1 คนสงสัย
ต้องการตรวจสอบบัญชีนี้ว่ามีการใช้หรือไม่
ไม่ระบุชื่อ
 •  2 ปีที่แล้ว
2 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)
Joke Air เลือกให้ข้อความนี้⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ

เหตุผล

ไม่ทราบว่ากล่าวถึงเรื่องอะไร
ไม่ได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมที่จะนำมาใช้ตรวจสอบได้
  • มี 1 ความเห็น เจ้าของลบไปแล้ว.
  • เพิ่มความเห็นใหม่

    กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

    คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ . ตามที่มีการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน . กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลโดยระบุว่าพบกรดเบนโซอิกในก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ โดยแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากที่มีการแชร์ข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเมื่อปี 2550 ซึ่งสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการตรวจวิเคราะห์อาหารของประเทศ ได้มีการตรวจวิเคราะห์เฝ้าระวังการใช้วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค) ในอาหารประเภทเส้นมาอย่างต่อเนื่อง . นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งการผลิตอาหารประเภทเส้น บางชนิดมีการใช้วัตถุกันเสีย เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต หรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกรดเบนโซอิกทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย แต่หากได้รับในปริมาณน้อยร่างกายสามารถขับออกไปได้ ซึ่งข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตรและองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ (The joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives, JECFA) ได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (ADI) พบว่า มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์น้อย . อย่างไรก็ตามวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดมีข้อกำหนดการใช้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) สำหรับกรดเบนโซอิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในอาหารประเภทเส้นที่ผ่านกระบวนการต้ม การนึ่ง การปรุงให้สุกการพรีเจลาทิไนซ์ (Pre-gelatinized) หรือแช่เยือกแข็ง และเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป ส่วนกรดซอร์บิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เฉพาะอาหารประเภทเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป . เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเส้นที่ทำจากแป้งอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาผู้ผลิตให้มีความรู้ความเข้าใจการใช้วัตถุกันเสียอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งผู้ผลิตจะต้องควบคุมกระบวนการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP สำหรับผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด ถูกสุขอนามัย และไม่ควรรับประทานอาหารซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ . ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www3.dmsc.moph.go.th หรือโทร. 02 9510000 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลที่มีการบอกต่อดังกล่าวเป็นข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์เมื่อปี 2550 แต่ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ประเภทเส้นที่ทำจากแป้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . Website : https://www.antifakenewscenter.com/
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย.เตือนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อ้างลดอ้วน ‘De2xy และ Me2shape’ เสี่ยงอันตราย
    อย.เตือนสาวอยากผอมระวัง อย่าซื้อผลิตภัณฑ์อวดอ้างลดอ้วน De2xy และ Me2shape พบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ขออนุญาตกับ อย. แถมโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิต นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ “De2xy และ Me2Shape” ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้น อย.ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบการโฆษณาสรรพคุณอ้างลดน้ำหนักทางเฟซบุ๊กชื่อ Sunisa Lv’tl แสดงข้อความในทำนองช่วยควบคุมน้ำหนัก เปลี่ยนหุ่นเสีย เป็นหุ่นสวย เพราะมีตัวช่วยหุ่นดีที่ไม่ต้องอด ก็ลดได้ เพียงแค่วันละ 1 - 2 แคปซูล ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตและโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้โฆษณาแล้ว นอกจากนี้ จากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาต้นตอแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ต่อไป รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า ขอเตือนภัยสาวอยากผอมพึงระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อคารมการโฆษณาเกินจริงจากผู้ขายโดยเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกรณีเป็นยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหาร เป็นยาที่กระตุ้นประสาทส่วนกลางการใช้จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ขณะรับประทานยา แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดยา หรือที่เรียกว่า yo-yo effect และผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่า ดังนั้น การใช้ยาเพื่อลดความอ้วน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น อย่าซื้อยามารับประทานเอง ส่วนกรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มักตรวจพบว่ามีการผสมยาหรือสารอันตราย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ขายอย่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอวดอ้างลดความอ้วนผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีทันที ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
    std47993
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอ
    สุริยนต์ พักแดงพันธ์
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 3 คนสงสัย
    ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ
    วันนี้ (3 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากฐานข้อมูลใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางไม่พบชื่อผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม” จึงได้ไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ พบว่าอย. ได้เคยประกาศผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ครีมรกแกะ หน้าขาวใสลดจุดด่างดำ” ว่าพบสารประกอบของปรอท (Mercury compound) ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ จัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง และเกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ ขอแนะนำให้ประชาชนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีฉลากภาษาไทยที่ระบุชื่อที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้า เลขที่ใบรับจดแจ้งอย่างชัดเจน หากไม่แน่ใจสามารถตรวจสอบข้อมูลการได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ อย.
    std46341
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ชัชชาติฯและทักษิณฯต้องชี้แจง ให้ได้ว่า การบินไทยประสพความฉิบหายเพราะใคร??? คุณชัชชาติต้องชี้เเจงให้กระจ่างในหลายๆหัวข้อ..เกี่ยวกับการอนุมัติใบอนุญาติการบินเเบบไม่ยั้ง..ให้บริษัท/บุคคลต่างๆถึงเกือบ40 ใบอนุญาติในช่วงเวลา2556-2557 ให้มาเเข่งบริการกับการบินไทย.. เป็นคำถามว่าคุณชัชชาติจะต้องรับผิดชอบต่อวิกฤติการบินต่างๆที่ตามมาหรือไม่..เป็นว่าที่ผู้ว่า กทมที่ต้องตอบให้คนการบินไทยรับรู้ให้กระจ่าง.. ก่อนการเลือกตั้งกทมครั้งนี้..เพราะชาวการบินไทยหลายหมื่นคนรอฟังคำตอบท่านอยู่ในหัวข้อต่างๆดังนี้ 1.มีประเทศไหนในโลกที่เคยอนุมัติใบอนุญาติการให้บริการการบินประเภทต่างๆในเวลาปีเดียวถึงเกือบ40ใบหรือไม่? 2.กระทรวงคมนาคมมีการศึกษามาก่อนเเล้วใช่ไหม..ว่าจำนวนใบอนุญาติเพิ่มเติมอีกเท่าใด..ที่เหมาะสมกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเเละการขนส่งสินค้าทางอากาศ?หน่วยงานใดเป็นผู้ศึกษา? 3.ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบต่างๆที่มีต่อการบินไทยเเละอุตสาหกรรมการบินโดยรวม..ถ้าอนุมัติใบอนุญาติถึงประมาณ40ใบอนุญาติในเวลาเเค่1ปี?เกินความจำเป็นหรือไม่? 4.การอนุญาติมีขั้นตอนการปฏิบัติเเละกรอบคุณสมบัติต่างๆของผู้ยื่นขอใบอนุญาติหรือไม่? มีปัจจัยอะไร นอกจากการเเสดงสถานภาพทางการเงิน? 5.ขอคำอธิบายจากปากของคุณชัชชาติว่าผลของการอนุมัติของกระทรวงคมนาคมชุดระดับจักรวาลนี้มีผลหรือไม่ที่ในปี2558ทำให้อุตสาหกรรมการบินของทั้งประเทศถูกปักธงเเดงจาก องค์กรควบคุมด้านการบิน(ICAO)ประเทศไทยขาดมาตรฐานการบินขาดความน่าเชื่อถือ..รวมถึงความปลอดภัยจากปัจจัยต่างๆ..รวมๆกันถึงประมาณถึง 30 ข้อ(30ข้อนะครับ!!!!!).. จนนำไปสู่วิกฤติด้านการบินของประเทศ(ซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อนตลอดเวลา40ปีของอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย) ●ใบอนญาติจำนวนหนึ่งต้องถูกยึดคืนใช่หรือไม่?สท้อนถึงการใช้อำนาจเกินขอบเขตอันควรหรือไม่? ●ประเทศไทยถูกICAOห้ามขยายเที่ยวบินเกือบทันทีในต่างประเทศในปี2558- 2560?สร้างความเสียหายเเก่การบินไทยหรือไม่? ●ในฐานะสายการบินเเห่งชาติ.. การบินไทยได้รับการหารือร่วมกับกระทรวงฯถึงจำนวน/ประเภท/ความถี่.ฯลฯในการเพิ่มใบอนุญาติ3โหลกว่านี้หรือไม่..เเละกับหน่วยงานใดในการบินไทย?กับระดับไหน?คณะกรรมการบริษัทเเละDDในขณะนั้นเห็นชอบด้วยใช่ไหม?สอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้รักษากันมาที่เรียกว่าการปฏิบัติต่อกันเชิง"ธรรมาภิบาลที่เหมาะสม"หรือไม่? ●การให้สิทธิการบินหลายๆประเภทนั้นคุณชัชชาติรู้ถึง"ผลกระทบต่อประเทศเเละต่อสายการบินเเห่งชาตืก่อนหน้าเเล้วใช่ไหม? ●หน่วยงานที่กระทรวงใช้ในการทำภารกิจที่ใหญ่ขนาดนี้มีองค์ความรู้เเละความสามารถได้มาตรฐานพอเพียงต่อกรรมที่ก่อนี้เเค่ไหนเพียงใด?ใครควรรับผิดชอบหรือไม่? ●ความด้อยมาตรฐานการบิน"ของทั้งประเทศ"ถึงประมาณ30ข้อที่ตัดสินโดยICAO..ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระดมอนุมัติใบอนุญาติอย่างเมามันใน1ปีนั้น..ใช่ไหม? ●ทำไมบริษัทที่ถูกยึดใบอนุญาติกลับ..จึงไม่มีรายใดฟ้องกระทรวงหรือฟ้องกรมฯที่เกี่ยวข้องเลยเเม้เเต่รายเดียว..คาดว่าเป็นเพราะเหคุผลใด? ●ใช่หรือไม่ที่รัฐบาลต่อมา(คสช)ถึงกับต้องใช้ม.44เข้าไปเเก้วิกฤติเเละกระทรวงคมนาคมต้องถึงกับต้องจ้างฝรั่งผู้ชำนาญการเพิ่มชุดใหญ่? เเล้วมันสท้อนระดับสติปัญญา/ความสามารถเเละสมรรถนะของผู้รับผิดชอบในกระทรวงคมนาคมนี้ว่าควรอยู่ในระดับไหน? สอบผ่านหรือไม่? ●การบินไทย(ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น)ได้รับการดูแลหรือชดเชยอะไรบ้างจากความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงที่สุดของอุตสาหกรรมการบินของไทยนี้? หรือช่าง...มัน? ผมก็ชอบคุณชัชชาติที่พูดบนเวทีเก่ง..เเต่คนการบินไทยทั้วที่ทำงานอยู่..และเกษียณเเล้ว..เเละต้องจำใจจากจำนวนหลายหมื่นคนต้องได้รับคำตอบโดยตรงจากอดีตรีฐมนตรีคมนาคมให้กระจ่างในความเสียหายมหาศาลนี้..มิฉะนั้นอย่าหวังว่าจะมีคนการบินไทยหน้าไหนที่มันจะลงคะเเนนให้คุณชัชชาติ..ให้สื่อเเบบคุณสุทธิขัยหยุ่นหรือคุณสนธิ(ก็ยิ่งดี)สัมภาษณ์คุณชัชชาติออกรายการก่อนการเลือกตั้งจะมีขึ้นสักครั้ง..คนการบินไทยเเละครอบครัวรักคุณเท่าฟ้า รอฟังคำตอบของคุณก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้งอยู่..เรายินดีรับฟังเเละให้โอกาสนักการเมืองเสมอ..กล้าๆหน่อย!
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    น้ำประปาสามารถดื่มได้หรือไม่?
    ในทุกวันนี้มนุษย์เราต้องการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม อย่างไรก็ดี การซื้อน้ำดื่มมาบริโภคก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแต่ละเดือน จนทำให้ใครหลายคนเริ่มหาวิธีนำน้ำประปามาบริโภค แล้วปัจจุบันน้ำประปายังสะอาดและสามารถดื่มได้หรือไม่ (แหล่งข้อมูลจาก https://wells.co.th/is-tap-water-safe/) (https://uu.co.th/th/article/blog/is-tap-water-safe-to-drink#precautions-when-drinking-tap-water) จากการสัมภาษณ์ คุณคงกฤษ นาแซง ตำแหน่งนายช่างเครื่องกล6 การประปาส่วนภูมิภาคสาขามหาสารคาม ได้ข้อมูลว่า น้ำประปาสามารถดื่มได้ เนื่องจากได้รับการรับรองจะกรมอนามัยตามโครงการ “น้ำประปาดื่มได้” มีคุณภาพน้ำประปาตามเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภค ซึ่งก็จะมีการออกตรวจสอบน้ำตามชุมชนตามบ้านผู้ใช้น้ำ โดยมีหน่วยงานผลิต หน่วยงานของนักวิทยาศาสตร์ และกรมอนามัย อีกทั้งยังมีการผลิตน้ำประปาที่ได้มาตรฐานตามขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำ การเติมสารเคมีฆ่าเชื้อโรค การตกตะกอนของน้ำ การกรอง ไปจนถึงการสูบน้ำเพื่อส่งไปยังบ้านผู้ใช้น้ำ อีกทั้งยังมีการเฝ้าระวังตรวจสอบน้ำทุก ๆวันในแต่ละชุมชนซึ่งจะตรวจสอบค่าของคลอรีนที่ควบคุมไว้อยู่ที่ 0.2 มิลลิกรัม หากต่ำกว่า 0.2 มิลลิกรัมประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคก็จะลดลงนั่นเอง ทั้งนี้ ก่อนนำน้ำประปาจากก๊อกมาดื่มจึงควรระวังเรื่องความสะอาด และความปลอดภัยของน้ำประปาก่อนเสมอ แต่เพื่อความสบายใจว่าเมื่อดื่มน้ำประปาไปแล้วจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพ ก็ควรติดตั้งเครื่องกรองน้ำขนาดเล็กเอาไว้อีกขั้นก็ได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าน้ำประปาที่ผ่านระบบการกรองน้ำประปามาแล้วจะมีความสะอาด ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์อยู่ดี ไม่ว่าจะนำไปต้มดื่ม ผ่านความร้อน หรือวิธีการใด ๆ ก็ตาม แต่หากต้องการดื่มน้ำประปาได้อย่างปลอดภัย การติดตั้งเครื่องกรองน้ำไว้ในบ้านจึงถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เพราะเครื่องกรองน้ำจะช่วยกรองน้ำประปาอีกครั้ง ทำให้น้ำสะอาดมากขึ้นจนอยู่ในระดับมาตรฐาน ที่จะสามารถนำมาใช้ดื่มได้อย่างปลอดภัยต่อร่างกาย แหล่งข้อมูลจาก(https://www.taksak.co.th/can-drink-tap-water/)
    Chennarong Yongmong
     •  1 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 3 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม
    กรณีที่มีการโฆษณาว่า กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ ตามที่มีข่าวสารเผยแพร่เกี่ยวกับกรมการจัดหางาน เปิดรับสมัครงาน โครงการ ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน ให้คนไทยมีรายได้เสริมจากงานฝีมือ ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า ภาพประกาศเชิญชวนรับสมัครงาน ที่มีการใช้ตราสัญลักษณ์กรมการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง อีกทั้งข้อความดังกล่าวมิได้มาจากส่วนราชการของกรมการจัดหางาน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
    Nichaphat
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กรมการจัดหางาน เปิดรับสมัครงาน รายได้วันละ 900 – 2,500 บาท
    ตามที่มีข่าวสารเผยแพร่เกี่ยวกับกรมการจัดหางาน เปิดรับสมัครงาน รายได้วันละ 900 – 2,500 บาท ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงว่า มีการใช้ตราสัญลักษณ์กรมการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ภาพประกาศเชิญชวนรับสมัครงานและข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และข้อความดังกล่าวมิได้มาจากส่วนราชการของกรมการจัดหางาน
    std47084
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผู้อื่นสามารถสอบใบขับขี่แทนได้
    จากกรณีที่มีการพบข้อมูลเชิญชวนเรื่องใบขับขี่สามารถให้ผู้อื่นสอบแทนได้ ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์ไม่เป็นความจริง เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกไม่มีนโยบายให้ผู้อื่นมาสอบใบขับขี่แทนได้ หากประชาชนต้องการได้รับใบขับขี่ ต้องเดินทางไปสอบด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบกได้มีการเผยแพร่ข้อสอบบางส่วน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถศึกษาหาความรู้และทดลองทำข้อสอบได้ที่ www.ขับขี่ปลอดภัย.com รวมทั้งมีสื่อการเรียนรู้ด้านการขับรถในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องในการให้ความรู้ประชาชนเรื่องกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีวินัยในการขับขี่ และส่งเสริมให้เกิดการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัย
    yossakornkodphat
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์ สเปรย์พ่นคอพ่นจมูกป้องกันไวรัสที่มีการโฆษณาและจำหน่ายที่จุฬาเภสัช (บริษัท จุฬา เอ็ม. ดี. จำกัด) ว่ามีความเกี่ยวข้องกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและตัวดิฉัน (ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์) หรือไม่ ดิฉันขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า 1. จุฬาเภสัช หรือ บริษัท จุฬา เอ็ม. ดี. จำกัด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แต่อย่างใด ร้านขายยาของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเพียงร้านเดียวคือโอสถศาลา ซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่หน้าคณะเท่านั้น 2. สารสกัดลำไยไซรัปที่วางจำหน่ายและกล่าวอ้างสรรพคุณว่าใช้พ่นคอและจมูกป้องกันไวรัสนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับงานวิจัยของข้าพเจ้า 3. ประกอบกับการนำชื่อข้าพเจ้าไปกล่าวอ้างเพื่อใช้ในการโฆษณานั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ และไม่ได้รับอนุญาตจากข้าพเจ้าแต่ประการใด
    เรียน ทุกท่าน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวและมีการสอบถามดิฉัน (ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ) เข้ามาเป็นจำนวนมากถึงผลิตภัณฑ์ สเปรย์พ่นคอพ่นจมูกป้องกันไวรัสที่มีการโฆษณาและจำหน่ายที่จุฬาเภสัช (บริษัท จุฬา เอ็ม. ดี. จำกัด) ว่ามีความเกี่ยวข้องกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและตัวดิฉัน (ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์) หรือไม่ ดิฉันขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า 1. จุฬาเภสัช หรือ บริษัท จุฬา เอ็ม. ดี. จำกัด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แต่อย่างใด ร้านขายยาของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเพียงร้านเดียวคือโอสถศาลา ซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่หน้าคณะเท่านั้น 2. สารสกัดลำไยไซรัปที่วางจำหน่ายและกล่าวอ้างสรรพคุณว่าใช้พ่นคอและจมูกป้องกันไวรัสนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับงานวิจัยของข้าพเจ้า 3. ประกอบกับการนำชื่อข้าพเจ้าไปกล่าวอ้างเพื่อใช้ในการโฆษณานั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ และไม่ได้รับอนุญาตจากข้าพเจ้าแต่ประการใด จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบ และโปรดใช้วิจารณญาณ ในการ ใช้หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวด้วย ขอบคุณค่ะ ด้วยความเคารพ ศ. ภญ. ดร. พรอนงค์ อร่ามวิทย์
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false