1 คนสงสัย
ในบุหรี่มีส่วนประกอบของหมูด้วยจริงหรือ
ไม่ระบุชื่อ
 •  3 ปีที่แล้ว
1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
meter: middle
1 ความเห็น

มะเร็งภาคใต้อันดามันผู้บริโภคเฝ้าระวัง

Joke.Air เลือกให้ข้อความนี้💬 มีความเห็นส่วนตัว

เหตุผล

.

ความเห็นต่าง

บุหรี่เป็นสิ่งเสพติด บุหรี่มีสารเสพติด จึงอาจจะถือว่าผิดหลักศาสนาต่างๆอยู่แล้ว
Mrs.Doubt เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

พบว่าไส้กรองบุหรี่ในบางยี่ห้อ อาจมีสารจากเลือดหมู

ที่มา

https://m.facebook.com/HSC.CU/posts/2297243320295666

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    สาเหตุอาการบ้านหมุน อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
    ใครที่มีอาการบ้านหมุน อย่าคิดว่าแค่นอนไม่พอเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วอาการบ้านหมุนมีหลายสาเหตุ อาจอันตรายกว่าที่คิดก็ได้ อาการ “บ้านหมุน” เป็นอย่างไร ทุกคนอาจคุ้นเคยกับอาการ “เวียนศีรษะ” ตามปกติ แต่สำหรับอาการบ้านหมุน จะเป็นอาการที่รู้สึกว่าตัวเองหมุนหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนได้ ซึ่งที่จริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวนั้นเกิดขึ้นจริง สาเหตุของอาการบ้านหมุน อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติของระบบการทรงตัวของร่างกายตลอดจนความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น ความผิดปกติของหูชั้นในหรือระบบสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรงตัว ความผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต หรือสายตา ฤทธิ์ข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด ปัจจัยอื่นๆ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ เมารถ หรือเมาเรือ วิธีรักษาอาการบ้านหมุน ปกติแล้วแพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุ วิธีรักษาในแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป เช่น อาจมีการให้ยาไปกินที่บ้าน เพื่อลดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือฝึกทรงตัว เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลของระบบประสาททรงตัวได้ เป็นต้น วิธีป้องกันการเกิดอาการบ้านหมุน หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุน เช่น เครียด วิตกกังวล นอนหลับไม่เพียงพอ เป็นต้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ลดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกาย และบริหารประสาททรงตัวอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเสียงดัง และการกระทบกระเทือนบริเวณหู
    somkid.so.63
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    โควิด ติดแล้ว ปอดจะทำงานไม่เหมือนเดิมตลอดไป จริงหรือไม่
    Don't mean to scare you, folks, but be very cautious, be protective & be safe to you all. ********************************************************** บอย วรพล สิงห์เขียวพงษ์ December 29, 2020 at 4:55 PM โควิด-19 เป็นแล้วโอกาสตายน้อยกว่าห้าเปอร์เซ็นต์ จริงครับ > แต่หายแล้ว ปอดอาจพังตลอดชีวิต > ลิเดีย-แข็งแรง เหลือปอดทำงาน หกสิบเปอร์เซ็นต์ > ล่าสุด...31 ธันวาคม 2563 ผู้ว่าจังหวัดสมุทรสาครน่าจะเป็นเคสนี้ครับ บทความนี้ถูกส่งต่อกันมา ผมพอทราบว่ามีส่วนจริง แต่ให้แน่ใจ จึงส่งไปถามเพื่อนที่เป็น...’หมอ’ ! เขาตอบว่า...จริง !!! > โควิด-19 เป็นแล้วตายก็จบไป แต่ถ้าไม่ตายก็ต้องลุ้น ! > คุยกันครั้งใด เขาบอกผม...พี่อย่าให้เป็นนะ อายุเยอะแล้ว ตายก็ลำบากก่อนตาย ไม่ตายก็แย่ไปตลอดชีวิต ยกมา > "ผมกลัว" ที่จะติดเชื้อ Covid-l9 ผมจึงทำตามที่รัฐบาลบอก คือ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" และจะออกจากบ้าน เมื่อจำเป็นจริง ๆ ผมบอกว่า ผมเชื่อว่าใครที่ติดเชื้อ Covid-l9 จะไม่มีวันกลับไป "ปกติ" เพราะปอดจะไม่ทำงานเต็มร้อยอีกแล้ว > แต่...แต่ก่อนที่จะเสียชีวิต หากคุณติดเชื้อ รู้ไหมว่ามันทรมานแค่ไหน > คุณรู้ไหมว่า การรักษาโรคปอดติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2ol9 หรือ Covid-19 มันไม่ใช่แค่ใส่หน้ากากออกซิเจน แล้วนอนอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์ อยู่บนเตียงสบาย ๆ ในโรงพยาบาล > เพราะเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วย Covid-19 (บางคน-ไม่ทุกคน) มันสร้างความเจ็บปวด ต้องสอดท่อลงไปในลำคอและคาไว้ จนกว่าจะหาย หรือตายภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยแทบไม่สามารถขยับตัว > การรักษานี้ คนไข้จะถูกจับให้นอนคว่ำกลับหัว มีท่อหายใจต่อจากปากขึ้นไปที่เครื่องช่วยหายใจ ไม่สามารถพูด กิน หรือขับถ่ายได้ตามปกติ แถมเจ็บปวดตลอดเวลา > สิ่งที่แพทย์ช่วยได้ก็คือ ให้ยานอนหลับและยาแก้ปวด เพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้สามารถทนต่อความเจ็บจากการใส่ท่อช่วยหายใจ เหมือนอยู่ในอาการโคม่าเทียม > ผ่านไป 20 วัน ผู้ป่วยจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ สี่สิบเปอร์เซนต์ และมีแผลในปากหรือหลอดลม เช่นเดียวกับปอด เกิดภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ > นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้คนแก่ หรือผู้ป่วยโรคอื่น เช่น ความดัน หัวใจ ไม่สามารถทนการรักษาได้ และอาจตายในที่สุด >>> ย้ำ..นี่ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ ! การให้อาหารเหลวใส่หลอดเข้าไปในท้องของคุณ ไม่ว่าจะผ่านจมูกหรือเส้นเลือด การที่ต้องมีพยาบาลมาช่วยขยับแขนขาทุกสoงชั่วโมง เพื่อป้องกันแผลกดทับ และต้องนอนบนเตียงน้ำที่เย็น เพื่อช่วยลดอุณหภูมิ 40 องศาของคุณ "มันไม่ใช่เรื่องสนุก" และคนที่บ้านเป็นทุกข์แน่ ๆ นี่คือหนึ่งในเหตุผล ที่ชาติตะวันตก ปล่อยให้ตาย ไม่รับรักษา เพราะสิ้นเปลือง > ผมกลัว...ผมจึงอยู่บ้าน ถ้าคุณไม่กลัว ก็ตามสบายนะครับ ไม่สวมหน้ากากตอนออกจากบ้าน ไม่รักษาระยะห่าง ไปในที่สุ่มเสี่ยง เป็นเรื่องความรับผิดชอบที่คุณมีต่อครอบครัวของคุณเอง > ที่เล่ามาทั้งหมด ก็เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อคนที่รักคุณ และ เพื่อตัวคุณเอง #เรียบเรียงบางส่วนจาก LIND ใครจะหาว่าผมตื่นตูม ก็ตามสะดวก แต่ผมว่าเราต้อง ‘ตื่นตัว’ แม้คนที่เป็น ไม่ทุกคนที่จะมีสภาพนี้ แต่ก็มีไม่น้อยที่หายแล้วปอดไม่เต็มร้อย > ผมว่าปอดพังเร็วมาก ยิ่งกว่าสูบบุหรี่ซะอีก > แชร์ได้ ไม่ต้องขอครับ > รักใคร ห่วงใคร ก็แชร์กันไป ถ้าคุณได้รับแชร์นี้มาแสดงว่ามีคนรักคุณ
    Mrs.Doubt
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ปากกาฟอกฟันขาวอันตรายจริงหรือไม่ ?
    “ปากกาฟอกฟันขาว” อันตรายจริงหรือไม่ ? ปากกาฟอกฟันขาวที่กำลังเป็นที่นิยมบนโลกออนไลน์ อุปกรณ์ช่วยเสริมความมันใจให้กับรอยยิ้ม ที่ราคาจับต้องได้ แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่มีอันตรายที่ซ่อนอยู่ จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า กรมอนามัยได้ให้ข้อมูลว่าอุปกรณ์ฟอกฟันขาว ที่ขายกันตามอินเตอร์เน็ตนั้น อาจจะมีสาร "ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์" สูงกว่า6 % และอาจจะสูงถึง15 % ซึ่งปกติ ถ้าสูงกว่า 6% ต้องได้รับความควบคุม โดย อย. เพราะสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ ซึ่งมีฤทธิ์ในการฟอกสีให้ขาวขึ้นนั้น ถ้ามีความเข้มข้นสูงมาก จะเป็นอันตราย กัดกร่อนเนื้อฟัน ทำให้เนื้อฟันเสียหาย และเสียวฟันมากขึ้นได้ ถาดที่ใช้ครอบฟัน ในการฟอกสีฟัน ก็ควรทำเป็นรายบุคคลโดยทันตแพทย์ จึงจะพอดีกับฟันของแต่ละคน เพราะถ้าไม่พอดี สารฟอกฟันจะไปโดนเหงือก อาจทำให้เหงือกบวม อักเสบได้ การฟอกสีฟัน สิ่งแรกที่ควรทำคือการมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุของสีฟันเพื่อวางแผนการรักษา ตรวจสุขภาพฟันให้แน่ชัดว่าไม่มีฟันผุ อาการเสียวฟัน เนื่องจากภาวะเหงือกร่น หลังจากนั้นจะขูดหินปูน หรือขัดคราบสีออก แล้วจึงพิมพ์ปากคนไข้เพื่อสร้างแบบจำลองฟัน นำมาทำถาดฟอกสีฟันโดยทำการบันทึกสีของฟันก่อน จากนั้นจึงทำการรักษาต่อไป (แหล่งข้อมูล : https://www.thaihealth.or.th และ https://cofact.org) ทพ.พิชัย งามวิริยะพงศ์ ทันตแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ข้อมูลว่า สารที่ใช้ในการฟอกสีฟันมีส่วนประกอบหลัก คือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ แส่วนมากจะใช้ความเข้มข้นอยู่ที่ประมาณ 25-40% แล้วนำน้ำยาทาบนฟันทิ้งไว้ ทำ 3 รอบ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยมีการใส่อุปกรณ์ที่ทำมาเพื่อป้องกันเหงื่อให้คนไข้ โดยจะได้รับการพิมพ์ฟันทั้งฟันบนและฟันล่าง เป็นถาดสำหรับแต้มน้ำยาฟอกสีฟันเฉพาะบุคคลนั้น ๆ เพราะแต่ละบุคคลจะมีลักษณะฟันที่ไม่เหมือนกัน เป็นการป้องกันไม่ให้ตัวน้ำยาไหลไปโดนเหงือกได้ และหลังทำเสร็จควรจะงดอาหารประเภทที่มีการติดสีมาก ๆ เช่น เครื่องดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ และงดการสูบบุหรี่ บางครั้งสามารถเกิดอาการเสียวฟันได้ชั่วคราวประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารเย็นจัดไปก่อน ทั้งนี้ ทพ.พิชัย ให้ข้อแนะนำว่า ทันตแพทย์ไม่แนะนำการซื้อปากกาฟอกฟันขาวที่ให้ไปทำด้วยตนเอง การฟอกฟันขาวหรือการรักษาฟันจากอาการต่าง ๆ ควรปรึกษาก่อนทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ตรวจและเลือกแนวทางการรรักษา หากซื้อผลิตภัณฑ์ทำเองอาจเกิดผลที่เป็นอันตรายได้ และถ้าหากตัดสินใจการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และดูว่าผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือคาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ไม่สูงกว่า 6% ตามที่ อย. กำหนด และควรมีคาร์บอกซี่โพลิเมทิลีน เป็นสารหนืดที่ทำไม่ไห้น้ำยาเหลวจนเกิน เพื่อให้น้ำยาเกาะติดบนผิวฟันได้ เพราะถ้าน้ำยาไหลไปโดยเหงือกอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือไปทำให้เกิดเคมีคอลเบิร์นต่อเหงือกจะเกิดปัญหาตามมาได้ คนที่ไม่สามารถฟอกฟันขาวได้ 1.หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร 2.คนที่อายุต่ำกว่า 16 ปี เพราะชั้นเคลือบยังไม่ได้แข็งแรงมากพอ 3.ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพฟัน ควรได้รับการรักษาให้เรียบร้อยเสียก่อน เช่น ฟันผุแบบไม่รู้ตัว ฟันเป็นรู ฟันสึกจากการแปรงฟันแรงเป็นช่องเว้าเข้าไปแถวเหงือก ฟันร้าว มีรอยร้าวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือเดิมคนไข้เสียวฟันอยู่แล้วแค่กินน้ำเย็นกับไอศกรีมก็เสียวฟัน แล้วยังพยายามจะไปฟอกสีฟันก็จะเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ 4.คนที่มีการอุดฟัน อาจจะต้องมาตรวจกับทันตแพทย์ก่อนว่าวัสดุต่าง ๆ มันอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือเปล่า เพราะบางคนแบบอาจจะอุดตั้งแต่เด็กแล้วมีรูหรือมีช่อง น้ำยาเคมีเกิดมันเล็ดลอดแทรกเข้าไป ทำให้เกิดโพรงประสาทฟันอักเสบได้ 5.ไม่เคยรักษาโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน หินปูนเกาะเต็มฟันหน้าทั้งบนทั้งล่าง ต้องรักษาโรคเหงือกให้เรียบร้อยเสียก่อน ดังนั้น การฟอกสีฟันควรทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น การจะซื้อปากกาฟอกฟันขาวมาใช้เองอาจจะไม่ได้เห็นผลเท่าที่ควร หรือเกิดอันตรายต่อตัวผู้บริโภคได้ และควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนรักษาฟันทุกครั้ง
    ธนกฤต ราชัย
     •  3 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เมื่อติดแล้ว ประเด็นไม่ได้อยู่ที่หายหรือไม่หายน่ะครับ มันจะอยู่ที่ ตายหรืออยู่อย่างลำบากไปตลอดชีวิต ดังนั้นพยายามห้ามติดครับ โควิด-l9 เป็นแล้วโอกาสตายน้อยกว่าห้าเปอร์เซ็นต์ จริงครับ แต่หายแล้ว ปอดอาจพังตลอดชีวิต ลิเดีย-แข็งแรง เหลือปอดทำงาน หกสิบเปอร์เซ็นต์ ล่าสุด...31 ธันวาคม 2563 ผู้ว่าจังหวัดสมุทรสาคร น่าจะเป็นเคสนี้ครับ บทความนี้ถูกส่งต่อกันมา ผมพอทราบว่ามีส่วนจริง แต่ให้แน่ใจ จึงส่งไปถามเพื่อนที่เป็น...’หมอ’ ! เขาตอบว่า...จริง !!! โควิด-I9 เป็นแล้วตายก็จบไป แต่ถ้าไม่ตาย ก็ต้องลุ้น ! คุยกันครั้งใด เขาบอกผม... พี่อย่าให้เป็นนะ อายุเยอะแล้ว ตายก็ลำบากก่อนตาย ไม่ตายก็แย่ไปตลอดชีวิต "ผมกลัว" ที่จะติดเชื้อ Covid-l9 ผมจึงทำตามที่รัฐบาลบอก คือ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" และจะออกจากบ้าน เมื่อจำเป็นจริงๆ ผมบอกว่า ผมเชื่อว่าใครที่ติดเชื้อ Covid-l9 จะไม่มีวันกลับไป "ปกติ" เพราะปอดจะไม่ทำงานเต็มร้อยอีกแล้ว แต่...แต่ก่อนที่จะเสียชีวิต หากคุณติดเชื้อ รู้ไหมว่า มันทรมานแค่ไหน คุณรู้ไหมว่า การรักษาโรคปอดติดเชื้อไวรัส โคโรนา 20l9 หรือ Covid-19 มันไม่ใช่แค่ ใส่หน้ากากออกซิเจน แล้วนอนอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์ อยู่บนเตียงสบายๆในโรงพยาบาล เพราะเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วย Covid-l9 (บางคน-ไม่ทุกคน) มันสร้างความเจ็บปวด ต้องสอดท่อลงไปในลำคอและคาไว้ จนกว่าจะหาย หรือตายภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยแทบไม่สามารถขยับตัว การรักษานี้ คนไข้จะถูกจับให้นอนคว่ำกลับหัว มีท่อหายใจต่อจากปากขึ้นไปที่เครื่องช่วยหายใจ ไม่สามารถพูด กิน หรือขับถ่ายได้ตามปกติ แถมเจ็บปวดตลอดเวลา สิ่งที่แพทย์ช่วยได้ก็คือ ให้ยานอนหลับและยาแก้ปวด เพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้สามารถทนต่อความเจ็บจากการใส่ท่อช่วยหายใจ เหมือนอยู่ในอาการโคม่าเทียม ผ่านไป 20 วัน ผู้ป่วยจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ สี่สิบเปอร์เซนต์ และมีแผลในปากหรือหลอดลม เช่นเดียวกับปอด เกิดภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้คนแก่ หรือผู้ป่วยโรคอื่น เช่น ความดัน หัวใจ ไม่สามารถทนการรักษาได้ และอาจตายในที่สุด ย้ำ..นี่ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ ! การให้อาหารเหลวใส่หลอดเข้าไปในท้องของคุณ ไม่ว่าจะผ่านจมูกหรือเส้นเลือด การที่ต้องมีพยาบาลมาช่วยขยับแขนขาทุกสองชั่วโมง เพื่อป้องกันแผลกดทับ และต้องนอนบนเตียงน้ำที่เย็น เพื่อช่วยลดอุณหภูมิ 40 องศาของคุณ "มันไม่ใช่เรื่องสนุก" และคนที่บ้านเป็นทุกข์แน่ๆ นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ชาติตะวันตก ปล่อยให้ตาย ไม่รับรักษา เพราะสิ้นเปลือง ผมกลัว...ผมจึงอยู่บ้าน ถ้าคุณไม่กลัว ก็ตามสบายนะครับ ไม่สวมหน้ากากตอนออกจากบ้าน ไม่รักษาระยะห่าง ไปในที่สุ่มเสี่ยง เป็นเรื่องความรับผิดชอบที่คุณมีต่อครอบครัวของคุณเอง ที่เล่ามาทั้งหมด ก็เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อคนที่รักคุณ และ เพื่อตัวคุณเอง ใครจะหาว่าผมตื่นตูม ก็ตามสะดวก แต่ผมว่าเราต้อง ‘ตื่นตัว’ แม้คนที่เป็น ไม่ทุกคนที่จะมีสภาพนี้ แต่ก็มีไม่น้อยที่หายแล้วปอดไม่เต็มร้อย ผมว่าปอดพังเร็วมาก ยิ่งกว่าสูบบุหรี่ซะอีก รักใคร ห่วงใคร ก็แชร์กันไป ถ้าคุณได้รับแชร์นี้มาแสดงว่ามีคนรักคุณ
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ ห้ามดื่มแอลกอฮอลล์ริมชายหาด บางแสน มีโทษโดนปรับ
    ชายหาดบางแสนมีกำหนดเวลาในการเปิดปิดหาด โดยวันอังคาร-พฤหัสบดี เปิดเวลา 6.00-18.00 น. วันศุกร์-เสาร์ เปิด 6.00-20.00 น. ส่วนวันจันทร์จะให้หยุดประกอบการขายสินค้าทุกประเภท ยกเว้นวันจันทร์ที่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็จะให้ไปหยุดประกอบการในวันถัดไป ส่วนนักท่องเที่ยวสามารถนำอาหารเครื่องดื่มเข้าไปนั่งกินได้ ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ต้องรักษาความสะอาด และ ห้ามประกอบอาหาร ทุกประเภท ไม่ว่า ปิ้ง ย่าง สัมตำ ยำ ต้ม ทอด ทุกชนิด ครับ ห้ามสูบบุหรี่บนชายหาด ยกเว้น ในตู้สูบบุหรี่ และ สถานที่ที่เทศบาลจัดให้สูบบุหรี่เท่านั้น
    naydoitall
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    WHO เตือนบุหรี่ไฟฟ้าแบบใหม่อันตรายกว่าบุหรี่ธรรมดา จริงหรือคะ
    องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกแถลงการณ์กรณีที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา หรือเอฟดีเอ อนุมัติให้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าชนิดใหม่แบบให้ความร้อนของบริษัทบุหรี่ที่ใช้ชื่อทางการค้า “ไอคอส” เป็นผลิตภัณฑ์ลดสารอันตรายอาจจะสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคทำให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วบุหรี่ชนิดนี้มีสารพิษหลายชนิดที่สูงกว่าบุหรี่ธรรมดา และพบสารพิษบางชนิดที่ไม่เคยพบในบุหรี่ธรรมดามาก่อน จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือไม่ ? บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน
    ในปัจจุบัน จากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย จำนวน 40,164 คน ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 - 27 พฤษภาคม 2567 พบว่า เยาวชนยังมีความเชื่อว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนถึง 50.2% และยังมีความเชื่อว่า นิโคตินเป็นสารที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวส่งผลดีต่อสุขภาพ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ผิดและยังขาดความรู้ ความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ สมอง และ หัวใจ ( แหล่งข้อมูล https://hed.go.th/ ) จากการสัมภาษณ์ เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป เภสัชกร ประจำร้านเภสัชกรอิ่ม จังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า อันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวน มีความอันตรายไม่ต่างกัน ในหลาย ๆ แง่มุม บุหรี่ไฟฟ้าก็มีความอันตรายมากกว่า และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีภาวะโรคใหม่ที่เกิดขึ้นคือ ภาวะโรคปอดอักเสบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และจากการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และ ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าในผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีสาร Vitamin E Acetate อยู่ในปอดจำนวนมาก แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีสารชนิดนี้เลย ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่าสารชนิดนี้มีส่วนที่สร้างความเสียหายแก่ปอด และถูกยืนยันจากบทความของ การวิจัยทางเคมีในพิษวิทยา จาก ACS Publications เว็บไซต์ฐานข้อมูลบทความ และ งานวิจัยต่าง ๆ ทางด้านเคมีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ( แหล่งข้อมูล https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.chemrestox.1c00309 ) เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป ยังกล่าวอีกว่า นิโคตินไม่ใช่สารก่อมะเร็ง แต่ว่าเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตได้ดีมากขึ้น สารนิโคตินจึงเป็นสารที่สร้างความเสียหาย และ เพิ่มความเสี่ยงต่อระบบต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับสมอง เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และ เสี่ยงต่อโรคไขมันต่าง ๆ ที่เป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้น บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้อันตรายน้อยกว่า บุหรี่มวน ผู้เชี่ยวชาญเลยแนะนำไม่ให้สูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวน
    64011215088
     •  3 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    การสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิกบุหรี่มวลได้หรือไม่
    รู้หรือไม่ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวน หลายคนเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีในการเลิกบุหรี่มวน แต่จากงานวิจัยและข้อมูลทางการแพทย์ พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวนได้จริง และยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกมากมาย ข้อมูลจาก https://www.hfocus.org/content/2023/09/28520 จากการสัมภาษณ์ เภสัชกรหญิง อริสา คำรินทร์ เภสัชกรหญิง ร้านยาในจังหวัดมหาสารคาม ให้ข้อมูลว่า การสูบบุรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยให้เลิกเลิกบุหรี่มวล แต่เป็นการทำให้เสพติดสารนิโคตินที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งนำไปสู่ โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง และโรคในระบบทางเดินหายใจ พร้อมกับให้คำแนะนำว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกในการเลิกบุหรี่มวน 1.ไม่ช่วยเลิกบุหรี่: ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่มวนส่วนใหญ่จะติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน หรือสูบทั้งสองชนิดควบคู่กันไป 2.อันตรายต่อสุขภาพ: บุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปอด หัวใจ และระบบอื่นๆ ในร่างกาย ผลกระทบอื่นๆ: 1.ไม่ปลอดภัย: แม้จะไม่มีควันบุหรี่ แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมา 2.เสพติด: นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดการเสพติดได้เช่นเดียวกับบุหรี่มวน 3.ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องความปลอดภัย: งานวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะยืนยันความปลอดภัยได้ “เลิกบุหรี่มวนดีกว่า แต่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลิกบุหรี่ที่ปลอดภัยและได้ผล” เลิกบุหรี่ โทร 1600 หรือปรึกษาที่ร้านยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และร้านยาที่มีเภสัชกรใกล้บ้าน
    Wisit Kongkam
     •  5 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ตรวจพบน้ำยาดองศพในบุหรี่ไฟฟ้า
    ไม่ระบุชื่อ
     •  1 เดือนที่แล้ว
    meter: false