1 คนสงสัย
การเลิกยานอนหลับ มีวิธีการอย่างไร?
ผู้ที่ต้องการเลิกยานอนหลับควรเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการเลิกยานอนหลับ โดยควรเริ่มต้นโดยการค่อย ๆ ลดขนาดยานอนหลับทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัวและไม่รู้สึกทรมาน พร้อมกับการปรับพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

การควบคุมสุขอนามัยการนอนหลับ (Sleep hygiene instruction) ปรับพฤติกรรมการนอน โดยการเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาเพื่อให้เกิดอุปนิสัยในการนอนหลับที่ดี ช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพ และเพื่อป้องกันไม่ให้อาการนอนไม่หลับแย่ลงไปกว่าเดิม
การควบคุมสิ่งเร้า (Stimulus control) การจัดห้องนอนให้สะอาด ปราศจากสิ่งรบกวน ปิดไฟในห้องให้มืดสนิท ปิดโทรศัพท์มือถือไม่ให้มีเสียงหรือแสงสีฟ้าที่รบกวนการนอนหลับ รักษาอุณหภูมิห้องให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อช่วยให้นอนหลับได้ดี
ควบคุมระยะเวลาการนอน (Sleep restriction) โดยการจำกัดการนอน โดยการฝึกฝนการบีบอัดระยะเวลาการนอน (Sleep compression) เพื่อรักษาอาการ/โรคนอนไม่หลับและฟื้นฟูระบบการทำงานของร่างกายโดยการสร้างแรงขับในการอยากนอนหลับ (Sleep drive)
การฝึกการผ่อนคลาย (Relaxation training) ฝึกการทำสมาธิ ฝึกการหายใจ และการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกาย และจิตใจคลายกังวล
การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต (Lifestyle modification) เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยและอยากพักผ่อน ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาหลังเที่ยง ลดการทานน้ำตาล หลีกเลี่ยงการทานอาหารก่อนนอน และดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อวัน
การบำบัดจิตโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy: CBT) เป็นการบำบัดจิตโดยการพูดคุยกับนักจิตบำบัด หรือแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางที่มีประสบการณ์เพื่อจัดการกับสภาวะอารมณ์และกระบวนการคิดในเชิงลบ พร้อมทั้งเรียนรู้และปรับวิธีคิดเชิงบวก พร้อมทั้งวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตจริง เพื่อให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกกับตนเอง และพร้อมที่จะสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพ และเป็นผู้ที่มองเห็นคุณค่าในตนเอง
anywaystravel02
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    กัญชาช่วยให้หลับสบายจริงหรือ
    โรคนอนไม่หลับ หรืออาการหลับยาก ถือว่าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มคนทุกช่วงวัย โดยส่วนมากมักจะมีต้นเหตุมาจากความเครียดและความวิตกกังวล และสาเหตุอื่นๆที่พบได้น้อยกว่าเช่น โรคซึมเศร้า อาการเจ็บปวด หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด และบางครั้งอาการนอนไม่หลับก็ไม่ได้มีแค่หนึ่งต้นเหตุ ทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่สามารถรักษาอาการนอนไม่หลับให้หายขาดได้ กัญชาทางการแพทย์จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกและความหวังใหม่ที่ช่วยให้นอนหลับง่ายและสบายขึ้น กัญชาทางการแพทย์/ยาระงับประสาท การที่กัญชาทางการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับดีขึ้นได้ก็เพราะว่ากัญชานั้นออกฤทธิ์ได้เหมือนยาระงับประสาทครับ โดยผู้ป่วยที่ได้ลองใช้กัญชาจะรู้สึกถึงความผ่อนคลายไปจนถึงง่วงนอนได้เลย อีกทั้งยังมีการพัฒนากัญชาทางการแพทย์บางสายพันธ์สำหรับรักษาโรคนอนไม่หลับโดยเฉพาะ ซึ่งเอฟเฟคท์การทำให้นอนหลับดีขึ้นจะมาจากสารแคนนาบินอยที่พบได้ในกัญชาคือ THC นั่นเอง กัญชาช่วยให้นอนหลับได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม การใช้ปริมาณที่พอดีและไม่เยอะเกินไปนั้นมีประโยชน์หลายอย่างรวมถึงการช่วยเรื่องโรคนอนไม่หลับ แต่ถ้าใช้มากเกินไป ประโยชน์ที่เคยมีก็จะสูญเปล่า และอาจจะถูกแทนที่ด้วยอาการทางจิตอย่างเช่นอาการวิตกกังวลแทนได้ ดังนั้นควรจะใช้รักษาภายใต้การดูแลของแพทย์จะดีที่สุดครับ การใช้กัญชาเพื่อช่วยในการนอนหลับนั้นช่วยลดวงจร REM Sleep (วงจรที่เวลาหลับแล้วจังหวะชีพจรและการหายใจจะเร็วขึ้น เป็นช่วงที่ทำให้เกิดการฝัน และสมองใช้งานหนักพอๆกับตอนตื่น) และช่วยให้หลับลึก แต่ถ้าใช้ไปนานๆเข้า อาการหลับลึกก็อาจจะน้อยลง รวมถึงสารTHCก็จะทำให้หลับเร็วขึ้นได้ด้วยครับ ใช้กัญชารักษาปลอดภัยแค่ไหน ในตอนนี้งานวิจัยเกี่ยวกับกัญชารักษาโรค รวมไปถึงโรคนอนไม่หลับ อาจจะยังใหม่อยู่และมีไม่มากนัก ดังนั้นจะพูดว่ากัญชาเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของการรักษาโรคนอนไม่หลับนั้นก็อาจจะยังไม่ได้ในตอนนี้ และเราเองก็ไม่อาจแก้ปัญหานอนไม่หลับด้วยปลายเหตุโดยใช้กัญชาเป็นตัวเลือกแรก แต่ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการใช้ยานอนหลับเพราะกัญชาทางการแพทย์อาจจะทำให้หลับนานกว่าและหลับสนิทกว่าการใช้ยานอนกลับ ที่มีผลข้างเคียงมากกว่าการใช้กัญชา ตามที่บอกไปข้างต้นนะครับ อาการนอนไม่หลับ นั้นมีหลายสาเหตุ และไม่ควรใช้กัญชาเป็นการรักษาอย่างแรกถ้าไม่เคยรับการรักษาอย่างอื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะมีวิธีแก้ปัญหาอื่นๆเช่นการออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรือการใช้สมุนไพรบำบัดที่ทำให้หลับง่ายขึ้นและไม่มีผลข้างเคียง แต่ถ้าลองมาหลายวิธีแล้วไม่หายขาด ก็อาจจะปรึกษาแพทย์และใช้กัญชาบำบัดควบคู่ไปได้เช่นกันครับ โรคนอนไม่หลับจะรักษาง่ายกว่าถ้าลองใช้วิธีรักษาหลายๆทาง และการจัดการกับความเครียด กัญชาบำบัดก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้ครับ
    maxchowxingxing
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    การนอนดึกเป็นการตั้งใจทำร้ายตนเอง อย่างร้ายแรงที่สุด(ถึงกับทำให้เป็นมะเร็งได้ จริงหรือ
    🙋‍♀️อดีตนอนดึกมาตลอด ปัจจุบันนอนไม่เกิน 4 ทุ่มครึ่ง อย่าให้สายเกินแก้ รีบปฎิบัติด่วน ❤️ด้วยรักและหวังดีอย่างจริงใจครับ ● บ้านไหนมีคน นอนดึก จำเป็นต้องอ่านบทความนี้นะครับ ● เพราะอะไร ? เพราะการนอนดึกๆ ทำให้ "อวัยวะสำคัญๆ" ของร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ หลอดเลือด ต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไธรอยด์ และภูมิคุ้มกันร่างกายเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ต้องไม่ประมาท มาฟังหมอด้านเวชศาสตร์ชลอวัย อธิบายให้เข้าใจกัน 🔷️ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เล่าให้ฟังถึง ● ผลเสียของการนอนดึก ▪️ใครที่นอนเกิน 5 ทุ่มครื่ง จะมีผลทำให้ 5 อวัยวะหลักเสื่อมโทรมเร็วขึ้น ทั้ง 1▪️ สมอง 2▪️ หัวใจ 3▪️ หลอดเลือด 4▪️ ต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไธรอยด์ และ 5 ▪️ ภูมิคุ้มกันร่างกาย 🔷️ แต่ถ้าปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นคนนอนเร็วขึ้น ตั้งแต่ 4 ทุ่มไม่เกิน 5 ทุ่มครึ่งซึ่งเป็นนาทีทองของการนอน ก็จะช่วยให้มีสุขภาพดีขึ้นถึง 10 ประการ ดังนี้ :- 1. สมองสร้างเคมีสุข อย่างที่รู้ว่า สมองเป็นหัวเรือใหญ่ในการแจกงานให้อวัยวะต่างๆ แม้แต่เวลานอนก็ยังมอบรางวัลให้ร่างกาย ทั้ง ▪️ เคมีนิทรา (เมลาโทนิน) ▪️ เคมีสุข (ซีโรโทนิน) ▪️และฮอร์โมนเพศ ▪️แถมยังมีเคมีบำรุงร่างกายออกมา ช่วยควบคุมระบบในตัวเราให้ทำงานราบรื่น ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น สร้างเกราะป้องกันอาการป่วยเจ็บได้ด้วย 2. สร้างเคมีหนุ่มสาวปกติแล้ว เคมีหนุ่มสาวที่เรียกว่า โกรทฮอร์โมน จะค่อย ๆ ลดลงตามวัย รวมทั้งการนอนดึกก็ทำให้โกรทฮอร์โมนน้อยลงไปด้วย ☆แต่ถ้าเราเข้านอนเร็ว สักราว 4 ทุ่ม ไม่เกิน 5 ทุ่มครึ่ง ☆สมองจะช่วยผลิตโกรทฮอร์โมนธรรมชาติให้ ☆สรุปว่ายิ่งเราหลับไว หลับสนิท ☆ เราก็ยิ่งดูอ่อนเยาว์ ☆เพราะโกรทฮอร์โมน จะหลั่งในช่วงเวลา 00.00-01.30 น. รวมเวลา 1 ชม.ครึ่งเท่านั้น ซึ่งจะช่วยซ่อมเสริมภูมิต้านทานโรค ให้มีพลังร่างกายที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น 3. ความจำดีขึ้น การศึกษาจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ระบุว่า ☆คนที่นอนหลับได้ในช่วง 4 ทุ่ม ถึง 5 ทุ่ม ปรากฏผลงานวิจัยติดตาม พบว่า ☆ มีผลต่อความจำ ความมีสมาธิ อย่างมีนัยสำคัญ ☆และ ลดอุบัติเหตุลงได้มากขึ้น ☆นั่นก็เพราะเวลาเรานอน สมองจะมีกลไกช่วยจัดระเบียบ คล้ายกับการแยกอีเมลขยะออกไป ☆แต่ถ้าเราอดนอน เราจะรู้สึกมึน ลืมง่าย หรือ ไม่ก็ลิ้นพันกัน คิดอย่างพูดอย่าง หรือ อาจเผลอเรอได้ง่ายๆ ดังนั้น ต้องนอนให้เต็มอิ่ม จะได้เป็นการชาร์จแบตให้สมอง พร้อมรับความจำใหม่ๆ ได้ดี 4. คุมความดันโลหิตได้ การนอนหลับเร็ว ☆จะช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติทั้งหลาย และกลไกทางชีวิวิทยา ที่เป็นเหมือนฟันเฟืองขนาดจิ๋ว ที่ทำงานซับซ้อน ☆ช่วยควบคุมหัวใจ และความดันโลหิตให้สงบลง ไม่แกว่งขึ้นลงง่ายเหมือนกับตอนตื่นนอน 5. ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ คนก็เหมือนเครื่องยนต์ ทำงานมาหนัก ก็ต้องหยุดพักบ้างจริงไหม ☆ซึ่งการนอนก็เหมือนเข้าอู่ซ่อมรถ ช่วยซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ ☆ช่วยให้สมองได้พักผ่อน ☆กล้ามเนื้อคลายตัว ☆หัวใจสงบขึ้น ☆ความดันลดลง โดยเฉพาะ ☆ถ้าหลับลึกได้ในช่วง 00.00 - 01.30 น. ในแต่ละคืน สุขภาพย่อมแข็งแรง เสมือนย้อนไปในช่วงที่อยู่ในวัยเบญจเพศได้ 6. ลดความเสี่ยงโรคอ้วน ☆ถ้าเรานอนเร็ว จะทำให้เราไม่หิวกลางดึก อันเป็นต้นเหตุที่ทำให้อ้วน ☆นอกจากนั้น ยังมีกลไกดับหิวด้วยการสร้างเคมีดับหิวขึ้นมา ทำให้การนอนเร็วช่วยคุมน้ำหนักตัวได้ดีกว่า ☆อีกทั้งยังกระตุ้นเตาเผาในร่างกาย ให้ทำงานได้ดี ☆ ช่วยให้ไม่อ้วนง่าย ไม่สร้างเคมีเก็บไขมันมากด้วย 7. มีความสุขง่ายขึ้น ☆ยิ่งอดนอนมาก สมองของเราก็ยิ่งอึมครึม ทำให้ขาดสมาธิ ความจำก็ไม่ดี อะไรมากระทบนิดกระทบหน่อย ก็หงุดหงิดอา รมณ์เสียแล้ว แล้วจะมีความสุขได้อย่างไรล่ะ ☆ แต่ถ้าเราลองนอนให้เร็วขึ้น เราจะได้นอนอย่างเต็มอิ่ม ร่างกายและสมองได้พักผ่อน ความจำดี มีสมาธิ มองอะไรก็มีความสุขได้ง่ายขึ้นจริง ๆ นะ 8. ได้ล้างพิษ เวลาที่เรานอน จะเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะอย่าง ตับ ไต ลำไส้ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยล้างพิษทำงานได้ดีขึ้น ลองสังเกตดูสิ ถ้าใครชอบอดนอน หรือ นอนดึก นอกจากหน้าตาดูหม่นหมองแล้ว ยังมีปัญหาท้องผูกด้วย นั่นเพราะส่วนหนึ่งของพิษมาจากการนอนดึก เพราะฉะนั้นสาวๆ ที่ชอบปวดรอบเดือนบ่อย ๆ ให้แก้ไขด้วยการนอนให้เร็วขึ้น จะช่วยคุมเคมีปวดได้มากขึ้น 9. ไม่เสี่ยงโรคกำเริบ เครื่องยนต์ที่ทำงานเกินเวลา ก็เสียได้ นับประสาอะไรกับมนุษย์ที่ไม่ยอมพักผ่อน ไม่ยอมหลับยอมนอน ☆ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ก็อาจทำให้โรคที่พกอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ พากันแผลงฤทธิ์ขึ้นได้ ☆โดยเฉพาะโรคหัวใจ ☆โรคหลอดเลือดสมอง ☆ความดันสูง ☆ เบาหวาน ☆ ภูมิแพ้ ☆โรคเครียด ☆โรคซึมเศร้า ☆ และโรคมะเร็ง เป็นต้น 10. ช่วยป้องกันการแก่ให้ช้าลง ☆ไม่อยากแก่ รีบชวนกันนอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม หรือ สูงสุด ไม่เกิน 5 ทุ่มครึ่ง ☆ เพราะ การนอนไม่ดึกมาก จะช่วยเสริมสร้างความเป็นหนุ่มสาว ☆ และช่วยให้หลับสนิทได้ง่ายขึ้น ☆ ไม่ทำร้ายร่างกายให้แก่ก่อนวัยอันควร ☆เพราะ จะช่วยป้องกันความเสื่อมชราให้ช้าลงได้ด้วย . 🔷️อยากมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวอย่างยั่งยืน ต้องเปลี่ยนที่พฤติกรรม ฝึกให้เป็น นิสัย 🔷️ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ 🔷️ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ ▪️ จะทำให้เรามีภูมิต้านทานที่ดี หลายๆ คนบอกรู้แต่บางครั้งก็ยังทำไม่ได้ มาลองจัดระเบียบชีวิตกัน (บอกตัวเองด้วย ^^) เพราะไม่มีใครสามารถให้ สุขภาพ ที่ดีกับเราได้ ยกเว้นเราต้องทำให้ตัวเอง และร่างกายคือบ้านที่เราต้องรักษาเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข การป้องกันดีกว่าการซ่อมแซม เราคงไม่อยากเอาเงินที่หามาได้ไปแลกกับความเจ็บป่วยและค่ารักษาพยาบาลที่แพงขึ้นทุกวัน . ด้วยรักและปรารถนาดี ❤️ ❤️
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ทานยานอนหลับทำให้สมรรถภาพการทำงานของสมองลดลง จริงหรือ
    ยานอนหลับจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้นอนหลับได้อย่างดี แต่ทานยานอนหลับทำให้การทำงานของสมองลดลงจริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    น้ำมันกัญชาช่วยให้หลับสบาย
    โรคนอนไม่หลับ หรืออาการหลับยาก ถือว่าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มคนทุกช่วงวัย โดยส่วนมากมักจะมีต้นเหตุมาจากความเครียดและความวิตกกังวล และสาเหตุอื่นๆที่พบได้น้อยกว่าเช่น โรคซึมเศร้า อาการเจ็บปวด หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด และบางครั้งอาการนอนไม่หลับก็ไม่ได้มีแค่หนึ่งต้นเหตุ ทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่สามารถรักษาอาการนอนไม่หลับให้หายขาดได้ กัญชาทางการแพทย์จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกและความหวังใหม่ที่ช่วยให้นอนหลับง่ายและสบายขึ้น กัญชาทางการแพทย์/ยาระงับประสาท การที่กัญชาทางการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับดีขึ้นได้ก็เพราะว่ากัญชานั้นออกฤทธิ์ได้เหมือนยาระงับประสาทครับ โดยผู้ป่วยที่ได้ลองใช้กัญชาจะรู้สึกถึงความผ่อนคลายไปจนถึงง่วงนอนได้เลย อีกทั้งยังมีการพัฒนากัญชาทางการแพทย์บางสายพันธ์สำหรับรักษาโรคนอนไม่หลับโดยเฉพาะ ซึ่งเอฟเฟคท์การทำให้นอนหลับดีขึ้นจะมาจากสารแคนนาบินอยที่พบได้ในกัญชาคือ THC นั่นเอง กัญชาช่วยให้นอนหลับได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม การใช้ปริมาณที่พอดีและไม่เยอะเกินไปนั้นมีประโยชน์หลายอย่างรวมถึงการช่วยเรื่องโรคนอนไม่หลับ แต่ถ้าใช้มากเกินไป ประโยชน์ที่เคยมีก็จะสูญเปล่า และอาจจะถูกแทนที่ด้วยอาการทางจิตอย่างเช่นอาการวิตกกังวลแทนได้ ดังนั้นควรจะใช้รักษาภายใต้การดูแลของแพทย์จะดีที่สุดครับ การใช้กัญชาเพื่อช่วยในการนอนหลับนั้นช่วยลดวงจร REM Sleep (วงจรที่เวลาหลับแล้วจังหวะชีพจรและการหายใจจะเร็วขึ้น เป็นช่วงที่ทำให้เกิดการฝัน และสมองใช้งานหนักพอๆกับตอนตื่น) และช่วยให้หลับลึก แต่ถ้าใช้ไปนานๆเข้า อาการหลับลึกก็อาจจะน้อยลง รวมถึงสารTHCก็จะทำให้หลับเร็วขึ้นได้ด้วยครับ ใช้กัญชารักษาปลอดภัยแค่ไหน ในตอนนี้งานวิจัยเกี่ยวกับกัญชารักษาโรค รวมไปถึงโรคนอนไม่หลับ อาจจะยังใหม่อยู่และมีไม่มากนัก ดังนั้นจะพูดว่ากัญชาเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของการรักษาโรคนอนไม่หลับนั้นก็อาจจะยังไม่ได้ในตอนนี้ และเราเองก็ไม่อาจแก้ปัญหานอนไม่หลับด้วยปลายเหตุโดยใช้กัญชาเป็นตัวเลือกแรก แต่ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการใช้ยานอนหลับเพราะกัญชาทางการแพทย์อาจจะทำให้หลับนานกว่าและหลับสนิทกว่าการใช้ยานอนกลับ ที่มีผลข้างเคียงมากกว่าการใช้กัญชา ตามที่บอกไปข้างต้นนะครับ อาการนอนไม่หลับ นั้นมีหลายสาเหตุ และไม่ควรใช้กัญชาเป็นการรักษาอย่างแรกถ้าไม่เคยรับการรักษาอย่างอื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะมีวิธีแก้ปัญหาอื่นๆเช่นการออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรือการใช้สมุนไพรบำบัดที่ทำให้หลับง่ายขึ้นและไม่มีผลข้างเคียง แต่ถ้าลองมาหลายวิธีแล้วไม่หายขาด ก็อาจจะปรึกษาแพทย์และใช้กัญชาบำบัดควบคู่ไปได้เช่นกันครับ โรคนอนไม่หลับจะรักษาง่ายกว่าถ้าลองใช้วิธีรักษาหลายๆทาง และการจัดการกับความเครียด กัญชาบำบัดก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้ครับ ที่มา : น้ํามันกัญชาสกัด.com
    maxchowxingxing
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    แก้วิธีการรักษา อาการตื่นมาฉี่บ่อย (nocturia) ของผู้สูงอายุ
    ตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อย รุ่นพี่ที่เคารพท่านหนึ่ง ได้ส่ง VDO link ที่น่าสนใจมาให้ จาก NHK on demand video ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ส.ว. ทั้งหมด (เกิน 250) แต่คนที่ยังไม่เป็น ส.ว. รู้ไว้ก็ไม่เสียหลาย เพราะอนาคตเราก็จะได้เลื่อนขั้นขึ้นไปกันทุกคนอยู่แล้ว เรื่องที่ว่านั้นก็คือ ปัญหาของการที่ต้องตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อยๆ (nocturia) เพื่อไปฉี่ ปัญหานี้ ได้มีการทำวิจัยเมื่อต้นปีนี้เอง (กุมภาพันธ์ -เมษายน) ควบคุมโดย Toromoto Kazumasa อาจารย์หมอทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist) แห่งมหาวิทยาลัยแพทย์นารา (Nara Medical University) เนื่องจากโควิดมา ผลการวิจัยนี้จึงเพิ่งจะเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้เอง การวิจัย ดำเนินการโดยให้ หนุ่ม Terakita เดินทางไปอยู่ที่บ้านคุณลุง Hayashi ทั้งวัน และทำกิจกรรมต่างๆเหมือนกัน โดยฉี่ให้หมดกระเพาะปัสสาวะ (bladder) ในตอนเช้า จากนั้น ให้กินอาหารเหมือนกัน ดื่มน้ำเท่ากัน ออกกำลังกายเหมือนกัน แล้วฉี่ใส่ถ้วยตวง วัดปริมาณเปรียบเทียบกันดู @07:30 เริ่มกินข้าว เป็นอาหารญี่ปุ่น มีน้ำอยู่ในอาหาร 600 mL (คำนวณโดย Yamaguchi Chikage นักโภชนาการ ของ Nara Medical University Hospital) และดื่มน้ำชา 530 mL รวม 1,130 mL ตอนสาย เจ้าหนุ่ม ฉี่ไป 4 รอบ 300+400+300+100 mL ส่วนลุงฉี่แค่ 2 รอบ 100+110 mL @12:30 มื้อกลางวัน เป็นแซนวิช มีน้ำแค่ 140 mL และดื่มน้ำเปล่าอีกคนละ 380 mL ตอนบ่าย ออกกำลังกาย ไปทำสวนด้วยกัน เข้ามาในบ้าน เล่น VDO game ด้วยกัน (ลุงแกเล่นได้ด้วยแฮะ) ตอนบ่าย เจ้าหนุ่มฉี่อีก 3 ครั้ง 350+200+150 mL คุณลุงก็ฉี่ 3 ครั้งเหมือนกัน แต่ปริมาณน้อยกว่า 40+180+70 mL จนเย็น @18:30 ได้เวลาจากกัน หลังจากอยู่ด้วยกันมาทั้งวัน ค่ำคืนนั้น ก่อนเข้านอน เจ้าหนุ่มฉี่อีก 4 ครั้ง 320+150+180+150 mL แต่ลุงฉี่แค่ครั้งเดียว 180 mL หมอใช้ ultrasound ตรวจดูน้ำในกระเพาะปัสสาวะ - เกือบไม่มีทั้งคู่ ก่อนเข้านอนตอนเที่ยงคืน ในวันนั้น น้ำ เข้าไปร่างกาย คนละ 2,730 mL เท่าๆกัน แต่ลุงมีน้ำเหลืออยู่ในร่างกายเยอะมาก ผลก็คือ เจ้าหนุ่มหลับรวด ไม่ได้ตื่นขึ้นมาฉี่ แต่ลุงต้องตื่นไปฉี่ 3 รอบ 130+420+280 mL วันต่อมาจึงรู้สึกเพลีย การที่กลางวันง่วง และต้องงีบบ่อยๆ เพราะกลางคืนตื่นบ่อย (nocturia) เพื่อไปฉี่ เนื่องจากน้ำที่ดื่มระหว่างวันยังค้างอยู่ในร่างกาย แต่น้ำนั้น ... ไม่ได้อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ! เชื่อหรือไม่ว่า มีความลับในร่างกายของเราอย่างหนึ่ง ก็คือ คนเรามีกระเพาะปัสสาวะที่สอง (2nd bladder) !! ในเมื่อน้ำ ไม่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ แล้วมันไปเก็บอยู่ที่ไหน? ที่ตับ (liver) หรือเปล่า เพราะแอลกอฮอล์ก็ยังไปกำจัดที่ตับ น้ำก็น่าจะไปด้วย … ไม่ใช่ ที่ไต (kidney) ใช่ไหม เพราะเป็นด่านแรก ที่น้ำจะต้องผ่าน ก่อนไปที่กระเพาะปัสสาวะ … ไม่ใช่อีก ที่เส้นเลือด (blood vessels) กระมัง เพราะในเลือดมีน้ำ อาจเก็บน้ำเพิ่มขึ้นได้ … ก็ไม่ใช่ แม้แต่ลำไส้ (intestine) ที่น่าจะมีที่เก็บน้ำไว้ได้มากทีเดียว … ไม่ใช่เหมือนกัน เพราะคำตอบที่ถูกคือ - น่อง (calves) ครับ ! เพื่อเป็นการพิสูจน์ เจ้าหน้าที่ได้ทำการวัดรอบน่องของลุง Hayashi ตอนตื่นนอนและก่อนนอน พบว่า น่องโตขึ้นจริงๆ (ขวา 40.5 => 42.7 ซ้าย 41.5 => 45.7 cm) ทีมงาน ได้นำอุปกรณ์วัดทันสมัย ไปที่บ้านลุง Hayashi เพื่อวัดปริมาณน้ำในส่วนต่างๆของร่างกาย แล้ว plot มาเป็นกราฟ พบว่า ช่วงเช้า น้ำในลำตัวและแขน เกือบคงที่ แต่น้ำในขา จะค่อยพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ช่วงบ่าย น้ำในขาเกือบคงที่ แต่ในแขนและลำตัวค่อยๆลด ส่วนตอนค่ำ ก่อนนอน น้ำในลำตัวค่อยๆลด ในแขนคงที่ แต่ในขายังพุ่งขึ้นต่อ สุดท้ายก่อนเข้านอน น้ำในขาของลุง Hayashi มีมากกว่าตอนเช้าถึง หนึ่งลิตรครึ่ง ! ทั้งนี้เพราะ ขาทั้งสองข้าง เป็นเหมือนแท็งค์น้ำ โดยน้ำจะแทรกอยู่ระหว่างกระดูกและผิวหนัง เรียกว่า “interstitium” เมื่อไม่มีน้ำ จะแฟบ พอมีน้ำก็จะพองหนาขึ้น น่อง จึงเหมือนถังน้ำ เก็บไว้ฉี่ทิ้งภายหลัง และนั่นเป็นสาเหตุที่ต้องตื่นขึ้นมาฉี่บ่อย คุณหมอ Sone Atsushi Director, Miyazu Takeda Hospital ยืนยันว่า มีคนไข้เป็นอย่างนี้หลายคน มีคำอธิบาย เขียนเป็นไดอะแกรมง่ายๆ เป็นวงจรของเส้นเลือดแดงจากหัวใจลงมาที่น่อง แล้วก็กลับขึ้นหัวใจทางเส้นเลือดดำ ส่วนกระเพาะปัสสาวะอยู่ตรงกลางระหว่างหัวใจกับน่อง การเต้นของหัวใจ กับการเคลื่อนไหวของน่อง จะเหมือนกับปั๊มสองตัวช่วยกันสูบฉีดน้ำในร่างกาย ถ้าน้ำมากไปก็จะไปปล่อยทิ้งที่กระเพาะปัสสาวะ เมื่ออายุยังน้อย ปั๊มที่น่องก็ยังแข็งแรงดีอยู่ ยิ่งเป็นเด็ก วิ่งกระโดดโลดเต้น น่องจึงแข็งแรง (เพราะฉะนั้น ถึงจะวิ่งไม่ไหว ก็ขยันเดินกันหน่อยนะครับ) แต่เมื่ออายุมากขึ้น น่องไม่ค่อยได้ทำงาน น้ำจึงมาบวมอยู่ที่ขา ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก พอล้มตัวลงนอนตอนดึก น้ำส่วนเกินนี้จึงค่อยๆกลับมาที่กระเพาะปัสสาวะ จนทำให้ต้องลุกไปฉี่บ่อยๆ ดังนั้น ในปีนี้ ทางการแพทย์ที่ญี่ปุ่น จึงมีการปรับแก้วิธีการรักษา อาการตื่นมาฉี่บ่อย (nocturia) ซึ่งไม่มีการแก้ไขมาเลยในรอบสิบปี คุณลุง Ando เป็นคนหนึ่งที่ได้รับการรักษาวิธีหนึ่งในแผนใหม่นี้ สี่ปีมาแล้วที่เขาต้องตื่นมาฉี่ 4~5 ครั้ง ทุกคืน แถมลำบากที่ต้องปีนบันไดขึ้นลง เพราะห้องน้ำอยู่คนละชั้นกับห้องนอน พลาดพลั้งเกิดตกบันไดขึ้นมาก็ยุ่งอีก ชีวิตช่างน่าหดหู่เสียจริงๆ การฉี่บ่อย (nocturia) นำไปสู่ ความรู้สึกหดหู่ และกระดูกหัก !? พูดให้เว่อร์ไปหน่อย ... ความรู้สึกหดหู่ หรือ depression ก็เพราะอดนอน และกระดูกหัก ไม่ใช่เพราะฉี่บ่อยตรงๆ แต่เป็นสาเหตุเกี่ยวเนื่อง โดยเกิดจากการงัวเงียเมื่อตื่นขึ้นมา อาจจะทำให้หกล้ม หรือ ตกบันได แต่กระดูกหักในกลุ่มผู้สูงอายุนี่เรื่องใหญ่นะ วันหนึ่ง ลุง Ando ได้รับ “กล่อง” เพื่อการรักษา หนึ่งเดือนผ่านไป คุณลุงนอนรวดเดียวยันเช้า ไม่ต้องลุกไปฉี่เลย คุณลุง Ando ได้พบ “ทางรอด” แล้ว ที่สามารถจะใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง “ทางรอด” ในกล่องเล็กๆ ที่ทำให้ชีวิตของลุง Ando เปลี่ยนไปเลยนั้น คืออะไร ? คุณ Toshida Masaki Assit. Director, ศูนย์ศึกษาผู้สูงอายุ (แห่ง National Center for Geriatric & Gerontology) มาเฉลยว่า ภายในกล่องนั้น คือ ... “ถุงเท้ารัดน่อง” (compression stockings) ครับ ถ้าสวมมันไว้ตอนกลางวัน จะช่วยทำให้ขาไม่บวม และไม่เก็บน้ำไว้ ทำให้ฉี่ตอนกลางวันมากขึ้น ไม่เก็บไว้ไปฉี่ตอนดึกอีก นอกจากนั้น ยังมีคำแนะนำง่ายๆอีกอย่าง เป็นวิธีการบำบัดข้อที่สอง ที่คุณหมอได้แนะนำให้ลุง Hayashi ที่เข้าร่วมการทดลองในตอนแรก ลองกลับไปทำดู คือการนอนยกขาให้สูงขึ้นหน่อย ประมาณครึ่งฟุต สักครึ่งชั่วโมงในตอนบ่าย แต่อย่างีบหลับไปนะ เดี๋ยวกลางคืนจะนอนไม่หลับอีก คุณลุง Hayashi ได้ลองทำดูประมาณหนึ่งเดือน โดยเริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ด้วยการนอนยกขาพาด อ่านหนังสือ หนึ่งเดือนผ่านไป จากการต้องลุกไปฉี่ 3 หนในตอนก่อน ก็เหลือเพียง 1.5 ครั้งโดยเฉลี่ย การรักษานี้เป็นการบำบัดโดยเปลี่ยนอุปนิสัย (behavior therapy) ดีกว่าการใช้ยา เพราะว่าไม่มีผลข้างเคียง (side effect) คำแนะนำเพื่อการบำบัดดังกล่าว มี 3 วิธี คือ :- • สวมถุงน่องแบบรัด • ยกขา • งดกินเค็ม การงดกินเค็มที่แถมมาด้วยนั้น เพราะ การกินเค็ม นอกจากจะทำให้ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ร่างกายเก็บน้ำไว้ด้วย ของแถมอีกอย่างที่บางคนอาจจะเมิน คือ หมอเขาแนะนำให้เลิกการ “กรุ๊บๆ กรั๊บๆ” ในตอนเย็น เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แถมกับแกล้มกินเล่นซึ่งมักจะมีเกลือเยอะ จะช่วยกันเรียกความกระหายให้ร่างกายดื่มน้ำมากขึ้น สังเกตได้ว่าถ้ากินเลี้ยงตอนเย็น คืนนั้นก็จะฉี่มากขึ้น คำถามว่า สวมถุงรัดน่องด้วย พร้อมกับนอนยกขาด้วย ได้ไหม - Dr. Yoshida บอกว่า ไม่มีปัญหา แต่สวมถุงรัดน่องไปกินเลี้ยงตอนเย็นนี่คงไม่ช่วยเท่าไหร่นะ งานนี้ สงสัยจะมีคนขอเลี่ยงบาลีไปดื่มตอนเที่ยงแทน คำแนะนำแนวทางทั้งสามนั้น คงจะเป็นประโยชน์กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ส่วนเรื่องถุงรัดน่องนั้น ถ้าไปหาตามร้านขายยา ก็จะมีถึงสามชนิดให้เลือก คือ สูงแค่เข่า ซึ่งสวมง่ายหน่อย ยาวขึ้นมาหน่อยคือสวมทั้งขา และที่ยาวสุดคือ สวมขึ้นมาถึงเอว ชอบแบบไหนก็เลือกได้ตามสะดวกครับ รวมทั้ง น่าจะมีขนาดให้เลือกด้วย และสามารถสวมใส่ได้ทั้งวัน อย่างไรก็ตาม คุณหมอมีคำเตือนสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจหรือเบาหวานว่า ให้ปรึกษาหมอหน่อยก็ดีนะ เรื่องที่จะหาอะไรมารัดน่องนี่น่ะ ที่ง่ายคือการนอน (อย่าหลับ) ยกขาขึ้นมาพาดอะไรที่สูงหน่อยในตอนบ่ายนั้น ก็ต้องบริหารเรื่องเวลาเหมือนกัน ไม่เร็วไป (เพิ่งผ่านเวลาเช้ามาหยกๆ) หรือช้าไป (จะเข้านอนอยู่แล้ว) เพราะจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรทั้งคู่ เวลาแดดร่มลมตก นึกถึงเปลญวนขึ้นมาทีเดียว เพราะเป็นเปลที่ขาถูกยกขึ้นมา ไม่ได้นอนราบๆ แต่ไม่มีเปลญวนก็ไม่เป็นไร หาอะไรหนุนขาเอาก็ได้ อย่างไรก็ตาม วันนี้ ผมเลยได้ไอเดีย ที่ทำให้ชีวิตสบายขึ้นเยอะ เพราะว่า ... แทนที่จะนั่งเขียนบทความ บ่ายวันนี้ ผมนอนยกขาเขียนครับ !! ... @_@ ... วัชระ นูมหันต์ 20 ธันวา 63
    Mrs.Doubt
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false