2434 ข้อความ
- 2 คนสงสัยเพิ่มคอลลาเจนเเล้วทำให้ขาว“ดื่มแล้วผิวเนียนกระจ่างใส ช่วยกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจน ลองดูก่อน 7 วัน” บวกกับดาราหน้าใสกิ๊กถือกล่องคอลลาเจนผงถ่ายลงอินสตราแกรม ดาราหน้าสวยผิวใสการันตีขนาดนี้ใครจะไม่เชื่อบ้างล่ะ การกินคอลลาเจนไม่ได้ช่วยเรื่องผิวพรรณเลย เว้นแต่ว่าคุณต้องได้รับคอลลาเจนผ่านการฉีด หรือใช้เครื่องมือพิเศษผลักไออนนำคอลลาเจนเข้าไป หรือร้อยไหม, ยิงเลเซอร์บางตัวเข้าไป เพื่อกระตุ้นให้คอลลาเจนตื่น เมื่อก่อนมีมาคอลลาเจนจากญี่ปุ่นที่มาใส่ในหม้อไฟ เรียกกันว่า กินคอลลาเจนสดๆ แต่พอแปรรูปเป็นผง ซึ่งพวกเราไม่มีทางรู้เลย ผสมแป้งไหม มีสารปนเปื้อนอะไรบ้าง แต่ที่แน่ๆ ส่วนใหญ่เน้นชูธงว่า เป็นคอลลาเจนจากปลาทะเลน้ำลึก ดังนั้นข้อเสียอย่างแรกคือ แพ้ หากกินแล้วรู้สึกคลื่นไส้ ถือว่าเป็นระดับอนุบาล แต่ถ้าแพ้รุนแรง จะบวมเป็นผื่นขึ้น ถึงขั้นแน่นหน้าอก หลอดลมตีบ หายใจไม่ออกได้เลย ยิ่งคอลลาเจนจากปลาทะเลน้ำลึก คนที่แพ้อาหารทะเล กินคอลลาเจนชนิดนี้ไม่ได้นะ เพราะจะเกิดอาการแพ้รุนแรง เตือนคนที่แพ้ความสวยความงามmoopai.011• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยทำไมคนเราต้องมีปัญหาชีวิตเพราะว่าเกิดมาเป็นคน ปัญหาของแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน บางคนก็มากบางคนก็น้อย คนละรูปแบบ ถ้าไม่อยากให้มีคนที่มีปัญหาเพิ่มขึ้นก็ต้องหาทางป้องกันไม่ให้ มีปัญหาเพิ่ม คนที่มีปัญหาก็ไม่เพิ่มด้วยstd47763• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยาสีฟันยาสีฟันโฆษณาเกินจริิงยาสมุนไพรstd48389• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยาสีฟันวันนี้ (19 ต.ค.2565) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อมูลข่าวปลอมของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการเผยแพร่ในสื่อโซเชียลมีเดีย พบผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน 3 ยี่ห้อ โฆษณาโอ้อวดเกินจริงการโฆษณาดังกล่าวเป็นการโฆษณาเกินความเป็นจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภค เนื่องจากยาสีฟันเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อทำความสะอาดเท่านั้น ดังนั้นการอวดอ้างว่าสามารถแก้ปัญหาร้อนใน รักษาฟันผุ เหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันโยก จึงเป็นข้อความที่เป็นเท็จ โอ้อวดเกินจริงและทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางstd48015• 2 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยผลิตภัณฑ์ ฟันทน ยาสีฟันสมุนไพรสูตรเข้มข้น (รสดั้งเดิม) (FUNTON CONCENTRATED HERBAL TOOTHPASTE (ORIGINAL) อวดอ้างรักษาเหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันโยก และฟันผุผลิตภัณฑ์ ฟันทน ยาสีฟันสมุนไพรสูตรเข้มข้น (รสดั้งเดิม) (FUNTON CONCENTRATED HERBAL TOOTHPASTE (ORIGINAL)) เลขที่ใบรับจดแจ้ง 76-1-6400037025 อวดอ้างรักษาเหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันโยก และฟันผุอย. เพิกถอนผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47623• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอย.เตือนอย่าหลงเชื่อ "ยาสีฟัน" 3 แบรนด์ โฆษณาเกินจริงอย.เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อเพจเฟซบุ๊กโฆษณาหลอกขายยาสีฟัน 3 ยี่ห้อ พบอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง รักษาฟันผุ เหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันโยก เสี่ยงได้รับอันตรายในช่องปากstd48317• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยาสีฟัน รักษาฟันผุ เหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันโยกอย.เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อเพจเฟซบุ๊กโฆษณาหลอกขายยาสีฟัน 3 ยี่ห้อ พบอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง รักษาฟันผุ เหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันโยก เสี่ยงได้รับอันตรายในช่องปาก (19 ต.ค.2565) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อมูลข่าวปลอมของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการเผยแพร่ในสื่อโซเชียลมีเดีย พบผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน 3 ยี่ห้อ โฆษณาโอ้อวดเกินจริง การโฆษณาดังกล่าวเป็นการโฆษณาเกินความเป็นจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภค เนื่องจากยาสีฟันเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อทำความสะอาดเท่านั้น ดังนั้นการอวดอ้างว่าสามารถแก้ปัญหาร้อนใน รักษาฟันผุ เหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันโยก จึงเป็นข้อความที่เป็นเท็จ โอ้อวดเกินจริงและทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางstd48101• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยวัคซีนโควิดผมร่วงภาวะผมร่วงเป็นหย่อม ๆ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19KingTVz456za• 3 ปีที่แล้วmeter: middle1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยด่วน! สถานทูตไทยในอินเดีย ประกาศขอคนไทยควรกลับประเทศ https://t.co/E0XmQPBVnJ https://t.co/sbTZOYw3zuโควิด 2019ไม่ระบุชื่อ• 4 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยโควิดวันนี้ ศบค.แถลงไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 795 ราย รวมป่วยสะสม 21,249 รายจริงหรือไม่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 795 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 21,249 ราย หายป่วยแล้ว 14,001 ราย ยังรักษาใน รพ. 7,169 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดเสียชีวิตสะสม 79 รายโควิด 2019nutyty_MJU• 4 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ เอาขมิ้นมาทาตัวจะทำให้ขาว อัญชันทำให้คิ้วดกตามความเชื่อผ่านมาว่า เอาขมิ้นมาทาตัวจะทำให้ขาว อัญชันทำให้คิ้วดก เป็นสิ่งที่ทำมาแต่ช้านานบางครั้งก็พิสูจน์ได้บางครั้งก็ไม่มีมูลเหตุที่เป็นจริงความสวยความงามDC 4 Ray• 4 ปีที่แล้วmeter: middle1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยน้ำมันงาช่วยรักษาข้ออักเสบได้จริงไหมโรคข้ออักเสบ การศึกษาชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันงาในการบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคข้ออักเสบพบว่าการรับประทานน้ำมันงา 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุกวันต่อเนื่องนาน 28 วัน มีประโยชน์ในการช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระและสารเคมีที่ก่อการอักเสบในร่างกายของผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการผ่อนคลายของของหลอดเลือดแดงเอออร์ตา และมีแนวโน้มที่จะลดการบวมของเท้าด้านหลัง ซึ่งประโยชน์เหล่านี้ส่งผลดีต่อตัวผู้ป่วยเอง ทั้งนี้งาดำจะนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบได้จริงหรือไม่คงต้องรอผลการศึกษาในอนาคตที่แน่นอนกว่านี้ต่อไปWantanee Chiansunan• 5 ปีที่แล้วmeter: middle2 ความเห็น
- 2 คนสงสัยเปิดไอเดียสุดเจ๋งของเยาวรุ่น ร่วมแก้ปัญหาข่าวลวง สร้างนวัตกรรมพร้อมข้อเสนอผลักสู่ระดับนโยบาย11 ก.พ. 2565 12:30 น. ข่าว ทั่วไทย ข่าวประชาสัมพันธ์ เปิดไอเดียสุดเจ๋งของเยาวรุ่น ร่วมแก้ปัญหาข่าวลวง สร้างนวัตกรรมพร้อมข้อเสนอผลักสู่ระดับนโยบาย สิ้นสุดแล้วโครงการ “FACTkathon” นักศึกษาร่วมระดมสมองส่งผลงานนวัตกรรมเข้าประกวด เพื่อแก้ปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอม พร้อมผลักดัน 7 ข้อเสนอให้เกิดเป็นนโยบายแก้ปัญหาเฟกนิวส์เกลื่อนโลกออนไลน์ เปิดไอเดียสุดเจ๋งของเยาวรุ่น ร่วมแก้ปัญหาข่าวลวง สร้างนวัตกรรมพร้อมข้อเสนอผลักสู่ระดับนโยบาย ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรมการแข่งขันระดมสมอง “หักล้างมูลเท็จ แสวงหาความจริงร่วม” “FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic” ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และเป็นความร่วมมือกับสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ มูลนิธิสภาการหนังสือพิมพ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย (Fnf Thailand) สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ChangeFusion Centre for Humanitarian Dialogue (HD) และ ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) งานนี้นอกจากจะเป็นการประชันไอเดียของคนรุ่นใหม่ระดับมหาวิทยาลัย ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาข่าวลวงที่มากมายในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีการระดมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางการหา “ความจริงร่วม” ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ที่มีความเห็นต่างได้อย่างปกติสุข จากการแข่งขันครั้งนี้ทีมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ได้แก่ ทีมบอท เป็นการผสมผสานทีมจากนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีไอเดียสุดเจ๋ง “Check-on” หรือ “เช็กก่อน” โดยพัฒนาเครื่องมือ Extension เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอ่านข่าวในเว็บหรือเห็นภาพต่างๆ แล้วสงสัยว่าจริงหรือไม่ ให้คลุมดำที่ข้อความ คลิกขวา จะมีปุ่ม Check หน้าต่างของ Check-On ขึ้นมาแล้วประมวลผลความน่าเชื่อถือจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ อาทิ Cofact ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ต่อต้านข่าวลวง เป็นต้น ทีม TU Validator ซึ่งได้รับรางวัลที่ 2 รวมทีมจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแพลตฟอร์มเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาร่วมค้นหาความจริงด้วยกัน พร้อมรับคะแนนและของรางวัล เพื่อสร้างชุมชนในสังคมออนไลน์ ให้ผู้ใช้งานได้มีการถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อข้อมูลต่างๆ จัดกิจกรรม Debate ถกประเด็นกัน เชื่อว่าความจริงต้องเกิดขึ้นได้ สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลที่ 3 คือ ทีม New Gen Next FACTkathon เป็นการรวมตัวของนักศึกษาคณะต่างๆ จากมหาวิทยาลัยพายัพ ออกแบบการนำข้อมูลข่าวสาร มาถ่ายทอดในรูปแบบของการ์ตูน ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันด้วยการสร้างการ์ตูนลงแพลตฟอร์มหนังสือการ์ตูนออนไลน์ (Webtoon) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบข่าวลวงไปด้วย พร้อมมีลูกเล่นด้วยการให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมไขปริศนา โหวตว่าจริงหรือไม่จริง โดยให้สิ่งตอบแทนเป็นเหรียญ สำหรับใช้เปิดอ่านตอนต่อไป นอกจากกิจกรรมการประกวดเสนอแนวคิดนวัตกรรมแล้ว ยังได้จัดการประชุมเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะที่จะแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน ซึ่งเห็นตรงกันว่าต้องผลักดันให้เกิดนโยบายที่แก้ปัญหาข่าวลวงที่เกลื่อนโลกออนไลน์ร่วมกันด้วย ดังนี้ 1) ทวงถามความรับผิดชอบกับผู้ผลิตและส่งต่อข่าวลวง : มีข้อเสนอแนะให้มีวิธีการป้องกันและแก้ไขข้อความผู้ผลิตและผู้ส่งต่อข่าวลวง ที่จะช่วยลดการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นลงได้ 2) ให้ความสำคัญกับทักษะ “รู้เท่าทันสื่อ” : การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ไม่ใช่วิชาที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคดิจิทัล แต่ถูกพูดถึงเรื่องนี้นับตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของสื่อมวลชนยุคอนาล็อก (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์) เช่น กลยุทธ์หรือเทคนิคที่ใช้ผลิตเนื้อหาผ่านสื่อแต่ละประเภทใช้ส่งสารถึงปัจเจกชนหรือกลุ่มคนซึ่งเป็นผู้รับสาร บทบาทของสื่อต่อการสร้างกระแสค่านิยม หรือวัฒนธรรมต่างๆ ในสังคม เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การผลิตและส่งต่อข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นทั้งกว้างขวางและรวดเร็ว การรู้เท่าทันสื่อจึงยิ่งมีความสำคัญเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือน ความเข้าใจในแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ Facebook, Twitter, Instagram, Line ฯลฯ ถูกออกแบบมาให้ทำงานอย่างไร และผู้ผลิตเนื้อหา (Content) ใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร ซึ่งจะซับซ้อนกว่าสื่อดั้งเดิม เช่น แพลตฟอร์มบางชนิดสามารถใช้วิธีการบางอย่างเพื่อให้สาร (ข้อความ ภาพ คลิปวิดีโอ คลิปเสียง) ถูกมองเห็นอย่างกว้างขวางและในความถี่ต่อเนื่อง หรือมีสถิติการส่งต่อจำนวนมาก ผู้ที่ไม่รู้เท่าทันวิธีการเหล่านี้อาจเชื่อไปก่อนแล้วว่าเป็นเรื่องจริงโดยไม่ได้ตรวจสอบ 3) ลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล : แม้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่จะถูกมองว่าเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Native) จึงใช้งานได้คล่องกว่าคนวัยอื่นๆ ที่อาจจะเพิ่งรู้จักเทคโนโลยีดิจิทัลในวัยกลางคนหรือวัยเกษียณ แต่ในความเป็นจริงก็ยังพบช่องว่าง กล่าวคือ เด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่ไม่มีทุนทรัพย์จัดหาเครื่องมือเชื่อมต่อ (Device) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านดิจิทัล อาทิ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่สัญญาณมีความเสถียร ย่อมมีข้อจำกัดในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเมื่อเทียบกับเด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่มีความพร้อม 4) สนับสนุนบทบาทขององค์กรที่ทำงานต่อต้านข่าวลวงที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถนำข้อมูลไปถึงผู้คนได้ง่าย : ปัจจุบันมีความพยายามจากหลายฝ่ายในการต่อสู้กับปัญหาข่าวลวง ทั้งภาครัฐที่มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ภาคสื่อมวลชนที่มีศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ของ อสมท. และภาควิชาการ-ประชาชน ที่รวมตัวกันในนามโคแฟค ซึ่งนอกจากจะสนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้ทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วแล้ว ควรพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลที่เมื่อผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไปพบข้อมูลบางอย่างแล้วสงสัย สามารถส่งไปประมวลผลกับระบบขององค์กรข้างต้นได้ทันทีว่าเคยมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วหรือไม่ เนื่องจากพบว่าข่าวลวงหลายข่าวมักมีลักษณะ “แชร์วนซ้ำ” บางเรื่องพิสูจน์กันไปแล้วหลายปีว่าไม่จริงแต่ก็ยังมีการส่งต่อวนกลับมาอีก 5) ขยายแนวร่วมตรวจสอบข่าวลวงสู่ระดับท้องถิ่น : ในความเป็นจริงที่การสื่อสารรวดเร็ว ข้อมูลถูกผลิตและส่งต่ออย่างมหาศาล ข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือนจึงมีความหลากหลายซึ่งบางเรื่องอาจจะไม่ได้เป็นกระแสมากพอที่องค์กรจากส่วนกลางจะมองเห็นและเข้าไปตรวจสอบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างแนวร่วมในระดับชุมชน ซึ่งอาจเป็นสื่อมวลชนท้องถิ่น หรือแกนนำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ฯลฯ) โดยให้ผู้ที่สนใจประเด็นข่าวลวงมาฝึกฝนทักษะการตรวจสอบ รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะว่าจะส่งเสริมเรื่องนี้ในระดับท้องถิ่นของตนเองอย่างไร เพราะแต่ละพื้นที่นั้นมีบริบททางสังคมไม่เหมือนกันผู้บริโภคเฝ้าระวังstd48026• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยลูกชิ้นทำจาก 'ตัวเหี้ย' ไม่มีจริง ตำรวจสอบสวนกลางยืนยันเองกรณีที่มีสื่อในโซเชียลได้โพสต์รูปภาพตัวเงินตัวทอง พร้อมข้อความระบุว่า "บุกทลายโรงงานผลิตลูกชิ้นปลาเจ้าใหญ่ที่ดัดแปลงใช้เนื้อของตัวเงินตัวทองมาทำเป็นลูกชิ้นปลาเนื้อขาวใสไร้ความคาว ส่วนหนังน่านำไปตากแห้งทำเป็นหนังปลาทอดกรอบ จัดจำหน่ายส่งขายทั่วประเทศมานานแล้ว"ramitra7819• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยโรงงานผลิตลูกชิ้นปลาเจ้าใหญ่ที่ดัดแปลงใช้เนื้อของตัวเงินตัวทองมาทำเป็นลูกชิ้นขาวโรงงานผลิตลูกชิ้นปลาเจ้าใหญ่ที่ดัดแปลงใช้เนื้อของตัวเงินตัวทองมาทำเป็นลูกชิ้นปลาเนื้อขาวใสไร้ความคาว ส่วนหนังน่านำไปตากแห้งทำเป็นหนังปลาทอดกรอบ จัดจำหน่ายส่งขายทั่วประเทศมานานแล้วstd48173• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวลวงโลก! ลูกชิ้นทำจาก 'ตัวเหี้ย' ไม่มีจริง ตำรวจสอบสวนกลางยืนยันเองกรณีที่มีสื่อในโซเชียลได้โพสต์รูปภาพตัวเงินตัวทอง พร้อมข้อความระบุว่า "บุกทลายโรงงานผลิตลูกชิ้นปลาเจ้าใหญ่ที่ดัดแปลงใช้เนื้อของตัวเงินตัวทองมาทำเป็นลูกชิ้นปลาเนื้อขาวใสไร้ความคาว ส่วนหนังน่านำไปตากแห้งทำเป็นหนังปลาทอดกรอบ จัดจำหน่ายส่งขายทั่วประเทศมานานแล้ว" ล่าสุด ตำรวจสอบสวนกลาง โดย ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ชี้แจงว่า ภาพดังกล่าวเป็นผลงานการจับกุมของตำรวจ บก.ปทส. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ที่เข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาที่ลักลอบซื้อขายเพื่อการค้าและมีไว้ในครอบครองซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน ในพื้นที่อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวานที่ผ่านมา โดยจากการสอบถามผู้ต้องหา และจากการสืบสวน ยืนยันว่า ซากตัวเงินตัวทองเหล่านี้ เตรียมนำไปขายต่อที่ตลาดชายแดนภาคตะวันออก เพื่อนำไปประกอบเป็นอาหารป่าขายแก่ผู้ชื่นชอบเท่านั้น ไม่ได้เป็นไปตามที่มีกระแสข่าวแต่อย่างใดผู้บริโภคเฝ้าระวังstd47795• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยแก้วิธีการรักษา อาการตื่นมาฉี่บ่อย (nocturia) ของผู้สูงอายุตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อย รุ่นพี่ที่เคารพท่านหนึ่ง ได้ส่ง VDO link ที่น่าสนใจมาให้ จาก NHK on demand video ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ส.ว. ทั้งหมด (เกิน 250) แต่คนที่ยังไม่เป็น ส.ว. รู้ไว้ก็ไม่เสียหลาย เพราะอนาคตเราก็จะได้เลื่อนขั้นขึ้นไปกันทุกคนอยู่แล้ว เรื่องที่ว่านั้นก็คือ ปัญหาของการที่ต้องตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อยๆ (nocturia) เพื่อไปฉี่ ปัญหานี้ ได้มีการทำวิจัยเมื่อต้นปีนี้เอง (กุมภาพันธ์ -เมษายน) ควบคุมโดย Toromoto Kazumasa อาจารย์หมอทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist) แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์นารา (Nara Medical University) เนื่องจากโควิดมา ผลการวิจัยนี้จึงเพิ่งจะเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้เอง การวิจัย ดำเนินการโดยให้ หนุ่ม Terakita เดินทางไปอยู่ที่บ้านคุณลุง Hayashi ทั้งวัน และทำกิจกรรมต่างๆเหมือนกัน โดยฉี่ให้หมดกระเพาะปัสสาวะ (bladder) ในตอนเช้า จากนั้น ให้กินอาหารเหมือนกัน ดื่มน้ำเท่ากัน ออกกำลังกายเหมือนกัน แล้วฉี่ใส่ถ้วยตวง วัดปริมาณเปรียบเทียบกันดู @07:30 เริ่มกินข้าว เป็นอาหารญี่ปุ่น มีน้ำอยู่ในอาหาร 600 mL (คำนวณโดย Yamaguchi Chikage นักโภชนาการ ของ Nara Medical University Hospital) และดื่มน้ำชา 530 mL รวม 1,130 mL ตอนสาย เจ้าหนุ่ม ฉี่ไป 4 รอบ 300+400+300+100 mL ส่วนลุงฉี่แค่ 2 รอบ 100+110 mL @12:30 มื้อกลางวัน เป็นแซนวิช มีน้ำแค่ 140 mL และดื่มน้ำเปล่าอีกคนละ 380 mL ตอนบ่าย ออกกำลังกาย ไปทำสวนด้วยกัน เข้ามาในบ้าน เล่น VDO game ด้วยกัน (ลุงแกเล่นได้ด้วยแฮะ) ตอนบ่าย เจ้าหนุ่มฉี่อีก 3 ครั้ง 350+200+150 mL คุณลุงก็ฉี่ 3 ครั้งเหมือนกัน แต่ปริมาณน้อยกว่า 40+180+70 mL จนเย็น @18:30 ได้เวลาจากกัน หลังจากอยู่ด้วยกันมาทั้งวัน ค่ำคืนนั้น ก่อนเข้านอน เจ้าหนุ่มฉี่อีก 4 ครั้ง 320+150+180+150 mL แต่ลุงฉี่แค่ครั้งเดียว 180 mL หมอใช้ ultrasound ตรวจดูน้ำในกระเพาะปัสสาวะ - เกือบไม่มีทั้งคู่ ก่อนเข้านอนตอนเที่ยงคืน ในวันนั้น น้ำ เข้าไปร่างกาย คนละ 2,730 mL เท่าๆกัน แต่ลุงมีน้ำเหลืออยู่ในร่างกายเยอะมาก ผลก็คือ เจ้าหนุ่มหลับรวด ไม่ได้ตื่นขึ้นมาฉี่ แต่ลุงต้องตื่นไปฉี่ 3 รอบ 130+420+280 mL วันต่อมาจึงรู้สึกเพลีย การที่กลางวันง่วง และต้องงีบบ่อยๆ เพราะกลางคืนตื่นบ่อย (nocturia) เพื่อไปฉี่ เนื่องจากน้ำที่ดื่มระหว่างวันยังค้างอยู่ในร่างกาย แต่น้ำนั้น ... ไม่ได้อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ! เชื่อหรือไม่ว่า มีความลับในร่างกายของเราอย่างหนึ่ง ก็คือ คนเรามีกระเพาะปัสสาวะที่สอง (2nd bladder) !! ในเมื่อน้ำ ไม่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ แล้วมันไปเก็บอยู่ที่ไหน? ที่ตับ (liver) หรือเปล่า เพราะแอลกอฮอล์ก็ยังไปกำจัดที่ตับ น้ำก็น่าจะไปด้วย … ไม่ใช่ ที่ไต (kidney) ใช่ไหม เพราะเป็นด่านแรก ที่น้ำจะต้องผ่าน ก่อนไปที่กระเพาะปัสสาวะ … ไม่ใช่อีก ที่เส้นเลือด (blood vessels) กระมัง เพราะในเลือดมีน้ำ อาจเก็บน้ำเพิ่มขึ้นได้ … ก็ไม่ใช่ แม้แต่ลำไส้ (intestine) ที่น่าจะมีที่เก็บน้ำไว้ได้มากทีเดียว … ไม่ใช่เหมือนกัน เพราะคำตอบที่ถูกคือ - น่อง (calves) ครับ ! เพื่อเป็นการพิสูจน์ เจ้าหน้าที่ได้ทำการวัดรอบน่องของลุง Hayashi ตอนตื่นนอนและก่อนนอน พบว่า น่องโตขึ้นจริงๆ (ขวา 40.5 => 42.7 ซ้าย 41.5 => 45.7 cm) ทีมงาน ได้นำอุปกรณ์วัดทันสมัย ไปที่บ้านลุง Hayashi เพื่อวัดปริมาณน้ำในส่วนต่างๆของร่างกาย แล้ว plot มาเป็นกราฟ พบว่า ช่วงเช้า น้ำในลำตัวและแขน เกือบคงที่ แต่น้ำในขา จะค่อยพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ช่วงบ่าย น้ำในขาเกือบคงที่ แต่ในแขนและลำตัวค่อยๆลด ส่วนตอนค่ำ ก่อนนอน น้ำในลำตัวค่อยๆลด ในแขนคงที่ แต่ในขายังพุ่งขึ้นต่อ สุดท้ายก่อนเข้านอน น้ำในขาของลุง Hayashi มีมากกว่าตอนเช้าถึง หนึ่งลิตรครึ่ง ! ทั้งนี้เพราะ ขาทั้งสองข้าง เป็นเหมือนแท็งค์น้ำ โดยน้ำจะแทรกอยู่ระหว่างกระดูกและผิวหนัง เรียกว่า “interstitium” เมื่อไม่มีน้ำ จะแฟบ พอมีน้ำก็จะพองหนาขึ้น น่อง จึงเหมือนถังน้ำ เก็บไว้ฉี่ทิ้งภายหลัง และนั่นเป็นสาเหตุที่ต้องตื่นขึ้นมาฉี่บ่อย คุณหมอ Sone Atsushi Director, Miyazu Takeda Hospital ยืนยันว่า มีคนไข้เป็นอย่างนี้หลายคน มีคำอธิบาย เขียนเป็นไดอะแกรมง่ายๆ เป็นวงจรของเส้นเลือดแดงจากหัวใจลงมาที่น่อง แล้วก็กลับขึ้นหัวใจทางเส้นเลือดดำ ส่วนกระเพาะปัสสาวะอยู่ตรงกลางระหว่างหัวใจกับน่อง การเต้นของหัวใจ กับการเคลื่อนไหวของน่อง จะเหมือนกับปั๊มสองตัวช่วยกันสูบฉีดน้ำในร่างกาย ถ้าน้ำมากไปก็จะไปปล่อยทิ้งที่กระเพาะปัสสาวะ เมื่ออายุยังน้อย ปั๊มที่น่องก็ยังแข็งแรงดีอยู่ ยิ่งเป็นเด็ก วิ่งกระโดดโลดเต้น น่องจึงแข็งแรง (เพราะฉะนั้น ถึงจะวิ่งไม่ไหว ก็ขยันเดินกันหน่อยนะครับ) แต่เมื่ออายุมากขึ้น น่องไม่ค่อยได้ทำงาน น้ำจึงมาบวมอยู่ที่ขา ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก พอล้มตัวลงนอนตอนดึก น้ำส่วนเกินนี้จึงค่อยๆกลับมาที่กระเพาะปัสสาวะ จนทำให้ต้องลุกไปฉี่บ่อยๆ ดังนั้น ในปีนี้ ทางการแพทย์ที่ญี่ปุ่น จึงมีการปรับแก้วิธีการรักษา อาการตื่นมาฉี่บ่อย (nocturia) ซึ่งไม่มีการแก้ไขมาเลยในรอบสิบปี คุณลุง Ando เป็นคนหนึ่งที่ได้รับการรักษาวิธีหนึ่งในแผนใหม่นี้ สี่ปีมาแล้วที่เขาต้องตื่นมาฉี่ 4~5 ครั้ง ทุกคืน แถมลำบากที่ต้องปีนบันไดขึ้นลง เพราะห้องน้ำอยู่คนละชั้นกับห้องนอน พลาดพลั้งเกิดตกบันไดขึ้นมาก็ยุ่งอีก ชีวิตช่างน่าหดหู่เสียจริงๆ การฉี่บ่อย (nocturia) นำไปสู่ ความรู้สึกหดหู่ และกระดูกหัก !? พูดให้เว่อร์ไปหน่อย ... ความรู้สึกหดหู่ หรือ depression ก็เพราะอดนอน และกระดูกหัก ไม่ใช่เพราะฉี่บ่อยตรงๆ แต่เป็นสาเหตุเกี่ยวเนื่อง โดยเกิดจากการงัวเงียเมื่อตื่นขึ้นมา อาจจะทำให้หกล้ม หรือ ตกบันได แต่กระดูกหักในกลุ่มผู้สูงอายุนี่เรื่องใหญ่นะ วันหนึ่ง ลุง Ando ได้รับ “กล่อง” เพื่อการรักษา หนึ่งเดือนผ่านไป คุณลุงนอนรวดเดียวยันเช้า ไม่ต้องลุกไปฉี่เลย คุณลุง Ando ได้พบ “ทางรอด” แล้ว ที่สามารถจะใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง “ทางรอด” ในกล่องเล็กๆ ที่ทำให้ชีวิตของลุง Ando เปลี่ยนไปเลยนั้น คืออะไร ? คุณ Toshida Masaki Assit. Director, ศูนย์ศึกษาผู้สูงอายุ (แห่ง National Center for Geriatric & Gerontology) มาเฉลยว่า ภายในกล่องนั้น คือ ... “ถุงเท้ารัดน่อง” (compression stockings) ครับ ถ้าสวมมันไว้ตอนกลางวัน จะช่วยทำให้ขาไม่บวม และไม่เก็บน้ำไว้ ทำให้ฉี่ตอนกลางวันมากขึ้น ไม่เก็บไว้ไปฉี่ตอนดึกอีก นอกจากนั้น ยังมีคำแนะนำง่ายๆอีกอย่าง เป็นวิธีการบำบัดข้อที่สอง ที่คุณหมอได้แนะนำให้ลุง Hayashi ที่เข้าร่วมการทดลองในตอนแรก ลองกลับไปทำดู คือการนอนยกขาให้สูงขึ้นหน่อย ประมาณครึ่งฟุต สักครึ่งชั่วโมงในตอนบ่าย แต่อย่างีบหลับไปนะ เดี๋ยวกลางคืนจะนอนไม่หลับอีก คุณลุง Hayashi ได้ลองทำดูประมาณหนึ่งเดือน โดยเริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ด้วยการนอนยกขาพาด อ่านหนังสือ หนึ่งเดือนผ่านไป จากการต้องลุกไปฉี่ 3 หนในตอนก่อน ก็เหลือเพียง 1.5 ครั้งโดยเฉลี่ย การรักษานี้เป็นการบำบัดโดยเปลี่ยนอุปนิสัย (behavior therapy) ดีกว่าการใช้ยา เพราะว่าไม่มีผลข้างเคียง (side effect) คำแนะนำเพื่อการบำบัดดังกล่าว มี 3 วิธี คือ :- • สวมถุงน่องแบบรัด • ยกขา • งดกินเค็ม การงดกินเค็มที่แถมมาด้วยนั้น เพราะ การกินเค็ม นอกจากจะทำให้ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ร่างกายเก็บน้ำไว้ด้วย ของแถมอีกอย่างที่บางคนอาจจะเมิน คือ หมอเขาแนะนำให้เลิกการ “กรุ๊บๆ กรั๊บๆ” ในตอนเย็น เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แถมกับแกล้มกินเล่นซึ่งมักจะมีเกลือเยอะ จะช่วยกันเรียกความกระหายให้ร่างกายดื่มน้ำมากขึ้น สังเกตได้ว่าถ้ากินเลี้ยงตอนเย็น คืนนั้นก็จะฉี่มากขึ้น คำถามว่า สวมถุงรัดน่องด้วย พร้อมกับนอนยกขาด้วย ได้ไหม - Dr. Yoshida บอกว่า ไม่มีปัญหา แต่สวมถุงรัดน่องไปกินเลี้ยงตอนเย็นนี่คงไม่ช่วยเท่าไหร่นะ งานนี้ สงสัยจะมีคนขอเลี่ยงบาลีไปดื่มตอนเที่ยงแทน คำแนะนำแนวทางทั้งสามนั้น คงจะเป็นประโยชน์กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ส่วนเรื่องถุงรัดน่องนั้น ถ้าไปหาตามร้านขายยา ก็จะมีถึงสามชนิดให้เลือก คือ สูงแค่เข่า ซึ่งสวมง่ายหน่อย ยาวขึ้นมาหน่อยคือสวมทั้งขา และที่ยาวสุดคือ สวมขึ้นมาถึงเอว ชอบแบบไหนก็เลือกได้ตามสะดวกครับ รวมทั้ง น่าจะมีขนาดให้เลือกด้วย และสามารถสวมใส่ได้ทั้งวัน อย่างไรก็ตาม คุณหมอมีคำเตือนสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจหรือเบาหวานว่า ให้ปรึกษาหมอหน่อยก็ดีนะ เรื่องที่จะหาอะไรมารัดน่องนี่น่ะ ที่ง่ายคือการนอน (อย่าหลับ) ยกขาขึ้นมาพาดอะไรที่สูงหน่อยในตอนบ่ายนั้น ก็ต้องบริหารเรื่องเวลาเหมือนกัน ไม่เร็วไป (เพิ่งผ่านเวลาเช้ามาหยกๆ) หรือช้าไป (จะเข้านอนอยู่แล้ว) เพราะจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรทั้งคู่ เวลาแดดร่มลมตก นึกถึงเปลญวนขึ้นมาทีเดียว เพราะเป็นเปลที่ขาถูกยกขึ้นมา ไม่ได้นอนราบๆ แต่ไม่มีเปลญวนก็ไม่เป็นไร หาอะไรหนุนขาเอาก็ได้ อย่างไรก็ตาม วันนี้ ผมเลยได้ไอเดีย ที่ทำให้ชีวิตสบายขึ้นเยอะ เพราะว่า ... แทนที่จะนั่งเขียนบทความ บ่ายวันนี้ ผมนอนยกขาเขียนครับ !! ... @_@ ... วัชระ นูมหันต์ 20 ธันวา 63ผู้บริโภคเฝ้าระวังMrs.Doubt• 4 ปีที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยกราโนล่า” คุณค่าสูงแต่ไม่ช่วยให้ลดน้ำหนักการลดน้ำหนักเป็นกระแสสนใจของผู้นักสุขภาพจำนวนมาก อาหารประเภทที่อิ่มท้องแต่ไม่เพิ่มหนักจึงได้รับความสนใจอย่างมาก และหนึ่งในข้อมูลที่มีการเผยแพร่กันในแวดวงผู้รักสุขภาพอย่างหนึ่งก็คือ ‘กราโนล่า’ คืออาหารที่เหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งเป็นความเชข้าใจที่ผิดstd48061• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกราโนล่าคุณค่าสูงแต่ไม่ช่วยให้ลดน้ำหนักเนื่องจากกราโนล่าประกอบไปด้วยธัญพืชและผลไม้อบแห้ง หลายคนจึงเชื่อว่า อาจเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือทดแทนอาหารมื้อหลักได้ในบางครั้งmeandyouxq• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกราโนล่าคุณค่าสูงแต่ไม่ช่วยให้ลดน้ำหนักกราโนล่าเป็นอาหารที่มีพลังงานและคุณค่าทางอาหารสูง ทำให้กินแล้วอยู่ท้องนาน เหมาะเป็นอาหารเช้า โดยกราโนล่า 1/3 ถ้วยอาจให้พลังงานสูงถึง 160-200 กิโลแคลอรี และเนื่องจากเป็นธัญพืชไม่ขัดสี ทำให้มีสารอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต, ไขมันจากถั่วเป็นไขมันดี, วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ มีไฟเบอร์สูงจึงมีใยอาหารที่ช่วยระบบขับถ่าย ท้องไม่ผูกmeandyouxq• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยพ่อ แม่ ลูก กรุ๊ปเลือดไม่เหมือนกัน ใช่ครอบครัวเดียวกันไหมปัจจุบันการตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็น พ่อ แม่ ลูก สามารถทำได้ง่ายขึ้น แต่ก่อนจะไปพิสูจน์เชื้อสายของครอบครัวนั้น มีบางกรณีที่ พ่อ แม่ ลูก กรุ๊ปเลือดไม่เหมือนกัน จึงเกิดความสงสัยได้ว่า ไม่ได้สืบเชื้อสายกันหรือไม่ แล้วทำไม กรุ๊ปเลือดพ่อแม่ลูกไม่ตรงกันItsaree Rungninrat• 2 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยซิลิโคนทำให้อุดตันจริงไหมถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาเป็นสิวง่าย และเป็นคนที่สนใจในการอ่านส่วนผสมบนฉลากเครื่องสำอาง คุณคงจะพยายามมองหาส่วนผสมที่ทำให้เกิดการอุดตันและเลี่ยงที่จะใช้มันKhairun Nisa• 4 ปีที่แล้วmeter: middle3 ความเห็น
- 1 คนสงสัยฉีดวัคซีน astrazeneca อันตรายไหมที่ผ่านมามีข่าวเรื่องการฉีดวัคซีนastrazeneca แล้วมีผลข้างเคียงตั้งแต่อาการเบาคือ มีไข้ จนไปถึงอาการหนักที่สุดคือเสียชีวิต เราจึงอยากรู้ว่าการฉีดวัคซีนอันตรายต่อกันทุกคนไหม?Supawat• 4 ปีที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยhttps://m.facebook.com/story.php?story_fbid=817007079094903&id=344089676386648ไม่ระบุชื่อ• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่ติดเชื้อกันเองภายในบ้านมากสุดจริงหรือไม่จากข้อมูลในช่วงวันที่ 4-10 เม.ย.63 พบผู้ป่วยทั้งหมด 495 คน เป็นผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 144 คน (29% ของผู้ป่วยทั้งหมด) ส่วนใหญ่มีการแพร่โรคภายในครัวเรือน และสถานที่ทำงาน โดยแบ่งเป็นครอบครัว มีจำนวน 81 คน หรือ 56% จำแนกเป็นคู่สามีภรรยา บิดามารดา ญาติอื่นๆ/ผู้อาศัยร่วมบ้าน และบุตรโควิด 2019naydoitall• 5 ปีที่แล้วmeter: true1 ความเห็น

ไม่พบข้อความที่คุณค้นหา
หากคุณสงสัยว่าข้อความที่พบเป็นข่าวลวง ข่าวลือ หรือ ข้อความหลอก ที่ยังไม่พบใน Cofact กรุณาคลิกที่
สร้างข้อความ