ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องกินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากที่มีการแชร์ข้อความบนสื่อออนไลน์ว่า เม็ดไข่มุกบางยี่ห้อจากไต้หวันนั้นมีสารสไตรีน และสารกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง จากที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไต้หวันได้มีการตรวจสอบแล้ว ไม่พบว่ามีสารสไตรีน (Styrene) แต่พบสารอะซิโตฟีโนน (Acetophenone) และสารประกอบกลุ่มโพลีโบรมีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polybrominated Biphenyl ; PBBs) ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก แต่ไม่ใช่สารประกอบกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) จึงไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งอย่างที่ได้มีการแชร์
โดยเม็ดชานมไข่มุกทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง การกินเม็ดชานมไข่มุกก็เหมือนการกินแป้ง จึงยังสามารถกินชานมไข่มุกได้เหมือนเดิม แต่สิ่งที่น่ากลัว คือการกินชานมไข่มุกในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจได้ เพราะนอกจากในเม็ดไข่มุกจะประกอบไปด้วยแป้งมันสำปะหลังแล้วนั้น ในน้ำชานมยังประกอบไปด้วยน้ำตาล น้ำเชื่อม ครีมเทียม นมข้นหวาน ซึ่งจัดได้ว่าชานมไข่มุกเป็นเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูง และมีคุณค่าทางสารอาหารน้อย จึงควรกินชานมไข่มุกนาน ๆ ครั้งเท่านั้น หรือหากต้องการกินอาจลดปริมาณน้ำตาล หลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียมในชานมไข่มุก
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556
จากที่มีการแชร์ข้อความบนสื่อออนไลน์ว่า เม็ดไข่มุกบางยี่ห้อจากไต้หวันนั้นมีสารสไตรีน และสารกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง จากที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไต้หวันได้มีการตรวจสอบแล้ว ไม่พบว่ามีสารสไตรีน (Styrene) แต่พบสารอะซิโตฟีโนน (Acetophenone) และสารประกอบกลุ่มโพลีโบรมีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polybrominated Biphenyl ; PBBs) ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก แต่ไม่ใช่สารประกอบกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) จึงไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งอย่างที่ได้มีการแชร์
โดยเม็ดชานมไข่มุกทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง การกินเม็ดชานมไข่มุกก็เหมือนการกินแป้ง จึงยังสามารถกินชานมไข่มุกได้เหมือนเดิม แต่สิ่งที่น่ากลัว คือการกินชานมไข่มุกในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจได้ เพราะนอกจากในเม็ดไข่มุกจะประกอบไปด้วยแป้งมันสำปะหลังแล้วนั้น ในน้ำชานมยังประกอบไปด้วยน้ำตาล น้ำเชื่อม ครีมเทียม นมข้นหวาน ซึ่งจัดได้ว่าชานมไข่มุกเป็นเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูง และมีคุณค่าทางสารอาหารน้อย จึงควรกินชานมไข่มุกนาน ๆ ครั้งเท่านั้น หรือหากต้องการกินอาจลดปริมาณน้ำตาล หลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียมในชานมไข่มุก
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556
FDA-สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
www.fda.moph.go.thCOVID-19 › ตรวจสอบรายชื่อ ATK , หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ โควิด 19 ที่ได้รับการอนุญาตจาก อย. › ข้อมูลเกี่ยวกับ Covid-19 › คำแนะนำสำหรับประชาชน › ข่าวป
ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
https://www.antifakenewscenter.com/%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e/%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%a1-%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%8a%e0%b8%a3%e0%b9%8c-%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a1-4/ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องกินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข