"นายกฯ" สั่ง ตรวจฉี่ทุกคน อายุ 16 ปี ขึ้นไป
วันที่ 3 มิ.ย.67 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญ
สั่งการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินการเพื่อเป้าหมาย "ปราบปราม รักษา
ฟื้นฟู ดูแล" รวมทั้งกำชับให้คณะรัฐมนตรี สนับสนุนการกวาดล้างยาเสพติดให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นผู้รับผิดชอบการบูรณาการการทำงาน ระดความร่วมมือกับตำรวจ สำนักงาน ป.ป.ส. หน่วยงานรัฐ และภาคประชาชนใน
พื้นที่ และให้สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นเสนาธิการ ในการกำหนดเป้าหมายและ KPIs ที่ท้าทาย กำหนดมาตรการที่เหมาะสมให้กับ
จังหวัด พร้อมสนับสนุนการประสานงาน และรัพยากรจำเป็นต่อไปและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกับผู้บังคับการตำรวจภูธ
จังหวัดต้องทำงานคู่กันอย่างใกล้ชิด
โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้
1) ทำการ X-ray พื้นที่ ด้วยการระดมกำลังตรวจปัสสาวะกลุ่มเสี่ยงทุกคนที่ อายุ 16 ปี ขึ้นไป ในทุกหมู่บ้าน
2) แยกผู้เสพออกมารับการบำบัด และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม โดย สำนักงาน ป.ป.ส. และ กระทรวง
กลาโหม ขยายผลในการจับกุมผู้ขาย
3) กระทรวงสาธารณสุข แยกแยะผู้เสพตามระดับความรุนแรงมาบำบัด รักษา และส่งคืนชุมชนเมื่อมีความพร้อม โดยให้
กระทรวงสาธารณสุข มหาดไทย และ กลาโหม ร่วมกันจัดหาสถานที่บำบัดให้เพียงพอ และผ่านกระบวนการให้แน่ใจว่าจะไม่
กลับไปเสพยาอีก
4) การส่งตัวคืนชุมชน ต้องฝึกอาชีพ หางานให้ทำและมีรายได้เพียงพอกับการดำรงชีวิต ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงแรงงาน ต้องเข้ามาดูแลในประเด็นนี้เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นผู้เสพอีก
5) การป้องกันผู้เสพใหม่ ให้ กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เร่งหา
มาตรการที่หมาะสมในการสอดส่องดูแลเยาวชน และขอให้ทางโรงเรียนร่วมกันในการปลูกฝั่งค่านิยมคุณค่าใหม่ "เด็กและ
เยาวชนต้องไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด"
วันที่ 3 มิ.ย.67 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญ
สั่งการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินการเพื่อเป้าหมาย "ปราบปราม รักษา
ฟื้นฟู ดูแล" รวมทั้งกำชับให้คณะรัฐมนตรี สนับสนุนการกวาดล้างยาเสพติดให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นผู้รับผิดชอบการบูรณาการการทำงาน ระดความร่วมมือกับตำรวจ สำนักงาน ป.ป.ส. หน่วยงานรัฐ และภาคประชาชนใน
พื้นที่ และให้สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นเสนาธิการ ในการกำหนดเป้าหมายและ KPIs ที่ท้าทาย กำหนดมาตรการที่เหมาะสมให้กับ
จังหวัด พร้อมสนับสนุนการประสานงาน และรัพยากรจำเป็นต่อไปและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกับผู้บังคับการตำรวจภูธ
จังหวัดต้องทำงานคู่กันอย่างใกล้ชิด
โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้
1) ทำการ X-ray พื้นที่ ด้วยการระดมกำลังตรวจปัสสาวะกลุ่มเสี่ยงทุกคนที่ อายุ 16 ปี ขึ้นไป ในทุกหมู่บ้าน
2) แยกผู้เสพออกมารับการบำบัด และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม โดย สำนักงาน ป.ป.ส. และ กระทรวง
กลาโหม ขยายผลในการจับกุมผู้ขาย
3) กระทรวงสาธารณสุข แยกแยะผู้เสพตามระดับความรุนแรงมาบำบัด รักษา และส่งคืนชุมชนเมื่อมีความพร้อม โดยให้
กระทรวงสาธารณสุข มหาดไทย และ กลาโหม ร่วมกันจัดหาสถานที่บำบัดให้เพียงพอ และผ่านกระบวนการให้แน่ใจว่าจะไม่
กลับไปเสพยาอีก
4) การส่งตัวคืนชุมชน ต้องฝึกอาชีพ หางานให้ทำและมีรายได้เพียงพอกับการดำรงชีวิต ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงแรงงาน ต้องเข้ามาดูแลในประเด็นนี้เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นผู้เสพอีก
5) การป้องกันผู้เสพใหม่ ให้ กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เร่งหา
มาตรการที่หมาะสมในการสอดส่องดูแลเยาวชน และขอให้ทางโรงเรียนร่วมกันในการปลูกฝั่งค่านิยมคุณค่าใหม่ "เด็กและ
เยาวชนต้องไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด"