1 คนสงสัย
จริงหรือเท็จ เมื่อมีใบสั่งมาที่บ้าน หากยังไม่ได้จ่ายตั้งแต่ เม.ย. 66 เป็นต้นไป ถ้าไปต่อภาษีจะมีค่าปรับตามใบสั่ง ข่าวปลอมอย่าแชร์
กรณีที่มีโฆษณาในสื่อออนไลน์ระบุว่า รถที่โดนใบสั่งมาที่บ้านและยังไม่ได้จ่าย ตั้งแต่เดือนเมษายน 66 เป็นต้นไป หากไปต่อภาษีจะมีค่าปรับตามใบสั่ง ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายการจราจรทางบก โดยผู้ที่นำรถยนต์มาชำระภาษีรถประจำปี หากมีใบสั่งจราจรค้างชำระ โดยสามารถชำระภาษีรถและชำระค่าปรับจราจรได้ โดยจะได้ป้ายภาษีตามปกติ
ชุมพล ศรีสมบัติ
 •  1 ปีที่แล้ว
meter: false
1 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)
Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง

เหตุผล

กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หากต่อภาษีโดยชำระภาษีและชำระค่าปรับ จะได้ป้ายกำกับภาษีตามปกติ แต

ที่มา

https://www.antifakenewscenter.com/นโยบา⋯xt=ตามที่มีการโพ,ดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ไม่จ่ายค่าปรับจราจรต่างๆ ทำให้ชำระภาษีรถประจำปีไม่ได้ เริ่ม 1 ต.ค. 63 จริงหรือ
    การเชื่อมโยงข้อมูลใบสั่งจราจร (PTM) ระหว่าง กรมการขนส่งทางบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อให้อำนาจ กรมการขนส่งทางบกรับชำระค่าปรับที่ค้างชำระใบสั่งแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อมาชำระภาษีรถประจำปี อยู่ระหว่างการทดสอบระบบปฏิบัติงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ระบบการทำงานมีความเสถียรและสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่มีข่าวแชร์กันว่าผู้ขับขี่ที่ถูกออกใบสั่ง แล้วไม่ชำระค่าปรับ จะไม่ได้ต่อทะเบียนรถ หรือ ไม่สามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ เริ่ม 1 ต.ค. 63 จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ดีเดย์ 9 มกราคม 2566 เริ่มใช้ระบบตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ
    ต้องรู้ !! ดีเดย์ 9 มกราคม 2566 เริ่มใช้ระบบตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 20 ฐานความผิดตัด 1 - 4 คะแนน ค้างจ่ายค่าปรับตามใบสั่งตัดแต้มด้วย เปิดวิธีคืนคะแนน – เช็กสถานะ ช่องทางจ่ายค่าปรับจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ประชาสัมพันธ์ระบบตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ หรือ ตัดแต้มใบขับขี่ เพื่อเสริมสร้างวินัยจราจร เป้าหมายเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 9 มกราคม 2566 • 6 เรื่องต้องรู้ 1.ขับรถต้องมีใบขับขี่ โดยผู้ขับขี่ทุกคน มี 12 คะแนน 2.ทำผิดกฎจราจร ใน 20 ฐานความผิดที่อาจก่ออุบัติเหตุ หรือไม่ชำระค่าปรับจราจร ถูกตัดคะแนนตั้งแต่ 1 – 4 คะแนน ขึ้นอยู่กับความผิด 3.หากถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน 4.ฝ่าฝืนขับรถในช่วงถูกพักใบขับขี่ มีโทษจำคุก 3 เดือน และ/หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท 5.คืนคะแนนได้ ด้วยการเข้าอบรมกับกรมการขนส่งทางบก หรือรอให้ครบ 1 ปี จะได้คะแนนคืนอัตโนมัติ 6.หากถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นครั้งที่ 3 ภายในรอบ 3 ปี อาจถูกพักใช้ใบขับขี่มากกว่า 90 วัน และหลังจากนั้น ภายใน 1 ปี หากถูกตัดคะแนนอีกจนถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นครั้งที่ 4 อาจถูกเพิกถอนใบขับขี่ทุกประเภท “การตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ เรายึดหลักความโปร่งใส และความเท่าเทียมกัน โดยให้โอกาสปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรม และป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ตามมาตรฐานสากล เพื่อลดอุบัติเหตุ และสร้างความปลอดภัยให้ทุกคน” พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ กล่าว #ตัดแต้มใบขับขี่ #มั่นใจทุกข่าวสารตำรวจเพื่อคุณ #policeofficial #สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    มีมิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถจัดหาใบขับขี่ให้ได้โดยไม่ต้องไปสอบจริงหรือคะ
    ทางกรมการขนส่งทางบก เตือนอันตรายจากมิจฉาชีพหลอกทำใบอนุญาตขับรถ หรือแอบอ้างว่าสามารถทำใบอนุญาตขับรถให้ได้โดยไม่ต้องติดต่อด้วยตนเอง ไม่ต้องผ่านการทดสอบใดๆ ผู้ที่หลงเชื่อเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินเมื่อจ่ายไปแล้วมิจฉาชีพมักเงียบหาย สูญเสียเงิน สูญเสียเอกสารสำคัญ ได้ใบอนุญาตขับรถปลอม นำไปใช้มีความผิดตามกฎหมาย การขอรับใบอนุญาตขับรถต้องติดต่อกรมฯ หรือสำนักงานขนส่งโดยตรงเท่านั้น และต้องผ่านการทดสอบด้วยตนเองทุกขั้นตอนเท่านั้น จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือไม่ ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้แทนใบขับขี่จริงได้
    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การนำใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้แทนใบขับขี่ตัวจริงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง หลายฝ่ายต่างมีข้อสงสัยและตั้งคำถามว่า ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้แทนใบขับขี่จริงได้หรือไม่ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 นางสาวนัฐฒินา คำสา หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาตขับรถจากกรมการขนส่งทางบก จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน DLT QR Licence เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องพกใบขับขี่ตัวจริง แต่ต้องเป็นใบขับขี่แบบสมาร์ทการ์ดที่มีคิวอาร์โค้ดเท่านั้น ใบขับขี่ที่ไม่มีคิวอาร์โค้ดจะไม่สามารถใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันนี้ได้ ซึ่งระบบนี้ถือว่ามีความปลอดภัย เนื่องจากเจ้าหน้าที่สามารถสแกนด้วยคิวอาร์โค้ดตรวจสอบได้ ด้าน ร.ต.อ. อภิรัฐ เอกวารีย์ รองสารวัตรจราจร สภ.เมืองมหาสารคาม ยืนยันว่า การใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้แทนใบขับขี่ฉบับจริง โดยใช้แอปพลิเคชัน DLT QR Licence หรือการแสดงภาพถ่ายใบขับขี่ผ่านสมาร์ทโฟน ผู้ที่ต้องการใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำการเปลี่ยนใบขับขี่เป็นสมาร์ทการ์ดที่มีคิวอาร์โค้ด หากยังใช้ใบขับขี่รุ่นเก่าที่ไม่มีคิวอาร์โค้ด จะไม่สามารถใช้ฟีเจอร์การแสดงใบขับขี่ผ่านแอปพลิเคชันได้ (ข้อมูลสัมภาษณ์เมื่อ 16/07/67) ถึงแม้ว่าการใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์จะสะดวก แต่ผู้ขับขี่ควรระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลบนแอปพลิเคชันถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการตั้งค่าความปลอดภัยของโทรศัพท์ เช่น การล็อคหน้าจอ หรือใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัย รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการส่งต่อภาพถ่ายใบขับขี่ให้ผู้อื่นเพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม (ข้อมูลจากเว็บไซต์ : https://www.dlt.go.th/th) #จริงหรือไม่ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้แทนใบขับขี่จริงได้ #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม #จริงหรือไม่ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ใช้แทนใบขับขี่จริงได้ #อีสานโคแฟค #โคแฟคประเทศไทย #ชมรมสื่อสร้างสรรค์มมส #สื่อสร้างสรรค์มมสofficial
    64011215100
     •  20 วันที่แล้ว
    meter: false