คุณกำลังอ่าน: ‘ตั๋วช้าง’ คืออะไร? สรุปอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งใน และนอกสภา ของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม แบบครบจบรวดเดียว
BRIEF RECAP 25.5K
‘ตั๋วช้าง’ คืออะไร? สรุปอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งใน และนอกสภา ของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม แบบครบจบรวดเดียว
Posted On 19 February 2021 The MATTER
ADVERTISEMENT
RECAP : ‘ตั๋วช้าง’ คืออะไร? สรุปอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งใน และนอกสภา ของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม แบบครบจบรวดเดียว
วันนี้ (19 ก.พ.) เป็นวันที่ 4 ของอภิปรายไม่วางใจนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีอีก 9 คน โดย ส.ส.รังสิมันต์ โรม เป็นตัวแทนจากพรรคก้าวไกลรับหน้าที่อภิปรายเรื่อง ‘ตั๋วช้าง’ แต่ในระหว่างการอภิปรายมีการคัดค้าน และประท้วงหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งหมดเวลา ทำให้รังสิมันต์ตัดสินใจออกมาอภิปรายรายละเอียดของประเด็นตั๋วช้างด้านนอกสภา
ตั๋วช้างคืออะไร ? และเกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงรองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงษ์สุวรรณอย่างไร The MATTER จะมาสรุปรายละเอียดการอภิปรายทั้งหมดของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม ให้ฟัง
สืบเนื่องจากกรณีที่นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้มีตำแหน่งในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่การในโยกย้าย แต่งตั้ง และจัดสรรข้าราชการตำรวจ เป็นเหตุให้นายกฯ และรองนายกฯ เป็นผู้รับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ภายใน ก.ตร. อย่างอัตโนมัติ
ส.ส.รังสิมันต์ กล่าวว่า การดำรงตำแหน่งระดับสูงของนายกฯ และรองนายกฯ กลับไม่สามารถกำจัดการแทรกแซงการใช้อำนาจในทางที่ผิดใน ก.ตร. ได้ ยังมีการซื้อขายตำแหน่งหน้าที่อย่างเปิดเผย และไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยเขาเปิดเผยว่า ครั้งหนึ่งพลตำรวจตรี วิสุทธิ์ วานิชบุตร รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการซื้อขายตำแหน่งว่า ถ้าไม่มีผู้ใหญ่คอยหนุน ก็จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง แต่หากมี ‘ตั๋ว’ ราคาที่ต้องจ่ายก็จะถูกลง
คำถามที่ตามมาคือ ‘ตั๋ว’ ที่มีการเอ่ยถึงนั้นคืออะไร และมีอำนาจมากแค่ไหน ? รังสิมันต์ยังได้เปิดหนังสือเอกสารชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย โดยมี พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 (ผบก.ตร.มหด.รอ.904) ในขณะนั้น เป็นผู้รับผิดชอบการแต่งตั้งครั้งนี้ และเป็นผู้ส่งชื่อไปให้ ผบ.ตร พิจารณาต่อไป นำมาสู่การตั้งขอสังเกตว่า พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ มีอำนาจหน้าที่ใดในการแต่งตั้งข้าราชการนอกกองของตนเอง หากอ้างอิงจาก พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2554 แนวทางปฏิบัติในการจัดการข้าราชการตำรวจจะต้องจัดการกองใครกองมัน และไม่ก้าวก่ายหน่วยงานอื่น ดังนั้น การใช้อำนาจของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ นั้นถือว่าขัดต่อ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติหรือไม่
นอกจากประเด็นเรื่องการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ รังสิมันต์ยังพูดถึงความสัมพันธ์ของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ และนายกฯ ประยุทธ์ และรองนายกฯ ที่มีการเอื้อประโยชน์ในการเลื่อนตำแหน่งต่างๆ ซึ่งรังสิมันต์ตั้งข้อสังเกตว่า พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ มีการเติบโตในเส้นทางอาชีพตำรวจรวดเร็วผิดปกติ
หากย้อนกลับไป พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ เริ่มต้นอาชีพตำรวจในปี พ.ศ.2541 ในตำแหน่งรอง สว. ซึ่งหลังจากนั้นการเลื่อนตำแหน่งต่างๆ ก็อยู่ในระดับปกติ จนกระทั่งปี พ.ศ.2561 พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ได้ขึ้นเป็น ผบก.ป. ซึ่งได้รับตำแหน่งโดยการยกเว้นหลักเกณฑ์ และหลังจากนั้น พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ได้เลื่อนตำแหน่งอีก 3 ครั้ง โดยมีเงื่อนไขการยกเว้นหลักเกณฑ์อีก 2 ครั้ง เท่ากับว่าพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ใช้เวลาเพียง 3 ปี 4 เดือนในการเลื่อนตำแหน่งเพิ่ม 3 ตำแหน่ง ประหยัดเวลาจากการยกเว้นหลักเกณฑ์ไปได้ 8 ปี 8 เดือน จากเดิมที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ทำงานเวลากว่า 12 ปี
การยกเว้นหลักเกณฑ์นั้นสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขความสามารถ และผลงานจากการปฏิบัติหน้าที่ แต่รังสิมันต์ตั้งข้อสังเกตว่า พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ มีคุณสมบัติข้อใดจึงได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ถึง 3 ครั้ง ในเมื่อที่ผ่านมา พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ มีข่าวว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาตลอด หรือเขามี ‘ตั๋ว’ จากใครที่สามารถสั่งให้นายกฯ และรองนายกฯ เซ็นอนุมัติให้ได้รับอภิสิทธิ์พิเศษนี้
นอกจากพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยังมีข้าราชการตำรวจคนอื่นๆ อีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็น พล.ต.ต.สำราญ นวลมา รองผบช.น., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป., สันติ ชัยนิรามัย ผบก.สส.บช.น. รวมถึงพล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช รอง ผบช.ก. ที่ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์เหล่านี้นำมาซึ่งความไม่โปร่งใสในการแต่งตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่เป็นธรรมต่อนายตำรวจชั้นผู้น้อยที่ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบการทำงานมาโดยตลอด
ย้อนกลับไปเรื่องการใช้อำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจของพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ที่กล่าวถึงในข้อ 3 หากดู ‘เหตุสนับสนุนขอรับการแต่งตั้ง’ แล้ว เหตุผลที่พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ อ้างในการแต่งตั้งกลุ่มตำรวจนอกองบังคับบัญชาคือ ตำราจเหล่านั้นผ่านการอบรมหน่วยจิตอาสา 904 หลักสูตรประจำ และได้ปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยอาสา 904 ได้มอบหมายภารกิจแล้ว เพื่อประโยชน์ตามหน่วยจิตอาสาใหญ่ 904 จึงขอสนับสนุนเข้ารับการแต่งตั้ง
รังสิมันต์ได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า เพราะเหตุใดการปฏิบัติตามภารกิจจิตอาสา 904 จึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญในการได้รับการแต่งตั้ง ? ทั้งที่ข้าราชการตำรวจเองก็มีเกณฑ์ ก.ตร. พื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว แล้วทำไมการแจ้งรายชื่อสนับสนุนขอรับการแต่งตั้ง ส่วนนี้จึงเป็นหน้าที่ของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บังคับการตำรวจมหาดเล็กรักษาพระองค์ ไม่ได้มีหน้าที่ตามข้อกำหนด
ข้อมูลในการอภิปรายครั้งนี้ ยังชี้ถึง ‘ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสา 904’ ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ซึ่งโครงการนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อกำหนดนโนยายและภารกิจ โดยมี พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวัง เป็นประธาน ส่วนรองประธาน คือพล.อ.จักรภพ ภูริเดช รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และหนึ่งในคณะกรรมการ คือ พลตำรวจโท ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ นายทหารราชองครักษ์, รองผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
หากถามว่าคนกลุ่มนี้มีความข้องเกี่ยวกันอย่างไร? รังสิมันต์ เปิดเผยว่า พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นพี่ชายร่วมสายเลือดของพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ และพล.อ.จักรภพ ภูริเดช ก็เป็นพี่ชายของ พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการกองปราบปราม และพลตำรวจโท ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ก็มีสักพี่เขยของพล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช ทั้งหมดถือเป็นเครือญาติกัน และเมื่อดูจากไทม์ไลน์การแต่งตั้ง และเลื่อนตำแหน่งต่างๆ พบว่ามีความเกี่ยวข้อง และเอื้อประโยชน์ให้กันและกัน นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนอาสา โดยเอื้อประโยชน์จากตำแหน่งในเครือญาติ เป็นสถานที่ออก ‘ตั๋วตำรวจ’ เพื่อเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับการแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับโรงเรียนจิตอาสา ตามเว็บไซต์ส่วนราชการของพระองค์ระบุว่า ตำรวจนายตั๋วจะต้องผ่านวิชาทหารทั่วไป อบรมความรู้เรื่องอุดมการณ์ มีระยะเวลาฝึก 6 สัปดาห์ เฉลี่ยฝึกวันละ 11 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการเบียดเบียนเวลาการปฏิบัติหน้าที่ตำรวจธรรมดา หากโรงเรียนจิตอาสา ซึ่งเป็นโครงการส่วนพระองค์เป็นทางผ่านในการเลื่อนตำแหน่ง จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไหนอยากทำงานตามหน้าที่ อีกทั้งการนำโรงเรียนจิตอาสามาเป็นทางผ่านในการแต่งตั้งตำแหน่ง เท่ากับว่าเอาความจงรักภักดีสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเงื่อนไขในการเลื่อนตำแหน่งหรือไม่
ไม่เพียงเท่านั้น รังสิมันต์ยังระบุว่า นายกฯ กับรองนายกฯ ยังปล่อยให้คนกลุ่มนี้ มีอำนาจสั่งการให้ ผบ.ตร ‘โอนย้าย’ ตำรวจไปยังหน่วยงานนอกสังกัดคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) อีกด้วย โดยเรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2562 มีหนังสือจากสำนักงานราชเลขานุการส่วนพระองค์ ลงนามโดยพล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ซึ่งไม่มีอำนาจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สั่งให้นำตำรวจมาบรรจุกองบัญชาการมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 ซึ่งอยู่ใต้สังกัด สตช. นำสู่คำถามว่า เหตุใดจึงมีการนำคนนอกหน่วยงานมาทำหนังสือในลักษณะสั่ง ผบ.ตร. ได้.
แม้คำสั่งจะดำเนินการอย่างไม่ถูกตั้ง แต่ สตช. ไม่ได้ขัดขวางถือทักท้วงแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีการสั่งการให้ตำรวจแต่ละหน่วยคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติดี เข้าร่วมภารกิจพิเศษที่ ส.ตร. จะมอบหมาย พร้อมสั่งว่า หากข้าราชการตำรวจคนไหนไม่เข้าการคัดเลือก ให้ตรวจสอบว่าเป็นเพราะเหตุใด และทำหนังสือส่งไปให้อย่างละเอียด
หลังจากสั่งการครั้งแรก สตช. ได้มีการคัดเลือกข้าราชการตำรวจรอบที่ 2 โดยระบุว่าคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นหน่วยตำรวจมหาดเล็ก จากนั้นจะส่งไปเป็น ‘ข้าราชบริพาร’ รวมมีเข้าร่วมคัดเลือกมากกว่า 1 พันนาย ซึ่งมีข้าราชการตำรวจ 100 คนที่ไม่สมัครใจเข้าร่วม และโดนคำสั่งธำรงวินัยทำให้มีตำรวจ 3 นายลาออกทันที ขณะที่อีก 97 คนนั้นถูกส่งตัวไปปรับทัศนคติ นอกจากนี้ทาง สตช. ยังตั้งศูนย์ธำรงวินัย เพื่อสั่งให้ทั้ง 97 คนไปปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงเป็นเวลา 9 เดือน และหลังจากเวลา 9 เดือนนั้น ทั้งหมดยังถูกดองงาน ไม่ให้เลื่อนขั้นอีกด้วย
การอภิปรายเรื่องนี้นำมาสู่การตั้งข้อสงสัยว่า นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกฯ ประวิตร วงษ์สุวรรณ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแทรกแซงอำนาจตำรวจ และเพิกเฉยต่อการตรวจสอบ รวมถึงบกพร่องในการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรังสิมันต์ มองว่าเป็นเหตุที่ไม่อาจวางใจให้นายกฯ และรองนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
“ผมไม่รู้ว่าผลจากการทำหน้าที่ในวันนี้ จะเกิดอะไรขึ้นต่อผมในหลังจากนี้ ผมไม่รู้ว่าในสามวันข้างหน้า มีอะไรรอผมอยู่ ผมไม่รู้ว่าสามเดือนครั้งหน้าจะเกิดอะไรขึ้นต่อผม ผมจะพูดแทนพี่น้องประชาชนได้หรือไม่ แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อตัวผม ผมก็ไม่เสียใจที่ได้ทำหน้าที่ของผมในวันนี้” ส.ส.รังสิมันต์ โรม กล่าวหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา
โดยตอนนี้ #ตั๋วช้าง ก็ได้ติดอันดับ 1 เทรนด์ของทวิตเตอร์ในไทย ที่มีผู้พูดคุยประเด็นนี้มากกว่า 7.5 แสนทวิตแล้วด้วย
ตามไปดูสไลด์อภิปรายไม่ไว้วางใจหัวข้อ ‘ตั๋วช้าง’ ของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม ได้ที่ :
ADVERTISEMENT
BRIEF RECAP 25.5K
‘ตั๋วช้าง’ คืออะไร? สรุปอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งใน และนอกสภา ของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม แบบครบจบรวดเดียว
Posted On 19 February 2021 The MATTER
ADVERTISEMENT
RECAP : ‘ตั๋วช้าง’ คืออะไร? สรุปอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งใน และนอกสภา ของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม แบบครบจบรวดเดียว
วันนี้ (19 ก.พ.) เป็นวันที่ 4 ของอภิปรายไม่วางใจนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีอีก 9 คน โดย ส.ส.รังสิมันต์ โรม เป็นตัวแทนจากพรรคก้าวไกลรับหน้าที่อภิปรายเรื่อง ‘ตั๋วช้าง’ แต่ในระหว่างการอภิปรายมีการคัดค้าน และประท้วงหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งหมดเวลา ทำให้รังสิมันต์ตัดสินใจออกมาอภิปรายรายละเอียดของประเด็นตั๋วช้างด้านนอกสภา
ตั๋วช้างคืออะไร ? และเกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงรองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงษ์สุวรรณอย่างไร The MATTER จะมาสรุปรายละเอียดการอภิปรายทั้งหมดของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม ให้ฟัง
สืบเนื่องจากกรณีที่นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้มีตำแหน่งในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่การในโยกย้าย แต่งตั้ง และจัดสรรข้าราชการตำรวจ เป็นเหตุให้นายกฯ และรองนายกฯ เป็นผู้รับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ภายใน ก.ตร. อย่างอัตโนมัติ
ส.ส.รังสิมันต์ กล่าวว่า การดำรงตำแหน่งระดับสูงของนายกฯ และรองนายกฯ กลับไม่สามารถกำจัดการแทรกแซงการใช้อำนาจในทางที่ผิดใน ก.ตร. ได้ ยังมีการซื้อขายตำแหน่งหน้าที่อย่างเปิดเผย และไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยเขาเปิดเผยว่า ครั้งหนึ่งพลตำรวจตรี วิสุทธิ์ วานิชบุตร รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการซื้อขายตำแหน่งว่า ถ้าไม่มีผู้ใหญ่คอยหนุน ก็จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง แต่หากมี ‘ตั๋ว’ ราคาที่ต้องจ่ายก็จะถูกลง
คำถามที่ตามมาคือ ‘ตั๋ว’ ที่มีการเอ่ยถึงนั้นคืออะไร และมีอำนาจมากแค่ไหน ? รังสิมันต์ยังได้เปิดหนังสือเอกสารชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย โดยมี พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 (ผบก.ตร.มหด.รอ.904) ในขณะนั้น เป็นผู้รับผิดชอบการแต่งตั้งครั้งนี้ และเป็นผู้ส่งชื่อไปให้ ผบ.ตร พิจารณาต่อไป นำมาสู่การตั้งขอสังเกตว่า พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ มีอำนาจหน้าที่ใดในการแต่งตั้งข้าราชการนอกกองของตนเอง หากอ้างอิงจาก พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2554 แนวทางปฏิบัติในการจัดการข้าราชการตำรวจจะต้องจัดการกองใครกองมัน และไม่ก้าวก่ายหน่วยงานอื่น ดังนั้น การใช้อำนาจของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ นั้นถือว่าขัดต่อ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติหรือไม่
นอกจากประเด็นเรื่องการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ รังสิมันต์ยังพูดถึงความสัมพันธ์ของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ และนายกฯ ประยุทธ์ และรองนายกฯ ที่มีการเอื้อประโยชน์ในการเลื่อนตำแหน่งต่างๆ ซึ่งรังสิมันต์ตั้งข้อสังเกตว่า พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ มีการเติบโตในเส้นทางอาชีพตำรวจรวดเร็วผิดปกติ
หากย้อนกลับไป พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ เริ่มต้นอาชีพตำรวจในปี พ.ศ.2541 ในตำแหน่งรอง สว. ซึ่งหลังจากนั้นการเลื่อนตำแหน่งต่างๆ ก็อยู่ในระดับปกติ จนกระทั่งปี พ.ศ.2561 พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ได้ขึ้นเป็น ผบก.ป. ซึ่งได้รับตำแหน่งโดยการยกเว้นหลักเกณฑ์ และหลังจากนั้น พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ได้เลื่อนตำแหน่งอีก 3 ครั้ง โดยมีเงื่อนไขการยกเว้นหลักเกณฑ์อีก 2 ครั้ง เท่ากับว่าพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ใช้เวลาเพียง 3 ปี 4 เดือนในการเลื่อนตำแหน่งเพิ่ม 3 ตำแหน่ง ประหยัดเวลาจากการยกเว้นหลักเกณฑ์ไปได้ 8 ปี 8 เดือน จากเดิมที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ทำงานเวลากว่า 12 ปี
การยกเว้นหลักเกณฑ์นั้นสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขความสามารถ และผลงานจากการปฏิบัติหน้าที่ แต่รังสิมันต์ตั้งข้อสังเกตว่า พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ มีคุณสมบัติข้อใดจึงได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ถึง 3 ครั้ง ในเมื่อที่ผ่านมา พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ มีข่าวว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาตลอด หรือเขามี ‘ตั๋ว’ จากใครที่สามารถสั่งให้นายกฯ และรองนายกฯ เซ็นอนุมัติให้ได้รับอภิสิทธิ์พิเศษนี้
นอกจากพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยังมีข้าราชการตำรวจคนอื่นๆ อีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็น พล.ต.ต.สำราญ นวลมา รองผบช.น., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป., สันติ ชัยนิรามัย ผบก.สส.บช.น. รวมถึงพล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช รอง ผบช.ก. ที่ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์เหล่านี้นำมาซึ่งความไม่โปร่งใสในการแต่งตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่เป็นธรรมต่อนายตำรวจชั้นผู้น้อยที่ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบการทำงานมาโดยตลอด
ย้อนกลับไปเรื่องการใช้อำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจของพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ที่กล่าวถึงในข้อ 3 หากดู ‘เหตุสนับสนุนขอรับการแต่งตั้ง’ แล้ว เหตุผลที่พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ อ้างในการแต่งตั้งกลุ่มตำรวจนอกองบังคับบัญชาคือ ตำราจเหล่านั้นผ่านการอบรมหน่วยจิตอาสา 904 หลักสูตรประจำ และได้ปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยอาสา 904 ได้มอบหมายภารกิจแล้ว เพื่อประโยชน์ตามหน่วยจิตอาสาใหญ่ 904 จึงขอสนับสนุนเข้ารับการแต่งตั้ง
รังสิมันต์ได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า เพราะเหตุใดการปฏิบัติตามภารกิจจิตอาสา 904 จึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญในการได้รับการแต่งตั้ง ? ทั้งที่ข้าราชการตำรวจเองก็มีเกณฑ์ ก.ตร. พื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว แล้วทำไมการแจ้งรายชื่อสนับสนุนขอรับการแต่งตั้ง ส่วนนี้จึงเป็นหน้าที่ของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บังคับการตำรวจมหาดเล็กรักษาพระองค์ ไม่ได้มีหน้าที่ตามข้อกำหนด
ข้อมูลในการอภิปรายครั้งนี้ ยังชี้ถึง ‘ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสา 904’ ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ซึ่งโครงการนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อกำหนดนโนยายและภารกิจ โดยมี พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวัง เป็นประธาน ส่วนรองประธาน คือพล.อ.จักรภพ ภูริเดช รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และหนึ่งในคณะกรรมการ คือ พลตำรวจโท ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ นายทหารราชองครักษ์, รองผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
หากถามว่าคนกลุ่มนี้มีความข้องเกี่ยวกันอย่างไร? รังสิมันต์ เปิดเผยว่า พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นพี่ชายร่วมสายเลือดของพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ และพล.อ.จักรภพ ภูริเดช ก็เป็นพี่ชายของ พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการกองปราบปราม และพลตำรวจโท ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ก็มีสักพี่เขยของพล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช ทั้งหมดถือเป็นเครือญาติกัน และเมื่อดูจากไทม์ไลน์การแต่งตั้ง และเลื่อนตำแหน่งต่างๆ พบว่ามีความเกี่ยวข้อง และเอื้อประโยชน์ให้กันและกัน นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนอาสา โดยเอื้อประโยชน์จากตำแหน่งในเครือญาติ เป็นสถานที่ออก ‘ตั๋วตำรวจ’ เพื่อเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับการแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับโรงเรียนจิตอาสา ตามเว็บไซต์ส่วนราชการของพระองค์ระบุว่า ตำรวจนายตั๋วจะต้องผ่านวิชาทหารทั่วไป อบรมความรู้เรื่องอุดมการณ์ มีระยะเวลาฝึก 6 สัปดาห์ เฉลี่ยฝึกวันละ 11 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการเบียดเบียนเวลาการปฏิบัติหน้าที่ตำรวจธรรมดา หากโรงเรียนจิตอาสา ซึ่งเป็นโครงการส่วนพระองค์เป็นทางผ่านในการเลื่อนตำแหน่ง จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไหนอยากทำงานตามหน้าที่ อีกทั้งการนำโรงเรียนจิตอาสามาเป็นทางผ่านในการแต่งตั้งตำแหน่ง เท่ากับว่าเอาความจงรักภักดีสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเงื่อนไขในการเลื่อนตำแหน่งหรือไม่
ไม่เพียงเท่านั้น รังสิมันต์ยังระบุว่า นายกฯ กับรองนายกฯ ยังปล่อยให้คนกลุ่มนี้ มีอำนาจสั่งการให้ ผบ.ตร ‘โอนย้าย’ ตำรวจไปยังหน่วยงานนอกสังกัดคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) อีกด้วย โดยเรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2562 มีหนังสือจากสำนักงานราชเลขานุการส่วนพระองค์ ลงนามโดยพล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ซึ่งไม่มีอำนาจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สั่งให้นำตำรวจมาบรรจุกองบัญชาการมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 ซึ่งอยู่ใต้สังกัด สตช. นำสู่คำถามว่า เหตุใดจึงมีการนำคนนอกหน่วยงานมาทำหนังสือในลักษณะสั่ง ผบ.ตร. ได้.
แม้คำสั่งจะดำเนินการอย่างไม่ถูกตั้ง แต่ สตช. ไม่ได้ขัดขวางถือทักท้วงแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีการสั่งการให้ตำรวจแต่ละหน่วยคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติดี เข้าร่วมภารกิจพิเศษที่ ส.ตร. จะมอบหมาย พร้อมสั่งว่า หากข้าราชการตำรวจคนไหนไม่เข้าการคัดเลือก ให้ตรวจสอบว่าเป็นเพราะเหตุใด และทำหนังสือส่งไปให้อย่างละเอียด
หลังจากสั่งการครั้งแรก สตช. ได้มีการคัดเลือกข้าราชการตำรวจรอบที่ 2 โดยระบุว่าคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นหน่วยตำรวจมหาดเล็ก จากนั้นจะส่งไปเป็น ‘ข้าราชบริพาร’ รวมมีเข้าร่วมคัดเลือกมากกว่า 1 พันนาย ซึ่งมีข้าราชการตำรวจ 100 คนที่ไม่สมัครใจเข้าร่วม และโดนคำสั่งธำรงวินัยทำให้มีตำรวจ 3 นายลาออกทันที ขณะที่อีก 97 คนนั้นถูกส่งตัวไปปรับทัศนคติ นอกจากนี้ทาง สตช. ยังตั้งศูนย์ธำรงวินัย เพื่อสั่งให้ทั้ง 97 คนไปปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงเป็นเวลา 9 เดือน และหลังจากเวลา 9 เดือนนั้น ทั้งหมดยังถูกดองงาน ไม่ให้เลื่อนขั้นอีกด้วย
การอภิปรายเรื่องนี้นำมาสู่การตั้งข้อสงสัยว่า นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกฯ ประวิตร วงษ์สุวรรณ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแทรกแซงอำนาจตำรวจ และเพิกเฉยต่อการตรวจสอบ รวมถึงบกพร่องในการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรังสิมันต์ มองว่าเป็นเหตุที่ไม่อาจวางใจให้นายกฯ และรองนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
“ผมไม่รู้ว่าผลจากการทำหน้าที่ในวันนี้ จะเกิดอะไรขึ้นต่อผมในหลังจากนี้ ผมไม่รู้ว่าในสามวันข้างหน้า มีอะไรรอผมอยู่ ผมไม่รู้ว่าสามเดือนครั้งหน้าจะเกิดอะไรขึ้นต่อผม ผมจะพูดแทนพี่น้องประชาชนได้หรือไม่ แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อตัวผม ผมก็ไม่เสียใจที่ได้ทำหน้าที่ของผมในวันนี้” ส.ส.รังสิมันต์ โรม กล่าวหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา
โดยตอนนี้ #ตั๋วช้าง ก็ได้ติดอันดับ 1 เทรนด์ของทวิตเตอร์ในไทย ที่มีผู้พูดคุยประเด็นนี้มากกว่า 7.5 แสนทวิตแล้วด้วย
ตามไปดูสไลด์อภิปรายไม่ไว้วางใจหัวข้อ ‘ตั๋วช้าง’ ของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม ได้ที่ :
ADVERTISEMENT
"โรม" เชื่อ "ตั๋วช้าง" ต้นตอส่วย เล็งปฏิรูปตำรวจ ดูผลงาน เพื่อขยับตำแหน่ง
https://www.thairath.co.th/news/local/2703053"โรม" เชื่อ "ตั๋วช้าง" ตั๋วตำรวจ ต้นตอ "ส่วย" ก้าวไกล เล็งปฏิรูปตำรวจ 3 ระยะ ดูผลงาน เพื่อขยับตำแหน่ง คัดสรรบุคคลจากความสามารถวันที่ 19 มิ.ย. 2566 จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คูคต จ.ปทุมธานี เข้าจับกุม