13210 ข้อความ
- 1 คนสงสัยอย.ยัน ไม่มีครีม-เซรั่มใด ทาแล้วดั้งพุ่งใน 7 วัน เป็นแค่การอ้างสรรพคุณเกินจริงอย. ชี้แจงไม่มีครีมหรือเซรั่มใด ที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน ได้จริง เป็นเพียงการ กล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้แชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ครีม หรือเซรั่ม ที่สามารถทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกดั้งโด่ง ภายใน 7 วันนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้น ครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับภายนอกร่างกายของมนุษย์ รวมถึงฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อความสะอาด ความสวยงาม แต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ทำให้ดั้งโด่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณที่โกหกทั้งเพ เพราะครีมหรือเซรั่มเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวงสรรพคุณให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ถือเป็นการโฆษณาที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า อย. เคยออกข่าวเตือนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้เมื่อปี 2561 และกลับมาวนซ้ำอีกครั้ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา ขอให้ผู้บริโภคหยุดคิดก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการโฆษณาสรรพคุณต่างๆ ว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้ หากพบเห็นการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงขอให้แจ้งร้องเรียนที่สายด่วน อย. 1556std47993• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยวงเสวนาชี้ปัญหาข่าวปลอมเรื่องของทุกฝ่าย แหล่งข่าว-ผู้รับสารต้องร่วมมือกัน2 เม.ย. 2565 โคแฟค (ประเทศไทย) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สำนักข่าว ThaiPBS FNF Thailand และภาคีเครือข่าย จัดเสวนา “บทบาทสื่อไทยในการสกัดข่าวปลอม: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” ที่ รร.เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์ค้นหาข้อเท็จจริง ในวาระวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2565 ระหว่างวันที่ 28 มี.ค.-2 เม.ย. 2565std47990• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยจับผิดโฆษณาเกินจริง!! อกฟู รูฟิต ขาวไวติดสปีด ผอมขั้นเทพ ‘คำสวยหรู’ อาบยาพิษโฆษณาชวนเชื่อ “สบู่ผิวขาวยี่ห้อหนึ่ง” ที่ถูก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกมาฟันว่าเป็น “โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง” ผิดกฎหมาย พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยเรื่องการโฆษณา ฐานหลอกลวงทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของ “คำโอ้อวด” ที่ใช้โฆษณาขายสินค้าความสวยความงามที่จริงๆ ตอนนี้มี “เกลื่อนตลาด” และกำลังเป็นที่จับตาของสังคม หลังจากกรณีโป๊ะแตก!! “เมจิก สกิน” จากที่ได้สแกนๆ ดูคำโฆษณาขายเกลื่อนในอินเตอร์เน็ต ก็พบว่า ผลิตภัณฑ์ความสวยความงามที่มักมีคำอวดอ้างเกินจริง โดยส่วนใหญ่จะ “จับจุดอ่อน” ด้านบุคลิกภาพที่คนให้ความสำคัญมาเป็นกลยุทธ์ในการจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น -ลดสิวฝ้า หน้าขาว -ยับยั้งกระบวนการสร้างสีผิวที่ผิดปกติ เปลี่ยนสีผิวดำเป็นขาว ลบริ้วรอย เสริมสร้างคอลลาเจนใหม่เพิ่มการไหลเวียนเลือด -ซ่อมแซมเซลล์ผิวหน้า และกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิว ช่วยสร้างคอลลาเจนให้ผิวหน้าเต่งตึง -ปกป้องผิวจากโรคผิวหนัง ผด ผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา กลาก เกลื้อน -ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ชะลอการเกิดผมขาว -บำบัดอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ต้องเสี่ยงผ่าเข่า -ฟื้นฟูความแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย -ครีมขยายเสน่ห์ อกสวย ช่วยกระชับทรวงอก และขยายหน้าอกให้ดูอวอิ่มแต่งตึงได้รูป -ช่วยกำจัดเซลลูไลท์ ไขมันส่วนเกิน ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ซึ่งแต่ละคำอวดอ้างนั้น…ล้วน “สวยหรู” แต่หารู้ไม่ว่า “ซ่อนยาพิษ” ไว้ข้างหลัง -ผอมขั้นเทพ!! , ดื้อยาก็ลดได้ , ลดอ้วนเร่งด่วน , ผอมจริงไม่โย่โย่ , ลดจริงพิสูจน์ได้ , มหัศจรรย์ 7 วัน 5 กิโล -ขาวไวติดสปีด, บอกลาผิวดำ ผิวขาวถาวร บำรุงผิวแบบครบสูตร, สูตรผิวขาวไวเหมือนฉีดผิว (ไม่ต้องเจ็บตัว) , ขาวออร่าใน 7 วัน, ขาวขั้นเทพ , ขาวใสใน 1 นาที -แคลเซียมสูงแท้100% สูง 2-7/เดือน -เพิ่มสรรมถภาพทางเพศได้ -หน้าเรียว สวยเป๊ะ -ท้าพิสูจน์ หุ่นเฟิร์ม รูฟิต , อึ๋มจริง อกตู้ม , หน้าอกเต่งตึง ช่องคลอดกระชัด กระตุ้นอารมณ์ -หายขาด, หายแน่, วิเศษยิ่ง, ยอดเยี่ยม, รักษาโรคได้, พิชิตโรคร้าย, ปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง -ปาฎิหาริย์, สุดยอด!! , ฮีโร่, ชนะเลิศ, ดีเลิศ, ดีเด็ด, เลิศที่สุด , สุดเหวี่ยง , มหัศจรรย์ ข้อความเหล่านี้ เราในฐานะผู้บริโภคต้อง “รู้เท่าทันเหลี่ยม” ไม่หลงเชื่อง่ายๆ เพราะอาจส่งผลเสีย ทั้งทรัพย์สินและสุขภาพ อาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น ก่อนจะซื้อผลิตภัณฑ์สักชิ้น ต้องดูผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเป็นภาษาไทยชัดเจน มีเลขที่จดแจ้งระบุ มีชื่อผลิตภัณฑ์ วิธีใช้ แหล่งผลิต และส่วนประกอบ จึงจะถือเป็นฉลากที่ถูกต้อง และหากสงสัยว่ามีเลขที่จดแจ้งจริงหรือไม่ก็สามารถตรวจสอบได้ที่ สมาร์ท แอปพลิเคชั่น หรือโทรสายด่วน อย. 1556 เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรกินแล้วผอม อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรคได้ และอะไรที่ใช้แล้ว-กินแล้ว เห็นผลใน 3 วัน 7 วัน ฝันไปเถอะ!!!!std47993• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยโฆษกตร.เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวลวงปิดถนนสุขุมวิทโฆษกตร.เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวลวงปิดถนนสุขุมวิท ขาเข้ากรุงเทพฯ 2 ช่องทาง ตั้งแต่โรงเรียนนายเรือสมุทรปราการ-ทางด่วนบางนาดินแดง และปิดการจราจรบนทางด่วนบางนา-ดินแดง 2 ช่องทางstd48072• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยเตือนอย่าหลงเชื่อ เพจ Caixas e mimos ตัดต่อภาพแถลงข่าวของ สปสช.-ใส่ข้อความหลอกลวงประชาชนหน้าแรก Main navigation หน้าแรก ข่าว เฟคนิวส์ สุขภาพปฐมภูมิ โรคอุบัติใหม่ รายงาน Infographic ชุมชนสุขภาพ Search Friday, 10 June 2022 เตือนอย่าหลงเชื่อ เพจ Caixas e mimos ตัดต่อภาพแถลงข่าวของ สปสช.-ใส่ข้อความหลอกลวงประชาชน สปสช. เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ “เพจ Caixas e mimos” หลังนำภาพวันแถลงข่าว “โครงการแว่นตาสำหรับเด็กสายตาผิดปกติฯ” ตัดต่อใส่ข้อความ แอบอ้างหลอกลวงประชาชนหลงเชื่อ เตรียมดำเนินการทางกฎหมาย พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบโดยเร็ว วันที่ 10 มิถุนายน 2565 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า ตามที่มีเพจ Facebook ใช้ชื่อ Caixas e mimos ซึ่งอวดอ้างขายสมุนไพรให้กับผู้ป่วยโรคตา โดยได้มีการนำภาพงานแถลงข่าว "แว่นตาสำหรับเด็กสายตาผิดปกติ สิทธิประโยชน์บัตรทอง ของขวัญเพื่อเด็กไทยสายตาดี" ที่จัดโดย สปสช. เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ซึ่งมี นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย นพ.ไชยสิทธิ์ เทพชาตรี รองประธานกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาตาstd48072• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเผย Fake News กระทบสุขภาพคนไทยหนัก ทำคนเข้าใจผิด ตกเป็นเหยื่อข้อมูลเท็จสสส.ร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อ-วิชาการ-ภาคประชาสังคม จัดเวทีสัญจรรับมือข่าวลวง เพื่อหนุนเสริมการสร้างระบบนิเวศสื่อเพื่อสุขภาวะของไทย Fake News กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคม กว่า 1 ใน 3 ของข่าวปลอมส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและใจ สสส.ร่วมกับ คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ Change Fusion และเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จัดเวทีเสวนาสัญจร เรื่อง “สื่อท้องถิ่นกับการรับมือข่าวลวงและด้านมืดยุคดิจิทัล” นำร่องภูเก็ตเป็นจังหวัดแรก ด้านสื่อท้องถิ่นภาคใต้ผู้บริโภคเฝ้าระวังstd48072• 1 ปีที่แล้ว1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยแนะแนวทางสกัด “infodemic” ข่าวปลอม-ข้อมูลเท็จ ซ้ำเติมสถานการณ์ “โควิด-19” ระบาดหนักเชื่อมต่อโลกออนไลน์ ระดมความคิดเห็นและแนวทางรับมือ “โรคระบาดข้อมูลข่าวสาร - infodemic” ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 อย่างไร ไม่ให้ตื่นตระหนก และตกเป็นเหยื่อข่าวลวงข้อมูลเท็จ เมื่อเร็วๆ นี้ ในการเสวนาออนไลน์เรื่อง เราควรรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร (Infodemic) อย่างไรให้สมดุล จัดโดย ภาคประชาสังคม และกลุ่ม CoFact หรือ Collaborative Fact Checking แพลตฟอร์มใหม่ของภาคพลเมืองในการตรวจสอบข่าวลวงสุขภาพโควิด 2019ศุภาพิชญ์ จันทร์ภูญา• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยหลอกกันอีกแล้ว ! รู้ทันข่าวลวงก่อนแชร์ในโลกโซเชียลเคยสงสัยไหมว่า เว็บไซต์หรือแอคเคาท์บนโซเชียลถึงชอบสร้างข่าวลวง คำตอบง่าย ๆ นั่นก็คือ อยากได้ “ทราฟฟิค” ที่หมายถึงยอดผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือจำนวนผู้ติดตามนั่นเอง เพราะทราฟฟิคสามารถแปรเปลี่ยนเป็น “ต้นทุน” ในการหาสปอนเซอร์มากมาย ที่เดี๋ยวนี้การโปรโมทแบรนด์หรือข่าวสารต่าง ๆ บนโลกออนไลน์มีมูลค่าไม่แพ้สื่อสิ่งพิมพ์หรือทางโทรทัศน์เลย แล้วยังมีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มด้วย ผู้คนต่างมีอีกชีวิตหนึ่งบนโลกโซเชียล การซื้อขายหรือการเนียน ๆ ประชาสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือ เว็บไซต์หลอกลวงเหล่านี้มักนำเสนอด้วยหัวข้อ ภาพประกอบstd48100• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยสธ.จับมือ ดีอี ตำรวจ เอาผิดผู้โพสต์-แชร์ข่าวลวง ‘ไวรัสโคโรนา’กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) กล่าวโทษดำเนินคดีผู้โพสต์ แชร์ข่าวลวง ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนา ให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขศุภาพิชญ์ จันทร์ภูญา• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยผลการศึกษาพบ ‘เฟซบุ๊ค’ ขาดประสิทธิภาพตรวจจับ ‘ข่าวลวงโควิด-19’ผลการศึกษาจากสหรัฐฯ พบว่า เฟซบุ๊คนั้นเต็มไปด้วยข่าวปลอมและทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งคงอยู่บนแพลตฟอร์มนานพอที่จะทำให้ผู้คนนับล้านตกอยู่ในความเสี่ยงศุภาพิชญ์ จันทร์ภูญา• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอย.ขยายเครือข่ายภาคประชาชน “รู้ให้เท่า ก้าวให้ทัน กับข่าวลวง”อย. ผนึกกำลังคณะทำงานภาคประชาชน สร้างเครือข่าย “ รู้ให้เท่า ก้าวให้ทัน กับข่าวลวง (Fake News) บนโลกออนไลน์ หลังพบข่าวลวงบนโซเชียลฯ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพศุภาพิชญ์ จันทร์ภูญา• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารเสริมมณฑาและอัคคี ทานคู่กันสามารถป้องกันเส้นเลือดตีบ แขนขาอ่อนแรง เป็นยาอายุวัฒนะกรณีที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอาหารเสริมมณฑาและอัคคี ทานคู่กันสามารถป้องกันเส้นเลือดตีบ แขนขาอ่อนแรง เป็นยาอายุวัฒนะ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จstd48102• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยเรื่องกัญชารักษามะเร็งในอเมริกาShi S และคณะได้ตีพิมพ์งานวิจัยเพื่อประเมินแนวโน้มการแพร่กระจายข่าวลวงเรื่องกัญชารักษามะเร็ง ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ Cureus เดือนมกราคม 2019 เค้าวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลโดยใช้ Google trends ตั้งแต่ปี 2011-2018 ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างทีเดียวศุภาพิชญ์ จันทร์ภูญา• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางานรับสมัครผู้สนใจเรียนและทำงานที่ญี่ปุ่นตามที่มีการโพสต์ข้อมูลบนสื่อออนไลน์เรื่องกรมการจัดหางานรับสมัครผู้สนใจเรียนและทำงานที่ญี่ปุ่น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จstd48102• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอย. เปิดระบบยื่นคำขอจดแจ้งเครื่องสำอาง ผ่านระบบออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง จริงหรือ? ข่าวจริงข่าวปลอม! ร้านไก่ทอดชื่อดัง ฉลองวันเกิด แจกไก่ 3,000 ชิ้น - ผู้จัดการออนไลน์ 8 ต.ค. 2563 — ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อความปรากฏในสื่อต่างๆ ในประเด็นเรื่อง ร้านไก่ทอดชื่อดัง ฉลองวันเกิด แจกไก่ 3,000 ชิ้น ...std48067• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! BTS ให้ซื้อหุ้นด้วยเงิน 3,000 บาทามที่มีการแชร์ข้อมูลบนสื่อออนไลน์เรื่อง BTS ให้ซื้อหุ้นด้วยเงิน 3,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จstd48102• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอย. เปิดระบบยื่นคำขอจดแจ้งเครื่องสำอาง ผ่านระบบออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง จริงหรือ? ข่าวจริงกระทรวงดิจิทัลฯ เปิดเผย 10 อันดับข่าวปลอม ที่คนสนใจสูงสุด หากเจออย่าหลงเชื่อเด็ดขาด ย้ำ ควรตรวจสอบให้รู้เท่าทันstd48067• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม ข้อสอบใบขับขี่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก ในการเผยแพร่ข้อสอบบางส่วน และให้ความรู้ด้านการขับรถ คือเว็บไซต์ www.ขับขี่ปลอดภัย.com เท่านั้น เว็บไซต์อื่นไม่ใช่ของกรมการขนส่งทางบกstd48078• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอย. เปิดระบบยื่นคำขอจดแจ้งเครื่องสำอาง ผ่านระบบออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง จริงหรือ? ข่าวจริงอย. เปิดระบบยื่นคำขอจดแจ้งเครื่องสำอาง ผ่านระบบออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง จริงหรือ? ข่าวจริงstd48067• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! พายุเข้าไทย 77 จังหวัด ระวังน้ำท่วมใหญ่ ฝนตกหนักถึง 80%ข้อมูลดังกล่าว เป็นข่าวปลอม โดยในช่วงวันที่ 7 – 13 ก.ค. 66 มีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปานกลางปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ประกอบกับความกดอากาศต่ำ ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งstd48078• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอมตามที่มีการโพสต์ข้อมูลบนสื่อออนไลน์เรื่องกรมการจัดหางานรับสมัครผู้สนใจเรียนและทำงานที่ญี่ปุ่น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ จากการตรวจพบข้อมูลบนสื่อออนไลน์เรื่องโครงการรับผู้สนใจ ทำงาน เรียนประเทศญี่ปุ่น ถูกกฎหมาย ผ่านกรมการจัดหางาน สมัครได้ถึง ธ.ค. 66 ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากการโฆษณาเชิญชวนคนไปทำงานผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียดังกล่าว ไม่มีรายละเอียดชื่อบริษัทจัดหางาน ตำแหน่งงาน และคุณสมบัติ ซึ่งไม่สามารถทำได้Pimpisa Pholwatcharin• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยกรณีที่มีการส่งต่อข้อความโดยระบุว่า ให้ขีดฆ่าคิวอาร์โคดบนสลิปเงิน ป้องกันการถูกแฮ็กบัญชีนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า การส่งสลิปหลักฐานการโอนเงินที่มี QR Code ที่สามารถสแกนข้อมูลตรวจสอบการโอนเงิน ไม่สามารถแฮ็กข้อมูลจากการสแกน QR Code ได้ เพราะ QR Code แสดงเพียงแค่เลขที่รายการหลักฐานการโอนเงินเท่านั้น ไม่มีข้อมูลที่สามารถแฮ็กบัญชีของผู้ทำรายการได้เลยกรณีที่มีการส่งต่อข้อความโดยระบุว่า ให้ขีดฆ่าคิวอาร์โคดบนสลิปเงิน ป้องกันการถูกแฮ็กบัญชีนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า การส่งสลิปหลักฐานการโอนเงินที่มี QR Code ที่สามารถสแกนข้อมูลตรวจสอบการโอนเงิน ไม่สามารถแฮ็กข้อมูลจากการสแกน QR Code ได้ เพราะ QR Code แสดงเพียงแค่เลขที่รายการหลักฐานการโอนเงินเท่านั้น ไม่มีข้อมูลที่สามารถแฮ็กบัญชีของผู้ทำรายการได้เลยstd48067• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยยาลดน้ำหนัก ภายใน7วันอ้างอิงเกินจริง ใช้สินค้าแล้วจะช่วยให้ผอมเรียว ใน5วันstd48093• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอมกรณีที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอาหารเสริมมณฑาและอัคคี ทานคู่กันสามารถป้องกันเส้นเลือดตีบ แขนขาอ่อนแรง เป็นยาอายุวัฒนะ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีผู้ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์สุขภาพว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมณฑา และอัคคี ทานคู่กันสามารถป้องกันเส้นเลือดตีบ แขนขาอ่อนแรง และเป็นยาอายุวัฒนะ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ มณฑา (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) เลข อย. 50-1-05258-5-0406 และ อัคคี (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) เลข อย. 50-1-05258-5-0404 ซึ่งการแสดงภาพผลิตภัณฑ์และข้อความ มณฑาช่วยเรื่อง ลดความดันสูง ขยายหลอดเลือดหัวใจ และสมอง อัคคีช่วยเรื่อง ขับไขมันในร่างกาย ไขมันอุดตันในหัวใจ ไขมันในเลือดPimpisa Pholwatcharin• 1 ปีที่แล้ว
- 1 คนสงสัยข่าวปลอม อย่าแชร์! BTS ให้ซื้อหุ้นด้วยเงิน 3,000ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากเพจปลอมได้มีการแอบอ้างชื่อ BTS ไปใช้ในการหลอกลวงนักลงทุน และ BTS ไม่เคยมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เรื่องนี้std48078• 1 ปีที่แล้ว