"6 เหตุผล (ทางสมอง) ที่ทำให้คนสูงอายุมักจะโดนมิจฉาชีพหลอกได้ง่าย"
พอดีตอนเช้าเห็นหัวข้อข่าว เจ้าหน้าที่ธนาคารพยายามอธิบาย (ด้วยเหตุผล) ว่านี่เป็นมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน แต่คุณยายก็ไม่เชื่อ สูญเงินไปเป็นล้าน เลยอยากจะเขียนถึงเรื่องนี้สั้น ๆ และอธิบายว่าทำไมวิธีการที่แนะนำกันอยู่ มันไม่ค่อยได้ผลในคนสูงอายุ
1 สมองส่วนหน้าหรือที่เรียกว่า prefrontal cortex ฝ่อบางลง (ตามวัย)
สมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนสำคัญที่อาจจะเรียกได้ว่า ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่น
สมองส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ การคิดด้วยตรรกะ การใช้เหตุผล และการยับยั้งชั่งใจ
เมื่อสมองส่วนนี้บางลง ผลคือ การคิดด้วยตรรกะที่ซ้ำซ้อนจะทำได้แย่ลง และ การตัดสินใจจะหุนหันพลันแล่นมากขึ้น เบรกไม่ค่อยอยู่ คิดอะไรก็พูดเลย คิดอะไรก็ทำเลย
ด้วยเหตุนี้ คนสูงอายุจึงคิดตามการหลอกที่ซับซ้อนไม่ค่อยทัน และเมื่อตัดสินใจไปแล้วก็จะทำเลย เบรกตัวเองไม่ค่อยได้ คนอื่นห้ามก็จะไม่ค่อยฟัง
2 ความยืดหยุ่นของระบบประสาทหรือที่เรียกว่า neuroplasticity ลดลง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือเซลล์ประสาทจะสร้างเน็ตเวิรก์ได้ไม่ดีเท่าคนอายุน้อย
เมื่อเซลล์ประสาทสร้างเน็ตเวิรก์ได้ไม่ดี จะทำให้สมองเรียนรู้หรือปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ ๆ (หรือการหลอกลวงแบบใหม่ ๆ ) ได้ช้าลง
ดังนั้น หลายอย่างที่คนอายุน้อยมองว่า นี่มันหลอกชัด ๆ คนสูงอายุอาจจะมองไม่เห็น
3 สมองของคนสูงอายุส่วนใหญ่จะมีภาวะที่เรียกว่า positivity effect
หมายความว่า สมองคนสูงอายุมีแนวโน้มจะเลือกรับข้อมูล เลือกจำ หรือเลือกนึกถึง ข้อมูลด้านบวก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและอธิบายว่าทำไมคนสูงอายุมักจะมองโลกในแง่ดีกว่าตอนอายุน้อย หรือเมื่อนึกถึงความทรงจำเก่า ๆ ก็มีแนวโน้มจะนึกถึงในแง่ดี
ลักษณะนี้ทำให้คนสูงอายุมีแนวโน้มจะอยากช่วยเหลือคน อยากบริจาค
ขณะเดียวกันก็จะทำให้คนสูงอายุจะมองคนอื่นในแง่ดี ไว้ใจคนอื่นง่าย ทำให้ง่ายต่อการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมากขึ้น
4 ความเหงา
ข้อนี้ตรงไปตรงมา คนอายุน้อยมีแนวโน้มจะรำคาญคนที่เข้ามาหลอก แต่คนสูงอายุที่เหงา มีแนวโน้มจะอยากคุยกับคนที่เข้ามาคุยด้วย เมื่อคุยนานโอกาสจะโดนหลอกให้เชื่อก็จะยิ่งสูงขึ้น
5 คนสูงอายุจะมีสิ่งที่เรียกว่า temporal discounting เปลี่ยนไป
สิ่งที่เรียกว่า temporal discounting อาจจะพออธิบายแบบง่าย ๆ ได้ว่ามันคือ ความสามารถในการ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน คือ อดทนรอที่จะกินของหวาน ๆ ในอนาคตดีกว่า กินของเปรี้ยวตอนนี้ ซึ่ง คนสูงอายุจะคิดถึงสิ่งเหล่านี้น้อยลง คือ จะไม่รอถึงอนาคต แต่ยอมกินเปรี้ยวเลย ทำให้ง่ายต่อการโดนหลอกที่บอกว่า เดี๋ยวอีกสองวันก็ได้ผลตอบแทนแล้ว หรือ ต้องรีบโอนนะไม่งั้นจะไม่ทัน หรือแนว “แต่ช้าก่อน ถ้าคุณซื้อใน 5 นาทีนี้ คุณจะยังได้รับ บลา ๆๆๆ ” (เหตุผลนึงก็จากข้อ 1 ที่เขียนไว้ข้างบนด้วย)
6 คนสูงอายุจะมีสิ่งที่เรียกว่า introception ลดลง
สิ่งที่เรียกว่า introception คือ การเปลี่ยนแปลงภายในของร่างกายเมื่อรู้สึกได้ถึงอันตราย
ในคนทั่วไป เมื่อสมอง (นอกจิตสำนึก) เรารับรู้ได้ว่า กำลังมีอะไรไม่ชอบมาพากล หรือ กำลังจะโดนหลอก หรืออันตราย สมองจะส่งสัญญานให้ร่างกายทำงานต่างไป หัวใจเราจะเต้นเร็วขึ้น เหงื่อจะออกมากขึ้น กล้ามเนื้อจะตึงตัวมากขึ้น แล้วทั้งหมดนี้จะทำให้เรารู้สึกว่า มันมีอะไรที่ไม่น่าไว้ใจ หรือ ภาษาทั่วไปอาจจะใช้คำว่า มันเซนส์ได้ว่า นี่น่าจะเป็นมิจฉาชีพ
แต่ในคนสูงอายุภาวะนี้จะน้อยลง เพราะระบบประสาทในร่างกายทำงานได้ช้าหรือน้อยลง
สรุป
จากทั้ง 6 ข้อนี้ จะเห็นว่าวิธีการต่าง ๆ ที่แนะนำกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ ไม่น่าจะได้ผลดีนัก เพราะจะเน้นไปที่ การใช้ตรรกะ หรือเข้าใจกลโกลที่ซับซ้อน ซึ่งต้องใช้สมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งมักจะบางลงในคนสูงอายุ
ถ้าถามว่าแล้วจะป้องกันยังไง ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันครับ แต่คิดว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะพอช่วยได้บ้างไม่มากก็น้อย
1 สำคัญสุด คือ ทำให้คนสูงอายุที่บ้านมี insight หรือยอมรับว่า สมองของตัวเองไม่เหมือนแต่ก่อน โลกที่มองเห็น หรือการตัดสินใจของตัวเอง อาจจะบิดเบือนจากที่เป็นจริง เมื่อยอมรับตรงนี้ได้ ก็น่าจะยอมให้ลูกหลาน ที่ไว้ใจ ตัดสินใจแทน (แม้ในใจลึก ๆ ว่าจะยังเชื่อว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกก็ตาม)
2 จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยมากขึ้น ข้อนี้อธิบายยากเพราะมันขึ้นกับบริบทของแต่ละคนหรือแต่ละบ้าน แต่ไอเดียหลักคือ ต้องหาระบบที่ทำให้การโดนหลอกหรือ การทำธุรกรรมทางการเงินทำได้ยากขึ้น หรือมีขั้นตอนการตรวจสอบมากขึ้น เช่น
จะไม่โอนจนกว่าลูกจะอนุญาต (ซึ่งจะเป็นแบบนี้ได้ต้องมี ข้อ 1 ก่อน) หรือ มีกฎว่าจากนี้ไปจะไม่รับโทรศัพท์จากเบอร์ที่รู้จัก หรือ จ้างลูกหลานที่มีความรู้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย (ลูกหลานมีรายได้เสริมด้วย)
3 สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น เจอกันบ่อยขึ้น โทรหากันบ่อยขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเหงา และความสัมพันธ์ที่ดีอาจจะช่วยให้เกิด ข้อ 1 ข้อ 2 คือ ยอมรับให้ลูกหลานตัดสินใจการเงินแทนตัวเองมากขึ้น
4 ข้อนี้ไม่เกี่ยวซะทีเดียว คือ ไม่ได้ผลทันที แต่เป็นวิธีการชะลอ การฝ่อหรือบางของสมองส่วนหน้าที่ได้ผลจริง ได้แก่
หนึ่ง การฝึกจิต หรือฝึกสมาธิ
สอง การออกกำลังกาย ทั้งแบบแอโรบิกและการสร้างกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างก้นและต้นขา
สาม นอน ตื่น อย่างเป็นเวลาและเพียงพอ
สี่ กินอาหารที่ดีกับสุขภาพ เพราะอาหารที่ดีกับร่างกายก็จะดีกับสมองด้วย
ห้า ไขมันโอเมกา 3 จากอาหาร และอาจจะเพิ่มในรูปอาหารเสริม
ขอให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพกันทุกคนนะครับ... สวัสดี
พอดีตอนเช้าเห็นหัวข้อข่าว เจ้าหน้าที่ธนาคารพยายามอธิบาย (ด้วยเหตุผล) ว่านี่เป็นมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน แต่คุณยายก็ไม่เชื่อ สูญเงินไปเป็นล้าน เลยอยากจะเขียนถึงเรื่องนี้สั้น ๆ และอธิบายว่าทำไมวิธีการที่แนะนำกันอยู่ มันไม่ค่อยได้ผลในคนสูงอายุ
1 สมองส่วนหน้าหรือที่เรียกว่า prefrontal cortex ฝ่อบางลง (ตามวัย)
สมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนสำคัญที่อาจจะเรียกได้ว่า ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่น
สมองส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ การคิดด้วยตรรกะ การใช้เหตุผล และการยับยั้งชั่งใจ
เมื่อสมองส่วนนี้บางลง ผลคือ การคิดด้วยตรรกะที่ซ้ำซ้อนจะทำได้แย่ลง และ การตัดสินใจจะหุนหันพลันแล่นมากขึ้น เบรกไม่ค่อยอยู่ คิดอะไรก็พูดเลย คิดอะไรก็ทำเลย
ด้วยเหตุนี้ คนสูงอายุจึงคิดตามการหลอกที่ซับซ้อนไม่ค่อยทัน และเมื่อตัดสินใจไปแล้วก็จะทำเลย เบรกตัวเองไม่ค่อยได้ คนอื่นห้ามก็จะไม่ค่อยฟัง
2 ความยืดหยุ่นของระบบประสาทหรือที่เรียกว่า neuroplasticity ลดลง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือเซลล์ประสาทจะสร้างเน็ตเวิรก์ได้ไม่ดีเท่าคนอายุน้อย
เมื่อเซลล์ประสาทสร้างเน็ตเวิรก์ได้ไม่ดี จะทำให้สมองเรียนรู้หรือปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ ๆ (หรือการหลอกลวงแบบใหม่ ๆ ) ได้ช้าลง
ดังนั้น หลายอย่างที่คนอายุน้อยมองว่า นี่มันหลอกชัด ๆ คนสูงอายุอาจจะมองไม่เห็น
3 สมองของคนสูงอายุส่วนใหญ่จะมีภาวะที่เรียกว่า positivity effect
หมายความว่า สมองคนสูงอายุมีแนวโน้มจะเลือกรับข้อมูล เลือกจำ หรือเลือกนึกถึง ข้อมูลด้านบวก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและอธิบายว่าทำไมคนสูงอายุมักจะมองโลกในแง่ดีกว่าตอนอายุน้อย หรือเมื่อนึกถึงความทรงจำเก่า ๆ ก็มีแนวโน้มจะนึกถึงในแง่ดี
ลักษณะนี้ทำให้คนสูงอายุมีแนวโน้มจะอยากช่วยเหลือคน อยากบริจาค
ขณะเดียวกันก็จะทำให้คนสูงอายุจะมองคนอื่นในแง่ดี ไว้ใจคนอื่นง่าย ทำให้ง่ายต่อการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมากขึ้น
4 ความเหงา
ข้อนี้ตรงไปตรงมา คนอายุน้อยมีแนวโน้มจะรำคาญคนที่เข้ามาหลอก แต่คนสูงอายุที่เหงา มีแนวโน้มจะอยากคุยกับคนที่เข้ามาคุยด้วย เมื่อคุยนานโอกาสจะโดนหลอกให้เชื่อก็จะยิ่งสูงขึ้น
5 คนสูงอายุจะมีสิ่งที่เรียกว่า temporal discounting เปลี่ยนไป
สิ่งที่เรียกว่า temporal discounting อาจจะพออธิบายแบบง่าย ๆ ได้ว่ามันคือ ความสามารถในการ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน คือ อดทนรอที่จะกินของหวาน ๆ ในอนาคตดีกว่า กินของเปรี้ยวตอนนี้ ซึ่ง คนสูงอายุจะคิดถึงสิ่งเหล่านี้น้อยลง คือ จะไม่รอถึงอนาคต แต่ยอมกินเปรี้ยวเลย ทำให้ง่ายต่อการโดนหลอกที่บอกว่า เดี๋ยวอีกสองวันก็ได้ผลตอบแทนแล้ว หรือ ต้องรีบโอนนะไม่งั้นจะไม่ทัน หรือแนว “แต่ช้าก่อน ถ้าคุณซื้อใน 5 นาทีนี้ คุณจะยังได้รับ บลา ๆๆๆ ” (เหตุผลนึงก็จากข้อ 1 ที่เขียนไว้ข้างบนด้วย)
6 คนสูงอายุจะมีสิ่งที่เรียกว่า introception ลดลง
สิ่งที่เรียกว่า introception คือ การเปลี่ยนแปลงภายในของร่างกายเมื่อรู้สึกได้ถึงอันตราย
ในคนทั่วไป เมื่อสมอง (นอกจิตสำนึก) เรารับรู้ได้ว่า กำลังมีอะไรไม่ชอบมาพากล หรือ กำลังจะโดนหลอก หรืออันตราย สมองจะส่งสัญญานให้ร่างกายทำงานต่างไป หัวใจเราจะเต้นเร็วขึ้น เหงื่อจะออกมากขึ้น กล้ามเนื้อจะตึงตัวมากขึ้น แล้วทั้งหมดนี้จะทำให้เรารู้สึกว่า มันมีอะไรที่ไม่น่าไว้ใจ หรือ ภาษาทั่วไปอาจจะใช้คำว่า มันเซนส์ได้ว่า นี่น่าจะเป็นมิจฉาชีพ
แต่ในคนสูงอายุภาวะนี้จะน้อยลง เพราะระบบประสาทในร่างกายทำงานได้ช้าหรือน้อยลง
สรุป
จากทั้ง 6 ข้อนี้ จะเห็นว่าวิธีการต่าง ๆ ที่แนะนำกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ ไม่น่าจะได้ผลดีนัก เพราะจะเน้นไปที่ การใช้ตรรกะ หรือเข้าใจกลโกลที่ซับซ้อน ซึ่งต้องใช้สมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งมักจะบางลงในคนสูงอายุ
ถ้าถามว่าแล้วจะป้องกันยังไง ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันครับ แต่คิดว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะพอช่วยได้บ้างไม่มากก็น้อย
1 สำคัญสุด คือ ทำให้คนสูงอายุที่บ้านมี insight หรือยอมรับว่า สมองของตัวเองไม่เหมือนแต่ก่อน โลกที่มองเห็น หรือการตัดสินใจของตัวเอง อาจจะบิดเบือนจากที่เป็นจริง เมื่อยอมรับตรงนี้ได้ ก็น่าจะยอมให้ลูกหลาน ที่ไว้ใจ ตัดสินใจแทน (แม้ในใจลึก ๆ ว่าจะยังเชื่อว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกก็ตาม)
2 จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยมากขึ้น ข้อนี้อธิบายยากเพราะมันขึ้นกับบริบทของแต่ละคนหรือแต่ละบ้าน แต่ไอเดียหลักคือ ต้องหาระบบที่ทำให้การโดนหลอกหรือ การทำธุรกรรมทางการเงินทำได้ยากขึ้น หรือมีขั้นตอนการตรวจสอบมากขึ้น เช่น
จะไม่โอนจนกว่าลูกจะอนุญาต (ซึ่งจะเป็นแบบนี้ได้ต้องมี ข้อ 1 ก่อน) หรือ มีกฎว่าจากนี้ไปจะไม่รับโทรศัพท์จากเบอร์ที่รู้จัก หรือ จ้างลูกหลานที่มีความรู้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย (ลูกหลานมีรายได้เสริมด้วย)
3 สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น เจอกันบ่อยขึ้น โทรหากันบ่อยขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเหงา และความสัมพันธ์ที่ดีอาจจะช่วยให้เกิด ข้อ 1 ข้อ 2 คือ ยอมรับให้ลูกหลานตัดสินใจการเงินแทนตัวเองมากขึ้น
4 ข้อนี้ไม่เกี่ยวซะทีเดียว คือ ไม่ได้ผลทันที แต่เป็นวิธีการชะลอ การฝ่อหรือบางของสมองส่วนหน้าที่ได้ผลจริง ได้แก่
หนึ่ง การฝึกจิต หรือฝึกสมาธิ
สอง การออกกำลังกาย ทั้งแบบแอโรบิกและการสร้างกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างก้นและต้นขา
สาม นอน ตื่น อย่างเป็นเวลาและเพียงพอ
สี่ กินอาหารที่ดีกับสุขภาพ เพราะอาหารที่ดีกับร่างกายก็จะดีกับสมองด้วย
ห้า ไขมันโอเมกา 3 จากอาหาร และอาจจะเพิ่มในรูปอาหารเสริม
ขอให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพกันทุกคนนะครับ... สวัสดี