1 คนสงสัย
"ยาลดน้ำหนัก" อันตรายอย่างไรและเหมาะกับใคร?
อ.พญ.ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ยาลดน้ำหนัก” นั้นมีอยู่จริงและถูกใช้ในทางการแพทย์ แต่ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะถือเป็นยาที่ “มีผลข้างเคียงอันตราย” รวมถึงต้องเลือกคนไข้ที่จะใช้ยาเหล่านี้ให้ถูกต้องด้วย
สารที่เรามักพบในยาลดน้ำหนักและมีอันตรายได้แก่
1. “ไซบูทรามีน”
2. “ยาในกลุ่มแอมเฟตามีน”
3. “ยาระบาย บิสซาโคดิลและยาขับปัสสาวะ ฟูโรซีไมด์”
โดยทั่วไปแล้วยาลดน้ำหนักมีไว้ใช้สำหรับคนที่เป็น “โรคอ้วน”หรือคนที่ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายแล้วไม่เห็นผล
std48395
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

ลดความอ้วน

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    อย. ยกเลิกเลขสารบบอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เซเว่น เดย์ เซเว่น ดี
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เพิกถอนเลขสารบบอาหาร ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เซเว่น เดย์ เซเว่น ดี (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดจากถั่วขาว ผสมสารสกัดจากกระบองเพชร, สารสกัดจากผลส้มแขก, คอลลาเจนเปปไทด์จากปลา, สารสกัดจากพริกและโครเมียม) ในช่วงปี พ.ศ.2561 ข้อมูลนี้ส่งถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน มีรายละเอียด ดังนี้ ชื่ออาหารบนฉลาก: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เซเว่น เดย์ เซเว่น ดี กรณีความผิด/สาเหตุที่ต้องยกเลิก: อาหารไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากตรวจพบยาแผนปัจจุบัน Sibutramine (ยาลดน้ำหนัก) ข้อมูลสถานประกอบการ: บริษัทคอสมา แล็บ จำกัด (กรุงเทพมหานคร)(ใบอนุญาตที่ 10-1-13058) ที่ตั้งสถานประกอบการ: บ้านเลขที่ 678 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 60 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10150 เลขสารบบอาหารที่ถูกยกเลิก: 10-1-13058-1-0001 คำสั่งยกเลิก เลขสารบบอาหาร/ลงวันที่: คำสั่ง อย. ที่ 128/2561 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2561 อ้างอิงจากเอกสารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา: https://drive.google.com/open?id=1dZAqXAtvIHw1UPBlLaol19JLC2balkgT
    naruemonjoy
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย. ยกเลิกเลขสารบบอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราชูจ์ Choo'j Diet supplementary
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เพิกถอนเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ ตราชูจ์ Choo'j Diet supplementary ในช่วงปี พ.ศ.2561 ข้อมูลนี้ส่งถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน มีรายละเอียด ดังนี้ ชื่ออาหารบนฉลาก: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราชูจ์ Choo'j Diet supplementary กรณีความผิด/สาเหตุที่ต้องยกเลิก: อาหารไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากตรวจพบยาแผนปัจจุบัน Sibutramine (ยาลดน้ำหนัก) ข้อมูลสถานประกอบการ: บริษัท ชาร์แมซ ซี.เค. คอสเมด จำกัด (จ.ปทุมธานี)(ใบอนุญาตที่ 13-1-22459) ที่ตั้งสถานประกอบการ: ที่ตั้งสถานประกอบการ: บ้านเลขที่ 55/4 หมู่ 3 ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 เลขสารบบอาหารที่ถูกยกเลิก: 13-1-22459-5-0005 คำสั่งยกเลิก เลขสารบบอาหาร/ลงวันที่: คำสั่ง อย. ที่ 238/2561 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 อ้างอิงจากเอกสารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา: https://drive.google.com/open?id=1dZAqXAtvIHw1UPBlLaol19JLC2balkgT
    naruemonjoy
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    กินข้าวกล้องควบคุมน้ำหนักได้จริงหรอ???
    เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้อง กับข้าวขาว จะพบว่ามีปริมาณพอ ๆ กันแต่ข้าวกล้องจะมีวิตามิน และเกลือแร่ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า และเนื่องจากข้าวกล้องยังมีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ ทำให้ร่างกายย่อยข้าวกล้องได้ช้ากว่าข้าวขาว ร่างกายจึงนำเอาน้ำตาลที่ได้จากการย่อยข้าวไปใช้เป็นพลังงานได้น้อยกว่า นอกจากนี้ใยอาหารที่มีในข้าวกล้องยังช่วยให้อิ่มนาน ดังนั้นหากบริโภคข้าวกล้องในปริมาณที่เหมาะสม ลดการกินจุบจิบ ควบคู่กับการออกกำลังกายจะช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย. ยกเลิกเลขสารบบอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไรเนอร์ลูกสำรอง
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เพิกถอนเลขสารบบอาหารของ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไรเนอร์ลูกสำรองในช่วงปี พ.ศ.2561 ข้อมูลนี้ส่งถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน มีรายละเอียด ดังนี้ ชื่ออาหารบนฉลาก: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไรเนอร์ลูกสำรอง กรณีความผิด/สาเหตุที่ต้องยกเลิก: อาหารไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากตรวจพบยาแผนปัจจุบัน Sibutramine (ยาลดน้ำหนัก) ข้อมูลสถานประกอบการ: บริษัท เอสซีจี แกรนด์ จำกัด (จ.สมุทรสาคร) (ใบอนุญาตที่ 74-2-03357) ที่ตั้งสถานประกอบการ: ที่ตั้งสถานประกอบการ: บ้านเลขที่ 71 หมู่ 3 ตำบลคอกกระบือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 เลขสารบบอาหารที่ถูกยกเลิก: 74-2-03357-1-0314 คำสั่งยกเลิก เลขสารบบอาหาร/ลงวันที่: คำสั่ง อย. ที่ 239/2561 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 อ้างอิงจากเอกสารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา: https://drive.google.com/open?id=1dZAqXAtvIHw1UPBlLaol19JLC2balkgT
    naruemonjoy
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย.เตือนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อ้างลดอ้วน ‘De2xy และ Me2shape’ เสี่ยงอันตราย
    อย.เตือนสาวอยากผอมระวัง อย่าซื้อผลิตภัณฑ์อวดอ้างลดอ้วน De2xy และ Me2shape พบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ขออนุญาตกับ อย. แถมโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิต นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ “De2xy และ Me2Shape” ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้น อย.ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบการโฆษณาสรรพคุณอ้างลดน้ำหนักทางเฟซบุ๊กชื่อ Sunisa Lv’tl แสดงข้อความในทำนองช่วยควบคุมน้ำหนัก เปลี่ยนหุ่นเสีย เป็นหุ่นสวย เพราะมีตัวช่วยหุ่นดีที่ไม่ต้องอด ก็ลดได้ เพียงแค่วันละ 1 - 2 แคปซูล ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตและโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้โฆษณาแล้ว นอกจากนี้ จากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาต้นตอแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ต่อไป รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า ขอเตือนภัยสาวอยากผอมพึงระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อคารมการโฆษณาเกินจริงจากผู้ขายโดยเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกรณีเป็นยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหาร เป็นยาที่กระตุ้นประสาทส่วนกลางการใช้จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ขณะรับประทานยา แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดยา หรือที่เรียกว่า yo-yo effect และผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่า ดังนั้น การใช้ยาเพื่อลดความอ้วน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น อย่าซื้อยามารับประทานเอง ส่วนกรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มักตรวจพบว่ามีการผสมยาหรือสารอันตราย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ขายอย่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอวดอ้างลดความอ้วนผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีทันที ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
    std47993
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กินนมเปรี้ยวผสมโซดาผอมจริงไหม
    โดยข้อเท็จจริงนี้ รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ชี้แจงเอาไว้ในเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ว่าการดื่มโซดากับนมเปรี้ยวนั้นไม่ใช่สูตรการลดน้ำหนักแต่อย่างใด เพราะการดื่มเครื่องดื่มเพียงแค่ 2 อย่างนี้ ไม่ว่าอย่างไรน้ำหนักก็ต้องลงอยู่แล้วเนื่องจากโซดาไม่มีแคลอรี หรือแม้นมเปรี้ยวจะมีแคลอรีจากนมและน้ำตาล แต่ก็สามารถช่วยในการขับถ่ายได้ ซึ่งถ้าหากใครนำสูตรนี้ไปลองทำแล้วไม่มีการควบคุมน้ำหนัก หรือออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ก็ไม่มีทางที่น้ำหนักจะลงอย่างแน่นอน มิหนำซ้ำอาจจะทำให้อ้วนขึ้นจากการดื่มนมเปรี้ยวอีกด้วย เช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ออกมาเตือนว่า สามารถดื่มโซดานมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตได้ แต่ไม่ควรหวังผลว่าจะช่วยลดน้ำหนัก เพราะไม่มีงานวิจัยใดรับรอง
    61011215017
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย. ยกเลิก เลขสารบบอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เค-ฮาโก้
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เพิกถอนเลขสารบบอาหารของ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เค-ฮาโก้ ในช่วงปี พ.ศ.2561 ข้อมูลนี้ส่งถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน มีรายละเอียด ดังนี้ ชื่ออาหารบนฉลาก: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เค-ฮาโก้ กรณีความผิด/สาเหตุที่ต้องยกเลิก: อาหารไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากตรวจพบยาแผนปัจจุบัน Minoxidil (ยาปลูกผม), Finasteride (ยาปลูกผม), Sibutramine (ยาลดน้ำหนัก) ข้อมูลสถานประกอบการ: บริษัทไวทัล เฮลท์ โปรดักส์ จำกัด (จ.ปทุมธานี) (ใบอนุญาตที่ 13-1-18656) ที่ตั้งสถานประกอบการ: บ้านเลขที่ 55/31 หมู่ 4 ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 เลขสารบบอาหารที่ถูกยกเลิก: 13-1-18656-5-0027 คำสั่งยกเลิก เลขสารบบอาหาร/ลงวันที่: คำสั่ง อย. ที่ 239/2561 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 อ้างอิงจากเอกสารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา: https://drive.google.com/open?id=1dZAqXAtvIHw1UPBlLaol19JLC2balkgT
    naruemonjoy
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กระโดดเชือก ช่วยลดน้ำหนักได้ไหม
    กระโดดเชือก ช่วยลดน้ำหนักได้ไหม
    Mrs.Doubt
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ลดน้ำหนักผิดวิธี อาจทำให้ผมร่วง จริงไหม
    ลดน้ำหนักผิดวิธี อาจทำให้ผมร่วง จริงไหม
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    พบสาวถูกพักงานหลังกินยาลดน้ำหนักจนป่วยจิตเวช
    กรณีหญิงสาวชาวจังหวัดแพร่ เสียชีวิตจากอาการไตวาย หลังกินยาลดความอ้วนยี่ห้อหนึ่งซึ่งสั่งซื้อมาจากเพจเฟซบุ๊ก นี่เป็นผลข้างเคียงจากยาลดความอ้วนที่เกิดกับอวัยวะภายในร่างกาย แต่จากการตรวจสอบของแพทย์ยังพบว่า ยาลดความอ้วนมีส่วนผสมของสารกดประสาทที่เป็นอันตรายด้วย ซึ่งกรณีนี้ได้เกิดขึ้นกับหญิงสาววัยทำงานคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกินยาลดความอ้วนจนมีอาการทางจิตเวชจนถูกบริษัทสั่งพักงาน พี่สาวของพนักงานออฟฟิศหญิง วัย 24 ปี คนหนึ่ง เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา น้องสาวของเธอซึ่งเป็นกังวลเรื่องน้ำหนัก 68 กิโลกรัมของตัวเธอเอง จึงตัดสินใจสั่งซื้อยาลดน้ำหนักสูตร 1 จากเพจเฟซบุ๊กบริษัทยาลดน้ำหนักแห่งหนึ่ง มาทดลองกิน จำนวน 4 แผง ราคา 1,400 บาท ตอนนั้นยังไม่มีอาการข้างเคียง น้ำหนักลงช้า 2 เดือนน้ำหนักลดไปเพียง 1 กิโลกรัม จึงสั่งยามากินอีกชุดเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เปลี่ยนสูตรเป็นสูตรที่ 2 โดยตัวแทนจำหน่ายอ้างว่า จะทำให้น้ำหนักลดเร็วกว่ายาชุดแรกที่กินไป พี่สาวของหญิงสาวที่กินยาลดน้ำหนักคนนี้ เล่าต่อว่า หลังเริ่มกินยาชุดที่สองไปได้ไม่นาน น้องสาวก็เริ่มมีอาการหวาดระแวงผู้คน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ส่งผลถึงภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่จนบริษัทต้องสั่งพักงาน เมื่อรู้ว่าน้องสาวเป็นอย่างนี้จึงรีบพาพบแพทย์เพื่อรักษา ซึ่งแพทย์วินิจฉัยในเบื้องต้นว่า สาเหตุที่น้องสาวของเธอมีอาการทางจิตเวชน่าจะมาจากการกินยาลดน้ำหนัก ส่วนชนิดของยาพี่สาวของผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ยามีทั้งหมด 4 ชนิด รับประทาน 2 ครั้งต่อวัน จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกร พบว่า มียา 2 ชนิดที่กินก่อนอาหารเช้า เป็น ยากดประสาท (แคปซูนสีน้ำเงินขาว) และยาระบาย (เม็ดเล็กสีเหลือง) ส่วนยาที่กินก่อนนอนเป็นยานอนหลับ (เม็ดสีเหลือง) และวิตามิน (เม็ดสีแดง) ขณะที่ นพ.สุขุม กาญจพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ยาลดน้ำหนักส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งเป็นฤทธิ์จากสารประเภทไซบูทรามีนหรือเฟตามีน ทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ซึ่งจุดนี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการทางจิตได้ที่ผ่านมา ครอบครัวของหญิงสาวผู้เสียหายคนนี้ได้ทวงถามความรับผิดชอบจากตัวแทนจำหน่ายยา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ขณะที่เพจเฟซบุ๊กที่จำหน่ายยาลดน้ำหนักแห่งนี้ก็ยังอัปเดตเนื้อหาในเพจเพื่อขายสินค้าตลอดเวลาจึงปรึกษากับทนายความและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เพื่อเตรียมดำเนินการฟ้องร้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
    std47882
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false