้นที่โดยประชาชนในพื้นที่เอง “การบริหารจัดการรูปแบบพิเศษในพื้นที่ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งประชาชนในพื้นที่จะเป็นผู้กำหนดและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ของตัวเอง แต่จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบด้าน ตนจึงเห็นสมควรที่จะเสนอให้มีการจัดตั้ง กมธ. เพื่อพิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาควบคู่กัน เช่น เรื่องเชื้อชาติ ศาสนา อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ทัศนคติ และความเชื่อของท้องถิ่น” ดร.สัณหพจน์ กล่าวประเด็นเรื่องของกฎหมายรองรับ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมีเพียงกฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่น อย่าง กทม. และเมืองพัทยา ที่เราไม่ได้เรียกว่า “เขตปกครองพิเศษ” ซึ่งการกำหนดการบริหารจัดการพิเศษใน 3 จังหวัดภาคใต้ ภายใต้รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จำเป็นที่จะต้องพิจารณารูปแบบกฎหมายที่จะรองรับ ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาแก้ไขกฎหมายหรือเสนอกฎหมายใหม่ขึ้นมา นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องของการสร้างค่านิยมที่ผิดในพื้นที่เรื่องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งจะต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยน ทำความเข้าใจร่วมกันระหว่าง ประชาชนในพื้นที่ กลุ่มต่างๆ ที่มีการเคลื่อนไหว กมธ. และผู้ร่างกฎหมาย รวมทั้งประชาชนทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง ไม่ใช่การรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางหรือหน่วยงานบางหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม การกระจายอำนาจจะเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องใช้รัฐสภาเป็นกลไกในการพิจารณากำหนดและออกกฎหมายข่าวการเมืองภาคใต้siriwanyupanon• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยเลขาฯ ป.ป.ช. ไม่หวั่น “พิธา” ขู่ รื้อองค์กรอิสระ แล้วแต่คนมอง ถูกครอบงำเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2566 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ว่า หากจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ จะมีการรื้อองค์องค์กรอิสระที่ไม่อิสระจริงๆ ว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจของสภา ตนไม่สามารถให้ความเห็นได้ เขามีอำนาจว่า จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระอย่างไร ส่วนที่นายพิธา มองว่า องค์กรอิสระถูกครอบงำนั้น ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แต่อยากให้ดูผลงานของแต่ละองค์กรว่า เป็นอย่างไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวต้องมีการวิเคราะห์ถึง ที่มา ที่ไป ไม่เช่นนั้นสิ่งที่ทำมาแล้วจะสูญเปล่า โดยเฉพาะงบประมาณที่ใช้ไปข่าวการเมืองajmobi2589917• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยการเมือง“วิโรจน์” พร้อมประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกฯหอบข้อมูลส่วยสติกเกอร์รถบรรทุกให้ “จเรหิน” พร้อมคาดหวังการค้าสำนวนกลั่นแกล้งผู้ประกอบการสุจริตจะหมดหรือทุเลาลง แฉผู้ประกอบการรถบรรทุกอีก 2 ใน 3 หรือประมาณ 1 ล้านคันที่ไม่ได้อยู่ในสหพันธ์ฯตกอยู่ในภาวะจำยอม เหตุธุรกิจแข่งขันกันสูงจำเป็นต้องบรรทุกเกิน เป็นที่มาของสติกเกอร์จ่ายส่วย ด้าน “จเรหิน” รับจะเร่งสอบสวนให้เสร็จสิ้นในกรอบ 15 วัน ขณะที่ตำรวจทางหลวงข่ายถูกเชือดจากพิษส่วย เป็นระดับหัวหน้าตู้ทางหลวงยันรอง ผกก. ส่วนเรื่องรถน้ำมันเถื่อน “โฆษกสรรพสามิต” เผยตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้ว 13 มิ.ย.นี้รู้ผล บิ๊กคนไหนโทร.ขอให้ปล่อย “อัจฉริยะ” ปูดชื่อ “รองยุทธ” คนโทร.เคลียร์ข่าวการเมืองchanisara12032553• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยทุจริตการเลือกตั้งผ่านพ้นการเลือกตั้งมาแล้ว 3 อาทิตย์ หลังเข้าคูหาหย่อนบัตรเลือกตั้งไปเมื่อ 14 พ.ค.2566 จนถึงป่านนี้ยังไม่มีวี่แววว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศรับรองส.ส.อย่างเป็นทางการออกมา อย่างไรก็ตามยังมีเวลาเหลือเฟือในการพิจารณารับรองส.ส.เพราะกฎหมายกำหนดให้กกต.มีเวลาในการประกาศรับรองส.ส.ไม่เกิน 60 วัน หลังการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการประกาศรับรองส.ส.จึงยังมีเวลายาวไปถึงวันที่ 13 ก.ค.2566 หลังประกาศรับรองส.ส.ได้ถึง 95 % คือ 475 คน จาก 500 คน ภายในระยะเวลา 15 วัน จะต้องมีการนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกประธานสภาจากนั้นก็จะกำหนดเวลาในการโหวตเลือกนายกฯ บวกลบคูณหารไม่เกินวันที่ 27 ก.ค.จะมีการนัดประชุมสภาแน่นอนเพื่อเลือกประธานสภาคนใหม่ที่จนถึงตอนนี้ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะเป็นโควต้าของก้าวไกลหรือเพื่อไทย อย่างไรก็ตามประเด็นร้อนการเมืองล่าสุด น่าจะอยู่ที่กรณีอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต.ออกมาเปิดเผยการพิจารณารับรองส.ส. 500 คนของกกต. ที่มีความคืบหน้าไปมากอย่างไรก็ตามในจำนวนนี้มีราว 20 เขตที่ผู้ชนะการเลือกตั้งในเขตนั้นมีปัญหาถูกร้องเรียนซึ่งอาจจะนำไปสู่การแจกใบเหลืองใบแดงหรือตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดของกกต. ” ตัวเลขคำร้องมีกว่า 280 เรื่อง ส่วนผู้ที่เลือกตั้งชนะถ้าจำไม่ผิดมีประมาณ 20 กว่าคน ซึ่งตอนนี้จะต้องขอตรวจสอบก่อนว่ามีหลักฐานชัดเจนหรือไม่ โดยจะต้องมีการสั่ง 3 อย่างคือ 1.สั่งเลือกตั้งใหม่ 2.สั่งนับคะแนนใหม่ และ 3.สั่งออกเสียงลงคะแนนใหม่” ประธานกกต.ระบุ ถ้าเป็นไปตามที่ประธานกกต.ระบุ รับรองว่าการเมืองวุ่นแน่ๆ หากมีการเลือกตั้งใหม่แจกใบเหลืองสัก 20-30 เขต รับรองว่าการเมืองสะเทือนแน่ ถ้าเป็นฝั่งรัฐบาลปัจจุบันอาจจะไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเขตที่แจกใบเหลืองอยู่ในกลุ่มรัฐบาลใหม่เป็นก้าวไกลกับเพื่อไทยรับรองว่ามันส์แน่ๆข่าวการเมืองเลือกตั้งPalmZx• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเลขาฯ. ป.ช.ช.ไม่หวั่น "พิธา" ขู่รื้อ องค์กรอิสระ แล้วมีแต่คนมองถูกครอบงำเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2566 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ว่า หากจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ จะมีการรื้อองค์องค์กรอิสระที่ไม่อิสระจริงๆ ว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจของสภา ตนไม่สามารถให้ความเห็นได้ เขามีอำนาจว่า จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระอย่างไร ส่วนที่นายพิธา มองว่า องค์กรอิสระถูกครอบงำนั้น ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แต่อยากให้ดูผลงานของแต่ละองค์กรว่า เป็นอย่างไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวต้องมีการวิเคราะห์ถึง ที่มา ที่ไป ไม่เช่นนั้นสิ่งที่ทำมาแล้วจะสูญเปล่า โดยเฉพาะงบประมาณที่ใช้ไป.ข่าวการเมืองthanapnatcharoenrat• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยการเลือกตั้งนายกต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปไม่น้อยกว่าสามครั้ง 2. การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งจนถึงวันที่ความเป็น รัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงข่าวการเมืองเลือกตั้งpare0628820799• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเกิดอะไรขึ้น “หมออั้ม” ซัด “เจี๊ยบ ก้าวไกล”อย่าปั่นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ เจ้าตัวเหน็บสวนทันควันจากกรณีที่นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ว่าที่ส.ส.พรรคก้าวไกล หรือ “เจี๊ยบ ก้าวไกล” ได้เคลื่อนไหว ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ ตอบคนถามกรณีที่ตนเองนั้น มักจะโพสต์ข้อความ และมีการลบ หรือแก้ไขอยู่บ่อยครั้ง ว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ได้ทำบ่อย บางครั้งพิมพ์ผิด เพราะทวิตเตอร์จะกดแก้ไขไม่ได้ จนต่อมาก็มีคอมเมนต์จากนายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม อดีตนักร้อง และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง แนวร่วมกลุ่มต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ ตอกกลับว่า เมื่อไหร่ พี่เจี๊ยบ อมรัตน์ จะเลิก โพสต์ ๆ ลบ ๆ เสียที ผมตามอ่านข่าวปั่นพี่ไม่ทันเลยครับ ขณะที่ “เจี๊ยบ ก้าวไกล” ก็สวนทันควันว่า ให้หมออั้มโทรมาถามเองก็ได้ เหมือนตอนที่โทรมาขอโทษ จนกลายเป็นประเด็นบานปลาย เมื่อ “หมออั้ม” งัดบทสนทนาจากเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมา ให้เห็นถึงพฤติกรรมของ “เจี๊ยบ ก้าวไกล” โดยระบุว่า พี่เจี๊ยบครับ #ผมไม่เคยโทรหาพี่นะครับ พี่ลืมเหรอ? เป็นผู้ใหญ่แล้วนะพี่ อย่าปั่นจนไม่มีอะไรน่าเชื่อถือเลย ผมเชียร์พี่ตอนซัดเผด็จการ แต่ผมไม่อวยพี่นะ ถ้าจะซัดปั่นอะไรเรื่อยเปื่อย แล้วไม่รับผิดชอบ ——————————- ปีก่อนโน้น ผมโพสต์ลงเฟซ ว่า “มี ส.ส.อนาคตใหม่ นครปฐม บล็อคผม โดยไม่ทราบสาเหตุ..ผมต้องร้องไห้ไหม?…” ผมโพสต์ ช่วงเย็น.. และค่ำวันนั้น.. คนที่โทรหาผม คือ “พี่เจี๊ยบ” นะครับ (ผมมีวันที่ เวลา การโทรเข้า-ออก ข้อมูลทั้งหมด) พี่เป็นคนโทรมาหาผมเอง แล้วพูดว่า.. “หมออั้มคะ นี่พี่เจี๊ยบ อมรัตน์ นะคะ” “หมอเข้าใจอะไรพี่ผิดหรือเปล่าคะ” ผม : “สวัสดีครับพี่เจี๊ยบ โอ้โห โทรมาเองเลย..” “ตกลงพี่บล็อกผมจริง ๆ เหรอครับ..” พี่เจี๊ยบ : “จริงค่ะ ที่หมอท้าทายเรื่องในหลวง ร.9” “หมอโพสต์ถึงในหลวง ในวันรำลึกอะไรสักอย่าง..” “แล้วบอกว่า ใครไม่เห็นด้วยเรื่องไว้อาลัยหรืออะไร” “ให้ลบและบล็อคหมอ ได้เลย..” “พี่ก็เลยบล็อคหมอ ตั้งแต่นั้นมา…” ผม : “โหพี่ จริง ๆ ดีใจนะ ที่พี่โทรมา” “เป็นเกียรติมาก ๆ ครับ แต่ถ้าพี่จะบล็อคผมเพราะเรื่องนั้น” “ผมก็ช่วยไม่ได้จริง ๆ แล้วแต่พี่เลย” พี่เจี๊ยบ : “เดี๋ยวพี่ปลดบล็อกให้ค่ะ…” “ถ้าหมอตาสว่างจริง ๆ พี่เข้าใจละค่ะ” ผม : “คืองี้นะพี่ คนเราตาสว่างได้พี่..” “แต่..ที่ไม่ควรสว่าง คือ ปาก ครับ” “พี่ให้เกียรติโทรมาแบบนี้ ผมขอบคุณมากๆ” “ผมไม่มีอะไรกับพี่นะครับ” “ให้ผมลบโพสต์ไหมครับ?” ——————————- พี่ครับ ผมไม่เคยโทรหาพี่นะครับ พี่จะปั่นคนอื่น จนปั่นความทรงจำตัวเองไปด้วย ไม่ได้นะครับพี่.. หากผมจะขอโทษพี่จริงๆ ไม่ใช่เพราะขอโทษ ที่โพสต์ผิด หรืออะไร แต่จะขอโทษ เพราะเห็นใจพี่ ที่อุตส่าห์โทรมา พูดอธิบายเกือบชั่วโมง ผมยอมตรงนั้นครับพี่ ติดตามผลงานนะครับ ปั่นต่อไม่ต้องรอผม ยังไงพี่ก็เป็นสีสันการเมืองครับ รักนะ จุ๊บเจี๊ยบข่าวการเมืองมีม เสียดสีPalmZx• 2 ปีที่แล้ว2 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยทุจริตการเลือกตั้งกกต.ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากพบทุจริตการเลือกตั้งแจ้งรับเงินรางวัลและดูแลความปลอดภัยให้อย่างดีข่าวการเมืองเลือกตั้งSutasineechanhom• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองภาคใต้ไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว2 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยกกต. ให้ข้อมูลว่า ส.ส. พรรคก้าวไกลจะโดนใบแดง 10 คน เนื่องจากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยศาลยกฟ้อง ศุภชัย อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น พ้นมลทินข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: middle1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองภาคใต้ผู้บริโภคเฝ้าระวัง เสียดสีไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัย😆อ่านปากผมนะครับ แซ่ลิ้ม แซ่ลิ้ม แซ่ลิ้มมมม‼ "(ผม)แซ่ลิ้ม ยังไงก็ต้องดูแล(ความสัมพันธ์ไทย-จีน) ความใกล้ชิด(Proximity)มันก็อยู่ในนามสกุลผมอยู่แล้ว คือเราก็จะต้องสามารถที่จะพูดคุยกับทางจีนได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องหาสมดุลกับประเทศทางสหรัฐฯด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าก็เป็นมิตรประเทศของเรามานาน" "อเมริกาไม่ได้อยู่เบื้องหลังผมครับ...ประชาชนคนไทยอยู่เบื้องหลังพพรคก้าวไกลในการทำงาน" "ในเรื่องการต่างประเทศ มันต้องมีการหาสมดุลระหว่างมหาอำนาจในระหว่างประเทศอยู่แล้ว เราก็ต้องยึดผลประโยชน์ของชาติของเรากับชาติของเค้าเป็นที่ตั้ง แล้วก็ยึดหลักการเป็นที่ตั้ง" "มันหมดยุคของการต่างประเทศเอียงข้าง เหมือนเราเป็นเพื่อนใครเราก็ไปเข้าข้างคนนั้น ในเรื่องของหลักการคือยึดหลักการให้มั่น ยิ่งเค้าเป็นเพื่อนเรา ถ้าหากเค้าทำถูกเราก็ต้องสนับสนุน แต่สิ่งใดที่ทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค แล้วเรารู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง เราก็ต้องกล้าที่จะพูดในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน" "ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ผมได้คุยกับทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายอเมริกา มีอยู่สิ่งเดียวที่เค้าต้องการตรงกันและไม่เห็นแตกแยกกัน คือเสถียรภาพในเมียนมาร์..." กล่าวโดยว่าที่นายกฯ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ วันที่ 2 มิ.ย. 2566 (ลิงค์คลิปส่วนนึงในคอมเมนต์เข้าไปกดดู) 平衡权力与关系 Balance Power & Relationshipข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองมีมไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว2 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองมีมล้อเลียน เสียดสีไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานยุทธศาสตร์ชาติ ปี2566ถึง2570ข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: true1 ความเห็น
- 2 คนสงสัยก้าวไกลล้มเจ้าข่าวการเมือง เสียดสีไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว2 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองมีม เสียดสีไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้วmeter: mostly-false--middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยข่าวการเมืองมีมไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัวmeter: mostly-false--middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัย#ฐานทัพสหรัฐ ในไทย ฉบับอ่านง่าย คุณ @Don Plooksawasd เขียนบทความน่าสนใจมาให้อ่านกันเกี่ยวกับกระแสข่าวที่ส่งกันตามไลน์ว่าประเทศไทยกำลังจะได้อเมริกามาตั้งฐานทัพแล้ว หลังจากเอาฮากันไปแล้ว บทความนี้จะมาดูกันแบบจริงจังว่าที่ลือ ๆ กันนั้นมันมีมูลความจริงแค่ไหน ---------------- TLDR สำหรับโควต้า 7 บรรทัด: โอกาสในปัจจุบันยังต่ำมาก เพราะจากประวัติศาสตร์แล้วการที่ไทยจะเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพมีปัจจัยหลัก 3 ประการคือ 1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกัน 2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์ 3. ทางสหรัฐฯต้องมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยด้วย ปัจจัยเหล่านี้เป็นจริงในยุคสงครามเวียดนาม แต่ไม่เป็นจริงในปัจจุบัน แม้รัฐบาลจะเปลี่ยนเป็นก้าวไกลหรือรัฐบาลจากพรรคประชาธิปไตยอื่นก็ตาม ---------------- แรกเริ่มฐานทัพสหรัฐฯในไทย ไทยเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพในช่วงปี 1961 สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มองการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และแนวคิดเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประกอบกับสหรัฐฯในยุคนั้นดำเนินนโยบายให้การสนับสนุนประเทศที่ถูกคุกคามจากภัยคอมมิวนิสต์ ฐานทัพสหรัฐฯแห่งแรกในไทยคือดอนเมือง จากนั้นเพื่อรองรับบทบาทที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯในเวียดนามก็ผุดฐานทัพใหม่ๆ ในภาคอีสานเพื่อรองรับการภารกิจต่าง ๆ เช่นการสอดแนมและทิ้งระเบิด ซึ่งเที่ยวบินกว่า 80% บินออกจากฐานในไทย ฐานทัพที่สหรัฐฯใช้ปฎิบัติการทั้ง 7 ฐานถือว่าเป็นของรัฐบาลไทย ผู้บัญชาการฐานทัพเป็นนายทหารไทย แต่สหรัฐฯให้เงินสนับสนุนด้านต่างๆ รวมถึงการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม นอกจากตั้งฐานทัพตามคำเชิญแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯยังวางรากฐานในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถาบันหลักของชาติในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ เช่นการจัดตั้งตำรวจตระเวณชายแดน, การให้ความสนับสนุนสถาบันศาสนาผ่าน Asia Foundation, รวมถึงความสัมพันธุ์อันดีเยี่ยมระหว่างราชวงศ์ไทยและสหรัฐฯ ซึ่งนอกจากการมาเยือนในระดับประธานาธิบดีจากทั้ง Johnson และ Nixon ยังมีการเสด็จเยี่ยมทหารสหรัฐฯในไทยจากทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินินาถ ---------------- ปิดม่าน ความทรหดในสนามรบของเวียดนามเหนือบวกกับกระแสต่อต้านสงครามเวียดนามที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้หลังจากการลงนามสัญญาปารีสในปี 1973 แล้วรัฐบาล Nixon เริ่มลดกำลังทหารในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงในไทยลง ซึ่งสอดคล้องพอดีกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยที่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516(1973) ขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม พร้อมกับแสดงถึงความไม่พอใจขอสาธารณชนต่อสถานะของสหรัฐฯที่ถูกมองว่าเป็นนั่งร้านสนับสนุนรัฐบาลไทยด้วย เมื่อรัฐบาลเสนีย์ ปราโมทย์ ชนะการเลือกตั้งในปี 1975 จึงเปลี่ยนโยบายการต่างประเทศให้เป็นมิตรกับคอมมิวนิสต์จีนมากขึ้นเพื่อปักกิ่งลดการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยลง นับเป็นยุทธวิธีที่เห็นโอกาสที่เกิดจากการแตกหักในโลกคอมมิวนิสต์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต โดยสหรัฐฯเองก็ส่งประธานาธิบดี Nixon ไปเยือนจีนก่อนหน้าตั้งแต่ปี 1972 เพื่อเพิ่มสัมพันธ์เช่นกัน ไทยวางตัวเป็นอิสระบนเวทีโลกมากขึ้นเพื่อลดภาพการเป็นตัวแทนสหรัฐฯในภูมิภาค สหรัฐฯถูกขอให้ถอนทหารจากฐานทัพต่างๆ ภายในปี 1976 ซึ่งสหรัฐฯตกลงถอนทหารภายในเวลาที่กำหนดรวมถึงยกสิ่งปลูกสร้างและยุทโธปกรณ์ที่ขนย้ายลำบากให้กับทางการไทย แต่วิธีการบริหารภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลเสนีย์ถูกกลุ่มอนุรักษ์นิยมในประเทศบางส่วนมองว่าอ่อนปวกเปียกและมีความชะล่าใจมากเกินไป มีความพยายามเรียกร้องให้สหรัฐฯชะลอแผนถอนทหารลงแต่ไม่เป็นผล ซึ่งความกระวนกระวายนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (1976) ในเวลาต่อมา ในตอนนั้นแม้สหรัฐฯจะถอนกำลังจากไทยไปหมดแล้วตั้งแต่มิถุนายน 1976 แต่ก็เป็นชาติแรกที่ไทยเข้าหาเพื่อให้สนับสนุนด้านภาพพจน์ของรัฐบาลที่เสียหายจากเหตุการณ์สังหารหมู่ในธรรมศาสตร์และรัฐประหารที่ตามมา ในทศวรรษต่อ ๆ มา สหรัฐฯ-ไทย ยังมีความร่วมมือหลายด้าน เช่น ด้านข่าวกรองแลกกับการใช้สถานที่ใทยสำหรับหน่วยงาน NSA, การฝึกทหารร่วมกัน และการขายอาวุธทันสมัยอย่าง F-16 ----------------- ถ้าเราย้อนกลับไปดูปัจจัยทั้ง 3 ประการข้างต้นจะเข้ามาและจากไปของฐานทัพสหรัฐฯในช่วงสงครามเย็น 1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกัน: สหรัฐฯและไทยเห็นคอมมิวนิสต์เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศ แต่พอเข้ายุค 70s สหรัฐฯไม่ได้มองการลงมาต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในเอเซียว่าเป็นเรื่องคุ้มตค่า 2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์: ประเด็นนี้จริงในยุค 60 แต่ภายหลังปี 1973 ยุทธวิธีทางการทูตใหม่ ๆ ของรัฐบาลเสนีย์ที่อาศัยการแตกกันของ จีน-โซเวียต ทำให้การมีอยู่ของฐานทัพเป็นเรื่องไม่จำเป็น 3. ทางสหรัฐฯต้องมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยด้วย: การทิ้งระเบิดทางยุทธวิธีในเวียดนาม ต้องอาศัยฐานบินในประเทศไทย เมื่อสงครามเวีดนามจบ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฐานในไทยอีก ------------------- เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ถ้าเราเอาปัจจัยสามข้อที่ว่ามากาง เทียบกับบริบทความขัดแย้งในเอเซียในปัจจุบัน จะพบว่าโอกาสการเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพในไทยมีโอกาสความเป็นไปได้ต่ำ 1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกันหรือไม่? ปัจจัยที่จะเกิดสงครามครั้งใหม่ระหว่างจีนและสหรัฐฯคือประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนและบางชาติใน ASEAN รวมถึงกรณีไต้หวัน ซึ่งในเรื่องนี้ไทยไม่มีส่วนได้เสีย กับพื้นที่ในทะเลจีนใต้เลย ขณะเดียวกันชาติ ASEAN เช่นเวียดนามและฟิลิปินส์ที่เพิ่มระดับความเป็นมิตรกับสหรัฐฯเป็นพิเศษในหลายปีที่ผ่านมาเพราะขัดแย้งกับจีนในเรื่องผลประโยชน์ทะเลจีนใต้ทั้งสิ้น กระทั่งประเทศเหล่านี้ก็มองความขัดแย้งของตัวกับจีนแยกกับประเด็นไต้หวัน 2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์หรือไม่? ประเทศไทยไม่ได้มองจีนเป็นภัยคุกคามด้วยซ้ำ กระทั่งพรรคการเมืองฝั่งประชาธิปไตยอย่าง #ก้าวไกล หรือ #เพื่อไทย ก็มองผลประโยชน์ด้านการค้าและการท่องเที่ยวกับจีนเป็นหลัก ยังไม่มีคำพูดจากผู้สมัครพรรคการเมืองคนไหนเลยที่บอกว่าไทยต้องลดระดับความสัมพันธ์กับจีนหรือสหรัฐฯ การยกตัวอย่างกรณี รัสเซีย-ยูเครน ก็เป็นการเทียบที่ไม่เข้าท่า เพราะในขณะที่รัสเซียมีมายาคติเชื่อว่าประเทศตนเองจะเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ในยูเรเซียได้ต้องมียูเครนเป็นบริวาร ไทยไม่ได้ถูกมองแบบนั้นในจินตนาการของทั้งจีนหรือสหรัฐฯ ถ้าเทียบในบริบท รัสเซีย-ยูเครน ไต้หวันต่างหากที่พอจะเข้าข่าย เพราะการยึดไต้หวันคือการปิดฉากสงครามกลางเมืองจีนอย่างสมบูรณ์ 3. ทางสหรัฐฯมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยไหม? ถ้าเราดูแผน Army 2030, Marine 2030 ซึ่งเป็นการออกแบบกำลังของสหรัฐฯในยุคทศวรรษหน้า จะเห็นว่าไทยไม่ได้อยู่ในแผนการวางกำลังเลยเพราะภูมิศาสตร์ประเทศอยู่ห่างจากสนามรบในทะเลจีนใต้ค่อนข้างมาก คนละเรื่องกับสมัยสงครามเวียดนามที่อยู่แทบจะติดกับพื้นที่การรบ รายงาน U.S. Ground Forces in the Indo-Pacific: Background and Issues for Congress ที่ทำโดยสภาคองเกรสเมื่อปีที่แล้ว มีพูดถึงแผน Army 2030 กับ Marine 2030 ไม่ได้พูดถึงความเป็นไปได้ในการตั้งฐานทัพในไทย แต่มีการระบุเรื่องย้ายหน่วย Marine 3rd Expeditionary Force จากโอกินาว่าไปเกาะกวม รายงาน Indo-Pacific Deterrence and the Quad in 2030 ที่จัดทำโดยเพนตากอนในปี 2021 มีการพิจารณาเรื่องการตั้งฐานทัพใหม่ ๆ ให้กระจายไปตามเกาะต่างๆ ของมหาสมุทร Pacific เพื่อลดอันตรายจากการโจมตีจากจีน รวมถึงระบุแนวทางการตั้งฐานทัพร่วมกับพันธมิตร QUAD (สหรัฐฯ-อินเดีย-ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น) โดยมีเกาะ Nicobar ในทะเลอันดามัน ซึ่งมีประโยชน์ในการสกัดกั้นเส้นทางขนถ่ายน้ำมันจากอ่าวเปอร์เซียไปยังจีน และฐานทัพในออสเตรเลียเพราะอยู่นอกระยะทำการ 4,000 กิโลเมตรของขีปนาวุธ DF-26 อาวุธใหม่ ๆ ที่สหรัฐฯทำการวิจัยอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอาวุธ Hypersonic, จรวด PrSM Inc 4 พิสัย 1,000 กิโลเมตรที่ใช้กับ HIMARS, เรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่สร้างให้ออสเตรเลียร่วมกับกลุ่ม AUKUS รวมถึงอาวุธพิสัยไกลปล่อยเป็นฝูงได้จากเครื่องบินขนส่ง C-130 ชี้ไปยังแผนยุทธศาสตร์ที่มีศูนย์กลางเป็นมหาสมทุรแปซิฟิก, การหยุดยั้งการข้ามช่องแคบไต้หวันและการปิดเส้นทางเดินเรือทางทะเลจีนเป็นหลักโดยไม่พึ่งพาฐานทัพที่อยู่ในระยะโจมตีจากจีนมากเกินไป สหรัฐฯสามารถสกัดกั้นจีนได้มีประสิทธิภาพกว่า ด้วยความช่วยเหลือของประเทศเป็นมิตรอย่างฟิลิปินส์และเวียดนามที่มองจีนเป็นภัยคุกคามจากกรณีทะเลจีนใต้ รวมถึงมีภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับแนวรบพอดี ------------------ ด้วยปัจจัยทั้งสามอย่างแล้วเราจึงสรุปได้ว่าความเป็นไปได้ที่ไทยจะเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพมีต่ำมาก แต่ทุกอย่างก็เป็นไปได้ ผู้เล่นในภูมิภาคไม่ได้มีเพียงไทยหรือสหรัฐฯเท่านั้น การเคลื่อนไหวของจีนและประเทศอื่นๆ ใน ASEAN สามารถส่งผลให้ปัจจัยข้อ 1,2 เปลี่ยนไป เช่นหากจีนต้องการกดดันให้แน่ใจว่าไทยจะวางเฉยด้วยการขยายฐานทัพเรือในกัมพูชา, สนับสนุนท่าทีของกัมพูชาให้ก้าวร้าวกับไทยมากขึ้น หรือใช้พม่ากดดันไทยผ่านทะเลอันดามัน การประเมินภัยคุกคามของไทยก็อาจเปลี่ยนไปและเป็นปัจจัยให้เชิญสหรัฐฯเข้ามาตั้งฐานทัพได้เช่นกัน ในอนาคตที่ไม่แน่นอนการวางยุทธศาสตร์และการจัดซื้ออาวุธของประเทศจึงควรมีภาพที่ชัดเจนว่าจะสงครามจะเกิดอย่างไร, ที่ไหน และบทบาทของไทยเพื่อป้องกันการเกิดสงครามคืออะไร หากเกิดสงครามคืออะไร? ในฐานะประชาชน เราไม่ควรตื่นตูมกับข่าวประเภทนี้แต่ควรพยายามเข้าใจบริบทในอดีตและเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างไม่ใช้อารมณ์ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อผู้ที่มีเป้าหมายทางการเมืองได้https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0EW5mpomMTGW6KpnPN7DaixNzTukfdL3M3AZ3t5CVx7AXWveWGChjAsyCxXgvjRG6l&id=100047386231809&sfnsn=mo&mibextid=jf9HGSข่าวการเมืองไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยข่าวการเมืองผู้บริโภคเฝ้าระวังมีมล้อเลียนแอคปลอมไม่ระบุชื่อ• 2 ปีที่แล้วmeter: false2 ความเห็น