ในยุคที่ข่าวสารหมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เฟคนิวส์ (Fake news) กลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งบนช่องทางการสื่อสาร โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดีย ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนจำนวนมาก ตั้งแต่เรื่องความเข้าใจด้านสุขภาพ ไปจนถึงทัศนคติทางการเมือง และการสร้างความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์แตกต่างกัน
แม้ว่าจะมีความพยายามจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ที่พยายามเคลื่อนไหวเพื่อหยุดยั้งเฟคนิวส์ ด้วยการรวมกลุ่มตรวจจับและพิสูจน์ข้อมูล แต่ดูเหมือนว่าเฟคนิวส์ยังคงแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง
พร้อมคำถามที่เกิดขึ้นว่า “เหตุใดคนถึงเชื่อเฟคนิวส์?” ทั้งๆ ที่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้ง่ายในปัจจุบัน การพิสูจน์ความจริงในหลายเรื่องจึงไม่ใช่เรื่องยากเกินตัว Hfocus ชวนคุยกับ หมอแพท-อุเทน บุญอรณะ นักเขียนและแพทย์ด้านประสาทวิทยา โดยมองเฟคนิวส์ผ่านมุมมองด้านจิตวิทยา หาคำอธิบายถึงสาเหตุที่คนพร้อมเชื่อในสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ พร้อมข้อเสนอการรับมือเฟคนิวส์ที่มีประสิทธิผล
หมอแพทมองเห็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของเฟคนิวส์ในตอนนี้ อย่างไรบ้าง?
สถานการณ์เฟคนิวส์มัน “เคยรุนแรง” เราผ่านช่วงความรุนแรงของเฟคนิวส์ไปแล้ว คำว่ารุนแรงของเฟคนิวส์ แพทไม่ได้นับที่ปริมาณเฟคนิวส์เยอะหรือน้อย แพทนับที่ปริมาณสติสัมปชัญญะของคนที่ React (ตอบสนอง) ต่อเฟคนิวส์
สมัยก่อน เวลาที่เฟคนิวส์ออกมา ทุกคนพร้อมจะรับเฟคนิวส์และดราม่ากับเฟคนิวส์ แต่เดี๋ยวนี้ คนเริ่มมีความ “เอ๊ะ” หรือ “จริงเหรอ?” การที่คนเริ่ม “เอ๊ะ” มากขึ้น แพทถือว่าคนเริ่มมีสติสัมปชัญญะขึ้น เราก็เลยผ่านจุด Crisis (วิกฤติ) ของเฟคนิวส์มาแล้ว เพราะทุกครั้งที่มีข่าว มันจะต้องมีใครสักคนที่จุดประกายขึ้นมาว่า “เฮ่ย จริงหรือเปล่า” แพทให้ไม่เกินคอมเมนท์ที่ร้อย มันต้องมีคนมาแบบว่า “ใช่เหรอ” “ความจริงเป็นแบบนี้ต่างหาก” หลายคนที่เล่นอินเตอร์เน็ต ยังเป็นนักจับเฟคนิวส์อีกด้วย
เฟคนิวส์เป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว เฟคนิวส์ไม่ได้มีเยอะขึ้น แต่เราแค่เห็นมันเยอะขึ้นในปัจจุบัน เพราะเราใช้โซเชียลมีเดียกันเยอะขึ้น
เฟคนิวส์คือสิ่งเดียวกับกอซซิป (Gossip) หรือการนินทาชาวบ้าน เหมือนทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) และเหมือนแชร์ลูกโซ่ สี่เรื่องนี้คือเรื่องเดียวกัน มันคือ คือการโฆษณาชวนเชื่อแบบหนึ่ง เช่น เวลาเรานินทาใครสักคนหนึ่ง เราต้องการให้เขามาเป็นพวกเรา เราต้องการให้เค้า Against (ต่อต้าน) อีกฝ่าย ทฤษฎีสมคบคิดก็เหมือนกัน เราต้องการ Manipulate (ชี้นำ) ให้คนฟังเลือกข้าง และด่าอีกข้างหนึ่ง เช่นเดียวกับแชร์ลูกโซ่ เราต้องการให้อยู่ฝ่ายเรา จงเอาเงินมาให้ฉัน ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐาน แต่คนก็เชื่อ
คิดว่าทำไมคนถึงเชื่อโดยไม่มีหลักฐาน?
จริงๆ แล้วข้อความหลายอย่างไม่ได้น่าเชื่อถือสำหรับเรา เราไม่ได้เชื่อข้อความที่เขาบอกเรา แต่สิ่งที่เขาพูดมันดันไปตรงกับอะไรลึกๆ ในใจเราต่างหาก มันเป็นอะไรที่สั่นพ้อง หรือ Resonance ตรงกับความเชื่อในใจเรา เราจึงเชื่อ แล้วรับมันมาทันที ฉะนั้น ข่าวลวงอะไรที่เราเชื่อ มันคือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนจริงๆ ของเรา
มีกระบวนการทางจิตวิทยาอย่างไรที่ทำให้คนเชื่อ?
เราเคยไหม ที่เราเกลียดใครบางคนโดยที่เราไม่เคยเจอเขา แค่ฟังเรื่องเล่าของเขาเฉยๆ จริงๆ สิ่งที่เราเกลียด คือ นามธรรมในตัวเขา เช่น เราได้ยินเรื่องเล่าของเขาที่เกี่ยวกับความโลภ เราเกลียดคนโลภ เลยไม่ชอบเขา
แต่มันมีข้อความต่อท้ายอีกนิดหนึ่ง “ขนาดชั้นเป็นคนโลภ ยังไม่ทำแบบเขาเลย” เวลาเราเกลียดใคร สิ่งที่เราเกลียดคือภาพขยายของตัวเราที่เราเกลียด บางเรื่องที่ไม่ดีของเรา เรารู้ว่าไม่ดี เช่น ความโลภไม่ดี ขี้นินทาไม่ดี เราก็เลยเก็บไว้เป็นหลืบในใจ เราไม่ทำ แต่ทันทีที่เราเห็นใครทำสิ่งนี้ออกมาอย่างโจ่งแจ้ง โดยไม่ละอายอะไรเลย เราจึงเกลียดเขา
ในแง่การทำงานของสมอง เฟคนิวส์ทำให้คนเชื่อได้อย่างไร?
เราอาจใช้เฟคนิวส์เป็นตัวศึกษาสมอง หรือศึกษาความเชื่อของคน สมมติเวลาเรารับสารมาบางเรื่อง เราต้องไตร่ตรอง ดูหลักฐานข้อมูล ใช้ความรู้ที่เรามีคิดวิเคราะห์ สมองส่วนหน้า หรือ Prefrontal cortex ของเราจะทำงานว่าสารที่เรารับมาสมเหตุสมผลไหม ตรงกับความรู้ทั่วไปหรือเปล่า มีอะไรยืนยันไหม ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก (ทำท่าเช็คลิสต์) โอเค ครบหมด เชื่อถือได้ เรารับเข้ามา
แต่ก็จะมีบางข้อความ ที่เหมือนว่าจะไม่ผ่าน Prefrontal cortex คือ เข้ามาในสมองเราปุ๊ป แล้วแบบมันใช่เลย ไม่ผ่านการคิดวิเคราะห์ใดทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่ข้อความเข้าหูวิธีเดียวกัน ไป Activate (ทำงานกับ)สมองวิธีเดียวกัน แต่มันกลายเป็นความเชื่อฝังหัวไปเลยโดยที่ไม่ต้องผ่านสมองส่วนหน้า
แสดงว่ามีบางส่วนในสมองเป็น “ทางผ่านลัด” เขาเชื่อกันว่าคือส่วนสมองบริเวณอะมิกดะลา (Amygdala) คือสมองส่วนที่เกี่ยวกับสัญชาตญาณ เช่น หากเรามีความเกลียดความชังฝังอยู่ หรืออะไรก็ตามที่ฝังไว้ลึก ถ้ามันไปสั่นพ้องกับตรงนี้ปุ๊ป ก็จะได้เข้าทางด่วน ไม่ต้องผ่านการพิจารณาใดๆ ทั้งสิ้น การคิดวิเคราะห์เรื่องเหตุผลและหลักการจะถูกยกเลิก ฉันจะเชื่อเขาทันที
ที่พูดว่าคนเชื่อเพราะตรงกับอะไรบางอย่างในใจ แล้วถ้ามองในมุมของคนที่ปล่อยเฟคนิวส์ เราใช้จิตวิทยาเดียวกันกับการที่คนเชื่อเฟคนิวส์ มองคนปล่อยเฟคนิวส์ได้ไหม?
ทุกคนทำอะไรมีจุดประสงค์ คนที่ปล่อยเฟคนิวส์ก็มีจุดประสงค์ จุดประสงค์ของเฟคนิวส์ส่วนมาก คือ สร้างความเกลียด ที่เหลืออาจเป็นการหวังผลทาง Financial (การเงิน) เพราะโลกเราหมุนด้วยสองอย่างนี้ คือความเกลียดและทุนนิยม
เช่น แชร์ลูกโซ่ ปล่อยออกมาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า หรือเรื่องการกักตุนหน้ากาก ตอนแรกหน้ากากไม่ขาดแคลนจริงๆ ทันทีที่มีคนปล่อยข่าวว่าหน้ากากขาดแคลน คนก็จะเริ่มกักตุนหน้ากาก คนที่มีอำนาจ ก็ Panic (ตระหนก) ตามเฟคนิวส์ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น หน้ากากขาดแคลนมีหลักฐานอะไรบ้าง หลักฐานมาโผล่ 1 สัปดาห์หลังจากที่เขามาบอกว่าหน้ากากขาดแคลน โรงพยาบาลเริ่มไม่มีหน้ากาก มีคนที่ได้ประโยชน์จากการกักตุนสินค้า นี่คือการหวังผลทางการเงิน การหวังผลทางการเงิน โยงกับการที่มีเฟคนิวส์ระบาดมากในประเด็นสุขภาพหรือไม่?
การที่เขาบอกว่าให้กินมะนาวโซดาแก้ทุกโรค เราอาจมองว่าไม่มีใครได้รับประโยชน์ เพราะเขาไม่ได้ขายโซดา ไม่ได้ขายมะนาว แต่จริงๆ มีคนได้รับประโยชน์ พวกนี้จะมี Seeding คือการวางเมล็ดพันธุ์แห่งความไม่ไว้วางใจศาสตร์การแพทย์ปัจจุบัน ให้มาเชื่ออย่างอื่นแทน มันจะไม่จบที่มะนาวกับโซดา มันจะไปจบที่ผลิตภัณฑ์อะไรสักอย่างหนึ่งที่เขารออยู่ที่ปลายทาง
เขาหยดเมล็ดพันธุ์ ใส่ปุ๋ยนิดหน่อย ใส่น้ำตาม พอเมล็ดโตขึ้น ก็เก็บเกี่ยวพืชผล สมมติว่าคุณตั้งโพสต์เรื่องมะนาวโซดาในเฟซบุ๊คคุณ แล้วคุณให้มันโปรโมต ให้มันเก็บข้อมูลว่าใครที่เข้าถึงโพสต์นี้ แล้วคุณตั้ง Target (เป้าหมาย) คนที่เชื่อเรื่องมะนาวโซดามีแนวโน้มที่จะเชื่อเรื่องอาหารเสริม แล้วคุณค่อยแอดอย่างอื่นเข้ามาทีหลัง ผ่านคนที่เข้าถึงข้อมูลมะนาวโซดา หรือเรียกว่า Retargeting คนกลุ่มนี้ ดังนั้น มะนาวโซดาคือด่านแรก คล้ายแบบสอบถามว่าเขาสนใจเรื่องการแพทย์นอกกระแส หรือการแพทย์หลอกลวงหรือไม่ ถ้าเขาชอบ คุณก็จะได้รายชื่อคนกลุ่มนี้มาขายของอย่างอื่นต่อ
หลายครั้งที่เราเห็นความเกลียดเกี่ยวโยงกับกับเฟคนิวส์ หมอแพทมองว่าเฟคนิวส์จะทำงานไปได้ถึงขั้นไหน ทำให้เราเกลียดกันได้มากกว่านี้อีกมั้ย ?
เฟคนิวส์เป็น “อุปกรณ์” ในการสร้างความเกลียด Boss (หัวหน้า) ของเฟคนิวส์ คือ ความเกลียด ถ้าให้ความเกลียดเป็นคนหนึ่งคน หรือเป็นหัวหน้าคนหนึ่ง มันใช้ลูกน้องที่ชื่อเฟคนิวส์มาทำให้มนุษย์เกลียดกัน แพทมองว่าตอนนี้เป็นจุดที่เฟคนิวส์อยู่ในช่วง Decline (ตกต่ำลง) คือ ปล่อยเฟคนิวส์มากี่ครั้ง ก็โดนคนจับได้ ต่อไป คนจะพบว่าเฟคนิวส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ได้เรื่อง สร้างความเกลียดไม่ได้แล้ว มันจะมีอุปกรณ์ใหม่เกิดขึ้น เพราะความเกลียดจะยังอยู่ต่อไป Boss ใหญ่ยังอยู่ Boss แค่เปลี่ยนอุปกรณ์ เปลี่ยนลูกน้องในการสร้างความเกลียด
คิดว่าอุปกรณ์ใหม่จะเป็นอะไรได้บ้าง?
เมื่อก่อนอุปกรณ์คือ ความเชื่อ ใครเห็นไม่ตรงกันกับเราจะถูกตีตราเป็นแม่มด ถัดมาคือ ใครเห็นไม่ตรงกับเราถูกตีตราว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ปัจจุบัน ใครเห็นไม่ตรงกับเรา หากเป็นฝ่าย liberal หน่อย คนเห็นไม่ตรงกับเราคือสลิ่ม ทั้งๆ ที่การเห็นไม่ตรงกับเราไม่ได้แปลว่าทุกคนเป็นสลิ่ม
อุปกรณ์จะมีการเปลี่ยนโฉมหน้าไปเรื่อยๆ ต่อไปไม่รู้ อาจเป็นอย่างอื่นแทน อาจเป็นเฟคนิวส์ที่มีวิวัฒนาการกว่านี้ เช่น เฟคนิวส์ที่มีการสร้างหลักฐานมาเพิ่ม
มีการศึกษาในเรื่อง Peer group (กลุ่มสมาชิก) ที่พูดกันว่าเรามักจะได้รับอิทธิพลจากสมาชิกกลุ่มให้คิดหรือเชื่อเหมือนกัน สามารถนำการศึกษานี้มาอธิบายเรื่องเฟคนิวส์ได้หรือไม่?
มีงานวิจัยที่ทำมานานแล้ว เรื่อง “People in the lift” คือในลิฟต์มีหน้าม้าของทีมวิจัยอยู่ประมาณ 10 คน ทุกคนหันหน้าไปทางซ้ายหมด พอเราขึ้นลิฟต์เราก็จะหันไปทางซ้ายตาม เพราะเรากลัวการที่จะไม่เหมือนชาวบ้านเขา เพราะเราไปอยู่ใน Chamber (ห้อง) ที่แคบเดียวกัน ถ้าเราไปอยู่ใน Chamber หนึ่ง มันจะทำให้เราอยากทำแบบหนึ่งโดยที่เราคิดว่าเราอยากทำ ทั้งๆ ที่เปล่าเลย สิ่งแวดล้อมบังคับให้เราอยากทำ
การมองสังคมกับ Social network (เครือข่ายทางสังคม) ก็เหมือนกัน มันคือ Echo chamber (ห้องสะท้อนเสียง) เช่น บนทวิตเตอร์ คุณไปทวิตหรือรีทวิตอะไรที่เกี่ยวกับดาราเกาหลี แป็ปเดียวเท่านั้น หน้าฟีดของคุณจะมีแต่เรื่องศิลปินเกาหลีเต็มไปหมด เราจะเข้าใจว่าสังคมนี้ชอบศิลปินเกาหลีกันหมด
แต่จริงๆ เปล่าเลย สังคมในทวิตเตอร์นั้นมีคนชอบเกาหลีแค่ติ่งหนึ่ง ที่เหลือพูดเรื่องอื่น เรื่องหมาแมว แต่เราเข้าใจว่าทวิตเตอร์เป็นโลกของเกาหลี เพราะเราไปอยู่ใน Echo chamber ที่มีแต่เสียงสะท้อนพูดถึงศิลปินเกาหลี มันเป็นการสะกดจิตบน Cyber space (พื้นที่บนโลกไซเบอร์) แบบใหม่ มันเป็น Echo chamber ที่ Force (บังคับ) ให้เราอินไปด้วย แต่บางครั้งหากเราอินอยู่แล้ว เราก็พยายามไขว่คว้าหา Echo chamber ที่เราอิน เข้าไปในนั้นเพราะรู้สึก Fit in (เหมาะสมกับเรา) มีแต่คนที่ชอบแบบเดียวกับเรา
แต่สังคมไม่เหมือนในลิฟต์ เราเข้าถึงข้อมูลเยอะมากวันนี้ อยากเสิร์ชอะไรก็เสิร์ชได้ ทำไม Echo chamber ยังมีอยู่?
เพราะความอยาก เราไม่อยากจะไปหาข้อมูลเพราะเราเชื่อมันแล้ว เหมือนเวลาที่เรากลับถึงบ้าน เราอยากจะหาบ้านใหม่อีกไหม ไม่ หรือเวลาเราอยู่ในฝูงของเราแล้ว เราอยากจะหาฝูงใหม่อีกไหม ก็ไม่ เวลาเราเจอคนที่เราอยู่ด้วยแล้วสบายใจ เราอยากจะหาคนใหม่ไหม บางคนก็ใช่ (หัวเราะ) แต่บางคนก็ไม่ มันคือความรู้สึก Feel at home ถ้าคุณเชื่อ คุณจะไม่หาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่ามันสมควรเชื่อหรือไม่ คนเรา
เราอยากจะเป็นคนแบบไหน หรืออยากเสแสร้งเป็นคนแบบไหนให้สังคมเห็น ให้ไปดูเฟซบุ๊คของเรา สิ่งที่เราโพสต์ลงบนเฟซบุ๊ค คือสิ่งที่เราอยากให้สังคมมองเราว่าเป็นแบบนั้น เราเป็นหรือเปล่า ไม่รู้ แต่เราเป็นคนยังไงที่แท้ทรู ให้ไปดูใน Google search history คือสิ่งที่บอกตัวตนของเราที่แท้จริง ถ้าเราไม่มีสิ่งที่คนเขาบอกเราใน Google search history นั่นแปลว่าเราพร้อมจะเชื่อเขา โดยที่ไม่ต้องไปหาข้อมูลมายืนยัน
เรากลัวการที่เราไม่มีฝูง เราเป็นม้าลายที่อยากอยู่ในฝูงม้าลาย เราอยากอยู่ท่ามกลางคนที่คิดแบบเดียวกับเรา หรือเรารู้สึกว่านี่แหล่ะ ครอบครัว หรือฝูงของเราที่แท้จริง นี่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมชาติของสัตว์
ถ้าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การแก้ไขปัญหาเฟคนิวส์ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยหรือเปล่า?
แล้วทำไมเราต้องมองว่าเฟคนิวส์เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เฟคนิวส์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลไกการสร้างความเกลียด ความเกลียดเป็นสิ่งที่มีอยู่ตั้งแต่โบร่ำโบราณมาจนปัจจุบัน เรายอมรับว่าความเกลียดเป็นสิ่งที่ผลักดันโลกไปข้างหน้า ถึงแม้ว่ามันจะเป็น Bad energy (พลังงานเชิงลบ) ถ้าเรากำจัดความเกลียดได้ โลกเราจะเป็นอีกโฉมหน้าไปนานแล้ว แต่เรากำจัดความเกลียดไม่ได้ จริงๆ เฟคนิวส์เป็นส่วนหนึ่งของกลไกทางธรรมชาติ มันอาจถูก Invent (คิดค้น) ด้วยมนุษย์ แต่มันคือกลไกธรรมชาติที่ดลใจให้มนุษย์เป็นไป
แพทไม่ได้มองว่าต้องไปกำจัดมัน เรามองว่าจะรับมือกับมันยังไง หากเฟคนิวส์เกิดขึ้น เรามีการชั่งใจหนึ่งจังหวะก่อนเราจะเชื่อ ถามว่าตรงนี้เพียงพอไหมกับสังคม ตอบว่าเพียงพอ ถ้าเป็นแบบนี้ สังคมไม่ได้เสียสมดุลด้วยเฟคนิวส์แน่นอน
ปัจจุบัน มีแนวคิดจัดการเฟคนิวส์ด้วยการรวมศูนย์ เช่น รัฐบาลตั้งศูนย์เฟคนิวส์มา หรือภาคประชาชนก็ตั้งกลุ่ม Fact checking ขึ้นมาเช่นกัน หมอแพทมองว่าการแก้ไขปัญหาควรเป็นทิศทางใด
ถ้ามี Center (ศูนย์)มาดูแลตรงนี้ มันคือการให้อำนาจกับจุดใดจุดหนึ่ง ไม่เคยมีอะไรดีๆ ตามมาเลย เช่นที่ผ่านมา หน่วยงานต่อต้านคอรัปชั่น กลายเป็นหน่วยงานที่คอรัปชั่นเยอะสุด หรือศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ก็อาจเป็นจุดปล่อยเฟคนิวส์ซะเอง
เราใช้วิธีการรับมือกับมันได้ก็เพียงพอแล้ว ถ้าจะเอาศูนย์พวกนี้มาจัดการกับเฟคนิวส์ มันเหมือนเราเจอผี เหมือน “เอาซาดาโกะมาสู้กับคายาโกะ” มันมีแต่ความวิบัติ สิ่งที่ง่ายสุดคือผีก็อยู่ส่วนผี เราก็อยู่ส่วนเรา
ถ้ามองให้เฟคนิวส์เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของสังคม วันนี้มีเฟคนิวส์เรื่องนี้ อีกวันก็ซาไป เราจะรู้สึกว่าแล้วยังไง ไม่ต้องทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่ การตั้งศูนย์มาสู้กับเฟคนิวส์ แพทมองว่าเรื่องใหญ่ไปหรือเปล่า จริงๆ สอนลูกที่บ้านก่อนสิ กาลามสูตรทั้งสิบ จงอย่าเชื่อใน 10 อย่าง จงรู้จักชั่งตวงวัดก่อนที่จะเชื่อ เริ่มต้นจากหน่วยเล็กที่สุดจากครอบครัว ให้ครอบครัวมี Critical thinking (การคิดเชิงวิพากษ์) ก่อน สักวันเฟคนิวส์อาจจะหายไปเลยก็ได้
Critical thinking คือ “ภูมิคุ้มกัน” ที่เราจะต้องมีก่อนออกจากบ้าน ในเมื่อเราไม่มีทางกำจัดเฟคนิวส์ได้ทั้งหมด เราต้องติดอาวุธให้ตัวเอง ให้เราไม่เป็นเหยื่อของมัน และอาวุธที่ง่ายมาก คือ คุณมีการคิดวิเคราะห์ แยกแยะข้อเท็จจริง แค่นี้พอแล้ว
แม้ว่าจะมีความพยายามจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ที่พยายามเคลื่อนไหวเพื่อหยุดยั้งเฟคนิวส์ ด้วยการรวมกลุ่มตรวจจับและพิสูจน์ข้อมูล แต่ดูเหมือนว่าเฟคนิวส์ยังคงแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง
พร้อมคำถามที่เกิดขึ้นว่า “เหตุใดคนถึงเชื่อเฟคนิวส์?” ทั้งๆ ที่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้ง่ายในปัจจุบัน การพิสูจน์ความจริงในหลายเรื่องจึงไม่ใช่เรื่องยากเกินตัว Hfocus ชวนคุยกับ หมอแพท-อุเทน บุญอรณะ นักเขียนและแพทย์ด้านประสาทวิทยา โดยมองเฟคนิวส์ผ่านมุมมองด้านจิตวิทยา หาคำอธิบายถึงสาเหตุที่คนพร้อมเชื่อในสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ พร้อมข้อเสนอการรับมือเฟคนิวส์ที่มีประสิทธิผล
หมอแพทมองเห็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของเฟคนิวส์ในตอนนี้ อย่างไรบ้าง?
สถานการณ์เฟคนิวส์มัน “เคยรุนแรง” เราผ่านช่วงความรุนแรงของเฟคนิวส์ไปแล้ว คำว่ารุนแรงของเฟคนิวส์ แพทไม่ได้นับที่ปริมาณเฟคนิวส์เยอะหรือน้อย แพทนับที่ปริมาณสติสัมปชัญญะของคนที่ React (ตอบสนอง) ต่อเฟคนิวส์
สมัยก่อน เวลาที่เฟคนิวส์ออกมา ทุกคนพร้อมจะรับเฟคนิวส์และดราม่ากับเฟคนิวส์ แต่เดี๋ยวนี้ คนเริ่มมีความ “เอ๊ะ” หรือ “จริงเหรอ?” การที่คนเริ่ม “เอ๊ะ” มากขึ้น แพทถือว่าคนเริ่มมีสติสัมปชัญญะขึ้น เราก็เลยผ่านจุด Crisis (วิกฤติ) ของเฟคนิวส์มาแล้ว เพราะทุกครั้งที่มีข่าว มันจะต้องมีใครสักคนที่จุดประกายขึ้นมาว่า “เฮ่ย จริงหรือเปล่า” แพทให้ไม่เกินคอมเมนท์ที่ร้อย มันต้องมีคนมาแบบว่า “ใช่เหรอ” “ความจริงเป็นแบบนี้ต่างหาก” หลายคนที่เล่นอินเตอร์เน็ต ยังเป็นนักจับเฟคนิวส์อีกด้วย
เฟคนิวส์เป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว เฟคนิวส์ไม่ได้มีเยอะขึ้น แต่เราแค่เห็นมันเยอะขึ้นในปัจจุบัน เพราะเราใช้โซเชียลมีเดียกันเยอะขึ้น
เฟคนิวส์คือสิ่งเดียวกับกอซซิป (Gossip) หรือการนินทาชาวบ้าน เหมือนทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) และเหมือนแชร์ลูกโซ่ สี่เรื่องนี้คือเรื่องเดียวกัน มันคือ คือการโฆษณาชวนเชื่อแบบหนึ่ง เช่น เวลาเรานินทาใครสักคนหนึ่ง เราต้องการให้เขามาเป็นพวกเรา เราต้องการให้เค้า Against (ต่อต้าน) อีกฝ่าย ทฤษฎีสมคบคิดก็เหมือนกัน เราต้องการ Manipulate (ชี้นำ) ให้คนฟังเลือกข้าง และด่าอีกข้างหนึ่ง เช่นเดียวกับแชร์ลูกโซ่ เราต้องการให้อยู่ฝ่ายเรา จงเอาเงินมาให้ฉัน ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐาน แต่คนก็เชื่อ
คิดว่าทำไมคนถึงเชื่อโดยไม่มีหลักฐาน?
จริงๆ แล้วข้อความหลายอย่างไม่ได้น่าเชื่อถือสำหรับเรา เราไม่ได้เชื่อข้อความที่เขาบอกเรา แต่สิ่งที่เขาพูดมันดันไปตรงกับอะไรลึกๆ ในใจเราต่างหาก มันเป็นอะไรที่สั่นพ้อง หรือ Resonance ตรงกับความเชื่อในใจเรา เราจึงเชื่อ แล้วรับมันมาทันที ฉะนั้น ข่าวลวงอะไรที่เราเชื่อ มันคือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนจริงๆ ของเรา
มีกระบวนการทางจิตวิทยาอย่างไรที่ทำให้คนเชื่อ?
เราเคยไหม ที่เราเกลียดใครบางคนโดยที่เราไม่เคยเจอเขา แค่ฟังเรื่องเล่าของเขาเฉยๆ จริงๆ สิ่งที่เราเกลียด คือ นามธรรมในตัวเขา เช่น เราได้ยินเรื่องเล่าของเขาที่เกี่ยวกับความโลภ เราเกลียดคนโลภ เลยไม่ชอบเขา
แต่มันมีข้อความต่อท้ายอีกนิดหนึ่ง “ขนาดชั้นเป็นคนโลภ ยังไม่ทำแบบเขาเลย” เวลาเราเกลียดใคร สิ่งที่เราเกลียดคือภาพขยายของตัวเราที่เราเกลียด บางเรื่องที่ไม่ดีของเรา เรารู้ว่าไม่ดี เช่น ความโลภไม่ดี ขี้นินทาไม่ดี เราก็เลยเก็บไว้เป็นหลืบในใจ เราไม่ทำ แต่ทันทีที่เราเห็นใครทำสิ่งนี้ออกมาอย่างโจ่งแจ้ง โดยไม่ละอายอะไรเลย เราจึงเกลียดเขา
ในแง่การทำงานของสมอง เฟคนิวส์ทำให้คนเชื่อได้อย่างไร?
เราอาจใช้เฟคนิวส์เป็นตัวศึกษาสมอง หรือศึกษาความเชื่อของคน สมมติเวลาเรารับสารมาบางเรื่อง เราต้องไตร่ตรอง ดูหลักฐานข้อมูล ใช้ความรู้ที่เรามีคิดวิเคราะห์ สมองส่วนหน้า หรือ Prefrontal cortex ของเราจะทำงานว่าสารที่เรารับมาสมเหตุสมผลไหม ตรงกับความรู้ทั่วไปหรือเปล่า มีอะไรยืนยันไหม ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก (ทำท่าเช็คลิสต์) โอเค ครบหมด เชื่อถือได้ เรารับเข้ามา
แต่ก็จะมีบางข้อความ ที่เหมือนว่าจะไม่ผ่าน Prefrontal cortex คือ เข้ามาในสมองเราปุ๊ป แล้วแบบมันใช่เลย ไม่ผ่านการคิดวิเคราะห์ใดทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่ข้อความเข้าหูวิธีเดียวกัน ไป Activate (ทำงานกับ)สมองวิธีเดียวกัน แต่มันกลายเป็นความเชื่อฝังหัวไปเลยโดยที่ไม่ต้องผ่านสมองส่วนหน้า
แสดงว่ามีบางส่วนในสมองเป็น “ทางผ่านลัด” เขาเชื่อกันว่าคือส่วนสมองบริเวณอะมิกดะลา (Amygdala) คือสมองส่วนที่เกี่ยวกับสัญชาตญาณ เช่น หากเรามีความเกลียดความชังฝังอยู่ หรืออะไรก็ตามที่ฝังไว้ลึก ถ้ามันไปสั่นพ้องกับตรงนี้ปุ๊ป ก็จะได้เข้าทางด่วน ไม่ต้องผ่านการพิจารณาใดๆ ทั้งสิ้น การคิดวิเคราะห์เรื่องเหตุผลและหลักการจะถูกยกเลิก ฉันจะเชื่อเขาทันที
ที่พูดว่าคนเชื่อเพราะตรงกับอะไรบางอย่างในใจ แล้วถ้ามองในมุมของคนที่ปล่อยเฟคนิวส์ เราใช้จิตวิทยาเดียวกันกับการที่คนเชื่อเฟคนิวส์ มองคนปล่อยเฟคนิวส์ได้ไหม?
ทุกคนทำอะไรมีจุดประสงค์ คนที่ปล่อยเฟคนิวส์ก็มีจุดประสงค์ จุดประสงค์ของเฟคนิวส์ส่วนมาก คือ สร้างความเกลียด ที่เหลืออาจเป็นการหวังผลทาง Financial (การเงิน) เพราะโลกเราหมุนด้วยสองอย่างนี้ คือความเกลียดและทุนนิยม
เช่น แชร์ลูกโซ่ ปล่อยออกมาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า หรือเรื่องการกักตุนหน้ากาก ตอนแรกหน้ากากไม่ขาดแคลนจริงๆ ทันทีที่มีคนปล่อยข่าวว่าหน้ากากขาดแคลน คนก็จะเริ่มกักตุนหน้ากาก คนที่มีอำนาจ ก็ Panic (ตระหนก) ตามเฟคนิวส์ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น หน้ากากขาดแคลนมีหลักฐานอะไรบ้าง หลักฐานมาโผล่ 1 สัปดาห์หลังจากที่เขามาบอกว่าหน้ากากขาดแคลน โรงพยาบาลเริ่มไม่มีหน้ากาก มีคนที่ได้ประโยชน์จากการกักตุนสินค้า นี่คือการหวังผลทางการเงิน การหวังผลทางการเงิน โยงกับการที่มีเฟคนิวส์ระบาดมากในประเด็นสุขภาพหรือไม่?
การที่เขาบอกว่าให้กินมะนาวโซดาแก้ทุกโรค เราอาจมองว่าไม่มีใครได้รับประโยชน์ เพราะเขาไม่ได้ขายโซดา ไม่ได้ขายมะนาว แต่จริงๆ มีคนได้รับประโยชน์ พวกนี้จะมี Seeding คือการวางเมล็ดพันธุ์แห่งความไม่ไว้วางใจศาสตร์การแพทย์ปัจจุบัน ให้มาเชื่ออย่างอื่นแทน มันจะไม่จบที่มะนาวกับโซดา มันจะไปจบที่ผลิตภัณฑ์อะไรสักอย่างหนึ่งที่เขารออยู่ที่ปลายทาง
เขาหยดเมล็ดพันธุ์ ใส่ปุ๋ยนิดหน่อย ใส่น้ำตาม พอเมล็ดโตขึ้น ก็เก็บเกี่ยวพืชผล สมมติว่าคุณตั้งโพสต์เรื่องมะนาวโซดาในเฟซบุ๊คคุณ แล้วคุณให้มันโปรโมต ให้มันเก็บข้อมูลว่าใครที่เข้าถึงโพสต์นี้ แล้วคุณตั้ง Target (เป้าหมาย) คนที่เชื่อเรื่องมะนาวโซดามีแนวโน้มที่จะเชื่อเรื่องอาหารเสริม แล้วคุณค่อยแอดอย่างอื่นเข้ามาทีหลัง ผ่านคนที่เข้าถึงข้อมูลมะนาวโซดา หรือเรียกว่า Retargeting คนกลุ่มนี้ ดังนั้น มะนาวโซดาคือด่านแรก คล้ายแบบสอบถามว่าเขาสนใจเรื่องการแพทย์นอกกระแส หรือการแพทย์หลอกลวงหรือไม่ ถ้าเขาชอบ คุณก็จะได้รายชื่อคนกลุ่มนี้มาขายของอย่างอื่นต่อ
หลายครั้งที่เราเห็นความเกลียดเกี่ยวโยงกับกับเฟคนิวส์ หมอแพทมองว่าเฟคนิวส์จะทำงานไปได้ถึงขั้นไหน ทำให้เราเกลียดกันได้มากกว่านี้อีกมั้ย ?
เฟคนิวส์เป็น “อุปกรณ์” ในการสร้างความเกลียด Boss (หัวหน้า) ของเฟคนิวส์ คือ ความเกลียด ถ้าให้ความเกลียดเป็นคนหนึ่งคน หรือเป็นหัวหน้าคนหนึ่ง มันใช้ลูกน้องที่ชื่อเฟคนิวส์มาทำให้มนุษย์เกลียดกัน แพทมองว่าตอนนี้เป็นจุดที่เฟคนิวส์อยู่ในช่วง Decline (ตกต่ำลง) คือ ปล่อยเฟคนิวส์มากี่ครั้ง ก็โดนคนจับได้ ต่อไป คนจะพบว่าเฟคนิวส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ได้เรื่อง สร้างความเกลียดไม่ได้แล้ว มันจะมีอุปกรณ์ใหม่เกิดขึ้น เพราะความเกลียดจะยังอยู่ต่อไป Boss ใหญ่ยังอยู่ Boss แค่เปลี่ยนอุปกรณ์ เปลี่ยนลูกน้องในการสร้างความเกลียด
คิดว่าอุปกรณ์ใหม่จะเป็นอะไรได้บ้าง?
เมื่อก่อนอุปกรณ์คือ ความเชื่อ ใครเห็นไม่ตรงกันกับเราจะถูกตีตราเป็นแม่มด ถัดมาคือ ใครเห็นไม่ตรงกับเราถูกตีตราว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ปัจจุบัน ใครเห็นไม่ตรงกับเรา หากเป็นฝ่าย liberal หน่อย คนเห็นไม่ตรงกับเราคือสลิ่ม ทั้งๆ ที่การเห็นไม่ตรงกับเราไม่ได้แปลว่าทุกคนเป็นสลิ่ม
อุปกรณ์จะมีการเปลี่ยนโฉมหน้าไปเรื่อยๆ ต่อไปไม่รู้ อาจเป็นอย่างอื่นแทน อาจเป็นเฟคนิวส์ที่มีวิวัฒนาการกว่านี้ เช่น เฟคนิวส์ที่มีการสร้างหลักฐานมาเพิ่ม
มีการศึกษาในเรื่อง Peer group (กลุ่มสมาชิก) ที่พูดกันว่าเรามักจะได้รับอิทธิพลจากสมาชิกกลุ่มให้คิดหรือเชื่อเหมือนกัน สามารถนำการศึกษานี้มาอธิบายเรื่องเฟคนิวส์ได้หรือไม่?
มีงานวิจัยที่ทำมานานแล้ว เรื่อง “People in the lift” คือในลิฟต์มีหน้าม้าของทีมวิจัยอยู่ประมาณ 10 คน ทุกคนหันหน้าไปทางซ้ายหมด พอเราขึ้นลิฟต์เราก็จะหันไปทางซ้ายตาม เพราะเรากลัวการที่จะไม่เหมือนชาวบ้านเขา เพราะเราไปอยู่ใน Chamber (ห้อง) ที่แคบเดียวกัน ถ้าเราไปอยู่ใน Chamber หนึ่ง มันจะทำให้เราอยากทำแบบหนึ่งโดยที่เราคิดว่าเราอยากทำ ทั้งๆ ที่เปล่าเลย สิ่งแวดล้อมบังคับให้เราอยากทำ
การมองสังคมกับ Social network (เครือข่ายทางสังคม) ก็เหมือนกัน มันคือ Echo chamber (ห้องสะท้อนเสียง) เช่น บนทวิตเตอร์ คุณไปทวิตหรือรีทวิตอะไรที่เกี่ยวกับดาราเกาหลี แป็ปเดียวเท่านั้น หน้าฟีดของคุณจะมีแต่เรื่องศิลปินเกาหลีเต็มไปหมด เราจะเข้าใจว่าสังคมนี้ชอบศิลปินเกาหลีกันหมด
แต่จริงๆ เปล่าเลย สังคมในทวิตเตอร์นั้นมีคนชอบเกาหลีแค่ติ่งหนึ่ง ที่เหลือพูดเรื่องอื่น เรื่องหมาแมว แต่เราเข้าใจว่าทวิตเตอร์เป็นโลกของเกาหลี เพราะเราไปอยู่ใน Echo chamber ที่มีแต่เสียงสะท้อนพูดถึงศิลปินเกาหลี มันเป็นการสะกดจิตบน Cyber space (พื้นที่บนโลกไซเบอร์) แบบใหม่ มันเป็น Echo chamber ที่ Force (บังคับ) ให้เราอินไปด้วย แต่บางครั้งหากเราอินอยู่แล้ว เราก็พยายามไขว่คว้าหา Echo chamber ที่เราอิน เข้าไปในนั้นเพราะรู้สึก Fit in (เหมาะสมกับเรา) มีแต่คนที่ชอบแบบเดียวกับเรา
แต่สังคมไม่เหมือนในลิฟต์ เราเข้าถึงข้อมูลเยอะมากวันนี้ อยากเสิร์ชอะไรก็เสิร์ชได้ ทำไม Echo chamber ยังมีอยู่?
เพราะความอยาก เราไม่อยากจะไปหาข้อมูลเพราะเราเชื่อมันแล้ว เหมือนเวลาที่เรากลับถึงบ้าน เราอยากจะหาบ้านใหม่อีกไหม ไม่ หรือเวลาเราอยู่ในฝูงของเราแล้ว เราอยากจะหาฝูงใหม่อีกไหม ก็ไม่ เวลาเราเจอคนที่เราอยู่ด้วยแล้วสบายใจ เราอยากจะหาคนใหม่ไหม บางคนก็ใช่ (หัวเราะ) แต่บางคนก็ไม่ มันคือความรู้สึก Feel at home ถ้าคุณเชื่อ คุณจะไม่หาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่ามันสมควรเชื่อหรือไม่ คนเรา
เราอยากจะเป็นคนแบบไหน หรืออยากเสแสร้งเป็นคนแบบไหนให้สังคมเห็น ให้ไปดูเฟซบุ๊คของเรา สิ่งที่เราโพสต์ลงบนเฟซบุ๊ค คือสิ่งที่เราอยากให้สังคมมองเราว่าเป็นแบบนั้น เราเป็นหรือเปล่า ไม่รู้ แต่เราเป็นคนยังไงที่แท้ทรู ให้ไปดูใน Google search history คือสิ่งที่บอกตัวตนของเราที่แท้จริง ถ้าเราไม่มีสิ่งที่คนเขาบอกเราใน Google search history นั่นแปลว่าเราพร้อมจะเชื่อเขา โดยที่ไม่ต้องไปหาข้อมูลมายืนยัน
เรากลัวการที่เราไม่มีฝูง เราเป็นม้าลายที่อยากอยู่ในฝูงม้าลาย เราอยากอยู่ท่ามกลางคนที่คิดแบบเดียวกับเรา หรือเรารู้สึกว่านี่แหล่ะ ครอบครัว หรือฝูงของเราที่แท้จริง นี่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมชาติของสัตว์
ถ้าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การแก้ไขปัญหาเฟคนิวส์ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยหรือเปล่า?
แล้วทำไมเราต้องมองว่าเฟคนิวส์เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เฟคนิวส์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลไกการสร้างความเกลียด ความเกลียดเป็นสิ่งที่มีอยู่ตั้งแต่โบร่ำโบราณมาจนปัจจุบัน เรายอมรับว่าความเกลียดเป็นสิ่งที่ผลักดันโลกไปข้างหน้า ถึงแม้ว่ามันจะเป็น Bad energy (พลังงานเชิงลบ) ถ้าเรากำจัดความเกลียดได้ โลกเราจะเป็นอีกโฉมหน้าไปนานแล้ว แต่เรากำจัดความเกลียดไม่ได้ จริงๆ เฟคนิวส์เป็นส่วนหนึ่งของกลไกทางธรรมชาติ มันอาจถูก Invent (คิดค้น) ด้วยมนุษย์ แต่มันคือกลไกธรรมชาติที่ดลใจให้มนุษย์เป็นไป
แพทไม่ได้มองว่าต้องไปกำจัดมัน เรามองว่าจะรับมือกับมันยังไง หากเฟคนิวส์เกิดขึ้น เรามีการชั่งใจหนึ่งจังหวะก่อนเราจะเชื่อ ถามว่าตรงนี้เพียงพอไหมกับสังคม ตอบว่าเพียงพอ ถ้าเป็นแบบนี้ สังคมไม่ได้เสียสมดุลด้วยเฟคนิวส์แน่นอน
ปัจจุบัน มีแนวคิดจัดการเฟคนิวส์ด้วยการรวมศูนย์ เช่น รัฐบาลตั้งศูนย์เฟคนิวส์มา หรือภาคประชาชนก็ตั้งกลุ่ม Fact checking ขึ้นมาเช่นกัน หมอแพทมองว่าการแก้ไขปัญหาควรเป็นทิศทางใด
ถ้ามี Center (ศูนย์)มาดูแลตรงนี้ มันคือการให้อำนาจกับจุดใดจุดหนึ่ง ไม่เคยมีอะไรดีๆ ตามมาเลย เช่นที่ผ่านมา หน่วยงานต่อต้านคอรัปชั่น กลายเป็นหน่วยงานที่คอรัปชั่นเยอะสุด หรือศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์ก็อาจเป็นจุดปล่อยเฟคนิวส์ซะเอง
เราใช้วิธีการรับมือกับมันได้ก็เพียงพอแล้ว ถ้าจะเอาศูนย์พวกนี้มาจัดการกับเฟคนิวส์ มันเหมือนเราเจอผี เหมือน “เอาซาดาโกะมาสู้กับคายาโกะ” มันมีแต่ความวิบัติ สิ่งที่ง่ายสุดคือผีก็อยู่ส่วนผี เราก็อยู่ส่วนเรา
ถ้ามองให้เฟคนิวส์เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของสังคม วันนี้มีเฟคนิวส์เรื่องนี้ อีกวันก็ซาไป เราจะรู้สึกว่าแล้วยังไง ไม่ต้องทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่ การตั้งศูนย์มาสู้กับเฟคนิวส์ แพทมองว่าเรื่องใหญ่ไปหรือเปล่า จริงๆ สอนลูกที่บ้านก่อนสิ กาลามสูตรทั้งสิบ จงอย่าเชื่อใน 10 อย่าง จงรู้จักชั่งตวงวัดก่อนที่จะเชื่อ เริ่มต้นจากหน่วยเล็กที่สุดจากครอบครัว ให้ครอบครัวมี Critical thinking (การคิดเชิงวิพากษ์) ก่อน สักวันเฟคนิวส์อาจจะหายไปเลยก็ได้
Critical thinking คือ “ภูมิคุ้มกัน” ที่เราจะต้องมีก่อนออกจากบ้าน ในเมื่อเราไม่มีทางกำจัดเฟคนิวส์ได้ทั้งหมด เราต้องติดอาวุธให้ตัวเอง ให้เราไม่เป็นเหยื่อของมัน และอาวุธที่ง่ายมาก คือ คุณมีการคิดวิเคราะห์ แยกแยะข้อเท็จจริง แค่นี้พอแล้ว
เข้าใจเฟคนิวส์ในมุมมองแพทย์ด้านประสาทวิทยา: “เราเชื่อ เพราะเราอยากเชื่อ” | Hfocus.org
https://www.hfocus.org/content/2020/05/19325ในยุคที่ข่าวสารหมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เฟคนิวส์ (Fake news) กลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งบนช่องทางการสื่อสาร โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดีย ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนจำนวนมาก ตั้งแต่เรื่องความเข้าใจด้านสุขภ