1 คนสงสัย
สบู่คลอรีนขาวไว
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับสบู่คลอรีน โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ใช้แล้ว ผิวขาวใส ขายกัน อย่างแพร่หลายทางอินเทอร์เน็ต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยผู้บริโภค จึงได้ดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพบว่า สบู่คลอรีน (Chlorine Soap) มีการจดแจ้งด้วยระบบอัตโนมัติ เลขที่ ใบรับแจ้ง 10-1-5856095 และ 10-1-5855918 โดยสูตรที่มาแจ้งกับทาง อย. ไม่มีสารฟอกสีในกลุ่มคลอรีน เช่น Sodium hypochlorite, Calcium hypochlorite เป็นส่วนผสมแต่อย่างใด นอกจากนี้ ทาง อย. ได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ผลิต และได้มีการสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ตและนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปส่งตรวจวิเคราะห์ เพื่อหาสารที่เป็นอันตรายต่อไป
std48015
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์ D.U.D
    ตามที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ D.U.D คืนความอ่อนเยาว์กลับไปได้ 20 ปี ใน 3 เดือน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีผลิตภัณฑ์ D.U.D ที่ใช้ข้อความโฆษณาแสดงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ว่าสามารถคืนความอ่อนเยาว์กลับไปได้ 20 ปี ใน 3 เดือนนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ D.U.D จดแจ้งเป็นเครื่องสำอาง สำหรับบำรุงผิว มีเลขที่ใบจดแจ้ง 12-1-6300050347 และจากการตรวจสอบเว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์ D.U.D ได้ระบุสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถฟื้นฟู คืนความอ่อนเยาว์ให้แก่ผิวหน้า ลบริ้วรอยทันตาเห็น ลดอายุลงไปจากเดิม 20 ปี ใน 3 เดือน และกล่าวอ้างว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ดัง
    std47602
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    คลอรีนผงผสมน้ำเพื่ออาบ ทำให้ผิวขาว
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องคลอรีนผงผสมน้ำเพื่ออาบ ทำให้ผิวขาว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ คลอรีนเป็นสารกัดกร่อน จัดเป็นวัตถุอันตรายใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรค ไม่เหมาะกับร่างกายของมนุษย์ อีกทั้งจัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หากสัมผัสผิวหนังในปริมาณมากจะทำให้ผิวหนังไหม้รุนแรง ระคายเคืองดวงตาและระบบทางเดินหายใจ แนะใช้ตรงตามวัตถุประสงค์และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก เพื่อความปลอดภัย
    std47931
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ไอศกรีมดัดแปลง กลิ่นวานิลลา ถูก อย. ยกเลิกเลขสารบบอาหาร
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เพิกถอนเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ไอศกรีมดัดแปลง กลิ่นวานิลลา บริษัทเลียว (1981) ในช่วงปี พ.ศ.2562 ข้อมูลนี้ส่งถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน มีรายละเอียด ดังนี้ ชื่ออาหารบนฉลาก: ไอศกรีมดัดแปลง กลิ่นวานิลลา ข้อมูลสถานประกอบการ: บริษัทเลียว (1981) จำกัด (กรุงเทพมหานคร) (ใบอนุญาตที่ 10-1 -02658) ที่ตั้งสถานประกอบการ: บ้านเลขที่84,86 ซอยอ่อนนุช 70/1 ถนน หมู่ แขวงประเวศ เขตประเวศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10250 กรณีความผิด/สาเหตุที่ต้องยกเลิก: เป็นอาหารที่ตรวจสอบพบว่า ภายหลังได้รับเลขสารระบบอาหารแล้ว พนง.จนท.ตรวจสอบ ณ สถานที่ผลิตหรือสถานที่นำเข้า หรือต่อมาภายหลังพบว่า มีรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของเอกสารและข้อเท็จจริงไม่ตรง หรือไม่สอดคล้องกับข้อมูล หรือเอกสารประเมินผลิตภัณฑ์ที่ได้แจ้งไว้ เลขสถานที่/เลขสารบบอาหารที่ถูกยกเลิก: 10-1-02658-1-0005 คำสั่งยกเลิกเลขสารบบอาหาร/ลงวันที่: คำสั่ง อย. ที่ 376/2562 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2562 อ้างอิงจากเอกสารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา: https://drive.google.com/open?id=1dZAqXAtvIHw1UPBlLaol19JLC2balkgT
    naruemonjoy
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    โปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาวเป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็ง
    ตามที่มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่องโปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาวเป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
    std46207
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ อย.เตือนว่า ไม่ควรซื้อกรดทีซีเอมาใช้เองเพื่อหวังหน้าขาวใส เพราะกรดเข้มข้นสูงเสี่ยงหน้าพังได้
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบการจำหน่ายกรดทีซีเอ (Trichloroacetic Acid : TCA) ทางสื่อเฟซบุ๊กชื่อ Ac-beauty และเว็บไซต์ https://www.facebook.com/Acbeauty/ จากการตรวจสอบพบภาพผลิตภัณฑ์ยากรดทีซีเอที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. และข้อความโฆษณาขายยาแสดงสรรพคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น ลอกฝ้า กระ จุดด่างดำ แต้มไฝ หลุมสิว เป็นต้น กระกวนใจ จึงขอเตือนไปยังวัยรุ่นที่รักความงามต้องการมีผิวขาวใสเรียบเนียน อย่าหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้โดยเด็ดขาด เพราะกรดทีซีเอเป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนัง และต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย.เตือนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อ้างลดอ้วน ‘De2xy และ Me2shape’ เสี่ยงอันตราย
    อย.เตือนสาวอยากผอมระวัง อย่าซื้อผลิตภัณฑ์อวดอ้างลดอ้วน De2xy และ Me2shape พบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ขออนุญาตกับ อย. แถมโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิต นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ “De2xy และ Me2Shape” ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้น อย.ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบการโฆษณาสรรพคุณอ้างลดน้ำหนักทางเฟซบุ๊กชื่อ Sunisa Lv’tl แสดงข้อความในทำนองช่วยควบคุมน้ำหนัก เปลี่ยนหุ่นเสีย เป็นหุ่นสวย เพราะมีตัวช่วยหุ่นดีที่ไม่ต้องอด ก็ลดได้ เพียงแค่วันละ 1 - 2 แคปซูล ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตและโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้โฆษณาแล้ว นอกจากนี้ จากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาต้นตอแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ต่อไป รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า ขอเตือนภัยสาวอยากผอมพึงระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อคารมการโฆษณาเกินจริงจากผู้ขายโดยเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกรณีเป็นยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหาร เป็นยาที่กระตุ้นประสาทส่วนกลางการใช้จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ขณะรับประทานยา แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดยา หรือที่เรียกว่า yo-yo effect และผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่า ดังนั้น การใช้ยาเพื่อลดความอ้วน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น อย่าซื้อยามารับประทานเอง ส่วนกรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มักตรวจพบว่ามีการผสมยาหรือสารอันตราย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ขายอย่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอวดอ้างลดความอ้วนผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีทันที ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
    std47993
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กินคอลลาเจนกับวิตามินซี ทำให้ผิวขาวจริงไหม
    มีร้านค้าออนไลน์โฆษณาว่ากินทั้งวิตามินซี และคอลลาเจนจะทำให้ขาวขึ้นได้
    chang2717129
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ ห้ามจำหน่ายและนำเข้า เพราะมีส่วนผสมของ เนยขาว เนยเทียม และไขมันพืช ที่อาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด
    มีข้อความโพสต์ในเฟซบุคว่า กระทรวงสาธารณสุขห้ามจำหน่ายและนำเข้า เพราะมีส่วนผสมของ เนยขาว เนยเทียม และไขมันพืช ที่อาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 3 คนสงสัย
    ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ
    วันนี้ (3 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากฐานข้อมูลใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางไม่พบชื่อผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม” จึงได้ไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ พบว่าอย. ได้เคยประกาศผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ครีมรกแกะ หน้าขาวใสลดจุดด่างดำ” ว่าพบสารประกอบของปรอท (Mercury compound) ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ จัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง และเกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ ขอแนะนำให้ประชาชนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีฉลากภาษาไทยที่ระบุชื่อที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้า เลขที่ใบรับจดแจ้งอย่างชัดเจน หากไม่แน่ใจสามารถตรวจสอบข้อมูลการได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ อย.
    std46341
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน "จัสมี" อย. ชี้ โฆษณาเกินจริง พร้อมถอดเลข อย. ออกแล้ว
    พบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จัสมี ทางผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “เจ้สวย” โฆษณาโดยระบุสรรพคุณ “... สูตรเด็ด ๒ ตัวยา “บล็อค” เน้นๆ ดักจับแป้ง,น้ำตาล... “เบิร์น” รัว ๆ กระชับสัดส่วน...บวมออกแขนขาท้าเลย... “พุงยุบ” เร่งเผาผลาญ ไม่ต้องอดก็ลดได้... บอกลา หุ่นพังๆ” และระบุเลข อย. 10-1-20960-5-0120 ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากการโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. เมื่อตรวจสอบสถานะการอนุญาต พบว่าผลิตภัณฑ์เลขสารบบอาหาร 10-1-20960-5-0120 ได้ถูกยกเลิกแล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาทางออนไลน์ทั้งหมด และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว จึงขอเตือนภัยผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วน วิธีการลดน้ำหนักที่ดีที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและควบคุมอาหาร ไม่กินอาหารพร่ำเพรื่อ ควรกินอาหารที่หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม ลดการกินอาหาร หวาน มัน เค็ม รวมทั้งควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ อย. ไม่เคยอนุญาตให้ผลิตภัณฑ์อาหารโฆษณาไปในทางลดน้ำหนัก หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือตรวจสอบเลขผลิตภัณฑ์ผ่านทาง Oryor Smart Application หรือเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th
    std47993
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false