13209 ข้อความ
- 1 คนสงสัยเรื่อง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เชิญชวนเข้าร่วมอบรมเทรดเดอร์หุ้นผ่านเพจ SET Bangkokจากที่มีการปรากฏข้อมูลบนสื่อออนไลน์เรื่องตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เชิญชวนเข้าร่วมอบรมเทรดเดอร์หุ้นผ่านเพจ SET Bangkok ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าเพจดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็std47930• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัย“บิวกิ้น-พีพี” ขอพื้นที่ส่วนตัว ไม่ตอบว่า ใครมีแฟนแล้วเป็นคู่จิ้นที่มีแฟนคลับติดตามมากเลยทีเดียวสำหรับ “บิวกิ้น” พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล และ “พีพี” กฤษฏ์ อำนวยเดชกร จับคู่กันโกยงานโกยเงินเป็นว่าเล่น แต่ล่าสุดก็มีกระแสข่าวออกมาว่า มีคู่จิ้นชื่อดังที่ตอนนี้มีแฟนแล้ว ทำเอาแฟนคลับเซ็ง เรื่องนี้บิวกิ้นพีพีบอกว่า ขอให้เป็นพื้นที่ส่วนตัว ถึงใครจะมีแฟนแต่ก็จะคอยซัพพอร์ตกันต่อไปstd47942• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยร่างกายอักเสบ ตัวร้อน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกได้จากที่มีการให้ข้อมูลโดยระบุว่า ร่างกายอักเสบ ตัวร้อน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกได้ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า โรคหลอดเลือดสมอง มี 2 ประเภทคือ สมองขาดเลือด และภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง โดยพบโรคหลอดเลือดตีบตันมากกว่าเส้นเลือดแตกในสมอง ซึ่งภาพรวมพบภาวะสมองขาดเลือดมากกว่าเลือดออกในสมอง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทั้งสองภาวะนี้คือ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคไต โรคภาวะอุดกั้นลมหายใจขณะนอน (OSA) เป็นต้นstd47929• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสูตรยาผีบอก! “น้ำส้มสายชูผสมมะกรูด พ่นแก้โควิด” ไม่จริงอย่าหาทำว่าเรื่อง "เขย่าขวดน้ำ ให้ได้น้ำโมเลกุลเล็ก" ประหลาดแล้ว นี่มาเจอสูตรต้าน covid อีกแบบ ให้เอา "น้ำส้มสายชู ผสมกับน้ำตาล" แล้วอ้างว่าจะได้ "ก๊าซโอโซน" ออกมาช่วยเสริมออกซิเจนในร่างกายได้ 555 ไปกันใหญ่เลย มีออกมาหลายสูตรเลย ทั้งแบบทำเป็นน้ำ เอาไว้ดื่มกิน เอาโอโซนมาเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย .หรือเอามาทำเป็นสเปรย์ ฉีดพ่นบ้านเรือน อ้างว่าก๊าซโอโซนจะออกมาฆ่าเชื้อโรคstd47950• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเรื่อง เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาด มาพร้อมกับโรคติดต่อของหมูพบข่าวเกี่ยวกับสุขภาพมากถึง 6 อันดับ โดยส่วนใหญ่เป็นประเด็นใกล้ตัว ทั้งปัญหาสุขภาพที่คนวิตกกังวล ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในชีวิตประจำวัน รองลงมาสินเชื่อเงินกู้ หลอกลงทุนออนไลน์ จึงคาดว่าอาจเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้เข้าถึงความสนใจของผู้รับข่าวสาร”std47930• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสวีเดน’ บรรจุ ‘เซ็กซ์’ เป็นกีฬา! จากเนื้อหาคลาดเคลื่อน (MISINFORMATION) สู่ข้อมูลผิดพลาดที่ถูกแชร์ไวแบบไฟลามทุ่งเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2566 มีเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นที่ฮือฮามาก เมื่อมีรายงานข่าวทั้งจากสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศระบุว่า “สวีเดนเป็นประเทศแรกในโลกที่บรรจุ ‘เซ็กซ์ (Sex)’ หรือการมีเพศสัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬาประเภทหนึ่ง” ตามด้วยการแชร์ข่าวทั้งบนโลกออนไลน์ (รวมถึงผู้เขียนเองก็มีคนรู้จักกันมาสอบถามว่าข่าวนี้จริงหรือเปล่า?) ก่อนที่เพียงไม่กี่วัน “ความจริงก็กระจ่าง” ว่าเรื่องทั้งหมดเป็นเพียง “ข้อมูลคลาดเคลื่อน (Mislead หรือ Misinformation)” ทำเอาคนที่ตื่นเต้น (และสงสัยว่าของแบบนี้มันแข่งกันได้ด้วยหรือ?) รอเก้อไปตามๆ กัน “การแข่งขันเซ็กซ์ชิงแชมป์ยุโรป (European Sex Championship) ผู้เข้าร่วมจะแข่งขันใน 16 รูปแบบ (Discipline) ในช่วง 6 สัปดาห์ การแข่งขันแต่ละรูปแบบจะใช้เวลาระหว่าง 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง และผู้เข้าร่วมอาจต้องแข่งขันนานถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 20 คนจากประเทศต่างๆ ส่วนการหาผู้ชนะจะมีคณะกรรมการให้คะแนน รวมถึงการร่วมให้คะแนนโดยผู้ชม นอกจากนั้น ยังมีคะแนนพิเศษหาผู้เข้าแข่งขันแสดงความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของกามาสุตรา (Kamasutra-ตำราสอนเพศศึกษาของอินเดียโบราณ)” รายงานจาก Marca หนังสือพิมพ์กีฬาในสเปน วันที่ 5 มิ.ย. 2566 “นักกีฬาจะต้องแข่งขันอย่างทรหดเป็นเวลา 6 ชั่วโมงต่อวันใน 16 รูปแบบ มีการให้คะแนนโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ตามเกณฑ์อันประกอบด้วยการสื่อสาร (Communication) ความอดทน (Endurance) ความเข้ากันได้ (Chemistry) และความรู้เรื่องเพศศึกษา (Sex Education) อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rates) และความดันโลหิต (Blood Pressure) จะได้รับการพิจารณาด้วย และยังเปิดให้ผู้ที่รับชมถ่ายทอดสดได้ร่วมให้คะแนนอีกทางหนึ่ง” รายงานจาก The Sun หนังสือพิมพ์ในอังกฤษในวันที่ 4 มิ.ย. 2566 อย่างไรก็ตาม มีคำยืนยันจาก แอนนา เซ็ทซ์แมน (Anna Setzman) โฆษกของสมาพันธ์กีฬาสวีเดน (Swedish Sports Confederation) องค์กรกลางในแวดวงกีฬาของสวีเดนที่รับจดทะเบียนสมาคมกีฬาชนิดต่างๆ (เช่นเดียวกับในไทยที่มี “การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)” เป็นองค์กรกลางรับจดทะเบียน) ที่ออกมายืนยันว่าข่าวดังกล่าวเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน และสวีเดนยังไม่มีการรับรองเซ็กซ์เป็นกีฬาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใดstd47964• 1 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยห้ามใช้โทรศัพท์ขณะทำอาหารในห้องครัวจะเป็นอันตรายกรณีที่มีผู้โพสต์ข้อมูลให้คำแนะนำเกี่ยวกับห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ หรือรับโทรศัพท์ในห้องครัว ขณะกำลังทำอาหารจะเป็นอันตรายนั้น ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การใช้หรือรับโทรศัพท์ในห้องครัว ในขณะที่เตาแก๊สยังเปิดอยู่ ไม่ได้เป็นอันตราย กล่าวคือไอของแก๊สที่ออกจากเตาขณะที่เรากำลังทำอาหาร แก๊สนั้นถูกเผาไหม้จนหมดสิ้นแล้วจนไม่สามารถไปจุดประกายไฟที่อื่นได้อีกstd47929• 1 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ร่างกายอักเสบ ตัวร้อน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกได้ตามที่มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่องร่างกายอักเสบ ตัวร้อน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd47941• 1 ปีที่แล้ว2 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
- 1 คนสงสัยอาหารผัดน้ำมัน ทำให้ติดเชื้อภายใน มีตกขาว ประจำเดือนมาไม่ปกติกรณีที่มีข้อความถูกแชร์ต่อในโลกโซเชียลเรื่องอาหารผัดน้ำมัน ทำให้ติดเชื้อภายใน มีตกขาว ประจำเดือนมาไม่ปกตินั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd47930• 1 ปีที่แล้ว
- 5 คนสงสัย‘อนามัยโลก’ ปลด ‘โควิด’ พ้นสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ ‘ข่าวปลอม’ ยังคงถูกแชร์1) “พยาบาลศิริราชส่งไลน์มาค่ะ ด่วน ด่วน ด่วน อ.หมอประสิทธิ์ ออกประกาศให้ประชาชนปิดพื้นที่ (lockdown) ครอบครัวของตนเอง ไวรัสระบาดหนัก หมอจะเอาไม่อยู่แล้ว อ่านแล้วส่งต่อออกไปกันมากๆ หน่อย เหตุเกิดที่มีนบุรี น่าจะเป็นสายพันธุ์แลมบ์ดา กำลังระบาด อาการไอเป็นเลือดแล้วเสียชีวิตแล้ว มีเพื่อนกี่คน มีกลุ่มไลน์กี่กลุ่มส่งไปให้หมดเลยนะคะ ช่วยกันเพื่อตัวเราเองและเพื่อนร่วมโลก” (2) “* ประกาศ **ด่วนที่สุดและสำคัญมาก!!!! คุณหมอที่โรงพยาบาลรามา แนะนำว่า ต่อไปนี้ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากซ้อนกัน 2 ชั้นให้แนบสนิท ทุกครั้งที่ออกจากบ้านเลยนะ และห้ามถอดออกเด็ดขาด อาจารย์บอกว่า ยอดคนที่ติดเชื้อแล้วแต่ไม่ออกอาการ ไม่น่าเชื่อว่า..จะมีจำนวนสูงมากขนาดนี้ หมอบอกว่า มันน่ากลัวแล้วล่ะทีนี้ เวลาเราเดินสวนกับคนอื่นๆ ที่ไม่ออกอาการ สามารถเจอได้ทั่วไป ตามห้าง ตลาด ท้องถนน อาคารสำนักงาน รถโดยสาร โดยที่เราไม่ทันระวังตัว เพราะด้วยความไม่รู้หรือประมาท คิดว่าไม่เป็นไรหรอก ‘คุณคิดผิด‘ จะบอกว่าไม่จำเป็นอย่าไปพบปะกับใครนอกบ้าน ห้ามคนนอกครอบครัวเข้ามาในบ้านเราเด็ดขาด อันนี้ขอเลย ไม่ต้องนัดให้ใครมาหาที่บ้าน ระบบของโรงพยาบาลที่ช่วยเหลือโควิด มันแน่นและแทบจะทะลักอยู่แล้ว ถ้าทุกคนไม่ให้ความร่วมมือตามคำแนะนำ จะเกิดความสูญเสียที่มหาศาลในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ต้องร่วมใจกัน สถานการณ์ตอนนี้มันหนักขึ้นกว่าเดิม” (3) “###คำแนะนำในโรงพยาบาลกักกัน (เราสามารถนำไปใช้ที่บ้านได้) ยาที่ดำเนินการในโรงพยาบาลกักกัน 1.วิตามินซี –1000 2.วิตามินอี (E) 3.เวลา 10.00-11.00 น. นั่งตากแดด 15-20 นาที 4.อาหารไข่วันละครั้ง 5.พักผ่อน/นอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง 6.ทุกวันเราดื่มน้ำ 1.5 ลิตร 7.อาหารทุกมื้อต้องทานแบบร้อน (ไม่เย็น) นี่คือสิ่งที่เราทำในโรงพยาบาลเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน” (4) “โปรดทราบว่า ค่าความเป็นด่างหรือค่า pH ของ COVID-19 อยู่ระหว่าง 5.5-8.5 ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำเพื่อกำจดไวรัส คือการกินอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง และเป็นกรดมากกว่าโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เช่น สัปปะรด มะนาวเขียว มะนาวเหลือง ส้มโอ ส้ม มังคุด มะปราง” (5) “คุณรู้ได้อย่างไรว่าคุณติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่? 1.คันคอ 2.คอแห้ง 3.อาการไอแห้ง 4.อุณหภูมิร่างกายสูง 5.หายใจถี่ 6.การสูญเสียกลิ่น ก่อนที่ไวรัสจะติดเชื้อในปอด น้ำอุ่นผสมมะนาวสามารถกำจัดไวรัสได้”โควิด 2019std47964• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสเปรย์พ่นปากฟ้าทะลายโจร ตราวี เฟรช สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้ตามที่มีการโฆษณาทางสื่อสั่งคมออนไลน์ต่างๆ เรื่อง สเปรย์พ่นปากฟ้าทะลายโจร ตราวี เฟรช สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นเครื่องสำอาง ใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ไม่มีผลในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้std47931• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ท้องฟ้าปิด ฝนตก ลูกเห็บ ทอร์นาโด น้ำท่วม คือสัญญาณเตือนก่อน-หลัง จะเกิดสึนามิตามที่มีการแนะนำในประเด็นเรื่อง ท้องฟ้าปิด ฝนตก ลูกเห็บ ทอร์นาโด น้ำท่วม คือสัญญาณเตือนก่อน-หลัง จะเกิดสึนามิ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd47941• 1 ปีที่แล้ว
- 2 คนสงสัยกินเผ็ดเพิ่มระบบเผาผลาญในร่างกายได้จริง หรือตามที่มีข้อมูลแนะนำด้านสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกินเผ็ดเพิ่มระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้ผอมเร็ว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดยข้อมูลในสื่อออนไลน์ที่พบจะระบุว่า การกินเผ็ดจะเป็นการเพิ่มระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้ผอมเร็วขึ้นจากสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริก กรณีนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่ากินพริกทำให้น้ำหนักลงได้ โดยพริกเป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อนเนื่องจากมีสาระสำคัญ คือ แคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็น Pungent agent ทำให้ระคายเคืองและแสบร้อนstd47950• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! SET เปิดเพจเฟซบุ๊กใหม่อย่างเป็นทางการจากที่มีการปรากฏข้อมูลบนสื่อออนไลน์เรื่อง SET เปิดเพจเฟซบุ๊กใหม่อย่างเป็นทางการ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าเพจดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ ตามที่มีการตรวจพบเพจเฟซบุ๊กตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET ถูกสร้างเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เพจดังกล่าวไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากหน่วยงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งยังมีการแอบอ้างชื่อ และโลโก้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นการกระทำที่ไม่เป็นผลดีต่อองค์กรและประชาชนดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.set.or.th หรือ โทร. SET Contact Center 02-009-9999 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เพจดังกล่าวไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากหน่วยงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งยังมีการแอบอ้างชื่อ และโลโก้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นการกระทำที่ไม่เป็นผลดีต่อองค์กรและประชาชนandawinter0• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเสียงกระซิบจากผู้หวังดี: สื่อไทยกับความเสี่ยงต่อการปล่อยข่าวลวงรายงานเชิงวิเคราะห์โดย กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ ที่ปรึกษาโคแฟค ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา องค์กรไม่แสวงผลกำไรสากลที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับข่าวลวง Global Disinformation Index (GDI) ได้เผยแพร่รายงานประเมินความเสี่ยงของสำนักข่าวออนไลน์ในไทยต่อการเผยแพร่ข่าวลวงเป็นครั้งแรก โดยวิเคราะห์จากทั้งเนื้อหาและระบบการปฏิบัติงานของเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ 33 แห่งที่มียอดผู้เข้าชมทางเว็บไซต์และการเข้าถึงทางโซเชียลมีเดีย เป็นลำดับต้นๆ พบว่า ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงอยู่ที่ 57 จาก 100 คะแนนซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงระดับปานกลางและใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ฟิลิปปินส์ ( 55.32) อินโดนีเซีย (63)และ มาเลเซีย (59 ) ซึ่งได้มีการประเมินไปก่อนหน้านี้ ( ดูรายงานเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของGDI ) รายงานการวิจัยซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง GDI กับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า เว็บไซต์ข่าว 15 แห่งมีความเสี่ยงปานกลาง 14 แห่งมีความเสี่ยงสูง 2 แห่งมีความเสี่ยงสูงสุด และอีก 2 แห่งมีความเสี่ยงต่ำ แต่ไม่มีสื่อใดมีความเสี่ยงต่ำสุด โดยในจำนวนนี้ มีสื่อโทรทัศน์ทั้งของภาครัฐและเอกชนและสื่อสิ่งพิมพ์เอกชนที่เผยแพร่เนื้อหาผ่านช่องทางออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่หันมาทำธุรกิจสื่อออนไลน์อย่างเดียว และสำนักข่าวออนไลน์เกิดใหม่รวมทั้งสื่อทางเลือก ซึ่งมีคนเข้าชมเป็นลำดับต้นๆจากการจัดลำดับของ www.alexar.com และมียอดการเข้าถึงของผู้ใช้งานในเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์สูง (ดูรายชื่อสำนักข่าวออนไลน์ที่ถูกประเมินตามตารางแนบท้ายข่าว) รายงานดังกล่าวถือเป็นกลไกใหม่ในการเสริมสร้างความน่าเชื่อให้กับสื่อมวลชนทั่วโลกที่ถูกโอบล้อมอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรของข้อมูลลวงหรืออาจเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ โดยไม่มีการระบุชื่อสื่อที่ถูกประเมินในรายงานว่าได้คะแนนเท่าไหร่ แต่ทาง GDI จะมีการแจ้งให้สื่อเหล่านั้นทราบโดยตรงก่อนลงมือทำงานวิจัย และแจ้งอีกครั้งหลังทำงานเสร็จลุล่วงว่าสื่อนั้นมีความเสี่ยงต่อข้อมูลลวงมากน้อยเพียงใด ด้วยปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง พร้อมทั้งให้คำแนะนำว่าควรจัดการกับความเสี่ยงอย่างไร ในการประเมินผล ทีมวิจัยประเทศไทยใช้กระบวนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานของGDI โดยมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในด้านเนื้อหาและระบบการปฏิบัติงานจากเกณฑ์ชี้วัดหลักในแต่ละด้าน 10 ข้อ และ 6 ข้อตามลำดับ เมื่อนำความเสี่ยงทั้งสองด้านมาถัวเฉลี่ยกันก็จะเป็นค่าความเสี่ยงที่แต่ละสื่อได้รับจากคะแนนเต็ม100 โดยแบ่งระดับความเสี่ยงเป็น 5 ระดับ คือ ระดับต่ำสุด (80.28-100) ต่ำ (68.84-80.27 ) ปานกลาง (57.41-68.83) สูง (45.97-57.40) และสูงสุด (0-45.97 ) ทั้งนี้เนื้อหาที่นำมาวิเคราะห์มาจากการข่าวหรือบทความ 20 ตัวอย่างที่ถูกคัดเลือกจากแต่ละสื่อที่ถูกประเมิน โดยแบ่งเป็นเนื้อหาที่มีผู้แชร์บ่อย 10 ตัวอย่าง และเนื้อหาที่มีความเสี่ยงต่อข้อมูลลวงหรือที่สร้างความขัดแย้ง (adversarial narratives) ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสุขภาพ เป็นต้นฯ 10 ตัวอย่าง (ดูรายละเอียดกระบวนการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้ในรายงานฉบับเต็ม) ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงต่ำด้านเนื้อหา (79/100) ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงสูงด้านระบบการปฏิบัติงานขององค์กรสื่อและกองบรรณาธิการ (35/100) ผลการประเมินพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้สื่อมีความเสี่ยงสูงต่อการเผยแพร่ข่าวลวงมาจากความไม่โปร่งใสหรือชัดเจนในนโยบายขององค์กรสื่อและแนวปฏิบัติของกองบรรณาธิการ (Operation Risk) เช่น ไม่ระบุความเป็นเจ้าของสื่อและแหล่งทุนหรือที่มาของรายได้ และไม่มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการกลั่นกรองข้อมูลหรือตรวจสอบข้อเท็จชัดเจนของกองบรรณาธิการทั้งก่อนและหลังเผยแพร่เนื้อหา มากกว่าความเสี่ยงด้านเนื้อหา (Content Risk) ของสื่อส่วนใหญ่ที่ถูกประเมิน ซึ่งถือว่าปราศจากความลำเอียง ไม่ใช้ภาษาหรือภาพที่หวือหวาหรือพาดหัวคลาดเคลื่อน และ ไม่ได้มุ่งสร้างความขัดแย้งแม้ว่าสังคมไทยยังตกอยู่ในภาวะแบ่งขั้วทางการเมือง นอกจากนี้ แนวโน้มที่พบคือ สื่อที่ถูกประเมินกว่าครึ่ง มีเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงด้านระบบการปฏิบัติงานในเรื่องนโยบายการเปิดเผยความเป็นจ้าของสื่ออยู่ในระดับที่ต่ำ กล่าวคือไม่มีนโยบายหรือไม่เปิดเผยความเป็นเจ้าของบนหน้าเว็บอย่างชัดเจน และจำนวน 28 แห่งไม่มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่หรือการแก้ข่าวภายหลังอย่างชัดเจน ทำให้เกณฑ์ชี้วัดในเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดได้รับคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด (3/100) นอกจากนี้สื่อส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการระบุชื่อผู้สื่อข่าวหรือทีมงานที่ผลิตข่าวชิ้นนั้น (byline) ตลอดจนไม่ระบุหรือชี้แจงแนวปฏิบัติในการอ้างที่มาของแหล่งข่าวและแหล่งข้อมูลในข่าวอย่างชัดเจน (sources and attribution) ซึ่งเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ถือเป็นแนวปฏิบัติตามหลักวารศาสตร์ที่สำคัญ ( major journalistic practice)ในการแสดงความโปร่งใสขององค์กรสื่อ ความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ และความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเผยจะเผยแพร่ข้อมูลลวงใหต่อสาธารณะ และสร้างความไว้วางใจต่อผู้รับสารstd47964• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยปรากฏการณ์ APHELION โลกจะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ระยะทาง 5 นาทีแสง หรือ 90,000,000 กิโลเมตรตามที่มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องปรากฏการณ์ APHELION โลกจะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ระยะทาง 5 นาทีแสง หรือ 90,000,000 กิโลเมตร ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจาก Aphelion เป็นปรากฏการณ์ที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งมีระยะห่างประมาณ 152,100,000 กิโลเมตร หรือ 8 นาทีแสง ดังนั้นโลกไม่เคยเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ถึง 90,000,000 กิโลเมตรstd47931• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ห้ามใช้โทรศัพท์ขณะทำอาหารในห้องครัวจะเป็นอันตรายตามที่มีคำแนะนำเผยแพร่บนสื่อออนไลน์เรื่องห้ามใช้โทรศัพท์ขณะทำอาหารในห้องครัวจะเป็นอันตราย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าข้อความที่ปรากฏนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีผู้โพสต์ข้อมูลให้คำแนะนำเกี่ยวกับห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ หรือรับโทรศัพท์ในห้องครัว ขณะกำลังทำอาหารจะเป็นอันตรายนั้น ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การใช้หรือรับโทรศัพท์ในห้องครัว ในขณะที่เตาแก๊สยังเปิดอยู่ ไม่ได้เป็นอันตราย กล่าวคือไอของแก๊สที่ออกจากเตาขณะที่เรากำลังทำอาหาร แก๊สนั้นถูกเผาไหม้จนหมดสิ้นแล้วจนไม่สามารถไปจุดประกายไฟที่อื่นได้อีกStd47935• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวบิดเบือน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและตอนกลาง มีความผิดปกติที่ SST อาจส่งผลให้น้ำท่วมถึงประเทศไทยตามที่มีข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและตอนกลาง มีความผิดปกติที่ SST อาจส่งผลให้น้ำท่วมถึงประเทศไทย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือนstd47941• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยดื่มน้ำอัดลมเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งจากกรณีที่มีการแชร์ข้อความว่า หากดื่มน้ำอัดลมจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลากหลายชนิด เช่น โรคมะเร็งมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อนstd47950• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวเดท ‘จีซู BLACKPINK’ และ ‘ซนฮึงมิน’ข่าวลือการออกเดทของทั้ง 2 คนเป็นเพียงข่าวลือที่โผล่ขึ้นมาเป็นระยะตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งแฟนๆ เริ่มตั้งข้อสังเกตแรกตั้งแต่ จีซู ไปชมเกมที่สนามกีฬาทอตแน่ม เเละกรณีที่ทั้งสองสวมสร้อยข้อมือคู่ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าสร้อยข้อมือที่ ‘ซนฮึงมิน’ สวมนั้นเป็นสร้อยข้อมือมิตรภาพระหว่างผู้เล่น และสร้อยข้อมือของ จีซูstd47942• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอมอย่าแชร์! ผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิงตามที่มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่องผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีดาษลิงแต่อย่างใด โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วย การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมควบคุมโรค สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ddc.moph.go.th หรือโทร 1422 ได้ตลอด 24 ชม. บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่เป็นความจริงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีดาษลิง และเชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะรวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ อ่านข่าวข้างต้น : หมอจุฬาฯ แนะ "สวมแมสก์ - เครื่องวัดอุณหภูมิ" ยังจำเป็น! ป้องกัน "ฝีดาษลิง" โรคที่ยังไม่มียารักษาstd47948• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! ร่างกายอักเสบ ตัวร้อน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกได้ตามที่มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่องร่างกายอักเสบ ตัวร้อน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการให้ข้อมูลโดยระบุว่า ร่างกายอักเสบ ตัวร้อน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกได้ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า โรคหลอดเลือดสมอง มี 2 ประเภทคือ สมองขาดเลือด และภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง โดยพบโรคหลอดเลือดตีบตันมากกว่าเส้นเลือดแตกในสมอง ซึ่งภาพรวมพบภาวะสมองขาดเลือดมากกว่าเลือดออกในสมอง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทั้งสองภาวะนี้คือ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคไต โรคภาวะอุดกั้นลมหายใจขณะนอน (OSA) เป็นต้น อาการแสดงสำคัญที่ควรรู้ และควรสังเกตอย่างสม่ำเสมอ มีดังนี้ ชา หรืออ่อนแรงที่หน้า แขน หรือขา ซีกใดซีกหนึ่งอย่างทันทีทันใด พูดลำบาก พูดไม่ได้หรือไม่ชัด หรือไม่เข้าใจคำพูดอย่างทันทีทันใด มีปัญหาการมองเห็น ตามัว หรือเห็นภาพซ้อนของตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างอย่างทันทีทันใด มีอาการมึนงง เวียนศีรษะ เดินไม่ได้ เดินลำบาก เดินเซ หรือสูญเสียการทรงตัวในการยืนและเดินอย่างทันทีทันใด ปวดศีรษะรุนแรงอย่างทันทีทันใดโดยไม่ทราบสาเหตุStd47935• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยคลอรีนผงผสมน้ำเพื่ออาบ ทำให้ผิวขาวตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องคลอรีนผงผสมน้ำเพื่ออาบ ทำให้ผิวขาว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ คลอรีนเป็นสารกัดกร่อน จัดเป็นวัตถุอันตรายใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรค ไม่เหมาะกับร่างกายของมนุษย์ อีกทั้งจัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หากสัมผัสผิวหนังในปริมาณมากจะทำให้ผิวหนังไหม้รุนแรง ระคายเคืองดวงตาและระบบทางเดินหายใจ แนะใช้ตรงตามวัตถุประสงค์และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก เพื่อความปลอดภัยสุขภาพstd47931• 1 ปีที่แล้วmeter: mostly-true--middle4 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเรื่อง พุทธรักษาดอกขาว ช่วยรักษาโรคมะเร็งพุทธรักษาดอกขาว ช่วยรักษาโรคมะเร็ง 5 มิถุนายน 2023 | 16:30. ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องพุทธรักษาดอกขาว ช่วยรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd47930• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวลือที่ว่าวันที่ 21 ธันวาคม 2012 เป็นวันสิ้นโลกข่าวลือที่ว่าวันที่ 21 ธันวาคม 2012 เป็นวันสิ้นโลก โดยอ้างว่าเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น พายุสุริยะ แกนแม่เหล็กโลกพลิกขั้ว ดาวเคราะห์เรียงตัว หรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก แต่องค์การนาซ่า และนักวิทยาศาสตร์ของไทยยืนยันว่าวันนี้ไม่ใช่วันสิ้นโลกอย่างแน่นอนstd47941• 1 ปีที่แล้ว