2 คนสงสัย
ข่าวปลอม อย่าแชร์! รสชาติน้ำลายบอกโรคได้
รสชาติน้ำลายสามารถบอกโรคได้ โดยถ้าน้ำลายมีรสเผ็ดเสี่ยงต่อโรคความดัน หากรสชาติเค็มบ่งบอกว่ามีการอักเสบภายในร่างกาย อาจจะเป็นคอหรือไต หากเป็นรสหวานจะบอกโรคเกี่ยวกับน้ำย่อยไม่ปกติ และเบาหวาน หากมีรสฝาดระบบประสาทผิดปกติ พักผ่อนน้อย และเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และสุดท้ายถ้ารสชาติเป็นรสเปรี้ยวจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า รสชาติของน้ำลายไม่ได้บ่งบอกโรคต่าง ๆ
std47766
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอ
    สุริยนต์ พักแดงพันธ์
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ข่าวปลอมอย่าแชร์! ผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง
    กรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีดาษลิงแต่อย่างใด โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
    std46748
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! แป้งหมี่ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้
    กรณีที่มีผู้บอกต่อข้อมูลโดยระบุว่า แป้งหมี่มีสรรพคุณช่วยทำให้ไม่เป็นแผลพุพองหรือเป็นรอยแดงจากแผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้นั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า แป้งหมี่ไม่สามารถรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ อีกทั้งยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการที่แผลจะติดเชื้อ โดยเมื่อเกิดบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หลังจากทำความสะอาดบาดแผลเสร็จแล้ว การใช้ความเย็นมาประคบบริเวณที่เกิดแผลจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้
    Akkarawin Ratchananon
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนปกติถึง 46%
    กรณีที่มีการโพสต์เตือนโดยระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนปกติถึง 46% ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เนื้อหาในข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบันบอกว่า ไมเกรนมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแตกตามที่กล่าวอ้าง
    std46541
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณของไตขวาเสื่อม
    กรณีที่มีการโพสต์คำแนะนำในสื่อสังคมออนไลน์โดยระบุว่า อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อม ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการขี้หนาวไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นสาเหตุสัญญาณบ่งบอกโรคไต
    std47891
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณของไตขวาเสื่อม
    กรณีที่มีการโพสต์คำแนะนำในสื่อสังคมออนไลน์โดยระบุว่า อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อม ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการขี้หนาวไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นสาเหตุสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อมแต่อย่างใด
    std47916
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือเท็จ เมื่อมีใบสั่งมาที่บ้าน หากยังไม่ได้จ่ายตั้งแต่ เม.ย. 66 เป็นต้นไป ถ้าไปต่อภาษีจะมีค่าปรับตามใบสั่ง ข่าวปลอมอย่าแชร์
    กรณีที่มีโฆษณาในสื่อออนไลน์ระบุว่า รถที่โดนใบสั่งมาที่บ้านและยังไม่ได้จ่าย ตั้งแต่เดือนเมษายน 66 เป็นต้นไป หากไปต่อภาษีจะมีค่าปรับตามใบสั่ง ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายการจราจรทางบก โดยผู้ที่นำรถยนต์มาชำระภาษีรถประจำปี หากมีใบสั่งจราจรค้างชำระ โดยสามารถชำระภาษีรถและชำระค่าปรับจราจรได้ โดยจะได้ป้ายภาษีตามปกติ
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำน้อยเสี่ยงสมองเสื่อม
    ตามที่มีคำแนะนำเผยแพร่บนสื่อออนไลน์เรื่องดื่มน้ำน้อยเสี่ยงสมองเสื่อม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อความที่ปรากฏนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับดื่มน้ำน้อยเสี่ยงเป็นภาวะสมองเสื่อมนั้น ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ภาวะขาดน้ำหรือดื่มน้ำน้อย อาจเป็นที่มาของโรคบางชนิด แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม
    std48546
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ . ตามที่มีการบอกต่อข้อความเกี่ยวกับเรื่องลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เล็บรอยขาวพระจันทร์เสี้ยวพบได้เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ในกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ . ตามที่มีการบอกต่อข้อความเกี่ยวกับเรื่องลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เล็บรอยขาวพระจันทร์เสี้ยวพบได้เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ในกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่ใช่ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวแบบนี้ . เล็บที่เป็นสัญญาณบอกโรคคือ เล็บที่มีความหนาหรือบางผิดปกติ เล็บเปลี่ยนสี ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง ปลายเล็บร่น และเล็บที่มีพื้นผิวขรุขระ ส่วนเล็บสุขภาพดี คือเล็บที่มีสีออกชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรง และเล็บมีความหนาไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป . ทั้งนี้ ควรหมั่นสำรวจตัวเองบ่อย ๆ หากมีความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดเล็บอยู่เสมอ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 590 6000 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ลักษณะรอยขาวพระจันทร์เสี้ยว เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ส่วนกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่ใช่ลักษณะพระจันทร์เสี้ยว . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #เล็บมือ #โรค #นิ้วมือ
    std48123
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! พฤติกรรมการดูดนิ้ว กัดเล็บของเด็กป้องกันโรคภูมิแพ้ตอนโต
    กรณีที่มีข่าวสารถูกส่งต่อในสื่อออนไลน์เรื่องพฤติกรรมการดูดนิ้ว กัดเล็บของเด็กป้องกันโรคภูมิแพ้ตอนโต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูดนิ้ว กัดเล็บของเด็กช่วยให้รอดพ้นจากโรคภูมิแพ้เมื่อโตขึ้นได้ ทางสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า พฤติกรรมการดูดนิ้ว กัดเล็บเป็นพฤติกรรมที่พบได้ในเด็กปกติโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก และจะค่อย ๆ หายไปหลังอายุ 4 ขวบ และไม่ได้ช่วยให้เด็กรอดพ้นจากโรคภูมิแพ้เมื่อโตขึ้น และควรมีการแก้ไขหากยังมีการดูดนิ้ว กัดเล็บในเด็กอายุเกิน 4 ขวบขึ้นไป เพราะจะส่งผลกระทบกับการผิดรูปของฟัน การเกิดบาดแผลที่นิ้ว และเป็นช่องทางในการทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายผ่านน้ำลายและสารคัดหลั่งต่าง ๆ ทั้งยังส่งผลกับด้านอารมณ์จิตใจ รวมถึงบุคลิกภาพของเด็กด้วย ทั้งนี้เด็กเล็กควรได้รับการแก้ไขโดยการปรับพฤติกรรม ได้แก่ งดการให้ความสนใจการดูดนิ้ว กัดเล็บ และเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้กิจกรรมการเล่นที่ใช้มือ เช่น วาดภาพ ระบายสี พับกระดาษ เป็นต้น หากได้รับการแก้ไขดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบกุมารแพทย์หรือกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
    std46661
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false