#ฐานทัพสหรัฐ ในไทย ฉบับอ่านง่าย
คุณ @Don Plooksawasd เขียนบทความน่าสนใจมาให้อ่านกันเกี่ยวกับกระแสข่าวที่ส่งกันตามไลน์ว่าประเทศไทยกำลังจะได้อเมริกามาตั้งฐานทัพแล้ว หลังจากเอาฮากันไปแล้ว บทความนี้จะมาดูกันแบบจริงจังว่าที่ลือ ๆ กันนั้นมันมีมูลความจริงแค่ไหน
----------------
TLDR สำหรับโควต้า 7 บรรทัด: โอกาสในปัจจุบันยังต่ำมาก เพราะจากประวัติศาสตร์แล้วการที่ไทยจะเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพมีปัจจัยหลัก 3 ประการคือ
1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกัน
2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์
3. ทางสหรัฐฯต้องมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยด้วย
ปัจจัยเหล่านี้เป็นจริงในยุคสงครามเวียดนาม แต่ไม่เป็นจริงในปัจจุบัน แม้รัฐบาลจะเปลี่ยนเป็นก้าวไกลหรือรัฐบาลจากพรรคประชาธิปไตยอื่นก็ตาม
----------------
แรกเริ่มฐานทัพสหรัฐฯในไทย
ไทยเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพในช่วงปี 1961 สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มองการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และแนวคิดเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประกอบกับสหรัฐฯในยุคนั้นดำเนินนโยบายให้การสนับสนุนประเทศที่ถูกคุกคามจากภัยคอมมิวนิสต์
ฐานทัพสหรัฐฯแห่งแรกในไทยคือดอนเมือง จากนั้นเพื่อรองรับบทบาทที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯในเวียดนามก็ผุดฐานทัพใหม่ๆ ในภาคอีสานเพื่อรองรับการภารกิจต่าง ๆ เช่นการสอดแนมและทิ้งระเบิด ซึ่งเที่ยวบินกว่า 80% บินออกจากฐานในไทย
ฐานทัพที่สหรัฐฯใช้ปฎิบัติการทั้ง 7 ฐานถือว่าเป็นของรัฐบาลไทย ผู้บัญชาการฐานทัพเป็นนายทหารไทย แต่สหรัฐฯให้เงินสนับสนุนด้านต่างๆ รวมถึงการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม
นอกจากตั้งฐานทัพตามคำเชิญแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯยังวางรากฐานในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถาบันหลักของชาติในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ เช่นการจัดตั้งตำรวจตระเวณชายแดน, การให้ความสนับสนุนสถาบันศาสนาผ่าน Asia Foundation, รวมถึงความสัมพันธุ์อันดีเยี่ยมระหว่างราชวงศ์ไทยและสหรัฐฯ ซึ่งนอกจากการมาเยือนในระดับประธานาธิบดีจากทั้ง Johnson และ Nixon ยังมีการเสด็จเยี่ยมทหารสหรัฐฯในไทยจากทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินินาถ
----------------
ปิดม่าน
ความทรหดในสนามรบของเวียดนามเหนือบวกกับกระแสต่อต้านสงครามเวียดนามที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้หลังจากการลงนามสัญญาปารีสในปี 1973 แล้วรัฐบาล Nixon เริ่มลดกำลังทหารในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงในไทยลง ซึ่งสอดคล้องพอดีกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยที่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516(1973) ขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม พร้อมกับแสดงถึงความไม่พอใจขอสาธารณชนต่อสถานะของสหรัฐฯที่ถูกมองว่าเป็นนั่งร้านสนับสนุนรัฐบาลไทยด้วย
เมื่อรัฐบาลเสนีย์ ปราโมทย์ ชนะการเลือกตั้งในปี 1975 จึงเปลี่ยนโยบายการต่างประเทศให้เป็นมิตรกับคอมมิวนิสต์จีนมากขึ้นเพื่อปักกิ่งลดการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยลง นับเป็นยุทธวิธีที่เห็นโอกาสที่เกิดจากการแตกหักในโลกคอมมิวนิสต์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต โดยสหรัฐฯเองก็ส่งประธานาธิบดี Nixon ไปเยือนจีนก่อนหน้าตั้งแต่ปี 1972 เพื่อเพิ่มสัมพันธ์เช่นกัน
ไทยวางตัวเป็นอิสระบนเวทีโลกมากขึ้นเพื่อลดภาพการเป็นตัวแทนสหรัฐฯในภูมิภาค สหรัฐฯถูกขอให้ถอนทหารจากฐานทัพต่างๆ ภายในปี 1976 ซึ่งสหรัฐฯตกลงถอนทหารภายในเวลาที่กำหนดรวมถึงยกสิ่งปลูกสร้างและยุทโธปกรณ์ที่ขนย้ายลำบากให้กับทางการไทย แต่วิธีการบริหารภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลเสนีย์ถูกกลุ่มอนุรักษ์นิยมในประเทศบางส่วนมองว่าอ่อนปวกเปียกและมีความชะล่าใจมากเกินไป มีความพยายามเรียกร้องให้สหรัฐฯชะลอแผนถอนทหารลงแต่ไม่เป็นผล ซึ่งความกระวนกระวายนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (1976) ในเวลาต่อมา
ในตอนนั้นแม้สหรัฐฯจะถอนกำลังจากไทยไปหมดแล้วตั้งแต่มิถุนายน 1976 แต่ก็เป็นชาติแรกที่ไทยเข้าหาเพื่อให้สนับสนุนด้านภาพพจน์ของรัฐบาลที่เสียหายจากเหตุการณ์สังหารหมู่ในธรรมศาสตร์และรัฐประหารที่ตามมา ในทศวรรษต่อ ๆ มา สหรัฐฯ-ไทย ยังมีความร่วมมือหลายด้าน เช่น ด้านข่าวกรองแลกกับการใช้สถานที่ใทยสำหรับหน่วยงาน NSA, การฝึกทหารร่วมกัน และการขายอาวุธทันสมัยอย่าง F-16
-----------------
ถ้าเราย้อนกลับไปดูปัจจัยทั้ง 3 ประการข้างต้นจะเข้ามาและจากไปของฐานทัพสหรัฐฯในช่วงสงครามเย็น
1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกัน: สหรัฐฯและไทยเห็นคอมมิวนิสต์เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศ แต่พอเข้ายุค 70s สหรัฐฯไม่ได้มองการลงมาต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในเอเซียว่าเป็นเรื่องคุ้มตค่า
2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์: ประเด็นนี้จริงในยุค 60 แต่ภายหลังปี 1973 ยุทธวิธีทางการทูตใหม่ ๆ ของรัฐบาลเสนีย์ที่อาศัยการแตกกันของ จีน-โซเวียต ทำให้การมีอยู่ของฐานทัพเป็นเรื่องไม่จำเป็น
3. ทางสหรัฐฯต้องมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยด้วย: การทิ้งระเบิดทางยุทธวิธีในเวียดนาม ต้องอาศัยฐานบินในประเทศไทย เมื่อสงครามเวีดนามจบ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฐานในไทยอีก
-------------------
เข้าสู่ศตวรรษที่ 21
ถ้าเราเอาปัจจัยสามข้อที่ว่ามากาง เทียบกับบริบทความขัดแย้งในเอเซียในปัจจุบัน จะพบว่าโอกาสการเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพในไทยมีโอกาสความเป็นไปได้ต่ำ
1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกันหรือไม่?
ปัจจัยที่จะเกิดสงครามครั้งใหม่ระหว่างจีนและสหรัฐฯคือประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนและบางชาติใน ASEAN รวมถึงกรณีไต้หวัน ซึ่งในเรื่องนี้ไทยไม่มีส่วนได้เสีย กับพื้นที่ในทะเลจีนใต้เลย ขณะเดียวกันชาติ ASEAN เช่นเวียดนามและฟิลิปินส์ที่เพิ่มระดับความเป็นมิตรกับสหรัฐฯเป็นพิเศษในหลายปีที่ผ่านมาเพราะขัดแย้งกับจีนในเรื่องผลประโยชน์ทะเลจีนใต้ทั้งสิ้น กระทั่งประเทศเหล่านี้ก็มองความขัดแย้งของตัวกับจีนแยกกับประเด็นไต้หวัน
2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์หรือไม่?
ประเทศไทยไม่ได้มองจีนเป็นภัยคุกคามด้วยซ้ำ กระทั่งพรรคการเมืองฝั่งประชาธิปไตยอย่าง #ก้าวไกล หรือ #เพื่อไทย ก็มองผลประโยชน์ด้านการค้าและการท่องเที่ยวกับจีนเป็นหลัก ยังไม่มีคำพูดจากผู้สมัครพรรคการเมืองคนไหนเลยที่บอกว่าไทยต้องลดระดับความสัมพันธ์กับจีนหรือสหรัฐฯ
การยกตัวอย่างกรณี รัสเซีย-ยูเครน ก็เป็นการเทียบที่ไม่เข้าท่า เพราะในขณะที่รัสเซียมีมายาคติเชื่อว่าประเทศตนเองจะเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ในยูเรเซียได้ต้องมียูเครนเป็นบริวาร ไทยไม่ได้ถูกมองแบบนั้นในจินตนาการของทั้งจีนหรือสหรัฐฯ ถ้าเทียบในบริบท รัสเซีย-ยูเครน ไต้หวันต่างหากที่พอจะเข้าข่าย เพราะการยึดไต้หวันคือการปิดฉากสงครามกลางเมืองจีนอย่างสมบูรณ์
3. ทางสหรัฐฯมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยไหม?
ถ้าเราดูแผน Army 2030, Marine 2030 ซึ่งเป็นการออกแบบกำลังของสหรัฐฯในยุคทศวรรษหน้า จะเห็นว่าไทยไม่ได้อยู่ในแผนการวางกำลังเลยเพราะภูมิศาสตร์ประเทศอยู่ห่างจากสนามรบในทะเลจีนใต้ค่อนข้างมาก คนละเรื่องกับสมัยสงครามเวียดนามที่อยู่แทบจะติดกับพื้นที่การรบ
รายงาน U.S. Ground Forces in the Indo-Pacific: Background and Issues for Congress ที่ทำโดยสภาคองเกรสเมื่อปีที่แล้ว มีพูดถึงแผน Army 2030 กับ Marine 2030 ไม่ได้พูดถึงความเป็นไปได้ในการตั้งฐานทัพในไทย แต่มีการระบุเรื่องย้ายหน่วย Marine 3rd Expeditionary Force จากโอกินาว่าไปเกาะกวม
รายงาน Indo-Pacific Deterrence and the Quad in 2030 ที่จัดทำโดยเพนตากอนในปี 2021 มีการพิจารณาเรื่องการตั้งฐานทัพใหม่ ๆ ให้กระจายไปตามเกาะต่างๆ ของมหาสมุทร Pacific เพื่อลดอันตรายจากการโจมตีจากจีน รวมถึงระบุแนวทางการตั้งฐานทัพร่วมกับพันธมิตร QUAD (สหรัฐฯ-อินเดีย-ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น) โดยมีเกาะ Nicobar ในทะเลอันดามัน ซึ่งมีประโยชน์ในการสกัดกั้นเส้นทางขนถ่ายน้ำมันจากอ่าวเปอร์เซียไปยังจีน และฐานทัพในออสเตรเลียเพราะอยู่นอกระยะทำการ 4,000 กิโลเมตรของขีปนาวุธ DF-26
อาวุธใหม่ ๆ ที่สหรัฐฯทำการวิจัยอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอาวุธ Hypersonic, จรวด PrSM Inc 4 พิสัย 1,000 กิโลเมตรที่ใช้กับ HIMARS, เรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่สร้างให้ออสเตรเลียร่วมกับกลุ่ม AUKUS รวมถึงอาวุธพิสัยไกลปล่อยเป็นฝูงได้จากเครื่องบินขนส่ง C-130 ชี้ไปยังแผนยุทธศาสตร์ที่มีศูนย์กลางเป็นมหาสมทุรแปซิฟิก, การหยุดยั้งการข้ามช่องแคบไต้หวันและการปิดเส้นทางเดินเรือทางทะเลจีนเป็นหลักโดยไม่พึ่งพาฐานทัพที่อยู่ในระยะโจมตีจากจีนมากเกินไป
สหรัฐฯสามารถสกัดกั้นจีนได้มีประสิทธิภาพกว่า ด้วยความช่วยเหลือของประเทศเป็นมิตรอย่างฟิลิปินส์และเวียดนามที่มองจีนเป็นภัยคุกคามจากกรณีทะเลจีนใต้ รวมถึงมีภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับแนวรบพอดี
------------------
ด้วยปัจจัยทั้งสามอย่างแล้วเราจึงสรุปได้ว่าความเป็นไปได้ที่ไทยจะเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพมีต่ำมาก
แต่ทุกอย่างก็เป็นไปได้
ผู้เล่นในภูมิภาคไม่ได้มีเพียงไทยหรือสหรัฐฯเท่านั้น การเคลื่อนไหวของจีนและประเทศอื่นๆ ใน ASEAN สามารถส่งผลให้ปัจจัยข้อ 1,2 เปลี่ยนไป เช่นหากจีนต้องการกดดันให้แน่ใจว่าไทยจะวางเฉยด้วยการขยายฐานทัพเรือในกัมพูชา, สนับสนุนท่าทีของกัมพูชาให้ก้าวร้าวกับไทยมากขึ้น หรือใช้พม่ากดดันไทยผ่านทะเลอันดามัน การประเมินภัยคุกคามของไทยก็อาจเปลี่ยนไปและเป็นปัจจัยให้เชิญสหรัฐฯเข้ามาตั้งฐานทัพได้เช่นกัน ในอนาคตที่ไม่แน่นอนการวางยุทธศาสตร์และการจัดซื้ออาวุธของประเทศจึงควรมีภาพที่ชัดเจนว่าจะสงครามจะเกิดอย่างไร, ที่ไหน และบทบาทของไทยเพื่อป้องกันการเกิดสงครามคืออะไร หากเกิดสงครามคืออะไร?
ในฐานะประชาชน เราไม่ควรตื่นตูมกับข่าวประเภทนี้แต่ควรพยายามเข้าใจบริบทในอดีตและเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างไม่ใช้อารมณ์ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อผู้ที่มีเป้าหมายทางการเมืองได้https://m.facebook.com/story.php?story_f⋯100047386231809&sfnsn=mo&mibextid=jf9HGS
คุณ @Don Plooksawasd เขียนบทความน่าสนใจมาให้อ่านกันเกี่ยวกับกระแสข่าวที่ส่งกันตามไลน์ว่าประเทศไทยกำลังจะได้อเมริกามาตั้งฐานทัพแล้ว หลังจากเอาฮากันไปแล้ว บทความนี้จะมาดูกันแบบจริงจังว่าที่ลือ ๆ กันนั้นมันมีมูลความจริงแค่ไหน
----------------
TLDR สำหรับโควต้า 7 บรรทัด: โอกาสในปัจจุบันยังต่ำมาก เพราะจากประวัติศาสตร์แล้วการที่ไทยจะเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพมีปัจจัยหลัก 3 ประการคือ
1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกัน
2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์
3. ทางสหรัฐฯต้องมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยด้วย
ปัจจัยเหล่านี้เป็นจริงในยุคสงครามเวียดนาม แต่ไม่เป็นจริงในปัจจุบัน แม้รัฐบาลจะเปลี่ยนเป็นก้าวไกลหรือรัฐบาลจากพรรคประชาธิปไตยอื่นก็ตาม
----------------
แรกเริ่มฐานทัพสหรัฐฯในไทย
ไทยเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพในช่วงปี 1961 สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มองการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และแนวคิดเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประกอบกับสหรัฐฯในยุคนั้นดำเนินนโยบายให้การสนับสนุนประเทศที่ถูกคุกคามจากภัยคอมมิวนิสต์
ฐานทัพสหรัฐฯแห่งแรกในไทยคือดอนเมือง จากนั้นเพื่อรองรับบทบาทที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯในเวียดนามก็ผุดฐานทัพใหม่ๆ ในภาคอีสานเพื่อรองรับการภารกิจต่าง ๆ เช่นการสอดแนมและทิ้งระเบิด ซึ่งเที่ยวบินกว่า 80% บินออกจากฐานในไทย
ฐานทัพที่สหรัฐฯใช้ปฎิบัติการทั้ง 7 ฐานถือว่าเป็นของรัฐบาลไทย ผู้บัญชาการฐานทัพเป็นนายทหารไทย แต่สหรัฐฯให้เงินสนับสนุนด้านต่างๆ รวมถึงการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม
นอกจากตั้งฐานทัพตามคำเชิญแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯยังวางรากฐานในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถาบันหลักของชาติในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ เช่นการจัดตั้งตำรวจตระเวณชายแดน, การให้ความสนับสนุนสถาบันศาสนาผ่าน Asia Foundation, รวมถึงความสัมพันธุ์อันดีเยี่ยมระหว่างราชวงศ์ไทยและสหรัฐฯ ซึ่งนอกจากการมาเยือนในระดับประธานาธิบดีจากทั้ง Johnson และ Nixon ยังมีการเสด็จเยี่ยมทหารสหรัฐฯในไทยจากทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินินาถ
----------------
ปิดม่าน
ความทรหดในสนามรบของเวียดนามเหนือบวกกับกระแสต่อต้านสงครามเวียดนามที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้หลังจากการลงนามสัญญาปารีสในปี 1973 แล้วรัฐบาล Nixon เริ่มลดกำลังทหารในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงในไทยลง ซึ่งสอดคล้องพอดีกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยที่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516(1973) ขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม พร้อมกับแสดงถึงความไม่พอใจขอสาธารณชนต่อสถานะของสหรัฐฯที่ถูกมองว่าเป็นนั่งร้านสนับสนุนรัฐบาลไทยด้วย
เมื่อรัฐบาลเสนีย์ ปราโมทย์ ชนะการเลือกตั้งในปี 1975 จึงเปลี่ยนโยบายการต่างประเทศให้เป็นมิตรกับคอมมิวนิสต์จีนมากขึ้นเพื่อปักกิ่งลดการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยลง นับเป็นยุทธวิธีที่เห็นโอกาสที่เกิดจากการแตกหักในโลกคอมมิวนิสต์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต โดยสหรัฐฯเองก็ส่งประธานาธิบดี Nixon ไปเยือนจีนก่อนหน้าตั้งแต่ปี 1972 เพื่อเพิ่มสัมพันธ์เช่นกัน
ไทยวางตัวเป็นอิสระบนเวทีโลกมากขึ้นเพื่อลดภาพการเป็นตัวแทนสหรัฐฯในภูมิภาค สหรัฐฯถูกขอให้ถอนทหารจากฐานทัพต่างๆ ภายในปี 1976 ซึ่งสหรัฐฯตกลงถอนทหารภายในเวลาที่กำหนดรวมถึงยกสิ่งปลูกสร้างและยุทโธปกรณ์ที่ขนย้ายลำบากให้กับทางการไทย แต่วิธีการบริหารภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลเสนีย์ถูกกลุ่มอนุรักษ์นิยมในประเทศบางส่วนมองว่าอ่อนปวกเปียกและมีความชะล่าใจมากเกินไป มีความพยายามเรียกร้องให้สหรัฐฯชะลอแผนถอนทหารลงแต่ไม่เป็นผล ซึ่งความกระวนกระวายนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (1976) ในเวลาต่อมา
ในตอนนั้นแม้สหรัฐฯจะถอนกำลังจากไทยไปหมดแล้วตั้งแต่มิถุนายน 1976 แต่ก็เป็นชาติแรกที่ไทยเข้าหาเพื่อให้สนับสนุนด้านภาพพจน์ของรัฐบาลที่เสียหายจากเหตุการณ์สังหารหมู่ในธรรมศาสตร์และรัฐประหารที่ตามมา ในทศวรรษต่อ ๆ มา สหรัฐฯ-ไทย ยังมีความร่วมมือหลายด้าน เช่น ด้านข่าวกรองแลกกับการใช้สถานที่ใทยสำหรับหน่วยงาน NSA, การฝึกทหารร่วมกัน และการขายอาวุธทันสมัยอย่าง F-16
-----------------
ถ้าเราย้อนกลับไปดูปัจจัยทั้ง 3 ประการข้างต้นจะเข้ามาและจากไปของฐานทัพสหรัฐฯในช่วงสงครามเย็น
1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกัน: สหรัฐฯและไทยเห็นคอมมิวนิสต์เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศ แต่พอเข้ายุค 70s สหรัฐฯไม่ได้มองการลงมาต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในเอเซียว่าเป็นเรื่องคุ้มตค่า
2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์: ประเด็นนี้จริงในยุค 60 แต่ภายหลังปี 1973 ยุทธวิธีทางการทูตใหม่ ๆ ของรัฐบาลเสนีย์ที่อาศัยการแตกกันของ จีน-โซเวียต ทำให้การมีอยู่ของฐานทัพเป็นเรื่องไม่จำเป็น
3. ทางสหรัฐฯต้องมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยด้วย: การทิ้งระเบิดทางยุทธวิธีในเวียดนาม ต้องอาศัยฐานบินในประเทศไทย เมื่อสงครามเวีดนามจบ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฐานในไทยอีก
-------------------
เข้าสู่ศตวรรษที่ 21
ถ้าเราเอาปัจจัยสามข้อที่ว่ามากาง เทียบกับบริบทความขัดแย้งในเอเซียในปัจจุบัน จะพบว่าโอกาสการเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพในไทยมีโอกาสความเป็นไปได้ต่ำ
1. ทั้งสองประเทศต้องเห็นภัยคุกคามร่วมกันหรือไม่?
ปัจจัยที่จะเกิดสงครามครั้งใหม่ระหว่างจีนและสหรัฐฯคือประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนและบางชาติใน ASEAN รวมถึงกรณีไต้หวัน ซึ่งในเรื่องนี้ไทยไม่มีส่วนได้เสีย กับพื้นที่ในทะเลจีนใต้เลย ขณะเดียวกันชาติ ASEAN เช่นเวียดนามและฟิลิปินส์ที่เพิ่มระดับความเป็นมิตรกับสหรัฐฯเป็นพิเศษในหลายปีที่ผ่านมาเพราะขัดแย้งกับจีนในเรื่องผลประโยชน์ทะเลจีนใต้ทั้งสิ้น กระทั่งประเทศเหล่านี้ก็มองความขัดแย้งของตัวกับจีนแยกกับประเด็นไต้หวัน
2. ภัยคุกคามนั้นสูงจนรัฐไทยมองว่าอาจเป็นภัยต่อสถาบันหลักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์หรือไม่?
ประเทศไทยไม่ได้มองจีนเป็นภัยคุกคามด้วยซ้ำ กระทั่งพรรคการเมืองฝั่งประชาธิปไตยอย่าง #ก้าวไกล หรือ #เพื่อไทย ก็มองผลประโยชน์ด้านการค้าและการท่องเที่ยวกับจีนเป็นหลัก ยังไม่มีคำพูดจากผู้สมัครพรรคการเมืองคนไหนเลยที่บอกว่าไทยต้องลดระดับความสัมพันธ์กับจีนหรือสหรัฐฯ
การยกตัวอย่างกรณี รัสเซีย-ยูเครน ก็เป็นการเทียบที่ไม่เข้าท่า เพราะในขณะที่รัสเซียมีมายาคติเชื่อว่าประเทศตนเองจะเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ในยูเรเซียได้ต้องมียูเครนเป็นบริวาร ไทยไม่ได้ถูกมองแบบนั้นในจินตนาการของทั้งจีนหรือสหรัฐฯ ถ้าเทียบในบริบท รัสเซีย-ยูเครน ไต้หวันต่างหากที่พอจะเข้าข่าย เพราะการยึดไต้หวันคือการปิดฉากสงครามกลางเมืองจีนอย่างสมบูรณ์
3. ทางสหรัฐฯมองเห็นประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ของการมาตั้งฐานทัพในไทยไหม?
ถ้าเราดูแผน Army 2030, Marine 2030 ซึ่งเป็นการออกแบบกำลังของสหรัฐฯในยุคทศวรรษหน้า จะเห็นว่าไทยไม่ได้อยู่ในแผนการวางกำลังเลยเพราะภูมิศาสตร์ประเทศอยู่ห่างจากสนามรบในทะเลจีนใต้ค่อนข้างมาก คนละเรื่องกับสมัยสงครามเวียดนามที่อยู่แทบจะติดกับพื้นที่การรบ
รายงาน U.S. Ground Forces in the Indo-Pacific: Background and Issues for Congress ที่ทำโดยสภาคองเกรสเมื่อปีที่แล้ว มีพูดถึงแผน Army 2030 กับ Marine 2030 ไม่ได้พูดถึงความเป็นไปได้ในการตั้งฐานทัพในไทย แต่มีการระบุเรื่องย้ายหน่วย Marine 3rd Expeditionary Force จากโอกินาว่าไปเกาะกวม
รายงาน Indo-Pacific Deterrence and the Quad in 2030 ที่จัดทำโดยเพนตากอนในปี 2021 มีการพิจารณาเรื่องการตั้งฐานทัพใหม่ ๆ ให้กระจายไปตามเกาะต่างๆ ของมหาสมุทร Pacific เพื่อลดอันตรายจากการโจมตีจากจีน รวมถึงระบุแนวทางการตั้งฐานทัพร่วมกับพันธมิตร QUAD (สหรัฐฯ-อินเดีย-ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น) โดยมีเกาะ Nicobar ในทะเลอันดามัน ซึ่งมีประโยชน์ในการสกัดกั้นเส้นทางขนถ่ายน้ำมันจากอ่าวเปอร์เซียไปยังจีน และฐานทัพในออสเตรเลียเพราะอยู่นอกระยะทำการ 4,000 กิโลเมตรของขีปนาวุธ DF-26
อาวุธใหม่ ๆ ที่สหรัฐฯทำการวิจัยอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอาวุธ Hypersonic, จรวด PrSM Inc 4 พิสัย 1,000 กิโลเมตรที่ใช้กับ HIMARS, เรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่สร้างให้ออสเตรเลียร่วมกับกลุ่ม AUKUS รวมถึงอาวุธพิสัยไกลปล่อยเป็นฝูงได้จากเครื่องบินขนส่ง C-130 ชี้ไปยังแผนยุทธศาสตร์ที่มีศูนย์กลางเป็นมหาสมทุรแปซิฟิก, การหยุดยั้งการข้ามช่องแคบไต้หวันและการปิดเส้นทางเดินเรือทางทะเลจีนเป็นหลักโดยไม่พึ่งพาฐานทัพที่อยู่ในระยะโจมตีจากจีนมากเกินไป
สหรัฐฯสามารถสกัดกั้นจีนได้มีประสิทธิภาพกว่า ด้วยความช่วยเหลือของประเทศเป็นมิตรอย่างฟิลิปินส์และเวียดนามที่มองจีนเป็นภัยคุกคามจากกรณีทะเลจีนใต้ รวมถึงมีภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับแนวรบพอดี
------------------
ด้วยปัจจัยทั้งสามอย่างแล้วเราจึงสรุปได้ว่าความเป็นไปได้ที่ไทยจะเชิญสหรัฐฯมาตั้งฐานทัพมีต่ำมาก
แต่ทุกอย่างก็เป็นไปได้
ผู้เล่นในภูมิภาคไม่ได้มีเพียงไทยหรือสหรัฐฯเท่านั้น การเคลื่อนไหวของจีนและประเทศอื่นๆ ใน ASEAN สามารถส่งผลให้ปัจจัยข้อ 1,2 เปลี่ยนไป เช่นหากจีนต้องการกดดันให้แน่ใจว่าไทยจะวางเฉยด้วยการขยายฐานทัพเรือในกัมพูชา, สนับสนุนท่าทีของกัมพูชาให้ก้าวร้าวกับไทยมากขึ้น หรือใช้พม่ากดดันไทยผ่านทะเลอันดามัน การประเมินภัยคุกคามของไทยก็อาจเปลี่ยนไปและเป็นปัจจัยให้เชิญสหรัฐฯเข้ามาตั้งฐานทัพได้เช่นกัน ในอนาคตที่ไม่แน่นอนการวางยุทธศาสตร์และการจัดซื้ออาวุธของประเทศจึงควรมีภาพที่ชัดเจนว่าจะสงครามจะเกิดอย่างไร, ที่ไหน และบทบาทของไทยเพื่อป้องกันการเกิดสงครามคืออะไร หากเกิดสงครามคืออะไร?
ในฐานะประชาชน เราไม่ควรตื่นตูมกับข่าวประเภทนี้แต่ควรพยายามเข้าใจบริบทในอดีตและเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างไม่ใช้อารมณ์ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อผู้ที่มีเป้าหมายทางการเมืองได้https://m.facebook.com/story.php?story_f⋯100047386231809&sfnsn=mo&mibextid=jf9HGS
Log in to Facebook | Facebook
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0EW5mpomMTGW6KpnPN7DaixNzTukfdL3M3AZ3t5CVx7AXWveWGChjAsyCxXgvjRG6l&id=100047386231809&sfnsn=mo&mibextid=jf9HGSSearchCancelYou must log in first.Forgotten password?orCreate new accountEnglish (UK)Bahasa IndonesiaEspañolFrançais (France)中文(简体)日本語Português (Brasil)Meta © 2023