1 คนสงสัย
ครีมฟ้าขาว
ครีมตลับสีฟ้า กับตลับสีขาว ที่ครีมตลับขาวมันจะหนืดๆหน่อยรึเปล่าคะ
ถ้าใช่ อย่าลองเชียวนะคะ เราเคยใช้มาเมื่อตอนปีที่แล้ว ยอมรับว่าชุดแรกที่ใช้หน้าใสมากก รอยสิวงี้หายเกลี้ยงหมด
พอเริ่มชุดสอง รู้สึกว่าหน้ามันเริ่มหยาบๆ ผิวมันหยาบๆ เลยหยุดใช้
แรกๆยังไม่เป็นอะไร พอสักพัก สิวผด สิวอังเสบ สิวหนอง มาหมด
จนตอนนี้ผ่านมาปีกว่าแล้วสิวยังไม่หายเลยค่ะ
กลายเป็นคนที่หน้าแพ้ง่ายมาก ใช้อะไรก็แพ้
ไม่น่าหลวมตัวไปใช้เลย แพงอีกตะหาก ตอนนั้นที่ซื้อมาราคาเกือบพัน
Waraluk Chucheep
 •  2 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    คลอรีนผงผสมน้ำเพื่ออาบ ทำให้ผิวขาว
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องคลอรีนผงผสมน้ำเพื่ออาบ ทำให้ผิวขาว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ คลอรีนเป็นสารกัดกร่อน จัดเป็นวัตถุอันตรายใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรค ไม่เหมาะกับร่างกายของมนุษย์ อีกทั้งจัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หากสัมผัสผิวหนังในปริมาณมากจะทำให้ผิวหนังไหม้รุนแรง ระคายเคืองดวงตาและระบบทางเดินหายใจ แนะใช้ตรงตามวัตถุประสงค์และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก เพื่อความปลอดภัย
    std47931
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ดื่มน้ำมะนาวฆ่าเชื้อโควิด19 ไม่ได้
    กรณีที่มีการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ ถึงสรรพคุณของมะนาว ที่อ้างว่าสามารถรักษาโรคโควิด-19 จึงนำข้อมูลนี้ สอบถามกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกัน แห่งประเทศไทย ระบุว่า มะนาวมีวิตามินซีสูง ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ดร.นพ.พรเทพ กล่าวว่า “สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นการฆ่าเชื้อโรค แต่ไปทำให้เชื้อโรคไม่สามารถฝังเข้าไปในเซลล์ของทางเดินหายใจและปอดได้ง่าย และให้กำจัดออกทิ้งไป ยังไม่มียาใดๆ ทั้งสิ้น ในการฆ่าเชื้อไวรัส ในโลกนี้ ยาที่มีอยู่ ที่ใช้ตอนนี้คือ ยาฟาวิราเวียร์ ก็เพียงแต่ทำให้เชื้อมันอ่อนแรง และร่างกายกำจัดมันด้วยการกินมันด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวเท่านั้นเอง แต่อย่าไปเข้าใจผิดว่าถ้าเราป่วยหนัก แล้วไปถินพวกนี้จะทำให้เชื้อหมดไปจากร่างกาย มันเป็นไปไม่ได้” ดร.นพ.พรเทพ กล่าว อ้างอิง: Workpoint Today
    naruemonjoy
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    โปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาวเป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็ง
    ตามที่มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่องโปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาวเป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
    std46207
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ อย.เตือนว่า ไม่ควรซื้อกรดทีซีเอมาใช้เองเพื่อหวังหน้าขาวใส เพราะกรดเข้มข้นสูงเสี่ยงหน้าพังได้
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบการจำหน่ายกรดทีซีเอ (Trichloroacetic Acid : TCA) ทางสื่อเฟซบุ๊กชื่อ Ac-beauty และเว็บไซต์ https://www.facebook.com/Acbeauty/ จากการตรวจสอบพบภาพผลิตภัณฑ์ยากรดทีซีเอที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. และข้อความโฆษณาขายยาแสดงสรรพคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น ลอกฝ้า กระ จุดด่างดำ แต้มไฝ หลุมสิว เป็นต้น กระกวนใจ จึงขอเตือนไปยังวัยรุ่นที่รักความงามต้องการมีผิวขาวใสเรียบเนียน อย่าหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้โดยเด็ดขาด เพราะกรดทีซีเอเป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนัง และต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
    naydoitall
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    มะนาวผสมเหล้าขาวรักษาโควิค
    เหล้าขาว​ 40​ ดีกรี​ ผสมมะนาวดื่มช่วยยับยั้งเชื้อโควิคได้
    Somboon​ Pakfu​ Feijai​ (Feijai)​
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กินคอลลาเจนกับวิตามินซี ทำให้ผิวขาวจริงไหม
    มีร้านค้าออนไลน์โฆษณาว่ากินทั้งวิตามินซี และคอลลาเจนจะทำให้ขาวขึ้นได้
    chang2717129
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ ห้ามจำหน่ายและนำเข้า เพราะมีส่วนผสมของ เนยขาว เนยเทียม และไขมันพืช ที่อาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด
    มีข้อความโพสต์ในเฟซบุคว่า กระทรวงสาธารณสุขห้ามจำหน่ายและนำเข้า เพราะมีส่วนผสมของ เนยขาว เนยเทียม และไขมันพืช ที่อาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด
    naydoitall
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    พบสาวถูกพักงานหลังกินยาลดน้ำหนักจนป่วยจิตเวช
    กรณีหญิงสาวชาวจังหวัดแพร่ เสียชีวิตจากอาการไตวาย หลังกินยาลดความอ้วนยี่ห้อหนึ่งซึ่งสั่งซื้อมาจากเพจเฟซบุ๊ก นี่เป็นผลข้างเคียงจากยาลดความอ้วนที่เกิดกับอวัยวะภายในร่างกาย แต่จากการตรวจสอบของแพทย์ยังพบว่า ยาลดความอ้วนมีส่วนผสมของสารกดประสาทที่เป็นอันตรายด้วย ซึ่งกรณีนี้ได้เกิดขึ้นกับหญิงสาววัยทำงานคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกินยาลดความอ้วนจนมีอาการทางจิตเวชจนถูกบริษัทสั่งพักงาน พี่สาวของพนักงานออฟฟิศหญิง วัย 24 ปี คนหนึ่ง เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา น้องสาวของเธอซึ่งเป็นกังวลเรื่องน้ำหนัก 68 กิโลกรัมของตัวเธอเอง จึงตัดสินใจสั่งซื้อยาลดน้ำหนักสูตร 1 จากเพจเฟซบุ๊กบริษัทยาลดน้ำหนักแห่งหนึ่ง มาทดลองกิน จำนวน 4 แผง ราคา 1,400 บาท ตอนนั้นยังไม่มีอาการข้างเคียง น้ำหนักลงช้า 2 เดือนน้ำหนักลดไปเพียง 1 กิโลกรัม จึงสั่งยามากินอีกชุดเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เปลี่ยนสูตรเป็นสูตรที่ 2 โดยตัวแทนจำหน่ายอ้างว่า จะทำให้น้ำหนักลดเร็วกว่ายาชุดแรกที่กินไป พี่สาวของหญิงสาวที่กินยาลดน้ำหนักคนนี้ เล่าต่อว่า หลังเริ่มกินยาชุดที่สองไปได้ไม่นาน น้องสาวก็เริ่มมีอาการหวาดระแวงผู้คน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ส่งผลถึงภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่จนบริษัทต้องสั่งพักงาน เมื่อรู้ว่าน้องสาวเป็นอย่างนี้จึงรีบพาพบแพทย์เพื่อรักษา ซึ่งแพทย์วินิจฉัยในเบื้องต้นว่า สาเหตุที่น้องสาวของเธอมีอาการทางจิตเวชน่าจะมาจากการกินยาลดน้ำหนัก ส่วนชนิดของยาพี่สาวของผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ยามีทั้งหมด 4 ชนิด รับประทาน 2 ครั้งต่อวัน จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกร พบว่า มียา 2 ชนิดที่กินก่อนอาหารเช้า เป็น ยากดประสาท (แคปซูนสีน้ำเงินขาว) และยาระบาย (เม็ดเล็กสีเหลือง) ส่วนยาที่กินก่อนนอนเป็นยานอนหลับ (เม็ดสีเหลือง) และวิตามิน (เม็ดสีแดง) ขณะที่ นพ.สุขุม กาญจพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ยาลดน้ำหนักส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งเป็นฤทธิ์จากสารประเภทไซบูทรามีนหรือเฟตามีน ทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ซึ่งจุดนี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการทางจิตได้ที่ผ่านมา ครอบครัวของหญิงสาวผู้เสียหายคนนี้ได้ทวงถามความรับผิดชอบจากตัวแทนจำหน่ายยา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ขณะที่เพจเฟซบุ๊กที่จำหน่ายยาลดน้ำหนักแห่งนี้ก็ยังอัปเดตเนื้อหาในเพจเพื่อขายสินค้าตลอดเวลาจึงปรึกษากับทนายความและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เพื่อเตรียมดำเนินการฟ้องร้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
    std47882
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    บุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน ผงะครีมปลอม กวนเอง ส่งขายต่างจังหวัด นาน 4 ปี
    ปคบ.ร่วม อย.บุกทลายโรงงานผลิตครีมเถื่อน ย่านพระราม 2 ยึดของกลางครีมสมุนไพร และครีมบำรุงผิว กวนเองหลายยี่ห้อ พบผสมสารอันตราย ทำมา 4 ปี ส่งขายให้กับยี่ปั๊ว เน้นพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ บุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน ผงะครีมปลอม กวนเอง ส่งขายต่างจังหวัด นาน 4 ปี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา พ.ต.อ.ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. พร้อม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้นเข้าค้นบ้านเลขที่ 2708 พระราม 2 ซอย 47 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ หลังรับแจ้งว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องสำอางเถื่อน และจำหน่ายเครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่เกิดเหตุเป็นบ้านปูน 2 ชั้น ชั้นล่าง 1 ห้อง ชั้นบน 2 ห้อง ถูกแบ่งเป็นห้องกวนครีม พบสารสเตียรอยด์ ยาแก้อักเสบ ครีมเบส สีไม่ทราบชนิด หัวน้ำหอม และเครื่องกวนครีมพร้อมนำมาผสม ส่วนอีกห้องเป็นห้องสำหรับบรรจุครีม มีกระปุกครีมจำนวนมาก มีพนักงานกำลังกวนครีม 4 คน และเจ้าของบ้าน ทราบชื่อ น.ส.พาณี ปิตโต อายุ 52 ปี เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตรวจยึดของกลางทั้งหมดที่เป็นครีมสมุนไพร และครีมบำรุงผิวหลายยี่ห้อ ที่ไม่ได้ขออนุญาตในการผลิตจาก อย. จัดเป็นเครื่องสำอางปลอม หนึ่งในนั้นคือครีมตลับสีขาวฝาน้ำเงิน ที่ อย. เคยตรวจพบสารไฮโดรควิโนน และกรดเรทิโนอิก และสั่งห้ามขายไปแล้วด้วย จากการสอบสวน น.ส.พาณี ให้การว่า เคยทำงานเป็นเซลล์ขายเครื่องสำอาง เห็นว่าครีมลักษณะดังกล่าวขายดีติดตลาด จึงออกมาผสมครีมขายเอง และเช่าบ้านหลังดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับกวนครีมเองมานาน 4 ปีแล้ว โดยซื้อครีมเบส มาผสมกับสี และหัวน้ำหอม เพื่อแต่งกลิ่น สี และผสมสารอันตราย เช่น สารปรอท หรือไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอเข้าไป แต่ช่วงหลังสาร 2 ตัวนี้หายาก จึงปรับสูตรไปใส่สารสเตียรอยด์ ก่อนจะนำไปติดฉลากยี่ห้อหรือสวมยี่ห้อที่เคยโด่งดังในตลาด ส่งขายให้กับยี่ปั๊ว 4 เจ้า โดยเน้นขายในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ เบื้องต้นแจ้งข้อหา ผลิตเครื่องสำอางที่สงสัยว่ามีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม ผลิตเครื่องสำอางไม่จดแจ้ง ผลิตเครื่องสำอางที่ใช้ฉลากไม่ถูกต้อง และจะขยายผลตรวจสอบเส้นทางการเงิน จับกุมยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ที่รับครีมเหล่านี้ไปขายต่อด้วย ด้าน ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ครีมของกลางที่พบนี้ ล้วนแล้วแต่มีลักษณะที่เข้าข่าย มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ปรอท สารไฮโดรควิโนน กรดเรติโนอิก ที่ อย. สั่งห้ามใช้ และแจ้งเตือนประชาชนหลายครั้ง เคยจับมาแล้วเมื่อปี 52 และประกาศห้ามใช้ เพราะมีสารอันตรายต่อร่างกาย แม้จะเห็นผลเร็ว แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง จากผิวที่ดูขาวจะกลายเป็นดำคล้ำ มีภาวะผิวบาง เกิดฝ้าถาวร หากเป็นสิวก็เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งหากเป็นรอยแผลถาวร ก็จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงขอเตือนประชาชนอย่าซื้อครีมลักษณะนี้มาใช้ แต่ให้ซื้อครีมยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการจดแจ้งถูกต้องจากทาง อย.
    std47982
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 3 คนสงสัย
    ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ
    วันนี้ (3 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากฐานข้อมูลใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางไม่พบชื่อผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม” จึงได้ไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ พบว่าอย. ได้เคยประกาศผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ครีมรกแกะ หน้าขาวใสลดจุดด่างดำ” ว่าพบสารประกอบของปรอท (Mercury compound) ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ จัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง และเกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ ขอแนะนำให้ประชาชนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีฉลากภาษาไทยที่ระบุชื่อที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้า เลขที่ใบรับจดแจ้งอย่างชัดเจน หากไม่แน่ใจสามารถตรวจสอบข้อมูลการได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ อย.
    std46341
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false